พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปฐมฌานสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38914
อ่าน  320

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 325

ตติยปัณณาสก์

ภยวรรคที่ ๓

๓. ปฐมฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 325

๓. ปฐมฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๔ จำพวกเป็นไฉน? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นพรหมนั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดาขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจ ทุติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 326

กาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่าง อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌาน นั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระมีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 327

เป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตตุถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฐมฌานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมฌานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฌานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมติดใจฌานนั้นด้วยติดใจสุข. บทว่า นิกาเมติ แปลว่า ยังปรารถนา. บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ ถึงความยินดี. บทว่า ตทธิมุตฺโต คือ ปักใจในฌานนั้น หรือน้อมใจไปสู่ ฌานนั้น. บทว่า ตพฺพหุลวิหารี ได้แก่ อยู่มากด้วยฌานนั้น. บทว่า สหพฺยตํ อุปปชฺชติ ความว่า ย่อมไปอยู่ร่วมกัน คือ ย่อมเกิดในในเทวดา เหล่าเวหัปผละนั้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 328

ในบทว่า กปฺโป อายุปฺปมาณํ นี้ ปฐมฌาณมีอย่างต่ำ มีปานกลาง และประณีต. ในปฐมฌานนั้น ส่วนที่สามแห่งกัปเป็นประมาณอายุของเทวดา ผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานอย่างต่ำ ครึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน ปานกลาง หนึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานประณีต. ท่านกล่าวคำนี้ หมายถึงข้อนั้น. บทว่า นิรยํปิ คจฺฉติ ความว่า ผู้ที่ยังเป็นปุถุชน ย่อมวนเวียนอยู่ เพราะกรรมที่จะต้องไปนรกเขายังละไม่ได้ แต่จะไม่ใช่ต่อเนื่องกัน. บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ปรินิพฺพายติ ความว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ในรูปภพนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน จะไม่ลงไปเบื้องต่ำ บทว่า ยทิทํ คติยา อุปปตฺติยา สติ ความว่า เมื่อคติอุปบัติมีอยู่. อธิบายว่า อริยสาวก ผู้เป็นพระเสขะไม่ตกต่ำด้วยอำนาจปฏิสนธิ ปรินิพพานในรูปภพนั้นนั่นแหละ คือในพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไป เพราะทุติยฌานเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนปุถุชนย่อมไปนรกเป็นต้นได้ นี้เป็นเหตุต่างกัน.

แม้ในบทว่า เทฺว กปฺปา นี้ ทุติยฌานก็มีสามอย่าง โดยนัยที่ กล่าวแล้วนั่นเอง. ในทุติยฌานนั้น ๘ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาผู้บังเกิด ด้วยทุติยฌานประณีต ๔ กัปด้วยทุติยฌานปานกลาง ๒ กัปด้วยทุติยฌาน อย่างต่ำ ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงข้อนั้น. ในบทว่า จตฺตาโร กปฺปา นี้ พึงนำคำที่กล่าวไว้ในหนหลังว่า กปฺโป เทฺว กปฺปา ดังนี้ มาอธิบายก็จะ ทราบได้. บทว่า กปฺโป เป็นชื่อแม้ของการคูณ ๔ ครั้ง เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้ดังนี้ว่า หนึ่งกัป สองกัป สี่กัป. ท่านอธิบายว่า กัปใดที่ท่านกล่าวแล้วเป็นครั้งแรก นับกัปนั้น ๒ ครั้ง เอาหนึ่งคูณเป็น ๒ กัป เอาสองคูณเป็นสี่กัป. อีกสี่กัปเหล่านั้นคูณ ๒ คูณเป็น ๔ คูณกัปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เอา ๔ คูณเป็นแปดกัป เอาสองคูณเป็น ๑๖ เป็น ๓๒ เป็น ๖๔

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 329

พึงทราบว่า ๖๔ กัป ท่านถือเอาด้วยอำนาจประณีตฌานในที่นี้อย่างนี้. บทนี้ว่า ปญฺจ กปฺปสตานิ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอุปปัตติฌานที่ประณีต เท่านั้น อนึ่ง ประมาณอายุเท่านี้ในเวหัปผละ เพราะพรหมโลกชั้นละสาม ไม่มีเหมือนในปฐมฌานภูมิเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

จบอรรถกถาปฐมฌานสูตรที่ ๓