พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สังโยชนสูตร ว่าด้วยสมณะ ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38878
อ่าน  308

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 257

ทุติยปัณณาสก์

มจลวรรคที่ ๔

๘. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 257

๘. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เพราะราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว จักทำที่สุดทุกข์ได้ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 258

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบสังโยชนสูตรที่ ๘

อรรถกถาสังโยชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

พระโสดาบัน เรียกว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะท่านได้ศรัทธาตั้งมั่นแล้วในพระศาสนา. พระสกทาคามี เรียกว่า สมณะดังบัวขาว ดุจบัวขาวเกิดในสระมีใบไม่มาก เพราะท่านเป็นผู้มีคุณยังไม่มากนัก. พระอนาคามี เรียกว่า สมณะดังบัวหลวง ดุจบัวหลวงมีร้อยใบเกิดในสระ เพราะท่านมีคุณมากกว่านั้น. พระขีณาสพผู้ถึงความอ่อนโยน เรียกว่า สมณะสุขุมาล เพราะกิเลสที่ทำความกระด้างท่านถอนได้แล้วโดยประการทั้งปวง.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๘