พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. โอณตสูตร ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38876
อ่าน  254

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 250

ทุติยปัณณาสก์

มจลวรรคที่ ๔

๖. โอณตสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 250

๖. โอณตสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

โอณโตณโต บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

โอณตุณฺณโต บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไป

อุณฺณโตณโต บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

อุณฺณตุณฺณโต บุคคลสูงมาแล้ว สูงไป

ก็บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

ก็บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 251

บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูงคือ ตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

บุคคลสูงมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลสูงมาแล้ว สูงไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบโอณตสูตรที่ ๖

อรรถกถาโอณตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโอณตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โอณโตณโต ความว่า บุคคลต่ำมาในปัจจุบัน ก็จักต่ำไปในอนาคต. บทว่า โอณตุณฺณโต ความว่า บุคคลต่ำมาปัจจุบัน จักสูงไปในอนาคต. บทว่า อุณฺณโตณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน ก็จักต่ำไปในอนาคต. บทว่า อุณฺณตุณฺณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน ก็จักสูงไปในอนาคต. ก็ความพิสดารแห่งความเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยอัน กล่าวไว้ก่อนแล้ว.

จบอรรถถาโอณตสูตรที่ ๖