พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สราคสูตร ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38856
อ่าน  291

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 213

ทุติยปัณณาสก์

ปัตตกัมมวรรคที่ ๒

๖. สราคสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 213

๖. สราคสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

สราโค บุคคลมีราคะ

สโทโส บุคคลมีโทสะ

สโมโห บุคคลมีโมหะ

สมาโน บุคคลมีมานะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคลผู้กำหนัดเหล้าในอารมณ์ที่ชวนกำหนัดทั้งหลาย เพลิดเพลินยินดีในปิยรูป (สิ่งที่น่ารักใคร่) เป็นคนทราม ถูกโมหะผูกไว้แล้ว ยิ่งเพิ่มเครื่องผูกพัน (อื่นๆ) ขึ้น.

คนเขลาทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะราคะบ้าง เกิดเพราะโทสะบ้าง เกิดเพราะโมหะบ้าง อันเป็นกรรม มีความคับแค้นมีผลเป็นทุกข์ คนเขลาเหล่านั้นเป็นคนอันอวิชชาปิดบังแล้ว เป็นคนบอดมืด ไม่มีจักษุ (คือปัญญา) ธรรม ๓ มีอยู่อย่างใด เขาก็เป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น ไม่รู้สึกตัวว่าเป็นอย่างนั้นเสียด้วย.

จบสราคสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 214

อรรถกถาสราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสราคสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โมหชํ วาปิ อวิทฺทสุ ความว่า คนเขลาคือมิใช่บัณฑิต ทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะโมหะบ้าง. บทว่า สวิฆาตํ คือเป็นไปกับทุกข์. บทว่า ทุกฺขุทฺรยํ คือเพิ่มทุกข์ให้ต่อไป. บทว่า อจกฺขุกา คือเว้นจาก ปัญญาจักษุ. บทว่า ยถา ธมฺมา ตถา สนฺตา ความว่า ธรรมมีราคะ เป็นต้น ตั้งอยู่อย่างใด คนเขลาเหล่านั้น ก็มีสภาพเป็นอย่างนั้น. บทว่า น ตสฺเสวนฺติ มญฺเร ความว่า เขาย่อมไม่สำคัญ ย่อมไม่รู้สึกว่าเราเป็นอย่างนั้น มีสภาพอย่างนั้นเสียด้วย. ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในพระคาถา ตรัสวัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสราคสูตรที่ ๖