พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. วิปัลลาสสูตร ว่าด้วยวิปลาสในธรรม ๔ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38839
อ่าน  361

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 172

๙. วิปัลลาสสูตร

ว่าด้วยวิปลาสในธรรม ๔ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 172

๙. วิปัลลาสสูตร

ว่าด้วยวิปลาสในธรรม ๔ ประการ

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส (ความสำคัญ คิด เห็นคลาดเคลื่อน) มี ๔ ประการนี้ ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ นี้แล สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ นี้ ๔ คืออะไรบ้าง คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ว่าไม่เที่ยง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ... ว่าทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ... ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา ... ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้แล สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ.

สัตว์เหล่าใดสำคัญว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง สำคัญว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์ สำคัญว่าเป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา และสำคัญว่างานในสิ่งที่ไม่งาม ถูกความเห็นผิดชักนำไปแล้ว ความคิดซัดส่ายไปมีความสำคัญ (คิดเห็น) วิปลาส สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว เป็นคนไม่เกษมจากโยคะ ย่อมเวียนเกิดเวียนตายไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 173

เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ทรงประกาศธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญา ได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิดเห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมาถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์ ทั้งปวงได้.

จบวิปัลลาสสูตรที่ ๙

อรรถกถาวิปัลลาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิปัลลาสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สญฺาวิปลฺลาสา ความว่า มีสัญญาความสำคัญคลาดเคลื่อน อธิบายว่า มีสัญญา ๔ วิปริต ความสำคัญที่ตรงกันข้าม. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนิจฺเจ ภิกฺขเว นิจฺจนฺติ สญฺาวิปลฺลาโส ความว่า เกิดความสำคัญ ยึดถืออย่างนี้ว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าสัญญาวิปัลลาส. บัณฑิตพึงทราบความในบททุกบท โดยนัยนี้.

บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา ความว่า ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหตา ความว่า สัตว์จะสำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ยังถูกแม้มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่กำลัง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 174

เกิดขึ้นชักนำไปแล้ว เหมือนสัญญาวิปัลลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ความว่า ผู้ประกอบด้วยจิตซัดส่ายที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนสัญญาวิปัลลาสและทิฏฐิวิปัลลาส. บทว่า วิสญฺิโน นั่นเป็นเพียงเทศนา. อธิบายว่า เป็นสัญญาจิตและทิฏฐิอันวิปริต. บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส ความว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า ประกอบอยู่ในเครื่องผูกของมาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน ความว่า เป็นคนไม่ถึงความเกษมจากโยคะ คือพระนิพพาน. บทว่า สตฺตา คือบุคคลทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธา คือผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า อิมํ ธมฺมํ คือ สัจจธรรม ๔. บทว่า สจิตฺตํ ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของตนเอง. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงจริง. บทว่า อสุภตทฺทสํ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่งามจริง. บทว่า สมฺมาทิฏฺิสมาทานา ได้แก่ ผู้ยึดถือสัมมาทัสสนะ. บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคุํ ความว่า ล่วงพ้นวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นได้.

จบอรรถกถาวิปัลลาสสูตรที่ ๙