พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ปฏิลีนสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องหลีกเร้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38828
อ่าน  278

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 145

ปฐมปัณณาสก์

จักกวรรคที่ ๔

๘. ปฏิลีนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องหลีกเร้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 145

๘. ปฏิลีนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องหลีกเร้น

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะ (ความเห็น ว่าจริงไปคนละทาง) แล้ว ผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้ว ผู้มีกายสังขารอัน ระงับแล้ว เราเรียกว่า ผู้มีการหลีกออกแล้ว.

ก็ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะแล้วเป็นอย่างไร? ปัจเจกสัจจะมากอย่างแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายมาก คือเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง ว่าโลกไม่เที่ยงบ้าง ว่าโลกมีที่สุดบ้าง ว่าโลกไม่มีที่สุดบ้าง ว่าชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกันบ้าง ว่าชีพกับสรีระต่างกันบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มีบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง ปัจเจกสัจจะทั้งปวงนั้น อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ถ่ายถอนแล้ว สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้วละแล้วทิ้งเสียแล้ว ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างไร? (กาเมสนา) การแสวงหากาม ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว (ภเวสนา) การแสวงหาภพ ก็ละได้แล้ว (พฺรหฺมจริเยสนา) การแสวงพรหมจรรย์รำงับไปแล้ว ภิกษุผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนได้ จตุตถฌานอันไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติอยู่. ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างนี้แล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 146

ก็ภิกษุผู้หลีกออกเร้นแล้วเป็นอย่างไร? ภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ละอัสมิมานะได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำไม่ให้มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุผู้หลีกออกเร้นแล้วเป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะแล้ว ผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้ว ผู้มีกายสังขารอันระงับแล้ว ผู้หลีกออกเร้นแล้วอย่างนี้แล.

ภิกษุผู้คลายความกำหนัดแล้ว ได้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหา สละการแสวงหา คือการแสวงหากาม การแสวงหาภพ ทั้งการแสวงหาพรหมจรรย์ ถอนความถือว่า จริงอย่างนั้นอย่างนี้ เพิกร่างกายอันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเสียได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ สงบรำงับแล้ว อันใครๆ ทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้แล้ว ได้ตรัสรู้แล้ว เพราะละมานะได้ เรียกว่าผู้หลีกออกแล้ว.

จบปฏิลีนสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 147

อรรถกถาปฏิลีนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิลีนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ได้แก่ ภิกษุชื่อว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันถ่ายถอนได้แล้ว เพราะว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือความเห็นแต่ละอย่าง เพราะยึดถือความเห็นแต่ละอย่าง อย่างนี้ว่า ความเห็นนี้เท่านั้นจริง นี้เท่านั้นจริง เธอถ่ายถอนคือกำจัดละได้แล้ว. ในบทว่า สมวยสฏฺเสโน นี้ บทว่า สมวย แปลว่า ไม่บกพร่อง. บทว่า สฏฺา แปลว่า สละแล้ว ชื่อว่าสมวยสฏฺเสโน เพราะละเลิกการแสวงหาโดยสิ้นเชิง อธิบายว่า ผู้ละเลิกการแสวงหาหมดทุกอย่างโดยชอบ. บทว่า ปฏิลีโน แปลว่า ผู้หลีกเร้น คืออยู่ ผู้เดียว. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํ ได้แก่ สมณะและพราหมณ์เป็นอันมาก. ในคำว่า สมณพฺราหฺมณานํ นี้ ก็คนที่เข้าไปบวช ชื่อสมณะ คนที่กล่าวว่า โภผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์.

บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะแต่ละอย่างเป็นอันมาก. บทว่า นุณฺณานิ แปลว่า นำออกแล้ว. บทว่า ปนุณฺณานิ แปลว่า นำออกดีแล้ว. บทว่า จตฺตานิ แปลว่า สลัดแล้ว. บทว่า วนฺตานิ แปลว่า คายออกแล้ว. บทว่า มุตฺตานิ คือ ทำเครื่องผูกให้ขาดแล้ว. บทว่า ปหีนานิ แปลว่า ละได้แล้ว. บทว่า ปฏินิสฺสฏฺานิ แปลว่า สละทิ้งไปแล้ว โดยที่จะไม่งอกขึ้นที่ใจอีก. บทเหล่านี้ทุกบท เป็นคำใช้แทนความเสียสละ ซึ่งความยึดถือที่ยึดถือไว้แล้ว. บทว่า กาเมสนา ปหีนา โหติ ได้แก่ การแสวงหากาม เป็นอันละได้แล้วด้วยอนาคามิมรรค. ส่วนการแสวงหาภพ เป็นอันกำลังละด้วยอรหัตมรรค แม้การแสวงหาพรหมจรรย์ คือ อัธยาศัยที่เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า เราจักเสาะแสวงพรหมจรรย์ดังนี้ ก็สงบระงับไปด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. ส่วนการแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์ ก็พึงพูดได้ว่า ย่อมระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรคอย่างเดียว. บทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ความว่า กายสังขารระงับแล้วด้วยจตุตถ-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 148

ฌาน อย่างนี้ ก็ชื่อว่าลมอัสสาสะปัสสาสะสงบแล้ว. บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่ มานะ ๘ อย่างที่เกิดขึ้นว่า เราเป็น.

คาถาทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การแสวงหานี้มี ๒ คือ การแสวงหากาม การแสวงหาภพ. บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า การแสวงหานั่นเป็น ๓ คือ การแสวงหาพรหมจรรย์ รวมทั้งการแสวงหา ๒ นั้น พึงยืนหลักไว้ในที่นี้ แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺา ละเลิกการแสวงหา. บทว่า อิติ สจฺจปรามาโส ทิฏฺิฏฺานา สมุสฺสยา ความว่า ความยึดถือว่า ดังนี้จริง ดังนี้จริง และที่ตั้งแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ทิฏฐินั้นเอง ที่เรียกว่า สมุสสยะ เพราะกายถูกธาตุ ๔ สร้างขึ้น คือยกขึ้น ตั้งไว้ แม้หมดทุกอย่าง. พึงยืนหลักไว้ในที่นี้แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า ทิฏฺิฏฺานา สมูหตา เพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิ. ถามว่า ใครละเลิกการแสวงหาเหล่านั้น และใครเพิกถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านั้นได้แล้ว. ตอบว่า ภิกษุผู้คลายความกำหนัดทั้งปวงแล้ว ได้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหา ด้วยว่า ภิกษุใดคลายความกำหนัดแล้วจากราคะทั้งปวง เป็นผู้ประกอบด้วยอรหัตผลวิมุตติที่เป็นไปเพราะสิ้นตัณหา คือเพราะดับสนิท ภิกษุนั้นละเลิกการแสวงหาได้แล้ว และเพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิได้แล้ว. บทว่า ส เว สนฺโต ความว่า ภิกษุนั้น คือเห็นปานนี้ ชื่อว่าสงบ เพราะกิเลสสงบ. บทว่า ปสฺสทฺโธ ได้แก่ ระงับแล้ว ด้วยกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิทั้งสอง. บทว่า อปราชิโต ความว่า ชื่อว่าอันใครๆ ทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้ เพราะชนะสรรพกิเลสเสร็จแล้ว. บทว่า มานาภิสมยา คือเพราะละมานะได้. บทว่า พุทฺโธ ความว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ ตั้งอยู่. ด้วยเหตุนั้น ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในพระคาถา จึงตรัสแต่ท่านผู้สิ้นอาสวะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาปฏิลีนสูตรที่ ๘