พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. สีลสูตร ว่าด้วยปริสุทธิศีล ๔

 
บ้านธัมมะ
วันที่  23 ต.ค. 2564
หมายเลข  38802
อ่าน  282

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 36

ปฐมปัณณาสก์

จรวรรคที่ ๒

๒. สีลสูตร

ว่าด้วยปริสุทธิศีล ๔


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 36

๒. สีลสูตร

ว่าด้วยปริสุทธิศีล ๔

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมมีปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่เถิด จงสำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด เมื่อท่านทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมมีปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่ สำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยให้โทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่. อะไรเป็นกิจที่จะพึงทำต่อไป?

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับก็ดี อภิชฌาปราศไป พยาบาทปราศไป ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุก็ละได้ ความเพียรทำไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายรำงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ภิกษุเดินอยู่ เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับ เป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้มีอาตาปะ มีโอตตัปปะ มีความเพียรอันทำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 37

ภิกษุพึงเป็นสำรวม ยืนสำรวม นั่งสำรวม นอนสำรวม คู้อวัยวะเข้าก็สำรวม เหยียดอวัยวะออกก็สำรวม พิจารณาดูความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งธรรมและ ขันธ์ทั้งหลาย ในเบื้องบน ท่ามกกลางเบื้องล่าง ทุกภูมิโลก บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวภิกษุผู้ศึกษา ปฏิปทาอันสมควรแก่ความสงบใจ มีสติทุกเมื่อเช่นนั้นว่า ผู้มี ใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

จบสีลสูตรที่ ๒

อรรถกถาสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เธอทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์. บทว่า สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ได้แก่ มีปาติโมกข์บริบูรณ์. บทว่า ปาติโมกฺขสํวรสํวุตา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมปิดประกอบด้วยปาติโมกขสังวรศีลอยู่เถิด. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ถึงพร้อม คือประกอบด้วยอาจาระและโคจรเถิด. บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ได้แก่ ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย. บทว่า ภยทสฺสาวิโน ความว่า เป็นผู้มีปรกติเห็นโทษที่มีประมาณน้อยเหล่านั้นโดยเป็นภัย. บทว่า สมาทาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 38

สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า เธอทั้งหลายจงสมาทานยึดถือสิกขาบทที่ควรสมาทานนั้นๆ ในส่วนแห่งสิกขาทั้งหมดศึกษาอยู่. ครั้นทรงชักชวนและตรัสสรรเสริญในคุณที่ได้แล้ว ด้วยการตรัสธรรมประมาณเท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลานํ ฯเปฯ สิกฺขาปเทสุ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงประโยชน์อันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสว่า กิมสฺส ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้น บทว่า กิมสฺส แปลว่า จะพึงมีอะไรเล่า.

บทว่า ยตํ จเร ความว่า ภิกษุพึงเดินอย่างที่เดินสำรวมระวัง. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อจฺเฉ แปลว่า พึงนั่ง. บทว่า ยตเมตํ ปสารเย ความว่า พึงเหยียดอวัยวะน้อยใหญ่อย่างสำรวมคือเรียบร้อย. บทว่า อุทฺธํ แปลว่า เบื้องบน. บทว่า ติริยํ แปลว่า เบื้องกลาง (วาง) บทว่า อปาจีนํ แปลว่า เบื้องล่าง. เบญจขันธ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตรัสด้วยเหตุประมาณเท่านี้. คำว่า ยาวตา เป็นคำที่แสดงความกำหนด. บทว่า ชคโต คติ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งโลก. บทว่า สมเวกฺขิตา จ ธมฺมานํ ขนธานํ อุทยพฺพยํ ความว่า พิจารณาดูความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่งธรรม คือ เบญจขันธ์ที่ต่างด้วยอดีตเป็นต้นเหล่านั้น ในโลกทั้งปวง คือได้ พิจารณาเห็นโดยชอบด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วนที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเห็นความเกิดแห่งเบญจขันธ์ก็พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ได้. เมื่อเห็นความเสื่อมก็พิจารณา เห็นลักษณะ ๒๕ ได้. บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่สมควรแก่ความสงบจิต. บทว่า สิกฺขมานํ ความว่า เมื่อปฏิบัติ คือ บำเพ็ญอยู่. บทว่า ปหิตตฺโต ได้แก่ มีใจเด็ดเดี่ยว. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าวอยู่. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ตรัสคละกันกับศีล ในคาถาตรัสถึงภิกษุผู้ขีณาสพ.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๒