พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ทุติยราชสูตร ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38660
อ่าน  271

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 168

ปฐมปัณณาสก์

เทวทูตวรรคที่ ๔

๘. ทุติยราชสูตร

ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 168

๘. ทุติยราชสูตร (๑)

ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน

[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ ... โทสะ ... โมหะ ส่วนภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระแล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้นปราศจากราคะ ... โทสะ ... โมหะแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า


(๑) สูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้น ข้อความบางส่วนขยายความไว้ในอรรถกถาสูตรที่ ๗ แล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 169

แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นข้าพเจ้า ฯลฯ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่พ้นจาก (ชาติ) ความเกิด (ชรา) ความแก่ (มรณะ) ความตาย (โสกะ) ความโศก (ปริเทวะ) ความคร่ำครวญ (ทุกขะ) ความทุกข์กาย (โทมนัสสะ) ความทุกข์ใจ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นทุกข์ ส่วนภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว ฯลฯ หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า

แม้ผู้ใดพึงเป็นเซ่นดังข้าพเจ้า ฯลฯ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจาก (ชาติ) ความเกิด ฯลฯ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า พ้นแล้วจากทุกข์.

จบทุติยราชสูตรที่ ๘