พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ภิกขุสูตร ว่าด้วยบุคลล ๓ จําพวกในทางโลกและทางธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38634
อ่าน  305

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 28

ปฐมปัณณาสก์

รถการวรรคที่ ๒

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จําพวกในทางโลกและทางธรรม

อรรถกถา ภิกขุสูตร 31

อธิบายบทว่าอาสํโส วิคตาโส 31


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 28

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยบุคลล ๓ จำพวกในทางโลกและทางธรรม

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓ จำพวกไหน คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลคนดีดพิณก็ดี ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างทำรถก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจน ขัดสนข้าวน้ำโภชนะ เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค คือ ตาบอดบ้าง เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 29

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลผู้นั้นได้ยินข่าวว่า เจ้าผู้มีพระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกเราให้เป็นกษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้ไร้ความหวัง

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ยังมิได้รับอภิเษกด้วยน้ำอภิเษก เป็นผู้มั่นคงแล้ว พระโอรสนั้นได้สดับข่าวว่า เจ้าผู้มีพระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้ย่อมมีได้แก่พระโอรสนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกเราให้เป็นกษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว พระราชานั้นทรงสดับข่าวว่า เจ้าผู้มีพระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้ไม่มีแก่พระราชานั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกให้เราเป็นกษัตริย์บ้าง นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์เมื่อครั้งยังมิได้อภิเษกนั้น ระงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีอยู่ในโลก

ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก ก็มีอยู่ในหมู่ภิกษุ บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 30

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก (มีการกระทำ) ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นคนเน่าใน เปียกชื้นรกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้ ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้ไร้ความหวัง

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ภิกษุนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้ ย่อมมีได้แก่ภิกษุนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง

ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว เธอได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้แจ้ง เข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นั่น

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 31

เพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในวิมุตติของเธอเมื่อครั้งยังไม่วิมุตตินั้น รำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก มีอยู่ในหมู่ภิกษุ.

จบภิกขุสูตรที่ ๓

อรรถกถาภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่ คือ หาได้อยู่. บทว่า สํวิชฺชมานา เป็นไวพจน์ของบทว่า สนฺโต นั้นนั่นแล. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ในสัตว์โลก. บทว่า นิราโส ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความปรารถนา.

อธิบายบทว่า อาสํโส - วิคตาโส

บทว่า อาสํโส ได้แก่ บุคคลยังหวังอยู่ คือ ยังปรารถนาอยู่. บทว่า วิคตาโส ได้แก่ บุคคลผู้เลิกหวังแล้ว. บทว่า จณฺฑาลกุเล ได้แก่ ในตระกูลของคนจัณฑาลทั้งหลาย. บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ในตระกูลของช่างสาน (๑) . บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ในตระกูลของนายพราน มีนายพรานเนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ในตระกูลช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ในตระกูลของคนเทขยะ.

ครั้นทรงแสดงความวิบัติของตระกูลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่บุคคลลางคน แม้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่บุคคล


(๑) ปาฐะว่า วิวินฺนการกุเล ฉบับพม่าเป็น วิลีวการกุเล แปลตามฉบับพม่า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 32

ผู้ไม่มีหวังนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงถึงความวิบัติแห่งโภคะของเขา จึงตรัสคำว่า ทลิทฺเท เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ยากจน. บทว่า อปฺปนฺนปานโภชเน ได้แก่ ตระกูลที่มีข้าว น้ำ และของบริโภคอยู่น้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ ตระกูลที่มีการเลี้ยงชีพลำบาก อธิบายว่า ในตระกูลที่คนทั้งหลายใช้ความพยายามพากเพียรอย่างยิ่ง สำเร็จการเลี้ยงชีวิต. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ความว่า คนในตระกูลใดทำมาหากิน ได้ของกิน คือ ข้าวยาคูและภัตร และเครื่องนุ่งห่มที่พอปกปิดอวัยวะที่น่าละอายโดยยาก.

บัดนี้ เพราะเหตุที่บุคคลลางคนแม้เกิดในตระกูลต่ำ มีอุปธิสมบัติ คือ ดำรงอยู่ในการที่มีร่างกายสมประกอบ แต่ว่าบุคคลนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงความวิบัติแห่งร่างกายของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า โส จ โหติ ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า มีผิวพรรณดังตอถูกไฟไหม้ คล้ายปีศาจคลุกฝุ่น.

บทว่า ทุทฺทสิโก ได้แก่ ไม่เป็นที่เจริญตา แม้ของมารดาบังเกิดเกล้า. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่ คนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ คนตาบอดข้างเดียวบ้าง คนตาบอดสองข้างบ้าง. บทว่า กุณิ ได้แก่ คนมือเป็นง่อยข้างเดียวบ้าง ง่อยทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ คนขาเขยกข้างเดียวบ้าง คนขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนเปลี้ย คือ คนง่อย.

บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ อุปกรณ์แสงสว่าง มีน้ำมันและกระเบื้องเป็นต้น. บทว่า ตสฺส น เอวํ โหติ ความว่า คนนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 33

ตอบว่า เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ.

บทว่า เชฏฺโ ความว่า เมื่อพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งที่เป็นองค์โตยังมีอยู่ พระราชโอรสองค์เล็กก็ไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เชฏฺโ ดังนี้. บทว่า อภิเสโก ความว่า แม้พระราชโอรสองค์โตก็ยังไม่ควรอภิเษก จึงไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อภิเสโก ดังนี้. บทว่า อนภิสิตฺโต ความว่า แม้พระราชโอรสที่ควรแก่การอภิเษกซึ่งเว้นจากโทษ มีพระเนตรบอดและพระหัตถ์หงิกง่อยเป็นต้น ได้รับอภิเษกครั้งเดียวแล้ว ก็ไม่ทรงทำความหวังในการอภิเษกอีก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนภิสิตฺโต ดังนี้. บทว่า มจลปฺปตฺโต (๑) ความว่า ฝ่ายพระราชโอรสองค์โตก็ยังเป็นเด็กอ่อนนอนแบเบาะ มิได้รับการอภิเษก พระราชโอรสแม้นั้น มิได้ทำความหวังในการอภิเษก แต่ต่อมา ทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา เริ่มมีพระมัสสุปรากฏ ชื่อว่าทรงบรรลุนิติภาวะ สามารถจะว่าราชการใหญ่ได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มจลปฺปตฺโต ดังนี้. บทว่า ตสฺส เอวํ โหติ ได้แก่ ถามว่า เพราะเหตุไร พระราชโอรสนั้นจึงมีพระดำริอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพระองค์มีพระชาติสูง.

บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ผู้มีธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกรรมทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้นอันไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร ความว่า ผู้มีสมาจารอันบุคคลอื่นพึงระลึกถึงด้วยความรังเกียจ คือ มีสมาจารเป็นที่ตั้งแห่งความรังเกียจของคนอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้ชะรอยจักทำบาปกรรมนี้ เพราะเขาได้เห็นบาปกรรม


(๑) ในพระบาลี เป็น อจลปฺปตฺโต.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 34

บางอย่างที่ไม่เหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีสมาจารที่ตนนั่นแล พึงระลึกถึงด้วยความระแวง ชื่อว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร. จริงอยู่ ภิกษุนั้นเห็นภิกษุทั้งหลายประชุมปรึกษากันถึงเรื่องบางเรื่องในที่ทั้งหลาย มีที่พักกลางวันเป็นต้น แล้วก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้จับกลุ่มกันปรึกษา พวกเธอรู้กรรมที่เราทำแล้วจึงปรึกษากันหรือหนอแล อย่างนี้ เธอชื่อว่า มีสมาจารที่ตนเองพึงระลึกถึงด้วยความระแวง. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยบาปกรรมที่ต้องปิดบัง. บทว่า อสฺสมโณ สมณปฏิฺโ ความว่า บุคคลไม่เป็นสมณะเลย แต่กลับปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ เพราะเขาเป็นสมณะเทียม.

บทว่า อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ความว่า บุคคลไม่เป็นพรหมจารีเลย แต่เห็นผู้อื่นที่เป็นพรหมจารีนุ่งห่มเรียบร้อย ครองผ้าสีดอกโกสุมเที่ยวบิณฑบาต เลี้ยงชีวิตอยู่ในคามนิคมราชธานี ก็ทำเป็นเหมือนให้ปฏิญญาว่า เราเป็นพรหมจารี เพราะแม้ตนเองก็ปฏิบัติด้วยอาการเช่นนั้น คือ อย่างนั้น. แต่เมื่อกล่าวว่า เราเป็นภิกษุ แล้วเข้าไปยังโรงอุโบสถเป็นต้น ชื่อว่าปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารีแท้ทีเดียว. เมื่อจะรับลาภของสงฆ์ก็ทำนองเดียวกัน คือ ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี.

บทว่า อนฺโตปูติ ได้แก่ มีภายในหมักหมมด้วยกรรมเสีย. บทว่า อวสฺสุโต ได้แก่ ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่เกิดอยู่เสมอ บทว่า ตสฺส น เอวํ โหติ ความว่า บุคคลนั้นไม่มีความคิดอย่างนี้ เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่มีอุปนิสัยแห่งโลกุตรธรรม. บทว่า ตสฺส เอวํ โหติ ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ เพราะเธอเป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์ในมหาศีล.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓