พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถาสูตรที่ ๑ เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 ต.ค. 2564
หมายเลข  38337
อ่าน  671

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227

เอตทัคคบาลี

เอตทัคควรรคที่ ๔

วรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑

เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 32]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 227

เอตทัคควรรคที่ ๔

๑. วรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ในสูตรที่ ๑ ของวรรคที่ ๑ ในเอตทัคควรรค พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ. ก็อัคคศัพท์นี้ ในบทว่าเอตทคฺคํ นั้น ปรากฏในอรรถว่า เบื้องต้น ปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด. อัคคศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า เบื้องต้น ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราเปิดประตูสำหรับพวกนิครนถ์ชายหญิง. มาในอรรถว่า ปลาย ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึงเอาปลายนิ้วมือนั้น นั่นแล แตะต้องปลายนิ้วมือนั้น ปลายอ้อย ปลายไม้ไผ่. มาในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแบ่งส่วนเปรี้ยว ส่วนอร่อย หรือส่วนขม, ตามส่วนแห่งวิหาร หรือตามส่วนแห่งบริเวณ. มาในอรรถว่า ประเสริฐสุด ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคตปรากฏว่าประเสริฐสุดกว่าสัตว์เหล่านั้น. ในที่นี้ อัคคศัพท์นี้ ย่อมใช้ได้ ทั้งในอรรถว่า ปลาย ทั้งในอรรถว่าประเสริฐสุด. จริงอยู่ พระเถระเหล่านั้น ชื่อว่า อัคคะ เพราะเป็นที่สุดบ้าง เพราะประเสริฐสุดบ้าง ในตำแหน่งอันประเสริฐสุดของตน เพราะฉะนั้น อรรถในบทว่า เอตทคฺคํ นี้ มีดังนี้ว่านี้เป็นที่สุด นี้ประเสริฐสุด. แม้ในสูตรทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 228

ก็ธรรมดาการแต่งตั้งในตำแหน่ง เอตทัคคะ นี้ ย่อมได้โดยเหตุ ๔ ประการคือ โดยเหตุเกิดเรื่อง โดยการมาก่อน โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ ในเหตุ ๔ อย่างนั้น พระเถระบางรูป ย่อมได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุอย่างเดียว บางรูปได้โดยเหตุ ๒ อย่าง บางรูปได้โดยเหตุ ๓ อย่าง บางรูปได้ด้วยเหตุทั้ง ๔ อย่างหมดทีเดียว เหมือนท่านพระสารีบุตรเถระ. จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรเถระนั้น ได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะเป็นผู้มีปัญญามาก โดยเหตุเกิดเรื่องบ้าง โดยเหตุการมาก่อนบ้าง อย่างไร? สมัยหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ปราบพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นคัณฑามพฤกษ์ ไม้มะม่วงหอม ทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว เข้าจำพรรษา ณ ที่ไหนหนอ ทรงทราบว่า ณ ภพดาวดึงส์ ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๒ รอย รอยที่ ๓ ประทับไว้ ณ ดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าลุกจากบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เสด็จไปต้อนรับ พร้อมด้วยหมู่เทวดา. เทวดาทั้งหลายคิดกันว่า ท้าวสักกเทวราชแวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ยาว ๖๐ โยชน์ เสวยมหาสมบัติ. จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับนั่งแล้ว คนอื่นไม่สามารถจะวางแม้แต่มือลง ณ พระแท่นนี้ได้ ฝ่ายพระศาสดา ประทับนั่งณ ที่นั้นแล้ว ทรงทราบวาระจิต ของทวยเทพเหล่านั้นแล้ว ประทับนั่งล้น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์หมดเลย เหมือนท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุลผืนใหญ่ นั่งล้นตั่งน้อย ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 229

แต่ใครๆ ไม่ควรกำหนดว่า พระศาสดาเมื่อประทับนั่งอย่างนี้ ทรงนิรมิตพระสรีระของพระองค์ให้ใหญ่ หรือทรงทำบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ให้เล็ก. ด้วยว่าพุทธวิสัย เป็นอจินไตย (ใครๆ ไม่ควรคิด) ก็พระองค์ประทับนั่งอย่างนี้แล้ว การทำพระมารดาให้เป็นกายสักขีประจักษ์พยาน เริ่มทรงแสดงอภิธรรมปิฎก มีอาทิว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม โปรดทวยเทพในหมื่นจักรวาล

แม้ในที่ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ บริษัททั้งหมดประมาณ ๑๒ โยชน์เข้าไปหาพระอนุรุทธะ ถามว่า ท่านผู้เจริญ พระทศพลประทับอยู่ ณ ที่ไหน? พระอนุรุทธะตอบว่า พระทสพลเข้าจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในภพดาวดึงส์ เริ่มแสดงอภิธรรมปิฎก บริษัทถามว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าไม่เห็นพระศาสดาก็จักไม่กลับไป ท่านทั้งหลาย จงรู้เวลาที่พระศาสดาเสด็จมาว่าเมื่อไร พระศาสดาจักเสด็จมา พระอนุรุทธะกล่าวว่า พวกท่านจงไว้หน้าที่ แก่พระมหาโมคคัลลานเถระเถิด ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว จักนำข่าวมา. บริษัทถามว่า ก็กำลังของพระเถระที่จะไปในที่นั้นไม่มีหรือ? พระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้ว่า มีอยู่. แต่ขอบริษัทจงดูคุณวิเศษเถิด. มหาชนเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ อ้อนวอนขอให้ท่านรับข่าวของพระศาสดาเสด็จมา. เมื่อมหาชนกำลังเห็นอยู่ นั่นแหละ. พระเถระก็ดำลงในมหาปฐพีไปภายในเขาสิเนรุ ถวายบังคมพระศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาชนประสงค์จะเฝ้าพระองค์ อยากจะทราบวันที่พระองค์จะเสด็จมา. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงบอกว่า ท่านทั้งหลาย จะเห็นที่ประตูเมืองสังกัสสะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 230

ฝ่ายพระศาสดาทรงแสดงธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วทรงแสดงอาการเพื่อเสด็จกลับมนุษยโลก. ท้าวสักกเทวราช ตรัสเรียกวิสสกัมมเทพบุตรมา มีเทวโองการสั่ง ให้นิรมิตบันได เพื่อพระตถาคตเสด็จลง วิสสุกัมมเทพบุตร เนรมิตบันไดทองข้างหนึ่ง บันไดเงินข้างหนึ่ง แล้วเนรมิตบันไดแก้วมณีไว้ตรงกลาง. พระศาสดาประทับยืนบนบันไดแก้วมณี ทรงอธิษฐานว่า ขอมหาชนจงเห็นเรา ทรงอธิษฐานด้วยอานุภาพของพระองค์ว่า ขอมหาชนจงเห็นอเวจีมหานรก และทรงทราบว่ามหาชนเกิดความสลดใจ เพราะเห็นนรก จึงทรงแสดงเทวโลก. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์เสด็จลง ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกเทวราชทรงรับบาตร. ท้าวสุยามเทวราชพัดด้วยวาลวีชนีอันเป็นทิพย์. ปัญจสิขคันธัพพเทพบุตร บรรเลงพิณสีเหลือง ดังผลมะตูมให้เคลิบเคลิ้ม ด้วยมุจฉนาเสียงประสาน ๕๐ ถ้วน ลงนำเสด็จ. ในเวลาที่พระพุทธเจ้า ประทับยืนบนแผ่นดิน มหาชนอธิษฐานว่าข้าฯ จักถวายบังคมก่อนๆ พร้อมด้วยการเหยียบมหาปฐพี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งมหาชน ทั้งพระอสีติมหาสาวก ไม่ทัน ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน. พระธรรมเสนาบดี สารีบุตรเถระเท่านั้น ทันถวายบังคม.

ตั้งแต่นี้ล่วงไป ๓ เดือน. พระเถระ นำข่าวของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาบอกแก่มหาชน. มหาชนตั้งค่ายอยู่ในที่นั้น นั่นเอง ๓ เดือน ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ได้ถวายข้าวยาคู และภัตแก่บริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ตลอด ๓ เดือน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 231

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเริ่มปุถุชนปัญจกปัญหา (ปัญหามีปุถุชนเป็นที่ ๕) ในระหว่างบริษัท ๑๒ โยชน์ ด้วยพระพุทธประสงค์ว่า มหาชนจงรู้อานุภาพปัญญาของพระเถระ. ครั้งแรกตรัสถามปุถุชน ด้วยพุทธประสงค์ว่า โลกิยมหาชน จักกำหนดได้. ชนเหล่าใดๆ กำหนดได้ ชนเหล่านั้นๆ ก็ตอบได้. ครั้งที่ ๒ ตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรค ล่วงวิสัยปุถุชน. ปุถุชนทั้งหลายก็นิ่ง. พระโสดาบันเท่านั้นตอบได้. ลำดับนั้นจึงตรัสถามปัญหา ในสกทาคามิมรรค ล่วงวิสัยพระโสดาบัน. พระโสดาบันก็นิ่ง. พระสกทาคามีบุคคลเท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอนาคามิมรรค ล่วงวิสัยแม้ของพระสกทาคามีบุคคลเหล่านั้น พระสกทาคามีบุคคลก็นิ่ง. พระอนาคามีบุคคลเท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอรหัตมรรค ล่วงวิสัยของพระอนาคามีบุคคลแม้เหล่านั้น. พระอนาคามีก็นิ่ง. พระอรหันต์เท่านั้นตอบได้. ตั้งแต่เงื่อนปัญหาเบื้องต่ำกว่านั้น ตรัสถามพระสาวกผู้รู้ยิ่ง. พระสาวกเหล่านั้น ตั้งอยู่ในวิสัยแห่งปฏิสัมภิทาของตนๆ ก็ตอบได้. ลำดับนั้น จึงตรัสถามพระมหาโมคคัลลานเถระ. พระสาวกนอกนั้นก็นิ่งเสีย. พระเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยของพระเถระ แม้นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะก็นิ่งเสีย. พระสารีบุตรเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยแม้ของพระเถระ ตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัย พระธรรมเสนาบดีแม้นึกอยู่ก็ไม่สามารถจะเห็น มองดูไปรอบๆ คือ ทิศใหญ่ ๔ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศน้อยทั้ง ๔ ก็ไม่สามารถจะกำหนดฐานที่เกิดปัญหาได้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 232

พระศาสดาทรงทราบว่า พระเถระลำบากใจ จึงทรงดำริว่า พระสารีบุตรลำบากใจ จำเราจักแสดงแนวทางแก่เธอ จึงตรัสว่า เธอจงรอก่อนสารีบุตร แล้วตรัสบอกว่าปัญหานั้นเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า ด้วยพระดำรัสว่า ปัญหานี้มิใช่วิสัยของเธอ เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้มียศ แล้วตรัสว่า สารีบุตรเธอจงเห็นภูตกายนี้. พระเถระรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกการกำหนดกาย อันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าข้าพระองค์รู้แล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้าข้าพระองค์รู้แล้ว. เกิดการสนทนากันขึ้นในที่นี้ ดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระสารีบุตร มีปัญญามากหนอ ตอบปัญหาที่คนทั้งปวงไม่รู้ และตั้งอยู่ใน นัยที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว ตอบปัญหาในพุทธวิสัยได้ ดังนั้น ปัญญานุภาพของพระเถระ จึงขจรไปท่วมฐานะทั้งปวง เท่าที่กิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้าขจรไป. พระเถระได้ตำแห่ง เอตทัคคะ เพราะมีปัญญามาก โดยอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ได้ตำแหน่ง เอตทัคคะ โดยการมาก่อนอย่างไร? โดยนัยแห่งอัตถุปปัตตินี้นี่แหละ พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาแต่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น หามิได้ ในอดีตกาลแม้เธอบวชเป็นฤาษี ๕๐๐ ชาติ ก็ได้เป็นผู้มีปัญญามากเหมือนกัน.

สาวกรูปใด ละกามที่น่ารื่นรมย์ใจ แล้วบวชถึง ๕๐๐ ชาติ ท่านทั้งหลายจงไหว้สาวกรูปนั้น ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว ผู้ดับสนิทแล้ว คือ สารีบุตร.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 233

ท่านเพิ่มพูนการบวชอย่างนี้ สมัยหนึ่ง บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กรุงพาราณสี เรียนไตรเพท ไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น จึงเกิดความคิดขึ้นว่า ควรที่เราจะบวชแสวงหาโมกขธรรมสักอย่างหนึ่ง. สมัยนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็บังเกิด ในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ ผู้มหาศาลเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ เห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ละการครองเรือน เข้าป่าหิมพานต์ กระทำบริกรรมกสิณ ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด มีผลหมากรากไม้ในป่าเป็นอาหาร ใกล้หิมวันตประเทศ แม้มาณพนั้นก็บวชแล้ว ในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น นั่นแล. ท่านมีปริวารมาก มีฤาษีประมาณ ๕๐๐ เป็นบริวาร. ลำดับนั้นหัวหน้าอันเตวาสิกของท่าน ได้พาบริษัทส่วนหนึ่ง ไปยังถิ่นมนุษย์เพื่อเสพรสเค็ม และรสเปรี้ยว.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทำกาละ (ตาย) ณ หิมวันตประเทศนั้น นั่นเอง. ในเวลาจะทำกาละ อันเตวาสิกทั้งหลาย ประชุมกันถามว่า คุณวิเศษอะไร ที่ท่านบรรลุมีอยู่หรือ. พระโพธิสัตว์ตอบว่าอะไรๆ ไม่มี เป็นผู้ไม่เสื่อมฌานบังเกิดในพรหมโลกชั้นอาภัสสร. ท่านได้อากิญจัญญายตนสมาบัติก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น ธรรมดาว่าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปฏิสนธิในอรูปาวจรภูมิ. เพราะเหตุไร? เพราะเป็นฐานะอันไม่ควร. ดังนั้น ท่านถึงแม้ได้อรูปสมาบัติ ก็บังเกิดในรูปาวจรภูมิ. ฝ่ายอันเตวาสิกของท่าน ไม่กระทำสักการะ และสัมมานะอะไรๆ ด้วยคิดว่า อาจารย์กล่าวว่าอะไรๆ ไม่มี การกระทำกาลกิริยาของท่าน เป็นโมฆะเปล่าคุณ. ลำดับนั้น หัวหน้าอันเตวาสิกรูปนั้น เมื่อล่วงพรรษาแล้ว จึงกลับมาแล้วถามว่า อาจารย์

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 234

ไปไหน? อันเตวาสิกทั้งหลายตอบว่า ทำกาละเสียแล้ว. ท่านถามว่า พวกท่านถามถึงคุณที่อาจารย์ได้บ้างหรือ? อันเตวาสิกตอบว่าขอรับ พวกกระผมถามแล้ว. หัวหน้าอันเตวาสิกถามว่า ท่านพูดว่ากระไร? พวกอันเตวาสิก ตอบว่า อาจารย์กล่าวว่าอะไรๆ ไม่มี แม้พวกกระผมก็คิดว่า ชื่อว่าคุณที่อาจารย์ได้แล้ว ย่อมไม่มี จึงไม่กระทำสักการะ และสัมมานะแก่ท่าน. หัวหน้าอันเตวาสิก กล่าวว่าพวกท่านไม่รู้ความของภาษิต ท่านอาจารย์ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ. อันเตวาสิกเหล่านั้น ก็ไม่เชื่อคำของหัวหน้าอันเตวาสิก. หัวหน้าอันเตวาสิกแม้พูดอยู่บ่อยๆ ก็ไม่อาจให้พวกอันเตวาสิกเชื่อได้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์รำพึงถึงอยู่คิดว่า มหาชนผู้บอดเขลา ย่อมไม่เชื่อคำของหัวหน้าอันเตวาสิกของเรา จำเราจักกระทำเหตุนี้ให้ปรากฏ ดังนี้แล้ว ลงจากพรหมโลก ยืนอยู่ท้ายอาศรมทั้งที่อยู่ในอากาศ นั่นแล พรรณนาอานุภาพแห่งปัญญา ของหัวหน้าอันเตวาสิก ได้กล่าวคาถานี้ว่า

ปโรสหสฺสํปิ สมาคตานํ

กนฺเทยฺยุํ เต วสฺสสตํ อปญฺา

เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโ

โย ภาสิตสฺส วิชานามิ อตฺกํ

คนแม้เกินกว่า ๑,๐๐๐ คน ประชุมกัน ผู้ที่ไม่มีปัญญา พึงคร่ำครวญอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี บุคคลผู้รู้แจ้ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 235

ความหมายของภาษิต เป็นผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า (คนตั้ง ๑,๐๐๐ คน).

พระโพธิสัตว์ทำให้หมู่ฤาษีเข้าใจอย่างนี้แล้ว กลับไปพรหมโลก. แม้หมู่ฤาษีที่เหลือ ไม่เสื่อมฌานทำกาลแล้ว มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ในบรรดาบบุคคลเหล่านั้น พระโพธิสัตว์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. หัวหน้าอันเตวาสิก เป็นพระสารีบุตร. ฤาษีที่เหลือเป็นพุทธบริษัท แม้ในอดีตกาล ก็พึงทราบว่าพระสารีบุตรมีปัญญามาก สามารถรู้อรรถของภาษิตที่ตรัสไว้อย่างสังเขป โดยพิสดารได้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ ปุถุชนปัญจกปัญหาให้เป็นเหตุเกิดเรื่องแล้ว ตรัสชาดกนี้ว่า

ถ้าแม้คนเกิน ๑๐๐ คน ประชุมกัน คนเหล่านั้นไม่ปัญญา พึงเพ่งพินิจอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ผู้รู้อรรถของภาษิต ผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า

เนื้อความของชาดกนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในชาดกก่อน นั่นแล. ทรงกระทำปุถุชนปัญจกปัญหานี้แล อีกข้อหนึ่ง ให้เป็นเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงแสดงอนังคณชาดก นี้ว่า

ทั้งคนมีสัญญาก็ทุคคตะ ทั้งคนไม่มีสัญญาก็ทุคคตะ สุขในสมาบัตินั่น ไม่มีเครื่องยียวน ย่อมมีได้แก่เหล่าชน เว้นคน ๒ พวกนั้น.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 236

ก็ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกทั้งหลายถาม จึงกล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี (ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่). คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล. ทรงกระทำปุถุชนปัญจกปัญหาอื่นอีก ให้เป็นอัตถุปปัตติแล้ว ตรัสจันทาภชาดกนี้ว่า.

ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกถาม จึงกล่าวว่า จนฺทาภํ สุริยาภํ หมายเอาว่า ผู้ใดหยั่งลงเข้าไป แล่นไปสู่กสิณทั้ง ๒ นั้นคือ โอทาตกสิน ชื่อว่าจันทาภะ ปิตกสิณ ชื่อว่าสุริยาภะ แม้ผู้นั้นก็เข้าถึงอาภัสสรพรหม ด้วยทุติยฌาน อันไม่มีวิตก เราก็เป็นเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อน นั่นแล. ทรงกระทำปุถุชนปัญจกปัญหานี้แล ให้เป็นอัตถุปปัตติ จึงตรัสสรภชาดก ในเตรสนิบาตนี้ว่า

เป็นบุรุษพึงหวังอยู่ร่ำไป เป็นบัณฑิตไม่พึงเหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด ก็ได้เป็นอย่างนั้น เป็นบุรุษพึงพยายามร่ำไป เป็นบัณฑิตไม่พึงเหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ได้รับความช่วยเหลือ ให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้ นรชนผู้มีปัญญา แม้ประสบทุกข์ ก็ไม่ควรตัดความหวัง ในอันจะมาสู่ความสุข ด้วยว่าผัสสะทั้งที่ไม่เกื้อกูล และเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึง ก็ต้องเข้าทางแห่งความตาย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 237

แม้สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ก็มีได้ แม้สิ่งที่คิดไว้ก็หายไปได้ โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ สำเร็จได้ด้วยความคิดนึกหามีไม่ เมื่อก่อนพระองค์เสด็จติดตามกวางตัวใด ไปติดที่ซอกเขา พระองค์ทรงพระชนม์สืบมาได้ ด้วยอาศัยความบากบั่นของกวางตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้. กวางตัวใดพยายามเอาหินถมเหว ช่วยพระองค์ขึ้นจากเหวลึกที่ขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องพระองค์ ผู้เข้าถึงทุกข์ออกจากปากมฤตยู พระองค์กำลังตรัสถึงกวางตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้. ดูก่อนพราหมณ์ คราวนั้นท่านอยู่ที่นั้นด้วยหรือ หรือว่าใครบอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผยข้อที่เคลือบคลุม เห็นเรื่องทั้งหมดละสิหนอ ความรู้ของท่านแก่กล้าหรือหนอ. ข้าแต่พระธีรราชผู้เป็นจอมชน คราวนั้นข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่ และใครก็มิได้บอกแก่ข้าพระองค์ แต่ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำเนื้อความแห่งบทคาถาที่พระองค์ทรงภาษิตไว้ดีแล้ว มาใคร่ครวญดู.

ก็ชาดกทั้ง ๕ นี้ พระศาสดาตรัสไว้ เพื่อประกาศอานุภาพแห่งปัญญา ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเท่านั้นว่า แม้ใน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 238

อดีต บุตรของเรา ก็รู้อรรถแห่งธรรมที่เรากล่าวแต่สังเขปโดยพิสดารได้ เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะความที่ตนมีปัญญามาก แม้โดยการมาก่อน ด้วยประการอย่างนี้.

โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญอย่างไร? ได้ยินว่าข้อนั้นเป็นความช่ำชอง ของพระเถระ. พระเถระเมื่อแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท ๔ ย่อมแสดงไม่พ้นสัจจะ ๔ เพราะฉะนั้น พระเถระได้เอตทัคคะ เพราะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ ด้วยประการฉะนี้.

โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร? จริงอยู่ เว้นพระทศพลเสีย คนอื่นใครเล่าแม้เป็นสาวกเอก ที่จะเสมอเหมือนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรย่อมไม่มี เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะมีปัญญามาก แม้โดยยิ่งด้วยคุณ ด้วยประการฉะนี้.

ก็แม้พระมหาโมคคัลลานะก็เหมือนพระสารีบุตรเถระ ได้ตำแหน่งเอตทัคคะด้วยเหตุแม้ ๔ ประการนี้ทั้งหมด ได้อย่างไร? ก็พระเถระมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรมานนาคราช เช่น นันโทปนันทนาคราช เพราะฉะนั้น พระเถระย่อมได้โดยอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องอย่างนี้ เป็นอันดับแรก. ก็พระเถระนี้มิใช่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก แต่ในปัจจุบันเท่านั้น ถึงในอดีต แม้ท่านบวชเป็นฤาษี ก็เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากถึง ๕๐๐ ชาติแล.

สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันเป็นที่รื่นรมย์ใจบวช ๕๐๐ ชาติ ท่านทั้งหลายจงไหว้พระสาวก

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 239

นั้น ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว ดับสนิทแล้ว คือโมคคัลลานะ แล.

ก็ท่านได้แม้โดยการมาก่อนอย่างนี้. ก็ข้อนี้เป็นความช่ำชองของพระเถระ. พระเถระไปนรก อธิษฐานความเย็น เพื่อให้เกิดความเบาใจ แก่สัตว์ทั้งหลายในนรก ด้วยกำลังฤทธิ์ของตนแล้ว เนรมิตดอกปทุมขนาดเท่าล้อ นั่ง ณ กลีบปทุม แสดงธรรมกถา. ท่านไปเทวโลก ทำทวยเทพให้รู้คติแห่งกรรม แล้วแสดงสัจจกถา. เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ โดยเป็นผู้ช่ำของชำนาญอย่างนี้.

ได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร? เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพระสาวกอื่น ใครเล่า ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.

แม้พระมหากัสสปเถระ ก็ได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุทั้งหมดนี้ เหมือนพระมหาโมคคัลลานะนี้. ได้อย่างไร? ความจริงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกระทำการต้อนรับพระเถระสิ้นระยะทางประมาณ ๓ คาวุต ทรงให้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ทรงเปลี่ยนจีวรประทานให้. ในสมัยนั้น มหาปฐพีไหวถึงน้ำรองแผ่นดิน. เกียรติคุณของพระเถระ ก็ขจรท่วมไประหว่างมหาชน. ท่านได้โดยอัตถุปปัตติ

สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ใจบวช ๕๐๐ ชาติ ขอท่านทั้งหลายจงไหว้สาวกนั้นผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว ผู้ดับสนิท คือ กัสสปะแล.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 240

ท่านได้โดยการมาอย่างนี้. ความจริงข้อนั้น เป็นความช่ำชองของพระเถระ. ท่านอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เมื่อแสดงธรรม ย่อมแสดงไม่ละเว้นกถาวัตถุ ๑๐ เลย เพราะฉะนั้น พระเถระได้โดยเป็นผู้ช่ำชองอย่างนี้. เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่น ใครเล่าผู้เสมอเหมือนพระมหากัสสปะ ด้วยธุดงคคุณ ๑๓ ไม่มี เพราะฉะนั้น พระเถระได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.

ควรประกาศคุณของพระเถระทั้งหลายนั้นๆ ตามที่ได้โดยทำนองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าด้วยอำนาจคุณ นั่นแล พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสวยสิริราชสมบัติ ในห้องจักรวาล ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะหาได้ทรงขวนขวายน้อยว่า สิ่งที่ควรบรรลุเราก็บรรลุแล้ว บัดนี้จะต้องการอะไร ด้วยมหาชนที่เราดูแลอยู่แล้ว จึงเสวยแต่เฉพาะสิริราชสมบัติเท่านั้นไม่ แต่ทรงประทับนั่งในโรงศาลาตามกาลอันสมควร ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม ทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง ทรงตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย เฉพาะฐานันดรที่ควรแต่งตั้งเท่านั้น ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เป็นพระธรรมราชาผู้บรรลุความเป็นพระราชาเพราะธรรมโดยลำดับ ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ที่พระองค์ทรงบรรลุ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ไม่ทรงขวนขวายน้อยว่า บัดนี้จะต้องการอะไร ด้วยชาวโลกที่เราจะต้องตรวจดู เราจักเสวยสุขในผลสมาบัติ อันยอดเยี่ยม ยังประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาบรรจงจัดไว้ ท่ามกลางบริษัท ๔. ทรงเปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้วทรงแสดงธรรม ทรงข่มบุคคล ผู้มีธรรมฝ่ายดำ ผู้ควรข่มด้วยการขู่ด้วยภัยในอบาย เหมือนทรงโยนไปในเหวแห่งขุนเขาสิเนรุ ทรง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 241

ยกย่องบุคคลผู้มีธรรมอันดี ผู้ควรยกย่อง เหมือนยกขึ้นให้นั่งในภวัคคพรหม ทรงตั้งพระสาวก มีพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นต้น ผู้ควรตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย ให้ดำรงในฐานันดรทั้งหลาย ด้วยอำนาจคุณ พร้อมด้วยกิจคือหน้าที่ตามความเป็นจริง นั่นแล จึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา ผู้รัตตัญญูรู้ราตรีนาน อัญญาโกณฑัญญะเป็นเลิศ ดังนี้.

เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ

บทว่า เอตทคฺคํ ในบาลีนั้น มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น. บทว่า รตฺตญฺญูนํ แปลว่า ผู้รู้ราตรี. จริงอยู่ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่น ชื่อว่า ผู้บวชก่อนท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ. ไม่มีเพราะเหตุนั้น พระเถระย่อมรู้ราตรีตลอดกาลนาน จำเดิมตั้งแต่บวชเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นรัตตัญญู. เพราะท่านแทงตลอดธรรมก่อนใครทั้งหมด ท่านรู้ราตรีที่แจ้งธรรมนั้นมานาน แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า รัตตัญญู. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดคืนและวันของท่าน ผู้สิ้นอาสวะทั้งหลาย เป็นของปรากฏชัด. และพระอัญญาโกณฑัญญเถระนี้ เป็นผู้สิ้นอาสวะก่อน เพราะเหตุนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะนี้แล เป็นผู้เลิศ เป็นยอดคนแรก เป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งเหล่าสาวกผู้รัตตัญญู แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า รตฺตญฺญูนํ ยทิทํ อญฺาโกณฺฑญฺโ ดังนี้.

ก็ศัพท์ ยทิทํ ในบาลีนี้ เป็นนิบาต (ถ้า) เพ่งเอาพระเถระนั้น มีอรรถว่า โย เอโส เพ่งอัคคศัพท์ มีอรรถว่า ยํ เอตํ. บทว่า อญฺา-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 242

โกณฺฑญฺโ แปลว่า โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้ว โกณฑัญญะแทงตลอดแล้ว. ด้วยเหตุนั้น นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อญฺาสิวต โภ โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ อิติ หิทํ อายสฺมโตโกณฺฑญฺสฺส อญฺาโกณฺฑญฺโเตฺวว นามํ อโสสิ โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพระโกณฑัญญะ จึงได้มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.

พึงทราบปัญหากรรม (กรรมที่ตั้งปรารถนาไว้ครั้งแรกในอดีต) ในพระสาวกเอตทัคคะทุกรูป โดยนัยนี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้กระทำความปรารถนาครั้งก่อน ให้เป็นความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ในครั้งพระพุทธเจ้า พระองค์ไหน? ท่านบวชเมื่อไร? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรกเมื่อไร? ได้รับสถาปนาในตำแหน่งเมื่อไร? บรรดาพระเถระเอตทัคคะเหล่านั้น ก่อนอื่นในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้.

พึงทราบปัญหากรรม ในพระสาวกผู้เอตทัคคะทุกรูป โดยนัยนี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้กระทำความปรารถนาครั้งก่อน ให้เป็นความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ ในครั้งพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน? ท่านบวชเมื่อไร? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรกเมื่อไร? ได้รับสถาปนาในตำแหน่งเมื่อไร? บรรดาพระเถระเอตทัคคะเหล่านั้น ก่อนอื่นในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังต่อไปนี้.

ปลายแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ อุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ เสด็จลุกจากมหาโพธิบัลลังก์ พอยกพระบาทขึ้นเพื่อวางบนมหาปฐพี

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 243

ดอกปทุมขนาดใหญ่ผุดขึ้นรับพระบาท. ดอกปทุมนั้นกลีบยาว ๙๐ ศอก เกษร ๓๐ ศอก ช่อ ๑๒ ศอก ที่ประดิษฐานพระบาท ๑๑ ศอก. ก็พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นสูง ๕๘ ศอก เมื่อพระบาทขวาของพระองค์ประดิษฐานอยู่บนช่อปทุม ละอองเกษรประมาณทะนานใหญ่ พลุ่งขึ้นโปรยรดพระสรีระ. แม้ในเวลาวางพระบาทซ้ายดอกปทุมเห็นปานนั้น นั่นแล ผุดขึ้นรับพระบาท. ละอองมีขนาดดังกล่าวแล้ว นั่นแล พลุ่งขึ้นจากนั้น โปรยรดพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ก็รัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่งออกปกคลุมละอองนั้น กระทำที่ประมาณ ๑๒ โยชน์โดยรอบ ให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน เหมือนสายน้ำทองที่พุ่งออกทนานยนต์. ในเวลาย่างพระบาทครั้งที่ ๓ ดอกปทุมที่ผุดขึ้นก่อนก็หายไป. ปทุมดอกใหม่อื่น ก็ผุดขึ้นรับพระบาท. โดยทำนองนี้แล พระองค์ประสงค์จะเสด็จไปในที่ใดๆ ปทุมดอกใหญ่ก็ผุดขึ้นในที่นั้นๆ ทุกย่างพระบาท. ด้วยเหตุนั้น นั่นแล พระองค์จึงมีพระนามว่า ปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงอุบัติขึ้นในโลกอย่างนี้ มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคม และราชธานีเพื่อสงเคราะห์มหาชน เสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่า พระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับ. พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา. จบเทศนาบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต. พระราชาทรงนิมนต์พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น ทรงให้แจ้ง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 244

เวลา (ภัตตาหาร) ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร. พระศาสดาทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้ว เสด็จไปพระวิหารตามเดิม. โดยทำนองนั้น นั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้นชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้น (ต่อไป) พระราชาถวาย.

ครั้งนั้น พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาลกรุงหังสวดี. วันหนึ่ง ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ผู้น้อมไปโอนไป เงื้อมไป ทางพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วได้ไปยังที่แสดงธรรม พร้อมกับมหาชนนั้น นั่นแล. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้แทงตลอดธรรมก่อน ในพระศาสนาของพระองค์ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. กุลบุตรนั้น ได้สดับเหตุนั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ใหญ่หนอ ได้ยินว่า เว้นพระพุทธเจ้าเสีย ผู้อื่นชื่อว่า ผู้แทงตลอดธรรมก่อนกว่าภิกษุนี้ ย่อมไม่มี แม้เราพึงเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อน ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งในอนาคต ในเวลาจบเทศนา จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ว่า พรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว กุลบุตรนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทำประทักษิณแล้วไปยังที่อยู่ของตน ประดับที่ประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า ด้วยของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ให้จับของควรเคี้ยวและควรบริโภค อันประณีต ตลอดคืนยังรุ่ง. ล่วงราตรีนั้น ได้ถวายข้าวสาลีหอมมีแกง และกับข้าวต่างๆ รส มีข้าวยาคูและ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 245

ของเคี้ยวอันวิจิตรเป็นบริวาร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ในที่อยู่ของตน ในเวลาเสร็จภัตกิจได้วางผ้าคู่พอทำจีวรได้สามผืน ใกล้พระบาทของพระตถาคต คิดว่าเราไม่ได้ขอเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งเล็กน้อย เราปรารถนาตำแหน่งใหญ่จึงขอ แต่เราไม่อาจให้ทานเพียงวันเดียวเท่านั้น แล้วปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงคิด (อีก) ว่า จักถวายทานตลอด ๗ วัน ติดต่อกันไป แล้วจึงจักปรารถนา. โดยทำนองนั้น นั่นเอง เขาจึงถวายมหาทาน ๗ วัน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้ให้เปิดคลังผ้า วางผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีเยี่ยม ไว้ใกล้พระบาทแห่งพระพุทธเจ้า ให้ภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป ครองไตรจีวร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ท้าย ๗ วันแต่วันนี้ ข้าพระองค์พึงเป็นผู้สามารถบวช ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะอุบัติในอนาคต แล้วรู้แจ้งได้ก่อนเหมือนภิกษุนี้ แล้วหมอบศีรษะลง ใกล้พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า กุลบุตรนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้มาก ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จไหมหนอ เมื่อทรงรำลึกก็ทรงเห็นความสำเร็จ. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรำพึงถึงอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ย่อมไม่มีอะไรขัดขวางเลย. เหตุที่เป็นอดีตหรือเหตุที่เป็นอนาคต ที่เป็นไปในภายในระหว่างแสนโกฏิกัปป์ เป็นอันมากก็ดี ปัจจุบันระหว่างแสนจักรวาลก็ดี ย่อมเนื่องด้วยการนึก เนื่องด้วยมนสิการทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ได้ทรงเห็นเหตุนี้ ด้วยญาณที่ไม่มีใครๆ ให้เป็นไปได้ว่า ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 246

ทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้นความปรารถนาของกุลบุตรนี้ จักสำเร็จ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะกุลบุตรนั้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลกท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันถึงพร้อมด้วยนัยพันนัย พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร อันมีวนรอบ ๓ ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้น.

พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้น ดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรม ๘๔,๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, สรีระของพระองค์ผู้ปรินิพพานแล้ว ได้เป็นแท่งอันเดียวกัน เหมือนก้อนทอง ฉะนั้น. ก็ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์ บรรจุพระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ อิฐทั้งหลายล้วนแล้วด้วยทองคำ ชนทั้งหลายใช้หรดาล และมโนสิลาแทนดินเหนียว ใช้น้ำมันงาแทนน้ำ. ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังทรงพระชนม์อยู่ รัศมีแห่งพระสรีระแผ่ไป ๑๒ โยชน์. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพานแล้ว รัศมีนั้น สร้านออกปกคลุมที่ร้อยโยชน์โดยรอบ. เศรษฐีนั้นให้สร้างของควรค่าเท่ารัตนะพันดวง ล้อมเจดีย์ บรรจุพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์. เศรษฐีนั้นกระทำกัลยาณกรรม ล้วนแล้วด้วยทานใหญ่โตถึงแสนปี เคลื่อนจากอัตตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์. เมื่อเศรษฐีนั้นท่องเที่ยวอยู่ในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย นั่นเอง ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป เมื่อกาลล่วงไปเท่านี้ ในท้ายกัปที่ ๙๑ จากภัทรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งกุฏุมพี ในรามคาม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 247

ใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่านนามว่า จุลกาล.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติจากดุสิตบุรีบังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพันธุมะ กรุงพันธุมดี บรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ อันท้าวมหาพรหมอาราธนา เพื่อประโยชน์แก่การแสดงธรรม จึงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นพระราชกุมาร ทรงพระนามว่า ขัณฑะผู้เป็นพระกนิษฐาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อติสสะ ว่าเป็นผู้สามารถตรัสรู้ธรรมก่อน จึงทรงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่ชนทั้งสองนั้น และจักสงเคราะห์พระพุทธบิดา จึงเสด็จเหาะมาจากโพธิมัณฑสถาน ลงที่เขมมิคทายวัน รับสั่งให้เรียกคนทั้ง ๒ นั้นมาแล้วแสดงธรรม. ในเวลาจบเทศนา ชนทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล พร้อมกับสัตวโลก ๘๔,๐๐๐ คน อีกพวกหนึ่ง ผู้บวชตามในเวลาพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็มาเฝ้าพระศาสดาฟังธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. ณ ที่นั้นเอง พระศาสดาทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑ ทรงสถาปนาพระติสสเถระ ไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒.

ฝ่ายพระราชา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า จักเยี่ยมบุตร จึงเสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงสดับพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ นิมนต์พระศาสดาเพื่อเสวยภัตตาหาร ถวายบังคมแล้ว กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ พระองค์ขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ แล้วประทับนั่ง ทรงดำริว่า บุตรคนโตของเรา

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 248

ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า บุตรคนที่ ๒ ของเรา ก็เป็นอัครสาวกบุตรปุโรหิต เป็นสาวกที่ ๒ และภิกษุที่เหลือเหล่านี้ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ เที่ยวแวดล้อมบุตรของเราเท่านั้น ภิกษุเหล่านี้ ทั้งเมื่อก่อน ทั้งบัดนี้ เป็นภาระของเราผู้เดียว เราเท่านั้นจักบำรุงภิกษุเหล่านั้น ด้วยปัจจัย ๔ จักไม่ให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่น จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียนสองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวาร พระตำหนักพระราชนิเวศน์ให้ปิดด้วยผ้า ให้สร้างเพดานพวงดอกไม้ต่างๆ แม้ขนาดต้นตาล วิจิตรด้วยดาวทองห้อยเป็นระย้า ให้ลาดพื้นล่าง ด้วยเครื่องลาดอันวิจิตร ให้ตั้งหม้อน้ำเต็มไว้ใกล้กอมาลัย และของหอมทั้งสองข้าง วางดอกไม้ไว้ระหว่างของหอม และวางของหอมไว้ในระหว่างดอกไม้ เพื่อให้กลิ่นตลบตลอดทาง แล้วกราบทูลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว เสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร กระทำภัตกิจแล้ว กลับมายังวิหารภายในม่านนั่นแหละ. ใครๆ อื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ แล้วไฉนจะได้ถวายภิกษาหาร และการบูชาเล่า.

ชาวพระนคร คิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ในวันนี้ พวกเราก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วยกล่าวไปไย ที่จะได้ถวายภิกษา กระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า พระราชายึดถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระสงฆ์เป็นของเราจึงทรงบำรุงด้วยพระองค์เองผู้เดียว พระศาสดาเมื่อเสด็จอุบัติ ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่โลก พร้อมด้วยเทวโลก หาอุบัติเพื่อประโยชน์แก่พระราชาเท่านั้นไม่ นรกเป็นของร้อน สำหรับพระราชาพระองค์

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 249

เดียว สำหรับชนเหล่าอื่นเป็นเหมือนดอกอุบลเขียว ก็หาไม่ เพราะฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ถ้าพระราชาจะประทานพระศาสดาแก่พวกเราไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ให้ พวกเราจะรบกับพระราชา แล้วรับสงฆ์ไปกระทำบุญ มีทานเป็นต้น ก็แลชาวพระนครล้วนๆ ไม่อาจทำอย่างนี้ได้ พวกเราจะยึดเอาแม้คนผู้เป็นหัวหน้าไว้คนหนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเข้าไปหาเสนาบดี บอกความนั้นแก่ท่าน แล้วกล่าวว่า นายท่านเป็นฝ่ายของเรา หรือฝ่ายพระราชา เสนาบดีกล่าวว่า เราจะเป็นฝ่ายท่าน ก็แต่ว่าพวกท่านต้องให้เราวันแรก. ชาวพระนครก็รับคำ. เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวพระนครโกรธพระองค์. พระราชาถามว่าโกรธเรื่องไรละพ่อ. เสนาบดีกราบทูลว่า ได้ยินว่า พระองค์เท่านั้นบำรุงพระศาสดา พวกเราไม่ได้ แล้วทูลว่า ถ้าพวกอื่นได้ เขาไม่โกรธ เมื่อไม่ได้ ประสงค์จะรบกับพระองค์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า รบก็รบซิพ่อ เราไม่ให้ภิกษุสงฆ์ละ เสนาบดีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกทาสของพระองค์ พูดว่าจะรบกับพระองค์ แล้วพระองค์จักเอาใครรบ พระราชาตรัสว่า ท่านเป็นเสนาบดีมิใช่หรือ? เสนาบดีทูลว่า เว้นชาวพระนครเสีย ข้าพระองค์ไม่สามารถพระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาทราบว่า ชาวพระนครมีกำลัง ทั้งเสนาบดี ก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสว่า. ชาวพระนครจงให้ภิกษุสงฆ์แก่เราอีก ๗ ปี ๗ เดือน. ชาวพระนครไม่รับ พระราชาทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี จึงขออีก ๗ วัน. ชาวพระนครอนุญาต ด้วยเห็นว่า การที่เรากระทำกรรมอันหยาบช้า กับพระราชาในบัดนี้ ไม่สมควร. พระราชาทรงจัดทานมุข

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 250

(ทานที่เป็นประธาน) ที่จัดไว้สำหรับ ๗ ปี ๗ เดือน เพื่อ ๗ วันเท่านั้น เมื่อใครๆ ไม่เห็นอยู่เลย ให้ทานอยู่ ๖ วัน ในวันที่ ๗ จึงให้เรียกชาวพระนครมา ตรัสว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พวกท่านจักอาจให้ทานเห็นปานนี้หรือ. ชาวพระนครแม้เหล่านั้น กราบทูลว่า ทานนั้น เกิดขึ้นแก่พระองค์ เพราะอาศัยพวกข้าพระองค์เท่านั้นมิใช่หรือ? เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จักอาจถวายทานได้. พระราชาทรงเอาหลังพระหัตถ์เช็ดน้ำพระเนตร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ให้เป็นภาระของคนอื่น แล้วบำรุงด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต บัดนี้ข้าพระองค์ อนุญาตให้ชาวพระนครแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชาวพระนครเขาโกรธว่า พวกเขาไม่ได้ถวายทาน ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป โปรดทรงอนุเคราะห์ แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด. ครั้นในวันที่ ๒ เสนาบดีได้ถวายมหาทาน. ต่อแต่นั้นชาวพระนคร กระทำสักการะ และสัมมานะ ให้ยิ่งกว่าสักการะที่พระราชาทรงกระทำแล้ว ได้ถวายทาน. โดยทำนองนั้น นั่นแหละ เมื่อถึงลำดับของชาวพระนครทั่วๆ ไป ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ประตู ได้ตระเตรียมสักการะสัมมานะแล้ว.

กุฏุมพีมหากาล กล่าวกะกุฏุมพีจุลกาลว่า สักการะและสัมมานะของพระทศพล ถึงแก่เราวันพรุ่งนี้ เราจะทำสักการะอย่างไร? จุลกาลกล่าวว่า ดูก่อนพี่ท่าน ท่านเท่านั้น จงรู้. มหากาลกล่าวว่า ถ้าท่านทำตามชอบใจของเรา ข้าวสาลีที่ตั้งท้องแล้วๆ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 251

มีอยู่ในนา ประมาณ ๑๖ กรีสของเรา เราจักให้ฉีกท้องข้าวสาลี ถือเอามาหุงให้สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จุลกาลกล่าวว่า เมื่อทำอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นอุปการะแก่ใครๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่พอใจข้อนั้น. มหากาลกล่าวว่า ถ้าท่านกล่าวอย่างนี้ ข้าก็จะทำตามความชอบใจของข้า แล้วจึงแบ่งนา ๑๖ กรีส ผ่ากลางเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน ปักเขตในที่ ๘ กรีส ผ่าท้องข้าวสาลี เอาไปเคี่ยวด้วยน้ำนมไม่ผสม ใส่ของอร่อย ๔ ชนิด แล้วถวายแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ที่ที่ฉีกท้องข้าวสาลีแม้นั้นแล้ว ถือเอาๆ ก็กลับเต็มอีก. ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวายข้าวกล้าอย่างเลิศ พร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ถวายส่วนเลิศในข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็นฟ่อน เป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าว ในลาน ในเวลานวด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วนเลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่างเดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ.ท่านกระทำกรรมงาม ตามทำนองนั้นแล ตราบเท่าที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ (ครั้น) จุติจากอัตตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก. ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป ในเวลาที่พระศาสดาของเราทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลกรุงกบิลพัสดุ. ในวันขนานนาม พวกญาติขนานนามท่านว่า โกณฑัญญมาณพ. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพทจบ ลักษณะมนต์ทั้งหลาย. (ตำราทายลักษณะ)

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 252

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต บังเกิดในกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันถวายพระนามของพระองค์ พระประยูรญาติ ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ครองผ้าใหม่ ให้ดื่มข้าวมธุปายาส มีน้ำน้อย เลือกพราหมณ์ ๘ คน ในระหว่างพราหมณ์ ๑๐๘ นั้น ให้นั่งบนพื้นใหญ่ ให้พระโพธิสัตว์ผู้ประดับตกแต่งแล้ว นอนบนเบาะผ้า ที่ทำด้วยผ้าเนื้อละเอียด นำมายังสำนักของพราหมณ์เหล่านั้น เพื่อตรวจพระลักษณะ. พราหมณ์ผู้นั่งบนอาสนะใหญ่ ตรวจดูสมบัติแห่งพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว ยกขึ้น ๒ นิ้ว. ๗ คนยกขึ้น ตามลำดับอย่างนี้. ก็บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น โกณฑัญญมาณพผู้หนุ่มกว่าเขาหมด ตรวจดูลักษณะอันประเสริฐ. ยกนิ้วขึ้นนิ้วเดียวเท่านั้นว่า ไม่มีเหตุที่พระองค์จะทรงดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน พระกุมารนี้จักเป็นพระพุทธเจ้ามีกิเลส ดังหลังคาอันเปิดแล้ว โดยส่วนเดียว ฝ่ายคนทั้ง ๗ นี้ เห็นคติเป็น ๒ ว่า ถ้าอยู่ครองเรือนจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าบวช จักเป็นพระพุทธเจ้าจึงยกขึ้น ๒ นิ้ว. ก็พระอัญญาโกณฑัญญะนี้ ได้สร้างบุญญาธิการไว้ เป็นสัตว์เกิดในภพสุดท้าย เหนือคนทั้ง ๗ นอกนี้ด้วยปัญญา ได้เห็นคติเพียงอย่างเดียวว่า ชื่อว่าท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ ไม่ดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น จึงยกนิ้วเดียว. ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ไปสู่เรือนของตนๆ ปรึกษากับบุตรทั้งหลายว่า ลูกเอย พ่อแก่แล้วจะได้ชมเชย หรือไม่ได้ชมเชยพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้า เมื่อพระกุมารบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พึงบวชในพระศาสนาของพระองค์.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 253

ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงจัดการบริหาร เช่น แต่งตั้งแม่นมเป็นต้น สำหรับพระโพธิสัตว์ ทรงเลี้ยงดูพระโพธิสัตว์ให้เติบโต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยแล้ว เสวยสมบัติเหมือนเทพเจ้า เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้ว ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม จึงในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ มีนายฉันนะเป็นพระสหาย ทรงขึ้นม้ากัณฐกะ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทางประตูที่เทวดาเปิดให้ เสด็จเลยไป ๓ ราชอาณาเขต โดยตอนกลางคืนนั้น นั่นเอง ทรงบรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที พอทรงรับธงชัยแห่งพระอรหันต์ ที่ท้าวฆฏิการมหาพรหมนำมาถวายเท่านั้น เป็นเหมือนพระเถระ ๑๐๐ พรรษา เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ด้วยพระอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น เสวยบิณฑบาตที่ร่มเงาแห่งภูเขา ชื่อว่า ปัณฑวะ ถูกพระเจ้ามคธ ทรงเชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติ ก็ทรงปฏิเสธ เสด็จถึงอุรุเวลาประเทศ โดยลำดับ ทรงเกิดพระดำริ มุ่งหน้าต่อความเพียรขึ้นว่า ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์หนอ ที่นี้เหมาะจะทำความเพียรของกุลบุตร ที่ต้องการจะทำความเพียรหนอ ดังนี้แล้ว จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

สมัยนั้น พราหมณ์อีก ๗ คน ได้ไปตามกรรม. ส่วนโกณฑัญญนาณพ ผู้ตรวจพระลักษณะ หนุ่มกว่าเขาทั้งหมด เป็นผู้ปราศจากป่วยไข้. ท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสิทธัตถราชกุมาร ทรงผนวชแล้ว ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของพวกท่านไม่ป่วยไข้ สบายดี วันนี้ก็พึงออกบวช ถ้าแม้

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 254

ท่านทั้งหลายปรารถนาไซร้ มาเถิด พวกเราจะบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษนั้น บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่อาจจะมีฉันทะเป็นอันเดียวกันได้หมดทุกคน. ๓ คนไม่บวช. อีก ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้าบวชแล้ว. บรรพชิตทั้ง ๕ นี้ เที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี ได้ไปยังสำนักพระโพธิสัตว์. บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อพระโพธิสัตว์เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ตลอด ๖ ปี คิดว่า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า จึงบำรุงพระมหาสัตว์ ได้เป็นผู้เที่ยวไปเที่ยวมา ในสำนักพระโพธิสัตว์นั้น. ก็เมื่อใดพระโพธิสัตว์ แม้ทรงยับยั้งอยู่ด้วยงา และข้าวสารเมล็ดเดียว เป็นต้น ทรงรู้ว่า จะไม่แทงตลอดอริยธรรม ด้วยทุกกรกิริยา จึงเสวยพระกระยาหารหยาบ เมื่อนั้นบรรพชิตเหล่านั้น ก็หลบไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระกระยาหารหยาบ ทำพระฉวีวรรณ พระมังสะ และพระโลหิตให้บริบูรณ์แล้ว ในวันวิสาขบุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดี ที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาดทองไป ทวนกระแสแม่น้ำจึงตกลงพระทัยว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้. ในเวลาเย็น พญากาลนาคราชชมเชย ด้วยการชมเชยหลายร้อย ทรงขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถาน บ่ายพระพักตร์ไปสู่โลกธาตุด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิในที่อันไม่หวั่นไหว อธิษฐานความเพียร ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อพระอาทิตย์ยังโคจรอยู่นั่นแล ทรงกำจัดมารและพลมาร ปฐมยามทรงรำลึกบุพเพนิวาสญาณ มัชฌิมยามทรงชำระทิพจักษุญาณ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 255

ในเวลาต่อเนื่องกันแห่งปัจจุสสมัย ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาท พิจารณาปัจจยาการทั้งอนุโลมและปฏิโลม ตรัสรู้เฉพาะพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็นอสาธารณญา (๑) (ญาณที่ไม่มีทั่วไปแก่สาวกอื่น) ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว ทรงยับยั้งในโพธิมัณฑสถานนั้น นั่นแล ๗ วัน ด้วยผลสมาบัติอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

ด้วยอุบายนั้น นั่นแล ทรงประทับอยู่ ณ โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ เสวยข้าวสัตตุก้อน ที่โคนต้นไม้เกต แล้วเสด็จกลับมาที่โคนต้นอชปาลนิโครธอีก ประทับนั่ง ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาความที่ธรรมอันลึกซึ้ง เมื่อพระทัยน้อมไปในความเป็นผู้ขวนขวายน้อย อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย ต่างด้วยสัตว์มีอินทรีย์กล้า และมีอินทรีย์อ่อน เป็นต้น จึงประทานปฏิญญาแด่ท้าวมหาพรหมเพื่อแสดงธรรม ทรงพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่าอาฬารดาบส และอุททกดาบสทำกาละแล้ว เมื่อทรงดำริต่อไป ก็เกิดพระดำริขึ้นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ ผู้บำรุงเราตอนเราตั้งความเพียร นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรม.


(๑) ญาณนี้มี ๕ คือ ๑ อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปรีชากำหนดรู้ความยิ่ง และความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ๒. อาสยานุสยญาณ ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัย และกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน ๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๔. มหากรุณาสมาบัติญาณ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ๕. สัพพัญญุตญาณ ญาณในความเป็นพระสัพพัญญู ๖. อนาวรญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้. ขุ.ป. เล่ม ๓๑/๓

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 256

แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน. ก็ข้อนี้ทั้งหมดเทียว เป็นเพียงพระปริวิตกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. ก็เว้นโกณฑัญญพราหมณ์เสียคนอื่นใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อนไม่มี. จริงอยู่โกณฑัญญพราหมณ์นั้น ได้กระทำกรรมคือ บุญญาธิการไว้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เพื่อประโยชน์นี้เอง จึงได้ถวายทานในเพราะข้าวกล้าอันเลิศ ๙ ครั้ง แก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงถือบาตร และจีวร เสด็จไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โดยลำดับ เสด็จไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น เห็นพระตถาคตเสด็จมา ไม่อาจดำรงอยู่ในกติกาของพวกตน (ที่ตกลงกันไว้) องค์หนึ่งล้างพระบาท องค์หนึ่งจับพัดใบตาลยืนถวายงานพัด. เมื่อพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น แสดงวัตรอย่างนี้แล้ว นั่ง ณ ที่ใกล้พระศาสดา ทรงกระทำพระโกณฑัญญเถระ ให้เป็นกายสักขีพยานแล้ว ทรงเริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตรมีวนรอบ ๓ อันยอดเยี่ยม.

มนุษย์บริษัท ก็คือชนทั้ง ๕ (ปัญจวัคคีย์) เท่านั้น เทวบริษัทพระศาสดาทรงกระทำพระโกณฑัญญะ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับท้าวมหาพรหม ๑๘ โกฎิ. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า โกณฑัญญะรู้ทั่วธรรมที่เราได้ ได้มาด้วยการทำความเพียรอย่างหนัก ก่อนผู้อื่นทั้งนั้น เมื่อทรงเรียกพระเถระว่า ภิกษุนี้ ชื่ออัญญาโกณฑัญญะ จึงตรัสว่า อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภโกณฺฑญฺโ โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ โกณทัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ ดังนี้. คำนั้นนั่นแล จึงเป็นชื่อของท่าน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อิติ หิทํ

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 257

อายสฺมโต โกณฺฑญฺสฺส อญฺาโกณฺฑญฺโ เตฺวว นามํ อโหสิ ดังนั้น คำนี้ว่า อัญญาโกฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ ดังนั้น พระเถระจึงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๘ วันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระ วันแรม ๒ ค่ำ พระวัปปเถระ วันแรม ๓ ค่ำ พระมหานามเถระ. วันแรม ๔ ค่ำ พระอัสสชิเถระ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนวันแรม ๕ ค่ำ จบอนัตตลักขณสูตร ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตหมดทุกรูป. สมัยนั้นแล จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖ องค์

ตั้งแต่นั้นมา พระศาสดาทรงให้มหาชน หยั่งลงสู่อริยภูมิอย่างนี้คือ บุรุษ ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นหัวหน้า ภัททวัคคิยกุมาร จำนวน ๓๐ คน ที่ป่าฝ้าย ปุราณชฏิล จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ที่หลังแผ่นหินคยาสีสประเทศ ทรงให้ราชบริพาร ๑๑ นหุต มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ๑ นหุต ให้ดำรงอยู่ในไตรสรณะ ทรงทำพระศาสนาให้ผลิตดอกออกผล บนพื้นชมพูทวีป ทรงทำทั่วมณฑลชมพูทวีปให้รุ่งเรือง ด้วยกาสาวพัสตร คลาคล่ำไปด้วยนักแสวงบุญสมัยหนึ่ง เสด็จถึงพระเชตวันมหาวิหาร สถิตอยู่ ณ ที่นั้น ประทับบนพระพุทธอาสน์อย่างดี ที่เขาจัดไว้แล้ว ทรงแสดงธรรมท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เพื่อทรงแสดงว่า โกณฑัญญะ บุตรเรา เป็นยอดระหว่างเหล่าภิกษุ ผู้แทงตลอดธรรมก่อนใคร จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.

แม้พระเถระเห็นพระอัครสาวกทั้งสอง กระทำความเคารพนบนอบตน ประสงค์จะหลีกไปเสียจากสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้า 258

เห็นว่า ปุณณมานพบวชแล้ว จักเป็นยอดธรรมกถึกในพระศาสนา จึงกลับไปตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อ โทณวัตถุ (ชาติภูมิของท่าน) ให้ปุณณมานพหลานชายบรรพชาแล้ว คิดว่า ปุณณมาณพนี้ จักอยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้า จึงได้ปุณณมานพนั้น อยู่ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านเองก็เข้าไปเฝ้าพระทศพล ขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสนาสนะใกล้บ้าน ไม่เป็นสัปปายะสำหรับข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่เกลื่อนกล่น จำจักไปอยู่สระฉัททันต์ พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมแล้ว ไปยังสระฉัททันต์ อาศัยโขลงช้างสกุลฉัททันต์ยับยั้งอยู่ ๑๒ ปี ปรินิพพาน ด้วยอนุปานิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นั้นเอง

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑