ลักษณะของเจตสิกปรมัตถ์ ...

 
WS202398
วันที่  21 พ.ค. 2550
หมายเลข  3763
อ่าน  1,965

เจตสิกปรมัตถ์ เป็นนามปรมัตถ์ประเภทหนึ่ง เกิดร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต ฯลฯ

ที่ว่า เกิดพร้อมกับจิต ฟังดูก็ชัดเจนดี สำหรับผม แต่ที่ว่ารู้อารมณ์เดียวกับจิตฟังดูนิยามมันชวนให้รู้สึกเหมือนจิต ถ้าผมจะกล่าวว่า จิต เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เจตสิกเป็นคุณสมบัติ เป็นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นแล้วให้เกิดพร้อมกับจิตดวงนั้นๆ ถูกต้องหรือไม่ครับ

กล่าวโดยเฉพาะ เช่น โทสเจตสิก ที่เกิดกับจิตดวงหนึ่งด้วยอารมณ์หนึ่ง กับโทสเจตสิกที่เกิดพร้อมจิตอีกดวงหนึ่ง ด้วยอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง ลักษณะของโทสเจตสิกก็ไม่ต่างกันใช่หรือไม่ ทั้งที่อารมณ์ของจิตต่างกัน

โดยบัญญัติธรรมที่กล่าวว่า โกรธมาก โกรธน้อย โดยปรมัตถธรรมต่างกันอย่างไรโกรธมากเป็นสภาพที่โทสมูลจิตเกิดสืบต่อกันนานกว่า หรือเป็นสภาพที่โทสเจตสิกเข้มกว่า คำถามเปรียบได้กับคำถามที่ว่าเสียงดัง เสียงเบาต่างกันอย่างไร ต่างตรงที่เสียงเกิดขึ้นแรง หรือเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือโทสเจตสิกแต่ละดวงมีความแรงเฉพาะดวงแตกต่างกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 พ.ค. 2550

คำจำกัดความหรืออรรถของเจตสิกที่ถูกต้อง คือ ธรรมชาติที่เกิดในจิตที่มีลักษณะ๔ อย่างคือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ เอกวัตถุกะ สำหรับปัญหาลักษณะของโทสะ เกิดต่างขณะหรือมีอารมณ์ต่างกัน โดยลักษณะของโทสะ ไม่ต่างกัน แต่กำลังของโทสะต่างๆ กันได้ ตามการสะสม ซึ่งรวมถึงการโกรธบ่อย การโกรธนานด้วย ทำให้กำลังของโทสะต่างๆ กันเปรียบเหมือนสุราต่างประเภทกัน ทั้งหมดคือสุรา แต่ดีกรี ของสุราต่างกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อารายเนี่ย
วันที่ 21 พ.ค. 2550

เรื่อง ระดับของโทสะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488 ข้อความบางตอนจาก อรรถกถา วีณาสูตร

ความโกรธที่มีกำลังน้อย แรกเกิดไม่สามารถ เพื่อจะถือท่อนไม้ เป็นต้นได้ ชื่อว่าโทสะ. ส่วนความโกรธที่มีกำลังมาก เกิดขึ้นติดต่อกันมา สามารถจะทำการเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ปฏิฆะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253 (๑) โกธะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ความเดือดดาลหรือความดุร้าย มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย

(๒) อุปนาหะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่ คือ ไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิดก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 137 ข้อความบางตอนจาก จักกวัตติสูตร

จริงอยู่ความโกรธ ย่อมทำจิตให้ผูกอาฆาต เหตุนั้นจึงชื่อว่า อาฆาต. ความโกรธย่อมทำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขของตน และบุคคลอื่นให้เสียหาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า พยาบาท จะกล่าวว่า ความประทุษร้ายแห่งใจก็ได้ เพราะประทุษร้ายใจ.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ความโกรธที่มีกำลังต่างกัน [ธนิยสูตร]

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 22 พ.ค. 2550

ขอขอบคุณ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 22 พ.ค. 2550

กิเลสมีระดับต่างกัน ๓ ประการ

๑. วีติกกมะ เป็นกิเลสที่มีกำลัง เช่น เวลาเราโกรธล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา

ฯลฯ

๒. ปริยุฏฐานะ เป็นกิเลสปานกลาง เช่น ขุ่นใจ ไม่พอใจ แต่ยังไม่ได้ล่วงออกมา

ทางกาย ทางวาจา

๓. อนุสัยกิเลส คือ กิเลสที่นอนเนื่อง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 28 มี.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ