การ นั่งทำสมาธิ และ การนึกคิดพิจารณาตามรู้ธรรมที่เกิด

 
thongdaeng
วันที่  12 พ.ค. 2550
หมายเลข  3687
อ่าน  2,009

มีการอธิบายของบางท่านหรือบางกลุ่มว่า การเข้าห้องนั่งสมาธิ นั้นรังแต่จะทำให้เราหลงทางไปกันใหญ่เพราะท่านนั้นเคยโดนหลอกมาแล้ว ควรที่จะมาเอาใจใส่ในการฟังธรรม อธิบายธรรม (ปฏิเวธ) โดยผู้ศึกษามาดีให้มากๆ จะดีกว่า และจะทำให้การปฏิบัติธรรมเป็นไปโดยการพิจารณาธรรมที่ประจักษ์ในแต่ละขณะได้ดีกว่า เพราะรู้และมีข้อมูลอยู่มากจากการฟังจะรู้เท่าทันมากกว่าและถือเป็นการปฏิบัติของปัญญาด้วย, และอธิบายว่าการเจริญอานาปาณสตินั้น เป็นที่อยู่ของมหาบุรุษ คนทั่วไปทำได้ยาก และไม่แน่ว่าจะทำได้หรือไม่เพราะเป็นสิ่งละเอียด เพราะอริยสาวกบางท่านเพียงฟังธรรมก็สามารถบรรลุธรรมได้ ไม่ต้องมานั่งฝึกพิจารณาฝึกในห้อง อย่างปัจจุบัน

(ความเห็นส่วนตัว : ก็ท่านเหล่านั้นปฏิบัติมาเพียงพอแล้วในอดีตกาล และผู้ตรัสข้อธรรมก็คือพระพุทธเจ้า ซึ่งหยั่งรู้ว่าบุคคลนั้นจะบรรลุด้วยข้อธรรมใด ซึ่งถ้าเราจะศึกษา สนทนาธรรมจนเข้าใจด้วยการตรึกตรองตามในพระไตรปิฎก จนเจนจบอย่างพระธรรมกถึกแล้ว ก็ไม่ได้มีผู้รู้ท่านใดในอดีต บอกว่ารับรองจะบรรลุแจ้งจริงในธรรมได้แน่นอน ถ้าถือตามคตินี้แล้วทุกคนนั้น ในพันปีที่สามนี้ก็ยากที่จะหาพระอรหันต์ได้อยู่แล้ว ตามที่ท่านได้อธิบาย) ในความเห็นส่วนตัว ข้าฯ เห็นว่า การศึกษามามากก็ดีอยู่เป็นเบื้องต้นที่ต้องมี แต่การที่เราจะฝึกตน เฉพาะหน้าในแต่ละขณะที่ธรรมประจักษ์ว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล

ไม่ใช่สัตว์นั้น ถ้าใช้จินตามยปัญญาพิจารณาอย่างเดียวไม่น่ารู้เท่าทันในธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็วอย่างจิตได้ ได้แต่เพียงพิจารณาตามทีหลังตามพระไตรปิฎกกล่าวไว้และก็ไม่ทราบว่าต้องใช้เวลานานขนาดไหนจึงจะชำนาญ และรู้เท่าทันได้ตลอดสายธรรมนั้น พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ ก็ยังต้องนั่งสมาธิเข้าฌาน ตามลำดับแล้วพิจารณาธรรม จึงเห็นว่าควรจะใช้การภาวนามยปัญญา ซึ่งข้า ฯ (อัตตานี้) เข้าใจว่าจะเกิดได้ส่วนหนึ่ง จากจิตที่ฝึกดีแล้วและวิธีฝึกก็มีหลายแบบทั้งกรรมฐาน ๔๐, อานาปานสติ มหาสติปัฏฐานสี่ เป็นต้น จนจิตชำนาญควรแก่งานดีแล้วจึงใช้ในการพิจารณาวิปัสสนาได้ มิเช่นนั้นแล้วจะมีการสั่งสอนกันมาทำไมถ้าไม่เกิดผลอันยิ่งแล้วต่อการบรรลุธรรม จึงอยากขอความเห็นจากท่านผู้รู้ทั้งหลายกรุณาชี้แจง มิได้มีเจตนาไม่ดี แต่อยากทราบข้อเท็จจริงเพื่อความแนบแน่นในการศึกษาธรรม ไม่ต้องแคลงใจในการฟังธรรม ตามแนวทางข้างต้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
devout
วันที่ 15 พ.ค. 2550

ยุคนี้พระไตรปิฎกยังอยู่ครบถ้วนสมบูรณ์ ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราควรศึกษาและทำความเข้าใจให้มากที่สุด ส่วนเรื่องการอบรมสมถกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบนั้น ยังคงมีการปฏิบัติกันต่อไปแม้ในยุคที่ว่างจากพระพุทธศาสนา

การเกิดเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา จึงถือว่าเป็นโอกาสทองของชีวิต

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ