พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ธชัคคสูตร อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36449
อ่าน  417

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 463

๓. ธชัคคสูตร

อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 463

๓. ธชัคคสูตร

อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย

[๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 464

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น พึงหายไปได้บ้าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 465

ไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่.

[๘๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 466

แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่าเมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป.

[๘๖๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 467

อรรถกถาธชัคคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง. บทว่า ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว ๑๕๐ โยชน์ ตอนท้ายรถนั้น ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ฝากถึงหัวรถ ๕๐ โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น ๒ เท่า กล่าวว่า ยาว ๓๐๐ โยชน์บ้าง. ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด ๓ โยชน์ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น ๒๕๐ โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้วคล้ายดุริยางค์ทั้ง ๕ ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืนอยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว. บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้น มีผิวพรรณเหมือนกับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ ๒. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน ก็แลท้าววรุณได้ที่นั่งที่ ๓ ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ ๔. บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มีความหนีไปเป็นธรรมดา.

บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคคปริตนี้. อานุภาพของปริตรใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือ ในแสนโกฏิจักรวาล. จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 468

ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้. จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนึกถึงปริตรนี้ย่อมได้ที่พึ่งแม้ในอากาศ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปิเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่งตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึงกล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตาย จึงกล่าวว่า ธชัคคปริตรช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ ๒ ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที. คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.

จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓