พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ปโรสหัสสสูตร การสรรเสริญพระพุทธเจ้าโดยคาถาที่ไม่คิดไว้ก่อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36415
อ่าน  326

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 331

๘. ปโรสหัสสสูตร

การสรรเสริญพระพุทธเจ้าโดยคาถาที่ไม่คิดไว้ก่อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 331

๘. ปโรสหัสสสูตร

การสรรเสริญพระพุทธเจ้าโดยคาถาที่ไม่คิดไว้ก่อน

    [๗๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน. อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป.

    ก็โ่ดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน.

    ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ได้ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 332

    [๗๔๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงแนะนำ ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ก็ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น อย่ากระนั้นเลย เราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรเถิด.

    ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิดวังคีสะ.

    [๗๔๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า

    ภิกษุมากกว่าพัน ย่อมนั่งห้อมล้อมพระสุคตผู้ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี คือพระนิพพาน ธรรมอันหาภัยแต่ไหนมิได้ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังธรรมอันปราศจากมลทิน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระสัมพุทธเจ้าผู้อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมแล้ว ย่อมงามจริงหนอ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 333

นามว่าพญาช้างอันประเสริฐ เป็นพระฤาษีที่ ๗ แห่งพระฤาษีทั้งหลาย เป็นผู้ดุจมหาเมฆยังฝนให้ตกในพระสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าใหญ่ วังคีสะสาวกของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวัน ด้วยความใคร่เพื่อเฝ้าพระศาสดา ขอถวายบังคมพระบาท ดังนี้.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อนหรือๆ ว่าแจ่มแจ้งกะเธอโดยฉับพลัน.

    ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ข้าพระองค์มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์โดยทันทีเทียวแล.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วังคีสะ คาถาทั้งหลายที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ในกาลก่อน จงแจ่มแจ้งกะเธอโดยประมาณยิ่งเถิด.

    [๗๕๐] ท่านพระวังคีสะ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายซึ่งตนไม่ได้ตรึกตรองไว้ในกาลก่อน โดยประมาณยิ่งว่า

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงครอบงำหนทางผิดตั้งร้อยของมารเสียได้ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจเพียงดังตะปูทั้งหลายเสียได้เสด็จเที่ยวไป ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 334

นั้น ผู้ทรงทำการแก้เครื่องผูกเสียได้ ผู้อันกิเลสอาศัยไม่ได้แล้ว ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดได้ทรงบอกทางมีอย่างต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องข้ามโอฆะ เมื่อหนทางนั้น ซึ่งเป็นทางไม่ตาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นตรัสบอกแล้ว พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้เห็นธรรมไม่ง่อนแง่น ตั้งมั่นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงทำความรุ่งเรืองแทงตลอดซึ่งธรรมแล้ว ได้ทรงเห็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงทิฏฐิทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้นทรงทราบแล้วและทรงกระทำให้แจ้ง (ธรรมนั้น) แล้ว ได้ทรงแสดงฐานะทั้ง ๑๐ อันเลิศ ความประมาทอะไร ในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยดีอย่างนี้ จักมีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ประมาท น้อมใจศึกษาในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทุกเมื่อ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 335

อรรถกถาปโรสหัสสสูตร

    ในปโรสหัสสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ปโรสหสฺสํ ได้แก่เกิน ๑,๐๐๐. บทว่า อกุโตภยํ ความว่า ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ. จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ. บทว่า อิสีนํอิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี.

    คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น. ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจอุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ เต วงฺคีส ดังนี้.

    บทว่า อุมฺมคฺคสตํ ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป. บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า เที่ยวทำลายกิเลส ๕ อย่าง มีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น. บทว่า ตํ ปสฺสถ ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้. บทว่า พนฺธปมุญฺจกรํ ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก. บทว่า อสิตํ ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ภาคโส ปวิภชฺชํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 336

ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.

    บทว่า โอฆสฺส ได้แก่โอฆะ ๔. บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มีหลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น. บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ผู้เห็นธรรม บทว่า ิตา อสํหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.

    บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว. บทว่า สพฺพทิฏฺีนํ ได้แก่ ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง. บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็นพระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง. บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด. ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า. บทว่า ทสฏฺานํ ความว่า ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรมในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น. บทว่า อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา ๓.

    จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘