พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อานันทสูตร ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36411
อ่าน  316

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313

๔. อานันทสูตร

ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313

๔. อานันทสูตร

ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน

    [๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

    ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ.

    [๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า

    ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิตของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธีเป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด โคดม.

    [๗๓๗] ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า

    จิตของท่านรุ่มร้อน เพราะสัญญาอันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงามอันเกี่ยวด้วยราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 314

ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยเป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน ท่านจงดับราคะอันแรงกล้า ท่านจงอย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อยๆ ท่านจงเจริญจิตในอสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมีกายคตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.

อรรถกถาอานันทสูตร

    ในอานันทสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า ราโค เป็นต้น ความว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้มีปัญญามากอบรมตนดีแล้ว พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชานิมนต์ท่านให้นั่งภายในนิเวศน์. พวกสตรีประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้วพัดด้วยพัดใบตาล. เข้าไปนั่งถามปัญหา ฟังธรรม. ในที่นั้น เมื่อท่านพระวังคีสะ บวชใหม่ ไม่อาจที่จะกำหนดอารมณ์ได้ ความกำหนัดในรูปารมณ์คือสตรีรบกวนจิต. เพราะบวชด้วยศรัทธา ท่านจึงเป็นคนตรงคิดว่า ความกำหนัดของเรานี้กำเริบมากขึ้น พึงทำประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้าให้เสียไป. นั่งอยู่ถัดกันนั่นแหละ เมื่อจะเปิดเผยตนแก่พระเถระ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กามราเคน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 315

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปนํ ได้แก่เหตุดับราคะ. บทว่า วิปริเยสา ได้แก่โดยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง. บทว่า ราคูปสญฺหิตํ ได้แก่อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า ปรโต ปสฺส ความว่า จงเห็นโดยความเป็นของไม่เทียง. บทว่า มา จ อตฺตโต ความว่า จงอย่าเห็นโดยความเป็นอัตตา. บทว่า กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า ท่านจงมีสติไปในกาย. บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า เพราะท่านเพิกนิจจนิมิตมีเที่ยงเป็นต้นเสียได้ วิปัสสนาจึงชื่อว่าหานิมิตมิได้. พระอานนทเถระกล่าวกะท่านพระวังคีสะนั้นว่า ภาเวหิ ท่านจงเจริญ ดังนี้. บทว่า มานาภิสมยาได้แก่ เพราะรู้ด้วยการเห็นมานะอย่างหนึ่ง เพราะรู้ด้วยการละอย่างหนึ่ง. บทว่า อุปสนฺโต ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะราคะเป็นต้นสงบ.

    จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๔