พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อรติสูตร ว่าด้วยการบรรเทาความกระสัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36409
อ่าน  312

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 307

๒. อรติสูตร

ว่าด้วยการบรรเทาความกระสัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 307

๒. อรติสูตร

ว่าด้วยการบรรเทาความกระสัน

    [๗๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวีกับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนิโครธกัปปะกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหาร ออกในเวลาเย็นบ้าง ในวันรุ่งขึ้นหรือในเวลาภิกษาจารบ้าง.

    [๗๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันบังเกิดขึ้น ความกำหนัดรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิดความกระสันขึ้นแล้ว ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เราจะได้เหตุที่คนอื่นๆ จะพึงบรรเทาความกระสันแล้วยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่เกิดขึ้นแล้วนี้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด.

    [๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น ว่า

    บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ในกามคุณทั้งหลาย) และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวงแล้ว ไม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นภิกษุ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 308

    รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้งอยู่ในเวหาสก็ดี ที่อยู่ในแผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็นของไม่เที่ยงทั้งหมด บุคคลทั้งหลายผู้สำนึกตน ย่อมถึงความตกลงอย่างนี้เที่ยวไป.

    ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิทั้งหลายคือ ในรูปอันตนเห็นแล้ว ในเสียงอันตนได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอันตนได้กระทบแล้ว และในโผฏฐัพพารมณ์อันตนทราบแล้ว ท่านจงบรรเทาความพอใจในกามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นมุนี.

    วิตกของคนทั้งหลายอาศัยปิยรูปสาตรูป ๖๐ เป็นอันมาก ตั้งลงแล้วโดยไม่เป็นธรรมในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวนกิเลสในอารมณ์ไหนๆ และบุคคลผู้ไม่พูดจาชั่วหยาบ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ.

    บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วตลอดกาลนาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มีปัญญาแก่กล้า ผู้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 309

ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ถึงบทอันระงับแล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้แล้ว ย่อมรอคอยกาล (เป็นที่ปรินิพพาน) ดังนี้.

อรรถกถาอรติสูตร

    ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า นิกฺขมติ ได้แก่ออกจากวิหาร. บทว่า อปรชฺชุ วา กาเล ได้แก่ในวันที่ ๒ หรือในเวลาภิกษาจาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นเคารพในวิหาร. บทว่า อรติญฺจ รติญฺจ ได้แก่ความไม่ยินดีในศาสนา และความยินดีในกามคุณทั้งหลาย. บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺกํ ความว่า และละวิตกลามกซึ่งอาศัยเรือนในกามคุณห้าโดยอาการทั้งปวง. บทว่า วนถํ ได้แก่ป่าใหญ่คือกิเลส. บทว่า กุหิญฺจิ ได้แก่ในอารมณ์ไรๆ. บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ผู้ปราศจากป่าคือกิเลส. บทว่า อรโต ได้แก่เว้นจากความยินดีด้วยอำนาจตัณหา.

    บทว่า ปวิญฺจ เวหาสํ ความว่า รูปที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ได้แก่รูปหญิงชาย ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น และรูปที่ตั้งอยู่ในอากาศมีแสงจันทร์และอาทิตย์เป็นต้น. บทว่า รูปคตํ ได้แก่รูปนั่นเอง บทว่า ชคโตคธํ ได้แก่รูปที่อยู่ในแผ่นดิน อธิบายว่า ถึงนาคพิภพภายในแผ่นดิน. บทว่า ปริชิยฺยติ ได้แก่ทรุดโทรม. บทว่า สพฺพมนิจฺจํ ความว่า นั้นไม่เที่ยงทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นมหาวิปัสสนาของพระเถระ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 310

เอวํ สเมจฺจ ได้แก่มารวมกันอย่างนี้. บทว่า จรนฺติ มุตตฺตา ความว่าผู้มีอัตภาพอันรู้แจ้งแล้วอยู่.

    บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร. บทว่า คธิตา ได้แก่ติดอยู่แล้ว. บทว่า ทิฏฺสุเต ได้แก่ในรูปที่จักษุเห็นแล้ว ในเสียงที่โสตะได้ยินแล้ว. กลิ่นและรสท่านถือเอาด้วยบทว่า ปฏิฆะ โผฏฐัพพารมณ์ท่านถือเอาด้วยบทว่า มุตะ ในคำว่า ปฏิเฆ จ มุเต จ นี้. บทว่า โย เอตฺถ น ลิมฺปติ ความว่า บุคคลใดไม่ข้องติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านี้ด้วยกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

    บทว่า อถ สฏฺิสิตา สวิตกฺกา ปุถุชฺชนตาย อธมฺมนิวิฏฺา ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น วิตกฝ่ายอธรรมเป็นอันมาก ที่อาศัยอารมณ์ ๖ ก็ตั้งลงในหมู่ชน. บทว่า น จ วฏฺฏคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึงตกไปในวนคือ กิเลสในที่ไหนๆ ด้วยอำนาจวิตกฝ่ายอธรรมเหล่านั้น. บทว่า โน ปน ทุฏฺฐุลฺลภาณี ความว่า ไม่พึงเป็นผู้กล่าววาจาชั่วหยาบ. บทว่า ส ภิกฺขุ ความว่า ผู้มีจิตอย่างนี้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นภิกษุ.

    บทว่า ทพฺโพ ได้แก่บัณฑิตผู้มีชาติแห่งผู้มีปัญญา. บทว่า จิรรตฺตสมาหิโต ได้แก่ผู้มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน. บทว่า นิปโก ได้แก่ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน คือมีปัญญาแก่กล้า. บทว่า อปิหาลุ ได้แก่ผู้ปราศจากตัณหา. บทว่า สนฺตํ ปทํ ได้แก่พระนิพพาน. บทว่า อชฺฌคมา มุนิ ได้แก่มุนีผู้บรรลุแล้ว. บทว่า ปฏิจฺจ ปรินิพฺพุโต กงฺขติ กาลํ ความว่า อาศัยพระนิพพาน ดับด้วยการดับกิเลสรอกาลเป็นที่ปรินิพพาน.

    จบอรรถกถาอรติสูตรที่ ๒