พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. พิลังคิกสูตร ว่าด้วยบาปกลับสนองผู้ประทุษร้าย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36387
อ่าน  391

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 208

๔. พิลังคิกสูตร

ว่าด้วยบาปกลับสนองผู้ประทุษร้าย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 208

๔. พิลังคิกสูตร

ว่าด้วยบาปกลับสนองผู้ประทุษร้าย

    [๖๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

    พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม ดังนี้ โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 209

    [๖๓๙] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระหฤทัยแล้ว ได้ตรัสกะพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า

    ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้ายซึ่งเป็นบุรุษผู้หมดจด ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับสนองผู้นั้นผู้เป็นพาลนั่นเอง เปรียบเหมือนธุลีอันละเอียด ที่บุคคลซัดไปสู่ที่ทวนลม ฉะนั้น

    [๖๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

    พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านพิลังคิกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร จิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้ เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 31 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 210

อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีก็แหละท่านภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาพิลังคิกสูตร

    ในพิลังคิกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า พิลงฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ภารทวาชะ. แต่เขาให้การทำน้ำข้าวล้วนๆ และปรุงด้วยเครื่องปรุง มีประการต่างๆ ไว้ขายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งชื่อเขาว่า พิลังคิกภารทวาชะ. บทว่า ตุณฺหีภูโต ความว่า เขาคิดว่า ผู้นี้ให้พี่ชายทั้ง ๓ ของเราบวช ก็โกรธอย่างยิ่ง เมื่อไม่อาจพูดอะไรได้ จึงได้หยุดนิ่งเสีย ท่านกล่าวคาถาไว้แล้ว ในเทวตาสังยุตแล.

    จบอรรถกถาพิลังคิกสูตรที่ ๔