พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. กัสสกสูตร ว่าด้วยมารแปลงเพศเป็นชาวนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ส.ค. 2564
หมายเลข  36351
อ่าน  369

[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 48

๙. กัสสกสูตร

ว่าด้วยมารแปลงเพศเป็นชาวนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 25]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 48

๙. กัสสกสูตร

ว่าด้วยมารแปลงเพศเป็นชาวนา

    [๔๗๐] สาวัตถีนิทาน.

    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่.

    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อทำปัญญาจักษุให้พินาศ.

    [๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ ถือปฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะ ท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า.

    มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรา กลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยฆานสัมผัส

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 49

ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญาณอันอาศัยชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยกายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยมโนสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น.

    [๔๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป จักษุเป็นของท่าน รูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้ ดูก่อนมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน โสตเป็นของท่าน เสียงเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญาณอันอาศัยชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยกายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยมโนสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 50

    [๔๗๓] มารกราบทูลว่า

    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นเราไปได้.

    [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา.

    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถากัสสกสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในกัสสกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

    บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ได้แก่ ที่อ้างพระนิพพานเป็นไปแล้ว.บทว่า ทฏหฏเกโส ได้แก่ นำผมหน้าไว้ข้างหลัง นำผมหลังไว้ข้างหน้า นำผมข้างซ้ายไว้ข้างขวา นำผมข้างขวาไว้ข้างซ้าย ชื่อว่า มีผมกระจายยุ่งเหยิง บทว่า มม จกฺขุสมฺผสฺสวิญฺาณายตนํ ได้แก่ จักษุสัมผัสที่ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ. จักษุสัมผัสนั้นก็ดี วิญญาณายตนะก็ดี เป็นของเรา. ก็ในคำว่า มเมว ของเรานี้ ท่านถือเอาธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยวิญญาณ ด้วยจักษุสัมผัส

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 ม.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 51

ถือเอาวิญญาณทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่เกิดในจักษุทวารแม้ทั้งหมดด้วยวิญญาณายตนะ. ถึงในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร ภวังคจิต เป็นไปโดยการรับอารมณ์ ชื่อว่ามโน. ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหลายชื่อว่า ธรรม. สัมผัสที่ประกอบด้วยภวังคจิตอันเป็นไปด้วยอาวัชชนะ ชื่อว่ามโนสัมผัส. ชวนจิต ชื่อว่า วิญญาณายตนะ แม้ตทารัมมณะก็เป็นไป.

    บทว่า ตเวว ปาปิม จกฺขุํ ความว่า จักษุใด อันโรคที่ทำความมืดเป็นต้นในโลกเข้าขัดขวาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคมากอย่าง ทำให้แห้งให้กระด้างๆ โดยที่สุด ตาก็บอด เหตุนั้น จักษุนั้นทั้งหมดเป็นอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ในรูปเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด ว่านี้เป็นของเรา. บทว่า มมนฺติ จ ความว่า และบุคคลเหล่าใดกล่าวว่าของเรา. บทว่า เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ ความว่า ผิว่า จิตของท่านมีอยู่ในฐานะเหล่านี้ไซร้. บทว่า น เม สมณ โมกฺขสิ แปลว่า ท่านจักไม่หลุดพ้นจากวิสัยของเรา. บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลทั้งหลายกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา. บทว่า เย วทนฺติ ความว่า บุคคลแม้เหล่าใดกล่าวอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา. บทว่า น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ ความว่า ท่านก็ไม่เห็นแม้แต่ทางไปของเรา ในภพกำเนิดและคติเป็นต้น.

    จบอรรถกถากัสสกสูตรที่ ๙