พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. กุกกุโรวาทสูตร ว่าด้วยปุณณโกลิยบุตรและเสนิยอเจละ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36062
อ่าน  484

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 186

๗. กุกกุโรวาทสูตร

ว่าด้วยปุณณโกลิยบุตรและเสนิยอเจละ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 186

๗. กุกกุโรวาทสูตร

ว่าด้วยปุณณโกลิยบุตรและเสนิยอเจละ

[๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพุระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในโกลิยชนบท ทรงทํานิคมของชาวโกลิยะ ชื่อว่าหลิททวสนะให้เป็นโคจรคาม ครั้งนั้น ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค และเสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฝ่ายเสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ก็คุ้ยเขี่ยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยอเจละนี้ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทํากรรมยากที่ผู้อื่นจะทําได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์ สิ้นกาลนาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยอเจละ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทํากรรมยากที่ผู้อื่นจะทําได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 187

ดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยอเจละ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทํากรรมยากที่ผู้อื่นจะทําได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนาน คติของเขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร.

[๘๕] พ. ดูก่อนปุณณะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคํานี้ว่า อย่าเลยปุณณะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจักพยากรณ์แก่ท่าน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้บําเพ็ญกุกกุรวัตร บําเพ็ญปกติของสุนัข บําเพ็ญกิริยาอาการของสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้วเมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ในองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนปุณณะ เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดูก่อนปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนําเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข เมื่อวิบัติย่อมนําเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ร้องไห้น้ำตาไหล.

คติของผู้ประพฤติวัตรดังโค

[๘๖] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโคว่า ดูก่อนปุณณะ เราไม่ได้คํานี้จากท่านว่า อย่าเลยปุณณะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้. เสนิยอเจละทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 188

ตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าได้สมาทานกุกกุรวัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุณณโกลิยบุตร ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร.

พ. อย่าเลย เสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย.

เสนิยอเจละทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๒... เป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุณณโกลิยบุตรนี้ ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโควัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร.

พ. ดูก่อนเสนิยะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคํานี้ว่า อย่าเลยเสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจักพยากรณ์แก่ท่าน ดูก่อนเสนิยะ บุคคลบางคนในโลกนี้ บําเพ็ญโควัตร บําเพ็ญปกติของโค บําเพ็ญกิริยาอาการของโคอย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้วเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนเสนิยะ เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดูก่อนเสนิยะ โควัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนําเข้าถึงความเป็นสหายของโค เมื่อวิบัติย่อมนําเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค ร้องไห้น้ำตาไหล.

[๘๗] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขว่า ดูก่อนเสนิยะ เราไม่ได้คํานี้จากท่านว่า อย่าเลยเสนิยะ จงงด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 189

ข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทานโควัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ให้ข้าพเจ้าพึงละโควัตรนี้ได้ และเสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละกุกกุรวัตรนั้นได้.

ดูก่อนปุณณะ ถ้ากระนั้น ท่านจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

กรรมดํากรรมขาว ๔

[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ กรรมดํามีวิบากดํามีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาวมีอยู่ กรรมไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมดํามีวิบากดํา เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอันผัสสะประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว ดุจสัตว์นรก ฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทํากรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 190

ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่าสัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมดํามีวิบากดํา.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดุจเทพชั้นสุภกิณหาฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทํากรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาว เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่าและสัตว์วินิบาตบางเหล่าฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทํากรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 191

แล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาว.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บรรดากรรม ๓ ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดํา มีวิบากดํา เจตนาเพื่อละกรรมขาว มีวิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูก่อนปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทําให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.

ปุณณโกลิยบุตรแสดงตนเป็นอุบาสก

[๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

เสนิยอเจละขอบรรพชาอุปสมบท

เสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 192

องค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. ดูก่อนเสนิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังการบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนก่อน ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลาย มีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เราทราบความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ติตถิยปริวาส

[๙๐] เส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน หวังการบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนก่อน ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุมีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้วจึงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสถึง ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายมีจิตอันข้าพระองค์ให้ยินดีแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

เสนิยอเจละผู้ประพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อท่านเสนิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้อง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 193

การ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจํานวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบกุกกุโรวาทสูตรที่ ๗

๗. อรรถกถากุกกุโรวาทสูตร (๑)

กุกกุโรวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกลิเยสุ คือ ชนบทที่มีชื่ออย่างนี้. โกลิยะนั้นเป็นชนบทหนึ่ง เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเหล่าพระราชกุมารฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งดํารงอยู่ ณ นครโกลิยะ ในชนบทชื่อ โกลิยะ นั้น.

คําว่า หลิทฺทวสนํ ความว่า คนทั้งหลายนุ่งห่มผ้าสีเหลือง เล่นนักขัตฤกษ์ในคราวสร้างนิคมนั้น สิ้นสุดการเล่นนักขัตฤกษ์แล้ว พวกเขาก็ยกชื่อนิคมขนานนามว่า หลิททวสนะ.

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําหลิททวสนะนิคมนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่. ก็ที่อยู่ในหลิททวสนนิคมนั้น ยังไม่ได้กําหนดกันไว้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควรแก่พระพุทธะทั้งหลาย.

คําว่า โควตฺติโก ความว่า ผู้สมาทานโควัตร การประพฤติอย่างโค คือตั้งเขาทั้งสองเขาบนศีรษะ ผูกหาง


(๑) อรรถกถาเรียก กุกกุรวัตติยสูตร.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 194

เที่ยวเคี้ยวหญ้ากับเหล่าโค.

คําว่า อเจโล แปลว่า เปลือย ไม่มีผ้า.

คําว่า เสนิโย เป็นชื่อของเขา.

คําว่า กุกฺกุรวตฺติโก ความว่า ผู้สมาทานกุกกุรวัตร การประพฤติอย่างสุนัข ทํากิริยาของสุนัขทุกอย่าง. ปุณณะ กับ เสนิยะ ทั้งสองนั้น เป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกันมา.

คําว่า กุกฺกุโรว ปลิกุญฺิตฺวา ความว่า ขึ้นชื่อว่าสุนัข เมื่อนั่งใกล้ๆ นาย เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยที่พื้นนั่งเห่าเสียงสุนัข เสนิยะ คิดว่า แม้เราจักกระทําดุจกิริยาแห่งสุนัข ครั้นกล่าวทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยพื้น สลัดศีรษะ ทําเสียงภุภุ นั่งคู้มือและเท้าเหมือนสุนัข.

คําว่า ฉมายํ นิกฺขิตฺวา แปลว่า ที่เขาวางไว้ที่พื้นดิน.

คําว่า สมตฺตํ สมาทินฺนํ แปลว่า ที่ยึดอย่างบริบูรณ์.

คําว่า กา คติ คือ ผลสําเร็จเป็นอย่างไร.

คําว่า โก อภิสมฺปรายโน หมายถึงภายภาคหน้า คือบังเกิดในที่ไหน.

คําว่า อลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้ง ด้วยทรงพระดําริว่า สิ่งที่ไม่น่ารักจักมีแก่เขา.

คําว่า กุกฺกุรวตฺตํ คือ การถือเอาอากัปกิริยาของสุนัข.

คําว่า ภาเวติ แปลว่า ทําให้เจริญ.

คําว่า ปริปุณฺณํ คือ ไม่พร่อง.

คําว่า อพฺโพกิณฺณํ คือ ไม่ว่างเว้น.

คําว่า กุกฺกุรสีลํ คือ ความประพฤติของสุนัข.

คําว่า กุกฺกุรจิตฺตํ คือ เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราจักกระทําการที่สุนัขทั้งหลายพึงกระทํา.

คําว่า กุกฺกุรากปฺปํ ความว่า อาการเดินของเหล่าสุนัขมีอยู่ อาการที่เห็นสุนัขเหล่าอื่นแล้วแยกเขี้ยวเดินไป อาการนี้ชื่อว่า อาการของสุนัข. เขาทําอาการของสุนัขนั้นให้ปรากฏ.

ในคําว่า อิมินาหํ สีเลน เป็นต้น ความว่า ข้าพระองค์จักเป็นเทวดาหรือเทวดาองค์หนึ่งด้วยความประพฤติ ด้วยการสมาทานวัตร ด้วยการประพฤติตบะที่ทําได้ยากหรือด้วยพรหมจรรย์คือการเว้นเมถุนนี้.

คําว่า เทโว คือบรรดาเทวดาทั้งหลาย มีท้าวสักกะ ท้าวสุยามะเป็นต้น เป็นเทวดาองค์ใด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 195

องค์หนึ่ง.

คําว่า เทวฺตโร คือ บรรดาเทวดาเหล่านั้นเป็นเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งในฐานะที่ ๒ ที่ ๓ เป็นต้น.

คําว่า มิจฺฉาทิฏิ ความว่า ความเห็นนั้นของเขา ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือทางที่มิใช่ทางไปสู่เทวโลกว่าเป็นทางไปสู่เทวโลก.

คําว่า อฺตรํ คติํ วทามิ ความว่า ก็คติของเขาเป็นอื่นไปจากนรกหรือกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.

คําว่า สมฺปชฺชมานํ คือ กุกกุรวัตรที่เขาปฏิบัติอยู่ ไม่เจือด้วยทิฏฐิ.

คําว่า นาหํ ภนฺเต เอตํ โรทามิ ยํ มํ ภนฺเต ภควา เอวมาห ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคําพยากรณ์อันใดกะข้าพเจ้าอย่างนี้ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ มิได้คร่ําครวญ มิได้ทอดถอนถึงคําพยากรณ์อันนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดอก.

บัณฑิตพึงทราบความข้อนั้นด้วยอํานาจกรรมของตนเอง ด้วยประการฉะนี้. ไม่พึงทราบความด้วยอาการเพียงน้ำตาไหล.

ก็ในข้อนี้ มีการประกอบความดังนี้ว่า

มตํ วา อมฺม โรทนฺติ โยวา ชีวํ น ทิสฺสติ ชีวนฺตํ อมฺม ปสฺสนฺตี กสฺมา มํ อมฺม โรทสิ.

แม่จา คนทั้งหลาย เขาร้องไห้ถึงแต่คนที่ตายแล้ว หรือคนที่ยังเป็นอยู่แต่ไม่พบกัน เมื่อแม่เห็นฉันยังเป็นอยู่ เหตุไร แม่จึงร้องไห้ถึงฉันเล่า แม่จา... (คําของสานุสามเณร)

คําว่า อปิจ เม อิทํ ภนฺเต ความว่า นายเสนิยะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่งเล่ากุกกุรวัตรนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมาเป็นเวลายาวนาน แม้เมื่อปฏิบัติกุกกุรวัตรนั้น ก็ไม่มีความเจริญ เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มี

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 196

ความเสื่อม (จัญไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทํามาเป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ (ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็นความวิบัติของตัวเอง จึงร้องไห้ พระเจ้าข้า.

คําว่า โควตฺตํ เป็นต้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในกุกกุรวัตรเป็นอาทินั่นแล.

คําว่า คฺวากปฺปํ แยกสนธิเป็น โคอากปฺปํ แปลว่า อาการของโค.

คําที่เหลือก็เป็นเช่นเดียวกับคําที่กล่าวมาแล้วในอาการของสุนัขนั่นแหละ เห็นเหล่าสุนัขตัวอื่นๆ แล้วแยกเขี้ยวเดินไปในกุกกุรวัตรนั้น ฉันใด ก็พึงทราบอาการที่โคเห็นโคตัวอื่นๆ แล้วยกหูทั้งสองเดินไปในโควัตรนี้ก็ฉันนั้น.

คํานอกนั้นก็เหมือนกันนั่นแหละ.

คําว่า จตฺตารีมานิ ปุณฺณ กมฺมานิ ความว่า เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภพระธรรมเทศนานี้. ก็เพราะเทศนานี้มาด้วยอํานาจการกระทํากรรมบางอย่าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรม ๔ หมวดนี้แล้ว การกระทําของคนเหล่านี้จักปรากฏ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนานี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่าคนทั้งสองนี้จักเข้าใจกรรม ๔ หมวด ที่กําลังทรงแสดงนี้เท่านั้น ต่อนั้น คนหนึ่งจักถึงสรณะ คนหนึ่งจักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ดังนั้น เทศนานี้เท่านั้นเป็นสัปปายะของพวกเขา จึงทรงปรารภเทศนานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหํ แปลว่า ดํา ได้แก่กรรมที่เป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐.

บทว่า กณฺหวิปากํ คือ มีวิบากดําเพราะทําให้บังเกิดในอบาย.

บทว่า สุกฺกํ แปลว่า ขาว ได้แก่กรรมที่เป็นกุศลกรรมบถ ๑๐.

บทว่า สุกฺกวิปากํ คือ มีวิบากขาว เพราะทําให้บังเกิดในสวรรค์.

บทว่า กณฺหสุกฺกํ คือ กรรมที่คละกัน.

บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ คือ มีสุขและทุกข์เป็นวิบาก.

แท้จริง บุคคลทํากรรมคละกันแล้ว เกิดในกําเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในตําแหน่งช้างมิ่งมงคลเป็นต้น ด้วยอกุศลกรรม ก็เสวยสุขใน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 197

ปวัตติกาลด้วยกุศลกรรม. แม้เขาเกิดในราชตระกูล ด้วยกุศลกรรม ก็เสวยทุกข์ในปวัตติกาลด้วยอกุศลกรรม. กรรมคือเจตนาในมรรค ๔ อันกระทําให้สิ้นกรรมทรงประสงค์เอาว่า กรรมไม่ดําไม่ขาว.

ก็ผิว่า กรรมนั้นพึงเป็นกรรมดําไซร้ ก็จะพึงให้วิบากดํา ผิว่าเป็นกรรมขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากขาว.

ส่วนเจตนากรรมในมรรค ๔ ตรัสว่า ไม่ดําไม่ขาว ก็เพราะมีวิบากไม่ดําไม่ขาว เหตุไม่ให้วิบากทั้งสอง.

ความในอุเทศเท่านี้ก่อน.

ส่วนในนิเทศพึงทราบความดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺยาปชฺฌํ แปลว่า มีทุกข์.

ในกายสังขารเป็นต้น อกุศลเจตนา ๑๒ ที่ถึงความไหว้ด้วยอํานาจการจับถือเป็นต้น ในกายทวาร ชื่อว่า กายสังขารมีทุกข์.

อกุศลเจตนา ๑๒ นั้นนั่นแล ที่ทําให้การเปล่งคําเป็นไปได้ด้วยอํานาจการเคลื่อนไหวลูกคางในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร.

อกุศลเจตนา ที่ยังไม่ถึงความไหวทั้งสองที่เป็นไปในมโนทวาร สําหรับคนที่กําลังคิดอยู่ลับๆ ชื่อว่า มโนสังขาร.

ดังนั้น อกุศลเจตนาเท่านั้น ที่ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้นในทวารแม้ทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร.

แท้จริง ในพระสูตรนี้ เจตนา ชื่อว่า ธุระ. ในอุปาลิ (วาท) สูตร เจตนา ชื่อว่า กรรม.

บทว่า อภิสงฺขริตฺวา คือ ชักมา. อธิบายว่า ประมวลมา.

บทว่า สพฺยาปชฺฌํ โลกํ คือ เข้าถึงโลกที่มีทุกข์.

บทว่า สพฺยาปชฺฌา ผสฺสา ผุสนฺติ คือ ผัสสะที่มีทุกข์เป็นวิบาก ย่อมถูกต้อง.

คําว่า เอกนฺตทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์หาระหว่างมิได้.

คําว่า ภูตา เป็นปัญจมีวิภัติ ลงในอรรถว่า เหตุ. ความเข้าถึง (อุปบัติ) ของสัตว์ที่เกิดแล้ว ย่อมมีเพราะกรรมที่มีแล้ว.

ท่านอธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมทํากรรมที่มีแล้วอย่างไร ความเข้าถึงของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอํานาจกรรมที่มีส่วนเสมอกัน กับกรรมที่

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 198

มีแล้วอย่างไร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สัตว์ทํากรรมอันใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมอันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน ความว่า สัตว์ทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า เหมือนเกิดเพราะกรรม แต่ชื่อว่าการอุปบัติ ย่อมมีเพราะวิบาก ก็เพราะกรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ฉะนั้น สัตว์ย่อมเกิดเพราะกรรมอันเป็นมูลเหตุนั้น.

บทว่า ผสฺสา ผุสนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายบังเกิดเพราะผลของกรรมอันใด ผัสสะย่อมถูกต้องผลของกรรมอันนั้น.

บทว่า กมฺมทายาทา คือ ทายาทของกรรม, เรากล่าวกรรมนั่นแหละว่าเป็นทายาท คือเป็นมรดกของสัตว์เหล่านั้น.

บทว่า อพฺยาปชฺฌํ แปลว่า ไม่มีทุกข์.

ในวาระนี้ (นิทเทสวาร) เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ ที่เป็นไปในกายทวาร ชื่อว่ากายสังขาร. เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ นั้นนั่นแหละ ที่เป็นไปในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร. เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ ที่เป็นไปในมโนทวาร และเจตนาในฌานเบื้องต่ํา ๓ ชื่อว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร.

ถามว่า เจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน ทําไมกามาวจรจึงชื่อว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร.

ตอบว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร ย่อมเกิดได้ในขณะเข้ากสิณ และขณะเสพกสิณเนืองๆ เจตนาฝ่ายกามาวจรต่อกับเจตนาปฐมฌาน เจตนาในจตุตถฌาน ต่อกับเจตนาในตติยฌาน. ดังนั้น กุศลเจตนาต่างโดยกายสุจริตเป็นต้นเท่านั้น แม้ในทวารทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร. วาระที่สามก็พึงทราบด้วยอํานาจที่คละกันทั้งสองอย่าง.

ในคําว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา เป็นต้น พึงทราบว่า สําหรับพวกมนุษย์ก่อน ปรากฏว่าบางคราวก็สุข บางคราวก็ทุกข์

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 199

ส่วนในเหล่าเทวดาทั้งหลาย เหล่าภุมมเทวดา ในเหล่าวินิปาติกสัตว์ทั้งหลาย เหล่าเวมานิกเปรต บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์. สุขย่อมเกิดได้แม้ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉานเช่นช้างเป็นต้น.

บทว่า ตตฺร แปลว่า ในกรรมทั้ง ๓ นั้น.

บทว่า ตสฺส ปหานาย ยา เจตนา ความว่า เจตนาในมรรค ก็เพื่อประโยชน์แก่การละกรรมนั้น. แต่ถึงกรรมแล้วชื่อว่า ธรรมอย่างอื่นที่ขาวกว่าเจตนาในมรรคไม่มี. ฝ่ายอกุศลเจตนา ๑๐ ถึงกรรม ๔ หมวดนี้แล้ว ชื่อว่า ดํา. กุศลเจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า ขาว. มรรคเจตนามาแล้วว่าไม่ดําไม่ขาว.

นายเสนิยะนั้นคิดว่า ตัวเราเหมือนจะเปลี่ยนความคิดว่า เราประกอบตัวไว้ในฝ่ายธรรมที่ไม่นําสัตว์ออกจากทุกข์มาเป็นเวลานานแล้วหนอ ทําตนให้ลําบากเปล่า จักอาบน้ำที่ริมฝังแม่น้ำที่แห้ง เป็นเหมือนคนปักหลักลงในแกลบ ไม่ทําประโยชน์อะไรๆ ให้สําเร็จเลย เอาเถิด เราจะประกอบตัวไว้ในความเพียร ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคํานี้ว่า ลเภยฺยาหํ ภนฺเต.

ครั้งนั้น ติตถิยปริวาส (การอยู่อบรมสําหรับเดียรถีย์) อันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วในขันธกวินัยว่า ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ตั้งอยู่ในภูมิของสามเณรแล้วสมาทานอยู่ปริวาส โดยนัยว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ประสงค์จะอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๔ เดือนกะสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาติตถิยปริวาสนั้น จึงตรัสเป็นต้นว่า โย โข เสนิย อฺติตฺถิยปุพฺโพ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺชํ ตรัสด้วยอํานาจความที่ทรงมีพระวาจาอ่อนหวาน. แม้ที่จริง เสนิยะนั้นไม่อยู่ปริวาสก็ได้บรรพชา. แต่เขาต้องการอุปสมบท บําเพ็ญวัตร ๘ ประการ มีการเข้าบ้านเป็นต้น พึงอยู่ปริวาส เกินกาลกําหนด.

บทว่า อารทฺธจิตฺตา คือมีจิตยินดีแล้วด้วยการบําเพ็ญวัตร ๘ ประการ.

นี้

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 200

เป็นความย่อในเรื่องติตถิยปริวาสนั้น. ส่วนความพิสดารของติตถิยปริวาสนั้นพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในกถาปัพพัชชาขันธกะ คัมภีร์อรรถกถาวินัยชื่อสมันตปาสาทิกา.

คําว่า อปิจ เมตฺถ แยกสนธิว่า อปิจ เม เอตฺถ.

คําว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา คือ รู้ความที่บุคคลเป็นต่างๆ กัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คํานี้ปรากฏแก่เราว่า บุคคลนี้ควรอยู่ปริวาส บุคคลนี้ไม่ควรอยู่ปริวาส.

ต่อจากนั้น เสนิยะคิดว่า โอ พระพุทธศาสนาน่าอัศจรรย์จริงที่คนขัดสีทุบอย่างนี้แล้ว ก็ยึดเอาแต่ที่ควร ที่ไม่ควรก็ทิ้งไป. ต่อแต่นั้นเขาก็เกิดอุตสาหะในการบรรพชาว่าดีกว่า จึงกราบทูลว่า สเจ โข ภนฺเต ดังนี้.

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่เขามีฉันทะแรงกล้า ทรงดําริว่า เสนิยะไม่ควรอยู่ปริวาส จึงตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า ภิกษุ เธอไปให้เสนิยะอาบนํ้ำแล้วให้บรรพชา แล้วนําตัวมา. ภิกษุนั้นก็กระทําอย่างนั้น ให้เขาบรรพชาแล้วนํามายังสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางหมู่สงฆ์ ให้เขาอุปสมบทแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เสนิยนิครนถ์ผู้ถือกุกกุรวัตรก็ได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน แปลว่า อุปสมบทแล้วไม่นาน.

บทว่า วูปกฏโ คือ ปลีกกายและจิต ออกจากวัตถุกามและกิเลสกาม.

บทว่า อปฺปมตฺโต คือ ผู้ไม่ละสติในกัมมัฏฐาน.

บทว่า อาตาปี คือ ผู้มีคุณเครื่องเผากิเลส ด้วยคุณเครื่องเผากิเลสคือความเพียร ที่นับได้ว่าเป็นไปทางกายและทางจิต.

บทว่า ปหิตตฺโต คือ ผู้มีตนอันส่งไป มีอัตภาพอันสละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่เยื่อใยในร่างกายและชีวิต.

คําว่า ยสฺสตฺถาย แยกสนธิว่า ยสฺส อตฺถาย.

บทว่า กุลปุตฺตา คือ บุตรผู้มีมรรยาทและสกุล.

บทว่า สมฺมเทว คือ โดยเหตุโดยการณ์.

คําว่า ตทนุตฺตรํ แยกสนธิว่า ตํ อนุตฺตรํ.

บทว่า พฺรหฺม-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 201

จริยปริโยสานํ คือ อรหัตผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. จริงแล้วกุลบุตรทั้งหลาย ย่อมบวชเพื่อประโยชน์แก่มรรคพรหมจรรย์นั้น.

สองบทว่า ทิฏเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้นี่แล.

บทว่า สยํ อภิฺา สจฺฉิกตฺวา คือ กระทําให้ประจักษ์ด้วยปัญญา ด้วยตัวเอง. อธิบายว่า ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย (ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น).

บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหาสิ คือ บรรลุแล้วให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. ผู้อยู่อย่างนี้แล รู้ยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปัจจเวกขณภูมิ (ญาณ) แก่เสนิยะนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ท่านจึงกล่าวว่าก็ท่านเสนิยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺตโร คือ องค์หนึ่ง.

บทว่า อรหตํ คือ แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย.

ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า บรรดาพระอรหันตสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเสนิยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง.

คําที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุกกุโรวาทสูตรที่ ๗