พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มหาธรรมสมาทานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36050
อ่าน  499

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 368

๖. มหาธรรมสมาทานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 368

๖. มหาธรรมสมาทานสูตร

[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถุ ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย""พระพุทธเจ้าข้า" ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๕๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า:-

"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ส่วนมาก มีความใคร่อย่างนี้ มีความพอใจอย่างนี้มีความประสงค์อย่างนี้ว่า "ไฉนหนอขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ พึงเสื่อมไป, ขอให้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจพึงเจริญแทนที่เถิด" แต่ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านั้น มีความใคร่อย่างนั้น มีความพอใจอย่างนั้น มีความประสงค์อย่างนั้น, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็ยังเจริญขึ้นมาจนได้, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจกลับเสื่อมไป. ในข้อนั้นพวกเธอเข้าใจว่าเพราะเหตุไร"

ภิ. "พระพุทธเจ้าข้าธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นํา มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึงอาศัย, พระพุทธเจ้าข้า ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแต่กับพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด, เมื่อพวกภิกษุได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะทรงจําไว้"

พ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดีๆ เราตถาคตจะว่าให้ฟัง"

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 369

ภิ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า " ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า :-

"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้รับการศึกษาไม่เห็นพวกพระอริยเจ้าไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้าไม่ได้รับการแนะนําในคุณธรรมของพระอริยเจ้า. ไม่เห็นพวกคนดีไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของคนดีไม่ได้รับการแนะนําในคุณธรรมของคนดี, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควรเสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรคบ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขาไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ,...ไม่ควรเสพ,..ควรคบ,...ไม่ควรคบ, ก็เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพสิ่งที่ควรเสพ; คบสิ่งที่ไม่ควรคบ. ไม่คบสิ่งที่ควรคบ, เมื่อเขาเสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพสิ่งที่ควรเสพ, คบสิ่งที่ไม่ควรคบ ไม่คบสิ่งที่ควรคบเข้า, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น, สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจก็เสื่อมหายไป. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุ เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้รับการศึกษาได้เห็นพวกพระอริยเจ้ามา ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้าได้รับการแนะนําในคุณธรรมของพระอริยเจ้าเป็นอย่างดีมาแล้ว, ได้เห็นพวกคนดีมา ฉลาดต่อคุณธรรมของคนดี ได้รับการแนะนําในคุณธรรมของคนดีเป็นอย่างดีมาแล้ว, ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขารู้จักสิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ; ก็ไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควรคบ คบแต่กับสิ่งที่ควรคบ. เมื่อเขาไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควรคบ คบแต่สิ่งที่ควรคบ, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็ย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 370

เสื่อมหายไป; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็ย่อมเจริญขึ้นมา ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"

[๕๒๓] "ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มี๔ อย่าง.๔ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์อีกก็มี,

๒. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นสุขแต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ก็มี,

๓. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปมีผลเป็นสุขก็มี,

๔. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและต่อไปก็ให้ผลเป็นสุขอีก ก็มี.

[๕๒๔] "ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ อยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า ""การถือมั่นสิ่งแบบนี้แล ที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็เป็นทุกข์อีก" นี้เป็นการถือมันสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ยังเป็นทุกข์อีก เมื่อไม่รู้มัน อยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงก็เสพมัน ไม่งดเว้นมัน เมื่อเขาเสพมันไม่งดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็เสื่อมลงไปข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลายในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ ตกอยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลเป็นการ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 371

ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุขแต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์" นี้เป็นการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุขแต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่งดเว้นมัน. เมื่อเขาเสพมันไม่งดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็เจริญขึ้นมา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็เสื่อมลงไป. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ ตกอยู่ในอํานาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลเป็นการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้เป็นการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมัน. เมื่อเขาเสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ตกอยู่ในอํานาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลคือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก." นี้คือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอํานาจความโง่ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงก็เสพมันไม่ยอมงดเว้นมัน. เมื่อเขาเสพมันไม่ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็พลอยเสื่อมลงไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 372

[๕๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้ อยู่ในอํานาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการ ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์อีก" นี้คือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็มีผลเป็นทุกข์อีก. เมื่อรู้มัน อยู่ในอํานาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิกเสพมัน ย้อมงดเว้นมัน, เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็เสื่อมลงไป. สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมาแทนที่. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้อยู่ในอํานาจความรู้เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลคือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุขแต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุขแต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อรู้มันอยู่ในอํานาจความรู้...ฯลฯ เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"

"ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้ อยู่ในอํานาจความรู้ เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลคือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อรู้มันอยู่ในอํานาจความรู้...ฯลฯเพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจําพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้อยู่ในอํานาจความรู้เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลคือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก" นี้คือการถือมั่น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 373

สิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เมื่อรู้มันอยู่ในอํานาจความรู้เข้าใจได้ชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิกเสพมัน ผอมงดเว้นมัน.เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็เสื่อมลงไป, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจก็เจริญขึ้นมาแทนที่ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

[๕๒๖] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งในปัจจุบัน และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์อีกเป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,และเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๒. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๓. เป็นผู้ชอบประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๔. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง.และเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๖. เป็นผู้พูดคําหยาบ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้างและเพราะการ คําหยาบเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 374

๗. เป็นผู้พูดสํารากเพ้อเจ้อ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการพูดสํารากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๘. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง และเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ในปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ยังมีผลเป็นทุกข์อีก.

[๕๒๗] "ภิกษุทั้งหลาย อนึ่งการถือมั่นสิ่งที่มีสุขในปัจจุบันแต่ต่อไปมีผลเป็นทุกข์เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลายคือบุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๒. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๓. เป็นผู้ชอบประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 375

๔. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๕. เป็นพูดส่อเสียด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๖. เป็นผู้พูดคําหยาบ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง และเพราะการพูดคําหยาบเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๗. เป็นผู้ชอบพูดคําสํารากเพ้อเจ้อ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะการพูดสํารากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๘. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,และเพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส. (แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการยึดถือสิ่งที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีผลเป็นทุกข์.

[๕๒๘] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 376

๑. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๒. เป็นผู้เว้นจากการลักทรัพย์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๓. เป็นผู้เว้นจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๔. เป็นผู้เว้นจากการพูดเท็จได้เด็ดขาด พร้อมกับ ทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดเท็จเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๕. เป็นผู้เว้นจากการพูดส่อเสียดได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้างพร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๖. เป็นผู้เว้นจากการพูดคําหยาบได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้างพร้อมกับโทมนัสบ้างและเพราะการเว้นจากการพูดคําหยาบเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๗. เป็นผู้เว้นจากการพูดคําสํารากเพ้อเจ้อได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดคําสํารากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 377

๘. เป็นผู้ไม่มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะความไม่เพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๙. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,และเพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

(แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์."ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีสุขเป็นผล.

[๕๒๙] "อนึ่ง, ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส..ฯลฯ...

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัยเขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

(และ) เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก, เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีสุขเป็นผลอีก.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 378

"ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการถือมั่นสิ่งทั้งหลาย ๔ ประการ.

[๕๓๐] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำเต้าขมเจือยาพิษ แล้วทีนั้นมีคนอยากเป็น ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง. พวกคนก็กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้เป็นน้ำเต้าขมเจือยาพิษนะ, ถ้าคุณประสงค์ก็จงดื่มเถิด, เพราะว่าขณะที่คุณกําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ จะไม่อาเจียนเพราะสีเพราะกลิ่น หรือเพราะรสเลย, แต่ทว่า เมื่อคุณดื่มเสร็จแล้วจะถึงความตาย หรือไม่อย่างนั้นก็จะถึงทุกข์ปางตาย" เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่พิจารณาและก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และขณะที่เขากําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสี ไม่ว่ากลิ่น หรือรส ไม่ทําให้เขาอาเจียนเลยแต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จเขาจะพึงถึงความตายหรือถึงทุกข์เจียนตายแม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีผลเป็นทุกข์อีกนี้ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๑] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่นก็หอม รสก็อร่อย. แต่ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลเจือยาพิษ. คราวนี้ก็มีคนที่อยากเป็นไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่นก็หอม รสก็อร่อย. แต่ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลมันเจือยาพิษ ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิด. เพราะว่าขณะที่คุณกําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส จะทําให้อาเจียนออก, แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณจะถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่ทันได้พิจารณาและก็ไม่ยอมบ้วนทิ้ง และเมื่อเขากําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละเกิดอาเจียนออกมา เพราะสี เพราะกลิ่น หรือเพราะรส แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้วเขาก็ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์ปางตายแม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือถือมั่นสิ่งที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีผลเป็นทุกข์ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 379

[๕๓๒] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำมูตรเน่าที่ระคนด้วยตัวยาต่างๆ ทีนั้น ก็มีคนเป็นโรคผอมเหลืองมาถึง, พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้น้ำมูตรเน่าที่เอาตัวยาต่างๆ มาระคน ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิด, และขณะที่คุณกําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละจะไม่อาเจียน เพราะสีเพราะกลิ่น หรือเพราะรสเลยอีกทั้งเมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณก็จะมีความสุขด้วย"เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณาแล้ว และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และตอนที่เขากําลังดื่มมันอยู่นั้นแหละไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทําให้อาเจียน แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จแล้วเขาก็มีความสุขแม้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีสุขเป็นผลว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๓] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย ที่เอามาระคนข้าด้วยกัน. ตอนนั้น มีคนที่เป็นโรคลงแดงมาถึง พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย!นี้เป็นนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยที่เอามาระคนเข้าด้วยกัน. ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิดและทั้งตอนที่คุณกําลังดื่มของเหล่านั้นอยู่นั้นแหละไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทําให้อาเจียน,แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณจะมีความสุข" เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณาแล้วและไม่บ้วนทิ้งเสียด้วยอีกทั้งเมื่อเขากําลังดื่มมันอยู่นั้น แหละเพราะสีเพราะกลิ่น หรือเพราะรสก็ไม่ทําให้อาเจียนออกมาเลย, แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้วเขาก็มีความสุขแม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบัน และต่อไปก็ยังมีความสุขเป็นผลอีกว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๔] ""ภิกษุทั้งหลาย ในฤดูสารท เดือนท้ายฤดูฝน เมื่อฝน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 380

ซาลง เมฆก็ปราศไปแล้ว พระอาทิตย์สู่ท้องฟ้า กําจัดความมืดในอากาศย่อมส่องแสงแผดแสงและแจ้งจ้าแม้ฉันใด; ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีกขจัดคําติเตียนของสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นได้ แล้วย่อมสว่างแจ่มแจ้งและรุ่งเรือง."พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความพอใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้

จบ มหาธัมมสมาทานสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 381

อรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร

มหาธรรมสมาทานสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้"

ในบทเหล่านั้น บทว่า "มีความอยากอย่างนี้" คือมีความต้องการอย่างนี้. บทว่า "มีความพอใจอย่างนี้" คือมีความโน้มเอียงไปอย่างนี้. บทว่า " มีความประสงค์อย่างนี้" คือมีลัทธิอย่างนี้. บทว่า "ใน ... นั้น" คือในความเจริญแห่งอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และในความเสื่อมไปแห่งอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น. คําว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล" คือ ชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากเง่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูลแห่งสิ่งเหล่านี้. มีคําที่กล่าวไว้ว่า " พระพุทธเจ้าข้า! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ของพวกข้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้เกิดขึ้นเมื่อพระองค์ท่านปรินิพพานแล้ว ไม่ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ที่ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกเลย สิ้นพุทธันดรหนึ่งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงให้ธรรมเหล่านี้ของพวกข้าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว พวกข้าพระพุทธเจ้าได้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้จึงเข้าใจทั่วถึง คือรู้เฉพาะธรรมเหล่านี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า! เพราะเหตุนี้ธรรมของพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูลด้วยประการฉะนี้. คําว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นํา" คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้แนะผู้นําผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรมโดยแท้. ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้งชื่อเป็นหมวดๆ ตามที่เป็นจริง จึงย่อมชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชักนํา. คําว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ธรรมทั้ง ๔ชั้น มาสู่คลองพระสัพพัญุตญาณ ย่อมจับกลุ่มรวมประชุมลงอย่างพร้อมเพรียงในพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตอนที่พระผู้มีพระภาค

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 382

เจ้าประทับนั่งที่ควงมหาโพธิ์ เมื่อจะทรงถือเอาชื่อเป็นหมวดๆ ตามความเป็นจริงของธรรมทั้ง ๔ ชั้นอย่างนี้คือผัสสะมาด้วยอํานาจปฏิเวธ (ก็ทรงคิดว่า) "ฉันเป็นผู้จําแนกธรรม แกชื่อไร " (แล้วทรงตั้งชื่อว่า) " แกชื่อผัสสะเพราะอรรถว่าถูกต้อง." เวทนา (สัญญา) สังขารวิญญาณมา (ก็ทรงคิดว่า) "ฉันเป็นผู้จําแนกธรรม แกล่ะ ชื่อไร " (แล้วก็ทรงตั้งชื่อว่า) "แกชื่อเวทนา (สัญญา) สังขาร (เพราะอรรถว่า รู้สึกอารมณ์... (รู้จําอารมณ์)...ปรุงแต่งอารมณ์) แกชื่อวิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย (คือรวมเป็นหมวดเป็นหมู่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า). คําว่า "จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด" ได้แก่ ขอให้ใจความของภาษิตบทนี้จงปรากฏแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิดคือขอให้พระองค์นั่นแหละโปรดทรงแสดงประทานให้แก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด. คําว่า " ิ" คือพึงอาศัยคําว่า "พึงคบ" คือพึงเข้าใกล้คําว่า "เหมือนผู้ไม่รู้แจ้ง" คือเหมือนปุถุชนที่บอดโง่. คําว่า"เหมือนผู้รู้แจ้ง" คือเหมือนบัณฑิตที่รู้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางแม่บทตามแบบที่ค่อยขยับสูงขึ้นตามลําดับในสูตรก่อนว่า "ภิกษุทั้งหลาย มีการยึดถือธรรม" แต่ในพระสูตรนี้พระศาสดาทรงตั้งแม่บทตามรสแห่งธรรมเท่านั้น.

ในคําเหล่านั้น คําว่า "การยึดถือธรรม" ได้แก่การถือธรรมมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น คําว่า "ผู้อยู่ในความไม่รู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยความไม่รู้. คําว่า "ผู้อยู่ในความรู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยควานรู้คือ ผู้มีปัญญา. สิ่งทั้งสามนี้ก่อนคือมิจฉาจารอภิชฌา มิจฉาทิฏฐิในคําเหล่านี้คือ"พร้อมด้วยทุกข์บ้าง" เป็นทุกขเวทนาด้วยอํานาจเจตนาทั้งสองคือ บุพเจตนา

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 383

และอปรเจตนา. ส่วนเจตนาที่ให้สําเร็จเรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยสุข หรือประกอบด้วยอุเบกขา. ส่วนเจตนาที่เหลือมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นอีก ๗ ข้อเป็นทุกขเวทนาด้วยอํานาจเวทนาครบทั้งสาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนี้ จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง" ดังนี้. ก็แหละโทมนัสในพระพุทธดํารัสนี้ พึงเข้าใจว่าเป็นทุกข์เมื่อคนมาถึงการแสวงหา แม้ทุกข์ในทางกายก็ย่อมถูกทั้งในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลายโดยแท้. สิ่งสามอย่างนี้ก่อนคือ การฆ่าสัตว์ การพูดคําหยาบ พยาบาท ในบทนี้คือ "พร้อมกับแม้สุขบ้าง" เป็นสุขเวทนา ด้วยอํานาจเจตนาสองอย่างคือ บุพเจตนาและอปรเจตนา ส่วนเจตนาที่ให้สําเร็จเรียบร้อยเป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์ที่เหลืออีก ๗ อย่างย่อมเป็นสุขเวทนาด้วยอํานาจเจตนาครบทั้ง ๓. ก็แล โสมนัสนั่นแล ก็พึงเข้าใจว่าสุขในที่นี้. หรือสําหรับผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยโผฏฐัพพารมณ์ที่น่าพอใจแม้สุขในทางกาย ก็ย่อมถูกในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายโดยแท้. ในการยึดถือธรรมข้อที่สามนี่แหละ บางคนในโลกนี้เป็นคนตกปลา (ชาวประมง) หรือเป็นคนล่าเนื้ออาศัยการฆ่าสัตว์เท่านั้นเลี้ยงชีวิต ภิกษุผู้อยู่ในตําแหน่งเป็นที่เคารพของเขาแสดงโทษการฆ่าสัตว์ และอานิสงส์การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้วให้สิกขาบทแก่เขาผู้ไม่ต้องการเลย เมื่อเขาจะรับก็ย่อมรับทั้งๆ ที่เป็นทุกข์โทมนัสทีเดียว. ภายหลังเมื่อล่วงมาสองสามวัน เมื่อเขาไม่สามารถรักษาได้ก็เกิดเป็นทุกข์อีก บุพเจตนาและอปรเจตนาของเขาย่อมควบคู่กันไปกับทุกข์ทีเดียว. ส่วนเจตนาที่ให้สําเร็จเรียบร้อย ไปด้วยกันกับสุขบ้าง ไปด้วยกันกับอุเบกขาบ้าง. ในที่ทุกแห่งพึงเข้าใจใจความอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเจตนาทั้งที่เป็นส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลายนี่แหละ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, ดังนี้. แหละก็พึงทราบว่าโทมนัสนั่นเองเป็นทุกข์

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 384

ในการยึดถือธรรมข้อที่สี่ เจตนาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ส่วนเบื้องปลายและเจตนาที่ให้สําเร็จเรียบร้อยครบทั้งสาม ในบทครบทั้งสิบ ย่อมประกอบด้วยสุขโดยแท้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนั้น จึงได้ตรัสว่าพร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้างแหละก็โสมนัสนั่นเองก็พึงทราบว่าสุขในที่นี้."

คําว่า "ติตฺตกาลาพุ" แปลว่า น้ำเต้าขม. คําว่า "เจือด้วยยาพิษ"ได้แก่ระคน ปน เคล้ากับยาพิษชนิดร้ายแรง. คําว่า "ไม่ชอบใจ" คือจะไม่ชอบใจจะไม่ทําความยินดี. คําว่า "จะถึง" คือจะบรรลุ. คําว่า "ไม่พิจารณาแล้วพึงดื่ม" คือพึงดื่มอย่างไม่พิจารณา. คําว่า "ภาชนะน้ำดื่ม" คือภาชนะเต็มปริ่มไปด้วยเครื่องดื่มอร่อยน่าดื่ม. คําว่า "สมบูรณ์ด้วยสี" คือเป็นภาชนะประกอบด้วยสีแห่งเครื่องดื่มเป็นต้น ที่คนพูดอย่างนี้ว่า "ภาชนะที่สมบูรณ์ด้วยเครื่องประสมที่ใส่ไว้แล้ว. คําว่า "จะชอบใจ" ได้แก่ก็แลยาพิษร้ายแรงนั้น ย่อมเป็นอันใส่ไว้แล้วในเครื่องดื่มใดๆ ย่อมให้รสของเครื่องดื่มนั้นๆ แลเพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าจะชอบใจ. คําว่า "น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตรนั่นแหละ. เหมือนอย่างว่าร่างกายของตนเราต่อให้เป็นสีทอง ก็ยังถูกเรียกว่าตายเน่าอยู่นั่นแหละ และเถาอ่อนที่แม้แต่เพิ่งเกิดในวันนั้น ก็ย่อมถูกเรียกว่า เถาอ่อนอยู่นั่นแหละ ฉันใด; น้ำมูตรอ่อนๆ ที่รองเอาไว้ในทันทีทันใด ก็เป็นน้ำมูตรเน่าอยู่นั่นเองฉันนั้น. คําว่า "ด้วยตัวยาต่างๆ " คือด้วยตัวยานานาชนิดมีสมอและมะขามป้อมเป็นต้น. คําว่า "จงเป็นสุข" คือจงเป็นผู้มีสุขไร้โรค มีสีเหมือนทอง.คําว่า "นมส้ม น้ำผึ้ง" คือ นมส้มที่แสนบริสุทธิ์ และน้ำผึ้งที่อร่อยหวาน. คําว่า "เจือเคล้าเข้าด้วยกัน" ได้แก่ปนระคนเข้าเป็นอันเดียวกัน. คําว่า "นั้นแก่เขา" คือ พึงชอบใจแก่เขาผู้ดื่มเภสัชที่มีรสหวานสี่อย่างก็แลอันใดที่เจือด้วยโรคบาทโรคอันนี้พึง (ทําให้) ลงแดงยาของเขาทําให้อาหารแข็งกระด้าง ถ่ายไม่ออก. (ฤทธิ์ยาทําให้ท้องผูก ถ่าย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 385

ไม่ออก) ส่วนเลือดที่ประสมกับดี ยาของเขานี้นั้น ลงท้ายก็ทําให้ร่างกายเย็นยะเยือก. คําว่า "ลอยไป" คือลอยลงขึ้น คือไม่มีเมฆ หมายความว่า เมฆอยู่ไกล. คําว่า "ปราศจากวลาหก" คือ เมฆหลีกไปแล้ว. คําว่า "เมื่อเทพ"ได้แก่ เมื่ออากาศ. คําว่า "ความมืดอยู่ในอากาศ" คือ ความมืดในอากาศ. คําว่า "ปรับปวาทของสมณพราหมณ์ส่วนมาก" ได้แก่วาทะของตนเหล่าอื่น อันได้แก่สมณพราหมณ์ส่วนใหญ่. คําว่า "เบียดเบียนยิ่ง" ได้แก่ เข่นฆ่า.คําว่า "ส่อง ส่งแสงและรุ่งเรือง" ได้แก่ ตอนกลางวันในฤดูสารท พระอาทิตย์ย่อมเปล่งแสง คือส่งแสงร้อนจ้า สว่างไสว. ก็แล สูตรนี้ พวกเทวดารักใคร่ชอบใจเหลือเกิน. ดังมีเรื่องต่อไปนี้:-

เขาเล่ากันมาว่า ทางทิศใต้ ในจังหวัดหัสดิโภค มีวัดบังกูรอยู่ที่ประตูโรงอาหารของวัดนั้น มีเทวดาสิงอยู่ที่ต้นบังกูร ตอนกลางคืนได้ฟังภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกําลังสรุปพระสูตรนี้ด้วย ทํานองสวดบท จึงให้สาธุการ

ภิกษุหนุ่ม : "นั่นใคร"

เทวดา : "ข้าพเจ้า เป็นเทพสิงอยู่ที่ต้นไม้นี้ครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ท่านเลื่อมใสในอะไร คือในเสียงหรือในสูตร?"

เทวดา : "ท่านผู้เจริญ ใครๆ ก็มีเสียงทั้งนั้นแหละข้าพเจ้าเลื่อมใสในสูตร, ในวันที่พระศาสดาทรงนั่งกลางในพระเชตวัน และในวันนี้ไม่มีความแตกต่างแม้แต่พยัญชนะตัวเดียว"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ในวันที่พระศาสดาตรัสท่านได้ยินหรือ"

เทวดา : " ครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "ท่านยืนฟังที่ไหน"

เทวดา : "ท่านครับ ข้าพเจ้าไปพระเชตวัน แต่เมื่อเหล่าเทพผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่พากันมา, ข้าพเจ้าเลยหมดโอกาสจึงยืนฟังในที่นี้แหละ"

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 386

ภิกษุหนุ่ม : "ยืนอยู่ที่นี้ แล้วจะได้ยินเสียงพระศาสดาหรือ"

เทวดา : "แล้วท่านล่ะ ยินเสียงข้าพเจ้าไหม"

ภิกษุหนุ่ม : "ยินจ้ะเทพ"

เทวดา : "เป็นเหมือนกับเวลานั่งพูดข้างหูขวาครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ! แล้วท่านเห็นพระรูปพระศาสดาไหม"เทวดา : " ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระศาสดาทอดพระเนตรดูแต่ข้าพเจ้าเท่านั้นแหละเลยตั้งตัวไม่ติด ครับท่าน "

ภิกษุหนุ่ม : "แล้วท่านมีคุณพิเศษเกิดขึ้นบ้างไหม เทวดา"

เทวดาหายไปในที่นั้นนั่นแหละว่ากันว่าวันนั้น เทพองค์นี้ ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล.

เทวดาทั้งหลาย ต่างรักใคร่ชอบใจ พระสูตรนี้ดังที่ว่ามานี้. คําที่เหลือในที่ทั้งหมดง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามหาธัมมสมาทานสูตร ที่ ๖