พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36049
อ่าน  424

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 356

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 356

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเขตวัน อารามของอนาถบิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าข้า".

[๕๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคํานี้ว่า. -ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทาน มี ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างอะไรบ้างคือ.-

๑. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมานานที่เป็นสุขในปัจจุบัน (แต่) แต่ไปให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี.

๒. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี

๓. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข ก็มี.

๔. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ให้ผลเป็นสุขก็มี.

[๕๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่เป็นสุขในปัจจุบัน (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 357

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า "โทษในกามทั้งหลาย หามีอยู่ไม่" พวกเขาจึงพากันถึงความเป็นผู้ดื่มด่ําในกามทั้งหลาย. พวกเขาแลย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่ขมวดมวยผมบํารุงบําเรอ (ตน) , พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า " อะไรกันนะ ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคต ในกามทั้งหลายอยู่ มาพากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย" แล้วก็ย่อมบัญญัติความกําหนดรู้กามทั้งหลายไว้ สัมผัสแขนที่มีขนนุ่มของปริพพาชิการุ่นๆ นี้ ช่างเป็นสุขเสียนี่กระไร พวกเขาย่อมถึงความดื่มด่ําในกามทั้งหลาย เมื่อพวกเขาถึงความดื่มด่ําในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์แข็งกล้า เผ็ดร้อนในที่นั้น, พวกเขาจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า "นี้แล ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่ พากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลายแล้ว ย่อมบัญญัติการกําหนดรู้กามทั้งหลายไว้. ก็พวกเราเหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์แข็งกล้า เผ็ดร้อนก็เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ผลสุกของย่างทราย (ย่านไทร) พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พืชย่างทรายนั้น ก็จะพึงตกไปที่โคนสาละ (รังแบบอินเดีย) ต้นใดต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแลภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็เกิดกลัว ตกใจ พึงถึงความสะดุ้ง. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ของเทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น พวกเทวดาที่สิงอยูในสวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อมีผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วก็ปลอบโยนย่างนี้ว่า "ผู้เจริญ อย่ากลัวไปเลยอย่ากลัวไปเลยผู้เจริญ. อย่างไรเสีย พืชย่างทรายนี้ นกยูงก็จะพึง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 358

กลืน, เนื้อก็จะพึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานในป่า ก็จะพึงถอน, พวกปลวกก็จะพึงขึ้น, หรือก็จะพึงเป็นพืชที่ไม่งอกอีกแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล นกยูงก็ไม่กลืนพืชย่างทรายนั้นเลย เนื้อก็ไม่เคี้ยวกินไฟป่าก็ไม่ไหม้ พวกคนงานในป่าก็ไม่ถอน พวกปลวกก็ไม่ขึ้น, และพืชก็ยังจะงอกได้. พืชนั้นถูกฝนที่เมฆหลั่งลงรด ก็งอกได้งอกดีเถาย่างทรายนั้นก็เป็นต้นอ่อนๆ มีขนอ่อนนุ่ม เลื้อยทอดยอดไปเรื่อย แล้วมันก็เข้าไปเกาะต้นสาละนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนี้แล เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตามสวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในพืชย่างทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกัน แล้วก็ปลอบโยนอย่างนี้ว่า "ผู้เจริญ! อย่ากลัวไปเลยอย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย พืชย่างทรายนี้ นกยูงก็จะพึงกลืน, เนื้อก็พึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานในป่าก็จะพึงถอน พวกปลวกก็จะพึงขึ้น หรือก็มันจะต้องหมดสภาพเป็นพืช. สัมผัสของเถาย่างทราย ที่อ่อนๆ มีขนนุ่มๆ เลื้อยทอดยอดไปเรื่อยนี้ช่างเป็นสุขเสียนี่กระไร. เถาย่างทรายนั้น ก็ล้อมรัดต้นสาละนั้น. เมื่อมันล้อมรัดต้นสาละนั้น สูงจนถึงค่าคบแล้ว ก็ทําให้เกิดความทึบลง ซึ่งจะพึงทําลายลําต้นใหญ่ๆ ของต้นสาละนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็จะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า นี้เองที่พวกเพื่อฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตามสวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้เทวดาที่อยู่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อลูกแก่) ที่ต้นหญ้า และที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในพืชย่าง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 359

ทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วปลอบโยนอย่างนี้ว่า " ผู้เจริญ อย่ากลัวไปเลยอย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย นกยูงก็จะพึงกลืนกิน พืชย่างทรายนี้ ฯลฯ หรือมันก็จะต้องหมดสภาพเป็นพืช. เรานั้น ย่อมเสวย เวทนาที่เป็นทุกข์กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ก็เพราะพืชย่างทรายเป็นเหตุโดย แท้ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่าง นี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายหามีอยู่ไม่ พวกเขาจึงพากันถึง ความดื่มด่ําในกามทั้งหลาย พวกเขาแล ย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่ เกล้ามวยผมบํารุงบําเรอ (ตน) พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวก สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่ มาพากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลายแล้ว ก็บัญญัติความกําหนดรู้กามทั้ง หลายไว้. สัมผัสแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพพาชิการุ่นๆ นี้ช่างเป็นสุขเสีย นี่กระไรแล้วพวกเขาก็ย่อมถึงความดื่มด่ําในกามทั้งหลาย. เมื่อพวกเขาถึง ความดื่มด่ําในกามทั้งหลายแล้วเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ดร้อนในที่นั้น. พวกเขาจึงพากันกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า "นี้เอง ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย อยู่ พากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย แล้วย่อมบัญญัติความกําหนดรู้กาม ทั้งหลายไว้. ก็พวกเราเหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์แข็งกล้า เผ็ด ร้อน ก็เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การยึดมั่นสิ่งที่เป็นสุขในปัจจุบัน (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 360

[๕๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ:-

ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ มีชีเปลือยบางคน ปล่อยมรรยาททิ้งเสียแล้วใช้มือเช็ดอุจจาระไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญมา, ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญจงหยุดก่อน ไม่ยินดีอาหารที่เขานํามาจําเพาะ ไม่ยินดีอาหารที่เขาเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขานิมนต์, ไม่รับอาหารจากปากหม้อไม่รับอาหารจากปากภาชนะไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตูไม่รับอาหารคร่อมสากไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ไม่รับอาหารของสองคนที่กําลังกินอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่กําลังให้ลูกดื่มนมอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงที่อยู่ระหว่างชาย ไม่รับอาหารของสองอาหารที่คนชักชวนร่วมกันทํา ไม่รับอาหารในที่ที่สุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำดองด้วยแกลบ รับเรือนเดียว ก็กินคําเดียวบ้างรับสองเรือน ก็กินสองคําบ้างฯลฯรับเจ็ดเรือน ก็กินเจ็ดคําบ้าง, เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ สองภาชนะบ้างฯลฯเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง, กินอาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บไว้สองวันบ้างฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง, ประกอบความเพียรในภัตรและโภชนะในแบบอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือน ด้วยอาการอย่างนี้. กินผักบ้าง กินหญ้ากับแกบ้าง กินลูกเดือยบ้าง กินเปลือกไม้บ้างกินสาหร่ายบ้างกินรําข้าวบ้าง กินข้าวตังบ้างกินข้าวสารหักบ้างกินหญ้าบ้างกินขี้วัวบ้าง, กินรากไม้และผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเองบ้าง นุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้ที่ซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุก

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 361

ดานกรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากําพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากําพลทําด้วยขนหางสัตว์
บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง ตัดผมและหนวด ตามประกอบความเพียรในการ
ตัดผมและหนวด ยืนกระหย่งห้ามเสียซึ่งการนั่ง, เดินกระหย่ง ตามประกอบ
ความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง, ประกอบความเพียรในการยืน การ
เดินบนหนาม สําเร็จการนอนบนที่นอนที่เอาหนามมาทํา ตามประกอบความ
เพียรในการลงน้ํา เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เป็นผู้ตามประกอบความเพียร
ในการทํากายให้เหือดแห้งเร่าร้อนด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ด้วยอาการอย่าง
นี้. เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นธรรมที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์

[๕๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่)
แต่ไปให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ:-

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติ เป็นผู้มีราคะค่อน
ข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ , โดยปกติ เป็นผู้มี
โทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโทสะเนืองๆ , โดยปกติ
เป็นผู้มีโมหะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนืองๆ ,
เขาถูกกระทบพร้อมทั้งทุกข์บ้าง พร้อมทั้งโทมนัสบ้าง ถึงจะร้องไห้มีน้ํา
ตานองหน้าอยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้. เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เขาก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

"ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข""

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 362

[๕๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติก็ไม่ใช่เป็นคนมีราคะค่อนข้างจะรุนแรง เขาก็ไม่ใช่เสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ ,โดยปกติ ก็ไม่ใช่เป็นคนมีโทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโทสะเนืองๆ , ก็หามิได้. โดยปกติไม่ใช่เป็นคนมีโมหะค่อนข้างจะรุนแรง. เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนืองๆ ก็หามิได้. เขาสงัดจากกามทั้งหลายได้จริงๆ สงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลายได้แล้ว ก็เข้าถึงฌานที่หนึ่ง ซึ่งยังมีตรึก ยังมีตรอง มีความเอิบอิ่มใจและความสบายที่เกิดจากความสงัดแล้วแลอยู่. เพราะเข้าไประงับความตรึก และความตรองได้ก็เข้าถึงฌานที่สองซึ่งไม่มีความแจ่มใสในภายใจโดดเด่น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มเอิบใจและความสบายที่เกิดจากใจตั้งมั่นแล้วแลอยู่.......เข้าถึงฌานที่สาม......เข้าถึงฌานที่สี่แล้วแลอยู่. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกไปเขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และยังมีสุขเป็นผลต่อไป.

ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั่งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ภิกษุเหล่านั้น มีความยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่งด้วยประการฉะนี้.

จบ จูฬธัมมสมาทานสูตร ที่ ๕

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 363

อรรถกถาจูฬธัมมสมาทานาสูตร

จูฬธัมมสมาทานสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สมาทานธรรม" ได้แก่ การถือที่ท่านถือเอาด้วยบทว่า ธรรมดังนี้.

บทว่า "ความสุขที่เกิดในปัจจุบัน" ได้แก่ "ความสุขในปัจจุบัน" ความสุขในการประมวลมาทําได้ง่าย คือ อาจให้เต็มได้โดยง่าย.

บทว่า "ผลที่เป็นทุกข์ข้างหน้า" ได้แก่ ผลที่เป็นทุกข์ในกาลให้ผลในอนาคต" พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.

บทว่า "ไม่มีโทษในกามทั้งหลาย" ความว่า "ไม่มีโทษในวัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง"

บทว่า "ถึงความเป็นเป็นผู้ดื่มด่ํา" ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความดื่มด่ํา คือความเป็นสิ่งที่ตนพึงดื่ม ได้แก่ ความเป็นสิ่งที่ตนพึงบริโภคตามชอบใจ ด้วยกิเลสกามในวัตถุกาม

บทว่า "ผูกให้เป็นจุก" ได้แก่ "พวกดาบสและปริพาชกผู้เกล้าผมทําให้เป็นจุก

บทว่า "กล่าวอย่างนี้" คือ "ย่อมกล่าวอย่างนี้"

บทว่า "ย่อมบัญญัติการกําหนดรู้" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละ คือ การก้าวล่วง"

บทว่า "ฝักเถายางทราย" ได้แก่ "ฝักเถาที่สุกแล้ว จะมีสัณฐานยาว"

บทว่า "พึงแตก" ความว่า "แห้งด้วยแดดแล้วแตก"

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 364

บทว่า "โคนต้นรัง" ได้แก่ ใกล้ต้นรัง.

บทว่า "พึงถึงความสะดุ้ง" ความว่า "ย่อมถึง (ความสะดุ้ง) เพราะเหตุไร? เพราะกลัวความพินาศไปแห่งที่อยู่ เพราะว่า เถาย่างทรายที่ตกไปที่ต้นไม้ เกิดขึ้นแล้วจากพืช ย่อมเลื้อยขึ้นต้นไม้. เถายางทรายนั้น มีใบใหญ่และหนา ประกอบด้วยใบเช่นกับใบทองหลาง ลําดับนั้นถาย่างทรายเมื่อกําจัดต้นไม้นั้น ตั้งแต่โคนไปทะลุค่าคบทั้งปวง ให้เกิดน้ำหนักอย่างมากตั้งอยู่เถาย่างทรายนั้น เมื่อลมพัดมา หรือเมื่อฝนตก สร้างความทึบ หักกิ่งน้อยใหญ่ทั้งปวงของต้นไม้นั้นให้ตกไปบนพื้นดิน แต่นั้น เมื่อต้นไม้นั้นล้มไป วิมานย่อมแตกพินาศไป เทวดานั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง เพราะกลัวความพินาศไปแห่งวิมาน ด้วยประการฉะนี้. "

บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในสวน" ความว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ตามสวนดอกไม้และสวนผลไม้นั้นๆ."

บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในป่า" ได้แก่เทวดาผู้สิงอยู่ในป่าอันธวันและสุภควันเป็นต้น.

บทว่า "รุกขเทวดา" ได้แก่ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ที่หวงแหนไว้."

บทว่า "ต้นสมุนไพร หญ้าและไม้เจ้าป่าเป็นต้น" ความว่า เทวดาได้สิงแล้วที่ต้นสมุนไพรมีต้นสมอและมะขามป้อมเป็นต้น ที่ต้นหญ้ามีตาลและมะพร้าวเป็นต้น และไม้เจ้าป่าอันเป็นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในป่า.

บทว่า "คนทํางานในป่า" ความว่า "พวกมนุษย์ที่เที่ยวทํางานอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาคนงานมีการไถ เกี่ยวขนไม้และเฝ้าโคเป็นต้นในป่า. "

บทว่า "พึงลุกขึ้น" ได้แก่ "พึงเคี้ยวกิน."

บทว่า "เป็นระย้า" ได้แก่ "ห้อยย้อย ดุจล้อเล่นในที่ที่ถูกลมพัด."

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 365

บทว่า "เถายางทรายนี้มีสัมผัสเป็นสุข" ความว่า เถาย่างทรายอย่างนี้ แม้ถูกต้องก็เป็นสุขถึงมองดูก็ให้เกิดความสุขย่อมให้เกิดความพอใจแม้ในเพราะการดูและการถูกต้องเถาว่า พวกเด็กๆ ของเราจักมีโรงดื่ม จักมีที่เล่น เราได้วิมานที่สองแล้ว" พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วอย่างนี้.

บทว่า "ทําให้เป็นคบ" ความว่า "พึงตั้งอยู่ด้วยอาการคล้ายฉัตรข้างบนกิ่งทั้งหลาย."

บทว่า "สร้างความทึบ" ความว่า "ให้เกิดความทึบข้างล่าง." เถาย่างทรายนั้น เมื่อเลื้อยขึ้นข้างบน ก็ม้วนต้นไม้ทั้งสิ้นไว้ข้างล่างอีก.

บทว่า "ทําลาย" ความว่า "เพราะทําให้ทึบอย่างนี้ แต่นั้น เถาย่างทรายนี้ก็จะเลื้อยไต่ขึ้นไปตั้งแต่โคนตามกิ่งที่งอกขึ้นไปแล้ว ม้วนกิ่งทุกกิ่งไว้ครั้นถึงยอดแล้วก็จะห้อยลงโดยทํานองนั้นนั่นแหละอีกและเลื้อยขึ้นไปรวบต้นไม้ทั้งหมดไว้ให้กิ่งทั้งหมดอยู่ข้างล่าง ตนเองอยู่ข้างบน ครั้นเมื่อลมพัด หรือฝนตกก็จะทําลายกระจัดกระจายไป วิมานนั้นพึงตั้งอยู่เพียงเข่าเท่านั้น ที่โคนต้นไม้นั้น ย่อมมีวิมานซึ่งอยู่บนกิ่งไม้ครั้นเมื่อกิ่งหักอยู่ได้ทําลายที่กิ่งนั้นๆ เมื่อทุกกิ่งหักหมด วิมานทั้งปวงก็ย่อมพังพินาศ ก็วิมานที่ตั้งอยู่บนต้นไม้ ก็จะตั้งอยู่เพียงโคนต้นไม้ ตราบเท่าที่ยังไม่พินาศนี้เป็นวิมานที่อยู่บนกิ่งไม้. เพราะฉะนั้น เมื่อทุกกิ่งหักหมดแล้วเทวดาได้อุ้มลูกน้อยยืนที่ตอไม้แล้วเริ่มคร่ําครวญ.

บทว่า "ผู้มีชาติราคะกล้า" ได้แก่ "ผู้มีราคะหนาเป็นสภาวะ."

บทว่า "เสวยทุกข์และโทมนัสที่เกิดจากราคะ" ความว่า "เพราะความเป็นผู้มีชาติราคะกล้าย่อมถือเอานิมิตรในอารมณ์ที่เห็นแล้วๆ."

ครั้งนั้น พวกอาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ สั่งลงทัณฑกรรม ภิกษุนั้น เมื่อทําทัณฑกรรมอยู่เนืองๆ ย่อมเสวยทุกขโสมนัส จึงไม่ทําการก้าวล่วง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 366

อีกนั่นเทียว. สําหรับผู้มีชาติโทสะกล้าย่อมกําเริบ ก็ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเขาเมื่อจับมือเป็นต้น คุยกับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายก็ย่อมเสวยทุกขโสมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.

ส่วนบุคคลผู้มีชาติโมหะไม่กําหนดกิจที่ทําแล้วโดยที่ทําแล้ว หรือกิจที่ยังไม่ได้ทําโดยกิจที่ยังไม่ได้ทํา ในศาสนานี้ ย่อมให้หน้าที่คลาดเคลื่อน ถึงเขาก็ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.

คําว่า "ผู้มีชาติราคะไม่กล้าเป็นต้น" พึงทราบตามนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

ถามว่าก็เพราะเหตุไรในโลกนี้บางคนจึงเป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า บางคนจึงไม่ใช่เป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า? ตอบว่า เพราะว่า ในขณะสั่งสมกรรม ตามกฏของกรรม ความโลภของผู้ใดมีกําลัง ความไม่โลภอ่อนกําลัง ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมีกําลังความประทุษร้ายและความหลงอ่อนกําลัง ความไม่โลภของผู้นั้นอ่อนกําลัง ไม่สามารถจะครอบงําความโลภได้. ส่วนความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมีกําลัง สามารถครอบงําความประทุษร้ายและความหลงได้. เพราะฉะนั้น เขาเกิดแล้วด้วยอํานาจปฏิสนธิที่กรรมนั้นให้ผลแล้วย่อมเป็นคนโลภ มีปกติเป็นสุขไม่โกรธ มีปัญญา มีความรู้เปรียบด้วยเพชรก็ในขณะสั่งสมกรรมความโลภและความประทุษร้ายของผู้ใดมีกําลัง ความไม่โลภและความไม่ประทุษร้ายอ่อนกําลัง ความไม่หลงมีกําลัง ความหลงอ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นคนโลภ และเป็นผู้ประทุษร้าย ตามนัยก่อนนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ดุจเพชรดุจพระทันตาภยเถระ. ส่วนขณะสั่งสมกรรม ความโลภความหลงของผู้ใดมีกําลัง นอกนี้อ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นคนโลภ และโง่เขลาตามนัยก่อนนั่นเอง เป็นผู้มีปกติเป็นสุขไม่โกรธ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 367

ก็อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความโลภ ความโกรธและความหลงทั้ง ๓ ของผู้ใดมีกําลังความไม่โลภเป็นต้นอ่อนกําลัง เขาย่อมไม่โลภ ไม่ประทุษร้ายและไม่หลงตามนัยก่อนนั่นเทียวแต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่โลภ ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลง ของผู้ใดมีกําลัง นอกนี้อ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสน้อยครั้นเห็นอารมณ์อย่างทิพย์ก็ไม่หวั่นไหวตามนัยก่อนนั่นแหละแต่เป็นผู้ประทุษร้ายและมีปัญญาโง่เขลา. ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษร้ายและไม่หลงของผู้ใดมีกําลังนอกนี้อ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นคนไม่โลภ มีปกติเป็นสุขไม่โกรธ แต่เป็นคนโง่เขลา ตามนัยก่อนนั่นเทียว. อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษร้าย และไม่หลงของผู้ใดมีกําลัง นอกนี้อ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นคนไม่โลภ มีปัญญาแต่เป็นผู้ประทุษร้ายและมักโกรธ ตามนัยก่อนนั่นแหละ.แต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม กิเลสทั้ง ๓ มีความไม่โลภ เป็นต้นของผู้ใดมีกําลังความโลภเป็นต้น อ่อนกําลัง เขาย่อมเป็นผู้ไม่โลภ ไม่ประทุษร้ายและมีปัญญาดุจพระมหาสังฆรักขิตเถระเนื้อความในทุกบทแห่งบททั้งปวงตื้นนั่นเทียวแล.

จบ อรรถกถาจูฬธัมมสมาทานสูตรที่ ๕