การทำสมาธิไม่ใช่เป็นการเจริญปัญญา

 
oom
วันที่  1 พ.ค. 2550
หมายเลข  3602
อ่าน  1,340

การทำสมาธิแตกต่างจากการเจริญปัญญาอย่างไร ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 1 พ.ค. 2550

การทำสมาธิหรือการอบรมสมถภาวนาเพื่อความสงบของจิตตามลำดับขั้น แต่ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง การอบรมเจริญปัญญา เพื่อการรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงไม่ใช่เพื่อความสงบเท่านั้น อีกอย่างหนึ่งสมาธิมี ๒ อย่างคือ มิจฉาสมาธิ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ มิจฉาสมาธิ เป็นการจรดจ้องอยุ่ที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยความต้องการด้วยความไม่รู้ ขาดการศึกษา ขาดความเข้าใจ ขณะนั้นจิตเป็นอกุศล ไม่สงบจากอกุศล สัมมาสมาธิที่เป็นสมถภาวนา เป็นความสงบจากอกุศล ส่วนการอบรมเจริญปัญญาเป็นการค่อยๆ ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตั้งแต่การฟังให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตนของเรา จากนั้นจะค่อยรู้ลักษณะและปัจจัยของสภาพธรรม เป็นต้น เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ย่อมประจักษ์การเกิดดับและเห็นภัยของนามรูป ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 1 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อิสระ
วันที่ 2 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 3 พ.ค. 2550

การทำสมาธิไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แล้วถ้าเป็นมิจฉาสมาธิก็เสียเวลาเปล่าการเจริญปัญญาคือ การอบรมสติปัฏฐาน เพื่อละกิเลสเป็นสมุจเฉทในวันหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
devout
วันที่ 3 พ.ค. 2550

การทำสมาธิ (สมถภาวนา) ไม่ใช่เป็นการเจริญปัญญา แต่ต้องประกอบด้วยปัญญา เพราะรู้ความแตกต่างของสภาพจิตที่เป็นกุศลและอกุศล และรู้เหตุที่จะทำให้สภาพจิตที่เป็นกุศลเจริญอย่างไร จนถึงความสงบแนบแน่นเป็นอุปจาร อัปปนาสมาธิ ไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา แต่ก็ขาดปัญญาไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
medulla
วันที่ 4 พ.ค. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
oom
วันที่ 4 พ.ค. 2550

การทำสมาธิ โดยการนั่งหลับตา และมีคำบริกรรมแล้วแต่จริตของใคร เพื่อทำให้จิตสงบ แต่จริงๆ ไม่สงบเลยแต่คิดอะไรต่างๆ มากมาย เช่น เรื่องงาน เรื่องเงิน

แต่เรารู้ตัวว่ากำลังนึกคิดอยู่ เรียกว่าเป็นปัญญาได้หรือไม่ เพราะรู้ตามสภาพธรรมตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 4 พ.ค. 2550

เราคิดก็รู้ว่าเราคิด คนทั่วๆ ไปก็รู้กันทั้งนั้น ไม่ใช่ปัญญา เพราะเป็นเรารู้ด้วยอกุศล ผู้ที่รู้ลักษณะที่คิดเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งด้วยความเข้าใจ จิตประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่ารู้ตามความเป็นจริง ถ้าจิตเป็นอกุศลไม่ชื่อว่ารู้ตามเป็นจริง.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ม.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ