ทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

 
ทับทิม
วันที่  1 พ.ค. 2550
หมายเลข  3603
อ่าน  5,011

ได้อ่าน ได้ฟังประโยคที่ว่า ทุกข์ และสุข เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่ทำไมดิฉันจึงรู้สึกว่ามีเพียงสุขที่ดับไป แต่ทุกข์ยังคงตั้งอยู่ แม้จะพยายามให้ดับ ก็ไม่ยอมดับไป

ขอบพระคุณค่ะ


Tag  ทุกข์  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 2 พ.ค. 2550

ทั้งสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ล้วนเป็นสังขารธรรมทั้งสิ้น เพราะสังขารธรรม ไม่เที่ยง เกิดดับ จึงเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้ ขอเชิญอ่านต่อที่ มีเพียงทุกข์เท่านั้น

ทำไมขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 2 พ.ค. 2550

ดิฉันจึงรู้สึกว่ามีเพียงสุขที่ดับไป แต่ทุกข์ยังคงตั้งอยู่ แม้จะพยายามให้ดับ

ก็ไม่ยอมดับไป

ความรู้สึกเช่นนี้ เป็นความรู้สึกทั่วไปของปุถุชน จากการศึกษาธรรมะ ทำให้เข้าใจว่า เกิดจากการติดข้องในความสุข ซึ่งจริงๆ แล้วทั้งสุขและทุกข์เกิดขึ้นและดับไปแล้ว ถ้าติดข้องในสิ่งใดก็โหยหาแต่สิ่งนั้น จึงทำให้รู้สึกว่าความสุขดับอย่างรวดเร็วและความทุกข์ยังตั้งอยู่ เนื่องจากการติดข้องเป็นโลภะเป็นอกุศลจิต ทำให้เกิดทุกข์จึงรู้สึกว่าทุกข์ยังตั้งอยู่ ถึงแม้ว่าพยายามดับก็ไม่ดับ เพราะยังมีความเป็นตัวตนที่จะดับ ถ้าไม่มีความเห็นผิดยึดถือว่าเป็นตัวตนแล้ว ก็จะละคลายทุกข์ลงไปมากทีเดียว

(จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขปฯโดย อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ หน้า 516)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 2 พ.ค. 2550

ขอเรียนถาม ท่านทับทิมนะคะ,

ทุกข์อะไรหรือค่ะที่ว่าไม่ดับ? ขณะที่เป็นสุข ขณะนั้นก็ ทุกข์ แล้ว เพราะไม่เที่ยงค่ะ

ทุกข์ จึงไม่ได้หมายถึงเพียงเวทนาความรู้สึกเท่านั้น แต่หมายถึงสังขารธรรมทั้งหมด คือ จิต เจตสิก รูป เพราะมีความแปรปรวน ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นธรรมดา จึงเป็นทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 2 พ.ค. 2550

ปกติเวลาของคนที่มีความสุขผ่านไปเร็ว แต่เวลาของคนที่มีความทุกข์ผ่านไปช้าคะ ขอยกตัวอย่างจากพระไตรปิฏกค่ะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่..ความยาวนาน [คาถาธรรมบท]

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 2 พ.ค. 2550

ได้อ่าน ได้ฟังประโยคที่ว่า ทุกข์และสุขเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่ทำไมดิฉันจึงรู้สึกว่ามีเพียงสุขที่ดับไป แต่ทุกข์ยังคงตั้งอยู่ แม้จะพยายามให้ดับ ก็ไม่ยอมดับไปขอบพระคุณค่ะ ?

ขณะที่เกิดความทุกข์ จิตย่อมคิดถึงเรื่องทีทำให้ทุกข์บ่อยๆ จึงมีความรู้สึกว่า ทุกข์ใจ เหมือนไม่ดับเลย เพราะทุกข์นาน แต่ความจริงแล้ว ปัญญาเป็นสภาพธรรมะที่จะรู้ว่า ธรรมะเกิดขึ้นและดับไป โดยเป็นปัญญาขั้นสูง ซึ่งเมื่อเราลองพิจารณา ขณะที่คิดเรื่องนั้น (เรื่องทุกข์) มีบางขณะไหมที่ได้ยินเสียงอะไรเข้ามาขณะได้ยินเสียงนั้น ขณะนั้นคิดเรื่องที่ทุกข์หรือเปล่า ก็ไม่ได้คิดเรื่องนั้น แต่ได้ยินเสียงอื่น จึงแสดงให้เห็นว่า ทุกข์ใจก็เกิดขึ้นและดับไป เช่นกัน โดยที่มี จิตอื่นเช่นจิตได้ยินเกิดขั้น ดังนั้นที่เราคิดว่า ทุกข์ดูเหมือนไม่ได้ดับเลย เพราะปัญญาของเรายังไม่ประจักษ์ สภาพธรรมะที่เกิดดับ ซึ่งเป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นหนทางเดียวที่จะมีปัญญาขั้นนั้น คือ การอบรมสติปัฏฐาน ซึ่งหาฟังได้จากเวปนี้ครับ

อนุโมทนาในกุศลจิตที่สนใจพระธรรมครับ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 พ.ค. 2550

ขออภัยที่เขียนคำว่า ปุตุชน ที่ถูกต้องคือ ปุถุชน

และขออนุโมทนา ผู้ที่ทำให้ความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องโดยเฉพาะคำถามที่ 03608ตั้งคำถามโดยคุณ pirmsombat...ขอบพระคุณคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ