พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. วีรกชาดก ว่าด้วยโทษเอาอย่างผู้อื่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ส.ค. 2564
หมายเลข  35618
อ่าน  450

[เล่มที่ 57] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 292

๔. วีรกชาดก

ว่าด้วยโทษเอาอย่างผู้อื่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 57]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 292

๔. วีรกชาดก

ว่าด้วยโทษเอาอย่างผู้อื่น

[๒๕๗] ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงเพราะ มีสีเสมอด้วยสร้อยคอแห่งนกยูง ผู้เป็นผัวของฉันชื่อว่าสวิษฐกะบ้างไหม.

[๒๕๘] นกสวิษฐกะ เมื่อทําตามภรรยาของปักษีผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก บริโภคปลาสดเป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.

จบ วีรกชาดกที่ ๔

อรรถกถาวีรกชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ วีรก ปสฺเสสิ ดังนี้.

ความย่อมีว่า เมื่อพระเถระทั้งหลายพาบริษัทของพระเทวทัตมาเฝ้า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัตเห็นพวกเธอแล้วได้ทำอย่างไร กราบทูลว่า พระเทวทัตเลียนแบบพระสุคตพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัตทำตามอย่างเรา ถึงความพินาศมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็ถึงความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 293

พินาศมาแล้ว พระเถระกราบทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดกาน้ำ ในหิมวันตประเทศ อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. มีชื่อว่า วีรกะ. ในครั้งนั้น ได้เกิดข้าวยากหมากแพงขึ้นในแคว้นกาสี. พวกมนุษย์ไม่สามารถให้อาหารกา หรือกระทำการบวงสรวงยักษ์และนาคได้. กาทั้งหลายจึงออกจากแคว้นที่อดอยาก เข้าป่าไปโดยมาก. ในกาเหล่านั้น มีกาตัวหนึ่งชื่อ สวิษฐกะอยู่เมืองพาราณสี พานางกาไปยังที่อยู่ของกาวีรกะ อาศัยสระนั้นอยู่ส่วนหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง กาสวิษฐกะหาเหยื่ออยู่ในสระนั้น เห็นกาวีรกะลงสระกินปลา แล้วขึ้นมาตากตัวให้แห้ง จึงคิดว่า เราอาศัยกาตัวนี้แล้วสามารถหาปลาได้มาก เราจักปรนนิบัติกาตัวนี้ แล้วเข้าไปหากาวีรกะนั้น เมื่อกาวีรกะถามว่า อะไรล่ะสหาย ตอบว่า นาย ข้าพเจ้าอยากจะปรนนิบัติท่าน กาสวิษฐกะรับว่า ดีแล้ว ตั้งแต่นั้นมา กาสวิษฐกะก็ปรนนิบัติกาวีรกะ.

ฝ่ายกาวีรกะกินปลาพออิ่มสำหรับตนแล้วก็คาบปลามาให้แก่สวิษฐกะ. ฝ่ายกาสวิษฐกะกินพออิ่มสำหรับตนแล้วก็ให้ปลาที่เหลือแก่นางกา. ต่อมากาสวิษฐกะเกิดความทะนงตนขึ้นมาว่า แม้กาน้ำตัวนี้ก็เป็นกาดำ แม้เราก็เป็นกาดำ แม้ตาจะงอยปาก และเท้าของกาวีรกะนั้น และของเราก็ไม่ต่างกัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 294

ตั้งแต่นี้ไปเราไม่ต้องการปลาที่กาตัวนี้จับมาให้เรา. เราจักจับเสียเอง. กาสวิษฐกะจึงเข้าไปหากาวีรกะนั้นกล่าวว่า สหาย ตั้งแต่นี้ไป เราจะลงสระจับปลากินเอง แม้เมื่อกาวีรกะห้ามอยู่ว่า สหาย เจ้ามิได้เกิดในตระกูลกาที่ลงน้ำจับปลากิน เจ้าอย่าพินาศเสียเลย. ก็มิได้เชื่อฟังคำ ลงสระดำน้ำแล้วก็ไม่โผล่ขึ้น ไม่สามารถจะแหวกสาหร่ายออกมาได้. ติดอยู่ภายในสาหร่าย โผล่แต่ปลายจะงอยปากเท่านั้น. กาสวิษฐกะหายใจไม่ออกถึงแก่ความตายในน้ำนั่นเอง ครั้งนั้นนางกาภรรยาของกาสวิษฐกะไม่เห็นกาสวิษฐกะกลับมา จึงไปหากาวีรกะเพื่อจะรู้ความเป็นไป เมื่อจะถามว่า นาย กาสวิษฐกะไม่ปรากฏ เขาหายไปเสียที่ไหนเล่า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงไพเราะ มีสีเสมอด้วยสร้อยคอแห่งนกยูงผู้เป็นผัวของฉัน ชื่อสวิษฐกะบ้างไหม.

กาวีรกะฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า จ้ะข้ารู้ที่ที่ผัวของเจ้าไป แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นกสวิษฐกะ เมื่อทำตามภรรยาของปักษี ผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก บริโภคปลาสดเป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.

นางกาได้ฟังดังนั้น ก็โศกเศร้าเสียใจกลับไปกรุงพาราณสีตามเดิม.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้า 295

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุมชาดก. กาสวิษฐกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ส่วนกาวีรกะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวีรกชาดกที่ ๔