พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อุเทนสูตร ว่าด้วยหญิง ๕๐๐ ถูกเผา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35351
อ่าน  386

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 702

๑๐. อุเทนสูตร

ว่าด้วยหญิง ๕๐๐ ถูกเผา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 702

๑๐. อุเทนสูตร

ว่าด้วยหญิง ๕๐๐ ถูกเผา

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนคร โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภาย ในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกันนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า ไปบิณฑบาตยังพระนครโกสัมพี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อพระเจ้า อุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ คติแห่งอุบาสิกาเหล่านั้นเป็น อย่างไร ภพหน้าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น อุบาสิกาที่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ เป็น พระสกทาคามินีมีอยู่ เป็นพระอนาคามินีมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา ทั้งหมดนั้นเป็นผู้ไม่ไร้ผลทำกาละ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สัตวโลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏ เหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ คนพาลมีอุปธิเป็นเครื่อง ผูกพัน ถูกความมืดหุ้มห่อไว้ ย่อมปรากฏเหมือนว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 703

เที่ยงยั่งยืน กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณา เห็นอยู่.

จบอุเทนสูตรที่ ๑๐

จบจูฬวรรคที่ ๗

อรรถกถาอุเทนสูตร

อุเทนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รญฺโ อุเทนสฺส ได้แก่ พระราชาพระนามว่า อุเทน ซึ่งเขา เรียกกันว่าเจ้าวัชชีก็มี. บทว่า อุยฺยานคตสฺส ได้แก่ เสด็จไปอุทยาน เพื่อ สำราญในพระอุทยาน. จริงอยู่ บทว่า อุเทนสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ ในอรรถอนาทร. ก็บทว่า อุเทนสฺสน เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในสามีสัมพันธะ ไม่มุ่งถึงบทว่า อนฺเตปุรํ. บทว่า กาลกตานิ ได้แก่ ถูกไฟไหม้ตายแล้ว. ในบทว่า สามาวตีปมุขานิ นี้ มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็พระนางสามาวดีนี้ คือใครและทำไมจึงถูกไฟไหม้? ข้าพเจ้าจะเฉลย ธิดาของเศรษฐีในเมือง ภัททวดี อันโฆสกเศรษฐีตั้งไว้ในตำแหน่งธิดา มีหญิง ๕๐๐ เป็นบริวาร เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นพระอริยสาวิกามากไปด้วยเมตตาวิหารธรรม ทรงพระนามว่าสามาวดี. ในที่นี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบอุปปัตติกถาของพระนางสามาวดีตั้งแต่ต้น แต่โดยนัยดังกล่าวในเรื่องพระธรรมบท. นางมาตัณฑิยาธิดาของมาคัณฑิยพราหมณ์สดับคาถานี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสคงแก่บิดามารดาของ ตนว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 704

เพราะได้เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา เรามิได้มีความพอใจแม้ในเมถุนเลย เพราะได้เห็น สรีระแห่งธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตและกรีส (เราจักมีความพอใจในเมถุน) อย่างไรได้ เราไม่ ปรารถนาจะแตะต้องสรีระแห่งธิดาของท่านนั้น แม้ ด้วยเท้า ดังนี้

จึงผูกอาฆาตในพระศาสดา อยู่มาภายหลัง พระเจ้าอุเทนทรงสถาปนา ไว้ในตำแหน่งมเหสี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงโกสัมพี และ ว่าหญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประธาน เป็นอุบาสิกา จึงคิดว่าอัน พระสมณโคดมผู้มายังพระนครนี้ บัดนี้ เราจะรู้กิจที่ควรทำแก่สมณโคดม นั้น ทั้งหญิงเหล่านี้ก็เป็นอุปัฏฐายิกาของเขา เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่หญิง แม้เหล่านี้ ซึ่งมีนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ดังนี้ แม้จะพยายามเพื่อทำความ พินาศแก่พระตถาคต และแก่หญิงเหล่านั้น โดยอเนกปริยาย เมื่อไม่อาจ ทำ วันหนึ่ง พร้อมกับพระราชาเสด็จไปเล่นกรีฑาในอุทยาน จึงส่งสาส์น ถึงอาว์ว่า ขออาว์จงขึ้นสู่ปราสาทของนางสามาวดี แล้วให้เปิดคลังผ้าและ คลังน้ำมัน เอาผ้าจุ่มลงในตุ่มน้ำมันพันเสา แล้วให้หญิงทิ้งหมดเหล่านั้น รวมกัน ปิดประตู ใส่ประแจด้านนอก เอาไฟชนวนจุดพระตำหนัก แล้วจงลงไปเสียเถิด.

อาว์ได้ฟังดังนั้น จึงขึ้นสู่ปราสาทเปิดคลัง เอาผ้าให้ชุ่มที่ตุ่มน้ำมัน เริ่มพันเสา. ลำดับนั้นแล หญิงมีนางสามาวดีเป็นประมุข จึงเข้าไปหานาย มาคัณฑิยะพลางกล่าวว่า นี่อะไรกัน อาว์. นายมาคัณฑิยะกล่าวว่า แม่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 705

ทั้งหลาย พระราชารับสั่งให้เอาผ้าชุ่มน้ำมันพันเสาเหล่านี้ เพื่อทำให้มั่นคง ชื่อว่าในพระราชตำหนัก กรรมที่ประกอบดีประกอบชั่วรู้ได้ยาก พวกเธอ อย่าอยู่ในสำนักของเราเลย ดังนี้แล้วจึงให้หญิงที่มาเหล่านั้นเข้าไปในห้อง ลั่นกุญแจข้างนอก จุดไฟตั้งแต่ต้นจึงลงมา. พระนางสามาวดีได้ให้โอวาท แก่หญิงเหล่านั้นว่า แม่ทั้งหลาย เมื่อเราเที่ยวอยู่ในสงสารซึ่งไปตามรู้เบื้อง ต้นและที่สุดไม่ได้ อัตภาพถูกไฟไหม้ถึงอย่างนี้ แม้กำหนดด้วยพุทธญาณก็ กระทำไม่ได้ง่าย พวกเธออย่าประมาทเลย. หญิงเหล่านั้นบรรลุโสดาปัตติ- ผลในสำนักของนางขุชชุตตรา อริยสาวิกาผู้รู้แจ้งคำสอนของพระศาสดา ผู้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วบรรลุผล ผู้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงนั่นแหละ และประกอบขวนขวายมนสิการกรรมฐานในลำดับๆ เมื่อไฟกำลังไหม้พระตำหนัก มนสิการ ถึงเวทนาปริคหกรรมฐาน บางพวกบรรลุผลที่ ๒ บางพวกบรรลุผลที่ ๓ แล้วถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี ภาย หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถามถึง อภิสัมปรายภพของหญิงเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกการที่ หญิงเหล่านั้นบรรลุอริยผลแก่ภิกษุทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน รญฺโ อุเทนสฺสฯ เปฯ อนิปฺผลา กาลกตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิปฺผลา ความว่า หญิงที่ถึงแก่กรรม ไม่ไร้ผล คือบรรลุสามัญผลนั่นแล. ฝ่ายหญิงเหล่านั้นได้รับผล อัน พระนางสามาวดีโอวาทด้วยคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 706

จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา จง กำจัดเสนาของมัจจุมาร เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาทเห็นแจ้ง ในพระธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร จักทำที่สุด ทุกข์ได้ ดังนี้

จึงมนสิการเวทนาปริคหกรรมฐาน ได้เห็นแจ้งแล้วบรรลุผลที่ ๒ และ ที่ ๓. ฝ่ายนางขุชชุตตรา เพราะมีอายุเหลืออยู่ และเพราะไม่ได้ทำ กรรมเช่นนั้นไว้ในปางก่อน จึงได้อยู่ภายนอกปราสาทนั้น. ก็อาจารย์บาง พวกกล่าวว่า นางหลีกไปในระยะ ๑ โยชน์. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส พระอริยสาวิกา ถึงแก่กรรม เช่นนั้น ไม่สมควรเลยหนอ. พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าความตายของหญิง เหล่านั้นไม่สมควรในอัตภาพนี้ไซร้ แต่กรรมที่เธอเคยทำไว้ก่อนนั่นแหละ เป็นกรรมที่สมควรแท้ ที่พวกเธอจะได้รับ ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอาราธนา จึงน่าอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ รูป ฉันภัตตาหารเนืองนิตย์ ในพระราชนิเวศน์. หญิง ๕๐๐ คนพากันบำรุง พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น. ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๘ รูปนั้น ๗ รูปไปยังป่าหิมพานต์. รูปหนึ่งนั่งเข้าสมาบัติที่ พงหญ้าแห่งหนึ่ง ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ. ภายหลังวันหนึ่งเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า ไปแล้ว พระราชาทรงประสงค์จะเล่นน้ำกับพวกหญิงนั้น จึงเสด็จไป.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 707

หญิงเหล่านั้นเล่นน้ำในที่นั้น ตลอดทั้งวัน ถูกความหนาวบีบคั้น ประสงค์ จะพิงไฟ ยืนล้อมพงหญ้านั้น ข้างบนอันดารดาษไปด้วยหญ้าแห้ง ด้วย สำคัญว่ากองหญ้า จึงจุดไฟ เมื่อหญ้าถูกไฟไหม้แล้วยุบลง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า คิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าของพระราชา ถูกไฟไหม้ พระราชาทรงทราบเรื่องนั้น จักทำเราให้พินาศ เราจักเผาท่านให้เรียบร้อยเสียเลย ดังนี้แล้ว ทุกคนพากันขนฟืนมาจากที่โน้นที่นี้ ทำให้เป็นกองสุมไว้ข้างบน พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น พากันหลีกไปด้วยเข้าใจว่า บัดนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้า จักมอดไหม้ไปแล้ว. หญิงเหล่านั้น เมื่อก่อนไม่ได้มีเจตนา แต่บัดนี้ พากันผูกพันด้วยกรรม. ก็ภายในสมาบัติ ถ้าหญิงเหล่านั้นพากัน ขนฟืนมาตั้งพันเล่มเกวียน แล้วสุมพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถจะให้ ถือเอาแม้เพียงอาการไออุ่นได้. เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๗ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ได้ลุกไปตามความสบาย. หญิงเหล่านั้น เพราะกรรมที่เขาทำไว้ จึงหมกไหม้ในนรกหลายพันปี หลายแสนปี เพราะเศษแห่งวิบากของกรรม นั้นนั่นแหละ. เมื่อตำหนักถูกไฟไหม้ โดยทำนองนี้ เธอก็ถูกไฟไหม้ถึง ร้อยอัตภาพ. นี้เป็นบุพกรรมของหญิงเหล่านั้น. ก็เพราะเหตุที่หญิง เหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งอริยผลในอัตภาพนี้ จึงเข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย ฉะนั้น ในหญิงเหล่านั้น หญิงผู้เป็นพระอนาคามินี เกิดในชั้น สุทธาวาส นอกนั้นบางพวก เกิดในภพดาวดึงส์ บางพวกเกิดในชั้นยามะ บางพวกเกิดในชั้นดุสิต บางพวกเกิดในชั้นนิมมานรดี บางพวกเกิดใน ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ฝ่ายพระเจ้าอุเทนแล ทรงสดับว่า ข่าวว่า พระตำหนักของพระนาง สามาวดี ถูกไฟไหม้ จึงรีบเสด็จมาถึงที่นั้น ในเมื่อหญิงเหล่านั้นถูกไฟไหม้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 708

แล้วนั้นแล. ก็แล ครั้นเสด็จมา รับสั่งให้คนช่วยดับไฟไหม้ที่ตำหนัก ทรงเกิดโทมนัสอย่างรุนแรง ทรงทราบว่า พระนางมาคัณฑิยา ก่อเหตุ เช่นนั้นโดยอุบาย อันกรรมที่พระนางมาคัณฑิยากระทำความผิดในพระอริยสาวิกาตักเตือนอยู่ จึงให้ลงราชอาชญาแก่นางพร้อมด้วยพวกญาติ. พระนางมาคัณฑิยา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร พร้อมทั้งมิตรและพวกพ้อง ได้ถึงความวอดวาย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ ทั้งปวง ถึงเหตุที่หญิงเหล่านั้น อันมีพระนางสามาวดีเป็นประธาน ถึง ความวอดวายในกองเพลิง และนิมิตที่พระนางมาคัณฑิยา พร้อมด้วย มิตรและพวกพ้อง ถึงความวอดวายด้วยพระราชอาชญานี้ จึงทรงเปล่ง อุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โมหสมฺพนฺธโน โลโก ภพฺพรูโปว ทิสฺสติ ความว่า สัตวโลกใดในโลกนี้ ปรากฏเป็นเหมือนผู้สมควรแท้ คือเป็นเหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ สัตวโลกแม้นั้น มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน คือ เกลือกกลั้วไปด้วยโมหะ เมื่อไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น ประโยชน์แก่ตน จึงไม่ดำเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งสมแต่สิ่งที่มิใช่ ประโยชน์ อันนำความทุกข์มาให้ และพอกพูนอกุศลเป็นอันมาก. บาลีว่า ภวรูโปว ทิสฺสติ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ โลกนี้มีโมหะ เป็นเครื่องผูกพัน คือเกลือกกลั้วด้วยโมหะ เพราะเหตุนั้นแล ตนของ สัตวโลกนั้นจึงปรากฏเหมือนมีรูป คือเหมือนมีสภาวะเที่ยง คือปรากฏ เหมือนไม่แก่ไม่ตาย อันเป็นเหตุให้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ มีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า อุปธิพนฺธโน พาโล ตมสา ปริวาริโต สสฺสติ วิย ขายติ ความว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 709

ก็ไม่ใช่แต่สัตวโลกจะมีโมหะเป็นเครื่องผูกพันแต่อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่ แท้ สัตวโลกผู้บอดเขลานี้ ยังมีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน อันความมืดคือ อวิชชาหุ้มห่อแล้ว. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เพราะญาณอันเป็นเหตุให้ บุคคลพิจารณาเห็นกาม และขันธ์อันไม่ผิดแผกว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้ไม่มี เพราะเหตุที่ปุถุชนคนบอด เขลา ถูกความมืดคืออวิชชา แวดล้อม ห่อหุ้ม โดยรอบ ฉะนั้น ปุถุชน คนบอดเขลานั้น มีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน โดยอุปธิเหล่านี้คือ อุปธิคือกาม อุปธิคือกิเลส อุปธิคือขันธ์ ก็เพราะเหตุนั้นแล เมื่อเขาผู้มีอุปธิเห็นอยู่ ย่อมปรากฏดุจเที่ยง คือย่อมปรากฏว่า มีสภาวะเที่ยง ได้แก่มีอยู่ทุกกาล. บาลีว่า อสสฺสติริว ขายติ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า อุปธิ นั้นย่อมปรากฏ อธิบายว่า เข้าไปตั้งอยู่ เหมือนส่วนหนึ่งของโลก ด้วย อำนาจการยึดถือผิดว่า อัตตาย่อมมี คือย่อมเกิด ทุกกาล และว่าอัตตา อื่นไม่เที่ยง คือมีสภาวะไม่แน่นอน. จริงอยู่ อักษร ทำการต่อบท. บทว่า ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ ความว่า ก็ผู้ใด กำหนดสังขารทั้งหลาย พิจารณาเห็นด้วย ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น เมื่อบุคคลนั้นนั่นแล เห็นอยู่ รู้อยู่ แทงตลอดอยู่ ตามความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา อัน ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา กิเลสเครื่องยียวนมีราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุ ผูกพันสัตว์ไว้ในสงสาร ย่อมไม่มี อธิบายว่า ความจริง เมื่อบุคคล ไม่ เห็นอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ พึงเป็นผู้ถูกเครื่องผูกพัน มีอวิชชาตัณหา และทิฏฐิเป็นต้น ผูกไว้ในสงสาร.

จบอรรถกถาอุเทนสูตรที่ ๑๐

จบจูฬวรรควรรณนาที่ ๗

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 710

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมภัททิยสูตร ๒. ทุติยภัททิยสูตร ๓. ปฐมกามสูตร ๔. ทุติยกามสูตร ๕. ลกุณฐกภัททิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร ๗. ปปัญจ- ขยสูตร ๘. มหากัจจานสูตร ๙. อุทปานสูตร ๑๐. อุเทนสูตร และอรรถกถา.