พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ติตถสูตร ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35337
อ่าน  370

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 631

๖. ติตถสูตร

ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 631

๖. ติตถสูตร

ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน

[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่างๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 632

พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า... ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

[๑๔๒] ลำดับนั้น เป็นเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน มีลัทธิต่างๆ กัน มีทิฏฐิต่างๆ กัน มีความพอใจต่างๆ กัน มีความชอบใจต่างๆ กัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างๆ กัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถีนี้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า... ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จัก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 633

สภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน พูดจาทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

หมู่สัตว์นี้ขวนขวายแล้วในทิฏฐิว่า ตนและโลกเราสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทิฏฐิว่า ตนและโลกผู้อื่นสร้างสรรค์ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งไม่รู้จริงซึ่งทิฏฐินั้นไม่ได้เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร ก็เมื่อผู้พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความเห็นอันวิปริตนั้นว่าเป็นดุจลูกศร ความเห็นว่าเราสร้างสรรค์ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น ความเห็นว่าผู้อื่นสร้างสรรค์ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความแข่งดีกันในทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้.

จบติตถสูตรที่ ๖

อรรถกถาติตถสูตร

ติตถสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล. ก็ในคำว่า อิมํ อุทานํ นี้ พึงประกอบความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 634

ความเป็นไปล่วงและความไม่เป็นไปล่วงจากสงสารตามลำดับ ของผู้ที่เห็นโทษในทิฏฐิ ตัณหา และมานะ แล้วเว้นทิฏฐิเป็นต้นเหล่านั้นให้ห่างไกล แล้วพิจารณาสังขารตามความเป็นจริง และของผู้ยึดถือผิดเพราะไม่เห็นโทษในสังขารเหล่านั้น ไม่เห็นตามความเป็นจริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหงฺการปสุตายํ ปชา ความว่า หมู่สัตว์นี้ผู้ขวนขวาย คือ ประกอบคามอหังการ กล่าวคือ เราสร้างเองดังกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเราสร้างเอง ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนั้น คือ หมู่สัตว์ที่ยึดถือผิด.

บทว่า ปรงฺการูปสํหิตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปรังการ เพราะอาศัยทิฏฐิว่าผู้อื่นสร้าง อันเป็นไปอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มีอิสรชนเป็นต้นสร้างทั้งหมด ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปรังการทิฏฐินั้น.

บทว่า เอตเทเก นาพฺภญฺํสุ ความว่า สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มีปกติเห็นโทษในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น ไม่ตามรู้ทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. คือ อะไร? คือ ก็เมื่อมีการสร้างเองได้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงปรารถนาสร้างกามเท่านั้น ผู้ที่ไม่ปรารถนาไม่มี. ใครๆ จะปรารถนาทุกข์เพื่อตน และมีสิ่งที่ไม่ต้องการก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นผู้สร้างเอง. แม้คนอื่นสร้าง ถ้ามีอิสรชนเป็นเหตุ อิสรชนนี้นั้นก็จะสร้างเพื่อตนหรือเพื่อผู้อื่น. ใน ๒ อย่างนั้น ถ้าสร้างเพื่อตน ก็จะพึงไม่มีกิจที่ตนจะทำ เพราะจะให้กิจที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จลง ถ้าสร้างเพื่อผู้อื่น ก็จะพึงให้สำเร็จเฉพาะหิตสุขแก่ชนทั้งหมดเท่านั้น สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และเป็นทุกข์ก็จะไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้น คนอื่นสร้างจึงไม่สำเร็จโดยอิสรชน. ก็ถ้าเหตุโดยไม่มุ่งผู้อื่น กล่าวคือ อิสรชนจะพึงมีเพื่อความเป็นไปเป็นนิตย์ทีเดียว. ไม่พึงเกิดขึ้นเพราะการกระทำ คนทั้งหมดนั่นแล จะพึงเกิดขึ้นรวมกัน เพราะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 635

เหตุที่ตั้งไว้รวมกัน. ถ้าผู้นั้นปรารถนา เหตุมีการกระทำรวมกันแม้อย่างอื่น ข้อนั้นนั่นแหละเป็นเหตุ. จะประโยชน์อะไรด้วยอิสรชนผู้กำหนดโดยความสามารถในกิจที่ยังไม่สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า คนอื่นสร้างมีอิสรชนเป็นเหตุ ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้ตนสร้าง มีสัตว์ บุรุษ ปกติพรหม และกาลเป็นต้นเป็นเหตุ ก็ไม่สำเร็จฉันนั้นเหมือนกัน เพราะชนแม้เหล่านั้น ก็ไม่ให้สำเร็จ และเพราะจะไม่พ้นโทษตามที่กล่าวแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอตเทเก นาพฺภญฺํสุ. ก็ชนเหล่าใดไม่รู้ตนเองสร้างและผู้อื่นสร้างตามที่กล่าวแล้ว ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกที่เกิดขึ้นลอยๆ ชนแม้เหล่านั้นไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร คือ แม้บุคคลผู้มีวาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะยังไม่ล่วงพ้นการยึดถือผิดจึงไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร เพราะอรรถว่าเสียดแทง โดยทำทุกข์ให้เกิดขึ้นในอัตตาและโลกนั้นๆ.

บทว่า เอตญฺจ สลฺลํ ปฏิคจฺจ ปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้นั้นย่อมพิจารณาเห็นวิปริตทัสสนะ ๓ อย่างนี้ และมิจฉาภินิเวสะอื่นทั้งสิ้น และอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นที่อาศัยของธรรมเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาในเบื้องต้นนั้นแหละว่าเป็นลูกศร เพราะทิ่มแทง และเพราะถอนได้ยาก. เมื่อพระโยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ มิได้มีความคิดว่า เราสร้าง โดยส่วนเท่านั้นในขณะอริยมรรค. ก็พระโยคีนั้นมิได้มีความคิดว่า ผู้อื่นสร้าง โดยประการที่ไม่ปรากฏแก่ท่านว่าตนสร้าง. แต่จะมีเพียงปฏิจจสมุปปันนธรรม กล่าวคือ ความไม่เที่ยงอย่างเดียวเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 636

ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงถึงความที่ผู้ปฏิบัติชอบ ไม่มีทิฏฐิและมานะ แม้โดยประการทั้งปวง ก็ด้วยคำนั้น เป็นอันประกาศถึงการล่วงพ้นสงสาร ด้วยการบรรลุพระอรหัต. บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ผู้ที่ติดอยู่ในทิฏฐิย่อมไม่อาจเงยศีรษะขึ้นจากสงสารได้ จึงตรัสคาถาว่า มานุเปตา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุเปตา อยํ ปชา ความว่า ประชา คือ หมู่สัตว์ กล่าวคือ ทิฏฐิคติกบุคคลนี้ทั้งหมด เข้าถึงคือประกอบด้วยมานะ อันมีลักษณะประคองการยึดถือของตนว่า ทิฏฐิของเรางาม การยึดถือของเรางาม.

บทว่า มานคณฺา มานวินิพฺพนฺธา ความว่า ต่อแต่นั้นแล หมู่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีเครื่องร้อยรัดคือมานะ มีเครื่องผูกพันคือมานะ เพราะมานะที่เกิดขึ้นสืบๆ กันมานั้น ร้อยรัดและผูกพันสันดานตนไว้ โดยที่ตนยังไม่สละคืนทิฏฐินั้น.

บทว่า ทิฏฺีสุ สารมฺภกถา สํสารํ นาติวตฺตติ ความว่า มีสารัมภกถาว่าด้วยการแข่งดี คือ มีวิโรธกถาว่าด้วยความขัดแย้งในทิฏฐิของชนเหล่าอื่น โดยการยึดถือทิฏฐิของตน ด้วยการยกตนข่มท่านว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมไม่ล่วงเลย คือ ย่อมไม่พ้นจากสงสาร เพราะยังประหาณอวิชชาและตัณหา อันนำสัตว์ไปสู่สงสารไม่ได้.

จบอรรถกถาติตถสูตรที่ ๖