พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สัททายมานสูตร ว่าด้วยมาณพกล่าวเสียงอื้ออึง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ส.ค. 2564
หมายเลข  35330
อ่าน  361

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 571

๙. สัททายมานสูตร

ว่าด้วยมาณพกล่าวเสียงอื้ออึง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 571

๙. สัททายมานสูตร

ว่าด้วยมาณพกล่าวเสียงอื้ออึง

[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้นแล มาณพมากด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมาณพมากด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม อวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต พูดตามอารมณ์ พูดยืดยาวตามปรารถนา ย่อมไม่รู้สึกถึงเหตุที่ตนพูดชักนำผู้อื่นนั้น.

จบสัททายมานสูตรที่ ๙

อรรถกถาสัททายมานสูตร

สัททายมานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาณวกา ได้แก่ คนหนุ่ม คือ ผู้ตั้งอยู่ในปฐมวัย คือ ในวัยหนุ่มสาว. เด็กพราหมณ์ ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า สธายมานรูปา นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำที่เกิดจากการเย้ยหยัน. อธิบายว่า กล่าวเย้ยหยันต่อบุคคลเหล่าอื่น และเป็นผู้มีปกติกล่าวคำนั้น. ในข้อนั้นมีอรรถแห่งคำดังต่อไปนี้. เมื่อควรจะกล่าวว่า สธยมานา เพราะวิเคราะห์ว่า การกล่าวคำน่าเกลียด ชื่อว่า สธะ บอกกล่าวคำน่าเกลียดนั้น จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 572

สธายมานา เพราะทำให้เป็นทีฆะ. อีกอย่างหนึ่ง ต่อแต่นั้น จึงกล่าวว่า สธายมานรูปา เพราะมีสภาวะเป็นอย่างนั้น. บาลีว่า สทฺทายมานรูปา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ทำเสียงอื้ออึง คือ ทำเสียงดัง.

บทว่า ภควโต อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ความว่า กล่าวคำที่ชินปากนั้นๆ ผ่านไปในวิสัยแห่งการสดับของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ คือ ทราบว่าคนเหล่านั้นไม่สำรวมวาจา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงอรรถนั้นโดยธรรมสังเวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริมุฏฺา แปลว่า ผู้เขลา คือ มีสติหลงลืม.

บทว่า ปณฺฑิตาภาสา ความว่า ชื่อว่าบัณฑิตเทียม เพราะเปล่งวาจาว่า ตนนั่นแหละรู้ในอรรถนั้นๆ ด้วยเข้าใจว่า คนอื่นใครเล่าจะรู้ พวกเราเท่านั้นรู้ในอรรถนี้.

บทว่า วาจาโคจรภาณิโน ความว่า วาจาเท่านั้นเป็นโคจรคือเป็นอารมณ์ของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีการกล่าววาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวเพียงวาจาเป็นที่ตั้งเท่านั้น เพราะไม่กำหนดรู้ถึงอรรถ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าววาจาเป็นอารมณ์ เพราะพูดมุสาวาท อันไม่เป็นอารมณ์ของวาจา คือ มิใช่เป็นอารมณ์แห่งถ้อยคำของพระอริยะ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านทำการรัสสะ อา อักษรให้เป็น อักษร ในบทว่า โคจรภาณิโน นี้. ผู้มักพูดมีวาจาเป็นอารมณ์ ไม่ใช่พูดมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์. พูดอย่างไร? คือ พูดยืดยาวตามปรารถนา ได้แก่ พูดไปตามปากที่อยากจะพูด อธิบายว่า ทำหน้าสยิ้ว เพราะไม่เคารพในผู้อื่น และเพราะไม่สบอารมณ์ตน. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พูดแต่วาจาเป็นอารมณ์เท่านั้น คือ ตนเองก็ไม่รู้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 573

ถึงบทพูดก็พูดไป. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล จึงพูดยืดยาวตามปรารถนา คือ ไม่คิดถึงคำที่เป็นเหตุให้สำเร็จ ปรารถนาเพียงพูดไปตามปากของตน.

บทว่า เยน นีตา น ตํ วิทู ความว่า บุคคลผู้ไม่รู้ คือ คนโง่ ถูกบุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นต้นแนะนำแต่ภาวะที่ไม่มียางอาย และภาวะที่สำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต เราเท่านั้นพูดได้ ดังนี้ ด้วยเหตุใดย่อมไม่รู้ ซึ่งเหตุนั้นของคนผู้พูดอย่างนั้น.

จบอรรถกถาสัททายมานสูตรที่ ๙