พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. พาหิยสูตร ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ส.ค. 2564
หมายเลข  35287
อ่าน  742

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 124

๑๐. พาหิยสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 124

๑๐. พาหิยสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์

[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะ อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 125

อรหันต์หรือผู้ถึงอรหัตมรรคในโลก ลำดับนั้นแล เทวดาผู้เป็นสายโลหิตในกาลก่อนของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ ได้ทราบความปริวิตกแห่งใจของพาหิยทารุจีริยะด้วยใจแล้ว เข้าไปหาพาหิยทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์ หรือไม่เป็นผู้ถึงอรหัตมรรคอย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็นพระอรหันต์หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตมรรค พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้ถึงอรหัตมรรคในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ ในชนบททางเหนือ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น ดูก่อนพาหิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะผู้อันเทวดานั้นให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง.

[๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 126

พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้ว ผู้ประเสริฐแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.

[๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด.

แม้ครั่งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 127

แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิยทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

[๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะยกขึ้นสู่เตียง แล้วจงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลาย ทำกาละ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 128

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของพระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาทิยทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาณเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่ทำเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์.

จบพาหิยสูตรที่ ๑๐

จบโพธิวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 129

อรรถกถาพาหิยสูตร

พาหิยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พาหิโย เป็นชื่อของท่าน. บทว่า ทารุจีริโย ได้แก่ ผ้าคากรองที่ทำด้วยไม้. บทว่า สุปฺปารเก ได้แก่ อยู่ที่ท่าชื่ออย่างนั้น. ก็พาหิยะนี้คือใคร, และอย่างไรจึงเป็นผู้ทรงผ้าคากรองทำด้วยไม้, อย่างไรจึงอยู่อาศัยที่ท่าสุปปารกะ?

ในข้อนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ในที่สุดแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ กุลบุตรคนหนึ่งกำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระทศพลที่หังสวดีนคร เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผู้เป็นขิปปาภิญญา คิดว่า ไฉนหนอ ในอนาคตเราจักบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้ แล้วพึงเป็นผู้อันพระศาสดาสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเช่นนี้ เหมือนภิกษุรูปนี้ ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญบุญญาธิการอันสมควรแก่ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ บวชในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล มีศีลบริบูรณ์ บำเพ็ญสมณธรรม ถึงความสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก. ท่านอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในเรือนมีสกุลในพาหิยรัฐ ชนทั้งหลายจำเขาได้ว่า พาหิยะ เพราะเกิดในพาหิยรัฐ. เขาเจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เอาเรือบรรทุกสินค้ามากมายแล่นไปยังสมุทรกลับไปกลับมา สำเร็จความประสงค์ ๗ ครั้ง จึงกลับนครของตน ครั้นครั้งที่ ๘ คิดจะไปสุวรรณภูมิ จึงขนสินค้าแล่นเรือไป. เรือ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 130

แล่นเข้ามหาสมุทร ยังไม่ทันถึงถิ่นที่ปรารถนา ก็อับปางในท่ามกลางสมุทร. มหาชนพากันเป็นภักษาของปลาและเต่า ส่วนท่านพาหิยะเกาะกระดานแผ่นหนึ่ง กำลังข้ามอยู่ ถูกกำลังคลื่นซัดไปทีละน้อยๆ ในวันที่ ๗ ก็ถึงฝั่งใกล้ท่าสุปปารกะ. ท่านนอนที่ฝั่งสมุทร โดยรูปกายเหมือนตอนเกิด เพราะผ้าพลัดตกไปในสมุทร บรรเทาความกระวนกระวายได้แต่เพียงลมหายใจ ลุกขึ้นเข้าไประหว่างพุ่มไม้ด้วยความละอาย ไม่เห็นอะไรๆ อย่างอื่นที่จะเป็นเครื่องปิดความละอาย จึงหักก้านไม้รัก เอาเปลือกพัน (กาย) ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เจาะแผ่นกระดานเอาเปลือกไม้ร้อยทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้. ท่านปรากฏว่า ทารุจีริยะ. เพราะทรงผ้าคากรองทำด้วยไม้ และว่า พาหิยะ ตามชื่อเดิมแม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

ท่านถือกระเบื้องอันหนึ่ง เที่ยวขอก้อนข้าวที่ท่าสุปปารกะ โดยทำนองดังกล่าวแล้ว พวกมนุษย์เห็นเข้าจึงคิดว่า ถ้าชื่อว่าพระอรหันต์ยังมีในโลกไซร้ ท่านพึงเป็นอย่างนี้ พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้ จะถือเอาผ้าที่เขาให้ หรือไม่ถือเอาเพราะความมักน้อย ดังนี้ เมื่อจะทดลอง จึงน้อมนำผ้าจากที่ต่างๆ เข้าไป. เขาคิดว่า ถ้าเราจักไม่มาโดยทำนองนี้ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเหล่านี้พึงไม่เลื่อมใสเรา ไฉนหนอ เราพึงห้ามผ้าเหล่านี้เสีย อยู่โดยทำนองนี้แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ ลาภสักการะก็จักเกิดขึ้นแก่เรา. เขาคิดอย่างนี้แล้ว จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้หลอกลวง ไม่รับผ้า. พวกมนุษย์คิดว่า น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านี้มักน้อยแท้ จึงมีจิตเลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง กระทำสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก. ฝ่ายท่านรับประทานอาหารแล้ว ได้ไปยังเทวสถานแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล. มหาชนก็

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 131

ไปกับท่านเหมือนกัน ได้ซ่อมแซมเทวสถานนั้นให้. ท่านคิดว่า คนเหล่านี้เลื่อมใสในฐานะเพียงที่เราทรงผ้าคากรอง จึงพากันทำสักการะและสัมมานะอย่างนี้ เราควรจะมีความประพฤติอย่างสูงสำหรับคนเหล่านี้ จึงเป็นผู้มีบริขารเบาๆ เป็นผู้มักน้อยอยู่. ฝ่ายท่านเมื่อถูกคนเหล่านั้นยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ ก็สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง การทำสักการะและทำความเคารพก็เจริญยิ่งๆ ขึ้น และท่านก็ได้มีปัจจัยมากมาย. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านพาหิยะ ทารุจีริยะ อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะเคารพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ความว่า เป็นผู้อันมหาชนสักการะโดยการบำรุงด้วยความเคารพ คือ เอื้อเฟื้อ. บทว่า ครุกโต ความว่า ผู้อันมหาชนกระทำให้หนักด้วยการกระทำให้หนักดุจฉัตรหิน โดยความประสงค์ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยคุณวิเศษ. บทว่า มานิโต ความว่า ผู้อันมหาชนนับถือด้วยการยกย่องด้วยน้ำใจ. บทว่า ปูชิโต ความว่า ผู้อันมหาชนบูชาแล้วด้วยการบูชา ด้วยการสักการะ มีดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า อปจิโต ได้แก่ ผู้อันมหาชนยำเกรงแล้วด้วยการให้หนทาง และการนำอาสนะมาเป็นต้น ด้วยจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง. บทว่า ลาภี จีวร ฯเปฯ ปริกฺขารานํ ความว่า เป็นผู้ได้ด้วยการได้ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น อันแสนจะประณีตที่มหาชนนำเข้าไปยิ่งๆ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ได้รับสักการะ. บทว่า ครุกโต ได้แก่ ได้รับความเคารพ. บทว่า มานิโต ได้แก่ อันมหาชนนับถือมาก และมีใจรักมาก. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ อันมหาชนบูชาแล้วด้วยการบูชาอย่างยิ่ง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 132

ด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อปจิโต ได้แก่ ได้รับความอ่อนน้อมถ่อมตน. จริงอยู่ ชนทั้งหลายย่อมสักการะด้วยปัจจัย ๔ ตกแต่งอย่างดี ทำให้แสนจะประณีตมอบให้ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขาสักการะ. คนทั้งหลายทำความเคารพให้ปรากฏแล้วมอบให้ในผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขากระทำเคารพ, ชนทั้งหลาย ย่อมมีใจประพฤติรักใคร่และนับถือมากซึ่งผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขานับถือ, คนทั้งหลายทำสิ่งนั้นทั้งหมดด้วยการบูชาแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขาบูชา, ชนทั้งหลายย่อมกระทำการนบนอบอย่างยิ่งด้วยการอภิวาท การต้อนรับ และอัญชลีกรรมเป็นต้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขายำเกรง. ก็คนเหล่านั้น ได้กระทำสิ่งนั้นทุกอย่างแก่พาหิยะ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะ อันเขาสักการะแล้ว อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ. ก็ในที่นี้ ท่านพาหิยทารุจีริยะ แม้เมื่อไม่รับจีวร เขาก็กล่าวว่า เป็นผู้ได้แม้จีวรเหมือนกัน ด้วยการน้อมเข้าไปว่า มาเถิดขอรับ จงรับผ้านี้.

บทว่า รโหคตสฺส ได้แก่ อยู่ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ เป็นผู้อยู่โดดเดี่ยว. เมื่อถูกพวกมนุษย์เป็นอันมากกล่าวว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านก็เกิดความปริวิตกแห่งใจ คือ เกิดความดำริผิดแห่งจิต โดยอาการที่กล่าวอยู่ในบัดนี้. เกิดความปริวิตกอย่างไร? เกิดความปริวิตกขึ้นว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจะเป็นพระอรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุอรหัตมรรคในโลก เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุอรหัตมรรคนั้น ความข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ชนเหล่าใดชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลสในสัตว์โลกนี้ และเพราะเป็นผู้ควรแก่การบูชาและสักการะเป็นต้น หรือคนเหล่าใดชื่อว่าบรรลุ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 133

พระอรหัตมรรค เพราะฆ่าข้าศึกคือกิเลสเหล่านั้น บรรดาคนเหล่านั้น เราเป็นคนหนึ่ง.

บทว่า โปราณสาโลหิตา ได้แก่ เทวดาผู้บำเพ็ญสมณธรรมร่วมกัน เสมือนพวกพ้องร่วมสายโลหิตกันในภพก่อน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปุราณสาโลหิตา ได้แก่ เทวดาองค์หนึ่งผู้เป็นมารดาร่วมสายโลหิตในกาลก่อน คือ ในภพอื่น. ในอรรถกถาท่านปฏิเสธคำนั้น ได้ถือเอาความหมายแรกเท่านั้น.

ได้ยินว่า เมื่อก่อนศาสนาของพระกัสสปทศพลจะเสื่อม ภิกษุ ๗ รูป เห็นประการอันแปลกของสหธรรมิกมีสามเณรเป็นต้น เกิดความสลดใจ คิดว่า ศาสนายังไม่อันตรธานตราบใด เราจะทำที่พึ่งของตนตราบนั้น จึงไหว้เจดีย์ทองแล้วเข้าป่า เห็นภูเขาลูกหนึ่งจึงกล่าวว่า ผู้มีความอาลัยในชีวิตจงกลับไป ผู้ไม่มีความอาลัยจงขึ้นภูเขาลูกนี้ แล้วพากันผูกบันไดขึ้นภูเขานั้นทั้งหมด แล้วผลักบันไดลง กระทำสมณธรรม. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตโดยล่วงไปราตรีเดียวเท่านั้น. ท่านนำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีป แล้วกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โปรดฉันบิณฑบาตจากที่นี้เถิด. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านได้ทำอย่างนี้ด้วยอานุภาพของตน ถ้าแม้พวกกระผมจักยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้เช่นท่านไซร้ จักนำมาฉันเสียเองทีเดียว จึงไม่ปรารถนาจะฉัน. ตั้งแต่วันที่สองไป พระเถระที่ ๒ ก็บรรลุอนาคามิผล. แม้ท่านก็ถือเอาบิณฑบาตเหมือนอย่างนั้นไปยังที่นั้น แล้วนิมนต์ภิกษุนอกนี้ (ฉัน). ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ได้ปฏิเสธเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก็ปรินิพพานไป. พระอนาคามีก็ไป

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 134

บังเกิดในชั้นสุทธาวาส. ส่วนพระ ๕ รูปนอกนี้ แม้เพียรพยายามอยู่ก็ไม่อาจทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไม่สามารถ (จะทำอะไรได้) ก็ซูบผอมตายลงในที่นั้นเอง แล้วบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกนั่นแหละสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้จุติจากเทวโลก บังเกิดในเรือนมีสกุลนั้นๆ. ก็บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นพระราชาพระนามว่า ปุกกุสะ, คนหนึ่งเป็น กุมารกัสสปะ, คนหนึ่งเป็น ทัพพมัลลบุตร, คนหนึ่งเป็น สภิยปริพาชก, คนหนึ่งเป็น พาหิยะ ทารุจีริยะ. บรรดาคนเหล่านั้น พระอนาคามีผู้ที่บังเกิดในพรหมโลก ซึ่งท่านหมายเอากล่าวคำนี้ไว้ว่า ปุราณสาโลหิตา เทวตา เทวดาผู้ร่วมสาโลหิต ดังนี้. จริงอยู่ แม้เทวบุตรก็เรียกว่า เทวดา เพราะอธิบายว่า เทวดาก็คือเทพ เหมือนเทพธิดา ดุจในประโยคมีอาทิว่า อถ โข อญฺตรา เทวตา ครั้งนั้นแล เทวดาองค์หนึ่ง. แต่ในที่นี้ พรหม ท่านประสงค์เอาว่า เทวดา.

ก็เมื่อพรหมนั้นตรวจดูพรหมสมบัติแล้ว นึกถึงสถานที่ตนมาในลำดับที่เกิดในพรหมโลกนั้นทีเดียว การที่พวกชนทั้ง ๗ คนขึ้นภูเขากระทำสมณธรรมก็ดี ความที่ตนบรรลุอนาคามิผลแล้วบังเกิดในพรหมโลกก็ดี ปรากฏแล้ว. พรหมนั้นรำพึงว่า ฝ่ายชนทั้ง ๕ บังเกิดที่ไหนหนอ รู้ว่าชนเหล่านั้นบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ครั้นต่อมาตามเวลาอันสมควร ได้ตรวจดูประวัติของชนเหล่านั้นว่า การทำอะไรกันหนอ. แต่ในเวลานี้เมื่อรำพึงว่า พวกเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ จึงได้เห็นพาหิยะอาศัยท่าสุปปารกะ นุ่งผ้าคากรองทำด้วยเปลือกไม้ เลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวง คิดว่า เมื่อก่อนผู้นี้พร้อมกับเราผูกบันไดขึ้นภูเขากระทำสมณธรรม ไม่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 135

อาลัยในชีวิต เพราะประพฤติกวดขันอย่างยิ่ง แม้พระอรหันต์จะนำบิณฑบาตมาให้ก็ไม่ฉัน บัดนี้ประสงค์แต่จะให้เขายกย่อง ไม่เป็นพระอรหันต์เลยก็ยังเที่ยวปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ มีความปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง ทั้งไม่รู้ว่าพระทศพลอุบัติขึ้นแล้ว เอาเถอะ เราจักทำเขาให้สลดใจ แล้วให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ทันใดนั้นเอง จึงลงจากพรหมโลก ปรากฏตรงหน้าท่านทารุจีริยะที่ท่าสุปปารกะ ตอนกลางคืน. ท่านพาหิยะเห็นแสงสว่างโชติช่วงในที่อยู่ของตนจึงคิดว่า นี้เหตุอะไรหนอ แล้วได้ออกไปข้างนอกตรวจดูอยู่ เห็นมหาพรหมอยู่ในอากาศ จึงประคองอัญชลี ถามว่า ท่านเป็นใคร? ลำดับนั้น พราหมได้กล่าวแก่ท่านว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน คราวนั้นเราบรรลุอนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลก แต่ท่านไม่สามารถจะทำคุณวิเศษอะไรให้บังเกิดได้ คราวนั้นท่านทำกาลกิริยาเยี่ยงปุถุชนท่องเที่ยวไป บัดนี้ ทรงเพศเยี่ยงเดียรถีย์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลยยังเที่ยวถือลัทธินี้ว่า เราเป็นพระอรหันต์ (เรา) รู้ดังนี้จึงได้มา ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย จงสละทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นเสียเถิด ท่านอย่าได้เป็นไปเพื่อฉิบหาย เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ จงเข้าไปเฝ้าพระองค์เถิด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้นแล เทวดาผู้เป็นสาโลหิตของพาหิยะ ทารุจีริยะ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปิกา ได้แก่ ผู้มีปกติอนุเคราะห์ คือ ผู้ยิ่งด้วยกรุณา. บทว่า อตฺถกามา ได้แก่ ผู้ปรารถนาประโยชน์ คือ ผู้ยิ่งด้วยเมตตา. ก็ในที่นี้ ด้วยบทแรก ท่านแสดงถึงความที่เทวดานั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 136

ประสงค์จะบำบัดทุกข์ของพาหิยะ, ด้วยบทหลัง แสดงถึงการนำประโยชน์เกื้อกูลเข้าไป. บทว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยจิตของตน. ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอาเจโตปริยญาณ โดยยกจิตขึ้นเป็นประธาน. บทว่า เจโตปริวิตกฺกํ ได้แก่ ความเป็นไปแห่งจิตของท่าน. บทว่า อญฺาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้เข้าหรือคู้แขนที่เหยียดออก แม้ฉันใด พรหมอันตรธานจากพรหมโลกเข้าไปปรากฏตรงหน้าพาหิยะก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า เอตทโวจ ความว่า พรหมได้กล่าวคำนี้ คือ คำที่จะกล่าวในบัดนี้ มีอาทิว่า พาหิยะ ท่านมิใช่พระอรหันต์แล ดังนี้ ก็ท่านพาหิยะผู้มิจฉาปริวิตกที่เป็นไป มีอาทิว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นพระอรหันต์หรือ ดังนี้ เหมือนจับโจรพร้อมทั้งของกลาง. ด้วยบทว่า เนว โข ตฺวํ พาหิยะ อรหา นี้ พรหมปฏิเสธว่า ท่านพาหิยะมิใช่พระอเสขะในกาลนั้น. ด้วยบทว่า นาปิ อรหตฺตมคฺคํ วา สมาปนฺโน นี้ แสดงว่าท่านพาหิยะยังเป็นเสขบุคคล. แม้ด้วยบททั้งสองนั้น แสดงว่าท่านพาหิยะไม่ใช่พระอริยบุคคลเลย. ก็ด้วยคำว่า สาปิ เต ปฏิปทา นตฺถิ ยาย พาหิย ตฺวํ อรหา วา อสฺสสิ อรหตฺตมคฺคํ วา สมาปนฺโน นี้ พรหมปฏิเสธว่า ท่านพาหิยะเป็นเพียงกัลยาณปุถุชน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปทา ได้แก่ วิสุทธิ ๖ (ข้างต้น) มีสีลวิสุทธิเป็นต้น. ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะเป็นเครื่องดำเนินไปในอริยมรรค. บทว่า อสฺสสิ แปลว่า พึงเป็น

ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์นี้เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะอาศัยอะไร? ตอบว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะท่านกำจัดกิเลสได้ด้วยตทังคปหาน เหตุได้

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 137

สร้างบุญญาธิการไว้ตลอดกาลนาน โดยความที่ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ และเป็นผู้ขัดเกลา. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านพาหิยะได้ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน. ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียงมติของเกจิอาจารย์เท่านั้น เพราะมาในอรรถกถาว่า ท่านประสงค์แต่ความยกย่อง และว่า ท่านไม่ปรารถนาลาภสักการะและการสรรเสริญ. เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ลำดับนั้น ท่านพาหิยะแลดูมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ จึงคิดว่า โอ ข้อที่เราเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นกรรมหนักแท้ และพรหมนี้กล่าวว่า แม้ปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุพระอรหัตก็ไม่มีแก่ท่าน ใครๆ ผู้เป็นพระอรหันต์ในโลกมีอยู่หรือหนอ. ลำดับนั้นจึงถามมหาพรหมนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ เก จรหิ เทวเต โลเก อรหนฺโต วา อรหตฺตมคฺคํ วา สมาปนฺนา.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเริ่มคำถาม. บทว่า เก จรหิ แก้เป็น เก เอตรหิ. บทว่า โลเก ได้แก่ ในโอกาสโลก. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ครั้งนั้น ในพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นอันเป็นโลกเป็นที่รองรับ บัดนี้ พระอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตมรรคมีอยู่ที่ไหน อันเป็นที่ที่พวกเราเข้าไปหาท่านเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของท่านแล้ว จักพ้นจากวัฏทุกข์.

บทว่า อุตฺตเรสุ ท่านกล่าวหมายเอาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากท่าสุปปารกะ. บทว่า อรหํ ได้แก่ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไกล (จากกิเลส). จริงอยู่ พระอรหันต์นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไกล คือ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 138

ตั้งอยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลส. (และ) ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะกำจัดกิเลสพร้อมทั้งวาสนาด้วยมรรค หรือฆ่ากิเลสดุจข้าศึกเสียได้. จริงอยู่ ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าฆ่า คือ ถอนแล้วด้วยอรหัตมรรคโดยสิ้นเชิง. อนึ่ง ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดกำคือกิเลสเสียได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงยืนหยัดอยู่บนปฐพีคือศีล ด้วยพระยุคลบาทคือวิริยะ ทรงใช้พระหัตถ์คือศรัทธา จับขวานคือญาณอันเป็นเหตุกระทำกรรมให้สิ้น แล้วทรงประหารคือกำจัดกำทั้งหมดแห่งสังสารจักร อันมีดุมสำเร็จด้วยอวิชชา ภพ และตัณหา มีบุญญาภิสังขารเป็นต้นเป็นกำ มีชราและมรณะเป็นกง สอดใส่เพลาอันสำเร็จด้วยอาสวะ สมุทัยประกอบเข้าในรถคือภพ ๓ เป็นไปตลอดกาลไม่มีเบื้องต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ควร. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมควรแก่ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันยิ่ง และบูชาพิเศษ เพราะพระองค์เป็นพระทักขิไณยบุคคลอันเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. อนึ่ง ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับ (ในการทำบาป) จริงอยู่ พระตถาคตท่านเรียกว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับในการทำบาป โดยกิเลสลามกไม่มี เพราะพระองค์ถอนกิเลสมีราคะเป็นต้นได้โดยประการทั้งปวง.

ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดยเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ซึ่งธรรมที่ควรละ โดยเป็นธรรมที่ควรละ ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยเป็นธรรมที่

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 139

ควรทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรเจริญ โดยเป็นธรรมที่ควรเจริญ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺยํ อภิญฺาตํ

ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ

ปหาตพฺพํ ปหีนมฺเม

ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.

ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว ธรรมที่ควรเจริญ เราเจริญแล้ว ธรรมที่ควรละ เราละได้แล้ว เพราะฉะนั้นแหละ พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า.

อีกอย่างหนึ่ง พึงแนะนำอรรถนี้โดยธรรมหมวดสามและสองทั้งปวงเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมชื่อว่าเป็นกุศล เพราะไม่มีโทษ มีสุขเป็นผล ธรรมชื่อว่าเป็นอกุศล เพราะมีโทษ มีทุกข์เป็นผล. ในข้อนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง โดยอาการทั้งปวง ด้วยสยัมภูญาณอันไม่วิปริตด้วยประการดังนี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่มาในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

บทว่า อรหตฺตตาย ได้แก่ เพื่อได้อรหัตผล. บทว่า ธมฺมํ เทเสติ ความว่า ย่อมอ้าง คือ แสดงธรรมคือปฏิปทามีศีลเป็นต้นอันควรแก่คุณพิเศษ มีไพเราะในเบื้องต้นเป็นต้น หรือธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอันเหมาะแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์นั่นแล. บทว่า สํเวชิโต ความว่า ให้ถึงความสลดใจว่า ผู้เจริญ น่าติเตียนจริง ความเป็นปุถุชนอันเป็นเหตุให้เราผู้ไม่เป็นพระอรหันต์เลย สำคัญว่าเป็นพระอรหันต์ และไม่รู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกทรงแสดงธรรมอยู่ ก็ความเป็นอยู่รู้ได้ยาก ความตายก็รู้ได้ยาก. อธิบายว่า มีใจสลดด้วยอาการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยคำพูดของเทวดา. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้นนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 140

บทว่า สุปฺปารกา ปกฺกามิ ความว่า ผู้มีหทัยอันปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ อันเกิดขึ้นเพราะได้ยินพระนามว่า พุทฺโธ และถูกความสังเวชตักเตือนอยู่ จึงได้จากท่าสุปปารกะหลีกไป มุ่งตรงกรุงสาวัตถี. บทว่า สพฺพตฺถ เอกรตฺติปริวาเสน ความว่า ได้ไปโดยอยู่พักแรมราตรีเดียวในหนทางทั้งปวง. จริงอยู่ เมืองสาวัตถีจากท่าสุปปารกะมีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แต่ท่านพาหิยะนี้ได้ไปยังกรุงสาวัตถีนั้นโดยพักแรมราตรีเดียว ตลอดระยะทางเท่านี้. ท่านถึงกรุงสาวัตถีในวันที่ออกจากท่าสุปปารกะนั่นเอง. ถามว่า ก็อย่างไร ท่านพาหิยะนี้จึงได้ไปอย่างนั้น? ตอบว่า เพราะอานุภาพของเทวดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะพุทธานุภาพก็มี. เป็นอันท่านแสดงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก็เพราะท่านกล่าวว่า โดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกสถาน และเพราะหนทางมีระยะ ๑๒๐ โยชน์ ในระหว่างทาง ท่านไม่ให้อรุณที่ ๒ ตั้งขึ้นในที่ที่ตนอยู่ตอนกลางคืนในคามนิคมและราชธานี จึงไปถึงกรุงสาวัตถีโดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกแห่ง. ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่านอยู่ในหนทางนั้นทั้งสิ้นเพียงราตรีเดียว เพราะประสงค์เอาความนี้ว่า โดยพักแรมแห่งละราตรี ในหนทางทั้งหมดมีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ในวันสุดท้ายเวลาเย็น จึงถึงกรุงสาวัตถี.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พาหิยะมาถึง ทรงพระดำริว่า ชั้นแรก อินทรีย์ของท่านพาหิยะยังไม่แก่กล้า แต่ในระหว่างชั่วครู่หนึ่งจักถึงความแก่กล้า ดังนี้แล้ว รอคอยให้ท่านมีอินทรีย์แก่กล้า จึงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จทรงบาตรยังกรุงสาวัตถีในขณะนั้น. และท่านพาหิยะนั้นก็เข้าไปยังพระเชตวัน เห็นภิกษุเป็นอันมากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว จงกรมอยู่ในอัพโภกาสกลางแจ้ง เพื่อปลดเปลื้องความเกียจคร้านกาย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 141

จึงถามว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบาตรยังกรุงสาวัตถี แล้วถามว่า ก็ท่านเล่า มาแต่ไหน? ท่านตอบว่า มาจากท่าสุปปารกะ. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านมาไกล เชิญนั่งก่อน จงล้างเท้า ทาน้ำมัน แล้วพักสักหน่อยหนึ่ง ในเวลาพระองค์กลับมา ก็จักเห็นพระศาสดา. ท่านพาหิยะกล่าวว่า ท่านขอรับ กระผมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของตน โดยวันเล็กน้อย กระผมไม่ยืน ไม่นั่งนาน แม้ในที่ไหนๆ มาสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ พอเฝ้าพระศาสดาแล้วจึงจักพักผ่อน จึงรีบด่วนไปยังกรุงสาวัตถี เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริหาที่เปรียบปานมิได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากจงกรมอยู่ในโอกาสกลางแจ้ง. ลำดับนั้นแล ท่านพาหิยะ ทารุจีริยะ ได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหํ เป็น กตฺถ แปลว่า ที่ไหน. ศัพท์ว่า นุ ใช้ในอรรถว่า สงสัย. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. อธิบายว่า ในประเทศไหนหนอแล. บทว่า ทสฺสนกามา แปลว่า เป็นผู้ใคร่จะเห็น. ท่านแสดงไว้ว่า ก็เราปรารถนาจะเฝ้าและเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เหมือนคนบอดปรารถนาจักษุประสาท เหมือนคนหนวกปรารถนาโสตประสาท เหมือนคนใบ้ปรารถนาการกล่าวให้รู้เรื่อง เหมือนคนมีมือเท้าวิกลปรารถนามือเท้า เหมือนคนขัดสนปรารถนาทรัพย์สมบัติ เหมือนคนเดินทางกันดารปรารถนาที่อันปลอดภัย เหมือนคนถูกโรคครอบงำปรารถนาความไม่มีโรค เหมือนคนถูกเรืออับปางในมหา-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 142

สมุทรปรารถนาแพใหญ่ฉะนั้น. บทว่า ตรมานรูโป ได้แก่ เป็นผู้มีอาการรีบด่วน หรือผู้มีการสงเคราะห์อันน่าสรรเสริญ.

บทว่า ปาสาทิกํ ความว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้ขวนขวายในการเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีด้านละวา และพระเกตุมาลารัศมีที่เปล่งเหนือพระเศียร. บทว่า ปสาทนียํ ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เหมาะที่จะควรเลื่อมใส หรือควรแก่ความเลื่อมใสของคนผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ เพราะธรรมกายสมบัติอันประกอบด้วยจำนวนพระคุณหาประมาณมิได้ มีทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ อาเวณิยพุทธธรรม ๑๘ เป็นต้น. บทว่า สนฺตินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ ที่สงบระงับ เพราะปราศจากความหวั่นไหวในอินทรีย์ห้า มีจักขุนทรีย์เป็นต้น. บทว่า สนฺตมานสํ ได้แก่ มีใจสงบระงับ เพราะเข้าถึงภาวะที่มนินทรีย์ที่หกหมดพยศ. บทว่า อุตฺตมทมถสมถมนุปฺปตฺตํ ความว่า ถึงโดยลำดับ คือ บรรลุความฝึกฝนและสงบอันสูงสุด กล่าวคือ ปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติอันเป็นโลกุตระตั้งอยู่. บทว่า ทนฺตํ ความว่า ชื่อว่าฝึกกาย เพราะมีกายสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดยไม่มีการคะนองมือคะนองเท้าเป็นต้น. บทว่า คุตฺตํ ความว่า ชื่อว่าคุ้มครองวาจา เพราะมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดยไม่มีวาจาไร้ประโยชน์เป็นต้น. บทว่า ยตินฺทฺริยํ ได้แก่ ชื่อว่ามีอินทรีย์สำรวมแล้ว ด้วยการประกอบฤทธิ์อันเป็นของพระอริยะ เพราะมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี และด้วยอำนาจมนินทรีย์ เพราะมีความวางเฉยในการไม่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 143

ขวนขวายและการไม่พิจารณา. บทว่า นาคํ ความว่า ชื่อว่าผู้ประเสริฐ เพราะเหตุเหล่านี้ คือ การไม่ลุอำนาจฉันทาคติเป็นต้น กิเลสมีราคะเป็นต้นที่ละได้แล้วไม่กลับเกิดอีก คือ ไม่หวนกลับมา บาปแม้อะไรก็ไม่ทำแม้โดยประการทั้งปวง และไม่ไปสู่ภพใหม่.

ก็ด้วยบทว่า ปาสาทิกํ นี้ ในอธิการนี้ ท่านแสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรูปกาย. ด้วยบทว่า ปสาทนียํ นี้ แสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมกาย. ด้วยบทมีอาทิว่า สนฺตินฺทฺริยํ นี้ แสดงถึงความสำคัญพระคุณที่เหลือ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านประกาศความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่เหล่าสัตว์โดยสิ้นเชิง ในโลกสันนิวาสที่เชื่อถือประมาณ ๔ พวก.

ก็ท่านพาหิยะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอย่างนั้นกำลังเสด็จไปในถนน ร่าเริงยินดีว่า นานจริงหนอ เราจึงได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีสรีระอันปีติ ๕ ประการถูกต้องตลอดเวลา ดวงตาก็นิ่งเพราะปีติซาบซ่าน น้อมสรีระลงตั้งแต่ที่ที่ได้เห็น แล้วก็หยั่งลงท่ามกลางรัศมีพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า จมลงในพระรัศมีนั้น เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นวดฟั้นพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จุมพิตอยู่ พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ท่านหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดง

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 144

ธรรมอันเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แด่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุคโต ความว่า ชื่อว่า สุคต เพราะเสด็จไปงาม คือ เสด็จไปสู่ที่อันงาม เสด็จไปโดยชอบ มีพระวาจาชอบ. จริงอยู่ การไปท่านเรียกว่า คต. ก็การไปนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า งาม คือ บริสุทธิ์ไม่มีโทษ. ถามว่า ก็การไปคืออะไร? ตอบว่า คือ อริยมรรค. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปสู่ทิศเกษม ไม่ติดขัดด้วยการไปนั้น. แม้คนอื่นพระองค์ก็ให้ดำเนินไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุคต เพราะเสด็จไปงาม. ก็พระองค์เสด็จไปสู่ที่อันดี คือ อมตนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุคต เพราะเสด็จไปสู่ที่อันดี. พระองค์ ชื่อว่าสุคต เพราะเสด็จไปชอบ เหตุไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหารด้วยมรรคนั้นๆ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ชื่อว่าสุคต เพราะไม่มาอีก ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหารได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ชื่อว่าสุคต เพราะไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหารได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมฺมาคตตฺตา ความว่า เพราะเสด็จไป คือ ดำเนินไปด้วยดีด้วยสัมมาปฏิบัติ แม้ในการกำหนดทั้ง ๓ อย่าง. จริงอยู่ ชื่อว่าสุคต เพราะเสด็จไปโดยชอบแม้ด้วยอาการอย่างนี้ว่า พระองค์ทรงบรรลุที่สุดญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา พุทธัตถจริยา ด้วยสัมมาปฏิบัติอันบริบูรณ์ด้วยพระบารมี ๓๐ ถ้วน จำเดิมแต่บาทมูลพระพุทธเจ้าทีปังกร ตราบเท่าถึงมหาโพธิมณฑล ทรงพอกพูนเฉพาะหิตสุขแก่โลกทั้งปวง ต่อแต่นั้น จึงเสด็จไป คือ ดำเนินไปด้วยการเป็นใหญ่ในธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุใน

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 145

อริสัจ ๔ ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือ โพชฌงคภาวนาอันยอดเยี่ยม ไม่ข้องแวะที่สุดเหล่านี้ คือ สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค และด้วยสัมมาปฏิบัติอันไม่ใช่วิสัยในสัตว์ทั้งปวง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ตรัสโดยชอบ คือ ตรัสพระวาจาเฉพาะที่ควร ในฐานะอันควร เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าสุคต. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสว่า เราตถาคตเป็นกาลวาที พูดตามกาล ภูตวาที พูดตามที่เป็นจริง อัตถวาที พูดตามอรรถ ธัมมวาที พูดตามธรรม วินัยวาที พูดตามวินัย พูดวาจาที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่สุด ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันควร. ตรัสไว้อีกอย่างมีอาทิว่า วาจาใดไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของชนเหล่าอื่น เราตถาคตไม่พูดวาจานั้น. ชื่อว่าสุคต แม้เพราะตรัสชอบด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยํ มมสฺส ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย ความว่า การแสดงอ้างถึงธรรมใด พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ฌานและวิโมกข์เป็นต้น และเพื่อสุขที่จะพึงบรรลุฌานและวิโมกข์เป็นต้นนั้น แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.

บทว่า อกาโล โข ตาว ความว่า ดูก่อนพาหิยะ ไม่ใช่กาลเพื่อแสดงธรรมแก่ท่านก่อน. อธิบายว่า ก็เพราะเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มีกาลในการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์เล่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกาลวาที. ก็ในคำว่า กาโล นี้ ประสงค์เอากาลที่เหล่าเวไนยสัตว์มีอินทรีย์แก่กล้า. ด้วยว่าเพราะเหตุที่ในขณะนั้นรู้ได้ยากว่า อินทรีย์ทั้งหลายของท่านพาหิยะแก่กล้าหรือไม่แก่กล้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสเทศนานั้น เมื่อทรงอ้างถึงเหตุแก่เขาว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 146

พระองค์ประทับยืนอยู่ระหว่างถนน จึงตรัสว่า อนฺตรฆรํ ปวิฏฺมฺหา ดังนี้.

บทว่า ทุชฺชานํ แปลว่า พึงรู้ได้ยาก. ด้วยบทว่า ชีวิตนฺตรายานํ ท่านพาหิยะประสงค์จะกล่าวว่า การเป็นไปหรือไม่เป็นไปแห่งธรรมอันทำอันตรายต่อชีวิต จึงกล่าวว่า ชีวิตนฺตรายานํ ดังนี้ ด้วยอำนาจการหมุนเวียน. จริงอย่างนั้น ชีวิต คือ ความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัยเป็นอันมาก และอันตรายต่อชีวิตนั้นก็มีมาก. สมจริงดังที่ตรัสว่า

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ

โก ชญฺา มรณํ สุเว

น หิ โน สงฺครนฺเตน

มหาเสเนน มจฺจุนา

พึงรีบทำความเพียรในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วยมฤตยูอันมีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย.

ก็เพราะเหตุไร ท่านพาหิยะนี้จึงมุ่งแต่อันตรายชีวิตเท่านั้นเป็นอันดับแรก. อาจารย์บางพวกแก้ว่า เพราะท่านรู้แต่อารมณ์ที่เป็นนิมิตหรือฉลาดในสิ่งที่ตนไม่เห็น. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะท่านได้ยินอันตรายชีวิตในสำนักของเทวดา. ก็ท่านถูกอุปนิสัยสมบัติตักเตือนจึงกล่าวอย่างนั้น เพราะเป็นผู้มีภพสุดท้าย. จริงอยู่ ท่านเหล่านั้นยังไม่บรรลุพระอรหัต จึงไม่สิ้นชีวิต. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรมแก่ท่านนั่นแหละ จึงห้ามไว้ถึง ๒ ครั้ง? ได้ยินว่า พระองค์มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่เวลาที่พาหิยะนี้เห็นเรา สรีระทั้งสิ้นอันปีติถูกต้องไม่ขาดระยะ กำลังปีติมีความรุนแรง แม้จักฟังธรรมแล้วก็ไม่สามารถแทงตลอดได้ จึงห้ามไว้ ตราบเท่าที่มัชฌัตตุเปกขาจะดำรงอยู่ก่อน

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 147

แม้ความกระวนกระวายในกายของท่านก็มีกำลัง เพราะท่านมาสู่หนทางสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แม้ท่านระงับความกระวนกระวายอยู่ก่อน เพราะเหตุนั้น จึงทรงปฏิเสธถึง ๒ ครั้ง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟังธรรม. แต่พระองค์ถูกขอร้องถึงครั้งที่ ๓ ทรงเห็นมัชฌัตตุเปกขาเป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย และอันตรายชีวิตที่ปรากฏแก่ท่าน ทรงดำริว่า บัดนี้เป็นกาลเพื่อแสดงธรรม จึงเริ่มแสดงธรรมโดยนัยมีอาทิว่า ตสฺมาติห เต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะท่านเป็นผู้เกิดความขวนขวายอ้อนวอนเราอย่างยิ่ง หรือเพราะท่านกล่าวว่าอันตรายชีวิตรู้ได้ยาก และอินทรีย์ของท่านแก่กล้าแล้ว. ศัพท์ว่า ติห เป็นเพียงนิบาต. บทว่า เต แปลว่า อันท่าน. ด้วยคำว่า เอวํ นี้ ตรัสถึงอาการที่จะกล่าวในบัดนี้. บทว่า สิกฺขิตพฺพํ ความว่า พึงทำการศึกษาโดยสิกขาแม้ทั้ง ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น.

แต่เมื่อพระองค์จะทรงแสดงอาการที่จะพึงศึกษา จึงตรัสคำมีอาทิว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺตํ ภวิสฺสติ เมื่อเห็นก็เป็นเพียงแต่เห็น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺตํ ได้แก่ สักว่าการเห็นรูปายตนะด้วยจักขุวิญญาณ. อธิบายว่า เธอพึงศึกษาว่า จักขุวิญญาณเห็นซึ่งรูปในรูปเท่านั้น หาเห็นสภาพลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นไม่ ฉันใด รูปที่เหลือจักเป็นเพียงอันเราเห็นด้วยวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวารนั้นเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า การรู้แจ้งซึ่งรูปในรูปด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าเห็นรูปในรูปที่เห็น. บทว่า มตฺตา แปลว่า

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 148

ประมาณ. ประมาณแห่งรูปนี้ที่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ. อธิบายว่า จิตเป็นเพียงจักขุวิญญาณเป็นประมาณเท่านั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง หลงในรูปที่มาปรากฏฉันใด เราจักตั้งชวนจิตไว้โดยประมาณแห่งจักขุวิญญาณอย่างนี้ว่า ชวนจิตของเราจักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น เพราะเว้นจากราคะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็น ชื่อว่า ทิฏฐะ. จิต ๓ ดวง คือ สัมปฏิจฉนจิต สันตีรณจิต และโวฏฐัพพนจิตที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ. พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จิต ๓ ดวงนี้ ย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เมื่อรูปมาปรากฏ เราก็จักให้ชวนจิตเกิดขึ้นโดยประมาณสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ เราจะไม่ให้ก้าวล่วงประมาณนั้นเกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้นฉันนั้น. ใน สุตะ และ มุตะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทว่า มุตํ พึงทราบคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ กับด้วยวิญญาณซึ่งมีคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะนั้นเป็นอารมณ์. ก็ในคำว่า วิญฺาเต วิญฺาณมตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า วิญญาตะ ได้แก่ อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตแจ้งแล้ว. เมื่อรู้แจ้งอารมณ์นั้นก็เป็นอันชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิตรู้แจ้งแล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอาวัชชนจิตเป็นประมาณ. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า อาวัชชนจิตย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เราจักพักจิตโดยประมาณแห่งอาวัชชนจิตเท่านั้น ไม่ยอมให้เกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้นฉันนั้น. บทว่า เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพํ ความว่า พาหิยะ เธอพึงศึกษาโดยคล้อยตามสิกขาทั้ง ๓ ด้วยปฏิปทานี้อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 149

ดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกอารมณ์อันแตกต่างโดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อ (กาย ในที่นี้หมายถึงหมวด) และตามความพอใจของพาหิยะ ด้วยวิปัสสนา โดยโกฏฐาสะทั้ง ๔ มีรูปอันตนเห็นแล้วเป็นต้น แล้วจึงทรงแสดงญาตปริญญาและตีรณปริญญาในข้อนั้นแก่เธอ. อย่างไร? เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่าทิฏฐะ เพราะอรรถว่า อันจักขุวิญญาณพึงเห็น. ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวารนั้น ชื่อว่าทิฏฐะ เพราะอรรถว่า เห็น. แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียงธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น. ในข้อนี้ ใครๆ จะทำเอง หรือให้ผู้อื่นทำ ก็หาได้ไม่. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า จักขุวิญาณนั้นชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้น ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ เหตุนั้น ในข้อนั้น จะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่งบัณฑิตได้ที่ไหน.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในสุตะเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปหานปริญญาพร้อมมูลเหตุเบื้องสูงแก่บัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในญาตปริญญาและตีรณปริญญา จึงเริ่มคำมีอาทิว่า ยโต โข เต พาหิย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด. บทว่า เต ได้แก่ ตว แก่เธอ. บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้น หรือเพราะเหตุนั้น. บทว่า เตน ความว่า ด้วยรูปอันเธอเห็นแล้วเป็นต้น หรือด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นอันเนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น. ตรัสคำนี้ไว้ว่า พาหิยะ ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด เพียงรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น จักมีแก่เธอผู้ปฏิบัติตามวิธีที่เรากล่าวแล้วในรูปที่เห็นแล้ว

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 150

เป็นต้น ด้วยการหยั่งรู้สภาพที่ไม่วิปริต ในกาลนั้น หรือเพราะเหตุนั้น เธอจักไม่มีพร้อมด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นที่เนื่องด้วยรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น เธอจักเป็นผู้ไม่กำหนัด ขัดเคือง หรือลุ่มหลง หรือจักไม่เป็นผู้เนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้นนั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า ตโต ตฺวํ พาหิย น ตตฺถ ความว่า ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด เธอจักไม่เป็นผู้กำหนัดเพราะราคะนั้น ไม่ขัดเคืองเพราะโทสะ หรือไม่ลุ่มหลงเพราะโมหะ ในกาลนั้น หรือเพราะเหตุนั้น เธอจักไม่มีในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้น หรือเมื่อรูปนั้นที่เห็นแล้ว หรือเสียง และอารมณ์ที่ทราบแล้ว เธอจักไม่เป็นผู้ข้องตั้งอยู่ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระองค์ทรงให้ปหานปริญญาถึงที่สุดแล้วแสดงขีณาสวภูมิ. บทว่า ตโต ตฺวํ พาหิย เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน ความว่า พาหิยะ ในกาลใด เธอจักไม่เป็นผู้เกี่ยวเนื่องในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น ในกาลนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ในโลกหน้า และในโลกทั้งสอง. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายเพียงเท่านี้ว่า ก็ที่สุด เขตกำหนดและความหมุนเวียนแห่งกิเลสทุกข์และวัฏทุกข์ เท่านี้. ก็อาจารย์เหล่าใดถือบทว่า อุภยมนฺตเรน แล้ว จึงปรารถนาชื่อระหว่างภพ คำของอาจารย์เหล่านั้นผิด. จริงอยู่ ภาวะระหว่างภพ ท่านคัดค้านแล้วในพระอภิธรรมทีเดียว. ก็คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงวิกัปอื่น. เพราะเหตุนั้น ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ก็วิกัปอื่น ไม่มีในโลกนี้ โลกหน้า หรือทั้งสอง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงความไม่มีวิกัปอื่น. คำนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า ก็ที่ตั้งอื่นไม่มีโนโลกนี้ โลกหน้า ถึงระหว่างภพก็ไม่มี.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 151

อนึ่ง อาจารย์แม้เหล่าใด ถือเอาโดยไม่แยบคายซึ่งอรรถสุตตบทเหล่านี้ว่า อันตราปรินิพพายี และว่า สัมภเวสี แล้วกล่าวว่า ภพอื่นยังมีอยู่เหมือนกัน อาจารย์แม้เหล่านั้น เพราะถูกคัดค้านว่า อรรถสุตตบทต้นว่า ชื่อว่าอันตราปรินิพพายี เพราะไม่ผ่านท่ามกลางอายุในภูมินั้น มีอวิหาพรหมเป็นต้น แล้วปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานสิ้นเชิง เพราะบรรลุอรหัตมรรคในระหว่าง หาได้มีในภพอื่นไม่ และถูกคัดค้านอรรถสุตตบทหลังว่า สัตว์เหล่าใดจักไม่เป็นอย่างนั้น สัตว์เหล่านั้น จักเป็นผู้สิ้นอาสวะมีในภพก่อน อธิบายว่า ชื่อว่า สัมภเวสี เพราะแสวงหาภพใหม่ ผิด ตรงข้ามกับอันตราปรินิพพายีบุคคลนั้น และชื่อว่าเสขปุถุชน เพราะยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ อนึ่ง บรรดากำเนิด ๔ อัณฑชสัตว์และชลาพุชสัตว์ ยังไม่ทำลายกระเปาะไข่หรือกระเปาะหัวไส้อยู่ตราบใด ก็ชื่อว่าสัมภเวสีอยู่ตราบนั้น สัตว์ที่ออกไปจากกระเปาะไข่และกระเปาะหัวไส้ ก็ชื่อว่า ภูต สังเสทชสัตว์ และ อุปปาติกสัตว์ ชื่อว่า สัมภเวสี ในขณะจิตดวงแรก ตั้งแต่ขณะจิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า ภูต อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเกิดด้วยอิริยาบถใด ยังไม่ถึงอิริยาบถอื่นจากนั้นตราบใด ก็ยังชื่อว่าสัมภเวสีอยู่ตราบนั้น ต่อจากนั้น จัดเป็นภูต เพราะเหตุนั้น จึงถูกคัดค้านว่า ไม่มี ดังนี้. ก็เมื่อมีอรรถที่คล้อยตามบาลีตรงๆ จะเป็นประโยชน์อะไรด้วยอรรถที่กำหนดด้วยภพอื่น ซึ่งไม่สามารถจะขยายได้แล. ก็อาจารย์เหล่าใดกล่าวข้อยุติว่า จะเห็นธรรมที่เป็นไปด้วยความสืบต่อปรากฏในส่วนอื่นไม่ขาดสาย ข้อนั้นพึงปรากฏแม้ในความสืบต่อแห่งอวิญญาณกทรัพย์มีข้าวเปลือกเป็นต้น ฉันใด แม้ในความสืบต่อแห่งสวิญญาณกสังขาร ก็พึงปรากฏในส่วนอื่นโดยไม่ขาดสาย ฉันนั้น อนึ่ง นัยนี้ย่อมเหมาะในเมื่อมีภพอื่น หาใช่โดยประการอื่นไม่.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 152

ก็เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีฤทธิ์บรรลุความเชี่ยวชาญทางใจ อธิษฐานกายคล้อยตามจิต พึงคัดค้านข้อยุติ โดยการจากพรหมโลกมายังโลกนี้ หรือจากโลกนี้ไปยังพรหมโลก ขณะเดียวกัน ถ้าปรารถนาความเป็นไปของธรรมในส่วนที่ไม่ขาดสายในที่ทุกสถานไซร้ แม้ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายจะพึงมีอิทธิวิสัยเป็นอจินไตยไซร้ คำนั้นจะพึงเสมอกันแม้ในที่นี้ เพราะพระบาลีว่า กมฺมวิปาโก อจินฺเตยฺโย ผลกรรมเป็นอจินไตย เพราะเหตุนั้น คำนั้นเป็นเพียงมติของอาจารย์เหล่านั้นเท่านั้น. เพราะว่าสภาวธรรมมีสภาพเป็นอจินไตย สภาวธรรมเหล่านั้นบางแห่งจึงปรากฏในส่วนที่ขาดสายด้วยปัจจัย บางแห่งปรากฏในส่วนที่ไม่ขาดสาย. จริงอย่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยมีรูปเปรียบและเสียงสะท้อนเป็นต้น ย่อมเกิดปรากฏในส่วนหนึ่ง มีส่วนแห่งกระจกและภูเขาเป็นต้น จากปัจจัยมีเสียงกึกก้องข้างหน้าเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่พึงน้อมสิ่งทั้งหมดในที่ทุกอย่างแล. ในข้อนี้มีความสังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดารมีการวิจารณ์เรื่องของภพอื่นอันให้สำเร็จอุทาหรณ์เป็นต้นของรูปเปรียบ พึงค้นดูในฎีกากถาวัตถุปกรณ์เถิด. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อิธ ท่านกล่าวหมายเอากามภพ. บทว่า หุรํ กล่าวหมายเอาอรูปภพ. บทว่า อุภยมนฺตเรน กล่าวหมายเอารูปภพ. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า บทว่า อิธ ได้แก่ อายตนะภายใน. บทว่า หุรํ ได้แก่ อายตนะภายนอก. บทว่า อุภยมนฺตเรน ได้แก่ จิตและเจตสิก. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อิธ กล่าวว่า ปัจจยธรรม. บทว่า หุรํ กล่าวว่า ปัจจยุปปันธรรม ธรรมเกิดแต่ปัจจัย. บทว่า อุภยมนฺตเรน กล่าวว่า บัญญัติธรรม. คำนั้นทั้งหมดไม่มีในอรรถกถา. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ พึงสงเคราะห์ด้วยอาการ ๔

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 153

โดยรูปที่จักขุวิญญาณเห็นแล้วเป็นต้น ด้วยคำมีอาทิว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺตํ ภวิสฺสติ เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น อย่างนี้ก่อน ในธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงถึงอสุภภาวนา ทุกขานุปัสสนา อนิจจานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา โดยมุขคือการเว้นจากการยึดถือว่างาม เป็นสุข เป็นของเที่ยง และเป็นตัวตนแล. เมื่อว่าโดยสังเขป ท่านกล่าววิปัสสนากับวิสุทธิเบื้องต่ำ. ด้วยคำว่า ตโต ตฺวํ พาหิย น เตน นี้ ตรัสถึงมรรค เพราะประสงค์เอาการตัดกิเลสมีราคะเป็นต้นได้เด็ดขาด. ด้วยคำว่า ตโต ตฺวํ พาหิย น ตตฺถ นี้ ตรัสถึงผลจิต. ด้วยคำว่า เนวิธา เป็นต้น พึงเห็นว่า ตรัสถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข พาหิย ฯเปฯ อาสเวหิ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ดังนี้.

จิตของท่านพาหิยะหลุดพ้นจากอาสวะด้วยการแสดงบทย่อนี้. บทว่า ตาวเทว ได้แก่ ในขณะนั้นนั่นเองไม่ใช่กาลอื่น. บทว่า อนุปาทาย แปลว่า ไม่ยึดมั่น. บทว่า อาสเวหิ ความว่า จากกามราคะเป็นต้นที่มีชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไป คือ เป็นไปจากภวัคคพรหมถึงโคตรภู และเป็นเหมือนเครื่องหมักดองมีสุราเป็นต้น โดยอรรถว่า หมักไว้นาน. บทว่า วิมุจฺจติ ความว่า หลุดพ้น คือ สลัดออก (กามราคะเป็นต้น) ด้วยสมุจเฉทวิมุตติและปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.

ก็ท่านพาหิยะนั้น พอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้หมดจด อาศัยสมาธิจิตตามที่ได้แล้วเริ่มวิปัสสนา เป็นขิปปาภิญญาบุคคล ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาขณะนั้นนั่นเอง. ท่านตัดกิเลสดุจกระแสน้ำในสงสาร ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ ทรงร่างกายครั้งสุดท้าย ถูกธรรมดาเป็นไปด้วยปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่างตักเตือน จึงทูลขอบวช

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 154

กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกตรัสถามว่า เธอมีบาตรและจีวรบริบูรณ์แล้วหรือ กราบทูลว่า ยังไม่บริบูรณ์ พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงแสวงหาบาตรและจีวร ดังนี้ แล้วเสด็จหลีกไป. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า อถ โข ภควา ฯเปฯ ปกฺกามิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านพาหิยะนั้น เมื่อกระทำสมณธรรมสิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี ในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล คิดว่า ธรรมดาว่า ภิกษุ เมื่อตนได้ปัจจัยแล้ว ทำทานตามสมควร จึงฉันด้วยตนจึงควร ดังนี้ แล้วไม่ได้ทำการสงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวรแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เหตุนั้น ท่านจึงไม่มีอุปนิสัยเอหิภิกขุอุปสัมปทา. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้ยินว่า ท่านเป็นโจร คราวว่างพระพุทธเจ้า ผูกมัดธนูตั้งตัวเป็นโจรในป่า เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เพราะความโลภในบาตรและจีวร จึงใช้ธนูยิงท่าน แล้วถือเอาบาตรและจีวรไป ด้วยเหตุนั้น บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์จักไม่เกิดแก่ท่าน พระศาสดาทรงทราบดังนั้นแล้ว จึงมิได้ทรงประทานบรรพชาด้วยเอหิภิกขุแล. แม้ท่านกำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวรอยู่ แม่โคตัวหนึ่งวิ่งมาโดยเร็ว ขวิดให้เธอถึงสิ้นชีวิต ซึ่งท่านหมายกล่าวว่า อถ โข อจิรปกฺกนฺตสฺส ภควโต พาหิยํ ทารุจีริยํ คาวี ตรุณวจฺฉา อธิปติตฺวา ชีวิตา โวโรเปสิ ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิดท่านพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงสิ้นชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน. บทว่า คาวี ตรุณวจฺฉา ได้แก่ นางยักษิณีแปลงเป็นแม่โคลูกอ่อน. บทว่า อธิปติตฺวา ได้แก่ กดขี่ คือ ย่ำยี. บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคนั้น ให้เกิดจิตก่อเวรขึ้นด้วย

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 155

เหตุเพียงได้เห็น เพราะได้ความอาฆาตในอัตภาพก่อน จึงเอาเขาขวิดให้สิ้นชีวิต.

พระศาสดาทรงบาตรแล้ว เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วพร้อมภิกษุจำนวนมากเสด็จออกจากนคร ทอดพระเนตรเห็นท่านพาหิยะตกอยู่ที่กองหยากเยื่อ ทรงบัญชาภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอยืนอยู่ที่ประตูเรือนหลังหนึ่ง ช่วยกันนำเตียงออกมา นำร่างนี้ออกไปจากนคร ทำฌาปนกิจ ก่อสถูปไว้. ภิกษุทั้งหลายได้ทำอย่างนั้น. ก็แล ครั้นทำแล้วไปยังวิหารเฝ้าพระศาสดากราบทูลกิจที่ตนทำ แล้วจึงทูลถามถึงอภิสัมปรายภพของท่านพาหิยะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบอกแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านพาหิยะปรินิพพานแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกว่าท่านพาหิยทารุจีริยะบรรลุพระอรหัตแล้วหรือ ท่านบรรลุพระอรหัตที่ไหน. และเมื่อตรัสว่า ในเวลาที่ฟังธรรมของเรา พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ก็พระองค์แสดงธรรมแก่ท่านในเวลาไหน. พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเรากำลังบิณฑบาต ยืนอยู่ระหว่างถนนวันนี้เอง. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระองค์ยืนตรัสในระหว่างถนนนั้นมีประมาณน้อย ท่านทำคุณวิเศษให้เกิดด้วยเหตุเพียงเท่านั้นได้อย่างไร. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายเธออย่าประมาณธรรมของเราว่ามีน้อยหรือมาก แม้คาถาตั้งหลายพัน แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทคาถาแม้บทเดียวซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ ยังประเสริฐกว่า จึงตรัสคาถานี้ในธรรมบทว่า

สหสฺสมปิ เจ คาถา

อนตฺถปทสญฺหิตา

เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย

ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 156

ถ้าคาถาแม้ตั้งพัน แต่ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ บทคาถาบทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้วย่อมสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.

เมื่อทรงแสดงว่า เธอเป็นผู้ควรแก่การบูชาด้วยเหตุเพียงปรินิพพานอย่างเดียวก็หาไม่ โดยที่แท้ เธอเป็นผู้สมควรแก่การบูชาแม้ด้วยภาวะอันเลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นขิปปาภิญญา จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกผู้เป็นขิปปาภิญญา ท่านพาหิยทารุจีริยะเป็นเลิศ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า อถ โข ภควา สาวตฺถิยํ ปิณฺฑาย จริตฺว ฯเปฯ ปริพิพฺพุโต ภิกฺขเว พาหิโย ทารุจีรโย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉาภตฺตํ ได้แก่ หลังจากเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่ เสด็จกลับจากทรงบิณฑบาต. แม้ทั้งสองบท ท่านก็อธิบายว่า เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว. บทว่า นีหริตฺวา ความว่า ให้นำออกไปภายนอกพระนคร. บทว่า ฌาเปถ แปลว่า จงทำฌาปนกิจ. บทว่า ถูปญฺจสฺส กโรถ ความว่า และจงนำสรีรธาตุของท่านพาหิยะมาก่อพระเจดีย์ไว้. ในข้อนั้น พระองค์ตรัสเหตุไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อนสพรหมจารีของพวกเธอปรินิพพานแล้ว. ข้อนั้นมีอธิบายว่า ท่านพาหิยะนั้นได้ประพฤติธรรม คือ ข้อปฏิบัติ มีอธิศีลเป็นต้น ที่พวกเธอประพฤติแล้วและกำลังประพฤติอยู่ ที่ชื่อว่าพรหม เพราะอรรถว่า ประเสริฐ ได้ประเสริฐเสมอกับพวกเธอ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสพรหมจารี ได้ทำกาละแล้วตามปกติแห่งมรณกาล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พวกเธอจงเอาเตียงหามสรีระ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 157

ของท่านไปทำฌาปนกิจ และก่อสถูปของท่านไว้. บทว่า ตสฺส กา คติ ความว่า บรรดาคติทั้ง ๕ ท่านมีคติอุปบัติภพเป็นอย่างไร. อนึ่ง บทว่า คติ แปลว่า บังเกิด อธิบายว่า คติของท่านตกลงอย่างไร ว่าเป็นพระอริยะหรือปุถุชน. บทว่า อภิสมฺปราโย ได้แก่ ท่านละไปแล้ว เกิดในภพหรือดับในภพ. ว่าโดยอรรถ เป็นอันทรงประกาศว่า ท่านปรินิพพานด้วยการตรัสสั่งให้สร้างสถูปไว้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เหล่าภิกษุผู้ไม่รู้ด้วยเหตุเพียงเท่านั้นก็จะทูลถามว่า คติของท่านเป็นอย่างไร หรือผู้ประสงค์จะให้ทำให้ปรากฏชัด จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น.

บทว่า ปณฺฑิโต โดยความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะไป คือ ดำเนินไป ได้แก่ เป็นไปด้วยปัญญา ชื่อว่าปัณฑะ เพราะบรรลุด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค. บทว่า ปจฺจปาที แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ โลกุตรธรรม. บทว่า อนุธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือ ปฏิปทา มีสีลวิสุทธิเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ นิพพานธรรม. บทว่า อนุธมฺมํ ได้แก่ ธรรมคืออริยมรรคและอริยผล. บทว่า น จ มํ ธมฺมาธิกรณํ ความว่า ก็เหตุแห่งการแสดงธรรม ไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน. จริงอยู่ ท่านฟังธรรมหรือเรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา ไม่ปฏิบัติธรรมตามที่ทรงพร่ำสอน ชื่อว่าทำพระศาสดาให้ทรงลำบาก ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

วิหึสสญฺี ปคุณํ น ภาสึ

ธมฺมํ ปณีตํ มนุเชสุ พฺรหฺเม

เรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมให้คล่องแคล่ว ให้ประณีต ในหมู่ชน ในหมู่พรหม.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 158

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า น จ มํ ธมฺมาธิกรณํ ความว่า จะเป็นเหตุแห่งธรรมนี้ก็หามิได้. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่าไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะปฏิบัติศาสนธรรมของเรานี้ด้วยดี อันเป็นเหตุนำสรรพสัตว์ออกจากวัฏทุกข์. ก็ผู้ปฏิบัติชั่ว ทำลายศาสนธรรม ชื่อว่าให้การประหารสรีระคือธรรมของพระศาสดา. แต่ท่านพาหิยะนี้ ทำสัมมาปฏิบัติให้ถึงที่สุด แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ปรินิพฺพุโต ภิกฺขเว พาหิโย ทารุจีริโย.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบว่า พระพาหิยเถระปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ และว่าคติของพระขีณาสพทั้งหลายผู้ปรินิพพานแล้วเช่นนั้น อันคนจำนวนมากรู้ได้ยากโดยอาการทั้งปวง. บทว่า อิมํ อุทานํ ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานอันแสดงอานุภาพแห่งปรินิพพานอันไม่ประดิษฐานอยู่แล้วนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ความว่า อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโธธาตุ ไม่หยั่งลง คือ ไม่ประดิษฐานอยู่ในนิพพานธาตุใด. เพราะเหตุไร? เพราะพระนิพพานมีสภาวะเป็นอสังขตรรม. จริงอยู่ แม้สิ่งเล็กน้อยแห่งสังขตธรรมก็ไม่มีในพระนิพพานนั้น. บทว่า สุกฺกา ความว่า ดาวพระเคราะห์และดาวนักษัตรอันได้ชื่อว่าสุกกะ เพราะมีรัศมีขาว ไม่โชติช่วง คือ ไม่สว่างไสว. บทว่า อาทิจฺโจ นปฺปกาสติ ความว่า แม้พระอาทิตย์อันสามารถแผ่แสงสว่างไปขณะเดียว ๓ ทวีป ก็ไม่แผดแสงด้วยอำนาจรัศมี. บทว่า น ตตฺถ จนฺทิมา ภาติ ความว่า แม้เมื่อพระอาทิตย์มีรัศมีแรงกล้า ฝ่ายพระจันทร์มีรัศมีเยือกเย็นน่าใคร่ ก็ไม่รุ่ง-

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 159

โรจน์ เพราะกำจัดรัศมีอันสว่างของตน เหตุที่ไม่มีในพระนิพพานนั้น. พระองค์ตรัสว่า ตโม ตตฺถ น วิชฺชติ ความมืดไม่มีในพระนิพพานนั้น ดังนี้ ทรงหมายเอาความสงสัยว่า ถ้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่มีในพระนิพพานนั้นไซร้ พระนิพพานนั้นก็จะพึงมืดมิดทีเดียวดุจโลกันตนรก. จริงอยู่ เมื่อรูปมี ความมืดก็มี. บทว่า ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนิ โมเนน พฺราหฺมโณ ความว่า พราหมณ์ผู้เป็นพระอริยสาวก ซึ่งได้นามว่ามุนี เพราะประกอบด้วยมรรคญาณอันได้ชื่อว่าโมนะ เพราะรู้สัจจะ ๔ และประกอบด้วยโมเนยยปฏิปทาทางกายเป็นต้น ละอาการมีการฟังตามๆ กันมาเป็นต้นด้วยตนคือตนเอง ในขณะอรหัตมรรค ในกาลใด คือ ในเวลาใดด้วยปฏิเวธญาณ กล่าวคือ โมนะนั้นนั่นเองแหละรู้ คือ รู้แจ้งพระนิพพานกระทำให้ประจักษ์แก่ตน. ปาฐะว่า อเวทิ ดังนี้ ก็มี. อธิบายว่า ได้รู้ทั่วถึง. ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อถ รูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุจฺจติ แปลว่า ภายหลังแต่การตรัสรู้พระนิพพานนั้น. บทว่า รูปา ได้แก่ รูปธรรม. ด้วยบทว่ารูปานั้น เป็นอันท่านถือเอาปัญจโวการภพและเอกโวการภพ. บทว่า อรูปา ได้แก่ อรูปธรรม. ด้วยบทว่าอรูปานั้น เป็นอันท่านถือเอาอรูปภพ เพราะไม่เจือปนกับรูป ที่เรียกว่าจตุโวการภพก็มี. บทว่า สุขทุกฺขา ความว่า จากวัฏฏะแม้ที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์อันเกิดขึ้นในที่ทุกแห่ง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า รูปา ได้แก่ เพราะปฏิสนธิในรูปโลก. บทว่า อรูปา ได้แก่ เพราะปฏิสนธิในอรูปโลก. บทว่า สุขทุกฺขา ได้แก่ เพราะปฏิสนธิในกามาวจรภูมิ. จริงอยู่ กามภพมีทั้งสุขและทุกข์เจือปนกัน. พราหมณ์นั้นย่อมพ้นจากวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นนั้นโดยสิ้นเชิงทีเดียว ด้วยประการฉะนี้แล.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 160

แม้ด้วยคาถา ๒ คาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระนิพพานเห็นปานนี้ เป็นคติแห่งพาหิยะผู้เป็นบุตรของเราแล.

จบอรรถกถาพาหิยสูตรที่ ๑๐

จบโพธิวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมโพธิสูตร ๒. ทุติยโพธิสูตร ๓. ตติยโพธิสูตร ๔. อชปาลนิโครธสูตร ๕. เถรสูตร ๖. มหากัสสปสูตร ๗. ปาวาสูตร ๘. สังคามชิสูตร ๙. ชฎิลสูตร ๑๐. พาหิยสูตร และอรรถกถา.