พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. ปฐมโพธิสูตร ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม (เริ่มเล่ม 44)

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 ส.ค. 2564
หมายเลข  35277
อ่าน  691

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1

โพธิวรรคที่ ๑

๑. ปฐมโพธิสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 44]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อุทาน

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๓

โพธิวรรคที่ ๑

๑. ปฐมโพธิสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม

[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นแล พอสัปดาห์นั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น ได้ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 2

เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ.

จบปฐมโพธิสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 3

ปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย

อุทานวรรณนา

อารัมภกถา

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระโลกนาถผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณา ผู้ถึงฝั่งสาครคือไญยธรรม ทรงแสดงธรรมอันละเอียดลึกซึ้งมีนัยอันวิจิตร.

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระธรรมอันสูงสุด ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว อันเป็นเหตุนำสัตว์ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะออกจากโลก.

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระอริยสงฆ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลคุณเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล ผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม.

บุญใดอันเกิดจากการไหว้พระรัตนตรัยดังกล่าวมานี้ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันเดชแห่งบุญขจัดแล้ว ในที่ทุกสถาน

พระมเหสีเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงแสดงอุทานใด ด้วยนิทานนั้นๆ โดยอปทานอันบริสุทธิ์ พระธรรมสังคาหกาจารย์ เมื่อจะยกอุทานทั้งหมดนั้นรวมไว้เป็นหมวดเดียวกัน แล้วร้อยกรองให้ชื่อว่า อุทาน อันเป็นเครื่องแสดงความสังเวชและความปราโมทย์ในธรรมของพระชินเจ้า ประดับด้วยคาถาซึ่งมีโสมนัสญาณเป็นสมุฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 4

การที่ข้าพเจ้ากระทำการขณะพรรณนาอรรถแห่งอุทานนั้นทำได้ยาก เพราะจะต้องใช้ญาณอันลึกซึ้งหยั่งลงก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุที่สัตถุศาสน์พร้อมทั้งสังวรรณนายังคงอยู่ การวินิจฉัยของบุรพาจารย์ชาวสีหลก็ยังคงอยู่เหมือนกัน ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงยึดเอาสัตถุศาสน์นั้นหยั่งลงสู่นิกายทั้ง ๕ อาศัยนัยอรรถกถาเก่าอันบริสุทธิ์ดี ไม่ปะปนกัน ยึดเอาลัทธิของพระมหาเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร เว้นอรรถที่มาซ้ำๆ ซากๆ เสีย จักแต่งอรรถกถาอุทานตามกำลังให้ดี ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้าหวังความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม จำแนกอรรถแห่งอุทานอยู่ ขอสาธุชนทั้งหลายจงรับเอาด้วยดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทานํ ความว่า ที่ชื่อว่าอุทาน ด้วยอรรถว่ากระไร? ด้วยอรรถว่า เปล่งออก. ที่ชื่อว่าอุทานนี้ คืออะไร? คือ การเปล่งอันตั้งขึ้นด้วยกำลังของปิติ. เหมือนอย่างว่า วัตถุที่จะพึ่งนับมีน้ำมันเป็นต้นอันใด ไม่สามารถจะนับเอาประมาณได้ ย่อมไหลไป วัตถุนั้นเรียกว่า อวเสกะ ไหลลง อนึ่ง สายน้ำใด ไม่อาจขังติดเหมือง ท่วมไป สายน้ำนั้นเรียกว่า โอฆะ ห้วงน้ำ ฉันใด สิ่งใดที่ตั้งขึ้นด้วยกำลังปิติ แผ่ซ่านไปด้วยกำลังวิตก ไม่สามารถดำรงอยู่ภายในหทัยได้ก็ฉันนั้น ความเปล่งออกอันพิเศษนั้นเป็นของยิ่ง ไม่ตั้งอยู่ภายใน ออกไปภายนอกทางวจีทวาร ไม่ถึงการรับเอา เรียกว่า อุทาน อาการอันนี้ย่อมได้แม้ด้วยอำนาจความสังเวชในธรรม.

อุทานนี้นั้น บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจการประพันธ์เป็นคาถา บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจคำพูด. ก็ลักษณะอุทานอันใดที่ท่านกล่าวไว้ใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 5

อรรถกถาว่า เกี่ยวด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณนั้น กล่าวโดยส่วนข้างมาก. ก็โดยมาก อุทาน ท่านกล่าวด้วยการประพันธ์เป็นคาถา และตั้งขึ้นด้วยอำนาจปีติและโสมนัส แต่อุทานแม้นอกนี้ ย่อมได้ในประโยคมีอาทิว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ อาโปธาตุไม่มี และได้ในประโยคมีอาทิว่า สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ ชนผู้ใดย่อมเบียดเบียนเหล่าสัตว์ผู้ใคร่ความสุขด้วยอาชญา และได้ในประโยคมีอาทิว่า สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิยํ ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่เป็นที่รักของท่าน อุทานนี้นั้น ดังกล่าวมาฉะนี้เป็นต้น มี ๓ อย่าง คือ เป็นสัพพัญญูพุทธภาษิต ๑ เป็นปัจเจกพุทธภาษิต ๑ เป็นสาวกภาษิต ๑. ใน ๓ อย่างนั้น ปัจเจกพุทธภาษิต มาในขัดควิสาณสูตร โดยนัยมีอาทิว่า

วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้นแม้ตนหนึ่ง

ฝ่ายสาวกภาษิตมาในเถรคาถา โดยนัยมีอาทิว่า

ราคะทั้งปวงเราละได้แล้ว โทสะทั้งปวงเราถอนเสียแล้ว โมหะทั้งปวงเราขจัดได้แล้ว เราเป็นผู้ดับเย็นสนิทแล้ว

และมาในเถรีคาถาว่า

เราเป็นผู้สำรวมกาย วาจา และใจ ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้ เป็นผู้ดับเย็นสนิทแล้ว ดังนี้.

ก็อุทานเหล่านั้น เป็นอุทานของพระเถระและพระเถรีเหล่านั้นอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้เป็นชนิดสีหนาท (การบันลือดุจราชสีห์)

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 6

ก็มี. อุทานที่เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้นภาษิตไว้ มีอาทิว่า อโห ทานํ ปรมทานํ กสุสเป สุปฺปติฏฺิตํ และอุทานที่มนุษย์ทั้งหลายมีโสณทัณฑพราหมณ์เป็นต้นภาษิตไว้ มีอาทิว่า นโม ตสฺส ภควโต เป็นอุทานที่ยกขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้ง อุทานเหล่านั้นไม่ประสงค์เอาในที่นี้. ก็ภาษิตเหล่าใดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเฉพาะพระองค์เองเป็นพุทธพจน์ และภาษิตเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปริยัติธรรมออกเป็น ๙ อย่าง ที่ตรัสว่า อุทาน ภาษิตนั้นนั่นแหละพระธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ว่า อุทาน. อุทานนั้นนั่นแหละ ในที่นี้ถือเอาโดยความเป็นสิ่งที่จะพึงสังวรรณนา.

ส่วนคาถาใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยคาถามีอาทิว่า อเนกชาติสํสารํ ที่เป็นไปด้วยอำนาจอุทานที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์ และคาถาอุทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ไม่ทรงละ แต่ครั้นต่อมา คาถาเหล่านั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ไม่ได้ร้อยกรองไว้ในอุทานบาลี ร้อยกรองไว้ในธรรมบท เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก. ก็คำอุทานว่า อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ ดังนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้มีเสียงกึกก้องแพร่หลาย สามารถประกาศแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุแม้นั้น เป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาถึงความลำบากของพระองค์มีผล เพราะอริยมรรคตามที่ทรงแสดงอันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุ เป็นมรรคที่พระเถระบรรลุก่อนกว่าพระสาวกทั้งปวงในบรรดาสาวกทั้งหลาย ในเวลาจบเทศนาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และเป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาสัมมาปฏิบัติของภิกษุ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 7

ทั้งปวง ในครั้งปฐมโพธิกาล เป็นเพียงอุทานที่เกิดจากปีติและโสมนัส ดุจคำมีอาทิว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทำให้เรายินดีหนอ ไม่เป็นคำประกาศของความเป็นไปหรือหวนกลับมา ดุจคำมีอาทิว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏ เพราะฉะนั้น ไม่พึงเห็นว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ในอุทานบาลี.

ก็อุทานนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎกในบรรดาปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก นับเนื่องในขุททกนิกายในบรรดานิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย สงเคราะห์เข้าในอุทานในบรรดาสัตถุสาสน์มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์เล็กน้อยในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ที่พระธรรมภัณฑาคาริกภิกษุ ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ จากภิกษุ ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ รวมเป็นธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์

ว่าโดยวรรค มี ๘ วรรค คือ โพธิวรรค มุจจลินทวรรค นันทวรรค เมฆิยวรรค มหาวรรค ชัจจันธวรรค จูฬวรรค ปาฏลิคามิยวรรค. ว่าโดยสูตร สงเคราะห์เป็น ๘๐ สูตร. ว่าโดยคาถา สงเคราะห์เป็นอุทานคาถา ๙๕ คาถา. ว่าโดยภาณวาร ประมาณ ๙ ครึ่งภาณวาร. ว่าโดยอนุสนธิ มี ๑ อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิในโพธิสูตรทั้งหลาย. ในสุปปพุทธสูตร มี ๒ อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิและยถานุสนธิ. ในสูตรที่เหลือ มีอนุสนธิแต่ละอย่าง ด้วยอำนาจยถานุสนธิ แต่อัชฌาสยานุ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 8

สนธิไม่มีในที่นี้. มีการสงเคราะห์อนุสนธิ ๘๑ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. ว่าโดยบท มี ๒๑,๑๐๐ บท ว่าโดยบาทคาถา มี ๘,๔๒๓ คาถา ว่าโดยอักขระ มี ๖๗,๓๘๒ อักขระ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

อุทานว่าโดยย่อ ท่านประกาศไว้ว่า มี ๘๐ สูตร ๘ วรรค ๙๕ คาถา ส่วนภาณวาร ว่าโดยประมาณ มีประมาณ ๙ ครึ่งภาณวาร มีอนุสนธิ ๘๑ อนุสนธิ ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์แสดงบทอุทานเหล่านี้ คำนวณได้ ๒๑,๐๐๐ บท

แต่เมื่อว่าโดยบทแห่งคาถา

ท่านแสดงไว้ ๘,๔๒๓ บาทคาถา ประกาศอักขระไว้ ๖๗,๓๘๒ อักขระ ดังนี้.

บรรดาวรรคทั้ง ๘ ของอุทานนั้น มี โพธิวรรค เป็นเบื้องต้น. บรรดาสูตร มี โพธิสูตร เป็นที่ ๑. โพธิสูตรแม้นั้น มีนิทานที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในคราวมหาสังคีติครั้งแรก มีอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ เป็นเบื้องต้น. ก็มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่ตันติภาษาในวินัยปิฎกนั่นแล. ก็ในที่นี้ กถามรรคที่ควรกล่าวเพื่อความฉลาดในนิทานแม้นั้น ท่านก็กล่าวไว้ในอรรถกถาทีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินีนั้นแล เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาชื่อว่าสุมังคลวิลาสินีนั้นเถิด.

จบอารัมภกถา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 9

โพธิวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมโพธิสูตร

ก็ในโพธิสูตรนี้ คำว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น เป็นนิทาน. บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า เอวํ เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม. บทว่า วิ ในบทว่า อุรุเวลายํ วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. การจำแนกบทในทุกบท พึงทราบโดยนัยนี้เป็นอันดับแรกแล.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ เอวํ ศัพท์อันดับแรก มีอรรถหลายประเภท มีอาทิว่า อุปมา อุปเทศ สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ อาการ นิทัสสนะ อวธารณะ ปุจฉา อิทมัตถะ ปริมาณ. จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์นั้นมาในอุปมา ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้เกิดมาแล้วพึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น. มาในอุปเทศ (ข้อแนะนำ) ในประโยคมีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไปข้างหน้าอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้. มาในสัมปหังสนะ (ความร่าเริง) ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. มาในครหณะ (การติเตียน) ในประโยคมีอาทิว่า ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวคุณของสมณะโล้นนั้น ในที่ทุกหนทุกแห่ง (ไม่เลือกสถานที่) อย่างนี้ๆ. มาในวจนสัมปฏิคคหะ (การรับคำ) ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอวํ ภนเต อย่างนั้นแล พระเจ้าข้า. มาในอาการ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ด้วยอาการ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 10

อย่างนี้แล. มาในนิทัสสนะ (การชี้แจง) ในประโยคมีอาทิว่า มาเถิดท่านมาณพน้อย จงเข้าไปหาพระสมณะอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงถามถึงความอาพาธน้อย โรคน้อย ความคล่องแคล่ว พละกำลัง การอยู่ผาสุก กะท่านพระสมณะอานนท์ ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร ถามถึงอาพาธน้อย โรคน้อย ความคล่องแคล่ว พละกำลัง การอยู่ผาสุก กะท่านพระอานนท์ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ดังข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระอานนท์ จงกรุณาเข้าไปยังนิเวศน์ของ สุภมาณพโตเทยยบุตร. มาในอวธารณะ (ห้ามความอื่น) ดูก่อนชาวกาลามะ ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล. เป็นอกุศลพระเจ้าข้า. มีโทษหรือไม่มีโทษ. มีโทษพระเจ้าข้า. วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ. วิญญูชนติเตียนพระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลหรือเพื่อทุกข์ หรือว่าไม่เป็นไป หรือในข้อนั้นเป็นอย่างไร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ในข้อนี้พวกข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนั้น. มาในคำถาม ในประโยคมีอาทิว่า ชนเหล่านั้นอาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี ปลงผมและหนวด สวมใส่มาลัยและเครื่องอาภรณ์ ฯลฯ อย่างนั้นหรือ. มาในอิทมัตถะ (อรรถแห่งอิทํ ศัพท์) ในประโยคมีอาทิว่า สิปปายตนะมากมายที่เข้ากับศิลปะนี้ อาการนี้ มีประการอย่างนี้. จริงอยู่ คต ศัพท์ มีการยักเรียกว่า ประการ. ศัพท์ว่า วิธาการะ ก็เหมือนกัน. จริงอย่างนั้น ชาวโลกกล่าว คต ศัพท์ ที่ประกอบกับ วิธ ศัพท์ ในอรรถว่า ประการ. มาในปริมาณ ในประโยคมีอาทิว่า มีการเปลี่ยนแปลงเร็วเป็นปริมาณ มีการสิ้นสุดอายุเป็นปริมาณ.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 11

ก็ด้วย เอวํ ศัพท์ ในคำว่า เอวํ วิตกฺกิตํ โน ตุมฺเหหิ เอวมายุปริยนฺโต เอวํ ศัพท์ที่ชื่อว่ามีอาการเป็นอรรถเท่านั้น เพราะกล่าวอาการถาม และอาการปริมาณมิใช่หรือ? ไม่ใช่ เพราะมีความแปลกกัน. ก็ เอวํ ศัพท์ ในที่นี้บอกเพียงอาการ ท่านประสงค์เอาว่า มีอาการเป็นอรรถ. แต่ เอวํ ศัพท์ ในคำมีอาทิว่า เอวํ พฺยา โข บอกความแปลกกันแห่งอาการ. ก็ เอวํ ศัพท์ เหล่านี้ ที่ชื่อว่าบอกความแปลกกันแห่งอาการ เพราะบอกอาการแห่งคำถาม และอาการแห่งปริมาณ. ก็เพราะอธิบายอย่างนี้ อุทาหรณ์อุปมามีอาทิว่า สัตว์เกิดมาก็ฉันนั้นจึงจะถูก. ก็ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ สัตว์ชื่อว่ามัจจะ เพราะมีอันจะพึงตายเป็นสภาวะ จำต้องบำเพ็ญบุญเป็นอันมากอันเป็นเช่นกลุ่มดอกไม้ เพราะควรแก่ฐานที่เป็นกองดอกไม้ในคาถานี้ว่า

ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา

ภยิรา มหาคุเณ พหู

เอวํ ชาเตน มจฺเจน

กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ

นายมาลาการผู้ฉลาด พึงกระทำพวงดอกไม้จากกองดอกไม้ให้มาก แม้ฉันใด สัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย เป็นสภาวะเกิดแล้ว จำต้องทำกุศลให้มาก ฉันนั้น

เพราะตั้งขึ้นจากเหตุแห่งการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น มีเกิดในมนุษย์ การคบหาสัปบุรุษ การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และการสมบูรณ์ด้วยโภคะ เป็นต้น เพราะประกอบด้วยคุณวิเศษมีความงามและมีกลิ่นหอมเป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน จึงมีกองดอกไม้และกลุ่มดอกไม้เป็นเครื่องเปรียบ. อาการเปรียบเทียบกลุ่มดอกไม้เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้โดยกำหนดไม่แน่นอน ด้วย ยถา ศัพท์

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 12

กล่าวโดยกำหนดแน่นอน ด้วย เอวํ ศัพท์ อีก. ก็อาการเปรียบเทียบนั้น เมื่อกำหนดลงไป โดยใจความก็เป็นเพียงอุปมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุปมายํ อาคโต มาในอุปมา ดังนี้.

อนึ่ง อาการ คือ การแนะนำในความเพียบพร้อมด้วยมารยาทอันสมควรแก่สมณะ ที่ท่านแนะนำไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงก้าวไปอย่างนี้ คือ โดยอาการนี้นั้น ว่าโดยอรรถก็คืออุปเทศนั้นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอวํ ศัพท์ มาในอุปเทศ ในประโยคมีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.

ในคำว่า เอวเมตํ ภควา เอวเมตํ สุคต นี้ พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ว่า การหัวเราะ คือ การทำความฟูใจ ได้แก่ ความร่าเริง โดยประการแห่งคุณที่มีอยู่ในข้อที่ผู้รู้อรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วทำมิให้คลาดเคลื่อน. ในข้อว่า เอวเมว ปนายํ นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วว่า เป็นอาการแห่งการติเตียน. ก็อาการคือการติเตียนั้น ย่อมรู้ได้ว่าท่านประกาศไว้ด้วย เอวํ ศัพท์ ในที่นี้โดยเทียบเคียงกับ ขุํสน ศัพท์ ขู่ว่า หญิงถ่อยเป็นต้น. พึงทราบว่า แม้อาการคือการเปรียบเทียบ ท่านกล่าวไว้โดยเทียบเคียงศัพท์มีปุพพราสิศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยอุปมาเป็นต้น เหมือนในอาการติเตียนนี้.

ด้วยคำว่า เอวญฺจ วเทหิ นี้ ท่านกล่าวว่า อาการคือการกล่าวที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวอาการอย่างใด ท่านจงกล่าวกะสมณะอานนท์ด้วยอาการอย่างนั้น ท่านแสดงไขด้วย เอวํ ศัพท์ เพราะฉะนั้น เอวํ ศัพท์ นั้น จึงมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.

แม้ในบทว่า เอวํ โน นี้ เพราะเมื่อตั้งคำถามว่า ไม่เป็นอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 13

หรือ หรือว่าในข้อนั้นเป็นอย่างไร ด้วยอำนาจการถือเอาตามอนุมัติ เพื่อจะให้รู้การตกลงโดยภาวะที่ทำตามที่กล่าวแล้วนั้น นำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และทุกข์มาให้ จึงตอบว่า ในข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น การสันนิษฐานอาการเช่นนั้น ย่อมรู้ได้ว่า ท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย เอวํ ศัพท์. ก็อาการที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แห่งธรรมเหล่านั้น เมื่อกำหนดแน่นอนมีอวธารณะเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอวํ ศัพท์ มาในอวธารณะ ในประโยคมีอาทิว่า เอวํ โน เอตฺถ โหติ ในข้อนี้ สำหรับข้าพระองค์เป็นอย่างนี้.

ท่านกล่าวถึง เอวํ ศัพท์เหล่านั้น อันบ่งถึงความแปลกกันแห่งอาการอย่างนั้น ว่ามีอรรถอุปมาเป็นต้น เพราะมีความเป็นไปโดยอรรถพิเศษมีอุปมาเป็นต้น. ก็ เอวํ ศัพท์ ในคำว่า เอวมฺภนฺเต นั้น มีการรับคำเป็นอรรถ เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบในการใส่ใจด้วยดีซึ่งการฟังธรรม กล่าวไว้ด้วยสามารถการรู้เฉพาะซึ่งภาวะที่ตนตั้งอยู่ในธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า บทว่า เอวมฺภนฺเต ได้แก่ สาธุ ภนฺเต สุฏฺฐุ ภนฺเต ดังนี้. ในที่นี้ เอวํ ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า อาการ นิทัศนะ และอวธารณะ.

ใน ๓ อย่างนั้น ด้วย เอวํ ศัพท์ มีอาการเป็นอรรถ พระเถระแสดงอรรถนี้ว่า ใครสามารถจะรู้พระดำรัสของพระผู้พระภาคเจ้านั้นโดยประการทั้งปวง ซึ่งมีนัยต่างๆ อันละเอียด เกิดจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่างๆ ลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ อันมาปรากฏทางโสตวิญญาณโดยเหมาะสมแก่ภาษาของตนๆ แห่งสรรพสัตว์. ก็ข้าพเจ้าแม้ทำความประสงค์เพื่อจะฟังให้เกิด

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 14

โดยประการทั้งปวง ก็ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับมาแล้ว ด้วยอาการอย่างหนึ่ง.

ก็ในที่นี้ นัยมีอย่างต่างๆ โดยประเภทอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย อัพยาปารนัย เอวังธัมมตานัย และกล่าวคือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีลิตนัย ทิสาโลจนนัย และ อังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย. อีกอย่างหนึ่ง นัยทั้งหลายมีบาลีเป็นคติ. และนัยเหล่านั้น ชื่อว่านานานัย เพราะมีประการต่างๆ ด้วยอำนาจบัญญัติและอนุบัญญัติเป็นต้น ด้วยนัยที่เป็นส่วนแห่งสังกิเลสเป็นต้น และนัยที่เป็นโลกิยะเป็นต้น และนัยที่คละกันทั้งสองนั้นด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหะเป็นต้น ด้วยอำนาจสมยวิมุตติเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนะเป็นต้น ด้วยอำนาจกุศลมูลเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานเป็นต้น. ชื่อว่าละเอียดโดยนัยต่างๆ เพราะละเอียดอ่อนสุขุมโดยนัยเหล่านั้น.

อาสยะ นั้นแหละ ชื่อว่า อัธยาศัย. ก็อัธยาศัยนั้นมีหลายอย่าง โดยความต่างแห่งภาวะมีความเป็นของเที่ยงเป็นต้น และโดยความต่างแห่งความที่สัตว์มีกิเลสดุจธุลีโนดวงตาน้อยเป็นต้น หรือมีอย่างเป็นอเนก มีอาทิว่า อัธยาศัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัธยาศัย. อเนกัธยาศัยนั้น ชื่อว่า อเนกัธยาศัยสมุฏฐาน เพราะมีสมุฏฐานเป็นเหตุเกิดขึ้น.

ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบด้วยบทแห่งอรรถ ๖ อย่าง คือ สังกาสนะ (คล้ายกัน) ปกาสนะ (ประกาศ) วิวรณะ (ไขความ) วิภชนะ (จำแนก) อุตตานีกรณะ (ทำให้ตื้น) และ บัญญัติ (ชื่อ) และประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ ๖ อย่าง คือ อักขระ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 15

บทพยัญชนะ อาการ นิรุตติ และนิเทศ แห่งสมบัติของอรรถแห่งศีลเป็นต้น และสมบัติแห่งพยัญชนะอันทำความแจ่มแจ้งแห่งอรรถมีศีลเป็นต้นนั้น

ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างๆ เพราะมีปาฏิหาริย์ต่างๆ หรือมากมายโดยความต่างแห่งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยความต่างแห่งอารมณ์เป็นต้นของปาฏิหาริย์แต่ละอย่าง บรรดาปาฏิหาริย์เหล่านั้น. ในข้อนั้น เมื่อมีอรรถว่า ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น กิเลสมีราคะเป็นต้นที่เป็นข้าศึกอันจะพึงกำจัดไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อจิตปราศจากอุปกิเลสประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ กำจัดธรรมที่เป็นข้าศึกได้แล้ว ปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ แม้สำหรับปุถุชนก็ยังเป็นไปได้ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยโวหารที่เป็นไปในการแสดงฤทธิ์นั้น จึงไม่อาจจะกล่าวได้ว่าปาฏิหาริย์ในที่นี้. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณายังมีกิเลสที่อยู่ในเวไนยสัตว์เป็นข้าศึกอยู่ไซร้ เพราะกำจัดกิเลสอันเป็นข้าศึกนั้นได้ จึงเรียกว่า ปาฏิหาริย์ เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นจึงถูกต้อง.

อีกอย่างหนึ่ง พวกเดียรถีย์ เป็นข้าศึกต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระศาสนา เพราะกำจัดพวกเดียรย์เหล่านั้นได้ จึงเรียกว่า ปาฏิหาริย์. จริงอยู่ เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพระองค์ทรงกำจัด คือ ขับไล่ออกด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ด้วยอำนาจการกำจัดทิฏฐิและด้วยไม่มีความสามารถในการประกาศทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ปฏิ นี้ ย่อมให้รู้อรรถของศัพท์ว่า ปจฺฉา นี้ เหมือน ปฏิ ศัพท์ใน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 16

ประโยคมีอาทิว่า ตสฺมึ ปฏิปวิฏฺมฺหิ อญฺโ อาคจฺฉติ พฺราหฺมโณ เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไป พราหมณ์อีกคนหนึ่งจึงมา. เพราะฉะนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นปราศจากอุปกิเลส บุคคลผู้ทำกิจแล้วพึงนำไป คือ ให้เป็นไปในภายหลัง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปกิเลสของตนถูกมรรคอันสัมปยุตด้วยฌานที่ ๔ ขจัดแล้ว การกำจัดในภายหลัง ชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อนึ่ง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ อันผู้ปราศจากอุปกิเลสเสร็จกิจแล้ว พึงให้เป็นไปอีก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ อนึ่ง เมื่ออุปกิเลสของตนถูกขจัดแล้ว การกำจัดอุปกิเลสในสันดานของบุคคลอื่นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปาฏิหาริย์. ปาฏิหาริย์นั่นแหละ เป็น ปาฏิหาริย์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์แต่ละอย่างที่มีในหมวดแห่งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ท่านเรียกว่า ปาฏิหาริย์. อีกอย่างหนึ่ง ฌานที่ ๔ และมรรค ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึก. พึงทราบอรรถว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ ๔ และมรรคนั้น หรือเป็นนิมิตในฌานที่ ๔ และมรรคนั้น หรือมาจากฌานที่ ๔ และมรรคนั้น ดังนี้.

ก็เพราะเหตุความลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ กล่าวคือ แบบแผน อรรถ เทศนา และการตรัสรู้ชื่อของแบบแผนเป็นต้นนั้น หรือกล่าวคือ เหตุและผลอันเผล็ดมาแต่เหตุ ทั้งเหตุทั้งผล บัญญัติและปฏิเวธ ซึ่งเป็นภาวะอันสัตว์ผู้มิได้สร้างสมกุศลสมภารไว้หาที่พึ่งไม่ได้ และหยั่งรู้ได้ยาก เหมือนมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น ไม่อาจหยั่งถึง เพราะฉะนั้น พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 17

ลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ เพราะประกอบด้วยภาวะที่ลึก ๔ ประการนั้น.

การประกาศพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น เป็นไปในขณะเดียว ย่อมควรจะถือเอาได้ไม่ก่อนและไม่หลัง โดยภาษาของตนๆ แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีภาษาต่างๆ กัน. จริงอยู่ พุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏทางโสดประสาทของสรรพสัตว์ โดยสมควรแก่ภาษาของตนๆ.

ด้วย เอวํ ศัพท์มีนิทัสสนะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะเปลื้องตนว่า เราไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้เรามิได้ทำให้แจ้งเอง จึงแสดงไขพระสูตรทั้งสิ้นที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า เราได้สดับบทแล้วอย่างนี้ คือ แม้เราก็ได้สดับฟังมาแล้วอย่างนี้.

ด้วย เอวํ ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะแสดงกำลังการทรงจำของตน โดยสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา อานนท์เป็นเลิศของภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้มีคติ มีสติ มีธิติ (และ) ผู้เป็นอุปัฏฐาก และคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในอักขระ เบื้องต้นและเบื้องปลาย จึงให้เหล่าสัตว์เกิดความประสงค์ที่จะฟังว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ และพระสูตรนั้นแล ว่าโดยอรรถหรือพยัญชนะ ไม่หย่อนไม่ยิ่งกว่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่พึงเห็นโดยประการอื่น. บทว่า อญฺถา คือ โดยประการอื่นจากอาการที่ได้ฟังมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่มิใช่โดย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 18

ประการอื่นจากอาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. จริงอยู่ เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอานุภาพเป็นอจินไตย. เทศนานั้น ใครๆ ไม่อาจรู้ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวเนื้อความนี้ไว้ดังนี้แล. จริงอยู่ กำลังแห่งการทรงจำ ก็คือการที่ไม่ผิดพลาดจากอาการที่ได้ฟังมาแล้วเลย.

เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถทั้ง ๓. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้น มีอรรถว่า มยา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ โภชนะที่ได้มาเพราะขับร้อยกรอง อันเราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยฺหํ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ. เม ศัพท์ มีอรรถว่า มม ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา. แต่ เม ศัพท์ในที่นี้ ใช้ในอรรถ ๒ อย่าง คือ มยา สุตํ และ มม สุตํ.

แต่ในที่นี้ เม ศัพท์แม้ทั้ง ๓ อย่าง ย่อมปรากฏในอรรถเดียวเท่านั้น เพราะเป็นไปในสันดานของตน กล่าวคือ เกิดเฉพาะในตนที่จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สภาวะใดไม่เป็นอื่น สภาวะนั้นคืออัตตา ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็รู้ได้ทันทีว่า ความต่างแห่งอรรถนี้ กล่าวคือ ความพิเศษแห่งกรณะและสัมปทานะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น พึงเห็นว่า เม ศัพท์ ท่านกล่าวว่า ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง.

สุต ศัพท์ ในบทว่า สุตํ นี้ ทั้งมีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค มีประเภทแห่งอรรถเป็นอันมาก เช่น คมนะ วิสสุตะ กิลินนะ อุปจิตะ อนุโยคะ โสตวิญเญยยะ โสตทวารานุสารวิญญาตะ เป็นต้น. จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 19

อุปสรรคย่อมทำกิริยาให้พิเศษขึ้นก็จริง ถึงกระนั้น แม้เมื่อมีอุปสรรค สุต ศัพท์ นั่นแหละก็บ่งถึงอรรถนั้น เพราะส่องถึงอรรถ เพราะฉะนั้น ในการขยายความของ สุต ศัพท์ ที่ไม่มีอุปสรรค จะถือเอาสุตมีอุปสรรคก็ไม่ผิค. ในคำว่า สุตํ นั้น สุต ศัพท์ มีอรรถว่า ไป ในประโยคมีอาทิว่า เสนาย ปสุโต ไปด้วยกองทัพ. สุต ศัพท์ มีอรรถว่า วิสสุตธรรม ใน ประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้มีธรรมปรากฏแล้วเห็นอยู่. สุต ศัพท์ มีอรรถว่า กิเลเสน กิลินฺนา กิลินฺนสฺส ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุณีผู้กำหนัดด้วยราคะต่อบุรุษผู้กำหนัดด้วยราคะ. สุต ศัพท์ มีอรรถว่า สั่งสม ในประโยคมีอาทิว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺํ ปสุตํ อนปฺปกํ ท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อย. สุต ศัพท์มีอรรถว่า ณานานุยุตฺตา ในประโยคมีอาทิว่า เย ฌานปสุตา ธีรา ชนเหล่าใดเป็นนักปราชญ์ประกอบในฌาน. สุต ศัพท์ มีอรรถว่า โสตวิญเญยยะ. ในประโยคมีอาทิว่า ทิฏฺํ สุตํ มุตํ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ. สุต ศัพท์ ที่มีอรรถว่า ทรงความรู้ตามกระแสแห่งโสตทวาร ในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุต ศัพท์ นั้นมีอรรถว่า อุปธาริตํ อันท่านทรงไว้ หรือ อุปธารณํ การทรงไว้ ตามกระแสแห่งโสตทวาร. จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีมยาศัพท์เป็นอรรถ ความว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ ทรงไว้ตามกระแสแห่งโสตทวาร ดังนี้ จึงจะควร. เมื่อ เม ศัพท์ มี มม ศัพท์ เป็นอรรถ ความว่า การฟังของข้าพเจ้าอย่างนี้ คือ การทรงจำตามกระแสแห่งโสตทวาร ดังนี้ จึงจะถูก.

บรรดาบททั้ง ๓ ตามที่กล่าวมานั้น เพราะเหตุที่ เอวํ ศัพท์ ใช้เคียง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 20

กับสุตศัพท์ พึงส่องถึงกิริยา คือ การฟัง ฉะนั้น บทว่า เอวํ (๑) เป็นคำแสดงไขถึงกิจแห่งวิญญาณที่เป็นไปทางโสตทวาร มีโสตวิญญาณและสัมปฏิจฉนะเป็นต้น และแห่งวิญาณที่เป็นไปทางมโนทวาร อันวิญญาณทางโสตทวารนั้นนำมา. บทว่า เม เป็นบทแสดงไขถึงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. จริงอยู่ พากย์ คือ คำพูดที่เป็นประโยค ทุกพากย์ประกอบด้วยอรรถแห่ง เอวํ อักษรนั่งเอง เพราะพากย์เหล่านั้น มีอวธารณะเป็นผล. บทว่า สุตํ เป็นบทแสดงไขถึงการถือเอา ไม่ยิ่งไม่หย่อน และไม่วิปริตจากการปฏิเสธการไม่ได้ยิน. เหมือนอย่างว่า การฟังควรจะกล่าวว่า สุตเมว ฉันใด การฟังนั้นก็ฉันนั้น เป็นการฟังถูกต้อง คือ เป็นการถือเอาไม่หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต. อีกอย่างหนึ่ง เสียงที่บ่งถึงอรรถโดยส่องถึงอรรถในลำดับแห่งเสียง เพราะเหตุนั้น ในฝ่ายนี้ เพราะเหตุที่สุตศัพท์นี้มีอรรถที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า อสุตํ น โหติ การไม่ได้ยิน ไม่มี ฉะนั้น บทว่า สุตํ จึงเป็นบทแสดงไขถึงการถือเอาไม่หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต โดยปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน. พระเถระกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ดังนี้ เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ เราไม่ได้เห็น เราไม่ทำให้แจ้งด้วยสยัมภูญาณ หรือเราไม่ได้มาโดยประการอื่น. อีกอย่างหนึ่ง เราได้ฟังมาแล้วทีเดียว และการฟังนั้นแล เป็นการฟังชอบแท้. อีกอย่างหนึ่ง ในเอวํศัพท์ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ก็มีอรรถโยชนา การประกอบความดังว่ามานี้. สุตศัพท์ที่เพ่งถึงเอวํศัพท์นั้น มีอรรถแน่นอน เพราะฉะนั้น สุตศัพท์ซึ่งบ่งถึงเอวํศัพท์นั้น พึงทราบว่า ปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน และ


(๑) สิงหลว่า ฉะนั้น บทว่า เอวํ เป็นคำแสดงถึงกิจแห่งวิญญาณทางมโนทวารอันเกิดขึ้นแล้ว ในลำดับแห่งวิญญาณทางโสตทวาร มีโสตวิญญาณและสัมปฏิจฉนะเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 21

ว่าเป็นการแสดงไขถึงการถือเอาไม่หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต ดังนั้น พึงเห็นว่า ท่านกระทำอรรถโยชนาแห่งศัพท์ทั้ง ๓ แม้ด้วยอำนาจแห่งการฟัง เหตุแห่งการฟัง และความแปลกกันแห่งการฟัง.

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นการประกาศภาวะแห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปตามกระแสแห่งโสตวิญาณนั้น เป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ โดยการยึดเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ เพราะทำอธิบายว่า เอวํ ศัพท์ มีอาการเป็นอรรถ. บทว่า เม เป็นบทประกาศอรรถ. บทว่า สุตํ เป็น บทประกาศธรรม เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำกิจอย่างอื่น แต่กระทำกิจนี้ ธรรมนี้ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วด้วยวิญญาณวิถีอันเป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ อันเป็นตัวเหตุ.

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นการประกาศอรรถที่พึงแสดงไข เพราะอธิบายว่า เอวํ ศัพท์มีนิทัสสนะเป็นอรรถ เพราะจะต้องแสดงไขอรรถที่ควรแสดงไข. เพราะฉะนั้น พระสูตรแม้ทั้งสิ้นพึงทราบว่า ยึดเอาแล้วด้วยเอวํศัพท์. บทว่า เม เป็นการประกาศบุคคล. บทว่า สุตํ เป็นการประกาศกิจของบุคคล. จริงอยู่ กิริยาที่ฟัง เมื่อได้ด้วยสุตศัพท์ย่อมเนื่องด้วยโสตวิญญาณ และในข้อนั้น ย่อมได้การบัญญัติถึงบุคคล แต่ในสิ่งที่เนื่องกับธรรมอันเว้นจากบัญญัติถึงบุคคล ย่อมไม่ได้กิริยาคือการฟัง. สุตศัพท์นั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจักแสดงไขพระสูตรใด พระสูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

อนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงอาการต่างๆ ของจิตสันดานที่ยึดเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ โดยความเป็นไปแห่งอารมณ์ต่างๆ เพราะ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 22

อธิบายว่า เอวํศัพท์มีอาการเป็นอรรถนั้นเอง. จริงอยู่ การบัญญัติอาการว่า เอวํ นี้ เพราะอาศัยอาการแห่งความเป็นไปนั้นๆ ของธรรมทั้งหลาย แล้วจึงบัญญัติขึ้นเป็นสภาวะ. บทว่า เม เป็นการแสดงถึงกัตตุผู้ทำ. บทว่า สุตํ เป็นการแสดงถึงอารมณ์. จริงอยู่ ธรรมที่ควรฟังเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นไปด้วยสามารถแห่งกิริยา คือ การฟังของบุคคลผู้กระทำกิริยาคือการฟัง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงความตกลงแห่งการรับอารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยาคือการฟังนั้น ด้วยจิตสันดาน อันเป็นไปโดยประการต่างๆ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอวํ แสดงกิจของบุคคล. จริงอยู่ ด้วย เอวํ ศัพท์มีการประกาศนิทัสสนะหรืออวธารณะ อันมีอาการยึดเอาธรรมที่ได้ฟังแล้วเป็นสภาวะ เป็นอันแสดงไขถึงกิจของบุคคลโดยภาวะแห่งการยึดถือบัญญัติว่าบุคคล และการขวนขวายในธรรมของการทรงอาการนั้นเป็นต้นแล. บทว่า สุตํ แสดงไขกิจของวิญญาณ. จริงอยู่ กิริยาคือการฟัง แม้ของผู้มีวาทะว่าบุคคล ไม่มุ่งถึงวิญญาณก็หามิได้. บทว่า เม เป็นการแสดงถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง. จริงอยู่ ความเป็นไปแห่งศัพท์ว่า เม เป็นอารมณ์พิเศษแห่งสัตว์โดยส่วนเดียวเท่านั้น และกิจของวิญญาณก็พึงประชุมลงในที่นั้นนั่นแล. ส่วนความย่อในข้อนี้มีดังนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว โดยโวหารแห่งสวนกิจที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณกิจได้แล้วด้วยอำนาจวิญญาณ.

อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม ชื่อว่าอวิชชมานบัญญัติ บัญญัติในสิ่งที่ไม่มีด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์. ก็เพราะประโยชน์ทั้งปวงที่จะพึงบรรลุด้วยศรัทธา จำต้องปฏิบัติโดยมุขแห่งบัญญัติเท่านั้น ชื่อว่าเป็นความผิด

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 23

พลาดแห่งบัญญัติทั้งปวง และในบัญญัติ ๖ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น เพราะฉะนั้น อรรถที่ไม่เป็นจริงอันใดเหมือนกลลวง มีมายาและพยับแดดเป็นต้น และอรรถมิใช่อุดมเหมือนจะพึงถือเอาด้วยอาการที่ฟังตามกันมาเป็นต้นหามีไม่ อรรถนั้นมีสภาวะเป็นปรมัตถ์ มีรูปารมณ์ สัททารมณ์ และรสารมณ์เป็นต้น และมีการสลาย การเสวยอารมณ์เป็นต้น ย่อมมีโดยสัจฉิกัตถปรมัตถ์. ก็อรรถคืออาการเป็นต้นที่กล่าวว่า เอวํ และ เม มีสภาวะมิใช่ปรมัตถ์ เมื่อไม่เข้ากับสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ชื่อว่าอวิชชมานบัญญัติ. เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท่านทั้งหลายได้นิทเทสว่า เอวํ หรือ เม จะมีอยู่โดยปรมัตถ์ได้อย่างไร. บทว่า สุตํ ได้แก่ วิชชมานบัญญัติ บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ จริงอยู่ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ได้โดยโสตวิญญาณนั้น โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าวิชชมานบัญญัติแล.

อนึ่ง บทว่า เอวํ ชื่อว่าอุปาทายบัญญัติ โดยอาศัยธรรมที่มาปรากฏทางโสตทวาร แล้วยึดเอาอาการคือการทรงจำธรรมเหล่านั้นเป็นต้น. บทว่า เม ชื่อว่าอุปาทายบัญญัติ เพราะจำต้องกล่าวอาศัยขันธ์ที่นับเนื่องในสันตติอันพิเศษโดยความแปลกกันแห่งการกระทำเป็นต้น. บทว่า สุตํ ชื่อว่าอุปนิธานบัญญัติ เพราะจำกล่าวเข้าไปยึดเอาทิฏฐิเป็นต้น. บัญญัติว่าสุตะแม้เป็นไปในสัททายตนะที่เว้นจากสภาวะ มีรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น ก็จำต้องกล่าวยึดเอารูปที่เห็นเป็นต้น เพราะไม่เพ่งรูปที่เห็นแล้ว อารมณ์ที่ทราบแล้ว และธรรมที่รู้แจ้งแล้ว ก็รู้แจ้งว่า สิ่งนั้นเราฟังแล้วเหมือนโวหารว่าที่ ๒ และที่ ๓ เป็นต้น ก็จำต้องกล่าวยึดเอาที่ ๑ เป็นต้น. ก็บทว่า สุตํ ในคำว่า อสุตํ น โหติ นี้ มีอรรถที่ท่านกล่าวไว้เพียงเท่านี้แล.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 24

ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอวํ พระเถระแสดงถึงความไม่หลงลืม. จริงอยู่ ความแปลกกันโดยประการแห่งพระสูตรที่ตนรู้แจ้งแล้ว ท่านพระอานนท์ยึดเอาในคำว่า เอวํ นี้ ย่อมเป็นอันท่านพระอานนท์แสดงถึงความไม่หลงลืมด้วย เอวํ ศัพท์นั้น. จริงอยู่ ท่านผู้หลงลืมย่อมไม่สามารถเพื่อจะแทงตลอดโดยประการต่างๆ. ท่านแสดงประการต่างๆ และประการที่รู้ได้ยากด้วยอำนาจปัจจยาการว่า พระสูตร. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านแสดงถึงความไม่หลงลืมเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว เพราะอาการแห่งเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว ท่านแสดงไว้ตามความเป็นจริง. ก็พระสูตรที่ผู้ใดฟังมาแล้วลืมเสีย ผู้นั้นย่อมปฏิญญาไม่ได้ว่า เราได้ฟังมาแล้วในกาลอื่น. ดังนั้น ความสำเร็จแห่งปัญญาในกาลยิ่งกว่านั้น ย่อมมีด้วยความไม่หลงลืมของพระเถระ คือ ไม่มีความหลงลืม หรือด้วยปัญญานั้นเองอันเกิดแต่การสดับ ความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีด้วยความไม่หลงลืมเหมือนกัน. พึงทราบอธิบายในข้อนั้นว่า สติซึ่งมีปัญญาเป็นประธาน สามารถห้ามความอื่นโดยพยัญชนะ. จริงอยู่ อาการของพยัญชนะที่จะพึงรู้แจ้งแทงตลอด เป็นอาการไม่ลึกนัก การทรงจำสุตะตามที่ได้ฟังมา จึงเป็นกรณียกิจในข้อนั้น เพราะฉะนั้น สติจึงมีความขวนขวายยิ่งกว่า ส่วนปัญญาเป็นตัวคุณในความพยายามของสตินั้น เพราะอธิบายว่า เป็นตัวนำของปัญญา. พึงทราบความที่ปัญญามีสติเป็นตัวนำ สามารถแทงตลอดอรรถได้. จริงอยู่ อาการที่จะพึงแทงตลอดอรรถได้เป็นอาการลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีความพยายามยิ่ง ส่วนสติเป็นตัวคุณในความพยายามของปัญญานั้น เพราะอธิบายว่า เป็นตัวนำแห่งสติ. พึงทราบความสำเร็จแห่งความเป็นธรรมภัณฑาคาริก ด้วยความสามารถตามรักษาคลังธรรมอันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 25

ด้วยความสามารถของสติและปัญญาทั้งสองนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงโยนิโสมนสิการด้วยคำว่า เอวํ ก็ความสำเร็จอันไม่วิปริตแห่งอรรถของอาการ นิทัสสนะ และอวธารณะ ที่กล่าวด้วยบทว่า เอวํ นั้น ส่องถึงการแทงตลอดมีประการต่างๆ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า เพราะมีธรรมเป็นอารมณ์. ความจริง การแทงตลอดโดยประการต่างๆ โดยอโยนิโสมนสิการ ย่อมมีไม่ได้. ท่านแสดงถึงความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคำวา สุตํ. การฟังพระสูตรที่กล่าวไว้ที่จัดเป็นปกรณ์ด้วยอำนาจคำถามมีอาทิว่า ปฐมโพธิสูตรท่านกล่าวไว้ในที่ไหน เว้นความตั้งมั่นเสียแล้ว ย่อมมีไม่ได้ เพราะจิตฟุ้งซ่าน จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะกล่าวด้วยสมบัติทุกอย่างก็พูดว่า เราไม่ได้ยิน ท่านจงพูดใหม่. ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคายในข้อนี้ ย่อมยังอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพกตปุญญตาให้สำเร็จ เพราะผู้ที่มิได้ตั้งตนไว้ชอบและมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน ไม่มีโยนิโสมนสิการนั้น. เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้สำเร็จการฟังพระสัทธรรมและการคบหาสัปบุรุษ เพราะผู้ที่ไม่ได้สดับและไม่คบหาสัปบุรุษ ไม่มีโยนิโสมนสิการนั้น. ด้วยว่า ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่สามารถฟังได้ และผู้ที่ไม่คบหาสัปบุรุษก็ไม่มีการได้ฟังแล.

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า (นั้น) เป็นการแสดงไขจิตสันดานที่ถือเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ ด้วยความเป็นไปโดยประการต่างๆ. ก็เพราะเหตุที่จิตสันดานนั้น คือ อาการอันเจริญอย่างนี้ เป็นเครื่องกระทำประโยชน์เกื้อกูลของผู้อื่นให้บริบูรณ์ทุกอย่าง ด้วยการหยั่งลงสู่ศาสนสมบัติทั้งสิ้น ด้วยการกำหนดประเภทอรรถและพยัญชนะแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มิได้ทำบุญไว้

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 26

ในปางก่อน ฉะนั้น ด้วยอาการอันเจริญว่า เอวํ นี้ พระเถระแสดงจักรสมบัติ ๒ ข้อหลังของตน ด้วยการประกอบการฟังว่า สุตํ พระเถระแสดงจักรสมบัติ ๒ ข้อแรก. ความจริง ผู้อยู่ในประเทศอันไม่สมควร หรือผู้เว้นจากการคบสัปบุรุษ ย่อมไม่มีการฟัง. ดังนั้น ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยของพระเถระ ย่อมสำเร็จด้วยสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อหลัง. ผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบและผู้ได้บำเพ็ญบุญไว้ในปางก่อน ย่อมเป็นผู้มีอัธยาศัยบริสุทธิ์ เพราะกิเลสอันเป็นเหตุไม่บริสุทธิ์นั้นอยู่ห่างไกล. จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร จิตที่ตั้งไว้ชอบ พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่านั้น และว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้ได้ทำบุญแล้วจงหมั่นประกอบความเพียร เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยเร็วพลัน. ความสำเร็จแห่งการประกอบ เพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อแรก. ก็การประกอบอันบริสุทธิ์ ย่อมมีได้ด้วยการดำเนินตามทิฏฐานุคติของสาธุชน โดยการอยู่ในประเทศอันสมควร และโดยการคบหาสัปปุรุษ. ก็การสำเร็จด้วยการเป็นเชี่ยวชาญในอธิคม ย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้น เพราะตนได้ชำระสะสางสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิในกาลก่อนเรียบร้อยแล้ว การสำเร็จด้วยการเชี่ยวชาญในอาคม ย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์แห่งการประกอบ. จริงอยู่ บุคคลผู้มีกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์ดีแล้ว ชื่อว่ามีจิตไม่ฟุ้งซ่านเพราะไม่มีความเดือดร้อน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยัติ. ดังนั้น คำของผู้บริสุทธิ์ด้วยการประกอบและอัธยาศัย ผู้สมบูรณ์ด้วยอาคมและอธิคม จึงควรจะเป็นเบื้องต้นแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้นเป็นเบื้องต้นแห่งพระอาทิตย์ขึ้น และเหมือนโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรม เพราะ-

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 27

ฉะนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะทั้งนิทาน (คำเริ่มต้น) ในฐานะอันควร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงสภาวะแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำอันแสดงถึงความรู้แจ้งด้วยประการต่างๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนด้วยคำว่า เอวํ นี้. แสดงสภาวะ คือ สมบัติแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา โดยการเทียบเคียง เอวํ ศัพท์ หรือโดยคำที่แสดงถึงการแทงตลอดประเภทที่ควรฟัง ด้วยการเพ่งคำที่จะกล่าวถึงด้วยคำว่า สุตํ นี้. ก็พระเถระเมื่อจะกล่าวถึงคำที่แสดงโยนิโสมนสิการว่า เอวํ นี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ เราเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. จริงอยู่ ปริยัติธรรมเราเพ่งด้วยใจ โดยนัยมีอาทิว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้ ปัญญาตรัสไว้ในที่นี้ อนุสนธิในที่นี้มีประมาณเท่านี้ กำหนดแทงตลอดด้วยดีซึ่งรูปธรรมและอรูปธรรม ซึ่งตรัสไว้ในที่นั้นๆ โดยนัยมีอาทิว่า รูปมีดังนี้ รูปมีประมาณเท่านี้ ด้วยทิฏฐิอันประกอบด้วยการตรึกตามอาการที่ได้ฟังกันมา อันเป็นการทนต่อการเพ่งธรรม หรือกล่าวคือญาตปริญญาย่อมนำหิตสุขแก่ตนและคนเหล่าอื่น. พระเถระเมื่อจะกล่าวคำอันแสดงถึงการประกอบในการฟังว่า สุตํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมากเราได้ฟังแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่องปากแล้ว. จริงอยู่ การฟัง การทรงจำ และการสะสมพระปริยัติธรรม เนื่องด้วยการเงี่ยโสตสดับ. แม้ด้วยบททั้งสองนั้น พระเถระเมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะโดยความเป็นธรรมที่พระองค์ตรัสดีแล้ว ชื่อว่าให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ คนที่ไม่ได้ฟังธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเป็นผู้

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 28

เหินห่างจากประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น พึงให้เกิดความเอื้อเฟื้อก่อน แล้วจึงสดับธรรมโดยเคารพ.

ก็ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ทรงจำธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสำหรับตน ย่อมก้าวไปสู่ภูมิอสัปปุรุษ เมื่อปฏิญาณตนว่าเป็นสาวก ชื่อว่าก้าวลงสู่ภูมิสัปบุรุษ. อนึ่ง ชื่อว่าย่อมทำจิตให้ออกจากอสัทธรรม และทำจิตให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า สูตรนี้เราฟังมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเอง ชื่อว่าย่อมปลดเปลื้องตน อ้างถึงพระศาสดา ยึดมั่นพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แบบแผนธรรมประดิษฐานอยู่. อีกอย่าง เมื่อไม่ปฏิญาณว่าตนให้เกิดขึ้นเองด้วยคำว่า เอวมฺเม สุตํ เมื่อจะเปิดเผยคำที่ฟังมาก่อน จึงคิดว่า คำนี้เราได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าในเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ทรงทศพลญาณ ผู้ดำรงอยู่ในฐานผู้องอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์ ผู้เป็นธรรมิศร ธรรมราชา ผู้เป็นอธิบดีในธรรม ผู้เป็นประทีปแห่งธรรม ผู้เป็นธรรมสรณะ ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้ตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ในข้อนี้ เราไม่ควรทำความกังขา หรือความเคลือบแคลงในอรรถ ธรรม บท หรือพยัญชนะ ทำความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงให้พินาศ ให้เกิดสัทธาสัมปทาขึ้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

วินาสยติ อสฺสทฺธํ

สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน

เอวมฺเม สุตมิจฺเจวํ

วทํ โคตมสาวโก.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 29

สาวกของพระโคดมเมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า เอวมฺเม สุตํ ย่อมชื่อว่ายังความไม่มีศรัทธาให้พินาศ ยังศรัทธาให้เจริญในพระศาสนา

บทว่า เอกํ เป็นการแสดงไขกำหนดการนับ. จริงอยู่ เอก ศัพท์นี้ ปรากฏในอรรถว่า อัญญะ เสฏฐะ อสหายะ และ สังขยา เป็นต้น. จริงอย่างนั้น เอก ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อัญญะ (อื่น) ในประโยคมีอาทิว่า คนอีกพวกหนึ่งกล่าวย้ำดังนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. ปรากฏในอรรถว่า เสฏฐะ (ประเสริฐสุด) ในประโยคมีอาทิว่า ความที่จิตเป็นเอกผุดขึ้น. ปรากฏในอรรถว่า อสหายะ (ไม่มีเพื่อน) ในประโยคมีอาทิว่า ผู้เดียว หลีกออกแล้ว. ปรากฏในอรรถว่า สังขยา (นับ) ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยหนึ่งแล เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า ใช้ในการนับนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า เอกํ เป็นการแสดงกำหนดการนับ. บทว่า สมยํ เป็นบทแสดงไขเวลาที่กำหนดไว้. บทว่า เอกํ สมยํ เป็นการแสดงเวลาที่ไม่กำหนดแน่นอน. ในคำว่า เอกํ สมยํ นั้น สมย ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๙ อย่าง คือ สมวายะ ๑ ขณะ ๑ กาล ๑ สมุหะ ๑ เหตุ ๑ ทิฏฐิ ๑ ปฏิลาภะ ๑ ปหานะ ๑ ปฏิเวธะ ๑

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น มี สมวายะ (พร้อมเพรียง) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผิไฉนหนอ แม้พรุ่งนี้ เราพึงอาศัยกาลและความพร้อมเพรียงเข้าไปหา. อธิบายว่า ได้กาลอันควร และความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย เพราะฉะนั้น พึงทราบปัจจยสมวายะ (ความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย).

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 30

มี ขณะ เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ขณะและสมัยอันหนึ่งแล เพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า โอกาส. จริงอยู่ โอกาสของมรรคพรหมจรรย์มีการอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตเป็นต้น เพราะเป็นเหตุให้ได้มรรคพรหมจรรย์นั้นเป็นปัจจัย. อธิบายว่า ก็สมัยคือขณะ ที่ท่านเรียกว่าขณะและสมัยนั้น เป็นอันเดียวกันนั้นเอง.

มี กาล (เวลา) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า เวลาร้อน เวลากระวนกระวาย. มี สมุหะ (ประชุม) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า มีการประชุมใหญ่ในป่าใหญ่. จริงอยู่ บทว่า มหาสมโย ความว่า เป็นที่ประชุมใหญ่แห่งภิกษุและเทวดาทั้งหลาย.

มี เหตุ เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแลเป็นอันท่านมิได้แทงตลอดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าแลประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จักทราบว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แลเป็นอันเธอไม่ได้แทงตลอดแล้ว. จริงอยู่ เหตุแห่งสิกขาบทท่านประสงค์เอาว่า สมยะ ในที่นี้.

มี ทิฏฐิ เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ก็โดยสมัยนั้นแล อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร อาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา มีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงราย เป็นที่สอนทิฏฐิ. จริงอยู่ เดียรถีย์ทั้งหลายนั่งที่อารามซึ่งมีศาลาหลังเดียวนั้น บอกสมัยกล่าวคือทิฏฐิของตนๆ เพราะฉะนั้น อารามของปริพาชกนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็นที่สอนทิฏฐิ.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 31

มี ปฏิลาภะ (การได้เฉพาะ) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า

นักปราชญ์ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้ประโยชน์ทั้ง ๒ ข้อ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ ในภพหน้า ๑.

จริงอยู่ บทว่า อตฺถาภิสมยา ความว่า เพราะได้ประโยชน์ทั้งสองนั้น. มี ปหานะ (การละ) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ท่านทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ. อภิสมัย ชื่อว่าปหานะ ในคำว่า อธิกรณะ (การทำให้ยิ่ง) สมยะ (การละ) วูปสมะ (การเข้าไปสงบ) อปคมะ (การไปปราศ).

มี ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าทำให้เร่าร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าแทงตลอด. จริงอยู่ การแทงตลอด ชื่อว่าอภิสมยะ เพราะจำต้องแทงตลอด. อรรถ คือ อภิสมยะ ชื่อว่าอภิสมยัฏฐะ เพราะเหตุนั้น ทุกข์มีการบีบคั้นเป็นต้น ท่านกล่าวรวมเป็นอันเดียวกัน เพราะจำต้องรู้แจ้งแทงตลอด. อีกอย่างหนึ่ง อรรถอันเป็นอารมณ์แห่งอภิสมยะคือการแทงตลอด ชื่อว่าอภิสมยัฏฐะ อรรถคือการแทงตลอด เพราะเหตุนั้น การบีบคั้นเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนั้นโดยความเป็นอันเดียวกัน. ในอรรถเหล่านั้น ทุกขสัจเบียดเบียนคนผู้พรั่งพร้อมด้วยทุกขสัจนั้น คือ กระทำให้เจริญไม่ได้ ชื่อว่าเบียดเบียน. ความแผดเผา คือ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจทุกข์ และความเป็นทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าความเร่าร้อน.

ก็ในข้อนี้ สมัย ชื่อว่า สมวายะ เพราะความสำเร็จ เพราะมีเหตุที่มี

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 32

การกระทำร่วมกัน ย่อมพร้อมกัน คือ พร้อมเพรียงกัน. สมัย ชื่อว่าขณะ. เพราะเป็นที่พร้อมกัน คือ มาพร้อมกันแห่งมรรคพรหมจรรย์ โดยบุคคลผู้ทรงไว้ซึ่งมรรคพรหมจรรย์นั้น. สมัย ชื่อว่ากาล เพราะเป็นที่ไปพร้อมกัน หรือเป็นเหตุไปร่วมกันแห่งสัตว์หรือแห่งสภาวธรรม โดยขณะมีอุปาทขณะเป็นต้น หรือโดยสัมปยุตธรรมมีสหชาตธรรมเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยอรรถ กาลแม้จะไม่มีจริง โดยภาวะสักว่าเป็นไปตามธรรม ท่านเรียกโดยความสมควรอันสำเร็จมาเพียงความดำริแห่งความเป็นไปของธรรม เหมือนอธิกรณะ (เป็นที่) และกรณสาธนะ (เป็นเหตุ) แล. สมัย ชื่อว่าสมุหะ เพราะไป คือ เป็นไป ความตั้งอยู่แห่งอวัยวะทั้งหลายเสมอกันหรือพร้อมกัน เหมือนการประชุมแล. จริงอยู่ การตั้งลงพร้อมกันแห่งอวัยวะนั้นแหละ ชื่อสมุหะ (การประชุม) สมัย ชื่อว่าเหตุ เพราะเป็นแดนไป คือ เกิดขึ้นเป็นไปแห่งผล ในเมื่อมีการประชุมแห่งปัจจัยทั้งหมด เหมือนสมุทัยแดนเกิดขึ้นแล. สมัย ชื่อว่าทิฏฐิ เพราะไปพร้อมกัน คือ เกี่ยวพันกัน ไปโดยภาวะเป็นสังโยชน์ เป็นไปในอารมณ์ของตน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องประกอบโดยภาวะยึดมั่นไป คือ เป็นไปตามที่ยึดมั่นของสัตว์ทั้งหลาย. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายถูกทิฏฐิสังโยชน์ผูกมัดไว้อย่างเหนียวแน่นแล. สมัย ชื่อว่าปฏิลาภะ เพราะการประชุม การประจวบ การรวมลง. สมัย ชื่อว่าปหานะ เพราะหายไป สาบสูญไป ปราศจากไป. อนึ่ง สมัย ชื่อว่าอภิสมยะ เพราะเป็นสมัยยิ่งโดยละได้เด็ดขาด เหมือนอภิธรรมแล. ชื่อว่าอภิสมยะ เพราะพึงถึง คือ พึงบรรลุโดยญาณเฉพาะหน้า ได้แก่ หยั่งรู้ถึงสภาวะแห่งธรรมที่ไม่แปรผัน. ชื่อว่าอภิสมยะ เพราะไป คือ บรรลุ ตรัสรู้ โดยภาวะเฉพาะหน้า คือ โดยชอบ ได้แก่ ความหยั่งรู้สภาวะ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 33

ตามเป็นจริงแห่งธรรม. พึงทราบความเป็นไปแห่ง สมย ศัพท์ ในอรรถนั้นๆ ด้วยอาการอย่างนี้.

พึงทราบเหตุในการขยายอรรถแห่ง สมยศัพท์ เพิ่ม อภิสมยศัพท์เข้า โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. แต่ในที่นี้ สมยศัพท์ ชื่อว่ามีกาลเป็นอรรถ เพราะอรรถทั้ง ๙ มีสมวายะเป็นต้นไม่มี. พึงทราบสมยศัพท์นั้นว่าเป็นกาล ในภาวะแห่งคำเริ่มต้นของเทศนา เหมือนสถานที่ผู้แสดงและบริษัทแล. ก็เพราะเหตุที่ท่านประสงค์เอากาลว่าสมัยในที่นี้ ฉะนั้น พระเถระจึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง บรรดาสมัยอันเป็นประเภทแห่งกาล เช่น ปี ฤดู เดือน ครึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เวลาเช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่หนึ่ง เป็นต้น.

หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึงแสดงไขถึงกาลโดยไม่กำหนดแน่นอนทีเดียวนั่นแล แล้วกำหนดแสดงไขโดยฤดูและปีเป็นต้นก็หามิได้. เฉลยว่า บรรดาสมัยมีปีเป็นต้นเหล่านั้น สูตรใดๆ ที่ท่านกล่าวไว้ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ ส่วนราตรีหรือส่วนวันใดๆ ทั้งหมดนั้น พระเถระรู้แจ้งแล้ว คือ ใช้ปัญญากำหนดด้วยดีแล้ว ก็เพราะเหตุที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เราได้ฟังแล้วอย่างนี้ในปีโน้น ฤดูโน้น ปักษ์โน้น ส่วนราตรีหรือส่วนวันโน้น ใครๆ ไม่อาจทรงจำ แสดงเองหรือให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่ายทั้งจะต้องกล่าวมากไป ฉะนั้น ท่านจึงประชุมอรรถนั้นด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้วกล่าวว่า เอกํ สมยํ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง กล่าวคือ สมัยแสดงธรรม บรรดาสมัยเหล่านี้ ที่มีประเภทของกาลมากมายทีเดียว อันเป็นการ

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 34

ประกาศอย่างยิ่งในหมู่เทวดาและมนุษย์สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอาทิอย่างนี้ว่า

สมัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยสลดพระทัย สมัยเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ สมัยทำทุกรกิริยา สมัยชำนะมาร สมัยตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ สมัยประทับอยู่สำราญในปัจจุบัน สมัยแสดงธรรม และสมัยปรินิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง พระเถระกล่าวว่า สมัยหนึ่ง หมายเอาสมัยอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาสมัยเหล่านี้ คือ ในสมัยพำเพ็ญกิจแห่งพระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ สมัยบำเพ็ญกิจแห่งพระกรุณาคุณ ในสมัยบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์และประโยชน์ผู้อื่น สมัยบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น ในสมัยพระกรณียกิจทั้งสองสำหรับผู้ประชุมกัน สมัยแสดงธรรมกถา ในสมัยแสดงธรรมและปฏิบัติธรรม สมัยแสดงธรรม.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสุตตันตปิฎกนี้ ท่านกระทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคว่า เอกํ สมยํ ไม่กระทำเหมือนอย่างที่ท่านกระทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ ในอภิธรรมว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ ดังนี้ และในสุตตบทอื่นจากอภิธรรมนี้ว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ ดังนี้ และในพระวินัย ท่านกระทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ดังนี้? ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้นมีอรรถเป็นอย่างนั้น แต่ในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น. จริงอยู่ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น อรรถแห่งอธิกรณสาธนะกล่าวคืออาธาระและวิสยะในอภิธรรมปิฎก และในสุตตันตปิฎก นอกจากอภิธรรมปิฎกนี้

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 35

และอรรถแห่งลักษณะแห่งภาวะด้วยภาวะ กล่าวคือลักษณะแห่งกิริยาอื่นด้วยกิริยาย่อมมี. จริงอยู่ สมัยที่มีกาลเป็นอรรถ และมีสมุหะเป็นอรรถ จัดเป็นอธิกรณะ. อนึ่ง กาลแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นตามที่กล่าวแล้วในอรรถทั้งสองนั้น แม้ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์เพราะเป็นเพียงความเป็นไปของสภาวธรรม ก็ปรากฏโดยภาวะแห่งอาธาระ. เพราะธรรมที่เป็นไปในขณะนั้น ไม่มีในกาลก่อนและอื่นจากนั้น เหมือนประโยคมีอาทิว่า ปุพฺพณฺเห ชาโต (เกิดเวลาเช้า) สายณฺเห ชาโต (เกิดเวลาเย็น) อรรถว่า สมุหะ พ้นจากส่วนประกอบแม้ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ก็ย่อมปรากฏโดยภาวะแห่งอาธาระของส่วนประกอบทั้งหลาย โดยรูปสำเร็จเพียงความดำริ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า กิ่งที่ต้นไม้ ข้าวเหนียวตั้งขึ้นที่กองข้าวเหนียว. กุศลจิตฝ่ายกามาวจร ย่อมเกิดในกาลใดและกลุ่มธรรมใด แม้สัมปยุตธรรมมีผัสสะเป็นต้น ย่อมมีในกาลนั้นและกลุ่มธรรมนั้นนั่นแหละ. ในข้อนั้น มีอธิบายเพียงเท่านี้. อนึ่ง ภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่กล่าวไว้ในอภิธรรมนั้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมยศัพท์ กล่าวคือ ขณะ สมวายะ และเหตุ. เหมือนอย่างว่า ท่านกำหนดกิริยาไปด้วยการกระทำการรีดน้ำนมโค ในคำว่า เมื่อแม่โคถูกรีดน้ำนมแล้ว นายโคบาลก็ไป เมื่อแม่โคมีน้ำนม นายโคบาลก็มานี้ฉันใด แม้ในพระอภิธรรมนี้ก็ฉันนั้น เมื่อกล่าวว่า ยสฺมึ สมเย เป็นอันเข้าใจเนื้อความดังนี้ว่า สำหรับปรมัตถ์ จะเว้นสัตว์ก็ไม่ได้ จะไม่มีสัตว์ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สมยศัพท์ ท่านกำหนดกิริยาคืออุปาทขณะแห่งจิต และกิริยาคือการเสวยสภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้น โดยมิใช่กิริยาแห่งสัตว์. อนึ่ง เมื่อสมัยใด เมื่อขณะที่ ๙ ใด เมื่อเหตุมีโยนิโสมนสิการเป็นต้นใด หรือเมื่อความพรั่งพร้อมแห่ง

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 36

ปัจจัยใดมีอยู่ กามาวจรกุศลจิตย่อมเกิดขึ้น แม้สภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็มีในสมัยนั้น ในขณะนั้น ในเหตุนั้น และในความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยนั้นแล เพราะฉะนั้น จึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่องอรรถนั้น.

ส่วนในพระวินัย สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า บุคคลย่อมอยู่เพราะเหตุแห่งข้าว เพราะเหตุแห่งการเชื้อเชิญ และมีกรณะเป็นอรรถ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า บุคคลย่อมตัดด้วยขวาน ย่อมขุดด้วยจอบ. จริงอยู่ สมัยในการบัญญัติสิกขาบทอันใด แม้พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ก็เข้าใจได้ยาก ด้วยสมัยนั้น อันเป็นกรณะและเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการล่วงละเมิด จึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์ สอบถามและติเตียนบุคคลผู้เป็นต้นเหตุ เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยไม่ล่วงเลยเวลา กล่าวคือ สมัยที่ก่อเรื่องนั้นๆ และไม่เพ่งถึงเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท เหมือนบัญญัติตติยปาราชิกเป็นต้น แล้วประทับอยู่ในที่นั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติไว้ในพระวินัยเพื่อส่องอรรถนั้น. แต่สมยศัพท์ที่มีอัจจันตสังโยคเป็นอรรถย่อมมีในที่นี้ และในที่อื่นซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้. จริงอยู่ ในสมัยใด อุทานนี้เกิดพร้อมด้วยเหตุอันเป็นสมุฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยการพิจารณาธรรมอันมีอริยวิหารธรรมเป็นประธาน ตลอดสมัยนั้นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงกระทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติ ในพระสูตรนี้ เพื่อส่องอรรถแห่งอุปโยคะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า มาสํ อชฺเฌติ (ย่อมสาธยายตลอดเดือน).

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 37

ตํ ตํ อตฺถมเวกฺขิตฺวา

ภุมฺเมน กรเณน จ

อญฺตฺถ สมโย วุตฺโต

อุปโยเคน โส อิธ.

ท่านพระอานนท์พิจารณาถึงอรรถนั้นๆ แล้วกล่าวสมยศัพท์ไว้ในสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ด้วยสัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ สมยศัพท์นั้น ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ในวินัยปิฎกนี้ ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนพระโปราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นิเทศนั่นเป็นความต่างกันเพียงโวหารว่า ยสฺมึ สมเย, ว่า เตน สมเยน, หรือว่า เอกํ สมยํ มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติทุกๆ บท. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าว เอกํ สมยํ ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.

บทว่า ภควา เป็นคำบ่งถึงครู. จริงอยู่ ชาวโลกเรียกครูว่า ภควา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้วิเศษโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิตจงเฉลิมพระนามว่า ภควา แม้พระโปราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า

ภควาติ วจนํ เสฏฺํ

ภควาติ วจนมุตฺตมํ

ครุคารวยุตฺโต โส

ภควา เตน วุจฺจติ.

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่ความเคารพโดยฐานครู เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำกล่าวว่า ประเสริฐสุด ท่านกล่าวว่า เสฏฐะ เพราะเพียบพร้อมด้วยพระคุณอันประเสริฐ. อีกอย่างหนึ่ง อรรถชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 38

วจนะ เพราะอันเขากล่าว. บทว่า ภควาติ วจนํ เสฏฺํ ความว่า อรรถที่ควรกล่าวด้วยคำว่า ภควา นี้ เป็นอรรถประเสริฐ. แม้ในคำว่า ภควาติ วจนมุตฺตมํ นี้ พึงทราบอรรถโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าประกอบด้วยความเป็นครู เพราะประกอบด้วยคุณฐานครู หรือชื่อว่าประกอบด้วยความเคารพ เพราะมีพระกรุณาฐานครูเป็นพิเศษ ภควา นี้ พึงทราบว่า เป็นชื่อของผู้วิเศษด้วยคุณผู้สูงสุดกว่าสัตว์และผู้ควรเคารพโดยฐานครู. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งบทว่า ภควา โดยในที่มาแล้วในนิเทศว่า

ภคี ภชี ภาคี วิภตฺตวา อิติ

อกาสึ ภคฺคนฺติ ครูติ ภาคฺยวา

พหูหิ าเยหิ สุภาวิตตฺตโน

ภวนฺตโค โส ภควาติ วุจฺจติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตเฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะเป็นผู้มีโชค เป็นผู้เสพที่สงัด เป็นผู้มีส่วนควรรับปัจจัย เป็นผู้จำแนก ได้กระทำการหักภคธรรม เป็นครู เป็นผู้มีบุญบารมี เป็นผู้บรมพระองค์อย่างดีด้วยญายธรรมอันมาก และเป็นผู้ถึงที่สุดภพ.

และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า

ภาคฺยวา ภคฺควา ยุตฺโต

ภคฺเคหิ จ วิภตฺตวา

ภตฺตวา วนฺตคมโน

ภเวสุ ภควา ตโต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะเป็นผู้มีภาคยะ เป็นผู้หักกิเลส เป็นผู้ประกอบด้วยภคธรรม เป็นผู้จำแนก เป็นผู้คบ และเป็นผู้คายการไปในภพเสียได้.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 39

ก็อรรถแห่งบทว่า ภควา นั้นๆ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะคบภาคธรรม หรือคายภคธรรม. จริงอยู่ เพราะตถาคตย่อมคบ สมาคม เสพ ทำให้มากซึ่งบารมีธรรม มีทานและศีลเป็นต้น และอุตตริมนุสสธรรมมีฌานและวิโมกข์เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะคบ คือ ปรารถนาอย่างยิ่งซึ่งธรรมเหล่านั้นนั่นแหละว่า อย่างไรหนอ ธรรมเหล่านี้ จะพึงเกิดขึ้นในสันดานของเวไนยสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะคาย คือ ถ่ายออกซึ่งความเป็นใหญ่และยศ กล่าวคือ ภคธรรม ไม่อาลัยคายทิ้งเสีย เหมือนบุคคลคายทิ้งก้อนเขฬะฉะนั้น จริงอย่างนั้น พระตถาคตสำคัญสิริราชสมบัติแห่งจักรพรรดิอันอยู่ในพระหัตถ์ ความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ เช่นกับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศอันรุ่งโรจน์ด้วยรัตนะ ๗ อย่างเป็นที่อาศัยแห่งจักรพรรดิสมบัติว่าเหมือนถูกไฟไหม้ ไม่ทรงอาลัยละ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า ภควา เพราะคายภคธรรมมีสิริเป็นต้นแม้เหล่านี้. ชื่อว่า ภคา เพราะไป คือ เป็นไปพร้อมนักษัตร ชื่อว่า ภา เหล่านั้น คือ เป็นความงามอันอาศัยโลกอันเป็นที่รองรับ เช่น ภูเขาสิเนรุ ภูเขายุคนธร อุตตรกุรุทวีป และป่าหิมพานต์เป็นต้น เพราะเป็นที่ตั้งอยู่ตลอดกัป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคายคือละภคธรรมแม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะอันเนื่องกับภคธรรมนั้น เพราะก้าวล่วงการอยู่ของสัตว์ผู้อาศัยอยู่ในโลกนั้นแล. แม้เมื่อเป็น

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 40

อย่างนั้น ก็พึงทราบอรรถของบทว่า ภควา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ภควา เพราะคายภคธรรม.

ก็ด้วยเหตุเพียงนี้ บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุตํ พระเถระเมื่อจะกล่าวธรรมตามที่สดับมา จึงกระทำโครงร่างแห่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงปลอบโยนชนผู้เบื่อหน่ายด้วยการไม่ได้เฝ้าพระศาสดาให้เบาใจว่า นี้ไม่ใช่ปาพจน์ คือ ธรรมวินัยที่พระศาสดาล่วงไปแล้ว นี้ เป็นศาสดาของพวกท่าน. สมจริง ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นพระศาสดาของพวกเธอ ต่อเมื่อเราล่วงไปแล้ว.

ด้วยคำว่า เอกํ สมยํ ภควา นี้ พระเถระเมื่อแสดงว่า ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระชนม์อยู่ จึงสาธกการปรินิพพานด้วยรูปกาย. ด้วยเหตุนั้น พระเถระให้ชนผู้มัวเมาเพราะมัวเมาในชีวิตให้สลดใจ และให้เกิดความอุตสาหะในพระสัทธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมมีหลายอย่างเช่นนี้ ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณมีพระกายเสมอด้วยโครงร่างเพชร เสด็จปรินิพพานแล้ว ใครอื่นจะพึงให้เกิดความหวังในชีวิต.

อนึ่ง เมื่อกล่าวว่า เอวํ จึงแสดงอ้างเอาเทศนาสมบัติ เพราะพระสูตรทั้งสิ้นที่กล่าวอยู่แสดงอ้างถึงบทว่า เอวํ ดังนี้. ด้วยบทว่า เม สุตํ นี้ พระเถระแสดงถึงสาวกสมบัติและสวนสมบัติ เพราะแสดงถึงภาวะที่ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาเป็นธรรมภัณฑาคาริกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในเอตทัคคะในฐานะทั้ง ๕ สดับมาแล้ว และเพราะแสดงความนี้ว่า ก็

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 41

พระสูตรนั่นแลเราได้สดับมาแล้ว มิใช่ไม่ได้สดับ และไม่ใช่นำโดยสืบๆ กันมาเท่านั้น. ด้วยบทว่า เอกํ สมยํ นี้ พระเถระแสดงถึงกาลสมบัติ เพราะแสดงถึงภาวะที่ประดับด้วยพุทธุปบาทกาลตรงกับสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา. ก็กาลสัมปทามีพุทธุปบาทกาลเป็นที่ยิ่ง. ด้วยบทว่า ภควา นี้ พระเถระแสดงถึงเทสกสมบัติ เพราะแสดงถึงภาวะที่พระองค์เป็นผู้วิเศษด้วยคุณเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์และเป็นครู.

บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ใกล้กองทรายใหญ่ อธิบายว่า ที่กองทรายใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง ทรายท่านเรียกว่า อุรุ. เขตแดนท่านเรียกว่า เวลา. พึงเห็นเนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขานำมาเพราะล่วงเขตแดน ชื่อว่า อุรุเวลา.

เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ดาบสหมื่นหนึ่งอยู่ในประเทศนั้นกระทำกติกาวัตรว่า กายกรรมและวจีกรรมย่อมปรากฏแม้แก่ชนเหล่าอื่น ส่วนมโนกรรมไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น ผู้ใดตรึกถึงมิจฉาวิตก ผู้นั้นชื่อว่าจงโจทย์ตนด้วยตนเอง จงใช้ใบไม้ม้วนตักทรายมาเกลี่ยลงในที่นี้ นี้เป็นทัณฑกรรมของผู้นั้น. ต่อแต่นั้น ผู้ใดตรึกถึงวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นจะนำทรายมาด้วยห่อที่ทำด้วยใบไม้แล้วเกลี่ยลงในที่นั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเกิดเป็นกองทรายใหญ่โดยลำดับในที่นั้น. แต่นั้น ปัจฉิมาชนตาชน ล้อมกองทรายใหญ่นั้นสร้างเป็นเจดีย์สถาน ท่านหมายเอาสถานที่นั้น จึงได้กล่าวดังนี้ว่า บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ใกล้กองทรายใหญ่ พึงเห็นความว่า ที่กองทรายใหญ่.

บทว่า วิหรติ เป็นบทแสดงความพรั่งพร้อมด้วยวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถวิหาร ทิพยวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 42

โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้ บทว่า วิหรติ พึงทราบว่า เป็นบทแสดงการประกอบอิริยาบถ กล่าวคือ การนั่ง ในบรรดาอิริยาบถ เช่น การยืน การนั่ง การเดิน และการนอน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิหรติ นั้น พึงทราบว่า เป็นการแสดงความพรั่งพร้อมแห่งอริยวิหาร. ในอิริยาบถเหล่านั้น เพราะเหตุที่บุคคลตัดความลำบากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง แล้วนำอัตภาพไป คือ ให้เป็นไปโดยไม่ให้ทรุดโทรม เพราะฉะนั้น ในที่นี้ พึงทราบอรรถบทว่า วิหรติ โดยอิริยาบถวิหาร. ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำไป ทรงนำเข้าไป ทรงนำเข้าไปใกล้ ได้แก่ ให้เกิดหิตประโยชน์หลายประการแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพยวิหารเป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อว่าด้วยทิพยวิหารเป็นต้น พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า นำไปต่างๆ.

บทว่า นชฺชา ความว่า ชื่อว่านที เพราะไหล คือ ไหลไป. การไหลไปของแม่น้ำนั้น อธิบายว่า แม่น้ำที่ไหลไป. บทว่า เนรญฺชราย ความว่า น้ำของแม่น้ำนั้นไม่มีโทษ เพราะฉะนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า เนลํชลาย กล่าวเสียว่า เนรญฺชราย เพราะแปลง อักษรให้เป็น อักษร. อธิบายว่า น้ำเว้นจากโทษมีเปือกตมสาหร่ายและแหนเป็นต้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อควรพูดว่า นีลชลาย กล่าวเสียว่า เนรญฺชราย อีกอย่างหนึ่ง ชื่อนั้นนั่นแหละพึงทราบว่า เป็นชื่อแม่น้ำนั้น. เพื่อแสดงสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โพธิรุกฺขมูเล ดังนี้.

ในบทว่า โพธิรุกฺขมูเล นั้น มรรคญาณเรียกว่า โพธิ ในประโยคนี้ว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ าณํ ดังนี้. สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 43

โพธิ ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส ผู้มีปัญญาดังแผ่นดินอันประเสริฐบรรลุโพธิญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุโพธิแม้ทั้งสองอย่างนี้ที่ต้นไม้นั้น เพราะเหตุนั้น แม้ต้นไม้นั้น ย่อมได้นามว่า โพธิพฤกษ์. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า โพธิ เพราะตรัสรู้โพชฌงค์ ๗. แม้ต้นไม้นั้น ก็ได้นามว่าโพธิพฤกษ์ เพราะพระองค์เมื่อตรัสรู้จำต้องอาศัยต้นไม้นั้น แห่งโพธิพฤกษ์นั้น. บทว่า มูเล แปลว่า ที่ใกล้. จริงอยู่ ศัพท์ว่า มูล นี้ ปรากฏที่มูลคือรากเดิมในประโยคมีอาทิว่า พึงถอนราก โดยที่สุดแม้เพียงก้านแฝก. ปรากฏในเหตุอันไม่ทั่วไป ในประโยคมีอาทิว่า โลภเจตสิก เป็นอกุศลมูล. ปรากฏในที่ใกล้ ในประโยคมีอาทิว่า เวลาเที่ยงวันเงาแผ่ไป เวลาอับลม ใบไม้ร่วงหล่นมีกำหนดเพียงใด ใกล้ต้นไม้ มีกำหนดเพียงนั้น. มูลศัพท์แม้ในที่นี้ ก็ประสงค์เอาในที่ใกล้ เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า ที่ควงคือที่ใกล้แห่งโพธิพฤกษ์. บทว่า ปมาภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเป็นครั้งแรก อธิบายว่า ก่อนกว่าเขาทั้งหมดทีเดียว.

ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก เมื่อเริ่มตั้งคำเริ่มต้นแห่งอุทานเทศนา จึงเป็นอันประกาศ แสดงอ้างถึงกาลประเทศ และผู้แสดงถึงกาลและประเทศพร้อมคุณพิเศษ.

ในข้อนี้ มีผู้ทักท้วงว่า ก็เพราะเหตุไร เมื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย จึงกล่าวถึงคำเริ่มต้น. ควรทำการรวบรวมเฉพาะพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ? เฉลยว่า เพื่อให้พระธรรมเทศนาถึงพร้อมด้วยความดำรงมั่น ไม่ฟั่นเฟือน และเป็นที่ตั้งศรัทธา. จริงอยู่ เทศนาที่ดำรงโดยสืบต่อกันมาด้วยกาล ประเทศ ผู้แสดง และวัตถุเป็นต้น ดำรง

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 44

อยู่ตลอดกาล ไม่ฟั่นเฟือน และเป็นที่ตั้งศรัทธา ดุจการวินิจฉัยข้อบัญญัติที่ผูกพันด้วยประเทศ กาล ผู้ทำเหตุ และนิมิต. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแล เมื่อพระมหากัสสปะทำการถามในประเทศเป็นต้น โดยอาทิว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุทานครั้งแรกไว้ที่ไหน? ท่านพระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก เมื่อจะทำการวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น จึงกล่าวคำเริ่มต้นแห่งอุทานโดยนัยมีอาทิว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงคำเริ่มต้นเป็นการประกาศสัตถุสมบัติ ความพร้อมมูลแห่งพระศาสดา. ความสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าย่อมมี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต ไม่มีการรจนาไว้ก่อน การอนุมาน การเล่าเรียนนิกาย และการคาดคะเน. ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีความต้องการ ด้วยการรจนาไว้ก่อนเป็นต้น เพราะพระองค์มีประมาณเป็นเอกในไญยธรรม เหตุที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระญาณอันไม่มีปัจจัยอะไรๆ ขัดขวางในที่ทุกสถาน. ความสำเร็จเป็นพระขีณาสพ ย่อมมีเพราะไม่มีความติดอยู่ ในอาจริยมุฏฐิ (ปิดบังอำพราง) ธรรมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) คำสอน และสาวก. เพราะว่าผู้สิ้นอาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ในที่ไหนๆ ก็ไม่มีอาจริยมุฏฐิเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้บริสุทธิ์ดีจึงดำเนินการอนุเคราะห์เหล่าสัตว์. ดังนั้น ความสำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อแรก ย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์และหมดจดดี อันส่องถึงความไม่มีอวิชชาและตัณหา อันประทุษร้ายทิฏฐิสมบัติ และศีลสมบัติเป็นโทษในการแสดง และปรากฏชัดโดยญาณสัมปทากับปหานสัมปทา อนึ่ง ความสำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อหลัง ย่อมมีเพราะสำเร็จโดยความไม่มีความงมงายในอันตรายิกธรรมและนิยยานิกธรรมนั้นแล. ความประกอบด้วย

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 45

เวสารัชชญาณ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และการบำเพ็ญประโยชน์ส่วนพระองค์และประโยชน์ส่วนผู้อื่น เป็นอันประกาศแล้วด้วยคำเริ่มต้น เพราะแสดงถึงพระธรรมเทศนา ด้วยปฏิภาณอันเกิดขึ้น ตามฐานะโดยสมควรแก่อัธยาศัยของบริษัทผู้ประชุมกันในที่นั้นๆ. แต่ในที่นี้พึงประกอบความว่า ด้วยการประกาศการเสวยวิมุตติสุข และมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท. เพราะฉะนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า กล่าวคำเริ่มต้น เพื่อประกาศสัตถุสมบัติ.

อนึ่ง กล่าวคำเริ่มต้น เพื่อประกาศศาสนสมบัติ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บำเพ็ญกิจทั้งปวง ซึ่งกำหนดด้วยพระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ ไม่มีข้อปฏิบัติที่ไร้ประโยชน์ หรือ (มุ่ง) ประโยชน์ส่วนพระองค์. เพราะฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมแม้ทั้งสิ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งปวง อันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างเดียว ที่ตรัสอยู่ตามที่เป็นไป ชื่อว่าศาสนา เพราะตามสอนสัตว์ทั้งหลายตามสมควรด้วยประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นคำรจนาของกวี พระพุทธจริยานี้นั้น ท่านประกาศไว้ตามสมควร ด้วยคำเริ่มต้นในที่นั้นๆ พร้อมกับกาละ เทสะ ผู้แสดงและประเทศ. แต่ในที่นี้พึงประกอบว่า ด้วยการเสวยวิมุตติสุขในการตรัสรู้ยิ่ง และด้วยมนสิการปฏิจจสมุปบาท. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กล่าวคำเริ่มต้นเพื่อประกาศศาสนสมบัติ. อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวคำเริ่มต้น เพื่อแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็นประมาณ ด้วยการประกาศภาวะที่ศาสดาเป็นประมาณ. และการแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็นประมาณนั้น พึงทราบตามกระแสแห่งนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 46

จริงอยู่ ด้วยคำว่า ภควา นี้ เป็นอันประกาศความนี้โดยประการทั้งปวง ด้วยการแสดงถึงการละมลทินคือกิเลสทั้งปวง มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น และการละโทษมีทุจริตเป็นต้น ด้วยการแสดงความที่พระตถาคตเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ และด้วยการแสดงถึงการประกอบด้วยคุณวิเศษ มีพระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณเป็นต้น อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำแสดงเพียงมุขแห่งการประกอบคำเริ่มต้นในข้อนี้.

ก็พึงทราบคำที่ท่านเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ จนถึงคำว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ นี้ เป็นคำเริ่มต้นของอุทานนี้. จริงอย่างนั้น คำนั้นเป็นคำที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในคราวสังคายนา เพื่อประกาศการปฏิบัติทางกายและทางใจของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จำเดิมแต่ต้นตามที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาจนเปล่งพระอุทานนี้.

ถามว่า ก็คำว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ เป็นต้น ควรเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะคนอื่นนอกจากพระศาสดาแล้ว ไม่สามารถจะแสดงปฏิจจสมุปบาทได้มิใช่หรือ? ตอบว่า ข้อนั้นจริง เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำปฏิจจสมุปบาทไว้ในพระทัย โดยการพิจารณาสภาวธรรมที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ฉันใด พระธรรมสังคาหกมหาเถระทั้งหลาย สังคายนาคำเริ่มต้นแห่งอุทานนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาทและสีหนาทสูตรเป็นต้น เพื่อปลุกเหล่าสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งสัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทนั้น และตรัสมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ด้วยสามารถแห่งการกระทำตามอาการแห่งพระดำรัสที่ทรงแสดงไว้ เพราะเหตุนั้น พึงตก

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 47

ลงในข้อนี้ว่า คำตามที่กล่าวไว้เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์นั่นเอง แม้ในสูตรอื่นจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในข้อนี้ พึงทราบสุตตนิกเขปบท (การตั้งพระสูตร) ๔ ประการ คือ เกิดด้วยอัธยาศัยของตน ๑ เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เกิดด้วยอำนาจคำถาม ๑ เกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น ๑. เหมือนอย่างว่า พระสูตรแม้ต่างโดยหลายร้อยหลายพันสูตร ก็ไม่ล่วงเลยภาวะ ๑๖ อย่าง โดยปัฏฐานนัย มีสังกิเลสภาคิยนัยเป็นต้น ฉันใด พระสูตรแม้ทั้งหมดนั้นก็ฉันนั้น ไม่ล่วงเลยภาวะ ๔ ประการ โดยสุตตนิกเขปนัย มีอัตตัชฌาสยนัย (อัธยาศัยของตน) เป็นต้นแล. ก็ในข้อนี้ การตั้งพระสูตรอันเกิดด้วยอัธยาศัยของตน และเกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น ย่อมมีประเภทของการเกี่ยวข้องกับที่เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่นและที่เกิดด้วยอำนาจคำถาม เพราะเกิดด้วยอนุสนธิแห่งอัธยาศัย และอนุสนธิแห่งคำถามก็จริง ถึงอย่างนั้น การตั้งพระสูตรที่เกิดจากอัธยาศัยของตน และที่เกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันและกัน เพราะฉะนั้น ปัฏฐานนัยจึงไม่มีส่วนเหลือเลย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า สุตตนิกเขป ๔ ด้วยอำนาจมูลนิกเขปแห่งนิกเขปที่เหลือซึ่งมีอยู่ เพราะหยั่งลงในภายในแห่งปัฏฐานนัยนั้น.

ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ การตั้งลง ชื่อนิกเขป นิกเขปแห่งพระสูตร ชื่อว่าสุตตนิกเขป อธิบายว่า สุตตเทศนา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่านิกเขป เพราะเขาตั้งไว้ นิกเขปคือสูตร ชื่อว่าสุตตนิกเขป. อัธยาศัยของตน ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ สุตตนิกเขปนั้น ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ เพราะมีอัธยาศัยแห่งตนเป็นเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ เพราะมีตนเป็น

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 48

อัธยาศัย. แม้ในอัธยาศัยของผู้อื่นก็นัยนี้เหมือนกัน. อำนาจแห่งคำถาม ชื่อปุจฉาวสะ สุตตนิกเขปนั้น ชื่อว่าปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำถาม. การเกิดขึ้นแห่งเนื้อความอันเป็นเรื่องแห่งสุตตเทศนา ชื่อว่าอัตถุปปัตติ สุตตนิเขปชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ เพราะมีการเกิดเรื่องขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง อัตถุปปัตตินั้นแหละ ชื่ออัตถุปปัตติกะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่านิกเขป เพราะเป็นเหตุตั้งพระสูตร คือ อัธยาศัยของตนเป็นต้น. ส่วนในการกำหนดอรรถนี้ พึงทราบอรรถในข้อนี้อย่างนี้ว่า อัธยาศัยของตน ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ อัธยาศัยของผู้อื่น ชื่อว่าปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะเขาถาม คือ เรื่องที่จะต้องถาม. คำของผู้รับธรรมที่เป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่าปุจฉาวสะ ปุจฉาวสะนั่นแหละ ท่านกล่าวเป็นปุงลิงค์ว่า ปุจฉาวสิโก โดยมุ่งถึงศัพท์ว่า นิกเขป. อนึ่ง อัตถุปปัตตินั่นแหละ ชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ.

ก็ในข้อนี้มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะไม่มุ่งถึงเหตุมีความแก่กล้าอินทรีย์เป็นต้นของคนอื่น จึงควรมีภาวะแห่งสุตตนิกเขปแผนกหนึ่งของอัตตัชฌาสยะ เพราะประกาศเทศนา เพื่อตั้งแบบแผนแห่งธรรมตามอัธยาศัยของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็สุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของคนอื่น และที่เกิดด้วยคำถาม เป็นไปในการเกิดขึ้นแห่งอัธยาศัย และคำถามของผู้อื่น อันเป็นเหตุให้ประกาศธรรมเทศนาอย่างไรจึงไม่ผิด ในการเกิดเรื่องขึ้น หรือว่าเมื่อสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอำนาจคำถาม และที่เกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น เป็นไปโดยคล้อยตามอัธยาศัยของผู้อื่น อย่างไรจึงไม่ผิดในอัธยาศัยของผู้อื่น? ข้อนั้นไม่จำต้องทักท้วง. ก็เพราะท่านถือเอาการเกิดขึ้นอันเป็นเหตุแสดงพระสูตร ซึ่งพ้นจากอภินิหาร และการสอบถามเป็นต้น และการวินิจฉัยเป็นต้นของคนอื่น โดยเป็นอัตถุปปัตติ

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 49

เหตุเกิดเรื่องขึ้น จึงถือเอาสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น และที่เกิดด้วยอำนาจคำถามไว้ส่วนหนึ่งต่างหาก. จริงอย่างนั้น เหตุในการแสดงคุณและโทษ และการเกิดขึ้นแห่งอามิสแห่งพรหมชาลสูตร และธรรมทายาทสูตร เป็นต้น ท่านเรียกว่า อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องขึ้น. เว้นคำถามของคนอื่นเสีย อรรถที่ท่านแสดงเฉพาะอัธยาศัยให้เป็นนิมิตนี้ปรากฏว่า ปรัชฌาสยะ เกิดจากอัธยาศัยของผู้อื่น ที่ท่านแสดงด้วยอำนาจคำถาม นี้ปรากฏว่า ปุจฉาวสิกะ เกิดด้วยอำนาจคำถามแล.

ในนิกเขป ๔ อย่างนั้น อุทานเหล่านี้ คือ โพธิสูตร ๓ สูตร มีสูตรแรกเป็นต้น มุจจลินทสูตร อายุสังขาโรสัชชนสูตร ปัจจเวกขณสูตร และปปัญจสัญญาสูตร จัดเป็นอัตตัชฌาสยนิกเขป. อุทานเหล่านี้ คือ หุหุงกสูตร พราหมณชาติกสูตร พาหิยสูคร จัดเป็นปุจฉาวสิกนิกเขป. อุทานเหล่านี้ คือ ราชสูตร สักการสูตร อุจฉาทนสูตร ปิณฑปาติกสูตร สิปปสูตร โคปาลกสูตร สุนทริกาสูตร มาตุสูตร สังฆเภทสูตร อุทปานสูตร ตถาคตุปปาทสูตร โมเนยยสูตร ปาฏลิคามิยสูตร และทัพพสูตร ๒ สูตร จัดเป็นอัตถุปปัตติกนิกเขป. อุทานเหล่านี้ คือ ปาลิเลยยสูตร ปิยสูตร นาคสมาลสูตร และวิสาขาสูตร เป็นทั้งอัตตัชฌาสยนิกเขป และปรัชฌาสยนิกเขป. สูตรที่เหลืออีก ๕๑ สูตร จัดเป็นปรัชฌาสยนิกเขป. พึงทราบความแปลกกันแห่งนิกเขปของอุทานเหล่านั้น ด้วยอำนาจอัตตัชฌาสยนิกเขปเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในที่นี้ อุทานเหล่าใดพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อหน้าภิกษุทั้งหลาย อุทานเหล่านั้นเป็นพระสูตรตามที่ตรัสไว้ ภิกษุเหล่านั้นท่องให้คล่องปาก เพ่งได้ด้วยใจ ตรัสไว้แก่ท่านพระธรรมภัณฑาคาริก. ส่วนอุทานเหล่าใด

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 50

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสต่อหน้าภิกษุทั้งหลาย แม้อุทานเหล่านั้น ภายหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ท่านธรรมภัณฑาคาริกอีก. พึงทราบว่า อุทานเหล่านั้นแม้ทั้งหมดดังกล่าวมานี้ ท่านพระอานนท์ทรงจำได้หมด และบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ภายหลังต่อมา ได้ยกขึ้นสู่สังคายนาว่า อุทานนั่นเอง ในคราวทำมหาสังคายนาครั้งแรก.

ก็บทว่า เตน สมเยน ในบทมีอาทิว่า เตน โข ปน สมเยน เป็นตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า โข ปน เป็นนิบาต อธิบายว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น. ก็ในสมัยไหน? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ครั้งแรก ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ตลอดสมัยใด ในสมัยนั้น. บทว่า สตฺตาหํ แปลว่า ๗ วัน คือ สัปดาห์หนึ่ง. บทว่า สตฺตาหํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอด. เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำราญอยู่ด้วยสุขอันเกิดผลสมาบัติส่วนเดียว โดยไม่ขาดสายตลอดสัปดาห์นั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวทุติยาวิภัตติด้วยอำนาจอัจจันตสังโยคะว่า สตฺตาหํ แปลว่า ตลอดสัปดาห์. บทว่า เอกปลฺลงฺเกน ความว่า โดยนั่งขัดสมาธิท่าเดียวเท่านั้น ไม่ได้เสด็จลุกขึ้นสักคราวเดียว ตั้งแต่เวลาที่ประทับนั่งบนวชิราอาสน์อันเป็นอปราชิตบัลลังก์อันประเสริฐ ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคต ในวันวิสาขปุณณมี เพ็ญเดือน ๖. บทว่า วิมุตฺติสุขํ ปฏิสํเวที ความว่า พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือ สุขเกิดแต่ผลสมาบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๕ คือ ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ บรรดาวิมุตติ ๕ เหล่านั้น ความหลุดพ้น โดยหลุดพ้นจากธรรมอันเป็น

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 51

ข้าศึกนั้นๆ ด้วยองค์คุณนั้นๆ มีการบริจาคไทยธรรมเป็นต้น และด้วยองค์แห่งวิปัสสนา มีการกำหนดนามรูปเป็นต้น ตราบเท่าที่องค์นั้นๆ ยังเป็นไปโดยไม่มีการเสื่อม จัดเป็นปหานะ. การละ คือ การหลุดพ้นจากมัจฉริยะและโลภะเป็นต้นด้วยทาน. จากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยศีล, จากสักกายทิฏฐิด้วยการกำหนดนามรูป. จากทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุ ไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัยและธรรมที่ไม่ใช่ปัจจัย จากความเป็นผู้สงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัย อันเป็นส่วนอื่นของนามรูปนั้นนั่นแหละ, จากการยึดถือว่าเรา ว่าของเรา ด้วยการพิจารณาถึงรูปกลาปะ รูปเป็นกลุ่มเป็นก้อน, จากความสำคัญในธรรมที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดว่ามรรคและมิใช่มรรค, จากอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดแห่งรูปนาม, จากสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับรูปนาม, จากความสำคัญในสิ่งที่มีภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นว่าเป็นภัย, จากความสำคัญว่า น่ายินดีด้วยการเห็นว่าเป็นโทษ, จากความสำคัญรูปว่า น่าเพลิดเพลินด้วยการเห็นรูปว่าน่าเบื่อหน่าย. จากความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะหลุดพ้นด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณคือความใคร่เพื่อจะหลุดพ้น, จากความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ, จากภาวะอันเป็นปฏิโลม (คือแย้ง) ในธรรมฐิติและพระนิพพานด้วยอนุโลมญาณ และพ้นจากภาวะมีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังควิมุตติ.

อนึ่ง ความหลุดพ้นที่หมายรู้ด้วยการไม่เกิดขึ้นแห่งนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น และปัจจนิกธรรม ธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น ด้วยสมาธิอันต่างด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ตราบเท่าที่สมาธินั้นดำเนินไปโดยไม่เสื่อม นี้ชื่อว่า วิกขัมภนวิมุตติ.

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 52

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน โดยภาวะที่เกิดขึ้นไม่ได้โดยสิ้นเชิงอีก แห่งการยึดถือด้วยกิเลสฝ่ายสมุทัยที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทิฏฺฐิคตานํ ปหาย เพราะละทิฏฐิตามสมควรในสันดานแห่งพระอริยเจ้าผู้ดำรงอยู่ในมรรคนั้นๆ เพราะท่านทำอริยมรรค ๔ ให้เกิด นี้ชื่อว่า สมุจเฉทวิมุตติ.

ก็ภาวะที่กิเลสสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ. จิตที่หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะสลัดสังขตธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า นิสสรณวิมุตติ. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาการหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งผลจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า สุขปฏิสํเวที ความว่า เป็นผู้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือ สุขเกิดแต่ผลสมาบัติ.

และบทว่า วิมุตฺตํ ได้แก่ ภาวะที่จิตหลุดพ้นด้วยอำนาจสงบระงับอุปกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบจิตนั่นแหละว่าหลุดพ้นแล้วอย่างนั้น. สุขอันเกิดหรือสัมปยุตด้วยวิมุตตินั้น ชื่อว่า วิมุตติสุข. ก็ในที่นี้ แม้อุเบกขาก็พึงทราบว่าสุขเหมือนกัน เพราะพระบาลีว่า ยายํ ภนฺเต อุเปกฺขา สนฺเต สุเข วุตฺตา ภควตา ท่านผู้เจริญ อุเบกขานี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเมื่อสุขมี. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาสัมโมหวิโนทนีว่า อุเปกฺขา ปน สนฺตตฺตา สุขมิจฺเจว ภาสิตา ก็อุเบกขาท่านกล่าวว่าสุขเหมือนกัน เพราะมีความสงบ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าอรหัตสมาบัติอันประกอบด้วยณานที่ ๔ ไม่เข้าสมาบัติอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าไปสงบสังขารทุกข์ ท่านเรียกว่าสุข เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เตสํ วูปสโม สุโข การเข้าไปสงบสังขารเป็นสุข

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 53

ฉันใด เฉพาะปฏิปัสสัทธิวิมุตติที่ได้ในผลอันเลิศ (อรหัตผล) เพราะ เป็นความสงบกิเลสและทุกข์ทั้งสิ้น พึงทราบว่าสุขในที่นี้ ฉันนั้น.

วิมุตติสุข นี้นั้นมี ๒ อย่าง โดยการจำแนกความเป็นไปของผลจิต คือ ในมรรควิถี ๑ ในกาลอื่น ๑. ผลจิต ๓ หรือ ๒ (ขณะ) ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ อันเป็นผลของวิมุตติสุขนั้นๆ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับอริยมรรคแต่ละมรรค เพราะโลกุตรกุศลมีวิบากในลำดับ. ในคราวที่อนุโลมจิต ๒ ดวงเกิดในชวนวาระที่อริยมรรคเกิดขึ้น จิตดวงที่ ๓ จัดเป็นโคตรภูจิต ดวงที่ ๔ จัดเป็นมรรคจิต ต่อแต่นั้นไป เป็นผลจิต ๓ ดวง. แต่ในคราวที่อนุโลมจิตเกิดขึ้น ๓ ดวง จิตดวงที่ ๔ เป็นโคตรภูจิต ดวงที่ ๕ เป็นมรรคจิต ต่อแต่นั้นไป เป็นผลจิต ๒ ดวง. จิตดวงที่ ๔ ที่ ๕ ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจอัปปนา ด้วยประการฉะนี้ ต่อแต่นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะใกล้ต่อภวังคจิต. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้จิตดวงที่ ๖ ก็เป็นอัปปนา. คำนั้นท่านค้านไว้ในอรรถกถาแล้ว. พึงทราบผลจิตในมรรควิถีด้วยประการฉะนี้. แต่ผลจิตในกาลอื่น ย่อมเป็นไปด้วยผลสมาบัติ และที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านสงเคราะห์ด้วยผลสมาบัตินั้นเอง. ก็ผลสมาบัตินี้นั้น ว่าโดยอรรถ เป็นวิบากแห่งโลกุตรกุศลจิต อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ พึงทราบว่าเป็นอัปปนา.

ถามว่า ผลสมาบัตินั้น พวกไหนเข้าได้ พวกไหนเข้าไม่ได้? ตอบว่า ปุถุชนทั้งหมดเข้าไม่ได้เพราะยังไม่ได้บรรลุ อนึ่ง พระอริยเจ้าชั้นต่ำก็เหมือนกัน เข้าผลสมาบัติขั้นสูงไม่ได้ แม้พระอริยเจ้าชั้นสูงก็ไม่เข้าผลสมาบัติชั้นต่ำเหมือนกัน เพราะท่านสงบระงับด้วยการเข้าถึงความเป็นบุคคลอื่น. พระอริยเจ้านั้นๆ ย่อมเข้าผลสมบัติของตนๆ เท่านั้น. แต่

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 54

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโสดาบันบุคคลและพระสกทาคามีบุคคล ย่อมไม่เข้าผลสมาบัติ พระอริยบุคคลชั้นสูง ๒ พวกเท่านั้นย่อมเข้าได้ เพราะท่านกระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ. ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ เพราะแม้ปุถุชนก็เข้าโลกิยสมาธิที่ตนได้ อีกอย่างหนึ่ง จะป่วยกล่าวไปไยด้วยการคิดถึงเหตุในข้อนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า สังขารุเบกขาญาณ ๑๐ เหล่าไหน เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนา โคตรภูธรรม ๑๐ เหล่าไหน เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนา. ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ท่านกล่าวถึงการเข้าผลสมาบัติของพระอริยเจ้าเหล่านั้นว่า เพื่อประโยชน์แก่โสดาปัตติผลสมาบัติ เพื่อประโยชน์แก่สกทาคามิผลสมาบัติ. เพราะฉะนั้น จึงตกลงกันในข้อนี้ว่า พระอริยเจ้าแม้ทั้งปวง ย่อมเข้าผลสมาบัติตามที่เป็นของตน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงเข้าสมาบัติ? ตอบว่า เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลายเสวยสุขในราชสมบัติ เทวดาทั้งหลายเสวยทิพยสุข ฉันใด พระอริยเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมกำหนดกาลว่า จักเสวยโลกุตรสุข จึงเข้าผลสมาบัติในขณะที่ต้องการ.

ถามว่า ก็ผลสมาบัตินั้น เข้าอย่างไร หยุดอย่างไร ออกอย่างไร? ตอบว่า ก่อนอื่นการเข้าผลสมาบัตินั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่มนสิการอารมณ์อื่นจากพระนิพพาน และมนสิการถึงพระนิพพาน เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติสมาบัติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง คือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง และการใส่ใจถึงธาตุที่หานิมิตไม่ได้.

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 55

ก็ในที่นี้ มีลำดับการเข้าผลสมาบัติดังต่อไปนี้ พระอริยสาวกผู้ต้องการผลสมาบัติ ไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ พึงพิจารณาสังขารด้วยอุทยัพพยญาณเป็นต้น. เมื่อท่านมีวิปัสสนาญาณโดยลำดับอันดำเนินไปอย่างนี้ จิตย่อมเป็นอัปปนาในนิโรธด้วยอำนาจผลสมาบัติ ในลำดับ โคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์. ก็ผลจิตเท่านั้นเกิด มรรคจิตไม่เกิดแม้แก่พระเสกขบุคคล เพราะท่านน้อมไปในผลสมาบัติ. ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า พระโสดาบันคิดว่า จักเข้าผลสมาบัติของตนแล้วเจริญวิปัสสนาเป็นพระสกทาคามี และพระสกทาคามีคิดว่า จักเข้าผลสมาบัติของตนแล้วเจริญวิปัสสนาได้เป็นอนาคามี ดังนี้ อาจารย์เหล่านั้นพึงถูกต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระอนาคามีก็จักเป็นพระอรหันต์, พระอรหันต์ก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จักเป็นพระสัมพุทธเจ้า ดังนี้ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาจึงให้สำเร็จประโยชน์ตามความยินดีในจิตสันดาน ตามอัธยาศัย ด้วยเหตุนั้น แม้สำหรับพระเสกขบุคคลก็เกิดแต่ผลจิตเหมือนกัน มรรคจิตไม่เกิด. ถ้าท่านบรรลุมรรคจิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานไซร้ แม้ผลจิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานเท่านั้นก็เกิดแก่ท่าน ถ้าท่านบรรลุมรรคจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทุติยฌานเป็นต้นไซร้ ผลจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทุติยฌานเป็นต้น ก็ย่อมเกิด.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ โคตรภูญาณจึงไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนญาณที่เป็นปุเรจาริกของมรรคญาณ? ตอบว่า เพราะผลญาณไม่เป็นนิยยานิกธรรม. ความจริง ธรรมคืออริยมรรคเท่านั้นเป็นนิยยานิกธรรม. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นนิยยานิกธรรม?

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 56

อริยมรรค ๔ ที่เป็นอปริยาปันนะ เป็นนิยยานิกธรรม. เพราะฉะนั้น ญาณอันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งสภาวธรรมที่เป็นนิยยานิกะโดยส่วนเดียว ซึ่งดำเนินไปโดยสภาวะที่ออกจากทั้งสองฝ่าย พึงออกจากนิมิตได้เลย เพราะฉะนั้น โคตรภูญาณนั้น มีพระนิพพานเป็นอารมณ์จึงจะถูก แต่ว่าญาณที่เป็นปุเรจาริกของผลญาณซึ่งมีสภาวะไม่ออกไปเพราะไม่เป็นนิยยานิกธรรม เหตุที่ไม่ตัดขาดกิเลส ซึ่งกำลังเป็นไปโดยเป็นวิบากของอริยมรรคนั้น เพราะได้เจริญอริยมรรคไว้ แม้บางคราวจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ไม่ถูกไม่ควร เพราะอนุโลมญาณในทั้ง ๒ ฝ่าย มีอาการไม่เสมอกัน. จริงอยู่ อนุโลมญาณในอริยมรรควิถี อันถึงความบริบูรณ์อย่างอุกฤษฏ์ด้วยโลกิยญาณ อันเป็นเครื่องทำลายกองโลภะเป็นต้น อันมากมายซึ่งไม่เคยแทงตลอดได้อย่างดี เกิดขึ้นอนุโลมแก่มรรคญาณ ส่วนในผลสมาบัติวิถี อนุโลมญาณนั้นๆ ไม่มีความขวนขวายในอริยมรรควิถีนั้น เพราะตัดกิเลสนั้นๆ ได้เด็ดขาด เกิดเป็นเพียงบริกรรมแห่งความพรั่งพร้อมด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายอย่างเดียว เพราะฉะนั้น อนุโลมญาณเหล่านั้น จึงไม่มีการออกจากปัจจัยไหนๆ เพราะญาณในที่สุดแห่งอนุโลมญาณเหล่านั้น อันมีสังขารเป็นนิมิต พึงมีพระนิพพานเป็นอารมณ์จากการออกจากสมาบัติ. ก็เพราะทำคำอธิบายดังว่านี้ เมื่อพระเสกขบุคคลพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยอุทยัพพยญาณเป็นต้น เพื่อจะใช้ผลสมาบัติของตน ผลจิตเท่านั้นจึงเกิดขึ้นในลำดับวิปัสสนาญาณ มรรคไม่เกิด. ฉะนั้น เนื้อความดังกล่าวมานี้แล จึงเป็นอันสมบูรณ์แล้ว. พึงทราบการเข้าผลสมาบัติดังกล่าวมาอย่างนี้ก่อน.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 57

ก็ผลสมาบัตินั้นมีการตั้งอยู่โดยอาการ ๓ อย่าง เพราะพระบาลีว่า ผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ของเจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้ มี ๓ อย่างแล คือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงธาตุอันหานิมิตมิได้ ๑ การปรุงแต่งในกาลก่อน ๑. ใน ๓ อย่างนั้น บทว่า ปุพฺเพ จ อภิสงฺขาโร ได้แก่ การกำหนดเวลาในกาลก่อนเข้าสมาบัติ. ก็ผลสมาบัตินั้น ไม่มีการออกตราบเท่าที่ยังไม่ถึงเวลานั้น เพราะท่านกำหนดไว้ว่า จักออกในเวลาโน้น.

อนึ่ง ผลสมาบัตินั้นย่อมมีการออกโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะพระบาลีว่า ผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการออกของเจโตวิมุตติ อันหานิมิตมิได้มี ๒ อย่างแล คือ มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ ไม่มนสิการถึงธาตุอันหานิมิตมิได้ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต. พระโยคาวจรไม่มนสิการรวมกันซึ่งนิมิตเหล่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นด้วยการรวมนิมิตทั้งปวง. เพราะฉะนั้น อารมณ์ของภวังคจิตอันใดมีอยู่ การออกจากผลสมาบัติย่อมมีโดยมนสิการถึงอารมณ์นั้น พึงทราบการออกจากผลสมาบัตินั้นด้วยประการอย่างนี้. ท่านกล่าวว่า วิมุตติสุขํ ปฏิสํเวที ดังนี้ หมายเอาการเข้า การตั้งอยู่ และการออกจากผลสมาบัติ ดังกล่าวมานี้นั้น จัดเป็น อรหัตผลอันสงบระงับความกระวนกระวาย มีอมตะเป็นอารมณ์ เป็นสุขคายโลกามิส สงบ เป็นสามัญผลอันสูงสุด. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า วิมุตฺติสุขํ ปฏิสํเวที ได้แก่ ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือ ผลสมาบัติสุข.

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 58

ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอธิการ. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งปทปูรณะทำบทให้เต็ม. ในศัพท์ว่า อถ โข นั้น ด้วยศัพท์ว่า อถ ซึ่งมีอธิการเป็นอรรถนี้ ท่านแสดงถึงอธิการ (คือภารกิจ) อย่างอื่นจากการเสวยวิมุตติสุข. ถามว่า ก็อธิการอื่นนั้น คืออะไร? ตอบว่า คือ การมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาต ลงในอรรถนี้ว่า ปจฺฉา ภายหลัง. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ว่า อถ นั้น จึงส่องอรรถที่กำลังกล่าวอยู่ว่า โดยล่วงไป ๗ วันนั้น. บทว่า ตสฺส สตฺตาหสฺส ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ ๗ วัน. บทว่า อจฺจเยน แปลว่า ปราศจากไป. บทว่า ตมฺหา สมาธิมฺหา ได้แก่ จากสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล แต่ในที่นี้ อาจารย์บางพวกขยายสัปดาห์เหล่านั้นให้พิสดารออกไปว่า พึงแสดง ๗ สัปดาห์เรียงไปโดยลำดับ. ก็เราทั้งหลายจักพรรณนาสัปดาห์เหล่านั้นข้างหน้า โดยแนวทางของการแสดงอันไม่ผิดพลาด ในอุทานบาลีนี้ โดยขันธกปาฐะ.

บทว่า รตฺติยา เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถที่สัมพันธ์กับส่วนต่างๆ (ของราตรี). บทว่า ปมํ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถว่าอัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอด. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยมนสิการนั้นแล ตลอดปฐมยามแม้ทั้งสิ้นของราตรีนั้น.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ได้แก่ ปัจจัยธรรม. จริงอยู่ ปัจจัยธรรมมีอวิชชาเป็นต้น ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า ข้อนี้จะพึงรู้ได้อย่างไร? ตอบว่า รู้ได้เพราะพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล ธรรมนั้นแลเป็นเหตุ เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะ

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 59

คือ ชาติ ฯลฯ นั้นเป็นปัจจัยแห่งสังขาร คือ อวิชชา รวมความว่า ปัจจัยธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเป็นตัวเหตุเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจัย ๑๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เพราะอาศัย คือ มุ่งหน้าต่อกันและกัน ไม่ปฏิเสธความพร้อมเพรียงของเหตุให้ปัจจัยที่เกื้อกูลกันเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง การอาศัยปัจจัยอันควรเป็นปัจจัย ซึ่งต้องอาศัยกันเป็นไปจึงเกิดสัมพันธ์กันโดยไม่เว้นปัจจัยนั้น ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท. ก็ในคำว่า ปฏิจจสมุปบาท นี้ ได้แก่ เหตุที่ประกอบด้วยความสามารถในการให้เกิดผล อันจะรู้ได้ด้วยคำอันมีการเกิดขึ้นพร้อมเป็นเหตุใกล้ ไม่พึงทราบเพียงแต่อาศัยกันเกิดขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ปัจจัยชื่อว่า ปฏิจจะ เพราะเป็นที่ควรอาศัยเฉพาะของบัณฑิต. ชื่อว่า สมุปบาท เพราะให้เกิดขึ้นโดยชอบ หรือด้วยตนเอง. ปฏิจจะนั้นด้วย สมุปบาทนั้นด้วย ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท พึงทราบความในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.

บทว่า อนุโลมํ ได้แก่ ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร. ท่านเรียกว่า อนุโลม เพราะกระทำกิจที่ตนควรกระทำ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อนุโลม เพราะท่านกล่าวตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด หรือเพราะอนุโลมตามความเป็นไป ซึ่งอนุโลมนั้น บทว่า สาธุกํ มนสากาสิ ได้แก่ กระทำไว้ในใจโดยเคารพ. อธิบายว่า ปัจจัยธรรมใดๆ เป็นปัจจัยแก่ปัจจยุปปันนธรรมโดๆ โดยความเป็นปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้นโดยประการใดๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมทั้งหมดนั้นไว้ในพระ-

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 60

ทัยไม่ให้วิปริต ไม่ให้ลดลง โดยทรงพิจารณาหมดไม่ให้เหลือ. ก็เพื่อจะแสดงประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลมโดยสังเขปก่อน จึงกล่าวคำอาทิว่า อิติ อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เท่ากับ เอวํ อธิบายว่า โดยประการนี้. บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็มี. บทว่า อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ย่อมเกิด.

บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ ความว่า เพราะตรัสความไม่มีสังขารเป็นต้น ในเมื่ออวิชชาเป็นต้นไม่มี ไว้ในสูตรที่ ๒ และตรัสความดับสังขารเป็นต้น ในเมื่ออวิชชาเป็นต้นดับ ไว้ในสูตรที่ ๓ ชื่อว่าเป็นอันทรงแสดงการกำหนดลักษณะแห่งปัจจัยเบื้องต้นนี้. เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มีอยู่ทีเดียว ไม่ใช่ไม่มี. เพราะอวิชชาเป็นต้นนี้เกิดอยู่ทีเดียว ไม่ใช่ไม่เกิด. เพราะดับนั่นแหละ ไม่ใช่ไม่ดับ. เพราะเหตุดังนี้นั้น พึงเห็นว่า ลักษณะนั้นเป็นการกำหนดที่หยั่งลงในภายใน ตรัสไว้ในที่นี้สำหรับปฏิจจสมุปบาท. อนึ่ง บทว่า นิโรโธ ได้แก่ ความไม่เกิดขึ้น คือ ความไม่เป็นไปต่อไป เพราะบรรลุความสำรอกปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ก็เพราะดับโดยสำรอกไม่เหลือซึ่งอวิชชา สังขารจึงดับ.

ด้วยคำว่า อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ นั้น ท่านแสดงความนี้ไว้ว่า ความไม่ดับ ชื่อว่าความเกิด และความเกิดนั้น ในที่นี้ ท่านเรียกว่า

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 61

อตฺถิภาโว (ความมี) ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ลักษณะว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ นี้แหละ เมื่อว่าโดยปริยายอื่น บทแรกเป็นอันแปลกจากบทปลาย ที่กล่าว ว่า อิมสฺส อุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะฉะนั้น ที่ท่านกล่าวว่า อิมสฺมึ สติ หมายถึงภาวะที่ทรงอยู่เท่านั้นก็หามิได้. โดยที่แท้ย่อมให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ภาวะที่จะดับด้วยมรรค. ก็เพราะเหตุที่เมื่อกล่าวถึงนิเทศแห่งลักษณะที่ยกขึ้นแสดงเป็น ๒ อย่าง คือ อิมสฺมึ อสฺติ อิทํ น โหติ, (และ) อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ ดังนี้ จึงกล่าวเฉพาะความดับโดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ฉะนั้น จึงเป็นอันแสดงว่า แม้ความไม่มีก็คือความดับ ความมีอันผิดจากความไม่มีก็คือความไม่ดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความเกิดให้แปลกกับความมีกล่าวคือความไม่ดับ. เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ท่านจึงไม่ประสงค์เอาความว่า เพียงแต่ความมี เป็นความเกิดขึ้น โดยที่แท้ ท่านทำให้แจ้งถึงอรรถนี้ว่า ความมีคือความไม่ดับ. เมื่อเป็นเช่นนั้น การกล่าวถึงลักษณะทั้ง ๒ นั้น พึงทราบว่า มีประโยชน์ เพราะเป็นลักษณะที่จะพึงให้แปลกด้วยความแปลกแห่งกันและกัน.

ถามว่า ก็ชื่อว่าอนิโรธะ ที่เรียกว่า อัตถิภาวะ และว่า อุปปาทะ นี้ คืออะไร? ตอบว่า คือ ภาวะที่ยังไม่ละ ๑ ภาวะที่ควรเพิ่มผลโดยไม่ละภาวะที่ควรแก่ผลอันยังไม่เกิด ๑ ภาวะที่อกุศลธรรมที่จะพึงละนั้นอันอริยมรรคยังไม่ได้ถอนขึ้น ๑ ภาวะที่สังโยชน์ในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่ไม่จำต้องละ สำหรับผู้มีอาสวะยังไม่สิ้นไป ยังละไม่ได้ ๑. จริงอยู่ ความเป็นไปแห่งขันธ์พร้อมทั้งสิ้น ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เพราะภาวะมีอนุสัยยังถอนขึ้นไม่ได้. สมจริงดังที่ตรัสไว้มีอาทิว่า

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 62

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อไว้ ผู้สัมปยุตด้วยตัณหาใดยังเป็นไปแล้ว อวิชชานั้น คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นก็ยังไม่สิ้นไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะคนพาลไม่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น คนพาลย่อมเข้าถึงกาย (อีก) เพราะกายแตก คนพาลนั้นเมื่อเข้าถึงกาย ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา และมรณะ.

ก็เพราะอวิชชาของผู้สิ้นสังโยชน์แล้วไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะตัณหาและอุปาทานไม่มี อุปาทานและภพจึงไม่มี เพราะเหตุนั้น วัฏฏะจักปรากฏความขาดสิ้น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ดูก่อนผัคคุณะ ก็เพราะดับด้วยการสำรอกผัสสายตนะ ๖ ได้โดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ.

จริงอยู่ ตั้งแต่บรรลุพระอรหัตมรรคจนถึงปรินิพพาน อายตนะ ๖ เป็นต้น จะไม่เป็นไปก็หามิได้. โดยที่แท้ ท่านกล่าวถึงนิโรธ เพราะภาวะที่ไม่มี ภาวะที่ควรกล่าวศัพท์นิโรธ ภาวะที่สิ้นสังโยชน์. อีกอย่างหนึ่ง กรรมแม้ที่ทำไว้นาน จัดว่ามีอยู่ตามควรแก่ผล เพราะผลยังไม่เกิด และเพราะยังไม่ละอาหาร คือ ไม่ใช่ผลที่เกิดแล้ว ทั้งก็ไม่ใช่ละอาหารแล้วแล. ภาวะที่ปัจจัยเป็นเหตุเกิดผล มีอวิชชาและสังขารเป็นต้น เป็นปัจจัยควรแก่ผลโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล พึงทราบว่า อนิโรธ (ไม่ดับ.) ก็เพราะปัจจัยที่ให้เกิดผลอย่างนั้นยังไม่ดับ เว้นเหตุใดเสีย ผลไม่เกิด เหตุนั้น มีอดีตเหตุ

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 63

เป็นต้น ที่ท่านกล่าวด้วยคำว่า อิมสฺมึ สติ นี้. ก็เพราะเหตุนั้นแหละ การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยไม่แตะต้องถึงการไม่ประพฤติของผู้ยังไม่อยู่จบพรหมจรรย์ ท่านกล่าวว่า อิมสฺส อุปฺปาทา ด้วยการไม่กลับมา โดยไม่พาดพิงถึงประเภทของกาล. อีกอย่างหนึ่ง ในความพร้อมเพรียงของปัจจัยที่เหลือ ภาวะที่ปัจจัยแม้จะไม่มีก็เหมือนมี จะกล่าวไปทำไมถึงปัจจัยที่มี ซึ่งเป็นปัจจัยมุ่งให้เกิดผลนั้น ท่านเรียกว่า อิมสฺส อุปฺปาทา. จริงอย่างนั้น ผลย่อมเกิดแต่เหตุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตทวัตถุ ได้แก่ เหตุที่เกิดขึ้นโดยภาวะที่ให้เกิดผล เป็นอันชื่อว่าอุบัติขึ้นแล้ว. เหตุแม้ไม่มีอยู่ ก็ชื่อว่าตทวัตถุ เพราะฉะนั้น ภาวะที่เป็นตทวัตถุ พึงทราบว่า อุปปาทะ.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สติ นี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวถึงภาวะที่เป็นปัจจัยโดยเพียงภาวะที่มีอยู่ จึงแสดงความที่ปฏิจจสมุปบาทไม่ต้องขวนขวาย. ด้วยบทว่า อุปฺปาทา นี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และภาวะที่ไม่เป็นไปทุกกาลและภาวะที่มุ่งต่อการเกิดผล จึงแสดงถึงภาวะที่ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนิจจตา. ก็พระเถระแสดงถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นชาติ และเป็นแดนเกิด ที่สำเร็จด้วยสัตตมีวิภัตติและปัญจมีวิภัตติที่ใช้ในอรรถของเหตุด้วยคำว่า สติ น อสติ อุปฺปาทา น นิโรธา ในเมื่อสิ่งนี้มี คือ ไม่มีก็หามิได้ เพราะสิ่งนี้เกิด คือ ดับก็หามิได้. ท่านกำหนดภาวะแห่งผล ซึ่งมีโดยไม่เว้นจากเหตุ ในเพราะภาวะแห่งสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ พึงทราบความเป็นไปในเหตุนั้น เหมือนคำว่า ในเมื่อคนไม่มีทรัพย์ ไม่ทำทรัพย์ให้เกิดขึ้น ความจนก็ยิ่งจนหนักเข้า และคำว่า ในเมื่อข้าวกล้าสมบูรณ์ ก็เกิดอาหารดีขึ้น.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 64

แม้ปัญจมีวิภัตติก็ลงในอรรถแห่งเหตุ ชื่อว่าเป็นไปได้ในแดนเกิดและในความปกติของผล เหมือนคำว่า จากกลละเป็นอัมพุทะ จากอัมพุทะเกิดเป็นเปสิ และคำว่า แม่น้ำคงคาเกิดจากเขาหิมวันต์ สระเกิดจากแม่น้ำสรภู. ก็ในเพราะอวิชชาเป็นต้นมี ท่านจึงกำหนดภาวะแห่งผลมีสังขารเป็นต้น เพราะภาวะที่ไม่เว้นจากอวิชชาเป็นต้นนั้น. และผลมีสังขารเป็นต้นเกิดจากปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น และอันปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นก่อขึ้น เพราะฉะนั้น ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนั้น จึงเป็นแดนเกิด และเป็นปกติของผลมีสังขารเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงอรรถนั้น ท่านจึงกระทำนิเทศสัตตมีวิภัตติและปัญจมีวิภัตติในอรรถแห่งเหตุว่า อิมสฺมึ สติ อิมสฺส อุปฺปาทา ในเพราะสิ่งนี้มี เพราะสิ่งนี้เกิด.

ก็เพราะในข้อนี้ ปฏิจจสมุปบาทที่ยกขึ้นแสดงโดยสังเขปว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ มีนิเทศเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ฉะนั้น ภาวะที่มีอยู่และการเกิดขึ้นตามที่กล่าวแล้วย่อมให้รู้ได้ว่า เป็นปัจจัยแห่งปัจจยุปปันนธรรมนั้นๆ. จริงอยู่ ภาวะที่เป็นปัจจัยอย่างอื่นย่อมไม่มี เพราะละอัตถิภาวะและอุปปาทะกล่าวคือความไม่ดับ ความไม่หวนกลับเป็นสภาพ หรือความตั้งอยู่ของสมุทัย (ความเกิด) ที่ท่านกล่าวไว้ด้วยคำ ซึ่งกำหนดแน่นอนอยู่ภายในว่า สติเอว นาสติ อุปฺปาทา เอว น นิโรธา ดังนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภาวะที่มีอยู่และอุปปาทะการเกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว เป็นตัวปัจจัย. แม้ปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยเป็นต้นที่มาในปัฏฐานปกรณ์นั้น พึงทราบว่า ปัจจัยพิเศษแห่งปัจจัยนั้นนั่นแล.

ดังนั้น เพื่อจะแสดงประการที่พระองค์ทรงมนสิการถึงอนุโลมปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยทิทํ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 65

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต บทว่า ยทิทํ นั้น มีอรรถว่า โย อยํ. ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อวิชชา เพราะประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกายทุจริตเป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริตเป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะกระทำสภาวะแห่งธรรมที่ไม่วิปริต ไม่ให้รู้แจ้ง, ชื่อว่า อวิชชา เพราะยังสัตว์ให้แล่นไปในภพเป็นต้น ในสงสารอันเว้นจากที่สุด. ชื่อว่า อวิชชา เพราะแล่นไปในสิ่งที่ไม่มี ไม่แล่นไปในสิ่งที่มี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา. อวิชชานั้นพึงทราบว่ามี ๔ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ทุกฺเข อาณํ ความไม่รู้ทุกข์. ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอาศัยไป คือ เกิดขึ้นและเป็นไปไม่ละเว้นผล. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่มีการสนับสนุนเป็นอรรถ ชื่อว่า ปัจจัย. อวิชชานั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง. ได้แก่ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนาฝ่ายโลกิยะ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนานั้นพึงทราบว่า มี ๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑ อาเนญชาภิสังขาร ๑. ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง. วิญญาณนั้นมี ๓๒ (หรืออเหตุกวิบาก ๑๕ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบาก ๙) ด้วยอำนาจวิบากวิญญาณฝ่ายโลกิยะ. ชื่อว่า นาม เพราะน้อมไป ได้แก่ นามขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น. ชื่อว่า รูป เพราะอรรถว่าสลายไป ได้แก่ ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ มีจักขุปสาทรูปเป็นต้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่ต่อ และนำสัตว์ไปสู่ส่งสารทุกข์. ชื่อว่า ผัสสะ เพราะถูกต้อง. ชื่อว่า เวทนา เพราะเสวย (อารมณ์). แม้ทั้งสองนั้น ว่าโดยทวารมี ๖ ว่าโดยวิบากมี ๓๖. ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 66

ตัณหา เพราะสะดุ้ง. ตัณหานั้นโดยสังเขปมี ๓ มีกามตัณหาเป็นต้น และโดยพิสดารมี ๑๐๘ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะถือมั่น อุปาทานนั้นมี ๔ อย่าง มีกามุปาทานเป็นต้น. ชื่อว่า ภพ เพราะมีอยู่และจักมี. ภพนั้นมี ๒ อย่าง โดยแยกเป็นกรรมภพและอุปัตติภพ. ความเกิด ชื่อว่า ชาติ ความคร่ำคร่า ชื่อว่า ชรา. ชื่อว่า มรณะ เพราะเป็นเหตุตายแห่งสัตว์. ความเศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ. ความรำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะทนได้ยาก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะมี ๒ ขณะ คือ ทุกข์ในขณะเกิด และทุกข์ในขณะตั้งอยู่. ภาวะแห่งความเสียใจ ชื่อว่า โทมนัส. ความคับแค้นอันเหลือทน ชื่อว่า อุปายาส. บทว่า สมฺภวนฺติ แปลว่า ย่อมบังเกิด. ความจริง ไม่ใช่ประกอบด้วยบทมีโสกะเป็นต้นอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้พึงประกอบบทว่า สมฺภวนฺติ กับทุกๆ บท. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นอันแสดงการกำหนดปัจจัยธรรมและปัจจยุปปันนธรรม ด้วยคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

ในธรรมเหล่านั้น อวิชชา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ มีความหลงลืมเป็นกิจ มีการปกปิดเป็นอาการปรากฏ มีอาสวะเป็นเหตุใกล้. สังขาร มีความปรุงแต่งเป็นลักษณะ มีการประมวลมาเป็นกิจ มีการจัดแจงเป็นอาการปรากฏ มีอวิชชาเป็นเหตุใกล้. วิญญาณ มีการรู้แจ้งเป็นลักษณะ มีการเป็นหัวหน้าเป็นกิจ มีปฏิสนธิเป็นอาการปรากฏ มีสังขารเป็นเหตุใกล้ หรือมีวัตถุและอารมณ์เป็นเหตุใกล้. นาม มีการน้อมไปเป็นลักษณะ มีสัมปโยคะเป็นกิจ มีไม่แยกจากกันเป็นอาการปรากฏ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้. รูป มีการสลายไปเป็นลักษณะ มีการไม่รู้อารมณ์เป็นกิจ มีภาวะเป็นสัมปโยคะเป็นอาการปรากฏ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้. สฬายตนะ มีการต่อ

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 67

เป็นลักษณะ มีการเห็นเป็นต้นเป็นกิจ มีภาวะเป็นวัตถุและทวารเป็นอาการปรากฏ มีนามรูปเป็นเหตุใกล้. ผัสสะ มีการถูกต้องเป็นลักษณะ มีการกระทบเป็นกิจ มีการประจวบเป็นอาการปรากฏ มีสฬายตนะเป็นเหตุใกล้. เวทนา มีการเสวยเป็นลักษณะ มีการบริโภครสแห่งอารมณ์เป็นกิจ มีสุขและทุกข์เป็นอาการปรากฏ มีผัสสะเป็นเหตุใกล้. ตัณหา มีความเป็นตัวเหตุเป็นลักษณะ มีความเพลิดเพลินเป็นกิจ มีความไม่อิ่มเป็นอาการปรากฏ มีเวทนาเป็นเหตุใกล้. อุปาทาน มีการยึดมั่นเป็นลักษณะ มีการไม่ปล่อยวางเป็นกิจ มีทิฏฐิคือความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาเป็นอาการปรากฏ มีตัณหาเป็นเหตุใกล้. ภพ มีกรรมและผลแห่งกรรมเป็นลักษณะ มีการเกิดและการให้เกิดเป็นกิจ มีกุศล อกุศล และอัพยากฤตเป็นอาการปรากฏ มีอุปาทานเป็นเหตุใกล้. ชาติ มีการเกิดก่อนในภพนั้นๆ เป็นลักษณะ มีการขยายออกไปเป็นกิจ มีการเกิดในภพนี้จากอดีตภพเป็นอาการปรากฏ มีความวิจิตรแห่งทุกข์เป็นเหตุใกล้. ชรา มีความแก่หง่อมแห่งขันธ์เป็นลักษณะ มีการนำเข้าหาความตายเป็นกิจ มีการทำความเป็นหนุ่มสาวให้พินาศเป็นอาการปรากฏ. มรณะ มีจุติเป็นลักษณะ มีการพลัดพรากเป็นกิจ มีการอยู่ปราศจากคติเป็นอาการปรากฏ. โสกะ มีความหม่นไหม้ในภายในเป็นลักษณะ มีความตรมตรอมใจเป็นกิจ มีความเศร้าโศกถึงเป็นอาการปรากฏ. ปริเทวะ มีความบ่นเพ้อเป็นลักษณะ มีระบุถึงคุณและโทษเป็นกิจ มีความสลดใจเป็นอาการปรากฏ. ทุกข์ มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ มีความทุรพลทางกายและรั้งเอาโทมนัสมาเป็นกิจ มีอาพาธทางกายเป็นอาการปรากฏ. โทมนัส มีการบีบคั้นจิตเป็นลักษณะ มีความคับแค้นใจเป็นกิจ มีพยาธิทางใจเป็นอาการปรากฏ. อุปายาส มีความตรมตรอมใจเป็น

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 68

ลักษณะ มีความทอดถอนถึงเป็นกิจ มีปราศจากความแช่มชื่นใจเป็นอาการปรากฏ. ปัจจัยธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบแม้โดยลักษณะเป็นต้นด้วยประการอย่างนี้แล. ในที่นี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ผู้ปรารถนาวินิจฉัยที่สมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง พึงค้นดูในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี.

บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงไขถึงนัยที่ได้แสดงมาแล้ว. ด้วยบทว่า เอวํ นั้น ท่านแสดงว่าด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้นนั้นแหละ มิใช่ด้วยเหตุมีการเนรมิตของท่านผู้เป็นใหญ่เป็นต้น. บทว่า เอตสฺส ได้แก่ ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ ไม่ปะปน หรือล้วนๆ. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส ได้แก่ ประชุมทุกข์ ไม่ใช่ของสัตว์ ทั้งไม่ใช่ของชีวะและของสุขเป็นต้น. บทว่า สมุทโย โหติ ได้แก่ บังเกิด คือ เกิดพร้อม.

บทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา ความว่า รู้แจ้งเนื้อความที่กล่าวไว้ว่า กองทุกข์มีสังขารเป็นต้น ย่อมเกิดด้วยอวิชชาเป็นต้น โดยอาการทั้งปวง. บทว่า ตายํ เวลายํ ได้แก่ ในเวลาที่รู้แจ้งอรรถนั้น. บทว่า อิมํ อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า เปล่งอุทานนี้อันแสดงอานุภาพการรู้เหตุและธรรมอันเกิดจากเหตุในเมื่อรู้จักผลนั้น อันเป็นสมุฏฐานแห่งญาณอันสัมปยุตด้วยโสมนัสมีอาทิว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ อธิบายว่า เปล่งพระวาจาเป็นที่พอพระทัย.

อุทานนั้นมีอธิบายดังนี้ บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. ศัพท์ว่า หเว เป็นนิบาตลงในอรรถนี้ว่า พยตฺตํ แจ่มแจ้ง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวอธิบายว่า ศัพท์ว่า หเว แปลว่า ในการสงครามคือในการต่อยุทธ์. ก็ท่านอาจารย์เหล่านั้นมีความมุ่งหมายว่า ในสมัยรบกับกิเลสมาร โดย

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 69

พระบาลีว่า พวกเธอจงใช้อาวุธคือปัญญารบมาร. บทว่า ปาตุภวนฺติ แปลว่า เกิดขึ้น. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม อันให้สำเร็จการแทงตลอดปัจจยาการโดยอนุโลม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาตุภวนฺติ ได้แก่ ประกาศ คือ แจ่มชัด ปรากฏโดยการตรัสรู้. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรม คือ อริยสัจ ๔. อาตาปะ เรียกว่า ความเพียร เพราะอรรถว่า ทำกิเลสให้เร่าร้อน. บทว่า อาตาปิโน ได้แก่ มีความเพียร คือ สัมมัปปธาน. บทว่า ฌายโต ได้แก่ เพ่งด้วยอารัมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน. บทว่า พฺราหฺมณสฺส ได้แก่ พระขีณาสพผู้ลอยบาป. บทว่า อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ความว่า ครั้นพราหมณ์นั้นมีธรรมปรากฏอย่างนี้แล้ว ความสงสัยในปัจจยาการที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โน กลฺโล ปญฺโห ปัญหาไม่สมควร เพื่อเฉลยคำถามว่า โก นุโข ภนฺเต ผุสติ ใครหนอถูกต้อง พระเจ้าข้า โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โน กลฺโล ปญฺโห เพื่อเฉลยคำถามว่า กตมํ นุโข ภนฺเต ชรามรณํ กสฺส จ ปนิทํ ชรามรณํ ชราและมรณะเป็นไฉน พระเจ้าข้า ก็แล ชราและมรณะนี้เป็นของใคร และความสงสัย ๑๖ ข้อ ที่มาโดยนัยมีอาทิว่า อโหสึ นุโข อหํ อตีตมทฺธานํ ในอดีตกาล เราได้มีแล้วหรือหนอ เพราะยังไม่แทงตลอดปัจจยาการนั่นเอง ความสงสัยทั้งหมดนั้น ย่อมหายไป ปราศไป ดับไป. เพราะเหตุไร? เพราะรู้ทั่วถึงธรรมพร้อมเหตุ อธิบายว่า เพราะรู้ชัด รู้ทั่วถึงแทงตลอดธรรมคือกองทุกข์ทั้งสิ้นมีสังขารเป็นต้นนี้ พร้อมเหตุ ด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้น.

ก็เมื่อไรโพธิปักขิยธรรมหรือจตุสัจธรรม ปรากฏเกิดขึ้นหรือแจ่มแจ้งแก่พราหมณ์นั้น. ในวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ. ใน ๒ อย่าง

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 70

นั้น พึงทราบวิปัสสนาญาณก่อน. ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ และวิปัสสนาญาณ เมื่อละสุภสัญญาเป็นต้นด้วยอำนาจตทังคปหานในอารมณ์ของตน จึงเกิดขึ้นเป็นส่วนๆ โดยอนุปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. แต่ในขณะมรรค ธรรมเหล่านั้น เมื่อหน่วงเอาพระนิพพาน ละธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยสมุจเฉทปหาน เกิดขึ้นคราวเดียวเท่านั้น สำเร็จการแทงตลอดไม่งมงายในอริยสัจทั้ง ๔. ในข้อนี้ พึงทราบว่า โพธิปักขิยธรรมปรากฏ ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน. ก็พึงทราบว่า อริยสัจธรรมฝ่ายโลกิยะปรากฏด้วยการทำวิปัสสนาให้เป็นอารมณ์ในขณะวิปัสสนา พึงทราบว่า อริยสัจธรรมฝ่ายโลกุตระปรากฏด้วยภาวะที่น้อมไปในโลกุตรธรรมนั้น พึงทราบว่า นิโรธสัจปรากฏด้วยการตรัสรู้อารมณ์ในขณะมรรค และพึงทราบว่า ทั้งหมดปรากฏ ด้วยอรรถว่า แจ่มแจ้งปรากฏชัดโดยการตรัสรู้กิจ.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อธรรมทั้งหมดปรากฏแก่พระญาณของพระองค์โดยอาการทั้งปวง ทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น เพราะปัจจยาการเป็นสภาพละเอียดลึกซึ้งและเห็นได้แสนยาก เหตุทรงทำความมั่นใจวิปัสสนาโดยมุข คือ ปฏิจจสมุปบาท ทรงเกิดโสมนัสอย่างรุนแรง จึงทรงเปล่งอุทานในข้อนี้ อันแสดงถึงอานุภาพแห่งการตรัสรู้ปัจจยาการนั้นของพระองค์ พร้อมโดยเป็นปัจจัยตัดปฏิปักขธรรมได้เด็ดขาดแล.

พระบาลีว่า อยมฺปิ อุทาโน วุตฺโต ภควตา อิติ เม สุตํ นี้ ปรากฏในคัมภีร์เฉพาะบางแห่ง. บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า อยมฺปิ เป็นสัมปิณฑนัตถะเหมือนในประโยคว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ อยมฺปิ ปาราชิโก โหติ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ภิกษุแม้นี้

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 71

เป็นปาราชิก. เพราะเหตุนั้น ปิศัพท์นั้น ย่อมประมวลคำก่อนๆ มา. วุตฺต ศัพท์ว่า วุฑฺโต นี้ ปรากฏในคำมีอาทิว่า เกโสหารณะ วปนะ วาปสมีกรณะ ชีวิตวุตติ ปมุตตภาวะ ปาวจนภาเวนปวัตติตะ อัชเฌสนะ และกถนะ. จริงอย่างนั้น วุตฺต ศัพท์นั้น มาในเกโสหารณะ (การปลงผม) ในประโยคมีอาทิว่า กาปฏิกมาณพ เป็นคนหนุ่มโกนผม. มาใน วปนะ (การหว่านพืช) ในประโยคมีอาทิว่า

คาโว ตสฺส ปชายนฺติ

เขตฺเต วุตฺตํ วิรูหติ

วุตฺตานํ ผลมสฺนาติ

โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.

โคของคนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมตกลูก พืชที่หว่านไว้ในนาย่อมงอกงาม เขาย่อมบริโภคพืชผลที่หว่านแล้ว.

มาในวาปสมีกรณะ (การทำพืชที่หว่านให้เสมอกัน) ด้วยใช้ไม้คราดเป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า โน จ โข ปฏิวุตฺตํ พืชที่หว่านไม่เท่ากันแล. มาในชีวิตวุตติ (การเลี้ยงชีพ) ในประโยคมีอาทิว่า ปนฺนโลโม ปรทวุตฺโต มิคภูเตน เจตสา วิหรติ ผู้ไม่ลำพองเลี้ยงชีพด้วยสิ่งของที่คนอื่นให้ มีใจเหมือนเนื้ออยู่. มาในปมุตตภาวะ (ความหลุดจากขั้ว) ในประโยคมีอาทิว่า ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปวุตฺโต อภพฺโพ หริตตาย ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วไม่พึงเป็นของเขียวสด. มาในปาวจนภาเวนปวัตติตะ (ความเป็นไปโดยบอกกล่าวกันมา) ในประโยคมีอาทิว่า คีตํ ปวุตฺตํ สมิหิตํ เพลงขับที่บอกกล่าวกันมา. มาในอัชเฌสนะ. (ความเชื้อเชิญ) ในประโยคมีอาทิว่า วุตฺโต คุโณ วุตฺโต ปรายโน ความเชื้อเชิญเป็นคุณ ความเชื้อเชิญเป็นความเสื่อม. มาในกถนะ (การกล่าว) ในประโยคมีอาทิว่า ก็พระ-

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 3 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 72

ดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า วุตฺต ศัพท์ ใช้ในการกล่าวเท่านั้น. อธิบายว่า ตรัสอุทานแม้นี้ ด้วยพระดำรัสนั้น. ศัพท์ อิติ เท่ากับ เอวํ. ความของบททั้งสองว่า เม สุตํ ได้กล่าวไว้ในอรรถกถานิทานโดยอาการทั้งปวงนั่นแหละ. จริงอยู่ ในกาลก่อน ความของทั้งสองบทว่า เอวมฺเม สุตํ ได้กล่าวไว้ด้วยอำนาจคำเริ่มต้น ในที่นี้ กล่าวอีกว่า อิติ เม สุตํ ด้วยอำนาจคำลงท้าย. ก็กล่าวซ้ำถึงอรรถที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า นิคม คำลงท้ายแล. การยกเนื้อความแห่ง อิติ ศัพท์ เหมือนในคำว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ เพราะ อิติ ศัพท์ มีอรรถเสมอด้วย เอวํ ศัพท์ และการประกอบความของ อิติ ศัพท์ ข้าพเจ้าประกาศไว้แล้วใน อิติวุตตกวรรณนานั้นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวแล้วในอรรถกถานั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาปฐมโพธิสูตร แห่งอุทานสังวรรณนา

อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี