การศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังคหะ

 
neatbeh
วันที่  20 เม.ย. 2550
หมายเลข  3501
อ่าน  2,292

ต้องศึกษาไปทีละปริจเฉทตามลำดับหรือไม่

ได้เริ่มศึกษาอภิธรรมมัตถสังคหะไปแล้วในปริจเฉทที่ 1, ปริจเฉทที่ 2 กำลังจะจบ ขอเรียนถามว่าการศึกษาควรจะไล่ตามลำดับ 1, 2, ....ไปเรื่อย หรือเลือกศึกษาได้ เพราะนอกจากฟังคำบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์เรื่องจิตปรมัตถ์แล้ว เกิดความสนใจศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูป (ปริจเฉทที่ 6) ดังนี้ ควรศึกษาเรื่องรูปต่อไป หรือตามศึกษาเรียงลำดับไปเรื่อยๆ จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ทั่วๆ ไปนิยมสอนและศึกษา จิตตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ (ปริเฉทที่ ๑

๒ และ ๖) คือ ควรเข้าใจเรื่อง จิต เจตสิก รูป ก่อน ต่อมาค่อยศึกษารายละเอียดอย่าง

อื่นๆ (ปริเฉท ๓ ๔ และ ๕) แต่ควรทราบว่า สภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ไม่ได้อยู่ที่

หนังสือปริเฉทต่างๆ แต่มีอยู่ทุกขณะในชีวิตประจำวัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 21 เม.ย. 2550

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด 3 ปิกฏ พระอภิธรรม พระสูตร และ พระวินัยศึกษาพระอภิธรรม และ พระสูตร รวมทั้งพระวินัยด้วยจะดีมากเลย เพราะทั้งหมดเพื่อให้รู้ความจริงว่าไม่มีเรา สัตว์ บุคคลเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
neatbeh
วันที่ 21 เม.ย. 2550

ขอบคุณเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิที่ได้กรุณาตอบกระทู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 21 เม.ย. 2550

การศึกษาธรรมหรือ สิกขาคืออะไร

เมื่อสมัยเรียนหนังสือ การศึกษาคือการเล่าเรียน เพื่อต้องการให้ได้ความรู้ เพื่อสอบ

ผ่านแต่ละชั้นและได้รับปริญญา เมื่อศึกษาพระธรรม การศึกษามิใช่แบบทางโลกที่เรา

เข้าใจกัน การศึกษาในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น ละความต้องการอยากรู้

มากๆ เป็นสิ่งที่สวนกระแสกับชาวโลก ที่สำคัญการศึกษาในพระพุทธศาสนาหรือ

สิกขา จุดประสงค์เพื่อดับกิเลส และหนทางใดดับกิเลส ก็คือสติปัฏฐานเท่านั้น คือการ

ระลึกสภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธัมมะ ไม่ใช่เรา ดังนั้น เราเคยถามตัวเองไหมว่า

เราศึกษาธัมมะเพื่ออะไร ที่สำคัญศึกษาอย่างไร ศึกษาเพราะเห็นโทษของกิเลส หรือ

เพราะ น่าสนใจ รู้เยอะๆ และศึกษาอย่างไร ศึกษาด้วยการอ่านเยอะๆ ตรงนี้ยังไม่รู้เลย

ไม่ได้ต้องให้รู้ เราไม่รู้เลยว่า โลภะ ความต้องการคอยมาเป็นเพื่อนตลอด ดังนั้น การ

ศึกษาในพระพุทธศาสนา หรือ สิกขา (อธิศีลสิกขา, อธิจิตสิกขา, อธิปัญญาสิกขา) คือ

การอบรมสติปัฏฐาน (มรรค) รู้สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้นั่นเอง

ดังนั้น การศึกษาพระธรรม ไม่ว่าจะเป็นปริเฉท หรือพระไตรปิฎก ก็เพื่อเกื้อกูล

การรู้ธัมมะขณะนี้ ว่าไม่ใช่เรา (สติปัฏฐาน) และเพื่อความเจริญในกุศลทุกประการ และ

เป็นเรื่องละโดยตลอด ซึ่งต้องไม่ลืมว่า ธัมมะอยู่ขณะนี้ ไม่ใช่ในหนังสือหรือในห้อง

ปฏิบัติครับ ขอแนะนำว่า ควรเริ่มเข้าใจก่อนว่า ธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน และ

ปัญญารู้อย่างไรจึงดับกิเลสได้ครับ คำถามเหมือนจะง่าย ว่าธรรมคืออะไร แต่ไม่

ง่ายอย่างที่คิดครับ

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
neatbeh
วันที่ 23 เม.ย. 2550

เมื่อศึกษาพระธรรม การศึกษามิใช่แบบทางโลกที่เราเข้าใจกันการศึกษาในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น

ครับพยายามศึกษาเพื่อเข้าใจ เพื่อละ ก็ต้องการเข้าใจว่าแต่ละอย่างๆ คืออะไร

เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ หวังว่าคงมาถูกทาง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ