พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เวสสันตรชาดก ทรงบําเพ็ญทานบารมี

  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 484

๑๐. เวสสันตรชาดก

พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี

ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า

[๑๐๔๕] ดูก่อนผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอัน ประเสริฐ ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือก เอาพร ๑๐ ประการในปฐพีซึ่งเป็นที่รักแห่งหฤทัยของ เธอ.

พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า

[๑๐๔๖] ข้าแก่ท้าวเทวราช ข้าพระบาทนอบน้อม แด่พระองค์ ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ ฝ่าพระบาทจึงให้ข้าพระบาท จุติจากทิพยสถานที่น่า รื่นรมย์ ดุจลมพัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไป ฉะนั้น.

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า

[๑๐๔๗] บาปกรรมเธอมิได้ทำไว้เลย และเธอ ไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว เหตุนั้น เราจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ ความตายใกล้เธอ เธอจักต้องพลัดพรากจากไป จงเลือกรับเอาพร ๑๐ ประการนี้จากเราผู้จะให้.

พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า

[๑๐๔๘] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ทั้ง ปวง ถ้าฝ่าพระบาทจะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 485

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระบาทพึงเกิดใน พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวิราช ข้าแต่ท้าวปุรินททะ ขอให้ข้าพระบาท (๑) พึงเป็นผู้มีจักษุดำเหมือนตา ลูกมฤคี (มีอายุ ๑ ขวบปี) ซึ่งมีดวงตาดำ (๒) พึงมี ขนคิ้วดำ (๓) พึงเกิดในราชนิเวศน์นั้นมีนามว่า ผุสดี (๔) พึงได้พระราชโอรสผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ผู้ ประกอบเกื้อกูลในยาจก มิได้ตระหนี่ ผู้อันพระราชา ทุกประเทศบูชามีเกียรติยศ (๕) เมื่อข้าพระบาททรง ครรภ์ขออย่าให้อุทรนูนขึ้น พึงมีอุทรไม่นูน เสมอดัง คันศรที่นายช่างเหลาเกลี้ยงเกลา (๖) ถันทั้งคู่ของข้า พระบาทอย่าย้อยยาน ข้าแต่ท้าววาสวะ (๓) ผม หงอกก็อย่าได้มี (๘) ธุลีก็อย่าได้ติดในกาย (๙) ข้า พระบาทพึงปล่อยนักโทษที่ถึงประหารได้ (๑๐) ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระบาทพึงได้เป็นอัครมเหสีที่ โปรดปรานของพระราชาในแว่นแคว้นสีพี ในพระราชนิเวศน์อันกึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนก กระเรียน พรั่งพร้อมด้วยหมู่วรนารี เกลื่อนกล่นไป ด้วยคนเตี้ยและคนค่อม อันพ่อครัวชาวมคธเลี้ยงดู กึก ก้องไปด้วยเสียงกลอน และเสียงบานประตูอันวิจิตร มีคนเชิญให้ดื่มสุราและกินกับแกล้ม.

ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า

[๑๐๔๙] ดูก่อนนางผู้งามทั่วสรรพางค์กาย พร ๑๐ ประการเหล่าใด ที่เราให้แต่เธอ เธอจักได้พร ๑๐ ประการเหล่านั้น ในแว่นแคว้นของพระเจ้าสีวิราช.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 486

[๑๐๕๐] ครั้นท้าววาสวะมฆวาสุชัมบดีเทวราช ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็โปรดประทานพรแก่พระนางผุสดี เทพอัปสร.

(นี้) ชื่อว่าทศพรคาถา.

[๑๐๕๑] พระนางผุสดีเทพอัปสรจุติจากดาวดึงส์ เทวโลกนั้น มาบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ได้ทรงอยู่ร่วม กับพระเจ้าสญชัยในพระนครเชตุดร พระนางผุสดี ทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรงทำประทักษิณพระนคร ประสูติเราที่ท่ามกลางถนนของพวกพ่อค้า ชื่อของเรา มิได้เนื่องแต่พระมารดา และมิได้เกิดแต่พระบิดา เราเกิดที่ถนนแห่งพ่อค้า เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า เวสสันดร เมื่อใดเรายังเป็นทารก มีอายุ ๔ ขวบแต่ เกิดมา เมื่อนั้นเรานั่งอยู่ในปราสาทคิดจะบริจาคทาน ว่า เราจะพึงให้หทัย ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย เมื่อใครมาขอเรา เราก็ยินดีให้ เมื่อเราคิดถึงการบริ- จาคทานอันเป็นความจริง หทัยก็ไม่หวั่นไหวมุ่งมั่น อยู่ในกาลนั้น ปฐพีมีสิเนรุบรรพตและหมู่ไม้เป็น เครื่องประดับ ได้หวั่นไหว.

[๑๐๕๒] พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีขนรักแร้ดก และมีเล็บยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขน ข้างขวาจะขออะไรฉันหรือ.

พราหมณ์กราบทูลว่า

[๑๐๕๓] ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทูลขอรัตนะเครื่องให้แว่นแคว้นของชาวสีพีเจริญ ขอ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 487

ได้โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐ ซึ่งมีงาดุจงอน ไถอันมีกำลังสามารถเถิด พระเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๐๕๔] เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ ซึ่งเป็นช่างราชพาหนะอันสูงสุดที่พราหมณ์ทั้งหลาย ขอเรา เรามิได้หวั่นไหว.

[๑๐๕๕] พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง มีพระหฤทัยน้อมไปในการบริจาค เสด็จลงจากคอช้าง พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๕๖] เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัว ประเสริฐ (แก่พราหมณ์ทั้ง ๘) แล้วในกาลนั้น ความ น่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็ หวั่นไหว เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ในกาลนั้น ได้เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยอง เกล้า ชาวพระนครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ยัง แว่นแคว้นของชาวสีพีให้เจริญพระราชทานช้างตัว ประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น เสียงอันกึกก้องก็แผ่ ไปมากมาย.

[๑๐๕๗] ครั้งนั้น เมื่อพระเวสสันดรพระราช- ทานช้างตัวประเสริฐแล้วเสียอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมาก ก็เป็นไปในนครนั้น ในกาลนั้นชาวนครก็กำเริบ ครั้ง นั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 488

พระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัว เป็นอันมากก็เป็นไปในนครนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๑๐๕๘] พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พวก พ่อค้าชาวนา พวกพราหมณ์ กองช้าง กองม้า กอง รถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้นมาประชุม พร้อมกัน พวกเหล่านั้นเห็นพวกพราหมณ์นำพระยา ช้างไป ก็กราบทูลแด่พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้สมมติเทพ แว่นแคว้นของพระองค์ถูกกำจัด แล้ว เหตุไรพระเวสสันดรโอรสของพระองค์ จึง พระราชทานช้างตัวประเสริฐของชาวเราทั้งหลาย อัน ชาวแว่นแคว้นสักการะบูชา ไฉนพระเวสสันดรราช- โอรสจึงพระราชทานพระยากุญชรของชาวเราทั้งหลาย อันมีงางอนงามแกล้วกล้า สามารถรู้จักเขตแห่งยุทธวิธี ทุกอย่าง เป็นช้างเผือกขาวผ่อง ประเสริฐสุด ปก คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลือง กำลังซับมัน สามารถย่ำยี ศัตรูได้ ฝึกดีแล้ว พร้อมทั้งวาลวิชนีมีสีขาว เช่น ดังเขาไกรลาศ ไฉนพระเวสสันดรราชโอรสจึงพระราชทานพระยาช้างราชพาหนะซึ่งเป็นยานชั้นเลิศ เป็น ทรัพย์อย่างประเสริฐพร้อมทั้งฉัตรขาว เครื่องลาด หมอช้าง และคนเลี้ยงช้างแก่พวกพราหมณ์.

[๑๐๕๙] พระเวสสันดรโอรสนั้นควรจะพระราชทาน ข้าว น้ำ ผ้านุ่งผ้าห่มและที่นั่งที่นอน สิ่ง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 489

ของเช่นนี้แลสมควรจะพระราชทาน สมควรแก่พวก พราหมณ์ ข้าแต่พระเจ้าสัญชัย ไฉนพระเวสสันดร ราชโอรส ผู้เป็นพระราชาโดยสืบพระวงศ์ของพระองค์ ผู้ผดุงสีพีรัฐ จึงทรงพระราชทานพระยาคชสารไป ถ้า พระองค์จักไม่ทรงทำตามถ้อยคำของชนชาวสีพี ชน ชาวสีพีก็เห็นจักทำพระองค์พร้อมด้วยพระราชโอรสไว้ ในเงื้อมมือ.

พระเจ้าสัญชัยทรงมีพระดำรัสว่า

[๑๐๖๐] ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจะ พินาศไปก็ตามเถิด เราไม่พึงขับไล่พระราชบุตรผู้ไม่ มีโทษจากแว่นแคว้นของตนตามคำของชาวสีพี เพราะ พระราชบุตรเกิดจากอกของเรา ถึงชนบทจะไม่มี และ แม้แว่นแคว้นจะพินาศไปก็ตามเถิด เราก็ไม่พึงขับไล่ พระราชบุตรผู้ไม่มีโทษจากแว่นแคว้นของตน ตาม คำของชาวสีพี เพราะพระราชบุตรเกิดแต่ตัวเรา อนึ่ง เราไม่พึงประทุษร้ายในพระราชบุตรนั้น เพราะเธอมี ศีลและวัตรอันประเสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึงประสบบาปเป็นอันมาก เราจะให้ฆ่า พระเวสสันดรบุตรของเราด้วยศาสตราอย่างไรได้.

ชาวสีพีกราบทูลว่า

[๑๐๖๑] พระองค์อย่าได้รับสั่งให้ฆ่าพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือศาสตราเลย ทั้งพระเวสสันดรนั้นก็ไม่ควรแก่เครื่องพันธนาการ แต่จงทรง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 490

ขับไล่พระเวสสันดรนั้นเสียจากแว่นแคว้น จงไปอยู่ ที่เขาวงกตเถิด.

พระเจ้าสัญชัยตรัสว่า

[๑๐๖๒] ถ้าความพอใจของชาวสีพีเช่นนี้ เราก็ ไม่ขัด ขอเธอจงได้อยู่และบริโภคกามทั้งหลาย ตลอด คืนนี้ ต่อเมื่อสิ้นราตรีแล้วพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาว สีพีจงพร้อมเพรียงกันขับไล่เธอเสียจากแว่นแคว้นเถิด.

[๑๐๖๓] ดูก่อนนายนักการ ท่านจงลุกขึ้น จง รีบไปทูลพระเวสสันดรว่า ขอเดชะ ชาวสีพี ชาวนิคม พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พ่อค้า ชาวนา พราหมณาจารย์ พากันโกรธเคืองมาประชุมกันอยู่ แล้ว กองช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ทั้ง ชาวนิคมและชาวสีพีทั้งสิ้นมาประชุมกันแล้ว เมื่อสิ้น ราตรีนี้ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจะพรักพร้อมกัน ขับไล่พระองค์จากแว่นแคว้น.

[๑๐๖๔] นายนักการนั้น เมื่อได้รับพระราช ดำรัสสั่ง จึงสวมสอดเครื่องประดับมือ นุ่งห่มเรียบ ร้อย ประพรมด้วยจุรณจันทน์ ล้างศีรษะในน้ำ สวม กุณฑลแก้วมณีแล้ว รีบเข้าไปยังบุรีอันน่ารื่นรมย์ เป็น ที่ประทับอยู่ของพระเวสสันดร ได้เห็นพระเวสสันดร ทรงพระสำราญอยู่ในพระราชวังของพระองค์ อัน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 491

เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่อำมาตย์ ปานประหนึ่งท้าววาสวะ แห่งไตรทศ.

[๑๐๖๕] นายนักการนั้น ครั้นรีบไปในพระราช นิเวศน์นั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ข้าพระบาทจะกราบทูลความ ทุกข์แด่พระองค์ ขออย่าได้ทรงกริ้วข้าพระบาทเลย นายนักการนั้น ถวายบังคมแล้วพลางคร่ำครวญกราบ ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์ทรงชุบ เลี้ยงข้าพระบาท ทรงนำมาซึ่งรสที่น่าใคร่ทุกอย่าง ข้าพระบาทจะกราบทูลความทุกข์แด่พระองค์ เมื่อ ข้าพระบาทกราบทูล ข่าวสารเรื่องทุกข์ร้อนนั้นแล้ว ขอพระยุคลบาทจงยังข้าพระบาทให้เบาใจ ขอเดชะ ชาวสีพี ชาวนิคม คนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พ่อค้า ชาวนา พราหมณาจารย์พากันโกรธเคืองมา ประชุมกันอยู่แล้ว กองช้าง กองม้า กองรถ กอง เดินเท้า ทั้งชาวนิคมและชาวสีพีทั้งสิน มาประชุมกัน อยู่แล้วเมื่อสิ้นราตรีนี้ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพี จะพรักพร้อมกันขับไล่พระองค์จากแว่นแคว้นพระเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๐๖๖] ดูก่อนนายนักการ เพราะเหตุไรชาว สีพีจึงโกรธเรา ขอท่านจงบอกความชั่วแก่เรา ผู้ไม่เห็น ความเดือดร้อนให้แจ้งชัด ด้วยเหตุไรเขาจึงขับไล่เรา.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 492

ราชบุรุษกราบทูลว่า

[๑๐๖๗] พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตร พ่อค้า ชาวนา พราหมณาจารย์ พวกกองช้าง กอง ม้า กองรถ กองเดินเท้า พากันติเตียนเพราะพระราชทานพระยาช้างพระที่นั่งต้น เหตุนั้นเขาจึงขับไล่ พระองค์ พระเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๐๖๘] เราจะให้หทัย ให้จักษุ เงิน ทอง แก้ว มุกดา แก้วไพฑูรย์ หรือแก้วมณี เป็นทรัพย์ภายนอก ของเรา จะเป็นอะไรไปเมื่อยาจกมาถึง เราเห็นแล้ว ก็จงให้แขนขวาแขนซ้าย ไม่หวั่นไหวเลย ใจของเรา ยินดีในทาน ชาวสีพีทั้งปวงจงขับไล่ จงฆ่าเราเสีย หรือจะตัดเราให้เป็นเจ็ดท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งด การให้ทานเลย.

ราชบุรุษกราบทูลว่า

[๑๐๖๙] ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าว อย่างนี้ว่า พระเวสสันดรผู้มีวัตรงาม จงเสด็จไปสู่ อารัญชรคีรีทางฝั่งแม่น้ำโกนติมารา ตามทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๐๗๐] เราจักไปตามทางที่พระราชาผู้มีโทษ เสด็จไป ขอให้ท่านทั้งหลายจงงดแก่เราคืนและวัน หนึ่งพอให้เราได้ให้ทานก่อนเถิด.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 493

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๗๑] พระราชาตรัสตักเตือนพระมัทรีผู้มี ความงาม ทั่วสรรพางค์ว่า ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พี่ให้แก่พระน้องนาง และสิ่งของที่ควรสงวนอัน เป็นของพระน้องนาง คือ เงิน ทอง แก้วมุกดาหรือ แก้วไพฑูรย์ มีอยู่เป็นอันมาก และทรัพย์ฝ่ายพระบิดา ของพระน้องนาง ควรเก็บไว้ทั้งหมด.

[๑๐๗๒] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้มีความงามทั่ว สรรพางค์ได้ทูลถามพระเวสสันดรนั้นว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันจะเก็บไว้ที่ไหน หม่อม ฉันทูลถามแล้ว ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกเนื้อ ความนั้นเถิด.

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๐๗๓] ดูก่อนพระน้องมัทรี พึงให้ทานใน ท่านผู้ศีลตามสมควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงยิ่ง ไปกว่าทานไม่มี.

[๑๐๗๔] ก่อนพระน้องมัทรี เธอพึงเอาใจใส่ใน ลูกทั้งสอง ในพระชนนีและพระชนกของพี่ อนึ่ง ผู้ใด พึงตกลงปลงใจว่าจะเป็นพระสวามีพระน้องนาง เธอ พึงบำรุงผู้นั้นโดยเคารพ ถ้าไม่มีใครมาตกลงปลงใจ เป็นพระสวามีพระน้องนาง เพราะพระน้องนางกับพี่ จะต้องพลัดพรากจากกัน พระน้องนางจงแสวงหา พระสวามีอื่นเถิด อย่าลำบากเพราะจากพี่เลย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 494

[๑๐๗๕] เพราะพี่จักต้องไปสู่ป่าที่น่ากลัว อัน เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย เมื่อพี่คนเดียวอยู่ในป่า ใหญ่ ชีวิตก็น่าสงสัย.

[๑๐๗๖] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้มีความงามทั่ว สรรพางค์ ได้กราบทูลพระเวสสันดรว่า ไฉนหนอ พระองค์จึงตรัสเรื่องที่ไม่เคยมีไฉนจึงตรัสเรื่องลามก ข้าแต่พระมหาราช ข้อที่พระองค์จะพึงเสด็จพระองค์ เดียวนั้น ไม่ใช่ธรรมเนียม ข้าแต่พระมหากษัตริย์แม้ หม่อมฉันก็จะตามเสด็จไป ตามทางที่พระองค์เสด็จ ความตายกับพระองค์นั่นแลประเสริฐกว่า เป็นอยู่เว้น จากพระองค์จะประเสริฐอะไร ก่อไฟให้ลุกโพลง มี เปลวเป็นอันเดียวกันตั้งอยู่แล้ว ความตายในไฟที่ลูก โพลง มีเปลวเป็นอันเดียวกันนั้นประเสริฐกว่า เป็น อยู่เว้นจากพระองค์จะประเสริฐอะไร นางช้างติดตาม พระยาช้างผู้อยู่ในป่า เที่ยวไป ณ ภูเขาและที่หล่ม ที่ เสมอและไม่เสมอ ฉันใด หม่อมฉันจะพาลูกทั้งสอง ติดตามพระองค์ไปเบื้องหลัง ฉันนั้น หม่อมฉันจัก เป็นผู้อันพระองค์เลี้ยงง่าย จักไม่เป็นผู้อันพระองค์ เลี้ยงยาก.

พระนางมัทรีกราบทูลว่า

[๑๐๗๗] เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่ง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 495

อยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อ พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มี เสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูด จาน่ารัก ณ อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึง ราชสมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมาร ทั้ง ๒ นี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ ณ อาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ จักไม่ทรงระลึกถึงราช- สมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง ๒ นี้ เล่นอยู่ ณ อาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ก็จักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตร เห็นพระกุมารทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมาลา ฟ้อนรำอยู่ ณ อาศรมรัมณียสถาน เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราช- สมบัติ เมื่อใด พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมาร ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงมาลา ฟ้อนรำอยู่ ณ อาศรมอัน เป็นที่รื่นรมย์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี เที่ยวอยู่ในป่าตัวเดียว เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอด พระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี เที่ยวไปในป่าเวลาเย็น ในเวลาเช้า เมื่อนั้น จักไม่ ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด กุญชรชาติมาตังคะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 496

มีวัยล่วง ๖๐ ปี เดินนำหน้าโขลงหมู่ช่างพังไป ส่ง เสียงร้องก้องโกญจนาท พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้อง ของช้างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้อง ของช้างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น ลำเนาป่าสองข้างทาง และสิ่งที่ให้ความนำใคร่ในป่า อันเกลื่อนกล่นไปด้วยเนื้อร้าย เมื่อนั้น จักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตร เห็นเนื้ออันเดินมาเป็นหมู่ๆ หมู่ละ ๕ ตัว และได้ทอด พระเนตรเห็นพวกกินนรที่กำลังฟ้อนอยู่ เมื่อนั้น จัก ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรง สดับเสียงกึกก้องแห่งแม่น้ำอันมีน้ำไหลหลั่ง และเสียง เพลงขับของพวกกินนร เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึง ราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้องของ นกเค้าที่เที่ยวอยู่ตามซอกเขา เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์จักได้ทรงสดับเสียง แห่งสัตว์ร้ายในป่า คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง แรด และ วัวลาน เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูง อันแวดล้อมไป ด้วยนางนกยูง รำแพนหางจับอยู่เป็นกลุ่มบนยอดภูเขา เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูง มีขนปีกงามวิจิตร

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 497

ห้อมล้อมด้วยนางนกยูงทั้งหลายรำแพนหางอยู่ เมื่อ นั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ ได้ทอดพระเนตรเห็นนกยูงมีคอเขียวมีหงอน แวดล้อม ด้วยนางนกยูงฟ้อนอยู่ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึง ราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น ต้นไม้อันมีดอกบาน มีกลิ่นหอมฟุ้งไปในฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระ องค์ได้ทอดพระเนตรเห็นแผ่นดินอันเขียวชะอุ่ม ดารดาษไปด้วยแมลงค่อมทองในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระองค์ได้ ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้อันมีดอกบานสะพรั่ง คือ อัญชันเขียวที่กำลังผลิยอดอ่อน ต้นโลท และ บัวบก มีดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นหอมฟุ้งไปในฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อใด พระ องค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นหมู่ไม้มีดอกบานสะพรั่ง และปทุมชาติอันมีดอกร่วงหล่นในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้น จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ.

จบกัณฑ์หิมพานต์

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๗๘] สมเด็จพระนางผุสดีราชบุตรีผู้เรืองยศ ได้ทรงสดับคำที่พระราชโอรส และพระสุณิสาพร่ำ สนทนากัน ทรงคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษ เสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตาย

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 498

เสียดีกว่า เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้า เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด เหตุไฉน ชาวนครสีพี จึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เป็น ปราชญ์เปรื่อง เป็นทานบดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่ เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก ผู้ไม่มีโทษผิด อันท้าวพระยาบูชา ผู้มีเกียรติมียศ เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูก รักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เลี้ยงดูมารดาบิดา ประพฤติถ่อม ตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะ ให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด ผู้เกื้อกูล แก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูรญาติ และมิตรสหาย ผู้เกื้อกูลทั่วรัฐสีมามณฑล.

พระนางผุสดีกราบทูลว่า

[๑๐๗๙] ชาวนครสีพีจะให้ขับพระราชโอรสผู้ ไม่มีโทษผิดเสีย รัฐสีมามณฑลของพระองค์ก็จะเป็น เหมือนรังผึ้งร้าง เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน ฉะนั้น พระองค์อันพวกอำมาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้อง ลำบากอยู่พระองค์เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุด ลำบากอยู่ในหนองอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ข้าแต่มหาราช เพราะฉะนั้น เกล้ากระหม่อมฉันขอกราบทูลพระองค์ ว่า ประโยชน์อย่าได้ล่วงพระองค์ไปเสียเลย ขอ พระองค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด เพราะถ้อยคำของชาวนครสีพีเลย.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 499

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๐๘๐] เราทำความยำเกรงต่อพระราชประเพณี จึงขับไล่พระราชโอรสผู้เป็นธงของชาวสีพี เราจำต้อง ขับไล่ลูกของตน ถึงแม้จะเป็นที่รักยิ่งกว่าชีวิตของเรา.

พระนางผุสดีตรัสว่า

[๑๐๘๑] แต่ปางก่อนยอดธงเคยแห่ตามเสด็จ พระเวสสันดร ดังดอกกรรณิการ์บาน วันนี้พระเวส- สันดรจะเสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนยอดธง เคยแห่ตามเสด็จพระเวสสันดรดังป่ากรรณิการ์ วันนี้ พระเวสสันดรจะเสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อน กองทหารรักษาพระองค์เคยตามเสด็จพระเวสสันดร เหมือนดอกกรรณิการ์บาน วันนี้พระเวสสันดรจะ เสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนกองทหารรักษา พระองค์เคยตามเสด็จพระเวสสันดร เหมือนป่ากรรณิ- การ์ วันนี้พระเวสสันดรจะต้องเสด็จแต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนทหารรักษาพระองค์ใช้ผ้ากัมพลเหลือง เมืองคันธาระ มีสีเหลืองเรืองรองเหมือนหิ่งห้อย เคย ตามเสด็จพระเวสสันดร วันนี้พระเวสสันดรจะเสด็จ แต่พระองค์เดียว แต่ปางก่อนพระเวสสันดรเคยเสด็จ ด้วยช้างพระที่นั่ง วอและรถทรง วันนี้จะเสด็จดำเนิน ด้วยพระบาทอย่างไร แต่ปางก่อนพระเวสสันดรเคย ลูบไล้องค์ด้วยจุรณแก่นจันทน์ ปลุกปลื้มด้วยการ ฟ้อนรำขับร้อง วันนี้จักทรงแบกหนังเสืออันหยาบ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 500

ขวานและหาบเครื่องบริขารไปได้อย่างไร พระเวส สันดรเมื่อเข้าไปอยู่ในป่าใหญ่ไฉนจะไม่ต้องขนเอาผ้า ย่อมน้ำฝาดและหนังเสือไปด้วย พระเวสสันดรเมื่อเข้า ไปอยู่ป่าใหญ่ ไฉนจะไม่ต้องใช้ผ้าคากรอง พวกคน ที่เป็นเจ้านายบวช จะทรงผ้าคากรองได้อย่างไรหนอ เจ้ามัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรองได้อย่างไร แต่ปางก่อน เจ้ามัทรีเคยทรงแต่ผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าโขมพัสตร์และ ผ้าโกทุมพรพัสตร์ เมื่อต้องทรงผ้าคากรองจักกระทำ อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม แต่ปางก่อนเคย เสด็จด้วยคานหาม วอและรถทรง วันนี้จะเสด็จเดิน ทางด้วยพระบาทได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม มีฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ไม่เคยทำงานหนักเคยตั้งอยู่ ในความสุข วันนี้จะเสด็จเดินทางด้วยพระบาทได้ อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างสวยงาม มีฝ่าพระบาทอัน อ่อนนุ่ม ไม่เคยเสด็จดำเนิน ด้วยพระบาทเปล่าตั้งอยู่ ในความสุข ทรงสวมรองเท้าทองเสด็จดำเนิน วันนี้ จะเสด็จเดินทางด้วยพระบาทได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูป ร่างอันสวยงามทรงสิริ แต่ก่อนเคยเสด็จดำเนินข้าง หน้านางข้าหลวงจำนวนพัน วันนี้จะเสด็จเดินป่าพระองค์เดียวได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างอันสวยงาม ขวัญอ่อน พอได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอนก็สะดุ้ง วันนี้ จักเสด็จเดินป่าได้อย่างไร เจ้ามัทรีผู้มีรูปร่างอันสวยงาม ขวัญอ่อน ได้สดับเสียงนกฮูกคำรามร้อง ก็กลัวตัวสั่น เหมือนนางวารุณี วันนี้จะเสด็จเดินป่าได้อย่างไร เมื่อ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 501

เกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวศน์อันว่างเปล่านี้ จักเศร้า กำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน ดังแม่นกถูกพรากลูก เห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันไม่ เห็นลูกรักทั้งสองก็จักซูบผอมเหมือนแม่นกถูกพรากลูก เห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉัน ไม่เห็นลูกรักทั้งสอง ก็จักวิ่งพล่านไปตามที่นั้นๆ ดัง แม่นกถูกพรากลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อ เกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวสน์อันว่างเปล่านี้ จักเศร้า กำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกออกถูกพราก ลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อม ฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสองก็จักซูบผอม ดังนางนกออก ถูกพรากลูกเห็นแต่รังอันว่างเปล่า ฉะนั้น เมื่อเกล้า กระหม่อมฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสอง ก็จักวิ่งพล่านไป ตามที่นั้นๆ ดังนางนกออกถูกพรากลูกเห็นแต่รังอัน ว่างเปล่านี้ ฉะนั้นเมื่อเกล้ากระหม่อมฉันมาสู่นิเวศน์ อันว่างเปล่านี้ ก็จักเศร้ากำสรดระทมทุกข์สิ้นกาลนาน เป็นแน่แท้เหมือนนางนกจากพรากซบเซาอยู่ในหนอง อันไม่มีน้ำ ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันไม่เห็นลูก รักทั้งสอง ก็จักซูบผอมเป็นแน่แท้ เหมือนนางนก จากพรากในหนองอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น เมื่อเกล้ากระหม่อมฉันไม่เห็นลูกรักทั้งสอง จักวิ่งพล่านไปตามที่ นั้นๆ เป็นแน่แท้ เหมือนนางนกจากพรากในหนอง อันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ก็เมื่อเกล้ากระหม่อนฉันพร่ำเพ้อ ทูลอ้อนวอนอยู่อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะทรงให้ขับไล่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 502

พระเวสสันดรเสียจากแว่นแคว้น เกล้ากระหม่อมฉัน เห็นจักต้องสละชีวิตเป็นแน่.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๘๒] นางสนมกำนัลในของพระเจ้าสีวิราช ทุกถ้วนหน้า ได้ยินคำรำพันของพระนางผุสดีแล้ว พากันมาประชุมประคองแขนทั้งสองขึ้นร่ำไห้ พระโอรส พระธิดา และพระชายา ในนิเวศน์ของพระเวสสันดร นอนกอดกันสะอื้นไห้ ดังหมู่ไม้รังอันถูก พายุพัดล้มระเนระนาดแหลกรานฉะนั้น พวกชาววัง พวกเด็กๆ พ่อค้าและพวกพราหมณ์ ในนิเวศน์ของ พระเวสสันดรต่างก็ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญ พวกกองช้าง กองม้า กองรถ และกองเดินเท้า ใน นิเวศน์ของพระวเสสันดร ต่างก็ประคองแขนทั้งสอง คร่ำครวญ ครั้นเมื่อสิ้นราตรีนั้น พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเวสสันดรเสด็จมาสู่โรงทาน เพื่อทรงทานโดยรับ สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ผ้าแก่ผู้ต้องการ จงให้เหล้า แก่พวกนักเลงเหล้า จงให้โภชนะแก่ผู้ต้องการโภชนะ โดยทั่วถึง และอย่าเบียดเบียนพวกวณิพกผู้มาในที่นี้ อย่างไร จงเลี้ยงดูพวกวณิพกให้อิ่มหนำด้วยข้าวและ น้ำ พวกเขาได้รับบูชาแล้วก็จงไป ครั้งนั้น เสียงดัง กึกก้องโกลาทลน้ำหวาดเสียวเป็นไปในพระนครนั้นว่า ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระเวสสันดร เพราะทรง บริจาคทาน ขอให้พระองค์ได้ทรงบริจาคทานอีกเถิด.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 503

[๑๐๘๓] เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ จะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ด เหนื่อย ลงนั่งปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพีพากันขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีผิดเสียจาก แว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้ที่ให้ผล ต่างๆ เสีย ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพี พากันขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันทรงผล ต่างๆ ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพีพากัน ขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันให้สิ่งที่ต้องการทุก อย่าง ฉะนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวนครสีพีพากัน ขับไล่พระเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสียจากแว่นแคว้น ก็เปรียบเหมือนช่วยกันตัดต้นไม้อันนำรสที่ต้องการทุก อย่างมาให้ ฉะนั้น เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะ เสด็จออก ทั้งคนแก่ เด็ก และคนปานกลางต่างพากัน ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะเสด็จออก พวกโหรหลวง พวก ขันที มหาดเล็กและเด็กชาต่างก็ประคองแขนทั้งสอง ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐจะ เสด็จออก แม้หญิงทั้งหลายที่มีอยู่ในพระนครนั้นต่าง ร้องไห้คร่ำครวญ สมณพราหมณ์และวณิพก ต่างก็ ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 504

ได้ยินว่าเป็นการไม่ยุติธรรมเลย เพราะเหตุพระเวส- สันดรทรงบำเพ็ญทานอยู่ในพระราชวังของพระองค์ จำต้องเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ เพราะ ถ้อยคำของชาวสีพี พระเวสสันดรทรงประทานช้าง เจ็ดร้อยเชือก ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อัน มีสายรัด มีทั้งกูบและสัปคับทอง นายควาญถือหอก ซัดและขอขึ้นคอประจำ แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้น ของพระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานม้าเจ็ดร้อยตัว อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นม้าสินธพ ชาติอาชาไนย เป็นม้าฝีเท้าเร็ว มีนายสารถีถือทวน และธนูขึ้นขี่ประจำ แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของ พระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานรถเจ็ดร้อยคันอัน ผูกสอดเครื่องรบปักธงไชยครบครัน หุ้มด้วยหนึ่งเสือ เหลืองและเสือโคร่ง ประดับด้วยเครื่องอลังการทุก อย่าง มีนายสารถีสวมเกราะถือธนูขึ้นขับขี่ แล้วเสด็จ ออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานสตรีเจ็ดร้อยคน นั่งประจำอยู่ในรถคันละคน สอดสวมสร้อยสังวาล ตบแต่งด้วยเครื่องทอง มีเครื่อง ประดับ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่สี เหลือง มีดวงตากว้าง ใบหน้ายิ้มแย้ม ตะโบกงาม เอวบางร่างน้อย แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของ พระองค์ พระเวสสันดรพระราชทานแม่โคนมเจ็ดร้อย ตัว พร้อมด้วยภาชนะเงินสำหรับรองน้ำนมทุกๆ ตัว

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 505

แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวส- สันดรพระราชทานทาสีเจ็ดร้อยและทาสเจ็ดร้อย แล้ว เสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ พระเวสสันดร พระราชทานช้าง ม้า และนารี อันประดับประดาอย่าง สวยงาม แล้วเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ ในกาลนั้น ได้มีสิ่งที่น่ากลัวขนพองสยองเกล้า เมื่อ พระเวสสันดรพระราชทานมหาทานแล้ว แผ่นดินก็ หวั่นไหว ครั้งนั้นได้มีสิ่งที่น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า พระเวสสันดรทรงประคองอัญชลีเสด็จออกจากแว่นแคว้นของพระองค์.

[๑๐๘๔] ครั้งนั้น เสียงดังกึกก้องโกลาหลน่า หวาดเสียวเป็นไปในพระนครนั้นว่า ชาวนครสีพีขับไล่ พระเวสสันดรเพราะบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรง บริจาคทานอีกเถิด.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๘๕] เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ จะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ด เหนื่อย นั่งลงปรับทุกข์กัน.

[๑๐๘๖] พระเวสสันดร กราบทูลพระเจ้าสัญชัย ผู้ประเสริฐธรรมิกราชว่า ขอเดชะ ขอพระองค์ทรง พระกรุณาโปรดเนรเทศข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะ ไปยังภูเขาวงกต ข้าแต่พระมหาราช สัตว์เหล่าใด เหล่าหนึ่งที่มีมาแล้ว ที่จะมีมา และที่มีอยู่ ยังไม่อิ่ม

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 506

ด้วยกามเลย ก็ต้องไปสู่สำนักของพระยายม ข้าพระองค์ บำเพ็ญทานอยู่ในปราสาทของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียน ชาวนครของตน จะต้องออกจากแว่นแคว้นของ ตน เพราะถ้อยคำของชาวสีพี ข้าพระองค์จักต้องได้ เสวยความลำบากนั้นๆ ในป่าอันเกลื่อนกล่นด้วยพาล มฤค เป็นที่อยู่อาศัยของแรดและเสือเหลือง ข้าพระองค์จะทำบุญทั้งหลาย เชิญพระองค์ประทับจมอยู่ใน เปือกตมเถิดพระเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๐๘๗] ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอได้ทรงโปรดอนุ- ญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอบวช ข้าพระองค์ บำเพ็ญทานอยู่ในปราสาทของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียน ชาวนครของตน จะต้องออกจากแว่นแคว้นของตน เพราะถ้อยคำของชาวสีพี จักต้องได้เสวยความลำบาก นั้นๆ ในป่าอันเกลื่อนกล่นด้วยพาลมฤค เป็นที่ อาศัยของแรดและเสือเหลือง ข้าพระองค์จะกระทำ บุญทั้งหลาย จะไปสู่เขาวงกต.

พระนางผุสดีตรัสว่า

[๑๐๘๘] ลูกเอ๋ย แม่อนุญาตให้ลุก การบวช ของลูกจงสำเร็จ ส่วนแม่มัทรีผู้มีความงาม ตะโพก ผึ่งผาย เอวบางร่างน้อย จงอยู่กับลูกๆ เถิด จักทำ อะไรในป่าได้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 507

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๐๘๙] ข้าพระองค์ไม่พยายามจะนำแม้ซึ่งนาง- ทาสีไปสู่ป่า โดยเขาไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะ ตามไป (ก็ตามใจ) ถ้าเขาไม่ปรารถนาก็จงอยู่.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๐๙๐] ลำดับนั้น พระมหาราชาเสด็จดำเนินไป ทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีร่างกายอัน ชะโลมจันทน์ เจ้าอย่าได้ทรงธุลีละอองเลย แม่มัทรี เคยทรงผ้ากาสี อย่าได้ทรงผ้าคากรองเลย การอยู่ใน ป่าเป็นความลำบาก ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีลักขณาอันงาม เจ้าอย่าไปเลยนะ.

[๑๐๙๑] พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระสัสสุระนั้นว่า ความสุขอันใดจะพึงมี แก่เกล้ากระหม่อมฉัน โดยว่างเว้นพระเวสสันดร เกล้ากระหม่อมฉัน ไม่พึงปรารถนาความสุขอันนั้น. [๑๐๙๒] พระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐ ได้ตรัสกะ พระนางมัทรีนั้นว่า เชิญฟังก่อนแม่มัทรี สัตว์อันจะ รบกวน ยากที่จะอดทนได้ มีอยู่ในป่าเป็นอันมาก คือ เหลือบ ตั๊กแตน ยุง และผึ้งมันจะพึงเบียดเบียนเธอ ในป่านั้น ความทุกข์อย่างยิ่งนั้นจะพึงมีแต่เธอ เธอจะ ต้องได้พบสัตว์ที่น่ากลัวอื่นๆ ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ เช่นงูเหลือมเป็นสัตว์ไม่มีพิษ แต่มันมีกำลังมาก มัน รัดมนุษย์ หรือแม้เนื้อที่มาใกล้ๆ ด้วยลำตัว เอามาไว้

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 508

ในขนดหางของมัน เนื้อร้ายอย่างอื่นๆ เช่นหมีมีขนดำ คนที่มันพบเห็นแล้ว หนีขึ้นต้นไม้ก็ไม่พ้น ควายเปลี่ยว ขวิดเฝืออยู่ เขาทั้งคู่ปลายคมกริบ เที่ยวอยู่ในถิ่นนี้ ใกล้ฝั่งแม่น้ำโสตุมพะ ดูก่อนแม่มัทรี เธอเปรียบ เหมือนแม่โครักลูก เห็นฝูงเนื้อและโคถึกอันท่องเที่ยว อยู่ในป่า จักทำอย่างไร ดูก่อนแม่มัทรี เธอได้เห็น ทะโมนไพรอันน่ากลัวที่ประจวบเข้าในหนทางที่เดินได้ ยาก ความพรั่นพรึงจักต้องมีแก่เธอ เพราะไม่รู้จักเขต เมื่อเธออยู่ในพระนคร ได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอน ย่อม สะดุ้งตกใจ เธอไปถึงเขาวงกตจักทำอย่างไร เมื่อฝูง นกพากันจับเจ้าในเวลาเที่ยง ป่าใหญ่เหมือนส่งเสียง กระหึ่ม เธอปรารถนาจะไปในป่าใหญ่นั้นทำไม.

[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความสวยงาม ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสัญชัยนั้นว่า พระองค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกสิ่งที่น่ากลัวอันมีอยู่ในป่า แก่เกล้ากระหม่อมฉัน เกล้ากระหม่อมฉันจักยอมทน ต่อสู้สิ่งน่ากลัวทั้งปวงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน เกล้ากระหม่อมฉัน จักแหวกต้นเป้ง คา หญ้าคมบาง แฝก หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย ไปด้วยอก เกล้ากระหม่อมฉันจักไม่ เป็นผู้อันพระเวสสันดรนำไปได้ยาก อันว่ากุมารีย่อม ได้สามีด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก คือ ด้วยการอด อาหาร ตรากตรำท้อง ด้วยการผูกคาดไม้คางโค ด้วย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 509

การบำเรอไฟ และด้วยการดำน้ำ ความเป็นหม้าย เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชายใดจับมือหญิง หม้ายผู้ไม่ปรารถนาฉุดคร่าไป ชายนั้นเป็นผู้ไม่ควร บริโภคของที่เป็นเดนของหญิงหม้ายนั้นโดยแท้ ความ เป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้ เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชาย อื่นให้ทุกข์มากมายมิใช่น้อย ด้วยการจับผมและเตะ ถีบจนล้มลงที่พื้นดิน แล้วไม่ให้หลีกหนี ความเป็น หม้ายเป็นควานเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น จอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน พวกเจ้าชู้ ผู้ต้องการหญิงหม้ายที่มีผิวพรรณผุดผ่อง ให้ของเล็ก น้อยแล้ว สำคัญตัวว่าเป็นผู้มีโชคดีย่อมฉุดคร่าหญิง หม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดังฝูงกาผู้กลุ้มรุมนกเค้าแมว ฉะนั้น ความเป็นหม้าย เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป แน่นอน อันว่าหญิงหม้ายแม้จะอยู่ในตระกูลญาติอัน เจริญรุ่งเรืองไปด้วยเครื่องทอง จะไม่ได้รับคำติเตียน ล่วงเกินจากพี่น้องและเพื่อนฝูงก็หาไม่ ความเป็นหม้าย เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่า ดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาก็เปล่าดาย แม่หญิงเป็น หม้ายก็เปล่าดาย ถึงแม้หญิงนั้นจะมีพี่น้องตั้งสิบคน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 510

ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน อันว่าธงเป็นเครื่องหมายแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏ แห่งไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น ภัสดาเป็น สง่าของหญิง ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป แน่นอน หญิงจนผู้ทรงเกียรติย่อมร่วมสุขทุกข์ของสามี ที่จน หญิงมั่งคั่งผู้ทรงเกียรติ ย่อมร่วมสุขทุกข์ของ สามีที่มั่งคั่ง เทพเจ้าย่อมสรรเสริญหญิงนั้นแล เพราะ เจ้าหล่อนทำกิจที่ทำได้ยาก เกล้ากระหม่อมฉันจักบวช ติดตามพระสวามีไปทุกเมื่อ แม่เมื่อแผ่นดินยังไม่ทำ- ลาย ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนของหญิง เกล้ากระหม่อมฉันว่างเว้นพระเวสสันดรเสียแล้ว ไม่พึง ปรารถนาแม้แผ่นดินอันมีสาครเป็นขอบเขต ทรงไว้ ซึ่งเครื่องปลื้มใจเป็นอันมาก บริบูรณ์ด้วยรัตนะต่างๆ เมื่อสามีตกทุกข์แล้ว หญิงเหล่าใดย่อมหวังสุขเพื่อตน หญิงเหล่านั้นเลวทรามหนอ หัวใจของหญิงเหล่านั้น เป็นอย่างไรหนอ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐ เสด็จ ออกแล้วเกล้ากระหม่อมฉันจักขอติดตามพระองค์ไป เพราะพระองค์ทรงประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง แก่เกล้ากระหม่อมฉัน.

[๑๐๙๔] พระมหาราชาได้ตรัสกะพระนางมัทรีผู้ มีความงามทั่วพระวรกายว่า ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีศุภ-

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 511

ลักษณ์ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาลูกรักทั้งสองของ เธอนี้ ยังเป็นเด็ก เจ้าจงละไว้ ไปเถิด พ่อจะรับเลี้ยงดู เด็กทั้งสองนั้นไว้เอง.

[๑๐๙๕] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความงามทั่ว พระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ พ่อ ชาลีและแม่กัณหาชินาทั้งสอง เป็นลูกสุดที่รักของ เกล้ากระหม่อมฉัน ลูกทั้งสองนั้น จักยังหัวใจของ เกล้ากระหม่อมฉันผู้มีชีวิตอันเศร้าโศกให้รื่นรมย์ใน ป่านั้น.

[๑๐๙๖] พระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้ ตรัสกะพระนางมัทรีนั้นว่า เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าว สาลีอันปรุงด้วยเนื้อสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จัก ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อย ปละ อันเป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบ ไม้ จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยทรงภูษาแคว้นกาสี ภูษาโขมรัฐและภูษาโกทุมพรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้า คากรอง จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยไปด้วยคาน หาม วอและรถ เมื่อต้องเดินด้วยเท้าเปล่า จักทำ อย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมในเรือนยอดมีบาน หน้าต่างปิดสนิท ไม่มีลม เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้ จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรม อันปู ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมเครื่อง ลาดหญ้า จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยลูกไล้ด้วย

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 512

กฤษณา และจันทน์หอม เมื่อต้องทรงละอองธุลี จัก ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยตั้งอยู่ในความสุข มีผู้พัดวี ให้ด้วยแส้จามรีและหางนกยูง ต้องถูกเหลือบและยุง กัด จักทำอย่างไร.

[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตร ผู้มีความงาม ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ พระองค์อย่าได้ทรงปริเทวนาและอย่าได้ทรงเสียพระทัยเลย เกล้ากระหม่อมฉันทั้งสอง จักเป็นอย่างไร เด็กทั้งสองก็จักเป็นอย่างนั้น พระนางมัทรีผู้มีความ งามทั่วพระวรกาย ครั้นกราบทูลคำนี้แล้วเสด็จหลีก ไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ ทรงพาพระโอรสและ พระธิดาเสด็จไปตามทางที่พระเจ้าสีพีเคยเสด็จ.

[๑๐๙๘] ลำดับนั้น พระเวสสันดรขัตติยราช ครั้นพระราชทานทานแล้ว ทรงถวายบังคมพระราชบิดา พระราชมารดา และทรงกระทำประทักษิณแล้ว เสด็จ ขึ้นทรงรถพระที่นั่งอันเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัวทรงพา พระโอรสพระธิดาและพระชายาเสด็จไปสู่ภูเขาวงกต.

[๑๐๙๙] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราช เสด็จ เข้าไปที่หมู่ชนเป็นอันมากตรัสบอกลาว่า เราขอลาไป ละนะ ขอญาติทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีโรคเถิด.

[๑๑๐๐] เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระนคร ทรงเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ครั้งนั้น แผ่น

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 513

ดินอันมีขุนเขาสิเนรุและราวป่าเป็นเครื่องประดับ หวั่นไหว.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๐๑] เชิญดูเถิดมัทรี ที่ประทับของพระเจ้า สีพีราชปรากฏเป็นรูปอันน่ารื่นรมย์ ส่วนมณเฑียร ของเราเป็นดังเรือนเปรต.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๐๒] พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดร นั้นไป เขาได้ขอม้ากะพระองค์ พระองค์อันพราหมณ์ ทั้งหลายทูลขอแล้ว ทรงมอบม้า ๔ ตัวให้แก่พราหมณ์ ๔ คน.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๐๓] เชิญดูเถิดมัทรี ละมั่งทองร่างงดงาม ใครๆ ไม่เห็น เป็นดังม้าที่ชำนาญนำเราไป.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๐๔] ต่อมา พราหมณ์คนที่ห้าในที่นั้นได้มา ขอราชรถกะพระองค์ พระองค์ทรงมอบรถให้แก่เขา และพระทัยของพระองค์มิได้ย่อท้อเลย.

[๑๑๐๕] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราชให้คน ของพระองค์ลงแล้ว ทรงปลอบให้ปลงพระทัยมอบ รถม้าให้แก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 514

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๐๖] ดูก่อนมัทรี เธอจงอุ้มกัณหานี้ผู้เป็น น้องคงจะเบากว่า พี่จักอุ้มชาลี เพราะชาลีเป็นพี่คง จะหนัก.

พระศาสดาตรัสว่า [๑๑๐๗] พระราชาทรงอุ้มพระโอรส ส่วนพระราชบุตรีทรงอุ้มพระธิดา ทรงยินดีร่วมกันดำเนิน ตรัส ปราศรัยด้วยคำอันน่ารักกะกันและกัน.

จบทานกัณฑ์

[๑๑๐๘] ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทางหรือ เดินสวนทางมา เราจะถามมรรคากะพวกเขาว่า ภูเขา วงกตอยู่ที่ไหน พวกเขาเห็นเราในระหว่างบรรดานั้น จะพากันคร่ำครวญด้วยความกรุณาระทมทุกข์ ตอบ เราว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล.

[๑๑๐๙] ครั้งนั้น พระกุมารทั้งสองทอดพระเนตรเห็นต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ ทรงพระกรรแสง เหตุประสงค์ผลไม่เหล่านั้น หมู่ไม้สูงใหญ่ดังจะเห็น พระกุมารทั้งสองทรงพระกรรแสง จึงน้อมกิ่งลงมา เองจนใกล้จะถึงพระกุมารทั้งสอง พระนางมัทรีผู้งด งามทั่วพระวรกาย ทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์ไม่ เคยมี น่าขนพองสยองเกล้านี้ จึงซ้องสาธุการว่า น่า อัศจรรย์ขนลุกขนพองไม่เคยมีในโลกหนอ ด้วยเดช แห่งพระเวสสันดร ต้นไม้น้อมกิ่งลงมาเองได้.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 515

[๑๑๑๐] เทพเจ้าทั้งหลายมาช่วยย่นมรรคาให้ กษัตริย์ทั้ง ๔ เสด็จถึงเจตรัฐ โดยวันที่เสด็จออกนั่น เอง เพื่ออนุเคราะห์พระกุมารทั้งสอง.

[๑๑๑๑] กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์นั้น ทรงดำเนิน สิ้นมรรคายืดยาว เสด็จถึงเจตรัฐอันเป็นชนบทเจริญ มั่งคั่ง มีมังสะและข้าวดีๆ เป็นอันมาก.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๑๒] สตรีชาวนครเจตรัฐ เห็นพระนางมัทรี ผู้มีศุภลักษณ์เสด็จมาก็พากันห้อมล้อมกล่าวกันว่า พระแม่เจ้านี้เป็นสุขุมาลชาติหนอ มาเสด็จดำเนิน พระบาทเปล่า เคยทรงคานหามสีวิกามาศและราชรถ แห่ห้อม วันนี้ พระนางเจ้ามัทรีต้องเสด็จดำเนินใน ป่าด้วยพระบาท.

[๑๑๑๓] พระยาเจตราชทั้งหลายได้ทัศนาเห็น พระเวสสันดร ต่างก็ทรงกรรแสงเข้าไปเฝ้า กราบทูล ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรง พระสำราญไม่มีโรคาพาธแลหรือ พระองค์ไม่มีความ ทุกข์แลหรือ พระราชธิดาของพระองค์หาพระโรคาพาธมิได้แลหรือ ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ ข้าแต่ พระมหาราชา พลนิลายของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน กระบวนรถของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน พระองค์ไม่มี ม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาสิ้นทางไกล พวก อมิตรมาย่ำยีหรือ จึงเสด็จมาถึงทิศนี้.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 516

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๑๔] สหายทั้งหลายเอ๋ย ข้าพเจ้ามีความสุข ไม่มีโรคาพาธ ข้าพเจ้าไม่มีความทุกข์ อนึ่ง พระราช บิดาของเราก็ทรงปราศจากพระโรคาพาธ และชาวสีพี ก็สุขสำราญดี เพราะข้าพเจ้าได้ให้พระยาเศวตกุญชรคชาธารอันประเสริฐสุด มีงางอนงามดังงอนไถ มี กำลังแกล้วกล้าสามารถ รู้เขตชัยภูมิแห่งสงครามทั้ง ปวง อันลาดด้วยผ้ากัมพลเหลือง เป็นช้างซับมันอาจ ย่ำยีศัตรูได้ มีงางาม พร้อมทั้งพัดวาลวิชนี เป็นช้าง เผือกขาวผ่องดังเขาไกรลาส พร้อมทั้งเศวตฉัตรและ เครื่องปูลาด ทั้งหมอช้างและควาญช้าง เป็นยานอัน เลิศ เป็นราชพาหนะ เราได้ให้แก่พราหมณ์ เพราะ เหตุนั้น ชาวนครสีพีพากันโกรธเคืองข้าพเจ้า ทั้ง พระราชธิดาก็ทรงกริ้วขับไล่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไป เขาวงกต สหายทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ ข้าพเจ้าทราบโอกาสอันเป็นที่อยู่ในป่าเถิด.

พระเจ้าเจตราชทูลว่า

[๑๑๑๕] ข้าแต่พระมหาราช พระองค์เสด็จมา ดีแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมาร้ายเลย พระองค์ผู้เป็น อิสราธิบดีเสด็จมาถึงแล้วขอจงตรัสบอกพระประสงค์ สิ่งซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ข้าแต่พระมหาราช ขอเชิญ เสวยสุธาโภชนาหารข้าวสาลี ผักดอง เหง้านั้น น้ำผึ้ง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 517

และเนื้อ พระองค์เสด็จมาถึง เป็นแขกที่ข้าพระองค์ ทั้งหลายสมควรจะต้อนรับ.

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๑๑๖] สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้น ทั้งหมดเป็นอันข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอัน ท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชาทรงพิโรธ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปยังเขาวงกต ดูก่อนสหายทั้ง หลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าทราบโอกาสอัน เป็นที่อยู่ในป่านั้นเถิด.

พระเจ้าเจตราชทูลว่า

[๑๑๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เชิญเสด็จ ประทับ ณ เจตรัฐนี้ก่อนเถิด จนกว่าชาวเจตรัฐจักไป เฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูละขอให้พระองค์ทรงทราบ ว่า พระมหาราชผู้ผดุงสีพีรัฐไม่มีโทษ ชาวเจตรัฐ ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว มีความปรีดาจะพากันเห่ล้อม แวดล้อมพระองค์ไป ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์ ทรงทราบอย่างนี้เถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๑๘] การไปเฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูลขอ ให้พระองค์ทรงทราบว่าเราไม่มีโทษ ท่านทั้งหลายอย่า ชอบใจเลย ในเรื่องนั้นแม่พระราชาก็ไม่ทรงเป็นอิสระ เพราะถ้าชาวนครสีพีทั้งพลนิกาย และชาวนิคมโกรธ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 518

เคืองแล้ว ก็ปรารถนาจะกำจัดพระราชาเสีย เพราะ เหตุแห่งข้าพเจ้า.

พระเจ้าเจตราชทูลว่า

[๑๑๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ผดุงรัฐ ถ้าพฤติการณ์ นั้นเป็นไปในรัฐนี้ ชาวเจตรัฐขอถวายตัวเป็นบริวาร เชิญเสด็จครองราชสมบัติในเจตรัฐนี้ทีเดียว รัฐนี้ก็มั่ง คั่งสมบูรณ์ ชนบทก็เพียบพูนกว้างใหญ่ ข้าแต่สมมติ- เทพ ขอพระองค์ทรงปลงพระทัยปกครองราชสมบัติ เถิด พระเจ้าข้า.

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๑๒๐] ข้าพเจ้าไม่มีความพอใจ ไม่ตกลงใจ เพื่อจะปกครองราชสมบัติ ท่านเจตบุตรทั้งหลาย ขอ ท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้าผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้น ชาวพระนครสีพี ทั้งพลนิกายและชาวนิคม คงไม่ ยินดีว่า ชาวเจตรัฐราชาภิเษกข้าพเจ้าผู้ถูกขับไล่ไปจาก แว่นแคว้น แม้ความไม่เบิกบานใจ พึงมีแก่ท่านทั้ง หลาย เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าเป็นแน่ อนึ่ง ความ บาดหมางและความทะเลาะกับชาวสีพี ข้าพเจ้าไม่ชอบ ใจ ใช่แต่เท่านั้น ความบาดหมางพึงรุนแรงขึ้นสงคราม อันร้ายกาจก็อาจมีได้ คนเป็นอันมากพึงฆ่าฟันกันเอง เพราะเหตุแห่งข้าพเจ้าผู้เดียว สิ่งใดอันท่านทั้งหลาย ให้แล้ว สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นอันข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการ เป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 519

พระราชาทรงพิโรธข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปยังเขาวงกต ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าทราบโอกาสเป็นที่อยู่ใน ป่านั้นเถิด.

พวกกษัตริย์ทูลว่า

[๑๐๒๑] เชิญเถิด ราชฤาษีทั้งหลายผู้ทรงบูชาไฟ มีพระทัยตั้งมั่น ประทับอยู่ ณ ประเทศใด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักกราบทูลประเทศนั้นให้ทรงทราบ เหมือนอย่างผู้ฉลาดในหนทาง ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชา โน่นภูเขาศิลาชื่อว่าคันทมาทน์ อันเป็นสถานที่ ที่พระองค์พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดาและพระชายา สมควรจักประทับอยู่ พระเจ้าข้า.

[๑๑๒๒] พระยาเจตราชทั้งหลายก็ทรงกันแสง พระเนตรนองด้วยอัสสุชล กราบทูลพระเวสสันดรให้ ทรงสดับว่า ข้าแต่พระมหาราชา จากนี้ไป ขอเชิญ พระองค์ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เสด็จสัญจร ตรงไปยังสถานที่ ที่มีภูเขานั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรง พระเจริญ ลำดับนั้นพระองค์จักทรงเห็นภูเขาเวปุลบรรพต อันดารดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพันธุ์ มีเงา ร่มเย็น เป็นที่รื่นรมย์ใจ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ พระองค์เสด็จล่วงเลยเวปุลบรรพตนั้นแล้ว ถัด นั้นไป จักได้ทรงเห็นแม่น้ำอันมีนามว่าเกตุมดีเป็น แม่น้ำลึก ไหลมาจากซอกเขา เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูง ปลาหลากหลาย มีท่าน้ำราบเรียบดี มีน้ำมาก พระองค์

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 520

จะได้สรงสนานและเสวยในแม่น้ำนั้น ปลุกปลอบพระ ราชโอรสและพระราชธิดาให้สำราญพระทัย ข้าแต่ พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ถัดนั้นไป พระองค์จะได้ ทรงเห็นต้นไทรอันมีผลหวานฉ่ำ อยู่บนยอดเขาอัน เป็นที่รื่นรมย์ มีเงาร่มเย็น เป็นที่เบิกบานใจ ข้าแต่ พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ ถัดนั้นไป พระองค์จะได้ ทรงเห็นภูเขาศิลาชื่อว่านาลิกบรรพต อันเกลื่อนกล่น ไปด้วยฝูงนกนานาชนิด เป็นที่ชุมนุมแห่งหมู่กินนร ทางทิศอิสานแห่งนาลิกบรรพตนั้น มีสระน้ำชื่อว่า มุจลินท์ ดาดาษไปด้วยบุณฑริกบัวขาว และดอกไม้มี กลิ่นหอมหวาน เชิญพระองค์ผู้เป็นดังพระยาราชสีห์มี ความจำนงเหยื่อ เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์วนสถาน อันเป็นภูมิภาคเขียวชอุ่มดังเมฆอยู่เป็นนิตย์ สะพรั่งไป ด้วยไม้มีดอกและไม้มีผลทั้งสองอย่างในไพรสณฑ์นั้น มีฝูงวิหคมากมายต่างๆ สี มีเสียงเสนาะกลมกล่อม ต่าง ส่งเสียงประสานกันอยู่บนต้นไม้อันเผล็ดดอกตามฤดู กาล พระองค์เสด็จถึงซอกเขาอันเป็นทางเดินลำบาก เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย จะได้ทอดพระเนตร เห็นสระโบกขรณี อันดาดาษไปด้วยสลอดและกุ่มน้ำ มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น มีท่าราบเรียบ มีน้ำ มากเปี่ยมอยู่เสมอเป็นสระสี่เหลี่ยม มีน้ำจืดดีปราศจาก กลิ่นเหม็น พระองค์ควรทรงสร้างบรรณศาลาทางทิศ

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 521

อีสาน แห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้างบรรณ- ศาลาสำเร็จแล้ว ควรทรงบำเพ็ญเพียรเลี้ยงพระชนม์- ชีพด้วยการเที่ยวแสวงหามูลผลาหาร.

จบวนปเวสนกัณฑ์

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๒๓] พราหมณ์ชื่อว่าชูชกอยู่ในเมืองกลิงครัฐ ภรรยาของพราหมณ์นั้นเป็นสาว มีชื่อว่าอมิตตตาปนา ถูกพวกหญิงในบ้านนั้น ซึ่งพากันไปตักน้ำที่ท่าน้ำมา รุมกันด่าว่าอยู่อึงมิว่า มารดาของเจ้าคงเป็นศัตรูเป็น แน่ และบิดาของเจ้าก็คงเป็นศัตรูแน่นอน จึงได้ยก เจ้าซึ่งยังเป็นสาวรุ่นดรุณี ให้แก่พราหมณ์ชราเห็นปาน นี้ไม่เกื้อกูลเลยหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึกษา กันยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่นๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปาน นี้เป็นความชั่วหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึกษากัน ยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่นๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้ เป็นความลามกมากหนอ ที่พวกญาติของเจ้าแอบปรึกษากัน ยกเจ้าผู้ยังเป็นสาวรุ่นๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่า เห็นปานนี้หนอ ไม่น่าพอใจเลยหนอ ที่พวกญาติของ เจ้าแอบปรึกษากัน ยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวรุ่นๆ ให้แก่ พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้ เจ้าคงไม่พอใจอยู่กับผัวแก่ การที่เจ้าอยู่ในเรือนของพราหมณ์เฒ่า เจ้าตายเสียดีกว่า อยู่ ดูก่อนแม่คนงามคนสวย มารดาและบิดาของเจ้า

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 522

คงหาชายอื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่ จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็น สาวรุ่นๆ ให้แก่พราหมณ์เฒ่าเห็นปานนี้ เจ้าคงจัก บูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ ๙ คงจักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้ เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์ผู้มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า ผู้มีศีล เป็นพหูสูตในโลกเป็นแน่ เจ้าจึงได้มาอยู่ใน เรือนของพราหมณ์แก่แต่ยังสาวรุ่นๆ อย่างนี้ การที่ ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ การที่ถูกแทงด้วยหอกก็ไม่เป็น ทุกข์ การที่ได้เห็นผัวแก่นั้นแลพึงเป็นทุกข์ด้วย เป็น ความร้ายกาจด้วย การเล่นหัวย่อมไม่มีกับผัวแก่ การ รื่นรมย์ย่อมไม่มีกับผัวแก่ การเจรจาปราศรัยย่อมไม่มี กับผัวแก่ แม้การกระซิกกระซี้ก็ไม่งาม แต่เมื่อใด ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอกกันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้น ความ เศร้าทุกอย่างที่เสียดแทงหทัยอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้า ยังเป็นสาวรูปสวย พวกชายหนุ่มปรารถนายิ่งนัก เจ้า จงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติเถิด พราหมณ์แก่จักให้เจ่า รื่นรมย์ได้อย่างไร.

นางอมิตตตาปนากล่าวว่า

[๑๑๒๔] ดูก่อนท่านพราหมณ์ ฉันจักไม่ไปตัก น้ำที่แม่น้ำเพื่อท่านอีกต่อไป เพราะพวกหญิงชาวบ้าน มันรุมด่าฉัน เหตุที่ท่านเป็นคนแก่.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๒๕] เธออย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย ฉัน จักตักน้ำเอง เธออย่าโกรธเลย

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 523

นางกล่าวว่า

[๑๑๒๖] ฉันไม่ได้เกิดในสกุลที่ใช้สามีให้ตักน้ำ ท่านพราหมณ์ขอจงรู้อย่างนี้ว่า ฉันจักไม่อยู่ในเรือน ของท่าน ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่าน พราหมณ์จงทราบอย่างนี้ว่า ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของ ท่าน.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๒๗] ดูก่อนพราหมณี ศิลปกรรมหรือทรัพย์ และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจักนำทาสหรือทาสี มาให้เธอแต่ที่ไหน ฉันจักบำรุงเธอ เธออย่าโกรธ เลย.

นางกล่าวว่า

[๑๑๒๘] มานี่เถิด ฉันจักบอกแก่ท่านตามคำ ที่ฉันได้ฟังมา พระเวสสันดรราชฤาษีประทับอยู่ ณ เขาวงกต ท่านพราหมณ์จงไปทูลขอทาสและทาสีกะ พระองค์เถิด เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์จัก พระราชทานทาสและทาสแก่ท่าน.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๒๙] ฉันเป็นคนชราทุพพลภาพ ทั้งหนทาง ก็ไกลเดินไปได้ยาก เธออย่ารำพันไปเลย อย่าเสียใจ เลย ฉันจักบำรุงเธอ เธออย่าโกรธเลย.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 524

นางกล่าวว่า

[๑๑๓๐] คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทัน ได้รบก็ยอมแพ้ ฉันใด ท่านพราหมณ์ยังไม่ทันได้ไป ก็ยอมแพ้ ฉันนั้น ถ้าท่านพราหมณ์จักไม่นำทาสหรือ ทาสีมาให้ฉัน ขอท่านจงทราบไว้อย่างนี้ว่า ฉันจักไม่ อยู่ในเรือนของท่าน ฉันจักกระทำอาการไม่พอใจให้ แก่ท่าน ข้อนั้นจักเป็นความทุกข์ของท่าน ในคราว มหรสพซึ่งมีในต้นฤดูนักขัตฤกษ์ ท่านจักได้เห็นฉันผู้ แต่งตัวสวยงาม รื่นรมย์อยู่กับชายอื่นๆ ข้อนั้นจักเป็น ทุกข์ของท่าน ดูก่อนท่านพราหมณ์ เมื่อท่านซึ่งเป็น คนแก่รำพันอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จักงอ ยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๓๑] ลำดับนั้น พราหมณ์ตกใจกลัว ตกอยู่ ในอำนาจของนางพราหมณี ถูกกามราคะบีบคั้น ได้ กล่าวกะนางพราหมณีว่า ดูก่อนนางพราหมณี เธอจง ทำเสบียงเดินทางให้ฉัน ทั้งขนมงา ขนมเทียน สตู ก้อน สตูผง และข้าวผอก เธอจงจัดให้ดีๆ ฉันจัก นำพระพี่น้องสองกุมารมาให้เป็นทาส พระกุมารทั้ง สองนั้นเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน จักบำเรอเธอทั้งกลางคืน กลางวัน.

[๑๑๓๒] พราหมณ์ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง พรหม สวมรองเท้าแล้วพร่ำสั่งเสียต่อไป กระทำ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 525

ประทักษิณภรรยา สมาทานวัตรมีหน้านองด้วยน้ำตา หลีกไปสู่นครอันเจริญรุ่งเรืองของชาวสีพี เที่ยวแสวง หาทาสทาสี.

[๑๑๓๓] พราหมณ์ชูชกไปในนครนั้นแล้ว ได้ ถามประชาชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นๆ ว่า พระเวสสันดรราชประทับอยู่ ณ ที่ไหน เราทั้งหลายจะไป เฝ้าพระองค์ผู้บรมกษัตริย์ ณ ที่ไหน ชนทั้งหลายผู้มา ประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้นได้ตอบพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อน ท่านพราหมณ์พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ ถูกพวกท่าน เบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป ต้องทรงพา พระราชโอรส พระราชธิดา และพระอัครมเหสีไป ประทับอยู่ ณ เขาวงกต.

[๑๑๓๔] พราหมณีนั้นผู้มีความติดใจในกาม ถูกนางพราหมณ์ตักเตือนได้เสวยทุกข์เป็นอันมากใน ป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้ายเป็นที่เสพอาศัยแห่ง แรดและเสือเหลือง แกถือไม้เท้าสีเหมือนผลมะตูม อีกทั้งเครื่องบูชาไฟและเต้าน้ำ เข้าไปสู่ป่าใหญ่ โดย ทางที่ได้ทราบข่าวซึ่งพระหน่อกษัตริย์ผู้ประทานตาม ประสงค์ เมื่อพราหมณ์นั้นเข้าไปสู่ป่าใหญ่ถูกสุนัข ล้อมไล่ ตาแกร้องเสียงขรม เดินหลงทางห่างออกไป ไกล ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้โลภในโภคะ ไม่มีความ สำรวม (ถูกสุนัขล้อมไล่) หลงทางที่จะไปสู่เขาวงกต (และนั่งอยู่บนต้นไม้) ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 526

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๓๕] ใครเล่าหนอจะพึงบอกราชบุตรพระนามว่า เวสสันดรผู้ประเสริฐ ทรงชำนะความตระหนี่ อันใครให้แพ้ไม่ได้ ทรงให้ความปลอดภัยในเวลามี ภัยแก่เราได้ พระองค์เป็นที่พึ่งของพวกยาจก ดังธรณี เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายฉะนั้น ใครจะพึงบอกซึ่ง พระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนแม่ธรณีแก่เรา ได้ พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของพวกยาจก ดังสาครเป็น ที่ไหลไปรวมแห่งแม่น้ำทั้งหลายฉะนั้น ใครจะพึงบอก ซึ่งพระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนสาครแก่เรา ได้ พระองค์เป็นดังสระน้ำ มีท่าอันงามราบเรียบ ลง ดื่มได้ง่าย มีน้ำเย็นเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดาดาษไปด้วย บุณฑริกบัวขาบ สะพรั่งด้วยเกสรบัว ใครจะพึงบอก ซึ่งพระเวสสันดรมหาราชผู้เปรียบเหมือนสระน้ำแก่ เราได้ ใครจะพึงบอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้ เปรียบเหมือนต้นโพธิ์ใบที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็น น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อย ล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน แก่เราได้ ใครจะพึง บอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นไทร ที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พัก อาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยในเวลา ร้อนแก่เราได้ ใครจะพึงบอกพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็น

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 527

น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อย ล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อนแก่เราได้ ใครจะพึง บอกซึ่งพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นรัง ที่เถิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจเป็นที่พัก อาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาใน เวลาร้อนแก่เราได้ ใครจะพึงบอกซึ่งพระเวสสันดร มหาราช ผู้เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่เกิดอยู่ใกล้ทาง มีเงาร่มเย็นน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดิน ทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน แก่เราได้ ก็เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่ เพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ ผู้ใด จะพึงบอกว่า เรารู้ ผู้นั้นยังความยินดีให้เกิดแก่เรา เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่ เพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ ผู้ใด พึงบอกที่ประทับของพระเวสสันดรว่า เรารู้จัก ผู้นั้น ประสบบุญเป็นอันมาก ด้วยวาจาคำเดียวนั้น.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๓๖] นายเจตบุตร เป็นพรานเที่ยวอยู่ในป่า ได้ตอบแก่ชูชกนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระหน่อ กษัตริย์ ถูกพวกท่านรบกวน เพราะทรงบำเพ็ญทาน อย่างยิ่ง จึงถูกเนรเทศจากแคว้นของพระองค์มาประทับอยู่ ณ เขาวงกต ดูก่อนพราหมณ์ พระหน่อกษัตริย์ ถูกพวกท่านรบกวน เพราะทรงบำเพ็ญทานอย่างยิ่ง ต้องทรงพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีมาประทับ

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 528

อยู่ ณ เขาวงกต ท่านผู้มีปัญญาทราม ทำแต่กิจที่ไม่ ควรทำ ยังออกจากแว่นแคว้นตามมาถึงป่าใหญ่ เที่ยว แสวงหาพระราชบุตรดุจนกยางเที่ยวหาปลาอยู่ในน้ำ ฉะนั้น แน่ะพราหมณ์ เราจักไม่ให้ชีวิตแก่เจ้าในที่นี้ ลูกศรที่เราจะยิงนี้แหละ จักดื่มเลือดเจ้า ดูก่อน พราหมณ์ เราจักตัดหัวของเจ้า เชือดเอาหัวใจพร้อม ทั้งไส้พุง แล้วจักบูชาปันถสกุณยัญพร้อมด้วยเนื้อของ เจ้า ดูก่อนพราหมณ์ เราจักเชือดหัวใจของเจ้า ยกขึ้น เป็นเครื่องเซ่นสรวง พร้อมด้วยเนื้อ มันขึ้น และมัน ในสมองของเจ้า ดูก่อนพราหมณ์ มันข้น จักเป็นยัญ ที่เราบูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว ด้วยเนื้อของเจ้า เจ้าจักนำพระมเหสี และพระโอรส พระธิดาของ พระราชบุตรไปไม่ได้.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๓๗] ดูก่อนเจตบุตร จงฟังเราก่อน พราหมณ์ ผู้เป็นทูต เป็นคนหาโทษมิได้ เพราะเหตุนั้นแล คน ทั้งหลายย่อมไม่ฆ่าทูต นี้เป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมา แต่โบราณ ชาวสีพีทุกคนยินยอมแล้ว พระบิดาก็ทรง ปรารถนาจะพบพระราชบุตร และพระมารดาของ พระราชบุตรนั้นทรงทุพพลภาพ พระเนตรทั้งสองของ พระมารดานั้นจักขุ่นมัวในไม่ช้า เราเป็นทูตที่ชาวสีพี เหล่านั้นส่งมา ดูก่อนเจตบุตร จงฟังเราก่อน เราจัก

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 529

นำพระราชบุตรเสด็จกลับ ถ้าเจ้ารู้ จงบอกหนทาง แก่เรา.

เจตบุตรกล่าวว่า

[๑๑๓๘] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเป็นทูตที่รักของ พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้ เต้าน้ำผึ้ง และขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ท่าน และ จักบอกประเทศที่พระเวสสันดรหน่อกษัตริย์ผู้ให้สำเร็จ ความประสงค์ประทับอยู่แก่ท่าน.

จบชูชกบรรพ

เจตบุตรกล่าวว่า

[๑๑๓๙] ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันทมาทน์อันล้วนแล้วด้วยหิน พระเวสสันดรเจ้า พร้อม ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีทรงเพศนักบวช อันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชา ไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่าน บ่ายหน้าเดินทางไปทางทิศอุดร จะได้เห็นอาศรมนั้น นั่นหมู่ไม้เขียวชะอุ่ม มียอดสูงตระหว่าน คือ ไม้ ตะแบก หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้ตะคร้อ ไม้ ยางทราย ย่อมหวั่นไหวไปตามลม ดังมาณพดื่มสุรา คราวเดียวก็ซวนเซไปมาอยู่ฉะนั้น ท่านได้ฟังเสียงฝูง นกอันจับอยู่บนกิ่งไม้ปานดังเสียงเพลงขับทิพย์ คือ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 530

นกโพระดก นกดุเหว่า นกกระจง พลางส่งเสียงร้อง บินจากต้นไม้โน้นมาสู่ต้นไม้นี้ ทั้งหมู่ไม้ที่ต้องลมพัด สะบัดกิ่งและใบเสียดสีกันคล้ายกับจะเรียกคนผู้กำลัง เดินไปให้หยุด และเหมือนดังชักชวนคนผู้จะผ่านไป ให้ยินดีชื่นชมพักผ่อน พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วย พระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ทรงเพศเป็น พราหมณ์ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟ และชฎา ทรงนุ่งห่มหนึ่งเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่าย หน้าเดินไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.

[๑๑๔๐] ในบริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้มะม่วง มะขวิด ขนุน ไม้รัง ไม้หว้า สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม ไม้โพธิ์ ไม้พุทรา มะพลับทอง ต้นไทร และมะสัง มะซางหวานและมะเดื่อ มีผลสุกแดง เรื่อๆ อยู่ในที่ต่ำ คล้ายงาช้าง กล้วยหอม ผลจันทน์ มีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง รวงผึ้งไม่มีตัวมีในที่นั้น คน เอื้อมือปลิดมาบริโภคได้เอง ในบริเวณอาศรมนั้น มีต้นมะม่วง บางต้นออกช่อแย้มบาน บางต้นมีดอก และใบร่วงหล่น ผลิผลดาษดื่น บางอย่างยังดิบ บาง อย่างสุกแล้ว ผลมะม่วงดิบและสุกทั้งสองอย่างนั้น มี สีดังหลังกบ อนึ่ง ในบริเวณอาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ ในภายใต้ก็เก็บมะม่วงสุกกินได้ ผลมะม่วงดิบและสุก ทั้งหลาย มีสีสวย กลิ่นหอมและรสอร่อยที่สุด เหตุ

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 531

การณ์เหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน ถึง กับข้าพเจ้าออกอุทานว่า อือๆ ที่ประทับอยู่ของพระเวสสันดรนั้น เป็นดังที่ประทับอยู่ของทวยเทพ ย่อม งดงามปานด้วยนันทนวัน ต้นตาล ต้นมะพร้าว และ อินทผาลัม ที่มีอยู่ในป่าใหญ่มีดอกเรียงรายกันอยู่ เหมือนพวงมาลัยที่เขาร้อยไว้ หมู่ไม้เหล่านั้น ย่อม ปรากฏดังยอดธงชัย ในบริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้ ต่างๆ พันธุ์ คือ ไม้มูกมัน โกฐ สะค้าน แคฝอย ไม้บุนนาค บุนนาคเขา และไม้ทรึก มีดอกบานสะพรั่ง สีต่างๆ กันเหมือนหมู่ดาว เรืองอยู่บนนภากาศฉะนั้น อนึ่ง ในบริเวณอาศรมนั้น มีไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะเกลือ กฤษณา รักดำ ต้นไทรใหญ่ ไม้รังไก่ ไม้ ประดู่ มีดอกบานสะพรั่ง ในบริเวณอาศรมนั้นมีไม้ มูกหลวง ไม้สน ไม้กะทุ่ม ไม้ช่อ ไม้ตะแบก นางรัง ล้วนมีดอกเป็นพุ่มพวงดังลอมฟาง บานในที่ ไม่ไกลจากอาศรมนั้น มีสระโบกขรณี ณ ภูมิภาคอัน น่ารื่นรมย์ใจ ดาดาษไปด้วยดอกปทุมชาติและอุบล สระโบกขรณีในสวนนันทนวันของทวยเทพฉะนั้น อนึ่ง ณ ที่ใกล้สระโบกขรณีนั้น มีฝูงนกดุเหว่าเมารส ดอกไม้ ส่งเสียงไพเราะจับใจ ทำป่านั้นให้ดังอึกทึก กึกก้อง ในเมื่อคราวหมู่ไม้ผลิดอกแย้มบานตามฤดูกาล รสหวานดังน้ำผึ้งร่วงหล่นจากเกสรดอกไม้ลงมาค้างอยู่ บนใบบัวย่อมชื่อว่าน้ำผึ้งใบบัว (ขัณฑสกร) อนึ่ง ลม

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 532

ทางทิศทักษิณและทางทิศประจิมย่อมพัดมาที่อาศรม นั้น อาศรมเป็นสถานที่เกลื่อนกล่นไปด้วยละออง เกสรปทุมชาติในสระโบกขรณีนั้น มีกระจับขนาด ใหญ่ๆ ทั้งข้าวสาลีอ่อน บ้างแก่บ้างล้มดาษอยู่บนภาค พื้น และในสระโบกขรณีนั้น น้ำใสสะอาดมองเห็น ฝูงปลา เต่าและปูเป็นอันมาก สัญจรไปมาเป็นหมู่ๆ รสหวานปานน้ำผึ้งย่อมไหลออกจากเหง้าบัว รสมัน ปานนมสดและเนยใสย่อมไหลออกจากสายบัว ป่านั้น มีกลิ่นหอมต่างๆ ที่ลมรำเพยพัดมา ย่อมหอมฟุ้ง ตระหลบไป ป่านั้นเหมือนดังจะชวนเชิญคนที่มาถึง แล้วให้เบิกบาน ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้ที่มีกลิ่นหอม แมลงภู่ทั้งหลายต่างก็บินว่อนวู่บันลือเสียงอยู่โดยรอบ ด้วยกลิ่นดอกไม้ อนึ่ง ที่ใกล้อาศรมนั้น ฝูงวิหคเป็น อันมากมีสีต่างๆ กัน บันเทิงอยู่กับคู่ของตนๆ ร่ำร้อง ขานขันแก่กันและกัน มีฝูงนกอีกสี่หมู่ทำรังอยู่ใกล้ สระโบกขรณี คือ หมู่ที่ ๑ ชื่อว่านันทิกา ย่อมร้องทูล เชิญพระเวสสันดรเจ้า ให้ชื่นชมยินดีอยู่ในป่านี้ หมู่ ที่ ๒ ชื่อว่า ชีวปุตตา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดาและ พระอัครมเหสี จงมีพระชนม์ยืนนาน ด้วยความสุข สำราญ หมู่ที่ ๓ ชื่อว่า ชีวปุตตาปิยาจโน ย่อมร่ำร้อง ถวายพระพรให้พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระราชโอรส พระราชธิดา และพระอัครมเหสีผู้เป็นที่รักของพระองค์จงพระสำราญ มีพระชนมายุยืนนานไม่มีข้าศึก

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 533

ศัตรู หมู่ที่ ๓ ชื่อว่า ปิยาปุตตา ปิยานันทา ย่อมร่ำ ร้องถวายพระพรให้พระราชโอรส พระราชธิดาและ พระอัครมเหสีจงเป็นที่รักของพระองค์ ขอพระองค์ จงเป็นที่รักของพระราชโอรสพระราชธิดาและพระอัครมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัสต่อกันและกัน ดอกไม้ ทั้งหลายย่อมตั้งเรียงรายกันอยู่ เหมือนพวงมาลัยที่เขา ร้อยไว้ หมู่ไม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏดังยอดธงชัยมีดอก สีต่างๆ กัน ดังนายช่างผู้ฉลาดเก็บมาร้อยกรองไว้ พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา และพระมเหสีทรงเพศเป็นพราหมณ์ ทรงขอสำหรับ สอยผลไม้เครื่องบูชาไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนัง เสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดร จะได้เห็น อาศรมนั้น.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๔๑] เออก็ข้าวสตูผงอันระคนด้วยน้ำผึ้งและ ข้าวสตูก้อนมีรสหวานอร่อยของลุงนี้ อันนางอมิตตดาจัดแจงให้แล้ว ลุงจะแบ่งให้แก่เจ้า.

เจตบุตรกล่าวว่า

[๑๑๔๒] ข้าแต่ท่านพราหมณ์ จงเอาไว้เป็น เสบียงทาง ขอเชิญท่านจงรับน้ำผึ้งกับขาเนื้อย่าง จากสำนักของข้าพเจ้านี้ เอาไปเป็นเสบียงทางอีกด้วย และขอท่านจงไปตามสบายเถิด หนทางนี้เป็นทาง เดินได้คนเดียว ตรงลิ่วไปถึงอาศรมของอจุตฤาษี แม้

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 534

อจุตฤาษีอยู่ในอาศรมนั้นฟันเขลอะ มีผมเกลือกกลั้ว ธุลี ทรงเพศเป็นพราหมณ์ มีขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟและชฎา นุ่งห่มหนังเสือ นอนเหนือ แผ่นดิน บูชาไฟ ลุงไปถึงแล้วเชิญถามท่านเถิดท่าน จักบอกหนทางให้แก่ลุง.

[๑๑๔๓] ชูชกเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ ได้ ฟังคำของเจตบุตรดังนี้แล้ว มีจิตยินดีเป็นอย่างยิ่ง กระทำประทักษิณเจตบุตรแล้วได้เดินทางตรงไป ณ สถานที่อันอจุตฤาษีสถิตอยู่.

จบจุลวนวรรณนา

[๑๑๔๔] ชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้น เมื่อ เดินไปตามทางที่เจตบุตรพรานป่าแนะให้ ก็ได้พบ อจุตฤาษี ครั้นแล้วได้เจรจาปราศรัยกับอจุตฤาษี ไต่ ถามถึงทุกข์สุขว่า พระคุณเจ้าไม่มีโรคาพาธเบียดเบียน หรือ เป็นสุขสบายดีหรือ เยียวยาอัตภาพด้วยการ แสวงหาผลไม้สะดวกหรือ มูลมันผลไม้มีมากหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานจะมีน้อยกระมัง ใน ป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยเนื้อร้ายไม่มีกล้ำกลายเข้ามา รบกวนแหละหรือ.

อจุตฤาษีกล่าวว่า

[๑๑๔๕] ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่มีโรคาพาธ เบียดเบียน เราเป็นสุขสบายดี เยียวยาอัตภาพด้วยการ แสวงหาผลไม้สะดวกดี มูลมันผลไม้ก็มีมาก อนึ่ง

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 535

เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานก็น้อยในป่าอันเกลื่อน กลาดไปด้วยเนื้อร้าย ไม่มีกล้ำกรายมารบกวนเราเลย เมื่อเรามาอยู่ในอาศรมสิ้นจำนวนปีเป็นอันมาก เราไม่ รู้สึกถึงความอาพาธอันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจเกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาพราหมณี ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ท่านมิได้ มาร้าย ดูก่อน ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปภายใน เชิญล้างเท้าทั้งสองของท่าน ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานคล้ายน้ำผึ้ง เชิญ ท่านเลือกบริโภคแต่ผลที่ดีๆ แม้น้ำฉันก็เย็นสนิทเรา นำมาจากซอกเขา ดูก่อนมหาพราหมณ์ ถ้าท่านจำนง หวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๔๖] สิ่งใดอันพระคุณเจ้าให้แล้ว สิ่งนั้น ทั้งหมดข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้า กระทำแล้วทุกอย่าง ข้าพเจ้ามาแล้วเพื่อจะเยี่ยมเยียน พระเวสสันดรราชฤาษี ราชโอรสของพระเจ้ากรุง- สัญชัย ซึ่งพลัดพรากจากชาวสีพีมาช้านาน ถ้าพระคุณเจ้าทราบสถานที่ประทับ โปรดแจ้งแก่ข้าพเจ้าด้วย เถิด.

ดาบสกล่าวว่า

[๑๑๔๗] ท่านมานี่เพื่อเป็นศรีสวัสดิ์ เพื่อมา เยี่ยมเยียนพระเวสสันดรเจ้าก็หาไม่ เราเข้าใจว่าท่าน ปรารถนา (จะมาขอ) พระอัครมเหสีผู้เคารพนบนอบ พระราชสวามีไปเป็นภรรยา หรือมิฉะนั้นท่านก็

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 536

ปรารถนา (จะมาขอ) พระกัณหาชินาราชกุมารีและ พระชาลีราชกุมารไปเป็นทาสทาสี หรือไม่ก็มาเพื่อจะ นำเอาพระมารดาและพระราชกุมารทั้งสามพระองค์ไป จากป่า ดูก่อนพราหมณ์ โภคสมบัติทรัพย์และข้าว เปลือกของพระองค์มิได้มี.

ชูชกกล่าวว่า

[๑๑๔๘] ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ท่านยังไม่สมควรจะ โกรธเคืองเพราะข้าพเจ้ามิได้มาเพื่อขอทาน การพบ เห็นอริยชนเป็นความดี การอยู่ร่วมกับอริยชนเป็นสุข ทุกเมื่อ พระเวสสันดรสีพีราชเสด็จพลัดพรากจาก ชาวสีพีมา ข้าพเจ้ายังมิได้เห็นเลย ข้าพเจ้ามาเพื่อจะ เยี่ยมเยียนพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้าทราบสถานที่ประทับ โปรดแจ้งแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

ดาบสกล่าวว่า

[๑๑๔๙] ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์อันล้วนแล้วด้วยหิน พระเวสสันดรเจ้า พร้อม ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ทรงเพศนักบวช อันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟ และชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้า เดินไปทางทิศอุดร จะได้เห็นอาศรมนั้น นั้นหมู่ไม้ เขียวชะอุ่ม ทรงผลต่างๆ ปรากฏดังภูเขาอัญชนบรรพต

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 537

เขียวชะอุ่ม มียอดสูงตระหง่าน คือ ไม้ตะแบก หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้ตะคร้อ ไม่ยางทรายย่อมหวั่น ไหวไปตามลม ดังมาณพดื่มสุราคราวเดียวก็ซวนเซ ไปมาอยู่ ฉะนั้น ท่านจะได้ฟังเสียงฝูงนกอันจักอยู่บน กิ่งไม้ ปานดังเสียงเพลงทิพย์ คือ นกโพระดก นก ดุเหว่า นกกระจงส่งเสียงร้องบินจากต้นไม้โน่นมาสู่ ต้นไม้นี้ ทั้งหมู่ไม้ที่ต้องลมพัดสะบัดกิ่งและใบเสียดสี กัน คล้ายกับจะเรียกคนผู้กำลังเดินทางไปให้หยุด และเหมือนดังชักชวนผู้จะผ่านให้ยินดีชื่นชมพักผ่อน พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วยพระโอรสพระธิดาและ พระมเหสี ทรงเพศเป็นนักบวชอันประเสริฐ ทรงขอ สำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟและใส่ชฎา ทรง นุ่งห่มหนังสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟ ประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อท่านบ่ายหน้าเดินทางไป ทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น ที่ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจ มีดอกกุ่มตกอยู่เรี่ยราด พื้นแผ่นดินเขียวชะอุ่ม ไปด้วยหญ้าแพรก ณ ที่นั้นไม่มีธุลีฟุ้งขึ้นเลย หญ้านั้น มีสีเขียวคล้ายขนคอนกยูงเปรียบด้วยสัมผัสแห่งสำลี หญ้าทั้งหลายโดยรอบ ยาวไม่เกิน ๔ องคุลี ต้นมะม่วง ต้นชมพู่ ต้นมะขวิดและมะเดื่อ มีผลสุกๆ อยู่ในที่ ต่ำๆ ป่าไม้นั้นเป็นที่ให้เจริญความยินดี เพราะมีหมู่ไม้ ผลบริโภคได้เป็นอันมาก น้ำใสสะอาดกลิ่นหอมดี สี ดังแก้วไพฑูรย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลา ไหลหลั่ง

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 538

มาในป่านั้น ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจในที่ไม่ไกล อาศรมนั้น มีสระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมชาติ และอุบล เหมือนดังที่มีอยู่ในนันทวันของทวยเทพ ดูก่อนพราหมณ์ ในสระนั้นมีอุบลชาติ ๓ ชนิด คือ เขียว ขาว และแดง งามวิจิตรมากมาย.

พระดาบสกล่าวว่า

[๑๑๕๐] ในสระนั้นมีปทุมชาติดาษดื่น สีขาว ดังผ้าโขมพัสตร์ สระนั้นชื่อว่า มุจลินท์ ดารดาษไป ด้วยอุบลขาว จงกลณี และผักทอดยอด อนึ่งเล่า ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบานสะพรั่ง ปรากฏหา กำหนดประมาณมิได้ บ้างก็บานในคิมหันตฤดู บ้าง ก็บานในเหมันตฤดู ปรากฏเหมือนตั้งอยู่ในน้ำลึก ประมาณเพียงเข้า ปทุมชาติอันงามวิจิตรชูดอกสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตระหลบไป หมู่ภมรโผผินบินว่อน เสียงวู่ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ.

[๑๑๕๑] ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่งเล่า ที่ใกล้ขอบ สระนั้นมีต้นไม้หลากหลายขึ้นออกสะพรั่ง คือ ต้น กระทุ่ม ต้นแคฝอย และต้นทองหลาง ผลิดอกออก สะพรั่ง ไม้ปรู ไม่ทราก ต้นปาริชาตดอกบานสะพรั่ง ต้นกากะทิง ต้นไม้เหล่านี้มีอยู่ที่สองฟากปากสระมุจ- ลินท์ ต้นซึก ต้นแคขาว บัวบก ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไป ต้นคนทิสอ ต้นคนทิเขมา และต้นประดู่มีอยู่ ณ ที่

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 539

ใกล้สระนั้น ดอกสะพรั่ง ต้นมะคำไก่ ไม้มะทราง ต้นเก้า ต้นมะรุม การะเกด กรรณิการ์ และชะบา ไม้รกฟ้า ไม้อินทนิล ไม้สะท้อน และทองกวาวมีดอก แย้มบาน ผลิดอกออกยอดพร้อมๆ กัน รุ่งเรืองงาม ไม่มะรื่น ไม้ตีนเป็ด กล้วย ต้นคำฝอย นมแมว คนทา ประดู่ลาย ต้นสลอด มีดอกบานสะพรั่ง ต้นมะไฟ ต้นงิ้ว ไม้ช้างน้าว พุดขาว กฤษณา โกฐเขมา โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง ต้นไม้ในบริเวณสระนั้น มีทั้งอ่อนและแก่ ต้นตรงไม่คองอ ดอกบานตั้งอยู่ สองข้างอาศรมโดยรอบเรือนไฟ.

[๑๑๕๒] อนึ่ง พันธุ์ไม้เป็นอันมาก เกิดขึ้น ใกล้ขอบสระนั้น คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส สาหร่าย สันตะวา น้ำในสระนั้นถูกลมรำเพยพัด เกิดเป็นระลอกกระทบฝั่ง มีหมู่แมลงบินวู่ว่อนเคล้า เอาเกสรดอกไม่ที่แย้มบาน สีเสียดเทศ เต่าร้าง ผักบุ้ง ร้วม มีมากในที่ต่างๆ ดูก่อนพราหมณ์ ต้นไม้ทั้งหลาย ดารดาษไปด้วยกล้วยไม้ กลิ่นแห่งบุปผชาติดังกล่าว แล้วนั้น หอมตระหลบอยู่ ๗ วัน ไม่พลันหาย บุปผ- ชาติเกิดอยู่เรียงรายสองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นดารดาษ ไปด้วยต้นราชพฤกษ์ย่อมงดงาม กลีบดอกราชพฤกษ์ นั้นหอมตระหลบอยู่กึ่งเดือนไม่เลือนหาย อัญชันเขียว อัญชันขาว กุ่มแดงดอกบานสะพรั่ง ป่านั้นดารดาษไป

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 540

ด้วยอบเชยและแมงลัก เหมือนดังจะให้คนเบิกบานใจ ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้อันมีกลิ่นหอม เหล่าภมรโผผิน บินว่อนเสียงวู่ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่ง บุปผชาติ ดูก่อนพราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้น มีฟักแฟง แตงน้ำเต้า ๓ ชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสอง ชนิดผลโตเท่าตะโพน.

[๑๑๕๓] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีผักกาด กระเทียม หอม เป็นอันมาก ต้นเต่ารั้งตั้งอยู่สล้างดังต้นตาล อุบลเขียวมีเป็นอันมาก ขึ้นอยู่ริมน้ำพอเอื้อมเด็ดได้ มะลิวัน นมตำเลีย หญ้านาง อบเชย อโศก เทียนป่า ดอกเข็ม หางช้าง อังกาบ กากะทิง กระลำพัก ทองเครือ ดอกแย้มบานสะพรั่งขึ้นขนาน ต้นชุมแสง ขึ้นแซงแซกคัดเค้าและชะเอม มะลิซ้อน หงอนไก่ เทพทาโร แคฝอย ฝ้ายทะเล กรรณิการ์ดอกเบ่งบาน งาม ปรากฏดังตาข่ายทองเปรียบด้วยเปลวไฟ บุปผ- ชาติเกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ปรากฏมีในสระนั้น ทุกอย่าง สระมุจลินท์มีน้ำมาก เป็นที่รื่นรมย์ ด้วย ประการฉะนี้.

[๑๑๕๔] อนึ่ง ในสระนั้นมีปลาซึ่งว่ายอยู่ในน้ำ มากมาย คือ ปลาตะเพียน ปลาซ่อน ปลาดุก จระเข้ ปลาฉลาม ณ ที่ใกล้สระนั้น มีชะเอมต้น ชะเอมเครือ กำยาน ประยงค์ เนรภูสี แห้วหมู สัตตบุษย์ สมุล-

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 541

แว้ง พิมเสน สามสิบ และกฤษณา เถากะไดลิง มี มากมาย บัวบก โกฐขาว กระทุ่มเลือด ต้นหนาด ขมิ้น แก้วหอม หรดาล คำ คูน สมอพิเภก ไคร้- เครือ พิมเสน และรางแดง.

[๑๑๕๕] อนึ่ง ในป่านั้นมีสัตว์หลายจำพวก คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ยักษิณีหน้าฬา ช้างพัง ช้างพราย เนื้อทราย เนื้อฟาน ละมั่ง นางเห็น หมาจิ้งจอก หมาไน บ่าง กระรอก จามรี ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิงจุ่น กวาง กระทิง หมี วัวเถื่อน มีมากมาย แรด หมู พังพอน งูเห่า มีอยู่ที่ใกล้สระนั้นเป็นอัน มาก กระบือ หมาไน หมาจิ้งจอก กิ้งก่า จะกวด เหี้ย เสือดาว เสือเหลือง มีอยู่โดยรอบ กระต่าย แร้ง ราชสีห์ และเสือปลา มีอยู่มากหลาย มีสกุณ- ชาติมากมาย คือ นกกวัก นกยูง หงส์ขาว ไก่ฟ้า ไก่ป่า ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกะเรียน เหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง นกช้อนหอย นก พริก นกคับแค นกแขวก นกกด นกกระเต็นใหญ่ นกนางแอ่น นกคุ่ม นกกะทา นกกระทุง นกกระจอก นกกระจาบ นกกระเต็นน้อย นกกางเขน นกการเวก นกแอ่นลม นกเงือก นกออก สระมุจลินท์ เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนกนานาชนิด กึกก้องไปด้วย เสียงสัตว์ต่างๆ.

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 542

[๑๑๕๖] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกมากมาย มี ขนปีกงามวิจิตร มีเสียงไพเราะเสนาะโสต ย่อมปราโมทย์อยู่กับคู่เคียงส่งเสียงกู่ก้องร้องหากันและกันอนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีฝูงสกุณาทิชาชาติส่งเสียงร้องไพเราะ ไม่ขาดสาย มีตางามประกอบด้วยเบ้าตาขาว มีขนปีก ขนหางงามวิจิตร อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีฝูงนกยูง ส่ง เสียงร้องไพเราะไม่ขาดสาย มีสร้อยคอเขียว ส่งเสียง ร้องหากันและกัน ไก่เถื่อน ไก่ฟ้า นกเปล้า นก นางนวล เหยี่ยวดำ เหยี่ยวนกเขา นกกาน้ำ นก แขกเต้า นกสาลิกา อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกเป็น อันมาก เป็นพวกๆ คือ เหลือง แดง ขาว นกหัสดี- ลิงค์ พระยาหงส์ทอง นกกาน้ำ นกแขกเต้า นก ดุเหว่า นกออก หงส์ขาว นกช้อนหอย นกเค้าแมว ห่าน นกยาง นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกพิราบ หงส์แดง นกจากพราก นกเป็ดน้ำ นกหัสดีลิงค์ ส่ง เสียงร้องน่ารื่นรมย์ใจ เหล่าสกุณาทิชาชาติดังกล่าว แล้ว ต่างก็ส่งเสียงกู่ร้องหากัน ทั้งเช้าและเย็นเป็น นิรันดร์ อนึ่งที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติมากมายสี ต่างๆ กัน ย่อมบันเทิงอยู่กับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้อง ร้องเข้าหากันและกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีสกุณา ทิชาชาติมากมายสีต่างๆ กัน ทุกๆ ตัวต่างส่งเสียงอัน ไพเราะระงมไพร ที่ใกล้สองฝั่งสระมุจลินท์ อนึ่ง ที่

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 543

ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่าการเวกมากมาย ย่อมปราโมทย์อยู่ลับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้องร้องหากัน และกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่า การเวก ทุกๆ ตัวต่างส่งเสียงอันไพเราะระงมไพร อยู่ที่สองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นเกลื่อนกลาดไปด้วย เนื้อทรายและเนื้อฟาน เป็นสถานที่เสพอาศัยของช้าง พลายและช้างพัง ดาษดื่นไปด้วยเถาวัลย์นานาชนิด และเป็นที่อาศัยของฝูงชะมด อนึ่ง ที่ป่านั้น มีธัญญชาติมากมาย คือ หญ้ากับแก้ ลูกเดือย ข้าวสาลี อ้อย มิใช่น้อยเกิดเองในที่ไม่ได้ไถ ทางนี้เป็นทาง เดินได้คนเดียว เป็นทางตรงไปจนถึงอาศรม คนผู้ ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรนั้นแล้ว ย่อมไม่มี ความหิวกระหายหรือความไม่ยินดี พระเวสสันดรเจ้า พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดา และมเหสี ทรงเพศ นักบวชอันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่องบูชาไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงบูชาไฟประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อ ท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.

[๑๑๕๗] ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพราหมณ์ครั้น สดับถ้อยคำของอจุตฤาษี กระทำประทักษิณ มีจิตชื่น ชมโสมนัส อำลามุ่งหน้าไปยังสถานที่ประทับของ พระเวสสันดร.

จบมหาวนวรรณนา

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 544

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๑๕๘] ดูก่อนพ่อชาลี เจ้าจงลุกขึ้นยืนเถิด การมาของพวกยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของ พวกยาจกครั้งก่อนๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความ ชื่นชมยินดีทำให้พ่อมีความเกษมศานติ์.

พระชาลีกุมารกราบทูลว่า

[๑๑๕๙] ข้าแต่พระชนกนาถ แม้เกล้ากระหม่อม ฉันก็เห็นผู้นั้นปรากฏเหมือนพราหมณ์ ดูเหมือนเป็น คนเดินทาง จักเป็นแขกของเราทั้งหลาย.

ชูชกทูลว่า

[๑๑๖๐] พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือหนอ พระองค์ทรงพระสำราญดีหรือ ทรงเยียวยาอัตภาพด้วย การแสวงหาผลาหารสะดวกหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี มากหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแล หรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ไม่มีมา เบียดเบียนแลหรือ.

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๖๑] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีโรคาพาธเบียดเบียน อนึ่ง เราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดี ทั้งมูล มันผลไม้ก็มีมาก ทั้งเหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานก็มี น้อย อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็ ไม่มีมาเบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่ามี ชีวิตอันตรมเกรียมมาตลอด ๗ เดือน เราเพิ่งเห็นท่าน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 545

ผู้เป็นพราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้ เท้าสีดังผลมะตูมและลักจั่นน้ำนี้เป็นคนแรก ดูก่อน พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ท่านมิได้มาร้าย ดูก่อนท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้ามาภายในเถิด เชิญ ท่านล้างเท้าของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญ เลือกฉันแต่ผลที่ดีๆ เถิดท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็ เย็นสนิท เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้า ท่านจำนงหวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม ท่านมาถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถาม แล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.

ชูชกทูลว่า

[๑๑๖๒] ห่วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม ตลอดเวลาไม่เหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัย เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉัน กราบทูลขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราช- ทานสองปิโยรสแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๖๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรายอมให้ มิได้หวั่น ไหว ท่านจงเป็นใหญ่พาเอาลูกทั้งสองของเราไปเถิด พระราชบุตรีมารดาของลูกทั้งสองนี้ เสด็จไปป่าแต่ เช้าเพื่อแสวงหาผลไม้ จักกลับจากการแสวงหาผลไม้ ในเวลาเย็น ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านพักอยู่ราตรีหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 546

แล้วจึงไปในเวลาเช้า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงพาเอา ลูกรักทั้งสอง อันประดับด้วยดอกไม้ต่างๆ ตกแต่ง ด้วยของหอมนานา พร้อมด้วยมูลมันและผลไม้หลาย ชนิดไปเถิด.

ชูชกทูลว่า

[๑๑๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ ไม่ชอบใจการพักอยู่ ข้าพระองค์ยินดีจะไป แม้อันตราย จะพึงมีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอทูลลาไปทีเดียว เพราะว่าธรรมดาสตรีเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ ย่อมทำอันตรายต่อบุญของทายกและลาภของยาจก ย่อมรู้มารยา ย่อมรับสิ่งทั้งปวงโดยข้างซ้าย เมื่อฝ่า พระบาทบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา ฝ่าพระบาท อย่าได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ พระมารดาของพระปิโย- รสนั้นพึงกระทำแม้อันตรายได้ ข้าพระองค์ขอทูลลา ไปทีเดียว ขอพระองค์จงตรัสเรียกพระลูกแก้วทั้งสอง นั้นมาอย่าให้พระลูกแก้วทั้งสองได้ทันเห็นพระชนนีเลย เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา บุญ ย่อมเจริญด้วยอาการอย่างนี้ ขอพระองค์ตรัสเรียก พระลูกแก้วทั้งสองนั้นมา อย่าให้พระลูกแก้วทั้งสอง ได้ทันเห็นพระชนนีเลย ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรง ประทานทรัพย์ คือพระโอรสพระธิดาแก่ยาจกเช่น ข้าพระองค์แล้ว จักเสด็จไปสวรรค์.

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 547

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๑๖๕] ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะเห็นภริยาของ เราผู้มีวัตรอันงามไซร้ ท่านก็จงทูลถวายชาลีกัณหาชินา ทั้งสองนี้ แก่พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้พระอัยยกา ท้าว เธอทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียง ไพเราะ กล่าววาจาน่ารัก จะทรงปลื้มพระหฤทัยปรีดา ปราโมทย์ จักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.

ชูชกทูลว่า

[๑๑๖๖] ข้าแต่พระราชบุตร ขอพระองค์ทรง ฟังข้าพระองค์ ข้าพระองค์กลัวต่อการที่จะถูกหาว่า ฉกชิงเอาไป สมเด็จพระเจ้าสญชัยมหาราชจะลงพระราชอาชญาข้าพระองค์ คือ จะพึงทรงขายหรือให้ ประหารชีวิต ข้าพระองค์จะขาดทั้งทรัพย์ทั้งทาสและ จะพึงถูกนางพราหมณี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ติเตียน ได้.

พระเวสสันดรตรัสว่า

[๑๑๖๗] พระมหาราชาทรงสถิตในธรรม ทรง ผดุงสีพีรัฐให้เจริญได้ทอดพระเนตรเห็นสองพระกุมาร นี้ผู้มีเสียงไพเราะกล่าววาจาน่ารัก ได้พระปีติโสมนัส แล้วจักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.

ชูชกทูลว่า

[๑๑๖๘] พระองค์ทรงพร่ำสอนข้าพระองค์สิ่ง ใดๆ ข้าพระองค์จักทำสิ่งนั้นๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จัก

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 548

นำสองพระกุมารไปเป็นทาสรับใช้ของนางพราหมณี.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๖๙] ลำดับนั้น พระกุมารทั้งสอง คือ พระ ชาลี และพระกัณหาชินาได้สดับคำของชูชก ผู้หยาบ ช้า ตกพระทัยกลัว จึงพากันเสด็จวิ่งหนีไปในที่นั้นๆ

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๗๐] ดูก่อนพ่อชาลีลูกรัก มานี่เถิด ลูกทั้ง สองจงยังบารมีของพ่อให้เต็ม จงช่วยโสรจสรงหทัย ของพ่อให้เย็นฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสอง จงเป็นดังยานนาวาของพ่อ อันไม่หวั่นไหวในสาคร คือภพ พ่อจักข้ามซึ่งฝั่งคือชาติ จักยังสัตว์โลกพร้อม ทั้งทวยเทพให้ข้ามด้วย ดูก่อนลูกกัณหามานี่เถิด เจ้า เป็นธิดาที่รัก ทานบารมีก็เป็นที่รักของพ่อ จงช่วย โสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็นฉ่ำ ขอจงทำตามคำของ พ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นยานนาวาของพ่อ อันไม่ หวั่นไหวในสาครคือภพ พ่อจักข้ามซึ่งฝั่ง คือชาติ จักช่วยสัตวโลกพร้อมทั้งทวยเทพให้ข้ามด้วย.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๗๑] ลำดับนั้น พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐ ให้เจริญ ทรงพาพระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ พระกัณหาชินา มาพระราชทานให้เป็นปุตตกทานแก่ พราหมณ์ ลำดับนั้น พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 549

เจริญ ทรงพาพระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ พระกัณหาชินา มาพระราชทานให้แก่พราหมณ์ มี พระหฤทัยชื่นบานในปุตตกทานอันอุดม ในครั้งนั้น เมื่อพระเวสสันดรราชฤาษี พระราชทานพระกุมารทั้ง สอง ก็บังเกิดมีความบันลือลั่นน่าสะพึงกลัว ขนพอง สยองเกล้า เมทนีดลก็หวั่นไหว พระเวสสันดรเจ้าผู้ ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ทรงประคองอัญชลี พระราชทาน สองพระกุมารผู้เจริญด้วยความสุขให้เป็นทานแก่ พราหมณ์ ก็บังเกิดมีความบันลือลั่น น่าสะพึงกลัวขน พองสยองเกล้า.

[๑๑๗๒] ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้หยาบช้านั้น เอา ฟันกัดเถาวัลย์ให้ขาดแล้ว เอามาผูกพระหัตถ์ พระกุมารทั้งสอง ฉุดกระชากลากมา แต่นั้นพราหมณ์นั้น จับเถาวัลย์ถือไม้เท้าทุบตีพระกุมารทั้งสองนำไป เมื่อ พระเวสสันดรสีพีราช กำลังทอดพระเนตรอยู่.

[๑๑๗๓] ลำดับนั้น สองพระกุมารพอหลุดพ้น จากพราหมณ์ก็รีบวิ่งหนีไป พระเนตรทั้งสองนองไป ด้วยน้ำอัสสุชล พระชาลีชะเง้อมองดูพระบิดา ทรง ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระบิดา พระวรกายสั่น ระริกดังใบโพธิ์ ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทพระบิดา แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ก็พระมารดา เสด็จออกไปป่า และพระบิดาทอดพระเนตรเห็นแต่

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 550

กระหม่อมฉัน ข้าแต่พระชนกนาถ ขอพระองค์ทรง ทอดพระเนตรเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองอยู่ก่อน จน กว่าเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองได้เห็นพระมารดา ข้าแต่ พระชนกนาถ พระมารดาเสด็จออกไปป่า ขอพระบิดาทอดพระเนตรกระหม่อมฉันทั้งสองอยู่ก่อน ข้าแต่ พระชนกนาถ ขอพระองค์อย่าเพิ่งพระราชทานเกล้า กระหม่อมฉันทั้งสอง จนกว่าพระชนนีของเกล้ากระหม่อมฉันจะเสด็จกลับมา เมื่อนั้น พราหมณ์นี้จักขาย หรือจักฆ่าก็ตามปรารถนา พราหมณ์ผู้หยาบช้านี้ ประกอบด้วยบุรุษโทษ ประการ คือ มีเท้าคดทู่ ตะแคง ๑ เล็บเน่า ๑ ปลีน่องย่อยยาน ๑ ริมฝีปาก บนยาว ๑ น้ำลายไหลยืด ๑ เขี้ยวงอกออกเหมือน เขี้ยวหมู ๑ จมูกหักฟุบ ๑ ท้องพลุ้ยดังหม้อ ๑ หลัง ค่อม ๑ ตาข้างหนึ่งเล็กข้างหนึ่งใหญ่ ๑ หนวดแดง ๑ ผมบางเหลือง ๑ หนังย่นเป็นเกลียวตัวตกกระ ๑ ตา เหลือง ๑ คดสามแห่ง คือ ที่สะเอวหลังและคอ ๑ ขากาง ๑ เดินดังกฏะกฏะ ๑ ขนตามตัวยาวและหยาบ ๑ นุ่งห่มหนังเสือเป็นอมนุษย์น่ากลัวเหลือเกินเป็น มนุษย์หรือยักษ์มีเนื้อและเลือดเป็นเครื่องบริโภค ออก จากบ้านมาสู่ป่า มาขอทรัพย์คือบุตรกะพระองค์ ลูก ทั้งสองกำลังถูกพราหมณ์ปีศาจนำไป ข้าแต่พระชนกนาถ กระไรหนอฝ่าพระบาททรงนิ่งเฉยอยู่ได้ พระ

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 551

หฤทัยของพระชนกนาถปานดังหนึ่งหิน หรือดังว่า ยึดมั่นด้วยพืดเหล็ก พระองค์ช่างไม่ทรงรู้สึกถึงลูกทั้ง สอง ซึ่งถูกพราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์หยาบคาย ผูก มัด แกเฆี่ยนตีลูกทั้งสอง เหมือนนายโคบาลตีโค ฉะนั้น ขอให้น้องกัณหาจงอยู่ ณ ที่นี้แหละ เธอไม่รู้ จักความทุกข์อะไรๆ เมื่อเธอไม่เห็นพระมารดาก็จะ คร่ำครวญหาเหมือนลูกเนื้อที่ยังดื่มนมพลัดจากฝูง ไม่ เห็นแม่ก็จะร่ำไห้คร่ำครวญ ฉะนั้น.

[๑๑๗๔] ทุกข์นี้ไม่ใช่ทุกข์ที่แท้จริงของลูก เพราะทุกข์เช่นนี้อันลูกชายพึงได้รับ ส่วนทุกข์อันใด ที่ลูกจักไม่ได้เห็นพระมารดา ทุกข์นั้นของลูกเป็นทุกข์ ยิ่งกว่าทุกข์ ที่ถูกตาพราหมณีเฆี่ยนตี ทุกข์นี้ไม่ใช่ ทุกข์ที่แท้จริงของลูก เพราะทุกข์เช่นนี้อันลูกชายพึง ได้รับ ส่วนทุกข์อันใดที่ลูกจักไม่ได้เห็นพระบิดา ทุกข์นั้นของลูกเป็นทุกข์ยิ่งกว่า ทุกข์ที่ถูกตาพราหมณ์ เฆี่ยนตี พระมารดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้ เมื่อไม่ ได้ทรงเห็นกัณหาชินากุมารีผู้มีดวงตางาม ก็จักทรง กรรแสงไห้หาตลอดราตรีนาน พระบิดาจักเป็นกำพร้า เสียเป็นแน่แท้เมื่อไม่ได้ทรงเห็นกัณหาชินากุนารีผู้มี ดวงตางาม ก็จักทรงกรรแสงไห้หาตลอดราตรีนาน พระมารดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้ เมื่อไม่ได้ทรงเห็น กัณหาชินากุมารี ผู้มีดวงตางาม ก็จักทรงกรรแสงไห้

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 552

อยู่ในอาศรมช้านาน พระบิดาจักเป็นกำพร้าเสียแน่แท้ เมื่อไม่ได้เห็นกัณหาชินากุมาร ผู้มีดวงตางาม ก็จักทรง กรรแสงไห้อยู่ในอาศรมช้านาน พระมารดาจักเป็น กำพร้าเสียแน่แท้ จักทรงกรรแสงไห้อยู่ตลอดราตรี นาน ทรงระลึกถึงเราทั้งสองตลอดครึ่งคืนหรือตลอด คืน จักทรงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป เหมือนแม่น้ำน้อยใน ฤดูแล้งเหือดแห้งไป ฉะนั้น พระบิดาจักเป็นกำพร้า เสียแน่แท้ ทรงกรรแสงไห้อยู่ตลอดราตรีนาน ทรง ระลึกถึงเราทั้งสองตลอดครั้งคืนหรือตลอดคืนก็จัก ทรงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป เหมือนแม่น้ำน้อยในฤดูแล้ง เหือดแห้งไป ฉะนั้น รุกขชาติเหล่านี้มีต่างๆ พันธุ์ คือ ต้นหว้า ต้นยางทราย กิ่งห้อยย้อย เราเคยเล่น มาแต่กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกขชาติ เหล่านั้น ซึ่งเราเคยเก็บดอกและผลเล่นมาช้านาน รุกขชาติที่มีผลต่างๆ ชนิด คือ โพธิ์ใบ ขนุน ไทร และมะขวิด ที่เราเคยเล่นมาในกาลก่อน วันนี้เราทั้ง สองจะต้องละรุกขชาติที่เราเคยเก็บผลกินมาช้านาน นี้ สวน นี่สระน้ำเย็นใส เราเคยเที่ยวเป็นเคยลงสรง สนานมาแต่กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละสวน และสระนั่นไป บุปผชาติต่างๆ ชนิดบนภูเขาโน้น เรา เคยเก็บมาทัดทรงในกาลก่อน วันนี้เราจะต้องละบุปผ- ชาติเหล่านั้นไป นี่ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 553

พระบิดาทรงปั้นเพื่อให้เราทั้งสองเล่น เราเคยเล่นมา ในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละตุ๊กตาเหล่านั้น.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๗๕] สองพระกุมารอันชูชกกำลังพาไป ได้ กราบทูลสั่งพระบิดาดังนี้ว่า ข้าแต่พระชนกนาถ ขอ พระองค์ได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกพระมารดาว่าลูกทั้ง สองไม่มีโรค และขอพระองค์จงทรงพระสำราญ ตุ๊กตา ช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว เหล่านี้ของกระหม่อมฉันขอ พระองค์โปรดประทานแก่พระเจ้าแม่ ความโศกเศร้า จะพินาศเพราะตุ๊กตาเหล่านั้น และพระมารดาได้ทอด พระเนตรเห็นตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า และตุ๊กตาวัวของ ลูกเหล่านั้น จักห้ำหั่นความโศกให้เสื่อมหาย.

[๑๑๗๖] ลำดับนั้น พระเวสสันดรขัตติยราช ครั้นทรงบำเพ็ญทานแล้ว เสด็จเข้าบรรณศาลาทรง กรรแสงพิลาปว่า วันนี้ลูกน้อยทั้งสองจะหิวข้าวอยาก น้ำอย่างไรหนอ จะต้องเดินทางไกล ร้องไห้สะอึก สะอื้น เวลาเย็นบริโภคอาหาร ใครจะให้อาหารแก่ ลูกทั้งสองนั้น วันนี้ลูกน้อยทั้งสองจะหิวข้าวอยากน้ำ อย่างไรหนอ จะต้องเดินทางไกลร้องไห้สะอึกสะอื้น เวลาเย็นเป็นเวลาบริโภคอาหาร ลูกทั้งสองเคยอ้อน กะมัทรีผู้มารดาว่า ข้าแต่พระเจ้าแม่ ลูกทั้งสองหิว แล้ว ขอพระเจ้าแม่จงประทานแก่ลูกทั้งสอง ลูกทั้ง สองไม่มีรองเท้า จะเดินทางเท้าเปล่าอย่างไรได้ ลูก

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 554

ทั้งสองจะเมื่อยล้า มีบาทาฟกบวมใครจะจูงมือลูกทั้ง สองเดินทาง อย่างไรหนอพราหมณ์นั้นช่างร้ายกาจไม่ ละอาย เฆี่ยนตีลูกทั้งสองผู้ไม่ประทุษร้ายต่อหน้าเรา แม้ตกเป็นทาสีเป็นทาสของเรา หรือคนรับใช้ใครที่มี ความละอายจักเฆี่ยนตีคนที่ต่ำทรามแม้เช่นนั้นได้ พราหมณ์ช่างด่าช่างตีลูกรักทั้งสองของเราผู้มองเห็น อยู่ซึ่งเป็นเหมือนดังปลาติดอยู่ที่ปากลอบปากไซ ฉะนั้น.

พระเวสสันดรทรงพระปริวิตกว่า

[๑๑๗๗] เราจักถือธนูด้วยมือขวา หรือจักเหน็บ พระขรรค์ไว้ข้างซ้ายไปนำเอาลูกทั้งสองของเรามา เพราะลูกทั้งสองถูกเฆี่ยนตีเป็นทุกข์หนัก การที่ลูกน้อย ทั้งสองต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์แสนสาหัสไม่ใช่ฐานะ ก็ใคร่เล่ารู้ธรรมของสัตบุรุษแล้วให้ทานย่อมเดือดร้อน ในภายหลัง.

พระชาลีกุมารทรงรำพันว่า

[๑๑๗๘] ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ พูด ความจริงไว้อย่างนี้ว่า ลูกคนใดไม่มีมารดาของตน ลูกคนนั้นเป็นเหมือนไม่มีบิดา น้องกัณหามานี่เถิด เรา ทั้งสองจัดตายด้วยกัน เราทั้งสองจะเป็นอยู่ทำไมไม่มี ประโยชน์ พระบิดาผู้เป็นจอมประชานิกรประทาน

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 555

เราทั้งสองแก่พราหมณ์ ผู้แสวงหาทรัพย์ เป็นคนร้าย กาจเหลือเกิน แกเฆี่ยนตีเราทั้งสอง เสมือนนายโคบาล ประหารโค ฉะนั้น รุกขชาติเหล่านี้มีต่างๆ พันธุ์คือ ต้นหว้า ต้นยางทราย กิ่งห้อยย้อย เราเคยเล่นมาแต่ กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกขชาติเหล่านั้น ซึ่งเคยเก็บดอกและผลเล่นมาช้านาน รุกขชาติที่มีผล ต่างๆ ชนิด คือ โพธิ์ใบ ขนุน ไทร และมะขวิด ที่เรา เคยเล่นในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละรุกข- ชาติที่เราเคยเก็บผลกันมาช้านาน นี่สวน นี่สระน้ำ เย็นใส เราเคยเที่ยวเล่นเคยลงสรงสนานมาแต่กาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะต้องละสวนและสระเหล่านั้นไป บุปผชาติต่างๆ ชนิด บนภูเขาโน่น เราเคยเก็บมาทัด ทรงในกาลก่อน วันนี้เราต้องละบุปผชาติเหล่านั้นไป นี้ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว พระบิดาทรงปั้น เพื่อให้เราทั้งสองเล่น เราเคยเล่นในกาลก่อน วันนี้ เราทั้งสองจะต้องละตุ๊กตาเหล่านั้นไป.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๗๙] พระกุมารทั้งสอง คือ พระชาลีและ กัณหาชินา อันชูชกพราหมณ์นำไป พอหลุดพ้นจาก มือพราหมณ์ ต่างก็วิ่งหนีไปในสถานที่นั้นๆ.

[๑๑๘๐] ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นจับเถาวัลย์ถือ ไม้เท้า ทุบตีพระกุมารทั้งสองนำไป เมื่อพระเวสสันดร สีพีราชกำลังทอดพระเนตรเห็นอยู่.

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 556

[๑๑๘๑] พระกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่พระบิดาพราหมณ์นี้ทุบตีลูกด้วยไม้เท้า ดังว่าทุบ ตีทาสผู้เกิดในเรือนเบี้ย ข้าแต่พระบิดา ก็พราหมณ์ นี้คงไม่ใช่พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในธรรม คงเป็น ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ นำเอาลูกทั้งสองไปเพื่อ จะกินเป็นอาหาร ลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ปีศาจกำลัง นำไป ข้าแต่พระบิดา ช่างกระไรเลย นิ่งเฉยอยู่ได้.

พระกัณหากุมารีทรงรำพันว่า

[๑๑๘๒] เท้าของเราทั้งสองนี้เล็กเป็นทุกข์ ทั้ง หนทางก็ไกลยากที่จะเดินไปได้ เมื่อพระอาทิตย์คล้อย ต่ำลง พราหมณ์เล่าก็เร่งเราทั้งสองให้รีบเดิน ข้าพเจ้า ทั้งสอง ขอคร่ำครวญกราบไหว้เทพเจ้าทั้งหลายผู้สิง สถิตอยู่ ณ ภูเขาลำเนาไพร ในสระน้ำและบ่อน้ำอันมี ท่าราบเรียบด้วยเศียรเกล้า ขอเทพเจ้าผู้สถิตอยู่ ณ ป่า หญ้าลดาวัลย์ และต้นไม้ที่เป็นโอสถ บนภูเขาที่ป่าไม้ จงช่วยกันกราบทูลพระชนนีว่า ข้าน้อยทั้งสองนี้ไม่มี โรค พราหมณ์นี้นำเอาข้าทั้งสองไป อนึ่ง ขอท่านทั้ง หลายจงกราบทูลพระเจ้าแม่มัทรีราชชนนีของข้าน้อย ทั้งสองว่า ถ้าพระแม่เจ้าปรารถนาจะเสด็จติดตามมา ก็พึงรีบเสด็จติดตามข้าน้อยทั้งสองมาเร็วพลัน ทางนี้ เป็นทางเดินคนเดียวตัดตรงไปยังอาศรม พระมารดา พึงเสด็จไปตามทางนั้นก็จะทันได้เห็นลูกทั้งสอง โดย

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 557

เร็วพลัน โอ้หนอ พระเจ้าแม่ผู้ทรงเพศดาบสินี ทรง นำมูลผลาหารมาจากป่า ได้ทรงเห็นอาศรมอันว่าง เปล่า ก็จักทรงมีทุกข์ พระมารดาเที่ยวแสวงหามูลผลาหารจนล่วงเวลา คงได้มาไม่น้อย คงไม่ทรงทราบ ว่าลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ ผู้แสวงหาทรัพย์หยาบช้า ร้ายกาจผูกมัดเฆี่ยนตีดังหนึ่งนายโคบาลทุกตีโคฉะนั้น เออก็วันนี้ ลูกทั้งสองพึงได้เห็นพระมารดาเสด็จกลับมา จากการแสวงหามูลผลาหารในเวลาเย็น พระมารดาพึง ประทานผลไม้อันเจือด้วยน้ำผึ้งแก่พราหมณ์ ในกาลนั้น พราหมณ์นี้หิวกระหายไม่พึงเร่งให้เราทั้งสองเดิน นัก เท้าทั้งสองของเราฟกบวมหนอ พราหมณ์ก็เร่งให้ เรารีบเดิน พระกุมารทั้งสองทรงรักใคร่ ในพระ มารดา ทรงกรรแสงพิลาปอยู่ ณ ที่นั้นด้วยประการ ดังนี้.

จบกุมารบรรพ

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๑๘๓] เทวดาเหล่านั้นได้ฟังสองพระกุมารทรง พิลาปร่ำรำพันแล้ว จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง ๓ จงแปลงเพศเป็นสัตว์ดุร้ายในป่า คือ เป็น ราชสีห์ ๑ เสือโคร่ง เสือเหลือง ๑ อย่าให้พระราช บุตรีเสด็จกลับจากการแสวงหามูลผลาหารในเวลาเย็น ได้ ท่านทั้งหลายอย่าให้สัตว์ร้ายในป่าอันเป็นแว่น

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 558

แคว้นของพวกเรา เบียดเบียนพระราชบุตรีได้ ถ้า ราชสีห์ เสือโคร่งและเสือเหลือง พึงเบียดเบียนพระ นาง ผู้ทรงศุภลักษณ์ พระชาลีกุมารก็ไม่พึงมี พระ กัณหาชินากุมารีจะพึงมีแต่ที่ไหน พระนางผู้สมบูรณ์ ด้วยลักขณาจะพึงเสื่อมเสียโดยส่วนทั้งสอง คือ พระภัศดาและพระลูกรัก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจง กระทำอารักขาให้ดี.

พระนางมัทรีตรัสว่า

[๑๑๘๔] เสียมของเราหล่นลงแล้ว และตาเบื้อง ขวาของเราก็เขม่นอยู่ริกๆ ต้นไม้ทั้งหลายที่เคยมีผล ก็กลายเป็นไม่มีผล ทิศทั้งปวงก็ทำให้เราฟั่นเฟือนลุ่ม หลง เมื่อเรากลับบ่ายหน้ามาสู่อาศรมในเวลาเย็น เมื่อ พระอาทิตย์จะอัศดงคต ๓ สัตว์ร้ายก็ปรากฏยืนขวาง ทาง พระอาทิตย์ก็คล้อยลงต่ำ และอาศรมก็ยังอยู่ไกล หนอ ก็มูลผลาผลอันใดที่เราจักนำไปแต่ป่านี้ พระเวสสันดรและลูกน้อยทั้งสองพึงเสวยมูลผลาผลนั้น โภชนะอื่นไม่มี พระจอมกษัตริย์นั้นจักประทับอยู่ใน บรรณศาลาพระองค์เดียว คงทรงปลอบประโลมให้ ลูกน้อยทั้งสองผู้กระหายหิวให้ยินดี คอยทอดพระเนตร ดูเราผู้ยังไม่มาถึง เป็นแน่แท้ ลูกน้อยทั้งสองของเรา ผู้กำพร้ายากไร้ในเวลาเย็นอันเป็นเวลาดื่มน้ำมัน จัก คอยดื่มน้ำนม ดังลูกเนื้อที่กำลังดื่มนม ฉะนั้น เป็น แน่แท้ ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้กำพร้ายากไร้ ใน

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 559

เวลาเย็นอันเป็นเวลาดื่มน้ำ ก็จักคอยดื่มน้ำ ดังลูกเนื้อ ที่กำลังกระหายน้ำ ฉะนั้น เป็นแน่แท้ ลูกน้อยทั้ง สองของเราผู้กำพร้ายากไร้ จะยืนคอยต้อนรับเรา เหมือนหนึ่งลูกโคอ่อนคอยชะแง้หาแม่ ฉะนั้น เป็น แน่แท้ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้ยากไร้ คงจะยืนต้อนรับ เราเสมือนหนึ่งหงส์ซึ่งตกอยู่ในเปือกตม ฉะนั้น เป็น แน่ ลูกน้อยทั้งสองของเราผู้ยากไร้ คงจะยืนคอยต้อน รับเราอยู่ในที่ใกล้ๆ อาศรม หนทางที่จะไปก็มีอยู่ ทางเดียว ทั้งเป็นทางเดินไปได้คนเดียว โดยข้างหนึ่ง มีสระ อีกข้างหนึ่งมีบึง เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งเป็นทาง ไปยังอาศรมได้ ข้าแต่พระยามฤดูราชผู้มีกำลังมากใน ป่าใหญ่ ดิฉันขอนอบน้อมต่อท่านทั้งหลาย ท่านทั้ง หลายเป็นพี่น้องของดิฉันโดยธรรม ดิฉันขออ้อนวอน ขอท่านทั้งหลายจงให้หนทางแก่ดิฉันเถิด ดิฉันเป็น ภรรยาของพระราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกขับไล่จากสีพีรัฐ ดิฉันมิได้ดูหมิ่นพระราชสวามีพระองค์นั้นเลย เหมือน ดังนางสีดาคอยอนุวัตรตามพระรามราชสวามี ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงหลีกทางให้ดิฉันแล้วกลับไปพบลูก น้อยของท่านในเวลาออกหาอาหารในเวลาเย็น ส่วน ดิฉันก็จะพึงได้กลับไปพบลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลี และแม่กัณหาชินา อนึ่ง มูลมันผลไม้นี้ก็มีอยู่มากและที่ เป็นภักษาก็มีไม่น้อย ดิฉันขอแบ่งให้ท่านทั้งหลายกึ่งหนึ่ง ดิฉันอ้อนวอนแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงให้ทางแก่ดิฉัน

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 560

เถิด พระมารดาของเราทั้งหลายเป็นพระราชบุตรี และ พระบิดาของเราทั้งหลายก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้ง หลายจึงชื่อว่าเป็นพี่น้องของดิฉันโดยธรรม ดิฉันอ้อน วอนแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงหลีกทางให้ดิฉันเถิด.

[๑๑๘๕] เทพเจ้าทั้งหลายผู้แปลงกายเป็นพาลมฤค ได้ฟังพระวาจาอันไพเราะ น่ากรุณาเป็นอันมาก ของพระนางผู้รำพันวิงวอนอยู่ ได้พากันหลีกจากทาง ไป.

พระนางมัทรีตรัสว่า

[๑๑๘๖] พระลูกน้อยทั้งสองพระองค์จะขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอยต้อนรับแม่อยู่ที่ตรงนี้ ดังหนึ่งลูกโคอ่อนยืนคอยชะแง้หาแม่ ฉะนั้น พระลูก น้อยทั้งสองขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนต้อนรับแม่ อยู่ตรงนี้ เหมือนดังหงส์ติดอยู่ในเปือกตม ฉะนั้น พระลูกน้อยทั้งสองขมุกขมอมไปด้วยฝุ่น เคยยืนคอย ต้อนรับแม่อยู่ใกล้ๆ อาศรมที่ตรงนี้ พระลูกน้อยทั้ง สองเคยร่าเริงหรรษาวิ่งมาต้อนรับแม่ ราวกับจะทำให้ หทัยของแม่หวั่นไหว เหมือนลูกเนื้อเห็นแม่แล้วยกหู ชูคอวิ่งเข้าไปหาแม่ร่าเริงหรรษาวิ่งไปมารอบๆ ฉะนั้น วันนี้แม่มิได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่ กัณหาชินานั้นเหมือนอย่างเคย แม่ละลูกน้อยทั้งสอง ไว้ออกไปหาผลไม้ ดังแม่แพะและแม่เนื้อละลูกน้อยๆ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 561

ไปหากิน ดังปักษีละทิ้งลูกน้อยไปจากรัง หรือดังนาง ราชสีห์ผู้ต้องการอาหาร ละลูกน้อยไว้ออกไปหากิน ฉะนั้น วันนี้แม่ไม่เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลี และแม่กัณหาชินาเหมือนอย่างเคย นี้เป็นรอยเท้าวิ่ง ไปมาของพระลูกน้อยทั้งสองดุจรอยเท้าของช้างทั้ง หลายที่เชิงเขา นี่กองทรายที่ลูกน้อยทั้งสองมากองเล่น เรี่ยรายอยู่ ณ ที่ใกล้ๆ อาศรม วันนี้แม่ไม่เห็นลูกน้อย ทั้งสอง คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาเหมือนอย่าง เคย พระลูกน้อยทั้งสองเคยขมุกขมอมด้วยทรายและ ฝุ่นวิ่งเข้ามาล้อมแม่อยู่รอบข้าง วันนี้แม่มิได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสองนั้น เมื่อก่อนพระลูกน้อยทั้งสองเคย ต้อนรับแม่ผู้กลับมาจากป่าแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็นลูก น้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาเหมือนอย่าง เคย วันก่อนๆ พระลูกน้อยทั้งสองคอยแลดูแม่อยู่แต่ ไกลเหมือนลูกแพะหรือลูกเนื้อทรายคอยชะแง้หาแม่ ฉะนั้น วันนี้แม่ไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสองนั้นเลย เออก็นี่ผลมะตูมสุกสีดังทอง เป็นเครื่องเล่นของลูก น้อยทั้งสอง (ไฉน) จึงมาตกกลิ้งอยู่ที่นี้ วันนี้แม่มิได้ เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินา เหมือนอย่างเคย ก็ถันทั้งสองของแม่นี้เต็มไปด้วยน้ำ นม และอุรูประเทศของแม่ดังหนึ่งว่าจะแตกทำลาย วันนี้แม่ไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือพ่อชาลีแม่

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 562

กัณหาชินาเหมือนอย่างเคย ใครเล่าจะค้นชายพกแม่ ใครเล่าจะเหนี่ยวถันทั้งสองของแม่ วันนี้ไม่ได้เห็น พระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาเหมือน อย่างเคย เวลาเย็นพระลูกน้อยทั้งสองขมุกขมอมไป ด้วยฝุ่น เคยวิ่งมาเกาะที่ชายพกแม่ วันนี้แม่ไม่ได้ เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง เมื่อก่อนอาศรมนี้ปรากฏแก่ เราดังว่านี้มหรสพ วันนี้เมื่อแม่มิได้เห็นพระลูกน้อยทั้ง สองนั้น อาศรมเหมือนดังจะหมุนเวียน นี่อย่างไร อาศรมจึงปรากฏแก่เราดูเงียบสงัดจริงหนอ แม้ฝูงกา ป่าก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระลูกทั้งสองของแม่จักตาย เสียแล้วเป็นแน่แท้ นี่อย่างไรอาศรมจึงปรากฏแก่เรา ดูเงียบสงัดจริงหนอ แม้ฝูงนกก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระลูกน้อยทั้งสองของแม่ จักตายเสียแล้วเป็นแน่แท้.

[๑๑๘๗] นี่อย่างไรฝ่าพระบาทจึงทรงนิ่งอยู่ เออ ก็ใจของหม่อมฉันเหมือนดังฝันเหมือนสุบินในเวลาราตรี แม่ฝูงกาป่าก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระลูกน้อยทั้งสองของ หม่อมฉันคงจักตายเสียแล้วเป็นแน่แท้ นี่อย่างไรฝ่า พระบาทจึงทรงนิ่งอยู่แม้ฝูงนกก็มิได้ส่งเสียงร้อง พระ ลูกน้อยของหม่อมฉันคงจักตายเป็นแน่แท้ ข้าแต่ พระลูกเจ้า เหล่าเนื้อร้ายในป่าหรือในทุ่งกว้าง มา เคี้ยวกินพระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วหรือ ไฉน หรือว่าใครมานำเอาพระลูกน้อยทั้งสองของ หม่อมฉันไป หรือฝ่าพระบาททรงส่งพระลูกน้อยทั้ง สองซึ่งกำลังช่างพูดจาน่ารักใคร่ไปเป็นทูต หรือว่า

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 563

เข้าไปหลับอยู่ในบรรณศาลา หรือพระลูกน้อยทั้งสอง ของเรานั้นเที่ยวเล่นคะนองออกไปในภายนอก เส้น พระเกศา พระหัตถ์และพระบาทซึ่งมีลายตาข่าย ของ พระลูกน้อยทั้งสองนั้น มิได้ปรากฏเลย หรือว่านกทั้ง หลายมาโฉบเฉี่ยวเอาไป หรือว่าใครนำเอาพระลูกน้อย ทั้งสองของหม่อมฉันไป.

[๑๑๘๘] ความทุกข์ที่หม่อมฉัน มิได้เห็นลูกน้อย ทั้งสอง คือชาลีและกัณหาชินาในวันนั้น เป็นทุกข์ยิ่ง กว่าการถูกขับไล่จากแว่นแคว้น เปรียบเหมือนผลที่ ถูกแทงด้วยลูกศร ฉะนั้น ก็การที่หม่อมฉันมิได้เห็น พระลูกน้อยทั้งสอง ทั้งฝ่าพระบาทก็มิได้ตรัสกับหม่อม ฉันนี้ เป็นลูกศรเสียบแทงหฤทัยของหม่อมฉันซ้ำสอง หฤทัยของหม่อมฉันหวั่นไหว ข้าแต่พระราชบุตร ถ้า คืนวันนี้ฝ่าพระบาทมิได้ตรัสกับหม่อมฉัน พรุ่งนี้เช้า ฝ่าพระบาทก็น่าจะได้ทอดพระเนตรหม่อมฉัน ผู้ปราศ- จากชีวิต ตายเสียเป็นแน่.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๑๘๙] เจ้ามัทรีมีรูปงามอุดม เป็นราชบุตรีผู้มี ยศ ไปแสวงหามูลผลาหารตั้งแต่เช้า ไฉนหนอ จึง กลับมาจนเวลาเย็น.

พระนางมัทรีทูลว่า

[๑๑๙๐] ฝ่าพระบาทได้ทรงสดับมิใช่หรือ ซึ่ง เสียงบันลือแห่งราชสีห์ และเสือโคร่ง ทั้งเสียงสัตว์

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 564

จตุบาทและฝูงนก ส่งเสียงคำรามร้องสนั่นเป็นอัน เดียวกัน ต่างก็มุ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำยังสระนี้ บุพนิมิต ได้เกิดมีแก่หม่อมฉันผู้กำลังเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เสียม พลัดตกจากมือของหม่อมฉัน และกระเช้าที่หาบอยู่ก็ พลัดตกจากบ่า ทีนั้นหม่อมฉันก็หวาดกลัวเป็นกำลัง จึงกระทำอัญชลีนอบน้อมทิศทั่วทุกแห่ง ขอความ สวัสดี พึงมีแต่ที่นี้ ขอพระลูกเจ้าของเราทั้งหลาย อย่าได้ถูกราชสีห์หรือเสือเหลืองเบียดเบียนเลย หมี สุนัขป่า หรือเสือดาว อย่ามากล้ำกรายพระลูกน้อยทั้ง สองของข้าเลย ๓ สัตว์ร้ายในป่า คือ ราชสีห์ เสือ โคร่ง และเสือเหลืองยืนขวางทางหม่อมฉันเสีย เหตุ นั้น หม่อมฉันจึงกลับมาพลบค่ำ.

[๑๑๙๑] ตัวเราเป็นผู้ไม่ประมาท หมั่นปฏิบัติ พระสวามีบำรุงพระลูกน้อยทั้งสองทุกวันคืน ดังอัน เตวาสิกปฏิบัติอาจารย์ ฉะนั้น ตัวเรามุ่นชฎาเป็น พรหมจาริณี นุ่งห่มหนังอชินะ เที่ยวแสวงหามูลผลาหารในป่าทุกวันคืน เพราะความรักพระลูกทั้งสองเทียว นะพระลูก นี่ขมิ้น สีดังทอง ที่แม่หามาบดไว้สำหรับ ใช้เพื่อเจ้าทั้งสองอาบน้ำ นี่ผลมะตูมสุกสีเหลือง แม่ หามาให้เพื่อลูกทั้งสองเล่น อนึ่ง แม่ได้สรรหาผลไม้ สุกอื่นๆ ที่น่าพอใจมาเพื่อให้ลูกทั้งสองเล่น นี้เป็น ของเล่นของลูกรักทั้งสอง ข้าแต่พระจอมกษัตริย์ นี้ เหง้าบัวพร้อมทั้งฝักและหน่อแห่งอุบลและกระจับอัน

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 565

คลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้ง เชิญพระองค์เสวยพร้อมพระโอรส พระธิดาเถิด ขอพระองค์ทรงโปรดประทานดอกปทุม แก่พ่อชาลี ส่วนดอกโกมุทขอได้โปรดประทานแก่ กัณหากุมารี พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพระกุมาร ประดับประดาด้วยดอกไม้ฟ้อนรำอยู่ ขอได้โปรด ตรัสเรียกสองพระราชบุตรมาเถิด แม่กัณหาชินาจะได้ มานี่ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์จงสดับ พระสุรเสียงอันไพเราะอ่อนหวานของแม่กัณหาชินา ขณะเข้าสู่อาศรม เราทั้งสองถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น เป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกัน เออก็พระองค์ได้ทรงเห็น พระราชบุตรทั้งสอง คือ พ่อชาลีแม่กัณหาชินาบ้าง หรือ ชะรอยว่าหม่อมฉัน ได้สาปแช่ง สมณพราหมณ์ผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล เป็นพหูสูต ในโลก วันนี้หม่อมฉันจึงไม่ได้เห็นพระลูกน้อยทั้งสอง คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.

[๑๑๙๒] หมู่นี้นี่ก็ต้นหว้า นี่ต้นยางทรายที่ทอด กิ่งค้อมลงมา เป็นรุกขชาติต่างๆ พันธุ์ ที่สองพระ กุมารเคยวิ่งเล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น หมู่นี้ นี่ก็โพธิ์ใบ ต้นขนุน ต้นไทร ต้นมะขวิด เป็นไม้มี ผลนานาชนิด ที่พระกุมารทั้งสองเคยมาวิ่งเล่น แม่ มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น หมู่ไม้เหล่านี้ตั้งอยู่ดุจ อุทยาน นี่ก็เป็นแม่น้ำมีน้ำเย็นซึ่งสองพระกุมารเคยมา

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 566

เล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น รุกขชาติที่ทรง ดอกต่างๆ มีอยู่บนภูเขานี้ ที่สองพระกุมารเคยทัดทรง เล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น รุกขชาติที่ทรงผล ต่างๆ มีอยู่บนภูเขานี้ ที่สองพระกุมารเคยมาเสวย แม่ มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น เหล่านี้เป็นตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่พระกุมารทั้งสองเคยมาเล่น แม่มิได้เห็นสองพระกุมารนั้น.

[๑๑๙๓] เหล่านี้เป็นตุ๊กตาเนื้อทรายทองตัว เล็กๆ ตุ๊กตากระต่าย ตุ๊กตานกเค้า ตุ๊กตาชะมด เป็นอันมาก ที่พระกุมารทั้งสองเคยเล่น แม่มิได้เห็น พระกุมารทั้งสองนั้น เหล่านี้ตุ๊กตาหงส์ เหล่านี้ตุ๊กตา นกกะเรียน ตุ๊กตานกยูงมีแววหางงามวิจิตร ที่สอง พระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็นพระกุมารทั้งสอง เลย.

[๑๑๙๔] พุ่มไม้เหล่านี้มีดอกบานทุกฤดูกาล ที่ สองพระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็นพระกุมารทั้ง ของนั้น สระโบกขรณีนี้น่ารื่นรมย์ เพรียกไปด้วย เสียงนกจากพรากมาคูขัน ดาดาษไปด้วยมณฑาปทุม และอุบล ที่สองพระกุมารเคยมาเล่น แม่มิได้เห็น พระกุมารทั้งสองนั้น.

[๑๑๙๕] พ้นฝ่าพระบาทก็มิได้หัก น้ำก็มิได้ตัก แม้ไฟก็มิได้ติด เพราะเหตุไรหนอพระองค์จึงทรง

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 567

หงอยเหงาซบเซาอยู่ ที่รักกับที่รักประชุมพร้อมกันอยู่ ย่อมหายความทุกข์ร้อน แต่วันนี้หม่อมฉันมิได้เห็น พระกุมารทั้งสอง คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.

[๑๑๙๖] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉัน มิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระ ลูกรักทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตาย เสียแล้ว แม้ฝูงกาป่าก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้ง สองของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันมิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของ เรา ผู้ใดมานำเอาพระลูกรักทั้งสองนั้นไป หรือว่า พระลูกรักทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว แม่ฝูงนกก็มิได้ขาน ขัน พระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็น แน่.

[๑๑๙๗] พระนางมัทรี ทรงปริเทวนาพลางเที่ยว วิ่งค้นหาตลอดซอกบรรพตและป่าชัฏ ในบริเวณเขา วงกตนั้น แล้วเสด็จกลับมายังพระอาศรมทรงกันแสง อยู่ในสำนักของพระราชสวามี ทูลคร่ำครวญว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันมิได้เห็นพระลูกรัก ทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระลูกรักทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว แม้ฝูงกาป่า ก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้งสองของหม่อมฉันตาย เสียแล้วเป็นแน่ ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉัน

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 568

มิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระ ลูกทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตาย เสียแล้ว แม้ฝูงนกก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้งสอง ของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็นแน่ พระนางมัทรีผู้ทรง พระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรีผู้มียศเที่ยว ไปที่โคนต้นไม้ ที่บริเวณภูเขา และในถ้ำมิได้ทรงพบ เห็นสองพระกุมาร จึงทรงประคองพระพาหากันแสง ไห้คร่ำครวญ ล้มสลบลงที่พื้นพสุธา ณ ที่ใกล้บาทมูล ของพระเวสสันดรนั้นแล.

[๑๑๙๘] พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงวักน้ำประพรมพระนางมัทรีราชบุตรีผู้ล้มสลบขึ้น ณ ที่ใกล้บาท มูลของพระองค์นั้น ครั้นทรงทราบว่า พระนางฟื้น พระองค์ดีแล้ว จึงได้ตรัสบอกเนื้อความนี้กะพระนาง ในภายหลังว่า ดูก่อนมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะแจ้ง ความทุกข์แก่เธอแต่แรกก่อน พราหมณ์แก่เป็นยาจก ผู้ยากจนมาสู่ที่อยู่ของฉัน ฉันได้ให้ลูกทั้งสองแก่ พราหมณีนั้นไป ดูก่อนมัทรี เธออย่ากลัวเลย จงดีใจ เถิด ดูก่อนมัทรี เธอจงดูฉันเถิด จงอย่าดูลูกทั้งสองเลย อย่ากันแสงไห้ไปนักเลย เราเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิต อยู่ คงจักได้พบเห็นลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็น แน่แท้ สัปบุรุษเห็นยาจกมาถึงแล้วพึงให้บุตร ปศุสัตว์ ธัญชาติ และทรัพย์อย่างอื่นในเรือนเป็นทานได้ ดูก่อน มัทรี ขอเธอจงอนุโมทนาปุตตทานอันสูงสุดของเรา.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 569

พระนางมัทรีทูลว่า

[๑๑๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉัน นุโมทนาปุตตทานอันอุดมของฝ่าพระบาท ฝ่าพระบาททรงพระราชทานปุตตทานอันอุดมแล้ว จงยัง พระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญทานยิ่งๆ ขึ้น ไปเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชุมชนในหมู่ มนุษย์ซึ่งมักเป็นคนตระหนี่เหนียว ฝ่าพระบาทพระองค์เดียวผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้ทรงบำเพ็ญปิยปุตตทานแก่พราหมณ์แล้ว.

[๑๒๐๐] ปฐพีก็บันลือลั่นเสียงสนั่นบันลือไปถึง ไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบโดยรอบ เสียง สะท้านปรากฏ ดังหนึ่งว่าเสียงภูเขาถล่มทลาย.

[๑๒๐๑] เทพเจ้าสองหมู่ ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารทบรรพต ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดร นั้นว่า พระอินทร์ พระพรหม ทั้งท้าวเวสวัณมหาราช และเทพเจ้าขาวดาวดึงส์สวรรค์พร้อมด้วยพระ อินทร์ทุกถ้วนหน้า ย่อมถวายอนุโมทนาพระนางเจ้า มัทรีผู้ทรงพระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรี ผู้มียศ ทรงถวายอนุโมทนาปุตตทานอันอุดมของ พระเวสสันดรราชฤาษี ด้วยประการฉะนี้แล.

จบมัทรีบรรพ

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 570

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๐๒] ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ อุทัยขึ้นมา เวลาเช้าท้าวสักกเทวราชทรงแปลงเพศ เป็นอย่างพราหมณี ได้ปรากฏแก่สองกษัตริย์นั้น.

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า

[๑๒๐๓] พระคุณเจ้าไม่มีโรคาพาธหรือหนอ พระคุณเจ้าทรงพระสำราญดีหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี มากหรือ เหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานมีน้อยแลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤคไม่มีมาเบียดเบียน แลหรือ.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๐๔] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มี โรคาพาธเบียดเบียน อนึ่งเราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดีทั้งมูล มันผลไม้ก็มีมาก เหลือบ ยุง สัตว์เสือกคลานก็มีน้อย อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็ไม่มีมา เบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตอัน ตรมเตรียมมาตลอด ๗ เดือน เราพึงเห็นท่านผู้เป็น พราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้เท้าสี ดังผลมะตูม และลักจั่นน้ำนี้เป็นคนที่สอง ดูก่อน พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่งท่านมิใช่มาร้าย ดูก่อน ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปภายในเถิด เชิญล้างเท้า

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 571

ของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญเลือกฉันแต่ ผลที่ดีๆ เถิด ท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็เย็นสนิท เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านจำนงหวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม ท่านมา ถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถามแล้วขอ ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.

[๑๒๐๕] ห้วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม ไม่มีเวลาเหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็ม ไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉันกราบทูล ขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานพระมเหสี แก่เกล้ากระหม่อมฉันเถิด.

[๑๒๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เราย่อมให้มิได้หวั่น ไหว ท่านขอสิ่งใดเราก็จะให้สิ่งนั้น เราไม่ซ่อนเร้น สิ่งที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน.

[๑๒๐๗] พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐ ทรงกุม หัตถ์พระนางมัทรี จับเต้าน้ำหลั่งอุทกวารีพระราชทาน พระนาง ให้เป็นทานแก่พราหมณ์ ขณะนั้น เมื่อ พระมหาสัตว์ทรงบริจาคพระนางมัทรีให้เป็นทาน เกิด ความอัศจรรย์น่าสยดสยองโลมชาติก็ชูชัน เมทนีดล ก็กัมปนาทหวั่นไหว พระนางเจ้ามัทรีมิได้มีพระพักตร์ เง้างอด มิได้ทรงขวยเขิน และมิได้ทรงกันแสง ทรง

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 572

เพ่งดูพระราชสวามีโดยดุษณีภาพ โดยทรงเคารพเชื่อ ถือว่า ท้าวเธอทรงทราบซึ่งสิ่งอันประเสริฐ.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๐๘] เมื่อตถาคตเป็นพระเวสสันดร บริจาค ชาลีกัณหาชินาซึ่งเป็นบุตรธิดาและพระมัทรีเทวี ผู้ เคารพยำเกรงในพระราชสวามี มิได้คิดเสียดายเลย เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น บุตรทั้งสองเป็น ที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ พระมัทรีเทวีไม่เป็นที่รัก ของเราก็หามิได้ แต่สัพพัญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้นเราจึงได้ให้ของอันเป็นที่รัก.

พระนางมัทรีทรงพระดำริว่า

[๑๒๐๙] ข้าพระบาทเป็นพระมเหสีของพระองค์ ตั้งแต่ยังแรกรุ่นสาว พระองค์ก็เป็นเจ้าเป็นใหญ่ใน ข้าพระบาท พระองค์ปรารถนาจะพระราชทานข้าพระบาทแต่ผู้ใด ก็พึงพระราชทานได้ ทรงปรารถนาจะ ขายหรือจะฆ่า พึงทรงขายทรงฆ่าได้.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๑๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบชัดซึ่ง ความทรงดำริของสองกษัตริย์แล้ว จึงตรัสชมดังนี้ว่า อันว่าข้าศึกทั้งมวลล้วนเป็นของทิพย์ (อันห้ามเสียซึ่ง ทิพยสมบัติ) และเป็นของมนุษย์ (อันห้ามเสียซึ่งมนุษย์ สมบัติ) พระองค์ทรงชนะได้แล้ว ปฐพีก็บันลือลั่น

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 573

เสียงสนั่นบันลือไปถึงไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบ ปลายโดยรอบ เสียงสะท้านปรากฏดังหนึ่งว่าเสียงภูเขา ถล่มทลาย เทพเจ้าสองหมู่ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารทบรรพต ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดรนั้นว่า พระอินทร์ พระพรหม ท้าวประชาบดี จันทเทพบุตร พระยม ทั้งท้าวเวสวัณมหาราช และเทพเจ้าทั้งปวง ย่อมถวายอนุโมทนาว่า พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก เมื่อคนดีทั้งหลายให้สิ่งที่ ให้ได้ยาก กระทำกรรมที่ทำได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำ ได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำตามไม่ได้ เพราะว่าธรรมของ สัตบุรุษทั้งหลาย อันอสัตบุรุษตามได้โดยยาก เพราะ ฉะนั้น ต่อจากนี้ คติของสัตบุรุษและของอสัตบุรุษ ย่อมต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษมีสวรรค์ เป็นที่ไป การที่พระองค์เสด็จมาอยู่ในป่า ได้พระราชทานสองพระราชกุมารและพระมเหสีให้เป็นทานนี้ ชื่อว่าเป็นยานอันประเสริฐ ไม่เป็นยานก้าวลงสู่อบาย- ภูมิ ขอปุตตทานมหาทานของพระองค์นั้น จงเผล็ด ผลในสรวงสวรรค์.

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า

[๑๒๑๑] ข้าพเจ้าขอถวายพระนางเจ้ามัทรีพระมเหสี ผู้งามทั่วสรรพางค์คืนให้พระคุณเจ้า พระองค์ เท่านั้นเป็นผู้สมควรแก่พระมัทรี และพระมัทรีก็คู่ควร

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 574

กับพระราชสวามี น้ำนมและสังข์ ทั้งสองนี้มีสีเหมือน กัน ฉันใด พระองค์และพระมัทรีก็มีพระหฤทัยเสมอ กัน ฉันนั้น ทั้งสององค์เป็นกษัตริย์สมบูรณ์ด้วยพระโคตร เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระชนนีและพระชนก ทรงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นมาอยู่ในอาศรมราวป่า บุญ ทั้งหลายที่พระองค์กระทำมาแล้วฉันใด ขอพระองค์ ทรงให้ทานกระทำบุญอยู่ร่ำไปฉันนั้น.

[๑๒๑๒] ข้าแต่พระราชฤาษี หม่อมฉันเป็นท้าว สักกะจอมเทพ มาในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์ จงทรงเลือกพร หม่อมฉันขออวยพร ๘ ประการแก่ พระองค์.

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๑๓] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งสรรพ- สัตว์ ถ้าพระองค์จะประสาทพระพรแก่หม่อมฉันไซร้ ขอให้พระบิดาจงมารับหม่อมฉัน ขอพระบิดาพึงทรง ต้อนรับหม่อมฉันผู้ออกจากป่านี้ไปถึงเรือนของตนด้วย ราชอาสน์ พรนี้เป็นที่ ๑ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ขอให้หม่อมฉันไม่พึงพอใจซึ่งการฆ่าคน แม้ผู้ นั้นจะเป็นนักโทษถึงประหารชีวิตกระทำผิดอย่างร้าย กาจ ขอให้หม่อมฉันพึงปลดปล่อยให้พ้นจากการถูก ประหารชีวิต พรนี้เป็นที่ ๒ เป็นพรที่หม่อมฉัน ปรารถนา อนึ่ง ขอให้ประชาชนทั้งปวง ทั้งแก่เฒ่าเด็ก

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 575

และปานกลาง พึงเข้ามาอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีวิต พรนี้ เป็นที่ ๓ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง หม่อมฉัน ไม่พึงคบหาภรรยาผู้อื่น พึงพอใจแต่ในภรรยาของตน ไม่พึงลุอำนาจแห่งหญิงทั้งหลาย พรนี้เป็นที่ ๔ เป็น พรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้ บุตรของหม่อมฉัน ผู้พลัดพรากไปนั้น พึงมีอายุยืน นาน พึงครองซึ่งแผ่นดินโดยธรรมเถิด พรนี้เป็นที่ ๕ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ตั้งแต่วันที่หม่อม ฉันกลับคืนถึงพระนคร เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์ อุทัยขึ้นมาแล้ว ขอให้อาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏ พรนี้เป็นที่ ๖ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง เมื่อ หม่อมฉันให้ทานอยู่ ขอไทยธรรมอย่าได้หมดสิ้นไป เมื่อกำลังให้ ขอให้หม่อมฉันทำจิตให้ผ่องใส ครั้น ให้แล้วขอให้หม่อมฉันไม่พึงเดือดร้อนใจในภายหลัง พรนี้เป็นที่ ๗ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไปขอให้หม่อมฉันครรไลยัง โลกสวรรค์ ให้ได้ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษ ครั้น จุติจากชั้นดุสิตนั้นแล้ว พึงมาสู่ความเป็นมนุษย์ แล้ว ไม่พึงเกิดต่อไป พรนี้เป็นที่ ๘ เป็นพรที่หม่อมฉัน ปรารถนา.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๑๔] ครั้นท้าวสักกะจอมเทพทรงสดับพระดำรัส ของพระมหาสัตว์เวสสันดรนั้นแล้ว ได้ตรัส

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 576

ดังนี้ว่า ไม่นานนักดอก สมเด็จพระบิดาบังเกิดเกล้า ของพระองค์ จักเสด็จมาทรงเยี่ยมพระองค์ ครั้นตรัส พระดำรัสเท่านี้แล้ว ท้าวสุชัมบดีมฆวาฬเทวราช ทรง พระราชทานพรแก่พระเวสสันดรแล้ว ได้เสด็จกลับ ไปยังหมู่สวรรค์.

จบสักกบรรพ

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๑๕] นั่นหน้าของใครหนองามยิ่งนัก ดัง ทองคำอันนายช่างหลอมด้วยไฟสุกใส หรือดังแท่ง ทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า ฉะนั้น เด็กทั้งสอง คนนี้มีอวัยวะคล้ายคลึงกัน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คน หนึ่งคล้ายคลึงพ่อชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา ทั้งสองคนมีรูปเสมอกัน ดังราชสีห์ออกจากถ้ำทอง ฉะนั้น เด็กสองคนนี้ปรากฏเหมือนดังหล่อด้วยทองคำ เทียว.

[๑๒๑๖] ดูก่อนภารทวาชพราหมณ์ ท่านนำเด็ก ทั้งสองคนนี้มาจากไหนหนอ ท่านมาจากไหน ลุถึง แว่นแคว้นของเราในวันนี้.

ชูชกทูลว่า

[๑๒๑๗] ข้าแต่พระเจ้าสญชัยสมมติเทพ กุมาร ทั้งสองนี้มีผู้ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยความพอใจ ตั้งแต่ วันที่ข้าพระองค์ได้สองกุมารนี้มา คืนวันนี้เป็นคืนที่ ๑๕

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 577

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๑๘] ท่านมีถ้อยคำดูดดื่มเพียงไร จึงได้เด็ก สองคนนี้มา ท่านควรทำให้เราเชื่อโดยเหตุที่ชอบ ใคร ให้ลูกน้อยทั้งหลาย อันเป็นอุดมทาน ให้ทานนั้นแก่ ท่าน.

ชูชกทูลว่า

[๑๒๑๙] พระองค์ใดเป็นที่พึ่งของเหล่ายาจกผู้ มาขอ ดังธรณีเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จไปอยู่ป่า ได้พระราช- ทานพระราชโอรส และพระราชธิดาแก่ข้าพระองค์ พระองค์ได้เป็นที่รับรองของเหล่ายาจกผู้มาขอ เหมือน สาครเป็นที่รับรองแห่งแม่น้ำทั้งหลายซึ่งไหลลงไป ฉะนั้น พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จ ไปอยู่ป่า ได้พระราชทานพระราชโอรสและพระราช- ธิดาแก่ข้าพระองค์.

พวกอำมาตย์ทูลว่า

[๑๒๒๐] ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระราชา ยังทรงครองเรือนอยู่เป็นผู้มีศรัทธา ทรงกระทำ ธรรมไม่สมควรหนอ พระเวสสันดรถูกขับไล่ออกไป อยู่ป่า พึงพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดา อย่างไรหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ซึ่งมาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ จงพิจารณาเรื่องนี้

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 578

พระเวสสันดรราชประทับอยู่ในป่า อย่างไรจะพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดาเล่า พระองค์ ควรจะพระราชทานทาส ทาสี ม้า แม่ม้าอัศดร รถ ช้างกุญชร ทำไมจึงพระราชทานพระราชกุมารทั้งสอง เล่า.

พระชาลีกุมารทูลว่า

[๑๒๒๑] ข้าแต่สมเด็จพระอัยกา ทาส ม้า แม่ น่าอัสดร รถ และช้างกุญชรตัวประเสริฐ ในเรือน ของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นจะพึงให้อะไรพระเจ้าข้า.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า.

[๑๒๒๒] ดูก่อนพระหลานน้อย ปู่สรรเสริญ ทานแห่งบิดาของเจ้านั้น ปู่ไม่ได้ติเตียนเลย หฤทัย แห่งบิดาของเจ้าเป็นอย่างไรหนอ เพราะให้เจ้าทั้ง สองแก่พราหมณ์แล้ว.

พระชาลีกุมารทูลว่า

[๑๒๒๓] ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดา ของเกล้ากระหม่อม. พระราชทานเกล้ากระหม่อมทั้ง สองแก่พราหมณ์แล้ว ได้สดับถ้อยคำร่ำพิลาป ที่พระ น้องกัณหาได้กล่าวแล้ว.

[๑๒๒๔] ทรงมีพระหฤทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน มีดวงพระเนตรแดงดังหนึ่งดาวโรหิณี และมีพระอัส- สุชลหลั่งไหล.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 579

[๑๒๒๕] พระน้องกัณหาชินาได้กราบทูลสมเด็จ พระบิดาดังนี้ว่า ข้าแต่พระบิดาเจ้าขา พราหมณ์นี้ เฆี่ยนตีเกล้ากระหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดังเฆี่ยนตีหญิง ทาสีอันเกิดในเรือนเบี้ย พระบิดาเจ้าขา ผู้นี้ไม่ใช่ พราหมณ์เป็นแน่ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรม ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มานำเอาเกล้ากระหม่อม ฉันทั้งสองไปเพื่อจะกิน พระบิดาเจ้าขา เกล้ากระหม่อมฉันทั้งสองถูกปีศาจนำไป ไฉนพระบิดาจึงทรง นิ่งดูดายเสียเล่าหนอ เพคะ.

พระราชาตรัสว่า

[๑๒๒๖] มารดาของเจ้าทั้งสองเป็นพระราชบุตร และบิดาของเจ้าทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่ก่อนเจ้า ทั้งสองเคยขึ้นตักของปู่ บัดนี้เหตุไรจึงยืนอยู่ห่างไกล เล่าหนอ.

พระกุมารทูลว่า

[๑๒๒๗] พระมารดาของเกล้ากระหม่อมทั้งสอง เป็นพระราชบุตร และพระบิดาของเกล้ากระหม่อม ทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่บัดนี้เกล้ากระหม่อมทั้ง สองเป็นทาสของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เกล้ากระหม่อมทั้งสองจึงยืนอยู่ห่างไกล พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า

[๑๒๒๘] หลานทั้งสองอย่าได้ชอบกล่าวอย่าง นั้นเลย หทัยของปู่กำลังเร่าร้อน ปู่กายของเหมือน

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 580

ดังถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร หลานรักทั้งสองยังความ เศร้าโศกให้แก่ปู่ยิ่งนัก ปู่จักไถ่หลานทั้งสองด้วย ทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็นทาส ดูก่อนพ่อ ชาลี บิดาของเจ้าทั้งสองได้ตีราคาเจ้าทั้งสองไว้เท่าไร ให้แก่พราหมณ์หลานทั้งสองจงบอกแก่ปู่ตามจริงเถิด พนักงานทั้งหลายจงให้พราหมณ์รับเอาทรัพย์ไปเถิด.

พระกุมารตรัสว่า

[๑๒๒๙] ข้าแต่สมเด็จพระอัยกา พระบิดาทรง ตีราคาเกล้ากระหม่อมฉันมีค่าทองคำพันแท่ง ทรงตี ราคาพระน้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์อันผ่องใส ด้วย สัตว์พาหนะมีช้างเป็นต้นอย่างละร้อยๆ แล้วได้พระราชทานแก่พราหมณ์.

พระราชาตรัสว่า

[๑๒๓๐] เหวยพนักงาน เองจงลุกขึ้นไปนำทาส ทาส ช้าง โค และ โคอุสภราช อย่างละร้อยๆ กับ ทองคำพันแท่ง เอามาให้แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระหลานรักทั้งสอง.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๓๑] ลำดับนั้น พนักงานรีบไปนำทาส ทาสี ช้าง โค และ โคอุสภราช อย่างละร้อยๆ กับทองคำ พนักแท่งเอามาให้แก่พราหมณ์ เป็นค่าไถ่สองพระกุมาร.

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 581

[๑๒๓๒] พนักงานได้ให้ทาส ทาสี ช้าง โค และโคอุสภราช แม่ม้าอัศดร รถ และเครื่องใช้สอย ทุกอย่างๆ ละร้อยๆ กับทองคำพันแท่ง แก่พราหมณ์ แสวงหาทรัพย์ ผู้ขอเกินประมาณ หยาบช้า เป็น ค่าไถ่พระกุมารทั้งสอง.

[๑๒๓๓] กษัตริย์ทั้งสอง คือ พระเจ้าสญชัย และพระราชเทวี ทรงไถ่พระกุมารทั้งสองแล้ว รับสั่ง ให้พนักงานสรงสนานและให้พระกุมารทั้งสองเสวย เสร็จแล้ว ทรงประดับประดาด้วยอาภรณ์ทั้งหลาย แล้วทรงอุ้มขึ้นให้ประทับบนพระเพลา พระกุมารทั้ง สองทรงสรงสนานพระเศียรแล้วทรงพระภูษาอัน สะอาด ประดับด้วยสรรพาภรณ์ พระราชาภูษาพระอัน ทรงอุ้มพระชาลีขึ้นประทับบนพระเพลา แล้วตรัสถาม พระกุมารทั้งสอง ทรงประดับกุณฑลอันมีเสียงดังก้อง น่าเพลินใจ ทรงประดับพวงมาลัยและสรรพาลังการ แล้ว พระราชาครั้นทรงอุ้มพระชาลีขึ้นประทับบน พระเพลา แล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อชาลี พระ ชนกชนนีทั้งสองของหลานรัก ไม่มีโรคดอกหรือ แสวงหาผลาหารเลี้ยงพระชนมชีพสะดวกหรือ มูล ผลาหารมีมากหรือ เหลือบ ยุงและสัตว์เสือกคลานมี น้อยหรือ ในป่าอันเกลือนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย ไม่ มีมาเบียดเบียนหรือ.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 582

พระชาลีกุมาร ทูลว่า

[๑๒๓๔] ขอเดชะ พระชนกชนนีของเกล้า กระหม่อมทั้งสองพระองค์นั้นไม่มีโรค อนึ่ง ทรง แสวงหามูลผลาหารเลี้ยงพระชนมชีพได้สะดวก มูล ผลาหารมีมาก เหลือบ ยุง และสัตว์เสือกคลานก็มี น้อย ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย ไม่มีมา เบียดเบียนพระชนกชนนีทั้งสอง พระชนนีของเกล้า กระหม่อมฉัน ทรงขุดรากบัว เหง้าบัว มันอ่อน ทรง สอยผลพุทรา ผลรกฟ้า มะตูม นำมาเลี้ยงพระชนก และเกล้ากระหม่อมฉันทั้งสอง พระชนนีทรงนำเอา เหง้าไม้และผลไม้ใดๆ มาจากป่า พระชนกและเกล้า กระหม่อมฉันทั้งสองมารวมพร้อมกันเสวยเหง้าไม้และ ผลไม้นั้นๆ ในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลาง วันเลย พระชนนีของเกล้ากระหม่อมทั้งสองผู้เป็น สุขุมาลชาติ ต้องเที่ยวแสวงหาผลไม้ มีพระฉวีวรรณ ผอมเหลือง เพราะลมและแดด เหมือนดอกปทุมอัน ถูกขยำด้วยมือ ฉะนั้น เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวไปใน ป่าใหญ่ ซึ่งเป็นป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ร้าย เป็น ที่อาศัยแห่งแรดและเสือเหลือง พระเกสาของพระองค์ อันมีสีดังปีกแมลงภู่ ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวให้กระจุย กระจาย พระชนนีทรงขมวดมุ่นพระเมาลี ทรงไว้ซึ่ง เหงื่อไคลที่พระกัจฉะประเทศ (ทรงเพศเป็นดาบสินี

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 583

อันประเสริฐ ทรงถือไม้ขอทรงเครื่องบูชาไฟ และ มุ่นพระเมาลี) ทรงพระภูษาหนึ่งสัตว์ บรรทมเหนือ ปฐพี ทรงบูชาไฟ.

[๑๒๓๕] บุตรทั้งหลายเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเป็น ที่รักของมนุษย์ในโลก พระอัยกาของเราไม่ทรงเกิด พระสิเนหาในพระโอรสเสียเลยเป็นแน่.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๓๖] ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว การที่ปู่ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษ เพราะถ้อยคำ ของชาวสีพีทั้งหลายนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอัน ชั่วช้า และชื่อว่าทำกรรมเครื่องทำลายความเจริญ สิ่ง ใดๆ ของปู่มีอยู่ในนครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มี อยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่พระธิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้ เวสสันดรจงมาเป็นพระราชาปกครองในสีพีรัฐเถิด.

พระชาลีกุมารทูลว่า

[๑๒๓๗] ขอเดชะ สมเด็จพระชนกของเกล้า กระหม่อมฉัน คงจักไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาว สีพี เพราะถ้อยคำของเกล้ากระหม่อมฉัน ขอให้ สมเด็จพระอัยกาเสด็จไป ทรงอภิเษกพระบิดาของ เกล้ากระหม่อมฉันด้วยราชูปโภคเองเถิดพระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๓๘] ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยได้ดำรัสสั่ง เสนาบดีว่า กองทัพ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 584

พลเดินเท้า จงผูกสอดอาวุธ (จงเตรียมให้พร้อมสรรพ) ชาวนิคม พราหมณ์และปุโรหิตทั้งหลาย จงตามเราไป ถัดจากนั้น พวกโยธีหกหมื่นผู้สง่างาม พร้อมสรรพ ด้วยเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ ประดับด้วยผ้าสีต่างๆ กัน จงตามมาเร็วพลัน พวกโยธีผู้พร้อมสรรพด้วยเครื่อง อาวุธยุทธภัณฑ์ ประดับด้วยผ้าสีต่างๆ กัน คือ พวก หนึ่งแต่งผ้าสีเขียว พวกหนึ่งแต่งผ้าสีเหลือง พวก หนึ่งแต่งผ้าสีแดง พวกหนึ่งแต่งผ้าสีขาว จงตามมา เร็วพลัน ภูเขาคันธมาทน์อันมีในป่าหิมพานต์ สะพรั่ง ไปด้วยคันธชาติดารดาษด้วยพฤกษานานาชนิด เป็น ที่อาศัยอยู่แห่งหมู่สัตว์ใหญ่ๆ และมีต้นไม้เป็นทิพย์ โอสถ ย่อมสว่างไสวและหอมไปทั่วทิศ ฉันใด เหล่า โยธีทั้งหลาย ผู้พร้อมสรรพด้วยเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ จงตามมาเร็วพลัน ก็จงรุ่งเรืองและมีเกียรติฟุ้งขจร ไป ฉันนั้น ถัดจากนั้น จงจัดช้างที่สูงใหญ่หมื่นสี่ พัน มีสายรัดประคนทอง มีเครื่องประดับและเครื่อง ปกคลุมศีรษะอันขจิตด้วยทอง มีนายควาญช้างถือ โตมรและขอขึ้นขี่คอประจำเตรียมพร้อมสรรพประดับ ประดาอย่างสวยงาม จงตามมาเร็วพลัน ถัดจากนั้น จงจัดม้าสินธพชาติอาชาไนยอันมีเท้าจัดหมื่นสี่พัน พร้อมด้วยนายควาญม้าประดับประดาด้วยอลังการ ถือ แส้แลกเกาทัณฑ์ ผูกสอดเครื่องรบขึ้นประจำหลัง จง

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 585

ตามมาเร็วพลัน ถัดจากนั้น จงจัดกระบวนรถรบ หมื่นสี่พัน มีกำกงอันหุ้มด้วยเหล็ก เรือนรถวิจิตรด้วย ทอง และจงยกธงขึ้นปักบนรถนั้นๆ พวกนายขมัง ธนูผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นคนคล่องแคล่วในรถทั้งหลาย จงเตรียมโล่ห์ เกราะและเกาทัณฑ์ไว้ให้เสร็จ พลโยธี เหล่านี้ จงตระเตรียมให้พร้อมรีบตามมา.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๓๙] เวสสันดรโอรสของเรา จักเสด็จมา โดยบรรดาใดๆ ตามมรรคานั้นๆ จงให้โปรยข้าวตอก ดอกไม้ มาลัย ของหอมและเครื่องลูบไล้ และจงให้ ตั้งเครื่องบูชาอันมีค่ารับเสด็จมา ในบ้านหนึ่งๆ จงให้ตั้ง หม้อสุราเมรัยรับไว้ บ้านละร้อยๆ รายไปตามมรรคา ที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา จงให้ตั้งมังสาหาร และขนม เช่นขนมแดกงา ขนมกุมมาสอันปรุงด้วย เนื้อปลา รายไปตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเรา จักเสด็จมา จงให้ตั้งเนยใส น้ำมัน นมส้ม นมสด ขนมที่ทำด้วยข้าวฟ่าง และสุราเป็นอันมาก รายไป ตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา ให้มี พนักงานวิเศษทั้งครัวหวานและครัวคาว จัดตั้งไว้เลี้ยง ประชาชนทั่วไป ให้มีมหรสพฟ้อนรำขับร้องทุกๆ อย่าง เพลงปรบมือ กลองยาว ช่างขับเสภาอันบรรเทาความ เศร้าโศก พวกโหรีจงเล่นดนตรีดีดพิณพร้อมทั้งกลอง

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 586

น้อยกลองใหญ่ เป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว ตะโพน บัณเฑาะว์ สังข์ จะเข้ กลองใหญ่ กลองเล็ก ราย ไปตามมรรคาที่เวสสันดรโอรสของเราจักเสด็จมา.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๔๐] กองทัพของสีพีรัฐเป็นกองทัพใหญ่ อันจัดเป็นกระบวนตั้งไว้เสร็จแล้วนั้น มีพระชาลี ราชกุมารเป็นผู้นำทาง ได้ยาตราไปยังเขาวงกต ช้าง กุญชรตัวประเสริฐมีอายุ ๖๐ ปี มีสายรัดประคนทอง ผูกตกแต่งไว้ บันลือก้องโกญจนาทกระหึ่มอยู่ เหล่า ม้าอาชาไนยย่อมแผดเสียงดังสนั่น เสียงกงรถดังกึก ก้องธุลีละอองฟุ้งตระหลบนภากาศ กองทัพของสีพีรัฐ อันจัดเป็นกระบวนยาตราไปเป็นกองทัพใหญ่ สามารถ จะทำลายล้างราชดัสกรได้ มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้ นำทาง ได้ยาตราไปยังเขาวงกต พระเจ้าสญชัยพร้อม ด้วยราชบริพารเหล่านั้นเสด็จเข้าป่าใหญ่ ซึ่งมีต้นไม้ มีกิ่งก้านมาก มีน้ำมาก ดารดาษไปด้วยไม้ดอก และ ไม้ผลทั้งสองอย่างในป่าใหญ่นั้น ฝูงวิหคเป็นอันมาก หลากๆ สี มีเสียงกลมกล่อมหวานไพเราะเกาะอยู่บน ต้นไม้อันเผล็ดดอกตามฤดูกาล ร้องประสานเสียง เสียงระเบงเป็นคู่ๆ พระเจ้าสญชัยพร้อมทั้งราชบริพาร เหล่านั้น เสด็จไปสิ้นระยะทางไกลล่วงหลายวันหลาย คืน จึงบรรลุถึงประเทศที่พระเวสสันดรประทับอยู่.

จบมหาราชบรรพ

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 587

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๔๑] พระเวสสันดรได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง แห่งกองพลเหล่านั้นก็ตกพระทัยกลัวเสด็จขึ้นภูเขา ทรงหวาดกลัวทอดพระเนตรดูกองพลเสนา ตรัสว่า ดูก่อนมัทรี เชิญมาดูซิ เสียงอันกึกก้องเช่นใดในป่า ม้าอาชาไนยส่งเสียงร้องกึกก้อง เห็นปลายธงปลิวไสว นายพรานไพรทั้งหลายขึงข่ายล้อมฝูงเนื้อในป่า ไล่ ต้อนให้ตกลงในหลุม แล้วไล่ทิ่มแทงด้วยหอก เลือก เอาแต่ตัวพีๆ ฉันใด เราทั้งสองก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่มี โทษผิด ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นมาอยู่ในป่า ย่อมเป็น ผู้ต้องตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกอมิตรเป็นแน่ ดูเอา เถิดซึ่งบุคคลผู้ประหารคนไม่มีกำลัง.

พระนางมัทรีทูลว่า

[๑๒๔๒] พวกอมิตรไม่พึงย่ำยีพระองค์ เปรียบ เหมือนไฟในห้วงน้ำ ฉะนั้น ขอพระองค์จงระลึกถึง ข้อนั้นแหละ แต่นี้ไปจะพึงมีแต่ความสวัสดีโดยแท้.

[๑๒๔๓] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราชเสด็จลง จากภูเขาแล้วประทับนั่งในบรรณศาลา ทรงทำพระมนัสให้มั่นคง.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๔๔] พระบิดาดำรัสสั่งให้กลับรถ ให้ประเทียบกระบวนทัพไว้ แล้วเสด็จเข้าไปทาพระราชโอรส

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 588

ผู้ประทับอยู่ในป่าเดียวดายเสด็จลงจากคอช้างพระที่ นั่งต้น ทรงเฉวียงพระอังสาประนมพระหัตถ์ แวด ล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จเข้าไป เพื่อทรงอภิเษก พระราชโอรสทรงเพศบรรพชิต นั่งเข้าฌานอยู่ใน บรรณศาลาไม่หวั่นไหวแน่วแน่ ไม่มีภัยแต่ไหน.

[๑๒๔๕] พระเวสสันดรและพระนางเจ้ามัทรี ทอดพระเนตรเห็นพระบิดา ผู้มีความรักในบุตรกำลัง เสด็จมา ทรงต้อนรับถวายอภิวาท ฝ่ายพระนางเจ้า มัทรี ทรงซบพระเศียรอภิวาทแทบพระบาทพระสัส- สุระกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพเกล้ากระหม่อม ฉันมัทรีผู้สะใภ้ของพระองค์ พระเจ้าสญชัยทรงสวม กอดสองกษัตริย์ประทับทรวง ฝ่าพระหัตถ์ลูบพระปฤษฏางค์อยู่ไปมา อาศรมนั้น.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๔๖] ดูก่อนพระลูกรัก ลูกทั้งสองไม่มี โรคาพาธหรือหนอ ลูกทั้งสองสำราญดีหรือ ทั้งมูลมัน ผลไม้มีมากหรือ เหลือบ ยุงและสัตว์เสือกคลานมีน้อย แลหรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ไม่มี มาเบียดเบียนแลหรือ.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๔๗] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชีวิตของ ข้าพระบาททั้งสองย่อมเป็นไปตามมีตามได้ ข้าพระบาท

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 589

ทั้งสองเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง ชีวิตเป็นอยู่ได้ด้วยการ เที่ยวแสวงหามูลผลาผล ข้าแต่มหาราช นายสารถี ทรมานม้าให้หมดฤทธิ์ ฉันใด ข้าพระบาททั้งสองย่อม เป็นผู้ถูกทรมานให้หมดฤทธิ์ ฉันนั้น ความสิ้นฤทธิ์ ย่อมทรมานข้าพระบาททั้งสอง ข้าแต่พระมหาราช เมื่อข้าพระบาททั้งสองผู้ถูกเนรเทศโศกเศร้าอยู่ในป่า เนืองนิตย์ เนื้อหนังก็ซูบซีด เพราะมิได้เห็นพระชนก ชนนี.

[๑๒๔๘] ทายาทผู้มีมโนรถยังไม่สำเร็จของฝ่า พระบาทผู้จอมสีพีรัฐ คือชาลีและกัณหาชินา ทั้งสอง ตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์ผู้มุทะลุหยาบช้า มัน ต้อนตีเอาชาลีกัณหาชินาทั้งสองนั้นเหมือนดังโค ถ้า พระองค์ทรงทราบหรือทรงได้สดับข่าวลูกทั้งสองของ พระราชบุตรีนั้น ขอได้ทรงพระกรุณาตรัสบอกแก่ ข้าพระบาทโดยเร็วพลัน ดังหมอรีบพยาบาลคนที่ถูก งูกัดฉะนั้นเถิด.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๔๙] กุมารทั้งสองนั้น คือ ชาลีและกัณหา ชินา พ่อได้ให้ทรัพย์แก่พราหมณ์ไถ่มาแล้ว ดูก่อน ลูกรัก อย่ากลัวไปเลย จงเบาใจเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๕๐] ข้าแต่สมเด็จพระบิดา ฝ่าพระบาทไม่ มีโรคาพาธหรือหนอ ทรงพระสำราญดีหรือ พระจักษุ

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 590

แห่งพระชนนีของข้าพระบาทยังไม่เสื่อมเสียแหละ หรือ.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๕๑] ดูก่อนลูกรัก พ่อไม่มีโรคาพาธ และ สบายดี อนึ่ง จักษุแห่งมารดาของเจ้าก็ไม่เสื่อมเสีย.

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๕๒] ยวดยานของฝ่าพระบาทไม่ทรุดโทรม หรือ พลพาหนะยังใช้ได้คล่องแคล่วหรือ ชนบท เจริญดีอยู่หรือ ฝนไม่แล้งหรือพระเจ้าข้า.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๕๓] ยวดยานของเราไม่ทรุดโทรม พลพาหนะยังใช้ได้คล่องแคล่ว ชนบทเจริญดี และฝนก็ ไม่แล้ง.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๕๔] เมื่อสามกษัตริย์ทรงสนทนากันอยู่ อย่างนี้ พระมารดาผู้เป็นราชบุตรี ไม่ทรงฉลอง พระบาท เสด็จดำเนินไปปรากฏที่ปากทวารเขา ก็ พระเวสสันดรและพระมัทรี ทอดพระเนตรเห็น พระมารดาผู้มีความรักในบุตรกำลังเสด็จมา ทรงต้อน รับถวายอภิวาท ฝ่ายพระนางเจ้ามัทรี ทรงซบเศียร เกล้าอภิวาทแทบพระบาทพระสัสสุ กราบทูลว่า ข้าแต่ พระแม่เจ้า เกล้ากระหม่อมฉันมัทรีผู้สะใภ้ ขอถวาย บังคมพระยุคลบาทของพระแม่เจ้า.

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 591

[๑๒๕๕] ก็พระโอรสทั้งสองผู้เสด็จมาโดยสวัสดี แต่ที่ไกล ทอดพระเนตรเห็นพระนางเจ้ามัทรี ก็คร่ำ ครวญวิ่งเข้าไปหา ดังหนึ่งลูกโคน้อยวิ่งเข้าไปหาแม่ ฉะนั้น ส่วนพระนางเจ้ามัทรีพอทอดพระเนตรเห็น พระโอรสทั้งสองผู้เสด็จมาโดยสวัสดี แต่ที่ไกล ทรง สั่นระรัวไปทั่วพระกาย เหมือนแม่มดผีสิง ฉะนั้น น้ำมันก็ไหลออกจากพระถันทั้งคู่.

[๑๒๕๖] เมื่อพระญาติทั้งหลายมาพร้อมกันแล้ว ขณะนั้นได้เกิดเสียงสนั่นกึกก้อง ภูเขาทั้งหลายสั่น สะท้าน แผ่นดินไหวสะเทือน ฝนตกลงเป็นท่อธาร ครั้งนั้น พระเวสสันดรราชได้สมาคมร่วมด้วยพระญาติ คือ พระราชา พระเทวี พระโอรส พระสุณิสาและ พระราชนัดดาทั้งสองพระองค์ พระญาติทั้งหลายมา ประชุมพรักพร้อมกันแล้ว ณ กาลใด. ในกาลนั้นได้ เกิดความอัศจรรย์น่าขนพองสยองเกล้า ประชาราษฎร์ ทั้งปวงพร้อมใจกันประนมมืออัญชลี ถวายบังคมพระมหาสัตว์คร่ำครวญวิงวอนพระเวสสันดรและพระนาง เจ้ามัทรี ในป่าอันน่าหวาดกลัวว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่แห่งข้าพระบาททั้งหลาย ขอทั้งสอง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดรับเสวยราชสมบัติเป็น พระราชาแห่งข้าพระบาททั้งหลายเทอญ.

จบฉขัตติยบรรพ

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 592

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

[๑๒๕๗] ฝ่าพระบาท ชาวชนบทและชาวนิคม พร้อมใจกันเนรเทศข้าพระบาทผู้ครองราชสมบัติโดย ทศพิธราชธรรม จากแว่นแคว้น.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

[๑๒๕๘] ดูก่อนพระลูกรัก จริงที่เดียว การที่ พ่อให้ขับไล่ลูกผู้ไม่มีโทษผิดออกไปจากแว่นแคว้น เพราะถ้อยคำของชาวสีพีนั้น ชื่อว่าพ่อได้ทำกรรมอัน ชั่วช้า และชื่อว่าพ่อได้ทำกรรมเครื่องทำลายความ เจริญ.

พระศาสดาตรัสว่า

[๑๒๕๙] ขึ้นชื่อว่าบุตร ควรช่วยปลดเปลื้อง ความทุกข์ของมารดาบิดา และ พี่น้องที่เกิดขึ้นเพราะ เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ด้วยชีวิตของตน (ข้าแต่ พระมหาราช เวลานี้เป็นเวลาสมควรที่จะสรงสนาน ขอเชิญทรงชำระพระสรีระมลทินเถิด พระเจ้าข้า).

[๑๒๖๐] ลำดับนั้น พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ ทรงชำระพระสรีระมลทิน ครั้นแล้วไม่ทรงเพศดาบส.

[๑๒๖๑] พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ สระพระเกศาแล้ว ทรงเสวตพัสตร์อันสะอาด ทรงประดับด้วย เครื่องราชปิลันธนาภรณ์ทุกอย่าง ทรงสอดพระแสง ขรรค์อันทำให้ราชปัจจามิตรเกรงขามเสด็จขึ้นทรง

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 593

พระยาปัจจยนาคเป็นพระคชาธาร ครั้งนั้นเหล่าสหชาติ โยธาหาญทั้งหกหมื่นสวมสอดสรรพาวุธและประดับ สรรพาภรณ์ล้วนด้วยทอง เป็นสง่างามน่าดู ต่างชื่นชม ยินดี แวดล้อมพระมหากษัตริย์ผู้เป็นจอมทัพ ลำดับ นั้น เหล่าพระสนมกำนัลของพระเจ้าสีพีมาประชุม พร้อมกัน เชิญพระมัทรีให้โสรจสรงด้วยสุคนธวารี แล้วทูลถวายพระพรว่า ขอพระเวสสันดรจงทรงอภิ- บาลรักษาพระแม่เจ้า ขอพระชาลีและพระกัณหาชินา ทั้งสองพระองค์จงทรงบำรุงรักษาพระแม่เจ้าต่อไป อนึ่ง ขอพระเจ้าสญชัยมหาราช จงทรงคุ้มครองรักษา พระแม่เจ้ายิ่งขึ้นไป เทอญ.

[๑๒๖๒] ก็พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระมัทรี กลับมาได้ดำรงในสิริราชสมบัตินี้ตามเดิมแล้ว ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่เสด็จไปประทับอยู่ใน ป่าในกาลก่อน จึงรับสั่งให้นำกลองนันทภรีไปตีประกาศที่เวิ้งว้างหว่างเขาวงกต อันเป็นรัมณียสถาน ก็ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระมัทรี กลับมาได้ ดำรงในสิริราชสมบัตินี้ตามเดิมแล้ว พระมัทรีผู้สมบูรณ์ด้วยลักขณา ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่ เสด็จไปประทับอยู่ในป่าในกาลล่อน ครั้นได้ทรง ประสบพระโอรสพระธิดาก็มีพระทัยปราโมทย์ เกิด โสมนัส ก็พระเวสสันดรบรมกษัตริย์และพระมัทรีผู้มี

 
  ข้อความที่ 111  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 594

ลักขณา กลับได้ดำรงในสิริราชสมบัติตามเดิมแล้ว ทรงระลึกถึงความลำบากขณะที่เสด็จไปประทับอยู่ใน ป่าในกาลก่อน และได้มาอยู่ร่วมกับพระโอรสและ พระธิดา จึงมีพระหฤทัยชื่นชมยินดีปีติโสมนัส.

พระนางมัทรีตรัสว่า

[๑๒๖๓] ดูก่อนลูกรักทั้งสอง ในกาลก่อน คือ เมื่อพราหมณ์นำลูกทั้งสองไป แม่มีความปรารถนาลูก ทั้งสอง แม่จึงได้บำเพ็ญวัตรนี้ คือ แม่บริโภคอาหาร วันละครั้ง นอนเหนือพื้นแผ่นดินเป็นนิตย์ วัตรของ แม่นั้นสำเร็จแล้วในวันนี้ เพราะได้พบพระลูกทั้งสอง แล้ว ดูก่อนลูกรักทั้งสอง ขอความโสมนัสอันเกิดจาก แม่และแม้ที่เกิดจากพระบิดา จงคุ้มครองลูก อนึ่งเล่า ขอพระเจ้าสญชัยมหาราช จงทรงอภิบาลรักษาลูก บุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่แม่ก็ดี พระบิดาของลูก ก็ดี กระทำแล้วมีอยู่ ด้วยบุญกุศลทั้งหมดนั้น ขอให้ ลูกจงเป็นผู้ไม่แก่ไม่ตาย.

[๑๒๖๔] พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยพระภูษาอย่างใด สมเด็จพระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัด พระภูษาอย่างนั้น คือ พระภูษากัปปาสิกพัสตร์ โกสัย พัสตร์ โขมพัสตร์ และโกทุมพรพัสตร์ ส่งไปประทาน แก่พระมัทรีราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วย เครื่องประดับอย่างใด พระสัสสุผุสดีราชเทว ก็ทรง จัดเครื่องประดับอย่างนั้น คือ พระธำมรงค์สุวรรณ

 
  ข้อความที่ 112  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 595

รัตน์สร้อยพระศอนพรัตน์ ส่งไปประทานแก่พระมัทรี ราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประ ดับอย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัดเครื่อง ประดับอย่างนั้น คือ พระวลัยสำหรับประดับต้นพระ พาหา พระกุณฑลสำหรับประดับพระกรรณ สายรัด พระองค์ฝังแก้วมณีตาบเพชร ไปประทานแก่พระมัทรี ราชสุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประ ดับอย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวีก็ทรงจัดเครื่อง ประดับอย่างนั้น คือ ดอกไม้กรองเครื่องประดับ พระเมาฬี เครื่องประดับพระนลาตและเครื่องประดับ ฝังแก้วมณีสีต่างๆ กัน ไปประทานแก่พระมัทรีราช- สุณิสา พระนางมัทรีจะทรงงดงามด้วยเครื่องประดับ อย่างใด พระผุสดีสัสสุราชเทวี ก็ทรงจัดเครื่องประดับ อย่างนั้น คือ เครื่องประดับพระกัน เครื่องประดับ พระอังสา สะอิ้งเพชร ฉลองพระบาทส่งไปประทาน แก่พระมัทรีราชสุณิสา เครื่องประดับที่สมเด็จพระนาง ผุสดีส่งไปประทานนั้นมีทั้งที่ต้องร้อยด้วยเชือก ทั้งที ไม่ต้องร้อยด้วยเชือก สมเด็จพระผุสดีทรงตรวจดู เครื่องประดับพระนางมัทรี ทรงเห็นที่ใดยังบกพร่อง ก็รับสั่งให้นำมาประดับเพิ่มเติมจนเต็ม พระนางมัทรี ราชบุตรีทรงงดงามยิ่งนัก ดังนางเทพกัญญาในนันทนวัน พระนางมัทรีราชบุตรีสระพระเกศาแล้วทรง

 
  ข้อความที่ 113  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 596

เศวตพัสตร์ ประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวง ทรงงดงาม ยิ่งนัก ดังนางเทพอัปสรในดาวดึงส์ วันนั้น พระนางมัทรีราชบุตรีทรงงดงามน่าพิศวง ดังต้นกล้วยอัน เกิดในสวนจิตตลดา ถูกลมรำเพยพัดไหวไปมา ฉะนั้น พระนางมัทรีราชบุตรี ทรงมีไรพระทนต์แดงดังผล ตำลึงสุกงามยิ่งนัก มีพระโอษฐ์แดงดังผลไทรสุก งด งามยิ่งนัก ปานดังกินรีมีขนปีกงามวิจิตร บินร่อนอยู่ ในอากาศ ฉะนั้น.

[๑๒๖๕] เหล่าพนักงานตกแต่งดรุณหัตถี มีวัย ปานกลาง อันเป็นช้างพระที่นั่งต้นตัวประเสริฐอดทน ต่อหอกซัดและลูกศร มีงางอนงามดังอนรถ มีกำลัง กล้าหาญ เสร็จแล้วให้นำมาประเทียบเกยคอยรับเสด็จ สมเด็จพระนางมัทรีเสด็จขึ้นประทับบนหลังดรุณหัตถี อันมีวัยปานกลาง เป็นช่างพระที่นั่งต้นตัวประเสริฐ อดทนต่อหอกซัดและลูกศร มีงางอนงามดังงอนรถมี กำลังกล้าหาญ.

[๑๒๖๖] เนื้อประมาณเท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น เนื้อประมาณเท่านั้น ไม่เบียดเบียน กันและกันด้วยเดชของพระเวสสันดร นกประมาณ เท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น นกประมาณ เท่านั้นไม่เบียดเบียนกันและกันด้วยเดชของพระเวส- สันดร เนื้อประมาณเท่าใดที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขา วงกตนั้น มาประชุมในที่เดียวกัน ในเมื่อพระเวส- สันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จกกลับ เนื้อประมาณ

 
  ข้อความที่ 114  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 597

เท่าใด ที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น เนื้อประ มาณเท่านั้นต่างพากันมีทุกข์ เพราะจะต้องพลัดพราก จากพระเวสสันดรมิได้ส่งเสียงร้องอันไพเราะ เหมือน กาลก่อนในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะ เสด็จกลับ นกประมาณเท่าใด ที่มีอยู่ในป่าทั้งปวง ณ เขาวงกตนั้น นกประมาณเท่านั้น ต่างพากันมีทุกข์ เพราะจะต้อพลัดพรากจากพระเวสสันดรมิได้ส่งเสียง ร้อง อันไพเราะเหมือนในกาลก่อน ในเมื่อพระเวส- สันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จกลับ.

[๑๒๖๗] ราชวิถีที่จะเสด็จพระราชดำเนินนั้น ประชาราษฎร์ช่วยกันตกแต่งราบรื่น งานวิจิตร ลาด ด้วยดอกไม้ ตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรราชประทับ อยู่ ตราบเท่าถึงพระนครเชตุดร ลำดับนั้น เหล่า อำมาตย์สหชาติโยธาหาญทั้งหกหมื่น แต่งเครื่องพร้อม สรรพงามสง่าน่าดู พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ ในเมื่อพระเวสสันดรผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับ พระนคร พระสนมกำนัลใน พระกุมารที่เป็นพระประยูรญาติและบุตรอำมาตย์ พวกพ่อค้าและพราหมณ์ ทั้งหลาย พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ ในเมื่อ พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับพระนคร กองพลช้าง ลงพลม้า กองพลรถ กองพลเดินเท้า พากันตามเสด็จแวดล้อมโดยรอบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ เสด็จกลับพระนครชาวชนบท และชาวนิคม พร้อมใจกันมาประชุมแวดล้อมอยู่โดย

 
  ข้อความที่ 115  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 598

รอบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จ กลับพระนคร เหล่าโยธาสวมหมวกแดง สวมเกราะ หนัง ถือธนู ถือโล่ห์ดั้ง เดินนำหน้า ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จกลับพระนคร.

[๑๒๖๘] กษัตริย์ทั้งหกพระองค์นั้น เสด็จเข้าสู่ พระนครอันน่ารื่นรมย์ มีป้อมปราการและทวารเป็น อันมาก บริบูรณ์ด้วยข้าวน้ำบริบูรณ์ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องทั้งสองอย่าง ชาวชนบทและชาวนิคมต่างชื่น ชมยินดี มาประชุมพร้อมกัน ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ ผดุงสีพีรัฐให้เจริญเสด็จมาถึง เมื่อพระมหาสัตว์ผู้ พระราชทานทรัพย์สมบัติมาถึงแล้ว ชาวชนบทและ ชาวนิคมต่างเปลื้องผ้าโพกออกโบกสะบัดอยู่ไปมา พระองค์รับสั่งให้นำกลองนันทเภรีไปตีประกาศใน พระนคร รับสั่งให้ประกาศการปลดปล่อยสัตว์ทั้ง หลายจากเครื่องจองจำ.

[๑๒๖๙] ขณะเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้ เจริญ เสด็จเข้าพระนครแล้ว ท้าวสักกเทวราชทรง บันดาลฝนเงินให้ตกลงในขณะนั้น ลำดับนั้นพระเวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้มีพระปัญญา ทรงบำเพ็ญทาน แล้ว ครั้นสวรรคต พระองค์ก็ได้เสด็จเข้าถึงสวรรค์ ฉะนี้แล.

จบนครกัณฑ์

จบมหาเวสสันตรชาดกที่ ๑๐

จบมหานิบาตชาดก

 
  ข้อความที่ 116  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 599

อรรถกถามหานิบาตชาดก

เวสสันตรชาดก

ทศพรคาถา

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ นิโครธาราม อาศัยกรุงกบิลพัสดุ์ ราชธานี ทรงปรารภฝนโบกขรพรรษตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ผุสฺสตี วรวณฺณาเภ ดังนี้เป็นต้น.

ความพิสดารว่า พระศาสดาทรงยังธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว เสด็จสู่กรุงราชคฤห์โดยลำดับ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์นั้นตลอดเหมันตฤดู มีพระอุทายีเถระเป็นมัคคุเทศก์ พระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ แวดล้อม เสด็จจนถึง กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นการเสด็จครั้งแรก ศักยราชทั้งหลายประชุมกันด้วยคิดว่า พวกเราจักได้เห็นสิทธัตถกุมารนี้ผู้เป็นพระญาติอันประเสริฐของพวกเรา เลือก หาสถานที่เป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กำหนดกันว่า ราชอุทยาน ของนิโครธศักยราชน่ารื่นรมย์ จึงทำวิธีปฏิบัติจัดแจงทุกอย่างในนิโครธาราม นั้น ถือของหอมดอกไม้และจุรณเป็นต้นรับเสด็จ ส่งทารกทาริกาชาวเมืองที่ ยังหนุ่มๆ ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงไปก่อน แต่นั้นจึงส่งราชกุมารีไป เสด็จไปเองในระหว่างราชกุมารราชกุมารีเหล่านั้น บูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้ ของหอมและจุรณเป็นต้น พาเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่นิโครธารามนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ แวดล้อม ประทับนั่ง ณ บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในนิโครธารามนั้น กาลนั้นเจ้าศากยะทั้งหลายเป็นชาติถือตัว กระด้างเพราะถือตัวคิดกันว่า สิทธัตถกุมารนี้เด็กกว่าพวกเรา เป็นน้องเป็น

 
  ข้อความที่ 117  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 600

ภาคิไนย เป็นบุตร เป็นนัดดา ของพวกเรา คิดฉะนี้แล้วจึงกล่าวกะราชกุมารที่ ยังหนุ่มๆ เหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกเราจักนั่ง เบื้องหลังพวกเธอ เมื่อเจ้าศากยะเหล่านั้นไม่อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่งกันอยู่ อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น จึงทรง ดำริว่าพระญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอาเถิด เราจักยังพระญาติเหล่านั้นให้ไหว้ ทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ทรงเข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา จำเดิมแต่ นั้นก็เสด็จขึ้นสู่อากาศ เป็นดุจโปรยละอองธุลีพระบาทลงบนเศียรแห่งพระญาติ เหล่านั้น ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นกับยมกปาฏิหาริย์ ณ ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์.

กาลนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้ทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในวันเมื่อพระองค์ประสูติ เมื่อพระพี่เลี้ยงเชิญ พระองค์เข้าไปใกล้เพื่อให้นมัสการชฎิลชื่อกาฬเทวละ ข้าพระองค์ก็ได้เห็น พระบาททั้งสองของพระองค์กลับไปตั้งอยู่ ณ ศีรษะแห่งพราหมณ์ ข้าพระองค์ ก็ได้กราบพระองค์ นี้เป็นการกราบของข้าพระองค์ครั้งแรก ในวันวัปปมงคลแรก นาขวัญ เมื่อพระองค์บรรทม ณ พระยี่ภูอันมีสิริใต้ร่มเงาไม้หว้า ข้าพระองค์ ได้เห็นเงาไม้หว้าไม่บ่ายไป ข้าพระองค์ก็ได้กราบพระบาทของพระองค์ นี้เป็น การกราบของข้าพระองค์ครั้งที่ ๒ บัดนี้ข้าพระองค์เห็นปาฏิหาริย์ อันยังไม่เห็น นี้ จึงได้กราบพระบาทของพระองค์ นี้เป็นการกราบของข้าพระองค์ครั้งที่ ๓. ก็เมื่อพระเจ้าสุทโทนะถวายบังคมแล้ว เจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งที่จะไม่อาจ ถวายบังคมดำรงนิ่งอยู่มิได้มี ชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดได้ถวายบังคมแล้ว พระผู้ มีพระภาคเจ้ายังพระประยูรญาติทั้งหลายให้ถวายบังคมแล้ว เสด็จลงจากอากาศ ประทับนั่ง ณ บวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ นั่งแล้ว พระประยูรญาติที่ประชุมกันได้แวดล้อมแล้ว ทั้งหมดมีจิตแน่วแน่

 
  ข้อความที่ 118  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 601

นั่งอยู่. ลำดับนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนโบกขรพรรษให้ตกแล้ว น้ำฝนนั้นสีแดง เสียงซู่ซ่าไหลไปลงที่ลุ่ม ผู้ต้องการให้เปียก ก็เปียก ฝนนั้นไม่ตกต้องกายของผู้ ที่ไม่ต้องการให้เปียกแม้สักหยาดเดียว ชนทั้งปวงเหล่านั้นเห็นอัศจรรย์นั้นก็ เกิดพิศวง ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า โอ น่าอัศจรรย์ โอ ไม่เคยมี โอ อานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้า มหาเมฆจึงยังฝนโบกขรพรรษเห็นปานนี้ ให้ตกในสมาคม แห่งพระประยูรญาติทั้งหลาย พระศาสดาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่า นั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิ ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มหาเมฆยังฝนโบกขรพรรษให้ตก แม้ในกาลก่อน เวลาที่เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มหาเมฆเห็นปานนี้ ก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตก ในญาติสมาคมเหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้นทูล อาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า สีวิมหาราช ครองราชสมบัติในกรุงเชตุดรแคว้นสีพี มีพระโอรสพระนามว่า สญชัย กุมาร เพื่อสญชัยกุมารนั้นทรงเจริญวัย พระเจ้าสีวีมหาราชนำราชกัญญา พระนามว่า ผุสดี ผู้เป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราชมาทรงมอบราชสมบัติ แก่สญชัยราชกุมารนั้นแล้ว ตั้งพระนางผุสดีเป็นอัครมเหสี.

ต่อไปนี้เป็นบุรพประโยคคือความเพียรที่ทำในศาสนาของพระพุทธเจ้า ในปางก่อนแห่งพระนางนั้น คือ ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดา พระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้น พระราชาพระนามว่า พันธุมราช เสวยราชสมบัติในพันธุมดีนคร เมื่อพระวิปัสสีศาสดาประทับ อยู่ในเขมมฤคทายวัน อาศัยพันธุมดีนคร กาลนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งส่ง สุวรรณมาลาราคา ๑ แสน กับแก่นจันทน์อันมีค่ามาก ถวายแด่พระเจ้าพันธุมราช

 
  ข้อความที่ 119  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 602

พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชธิดา ๒ องค์ พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชประสงค์ จะประทานบรรณาการนั้นแก่พระราชธิดาทั้งสอง จึงได้ประทานแก่นจันทน์แก่ พระธิดาองค์ใหญ่ ประทานสุวรรณมาลาแก่พระธิดาองค์เล็ก. ราชธิดาทั้งสอง นั้นคิดว่า เราทั้งสองจักไม่นำบรรณาการนี้มาที่สรีระของเรา เราจักบูชาพระศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข้าพระบาท ทั้งสองจักเอาแก่นจันทน์และสุวรรณนาลาบูชาพระทศพล พระเจ้าพันธุมราช ทรงสดับดังนั้น ก็ประทานอนุญาตว่า ดีแล้ว ราชธิดาองค์ใหญ่บดแก่นจันทน์ ละเอียดเป็นจุรณ บรรจุในผอบทองคำแล้วให้ถือไว้ ราชธิดาองค์น้อยให้ทำ สุวรรณมาลาเป็นมาลาปิดทรวง บรรจุผอบทองคำแล้วให้ถือไว้ ราชธิดาทั้งสอง เสด็จไปสู่มฤคทายวันวิหาร. บรรดาราชธิดาสององค์นั้น องค์ใหญ่บูชาพระพุทธ สรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพลด้วยจรุณแก่นจันทน์ โปรยปราย จุรณแก่นจันทน์ที่ยังเหลือในพระคันธกุฏี ได้ทำความปรารถนาว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงเป็นมารดาแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์ ในอนาคตกาล แล้วกล่าวคาถาว่า

ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำการบูชาพระองค์ด้วยจุรณ แห่งแก่นจันทน์นี้ ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เป็นมารดา แห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์ในอนาคตกาล.

ฝ่ายราชธิดาองค์เล็กบูชาพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพล ด้วยสุวรรณมาลาทำเป็นอาภรณ์เครื่องปิดทรวง ได้ทำความปรารถนาว่า ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ เครื่องประดับนี้จงอย่าหายไปจากสรีระของข้าพระพุทธเจ้า จนตราบเท่าบรรลุพระอรหัต แล้วกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าบูชาพระองค์ด้วยสุวรรณมาลา ด้วยอำนาจพุทธบูชานี้ ขอบุญ จงบันดาลให้สุวรรณมาลามีที่ทรวงของข้าพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 120  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 603

ส่วนพระบรมศาสดาก็ทรงทำบูชานุโมทนาแก่ราชธิดาทั้งสองนั้นว่า

ก็เธอทั้งสองได้ประดิษฐานการบูชาอันใดแก่เรา ในภพนี้ วิบากแห่งการบูชานั้น จงสำเร็จแก่เธอทั้งสอง ความปรารถนาเธอทั้งสองเป็นอย่างใด จงเป็นอย่างนั้น.

ราชธิดาทั้งสองนั้น ดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุในที่สุดแห่งพระชนมายุ เคลื่อนจากมนุษยโลกไปบังเกิดในเทวโลก ใน ๒ องค์นั้น องค์ใหญ่เคลื่อน จากเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ยังมนุษยโลก เคลื่อนจากมนุษยโลกท่องเที่ยวอยู่ยัง เทวโลก ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ ได้เป็นพุทธมารดามีพระนามว่ามหามายาเทวี ฝ่ายราชกุมารีองค์เล็กก็ท่องเที่ยวอยู่อย่างนั้น ในกาลเมื่อพระทศพลพระนามว่า กัสสปะบังเกิด ได้เกิดเป็นราชธิดาแห่งพระราชา พระนามว่ากิกิราช พระนาง เป็นราชกุมาริกาพระนามว่า อุรัจฉทา เพราะความที่ระเบียบแห่งเครื่องปิด ทรวงราวกะว่าทำแล้วด้วยจิตรกรรม เกิดแล้วแต่พระทรวง อันตกแต่งแล้วใน กาลเมื่อราชกุมาริกามีชนมพรรษา ๑๖ ปี ได้สดับภัตตานุโมทนาแห่งพระ ตถาคตเจ้า ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล กาลต่อมาในวันที่พระชนกทรงสดับภัตตานุโมทนาแล้วทรงได้บรรลุโสดาปัตติผล พระนางได้บรรลุพระอรหัต ผนวช แล้วปรินิพพาน พระเจ้ากิกิราชมีพระธิดาอื่นอีก ๗ องค์ พระนามของราชธิดา เหล่านั้นคือ

นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกษุณี นาง ภิกขุทาสิกา นางธรรมา นางสุธรรมา และนางสังฆ- ทาสีเป็นที่ ๗.

ราชธิดาทั้ง ๗ เหล่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามปรากฏคือ

นางเขมา นางอุบลวรรณา นางปฏาจารา พระนางโคดม นางธรรมทินนา พระนางมหามายา และนางวิสาขาเป็นที่ ๗.

 
  ข้อความที่ 121  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 604

บรรดาราชธิดาเหล่านั้น นางผุสดี ชื่อสุธรรมาได้บำเพ็ญบุญมีทาน เป็นต้น เป็นนางกุมาริกาชื่อผุสดี เพราะความเป็นผู้มีสรีระดุจอันบุคคลประพรมแล้วด้วยแก่นจันทน์แดงเกิดแล้ว ด้วยผลแห่งการบูชาด้วยจุรณแก่นจันทน์ อันนางได้ทำแล้วแด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและ มนุษย์ ต่อมาได้เกิดเป็นอัครมเหสีแห่งท้าวสักกเทวราช ครั้งนั้น เมื่อบุรพนิมิตร ๕ ประการเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วอายุแห่งนางผุสดี ท้าวสักกเทวราชทราบ ความที่นางจะสิ้นอายุ จึงพานางไปสู่นันทวันอุทยานด้วยยศใหญ่ ประทับบนตั่ง ที่นอนอันมีสิริ ตรัสอย่างนี้กะนางผู้บรรทมอยู่ ณ ที่นอนอันมีสิริประดับแล้ว นั้นว่า แน่ะนางผุสดีผู้เจริญ เราให้พร ๑๐ ประการแก่เธอ เธอจงรับพร ๑๐ ประการเหล่านั้น ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะประทานพรนั้น ได้ทรงภาษิตประถม คาถาในมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ ว่า

ดูก่อนนางผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอันประเสริฐ ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือกเอาพร ๑๐ ประการ ในแผ่นดินอันเป็นที่รักแห่งหฤทัยของเธอ.

ธรรมเทศนามหาเวสสันดรนี้ ชื่อว่าท้าวสักกเทวราชให้ตั้งขึ้นแล้วใน เทวโลก ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุสฺสตี เป็นบทที่ท้าวสักกเทวราชใช้ เรียกชื่อเธอ. บทว่า วรวณฺณาเภ ความว่า ประกอบด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ อันประเสริฐ. บทว่า ทสธา ได้แก่ ๑๐ ประการ. บทว่า ปพฺยา ได้แก่ ทำให้เป็นสิ่งที่พึงถือเอาในแผ่นดิน. บทว่า วรสฺสุ ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสบอกว่า เธอจงถือเอา. บทว่า จารุปุพฺพงฺคี ความว่า ประกอบ ด้วยส่วนเบื้องหน้าอันงาม คือด้วยลักษณะอันประเสริฐ. บทว่า ยํ ตุยฺหํ มนโส ปิยํ ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า เธอจงถือเอาพรซึ่งเป็นที่รัก แห่งใจของเธอนั้นๆ ทั้ง ๑๐ ส่วน.

 
  ข้อความที่ 122  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 605

ผุสดีเทพกัญญาไม่ทราบว่าตนจะต้องจุติเป็นธรรมดา เป็นผู้ประมาท กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ข้าแต่เทวราช ข้าพระบาทขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ ฝ่ายพระบาท จึงให้ข้าพระบาทจุติจากทิพยสถานที่น่ารื่นรมย์ ดุจลม พัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไปฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตยตฺถุ ความว่า ขอนอบน้อม แด่พระองค์. บทว่า กึ ปาปํ ความว่า นางผุสดีทูลถามว่า ข้าพระบาทได้ ทำบาปอะไรไว้ในสำนักของพระองค์. บทว่า ธรณีรุหํ ได้แก่ ต้นไม้.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทราบว่านางเป็นผู้ประมาทจึงได้ภาษิต ๒ คาถาว่า

บาปกรรม เธอมิได้ทำไว้เลย และเธอไม่เป็นที่ รักของเราก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว เหตุนั้น เรา จึงกล่าวกับเธออย่างนี้ ความตายใกล้เธอ เธอจักต้อง พลัดพรากจากไป จงเลือกรับพร ๑๐ ประการนี้จากเรา ผู้จะให้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน เตวํ ความว่า ซึ่งเป็นเหตุให้ เรากล่าวกะเธออย่างนี้ บทว่า ตุยฺหํ วินาภาโว ความว่า เธอกับพวกเรา จักพลัดพรากจากกัน. บทว่า ปเวจฺฉโต แปลว่า ผู้ให้อยู่.

ผุสดีเทพกัญญาได้สดับคำท้าวสักกเทวราช ก็รู้ว่าตนจุติแน่แท้ เมื่อ จะทูลขอรับพรจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของเหล่าสัตว์ทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้ ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 123  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 606

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทพึงอยู่ในพระราชนิเวศน์ แห่งพระเจ้ากรุงสีพีนั้น.

ข้าแต่ท้าวปุรินททะ ข้าพระบาทพึงเป็นผู้มีจักษุ ดำเหมือนตาลูกมฤคีซึ่งมีดวงตาดำ พึงมีขนคิ้วดำ พึง เกิดในพระราชนิเวศน์นั้นโดยนามว่าผุสดี พึงได้พระราชโอรสผู้ให้สิ่งอันเลิศ ประกอบความเกื้อกูลแก่ยาจก ไม่ตระหนี่ อันพระราชาทุกประเทศบูชา มีเกียรติ มียศ เมื่อข้าพระบาททรงครรภ์ อุทรอย่านูนขึ้นพึงมีอุทรไม่ นูน เสมอดังคันศรที่นายช่างเหลาเกลาเกลี้ยงฉะนั้น ถันทั้งคู่ของข้าพระบาทอย่าพึงหย่อนยาน ข้าแต่ท้าว- วาสวะ ผมหงอกก็อย่าได้มี ธุลีก็อย่าพึงติดในกาย

ข้าพระบาทพึงปลดปล่อยนักโทษประหารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทพึงได้เป็น อัครมเหสีที่โปรดปรานของพระเจ้ากรุงสีวีในพระราช นิเวศน์อันกึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนกกระเรียน พรั่งพร้อมด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ เกลื่อนกล่น ไปด้วยคนเตี้ยและคนค่อม อันพ่อครัวชาวมาคธบอก เวลาบริโภคอาหาร กึกก้องไปด้วยเสียงกลอนและเสียง บานประตูอันวิจิตร มีคนเชิญให้ดื่มสุราและกินกับ แกล้ม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิราชสฺส ความว่า นางผุสดีนั้น ตรวจดูพื้นชมพูทวีป เห็นพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวีราชสมควรแก่ตน เมื่อ ปรารถนาความเป็นอัครมเหสีในพระราชนิเวศน์นั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

 
  ข้อความที่ 124  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 607

ยถา มิคี ความว่า เหมือนลูกมฤคอายุ ๑ ปี. บทว่า นีลกฺขี ความว่า ขอจงมีตาคำใสสะอาด เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าพึงเกิดใน พระราชนิเวศน์นั้นโดยนามว่าผุสดี. บทว่า ลเภถ แปลว่า พึงได้. บทว่า วรทํ ความว่า ผู้ให้สิ่งประเสริฐมีเศียรที่ประดับ แล้วนัยน์ตาทั้งคู่ หทัยเนื้อเลือด เศวตฉัตรบุตรและภรรยาเป็นต้น แก่ยากจนผู้ขอแล้ว. บทว่า กุจฺฉิ ได้แก่ อวัยวะที่อยู่กลางตัว ดังนั้นท่านแสดงคำที่กล่าวแล้วโดยย่อ. บทว่า ลิขิตํ ได้แก่ คันศรที่ช่างศรผู้ฉลาดขัดเกลาอย่างดี. บทว่า อนุนฺนตํ ความว่า มีกลางคันไม่นูนขึ้นเสมอดังคันชั่ง ครรภ์ของข้าพเจ้าพึงเป็นอย่างนี้. บทว่า นปฺปวตฺเตยฺยุํ ความว่า ไม่พึงคล้อยห้อยลง. บทว่า ปลิตา นสฺสนฺตุ วาสว ความว่า ข้าแต่ท้าววาสวะผู้ประเสริฐที่สุดในทวยเทพ แม้ผมหงอกทั้งหลายบน ศีรษะของข้าพเจ้า ก็จงหายไปคืออย่าได้ปรากฏบนศีรษะของข้าพเจ้า ปาฐะว่า ปลิตานิ สิโรรุหา ดังนี้ก็มี. บทว่า วชฺฌญฺจาปิ ความว่า ข้าพเจ้าพึง เป็นผู้สามารถปล่อยโจรผู้ทำความผิด คือ ผิดต่อพระราชา ถึงโทษประหาร ด้วย กำลังของตน นางผุสดีแสดงความเป็นใหญ่ของตนด้วยบทนี้. บทว่า สูทมาคธวณฺณิเต ความว่า อันพวกพ่อครัวชาวมาคธทั้งหลายผู้บอกเวลาบริโภค อาหารเป็นต้นกล่าวชมเชยสรรเสริญแล้ว. บทว่า จิตฺรคฺคเฬรุฆุสิเต ความว่า กึกก้องไปด้วยเสียงกลอนและบานประตูอันวิจิตรด้วยรัตนะ ๗ ที่ส่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์ใจเช่นเสียงของตนตรีเครื่อง ๕. บทว่า สุรามํสปฺปโพธเน ความว่า เธอจงถือเอาพร ๑๐ ประการเหล่านั้นว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าสีวี ราชในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวีราชเห็นปานนี้ ซึ่งมีคนเชิญบริโภคสุรา และเนื้อว่าพวกท่านจงมาดื่มพวกท่านจงมากินดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาพร ๑๐ ประการนั้น ความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าสีวีราช เป็นพรที่ ๑ ความมีตาดำเป็นพรที่ ๒ ความเป็นผู้มีขนคิ้วดำเป็นพรที่ ๓ ชื่อ ว่าผุสดีเป็นพรที่ ๔ การได้พระโอรสเป็นพรที่ ๕ มีครรภ์ไม่นูนเป็นพรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 125  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 608

มีถันไม่คล้อยเป็นพรที่ ๗ ไม่มีผมหงอกเป็นพรที่ ๘ มีผิวละเอียดเป็นพรที่ ๙ สามารถปล่อยนักโทษประหารได้เป็นพร ๑๐.

ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า

แน่ะนางผู้งามทั่วองค์ พร ๑๐ ประการเหล่าใด ที่เราให้แก่เธอ เธอจงได้พรเหล่านั้นทั้งหมด ในแว่น แคว้นของพระเจ้าสีวีราช.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ครั้นท้าววาสวะมฆสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงอนุโมทนาประทานพรแก่นางผุสดีเทพอัปสร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทิตฺถ ความว่า มีจิตบันเทิง คือทรงโสมนัส. บทว่า สพฺเพ เต ลจฺฉสิ วเร ความว่า ย่อมได้พร เหล่านั้นทั้งหมด.

ท้าวสักกเทวราชทรงประทานพร ๑๐ ประการแล้ว เป็นผู้มีจิตบันเทิง มีพระมนัสยินดีแล้วด้วยประการฉะนี้.

จบทศพรคาถา

หิมวันตวรรณนา

ผุสดีเทพกัญญารับพรทั้งหลายดังนี้แล้วจุติจากดาวดึงส์พิภพนั้น บังเกิด ในพระครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ามัททราช ในวันขนานพระนามของพระนาง นั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามว่า ผุสดี ตามนามเดิมนั้น เพราะ เมื่อพระนางประสูติ มีพระสรีระราวกะว่าประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์ ประสูติแล้ว พระนางผุสดีราชธิดานั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่ ในกาลมี

 
  ข้อความที่ 126  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 609

พระชนม์ได้ ๑๖ ปี ได้เป็นผู้ทรงพระรูปอันอุดม ครั้งนั้นพระเจ้าสีวีมหาราช ทรงนำพระนางผุสดีมาเพื่อประโยชน์แก่พระเจ้าสญชัยกุมารราชโอรส ให้ยกฉัตรแก่ราชโอรสนั้น ให้พระนางผุสดีเป็นใหญ่กว่าเหล่านารีหมื่นหกพัน ทรง ตั้งไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีของสญชัยราชโอรส.

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

นางผุสดีนั้นจุติจากดาวดึงส์เทวโลกนั้นบังเกิดใน ขัตติยสกุล ได้ทรงอยู่ร่วมด้วยพระเจ้าสญชัยในนคร เชตุดร.

พระนางผุสดีได้เป็นที่รักที่เจริญใจแห่งพระเจ้าสญชัย ครั้งนั้น ท้าว สักกเทวราชเมื่อทรงอาวัชนาการก็ทราบว่า บรรดาพรทั้ง ๑๐ ประการที่ เราให้แก่นางผุสดี พร ๙ ประการสำเร็จแล้ว จึงทรงดำริว่าโอรสอันประเสริฐ เป็นพรข้อหนึ่งยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง ในกาลนั้น พระมหาสัตว์อยู่ในดาวดึงส์เทวโลก อายุของมหาสัตว์นั้นสิ้นแล้วท้าวสักกะทรง ทราบความนั้นจึงไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ควร ที่ท่านจะไปสู่มนุษยโลก ควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งนางผุสดีอัครมเหสี ของพระเจ้าสีวีราช ณ กรุงเชตุดร ตรัสฉะนี้แล้ว ถือเอาปฏิญญาแห่งพระโพธิสัตว์ และเหล่าเทพบุตรหกหมื่นเหล่าอื่นผู้จะจุติ แล้วกลับทิพยวิมานที่ ประทับของตน ฝ่ายพระมหาสัตว์จุติจากเทวโลกนั้นเกิดในพระครรภ์แห่ง พระนางผุสดี เทพบุตรหกหมื่นก็บังเกิดในเคหสถานแห่งอำมาตย์หกหมื่น ก็ใน เมื่อพระมหาสัตว์เสด็จอยู่ในพระครรภ์พระมารดา พระนางผุสดีผู้มีพระครรภ์ เป็นผู้ทรงใคร่จะโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่ ท่ามกลางพระนคร ๑ ที่ประตูพระราชวัง ๑ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสน

 
  ข้อความที่ 127  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 610

กหาปณะทุกวันๆ บริจาคทาน ครั้นพระเจ้าสญชัยสีวีราชทรงทราบความ ปรารถนาของพระนาง จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้นิมิตมาทำสักการะใหญ่ แล้วตรัสถามเนื้อความนั้น พราหมณ์ผู้รู้นิมิตทั้งหลายจึงทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่ พระมหาราชเจ้า ท่านผู้ยินดียิ่งในทานมาอุบัติในพระครรภ์แห่งพระราชเทวี จักไม่อิ่มในทานบริจาค พระราชาได้ทรงสดับพยากรณ์นั้นก็มีพระหฤทัยยินดี จึงโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่งมีประการดังกล่าวมาแล้ว ให้เริ่มตั้งทานดัง ประการที่กล่าวแล้ว จำเดิมแต่กาลที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ส่วนอากรของ พระราชาได้เจริญขึ้นเหลือประมาณ เหล่าพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นส่ง เครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าสญชัย ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์ พระนางผุสดีราชเทวีมีบริวารใหญ่ เมื่อทรงพระครรภ์ครั้น ๑๐ เดือนบริบูรณ์ มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี พระเจ้ากรุงสีวีจึงให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร ให้พระราชเทวีทรงรถที่นั่งอัน ประเสริฐทำประทักษิณพระนคร ในกาลเมื่อพระนางเสด็จถึงท่ามกลางถนน แห่งพ่อค้า ลมกรรมชวาตก็ป่วนปั่น ราชบุรุษนำความกราบทูลพระราชา พระ - ราชาทรงทราบความจึงให้ทำพลับพลาสำหรับประสูติแก่พระราชเทวีในท่าม กลางวิถีแห่งพ่อค้า แล้วให้ตั้งการล้อมวงรักษาพระนางเจ้าผุสดีประสูติพระโอรส ณ ที่นั้น.

พระนางเจ้าผุสดีทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรง ทำประทักษิณพระนคร ประสูติเราท่านกลางวิถีของ พ่อค้าทั้งหลาย.

พระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดา เป็นผู้บริสุทธิ์ ลืม พระเนตรทั้งสองออกมา เมื่อออกมาก็เหยียดพระหัตถ์ต่อพระมารดาตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 128  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 611

ข้าแต่พระแม่เจ้า หย่อมฉันจักบริจาคทาน มีทรัพย์อะไรๆ บ้าง ครั้งนั้น พระชนนีตรัสตอบว่า พ่อจงบริจาคทานตามอัธยาศัยของพ่อเถิด แล้ววางถุง กหาปณะพันหนึ่งในพระหัตถ์ที่แบอยู่.

พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วได้ตรัสกับพระมารดา ๓ คราว คือใน อุมมังคชาดก (เสวยพระชาติเป็นมโหสถ) คราว ๑ ในชาดกนี้คราว ๑ ใน อัตภาพมีในภายหลัง (คือเมื่อเป็นพระพุทธเจ้า) คราว ๑.

ครั้งนั้น ในวันถวายพระนามพระโพธิสัตว์ พระประยูรญาติทั้งหลาย ได้ขยายพระนามว่า เวสสันดร เพราะประสูติในถนนแห่งพ่อค้า เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ชื่อของเราไม่ได้เกิดแต่พระมารดา ไม่ได้เกิด แต่พระบิดา เราเกิดที่ถนนพ่อค้า เพราะเหตุนั้น เรา จึงชื่อว่าเวสสันดร.

ก็ในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ช้างพังเชือกหนึ่งซึ่งเที่ยวไปได้ใน อากาศ นำลูกช้างขาวทั้งตัวรู้กันว่าเป็นมงคลยิ่งมา ให้สถิตในสถานที่มงคล หัตถีแล้วหลีกไป ชนทั้งหลายตั้งชื่อช้างนั้นว่า ปัจจัยนาค เพราะช้างนั้นเกิดขึ้น มีพระมหาสัตว์เป็นปัจจัย พระราชาได้ประทานนางนม ๖๔ นาง ผู้เว้นจาก โทษมีสูงเกินไปเป็นต้น มีถันไม่ยาน มีน้ำนมหวาน แก่พระมหาสัตว์ ได้ พระราชทานนางนมคนหนึ่งๆ แก่เหล่าทารกหกหมื่นคนผู้เป็นสหชาติกับพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์นั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่กับด้วยทารกหกหมื่น ครั้งนั้นพระราชาให้ทำเครื่องประดับสำหรับพระราชกุมารราคาแสนหนึ่ง พระราชทานแด่พระเวสสันดรราชกุมาร พระราชกุมารนั้นเปลื้องเครื่องประดับนั้น

 
  ข้อความที่ 129  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 612

ประทานแก่นางนมทั้งหลายในกาลเมื่อมีชนมพรรษา ๔ - ๕ ปี ไม่ทรงรับ เครื่องประดับที่นางนมทั้งหลายเหล่านั้นถวายคืนอีก นางนมเหล่านั้นกราบทูล ประพฤติเหตุแด่พระราชา พระราชาทรงทราบประพฤติเหตุนั้นก็ให้ทำเครื่อง ประดับอื่นอีกพระราชทาน ด้วยทรงเห็นว่า อาภรณ์ที่ลูกเราให้แล้ว ก็เป็น อันให้แล้วด้วยดีจงเป็นพรหมไทย พระราชกุมารก็ประทานเครื่องประดับ แก่ เหล่านางนม ในกาลเมื่อยังทรงพระเยาว์ถึง ๙ ครั้ง ก็ในกาลเมื่อพระราชกุมาร มีพระชนมพรรษา ๘ ปี พระราชกุมารเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ ประทับ นั่งบนพระยี่ภู่ทรงคิดว่า เราให้ทานภายนอกอย่างเดียว ทานนั้นหายังเราให้ ยินดีไม่ เราใคร่จะให้ทานภายใน แม้ถ้าใครๆ พึงขอหทัยของเรา เราจะพึง ให้ผ่าอุระประเทศนำหทัยออกให้แก่ผู้นั้น ถ้าเขาขอจักษุทั้งหลายของเรา เราก็ จะควักจักษุให้ ถ้าเขาขอเนื้อในสรีระเราจะเชือดเนื้อแต่สรีระทั้งสิ้นให้ ถ้าแม้ ใครๆ พึงขอโลหิตของเรา เราก็จะพึงถือเอาโลหิตให้ หรือว่าใครๆ พึงกล่าว กะเราว่า ท่านจงเป็นทาสของข้า เราก็ยินดียอมตัวเป็นทาสแห่งผู้นั้น.

เมื่อพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ทรงคำนึงถึงทานเป็นไปในภายใน ซึ่ง เป็นพระดำริแล่นไปเองเป็นเองอย่างนี้ มหาปฐพีอันหนาสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ก็ดังสนั่นหวั่นไหว ดุจช้างตัวประเสริฐตกมันอาละวาดคำรามร้องฉะนั้น เขา สิเนรุราชก็โอนไปมามีหน้าเฉพาะเชตุดรนครตั้งอยู่ ดุจหน่อหวายโอนเอนไป มาฉะนั้น ฟ้าก็คะนองลั่นตามเสียงแห่งปฐพี ยังฝนลูกเห็บให้ตก สายอสนีอัน มีในสมัยมิใช่กาลก็เปล่งแสงแวบวาบ สาครก็เกิดเป็นคลื่นป่วนปั่น ท้าวสักก เทวราชก็ปรบพระหัตถ์ ท้าวมหาพรหมก็ให้สาธุการ เสียงโกลาหลเป็นอัน เดียวกันได้มีตลอดถึงพรหมโลก.

 
  ข้อความที่ 130  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 613

สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ในกาลเมื่อเราเป็นทารก เกิดมาได้ ๘ ปี เรานั่ง อยู่บนปราสาทคิดเพื่อจะบริจาคทาน ว่าเราพึงให้หัวใจ ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย ถ้าใครขอเราให้เราได้ ยิน เราก็พึงให้ เมื่อเราคิดถึงการบริจาคทานอันเป็น ความจริง หฤทัยก็ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นอยู่ในกาลนั้น แผ่นดินซึ่งมีเขาสิเนรุและหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับ ก็ หวั่นไหว.

ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี พระโพธิสัตว์ ได้ทรงศึกษาศิลปทั้งปวงสำเร็จ ครั้งนั้นพระราชบิดาทรงใคร่จะประทานราช- สมบัติแก่พระมหาสัตว์ ก็ทรงปรึกษาด้วยพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมารดา จึงนำ ราชกัญญานานว่า มัทรี ผู้เป็นราชธิดาของพระมาตุละแต่มัททราชสกุล ให้ ดำรงอยู่ในที่อัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรีหมื่นหกพัน อภิเษกพระมหาสัตว์ ในราชสมบัติ พระมหาสัตว์ทรงสละทรัพย์หกแสนยังมหาทานให้เป็นไป ทุกวันๆ จำเดิมแต่กาลที่ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.

สมัยต่อมาพระนางมัทรีประสูติพระโอรส พระญาติทั้งหลายรับพระราชกุมารนั้นด้วยข่ายทองคำ เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า ชาลีราชกุมาร พอพระราชกุมารนั้นทรงเดินได้ พระนางมัทรีก็ประสูติพระราชธิดา พระญาติ ทั้งหลายรับพระราชธิดานั้นด้วยหนังหมี เพราะฉะนั้นจึงขนานพระนามว่า กัณหาชินาราชกุมารี พระเวสสันดรโพธิสัตว์ประทับคอช้างตัวประเสริฐอัน ตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรโรงทานทั้งหก เดือนละ ๖ ครั้ง.

 
  ข้อความที่ 131  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 614

กาลนั้นในกาลิงครัฐเกิดฝนแล้ง ข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ ภัยคือความ หิวเกิดขึ้นมาก มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจเป็นอยู่ก็ทำโจรกรรม ชาวชนบทถูก ทุพภิกขภัยเบียดเบียน ก็ประชุมกันติเตียนที่พระลานหลวง เมื่อพระราชาตรัส ถามถึงเหตุ จึงกราบทูลเนื้อความนั้น ครั้งนั้นพระราชาตรัสว่า ดีละ ข้าจะยัง ฝนให้ตก แล้วส่งชาวเมืองกลับไป ทรงสมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน ก็ไม่ทรงสามารถให้ฝนตก พระราชาจึงให้ประชุมชาวเมืองแล้วตรับสั่งถามว่า เราได้สมาทานศีลรักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน ก็ไม่อาจยังฝนให้ตก จะพึงทำ อย่างไร ชาวเมืองกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าพระองค์ไม่สามารถให้ฝนตก พระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยในกรุงเชตุดร ทรงนามว่าเวสสันดรนั้นทรง ยินดีสิ่งในทาน มงคลหัตถีขาวล้วน ซึ่งไปถึงที่ใดฝนก็ตกของพระองค์มีอยู่ ขอพระองค์ส่งพราหมณ์ทั้งหลายไปทูลขอช้างเชือกนั้นนำมา พระราชาตรัส ว่า สาธุ แล้วให้ประชุมเหล่าพราหมณ์ เลือกได้ ๘ คน ชื่อรามะ ๑ ธชะ ๑ ลักขณะ ๑ สุชาติมันตะ ๑ ยัญญะ ๑ สุชาตะ ๑ สุยามะ ๑ โกณฑัญญะ ๑ พราหมณ์ชื่อรามะเป็นประมุขของพราหมณ์ทั้ง ๗ ประทานเสบียงส่งไปด้วย พระราชบัญชาว่า ท่านทั้งหลายจงไปทูลขอช้างพระเวสสันดรนำมา พราหมณ์ ทั้ง ๘ ไปโดยลำดับลุถึงเชตุดรนคร บริโภคภัตในโรงทาน ใคร่จะทำสรีระของ คนให้เปื้อนด้วยธุลี ไล้ด้วยฝุ่นแล้วทูลขอช้างพระเวสสันดร ในวันรุ่งขึ้นไปสู่ ประตูเมืองด้านปาจีนทิศ ในเวลาพระเวสสันดรเสด็จไปโรงทาน ฝ่ายพระราชา เวสสันดรทรงรำพึงว่าเราจักไปดูโรงทาน จึงสรงเสวยโภชนะรสเลิศต่างๆ แต่ เช้า ประทับบนคอคชาธารตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว เสด็จไปทางปาจีนทวาร พราหมณ์ทั้ง ๘ ไม่ได้โอกาสในที่นั้น จึงไปสู่ประตูเมืองด้านทักษิณทิศ ยืนอยู่

 
  ข้อความที่ 132  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 615

ณ สถานที่สูง ในเวลาเมื่อพระราชาทอดพระเนตรโรงทานทางปาจีนทวารแล้ว เสด็จมาสู่ทักษิณทวาร ก็เหยียดมือข้างขวาออกกล่าวว่า พระเจ้าเวสสันดรราช ผู้ทรงพระเจริญจงชนะๆ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ ทั้งหลาย ก็บ่ายช้างที่นั่งไปสู่ที่พราหมณ์เหล่านั้นยืนอยู่ ประทับบนคอช้างตรัส คาถาที่หนึ่งว่า

พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ดก มีเล็บยาว มี ขนยาวและฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขนขวา จะขออะไรเราหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ความว่า มีขน รักแร้งดก มีเล็บงอก มีขนดก คือมีเล็บยาว มีขนยาว มีขนเกิดที่รักแร้, รักแร้ด้วย เล็บด้วย ขนด้วย เรียกว่า กจฺฉนขโลมา รักแร้ เล็บ ขน ของพราหมณ์เหล่าใดงอกแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีรักแร้ เล็บและ ขนงอกแล้ว.

พราหมณ์ทั้ง ๘ กราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะทูลขอ รัตนะซึ่งยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ขอพระองค์ โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐซึ่งมีงาดุจงอนไถ สามารถเป็นราชพาหนะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุรุฬฺหวํ ได้แก่ สามารถเป็นราชพาหนะ ได้.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า เราใคร่จะบริจาค ทานเป็นไปภายใน ตั้งแต่ศีรษะเป็นต้น พราหมณ์เหล่านั้นมาขอทานเป็นไปภาย

 
  ข้อความที่ 133  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 616

นอกกะเรา แม้อย่างนั้นเราจะยังความปรารถนาของพราหมณ์เหล่านั้นให้ บริบูรณ์ ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสคาถานี้ว่า

เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ เป็นช้าง ราชพาหนะสูงสุด ที่พราหมณ์ทั้งหลายขอเรา เรามิได้ หวั่นไหว.

ครั้นตรัสปฏิญญาฉะนี้แล้ว

พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญ มีพระหฤทัยน้อม ไปในการบริจาคทาน เสด็จลงจากคอช้าง พระราชทานทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปคุยฺหํ ได้แก่ ราชพาหนะ. บทว่า จาคาธิมานโส ได้แก่ มีพระหฤทัยยิ่งด้วยการบริจาค. บทว่า อทา ความ ว่า ได้พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

พระมหาสัตว์ทรงทำประทักษิณช้าง ๓ รอบ เพื่อทรงตรวจที่กายช้าง ซึ่งประดับแล้ว ก็ไม่เห็นในที่ซึ่งยังมิได้ประดับ จึงทรงจับพระเต้าทองคำอัน เต็มด้วยน้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ดูก่อนมหาพราหมณ์ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาข้างนี้ ทรงวางงวงช้างซึ่งเช่นกับพวงเงินอันประดับ แล้วในมือแห่งพราหมณ์เหล่านั้น หลั่งน้ำลง พระราชทานช้างอันประดับแล้ว อลังการที่ ๔ เท้าช้างราคา ๔ แสน อลังการ ๒ ข้างช้างราคา ๒ แสน ข่าย คลุมหลัง ๓ คือข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ ราคา ๓ แสน กระดึงเครื่องประดับที่ห้อย ๒ ข้างราคา ๒ แสน ผ้ากัมพลลาดบนหลังราคา ๑ แสน อลังการคลุมกะพองราคา ๑ แสน สายรัด ๓ สายราคา ๓ แสน

 
  ข้อความที่ 134  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 617

พู่เครื่องประดับที่หูทั้ง ๒ ข้าง ราคา ๒ แสน ปลอกเครื่องประดับงาทั้ง ๒ ราคา ๒ แสน วลัยเครื่องประดับทาบที่งวงราคา ๑ แสน อลังการที่หาง ราคา ๑ แสน เครื่องประดับอันตกแต่งงดงามที่กายช้าง ยกภัณฑะไม่มีราคารวมราคา ๒๒ แสน เกยสำหรับขึ้น ราคา ๑ แสน อ่างบรรจุของบริโภคเช่นหญ้าและ น้ำ ราคา ๑ แสน รวมเข้าด้วยอีก เป็นราคา ๒๔ แสน ยังแก้วมณีที่กำพู ฉัตร ที่ยอดฉัตร ที่สร้อยมุกดา ที่ขอ ที่สร้อยมุกดาผูกคอช้าง ที่กะพองช้าง และที่ตัวพระยาช้าง รวม ๗ เป็นของหาค่ามิได้ ได้พระราชทานทั้งหมดแก่ พราหมณ์ทั้งหลาย และพระราชทานคนบำรุงช้าง ๕๐๐ สกุล กับทั้งควาญช้าง คนเลี้ยงช้างด้วย ก็มหัศจรรย์มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ได้มีแล้วพร้อมกับพระเวสสันดรมหาราชทรงบริจาคมหาทาน โดยนัยอันกล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อพระบรมกษัตริย์ พระราชทานช้างตัว ประเสริฐแล้วในกาลนั้น ความน่าสะพึงกลัวขนพอง สยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็หวั่นไหว เมื่อบรม กษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ในกาลนั้น ได้ เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า ชาวพระนครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้ยังชาว สีพีให้เจริญ พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็ เกลื่อนกล่น เสียงอันอื้ออึงก็แผ่ไปมากมาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตทาสิ ได้แก่ ได้มีในเวลานั้น. บทว่า หตฺถินาเค ได้แก่ สัตว์ประเสริฐคือช้าง. บทว่า ขุภิตฺถ นครํ ตทา ความว่า ได้กำเริบแล้ว.

 
  ข้อความที่ 135  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 618

ได้ยินว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ช้างแถบประตูด้านทักษิณทิศ นั่งบนหลัง มีมหาชนแวดล้อม ขับไปท่ามกลางพระนคร มหาชนเห็นแล้วกล่าวกะพราหมณ์ เหล่านั้นว่า แน่ะเหล่าพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขึ้นช้างของเราทั้งหลาย ท่านได้ มาแต่ไหน พราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า ช้างนี้พระเวสสันดรมหาราชเจ้าพระราชทานแก่พวกเรา เมื่อโต้ตอบกะมหาชนด้วยวิการแห่งมือเป็นต้น พลาง ขับไปท่ามกลางพระนคร ออกทางประตูทิศอุดร ชาวพระนครโกรธพระบรมโพธิสัตว์ ด้วยสามารถเทวดาดลใจให้คิดผิด จึงชุมนุมกันกล่าวติเตียนใหญ่แทบ ประตูวัง.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นของชาวสีพีให้เจริญ พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น เสียงอันกึกก้องก็แผ่ไปมากมาย ครั้งนั้น เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึง น่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นในนครนั้น ในกาลนั้นชาว พระนครก็กำเริบ ครั้งนั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ ผดุงสีพีรัฐให้เจริญรุ่งเรือง พระราชทานช้างตัว ประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นไป ในนครนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ เสียงติเตียน. บทว่า วิปุโล ได้แก่ ไพบูลย์เพราะแผ่ออกไป. บทว่า มหา ได้แก่ มากมาย เพราะไปในเบื้องบน. บทว่า สิวีนํ รฏฺวฑฺฒเน ได้แก่ การทำความ เจริญแก่แว่นแคว้นของประชาชนผู้อยู่ในแว่นแคว้นสีพี.

ครั้งนั้นชาวเมืองมีจิตตื่นเต้นเพราะพระเวสสันดรพระราชทานช้าง สำคัญของบ้านเมือง จึงกราบทูลพระเจ้าสญชัย.

 
  ข้อความที่ 136  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 619

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรทั้งหลาย พ่อ ค้า ชาวนาทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุมกันแล้ว เห็นช้างลูกพราหมณ์ทั้ง ๘ นำไป พวก เหล่านั้นจึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้ทรงทราบว่า ข้า แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระเวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของ พระองค์พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร พระเวสสันดร พระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่ว สรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับ มัน อาจย่ำยีศัตรูได้ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอ ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยาน อันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์ แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ เสียด้วยเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคา ได้แก่ เด่น คือ รู้กันทั่ว คือ ปรากฏ. บทว่า นิคโม ได้แก่ คนมีทรัพย์ชาวนิคม. บทว่า วิธมํ เทว เต รฏฺํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์ถูกกำจัด เสียแล้ว. บทว่า กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา ความว่า พระราชทานช้างที่รู้สึก กันว่าเป็นมงคลยิ่งของเราทั้งหลาย แก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ด้วยเหตุไร. บทว่า เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ ความว่า ผู้สามารถรู้ความสำคัญของชัยภูมิ

 
  ข้อความที่ 137  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 620

แห่งการยุทธ์แม้ทุกอย่าง. บทว่า ทนฺตึ ได้แก่ ประกอบด้วยการฝึกจนใช้ได้ ตามชอบใจ. บทว่า สวาลวีชนึ ได้แก่ ประกอบด้วยพัดวาลวีชนี. บทว่า สุปตฺเถยฺยํ ได้แก่ พร้อมด้วยเครื่องลาด. บทว่า สาถพฺพนํ ได้แก่ พร้อมด้วยหมอช้าง. บทว่า สหตฺถิปํ ความว่า พร้อมด้วยคนเลี้ยงคือคน บำรุงช้างและคนดูแลรักษาช้าง ๕๐๐. สกุล. ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวอย่างนี้อีกว่า

พระเวสสันดรนั้นควรพระราชทานข้าวน้ำและ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสนาสนะ เพราะว่าของนั้นสมควรแก่ พราหมณ์ทั้งหลาย พระเวสสันดรนี้เป็นพระราชาสืบ วงศ์มาแต่พระองค์ เป็นผู้ทำความเจริญแก่สีพีรัฐ ข้าแต่ พระเจ้าสญชัย พระเวสสันดรผู้พระราชโอรสพระราช ทานช้างเสียทำไม ถ้าพระองค์จักไม่ทรงทำตามคำอัน นี้ของชาวสีพี ชะรอยชาวสีพีจักพึงทำพระองค์กับ พระราชโอรสไว้ในเงื้อมมือของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วํสราชาโน ได้แก่ เป็นมหาราชมา ตามเชื้อสาย. บทว่า ภาเชติ ได้แก่ พระราชทาน. บทว่า สิวิหตฺเถ กริสฺ- สเร ความว่า ชนชาวสีพีรัฐทั้งหลายจักทำพระองค์กับพระราชโอรสในมือ ของตน.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น ทรงสำคัญว่าชาวเมืองเหล่านี้จักปลง พระชนม์พระเวสสันดร จึงตรัสว่า

ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจักพินาศไปก็ ตามเถิด เราก็ไม่พึงเนรเทศพระโอรสผู้หาความผิดมิได้ จากแคว้นของตนตามคำของชาวเมืองสีพี เพราะลูก เกิดแต่อุระของเรา และเราไม่พึงประทุษร้ายในโอรส

 
  ข้อความที่ 138  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 621

นั้น เพราะเธอเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรอันประเสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึง ได้บาปเป็นอันมาก ฉะนั้นเราจะฆ่าลูกเวสสันดรด้วย ศัสตราได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ตัดบทเป็น มา อโหสิ ความว่า จงอย่าเป็น. บทว่า อริยสีเลวโต ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลและ วัตรอันประเสริฐ คือสมาจารสมบัติอันประเสริฐ. บทว่า ฆาตยามเส ได้แก่ จักฆ่า. บทว่า ทุพฺเภยฺยํ ความว่า ลูกของเราไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด.

ชาวสีพีได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า

พระองค์อย่าประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อน ไม้และศัสตรา เพราะพระปิโยรสนั้นหาควรแก่เครื่อง พันธนาการไม่ พระองค์จงขับพระเวสสันดรนั้นเสีย จากแคว้น พระเวสสันดรจงประทับอยู่ ณ เขาวงกต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา นํ ทณฺเฑน สตฺเถน ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือ ด้วยศัสตรา. บทว่า น หิ โส พนฺธนารโห ความว่า พระเวสสันดรนั้น เป็นผู้ไม่ควรแก่พันธนาการเลยทีเดียว.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสว่า

ถ้าชาวสีพีพอใจอย่างนี้ เราก็ไม่ขัดความพอใจ ขอโอรสของเราจงอยู่ตลอดราตรีนี้ และจงบริโภค กามารมณ์ทั้งหลาย แต่นั้นเมื่อราตรีสว่างแล้ว ดวง อาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจงพร้อมกันขับโอรสของเรา จากแว่นแคว้นเถิด.

 
  ข้อความที่ 139  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 622

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสตุ ความว่า พระเจ้าสญชัยตรัสว่า ลูกเวสสันดรจงอยู่ให้โอวาทแก่บุตรและทาระ พวกเจ้าจงให้โอกาสเธอราตรี หนึ่ง.

ชาวเมืองสีพีรับพระราชดำรัสว่า พระโอรสนั้นจงยับยั้งอยู่สักราตรีหนึ่ง. ลำดับนั้นพระเจ้าสญชัยส่งชาวเมืองเหล่านั้น ให้กลับไปแล้ว เมื่อจะส่งข่าวแก่ พระโอรสจึงตรัสเรียกนายนักการมาส่งไปสำนักพระโอรส นายนักการรับพระราชกระแสรับสั่งแล้วไปสู่พระนิเวศน์แห่งพระเวสสันดรกราบทูลประพฤติเหตุ.

เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แน่ะนายนักการ เจ้าจงลุก รีบไปบอกลูกเวสสันดร ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคือง พระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลายพร้อมกันขับ พระองค์จากแว่นแคว้น นายนักการนั้นอันพระเจ้ากรุง สีพีส่งไป ก็สวมสรรพาภรณ์ นุ่งห่มดีแล้ว ประพรม ด้วยแก่นจันทน์ เขาสนานศีรษะในน้ำแล้วสวมกุณฑล มณี ไปสู่วังอันน่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นพระนิเวศนี้แห่งพระ เวสสันดร เขาได้เห็นพระเวสสันดรรื่นรมย์อยู่ในวัง ของพระองค์นั้น ซึ่งเกลื่อนไปด้วยเสวกามาตย์ ดุจท้าว วาสวะของเทพเจ้าชาวไตรทศ นายนักการนั้นไป ณ ที่

 
  ข้อความที่ 140  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 623

นั้นได้กราบทูลพระเวสสันดรผู้รื่นรมย์อยู่ว่า ข้าแต่ พระจอมพล ข้าพระบาทจักทูลความทุกข์ของพระองค์ ขอพระองค์อย่ากริ้วข้าพระบาท นักการนั้นถวาย บังคมแล้วร้องไห้ กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่ มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงข้าพระบาท เป็น ผู้นำมาซึ่งรสคือความใคร่ทั้งปวง ข้าพระบาทจักกราบ ทูลความทุกข์ของพระองค์ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์ อันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาททรงยัง ข้าพระบาทให้ยินดี ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชาว สีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวก คนที่มีชื่อเสียง และพระราชบุตรทั้งหลาย และพวก พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุม กันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งลาย พร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมารํ ได้แก่ พระราชาที่นับว่าเป็น กุมาร เพราะยังมีพระมารดาและพระบิดา. บทว่า รมฺนานํ ได้แก่ ผู้ประทับนั่งตรัส สรรเสริญทานที่พระองค์ให้แล้ว มีความโสมนัส. บทว่า อมจฺเจหิ ได้แก่ แวดล้อมไปด้วยเหล่าอำมาตย์ผู้สหชาติประมาณหกหมื่นคน ประทับนั่งเหนือ พระราชอาสน์ภายใต้เศวตฉัตรยกขึ้นแล้ว. บทว่า เวทยิสฺสามิ ได้แก่ จักกราบทูล. บทว่า ตตฺถ อสฺสายนฺตุ มํ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์นั้นอันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาทโปรดยัง ข้าพระองค์ให้ยินดี คือขอพระองค์โปรดตรัสกะข้าพระบาทว่า เจ้าจงกล่าว ตามสบายเถิด นักการกล่าวอย่างนั้น ด้วยความประสงค์ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 141  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 624

พระมหาสัตว์ตรัสว่า

ชาวสีพีขัดเคืองเราผู้ไม่เห็นความผิดในเพราะ อะไร แน่ะนักการ ท่านจงแจ้งความผิดนั้นแก่เรา ชาวเมืองทั้งหลายจะขับไล่เราเพราะเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺมึ ได้แก่ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า วิยาจิกฺข ความว่า จงกล่าวโดยพิสดาร.

นักการกราบทูลว่า

พวกคนมีที่ชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ขัดเคืองพระองค์เพราะพระราชทาน คชสารตัวประเสริฐ ฉะนั้นพวกเขาจึงขับพระองค์เสีย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขียนฺติ แปลว่า ขัดเคือง. พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงโสมนัสตรัสว่า

ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะอะไรกะทรัพย์ นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์หรือ แก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นเขาแล้ว พึง ให้พาหาเบื้องขวาเบื้องซ้ายก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ปวงชาวสีพีจึงขับ ไล่หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเสียเป็น ๗ ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาคเป็น อันขาด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจกมาคเต ความว่า เมื่อยาจกมาแล้ว ได้เห็นยาจกนั้น บทว่า เนว ทานา วิรมิสฺสํ ความว่า จักไม่งดเว้นจาก การบริจาคเป็นอันขาด.

 
  ข้อความที่ 142  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 625

นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่ง พระเจ้าสญชัยหรือชาวเมืองมิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า

ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า พระเวสสันดรผู้มีวัตรอันงาม จงเสด็จไปสู่ภูผาอันชื่อ ว่า อารัญชรคีรี ตามฝั่งแห่งแม่น้ำโกนติมารา ตาม ทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนฺติมาราย ได้แก่ ตามฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อว่าโกนติมารา. บทว่า คิริมารญฺชรํ ปติ ความว่า เป็นผู้มุ่งตรงภูผาชื่อว่า อารัญชร. บทว่า เยน ความว่า นักการกราบทูลว่า ชาวสีพีทั้งหลายกล่าว อย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้วย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้ พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงามก็จงเสด็จไปทางนั้น ได้ยินว่า นักการนั้นถูก เทวดาดลใจจึงกล่าวคำนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า สาธุ เราจักไป โดยมรรคาที่เสด็จไปแห่งพระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้ ขับไบ่เราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทานสักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาสเพื่อเราได้ให้ ทานสักหนึ่งวัน รุ่งขึ้นเราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้วตรัสว่า

เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้อง โทษเสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับ วันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด.

นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระบาท จักแจ้งความนั้นแก่ชาวพระนครและแด่พระราชา ทูลฉะนี้แล้วหลีกไป

พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน ท่าน

 
  ข้อความที่ 143  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 626

จงจัดช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว รถ ๗๐๐ คัน สตรี ๗๐๐ คน โคนม ๗๐๐ ตัว ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน จงตั้งไว้ซึ่งข้าวน้ำเป็นต้นมีประการ ต่างๆ สิ่งทั้งปวงโดยที่สุดแม้สุราซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรให้ แล้วส่งอำมาตย์ทั้งหลาย ให้กลับ แล้วเสด็จไปที่ประทับพระนางมัทรีแต่พระองค์เดียว ประทับนั่งข้าง พระยีภู่อันเป็นสิริ ตรัสกับพระนางนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ตรัสเรียกพระนางมัทรี ผู้งามทั่วสรรพางค์นั้นมาว่า พัสดุอันใดอันหนึ่งที่ฉัน ให้เธอ ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์มีอยู่มาก และสิ่งใดที่เธอนำมาแต่พระชนก ของเธอ เธอจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทเหยฺยาสิ ความว่า เธอจงเก็บขุม ทรัพย์ไว้. บทว่า เปติกํ ได้แก่ ที่เธอนำมาแต่ฝ่ายพระชนก.

พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วพระกายจึง ทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ จะโปรดให้เก็บทรัพย์ ทั้งนั้นไว้ในที่ไหน ขอพระองค์รับสั่งแก่หม่อมฉันผู้ ทูลถามให้ทราบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ทูลกระหม่อม เวสสันดรพระสวามีของเราไม่เคยตรัสว่า เธอจงเก็บทรัพย์ตลอดกาลมีประมาณ เท่านี้ เฉพาะคราวนี้พระองค์ตรัส เราจักทูลถามทรัพย์นั้นจะโปรดให้เก็บ ไว้ในที่ไหนหนอ พระนางมัทรีมีพระดำริดังนี้จึงได้ทูลถามดังนั้น.

พระเวสสันดรบรมกษัตริย์จึงตรัสว่า

ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงบริจาคทานในท่าน ผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง อย่างอื่นยิ่งกว่าทานการบริจาคย่อมไม่มี.

 
  ข้อความที่ 144  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 627

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชสิ ความว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ เธออย่าได้เก็บทรัพย์ไว้ในที่มีพระคลังเป็นต้น เมื่อจะเก็บเป็นชุมทรัพย์ที่จะติด ตามตัวไป พึงถวายในท่านผู้มีศีลทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา. บทว่า น หิ ทานา ปรํ ความว่า ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งอาศัยที่ยิ่งในรูปกว่าทาน ย่อมไม่มี.

พระนางมัทรีรับพระดำรัสว่า สาธุ. ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์เมื่อจะ ประทานพระราโชวาทแก่พระนางให้ยิ่งขึ้นจึงตรัสว่า

ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงเอ็นดูในโอรสและ ธิดากับทั้งพระสัสสุและพระสสุระ กษัตริย์ใดมาสำคัญ ว่าจะเป็นภัสดาเธอ เธอจงบำรุงกษัตริย์นั้นโดยเคารพ ถ้าว่าไม่มีใครสำคัญว่าจะเป็นภัสดาเธอ เพราะเธอไม่ ได้อยู่กับฉัน เธอจงแสวงหาภัสดาอื่น เธออย่าลำบาก เพราะพรากจากฉันเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเยสิ ความว่า พึงเอ็นดูกระทำความ เมตตา. บทว่า โย จ ตํ ภตฺตา มญฺเยฺย ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ เมื่อฉันไปแล้วกษัตริย์ใดมาสำคัญว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เธอพึงบำรุง กษัตริย์แม้นั้นโดยเคารพ. บทว่า มยา วิปฺปวเสน เต ความว่า ถ้าใครๆ ไม่ สำคัญเธอว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เพราะเธอไม่ได้อยู่กับฉัน เมื่อเป็น เช่นนั้นเธอจงแสวงหาภัสดาอื่นด้วยตนเองนั่นแล. บทว่า มา กิลิตฺถ มยา วินา ความว่า เธอพรากจากฉันแล้วอย่าลำบาก คือจงอย่าลำบาก.

ครั้งนั้นพระนางมัทรีมีพระดำริว่า พระเวสสันดรผู้ภัสดาตรัสพระวาจา เห็นปานนี้ เหตุเป็นอย่างไรหนอ จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ ตรัสพระวาจาอันไม่สมควรตรัสนี้เพราะเหตุไร ลำดับนั้นพระเวสสันดรจึงตรัส ตอบพระนางว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ ชาวสีพีขัดเคืองเพราะฉันให้ช้าง

 
  ข้อความที่ 145  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 628

จึงขับไล่ฉันจากแว่นแคว้น พรุ่งนี้ฉันจักให้สัตตสดกมหาทาน จักออกจาก พระนครในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้ว ตรัสว่า

ฉันจักไปป่าที่น่ากลัว ประกอบด้วยพาลมฤค ฉันผู้เดียวอยู่ในป่าใหญ่ มีชีวิตน่าสงสัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสโย ความว่า เมื่อฉันผู้สุขุมาลชาติ โดยส่วนเดียว อยู่ในป่าที่มีศัตรูไม่น้อยจะมีชีวิตอยู่แต่ไหน ฉันจักตายเสียเป็น แน่ พระเวสสันดรตรัสอย่างนั้นด้วยความประสงค์ดังนี้

พระราชบุตรพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วสรรพางค์ ได้กราบทูลลามพระราชสวามีว่า พระองค์ตรัสพระวาจา ซึ่งไม่เคยมีหนอ ตรัสวาจาชั่วแท้ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียวไม่สมควร แม้หม่อม ฉันก็จักโดยเสด็จด้วย ความตายกับด้วยพระองค์ หรือ พรากจากพระองค์เป็นอยู่ สองอย่างนี้ตายนั่นแลประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์เป็นอยู่จะประเสริฐอะไร ก่อไฟให้ลุกโพลงมีเปลวเป็นอันเดียวกัน แล้วตายเสีย ในไฟนั้นประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์จะประเสริฐ อะไร นางช้างพังไปตามช้างพลายตัวประเสริฐอยู่ในป่า เที่ยวอยู่ตามภูผาทางกันดารสถานที่เสมอแลไม่เสมอ ฉัน ใด หม่อนฉันจะพาบุตรและบุตรีตามเสด็จไปเบื้องหลัง ฉันนั้น หม่อมฉันจักเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายของพระองค์ จัก ไม่เป็นผู้ที่เลี้ยงยากของพระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุมฺเม ความว่า พระองค์ตรัสแก่หม่อม ฉันถึงพระวาจาซึ่งไม่เคยมีหนอ. บทว่า คจฺเฉยฺย แปลว่า เสด็จไป. บทว่า เนส ธมฺโม ความว่า นั่นไม่ใช่สภาวะ คือนั่นมิใช่เหตุ. บทว่า ตเทว

 
  ข้อความที่ 146  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 629

ความว่า หม่อนฉันตายกับด้วยพระองค์นั่นแล ประเสริฐกว่า. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเชิงตะกอนไม้ที่มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน. บทว่า เชสฺสนฺตํ แปล ว่า เที่ยวไปอยู่.

พระนางมัทรีราชกัญญากราบทูลพระภัสดาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพรรณนา ถึงหิมวันตประเทศ ซึ่งเป็นประหนึ่งว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงตรัสว่า

เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุมารทั้งสองนี้ ผู้ มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่งอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มี เสียงไพเรา พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จัก ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจา น่ารัก ที่อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราช สมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้ง สองนี้ ผู้มีเสียงไพเราะ พูดจาน่ารัก เล่นอยู่ ณ อาศรมรัมณียสถาน จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ทรงมาลาประดับพระองค์ ณ อาศรมรัมณียสถาน จัก ไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อพระองค์ทอดพระเนตร เห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ทรงมาลาประดับพระองค์ เล่นอยู่ ณ อาศรมเป็นที่รื่นรมย์ จักไม่ทรงระลึกถึงราช สมบัติ เมื่อใดพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุญชรชาติ มาตังคะ อายุล่วง ๖๐ ปี เที่ยวอยู่ในป่าตัวเดียว เมื่อ นั้นจักทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด พระองค์ทอด

 
  ข้อความที่ 147  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 630

พระเนตรเห็นกุญชรชาติมาตังคะ มีวัยล่วง ๖๐ ปี เที่ยวไปในเวลาเย็น ในเวลาเช้า เมื่อนั้นจักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด กุญชรชาติมาตังคะ มีวัย ล่วง ๖๐ ปี เดินนำหน้าโขลงช้างพังไป ส่งเสียงร้อง กึกก้องโกญจนาท พระองค์ได้ทรงสดับเสียงร้องของ ช่างที่บันลือก้องอยู่นั้น เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราช สมบัติ, เมื่อใดพระองค์ผู้พระราชทานความใคร่แก่ หม่อมฉัน ทอดพระเนตรชัฏไพรเป็นหมู่ไม้ทั้ง ๒ ข้าง มรรคา อันเกลื่อนไปด้วยพาลมฤค เมื่อนั้นจักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ, พระองค์จักทอดพระเนตรเห็น มฤคผู้มาเป็นแถวๆ แถวละ ๕ ตัว และเหล่ากินนร ผู้ฟ้อนอยู่ในเวลาเย็น ก็จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทรงฟังเสียงกึกก้องแห่งกระแสใน แม่น้ำไหล และเสียงขับร้องแห่งฝูงกินนร เมื่อนั้น พระองค์จักระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ทรง สดับเสียงร้องของนกเค้าที่เที่ยวอยู่ตามซอกเขา เมื่อ นั้นพระองค์จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด พระองค์จักได้ทรงสดับเสียงแห่งสัตว์ร้ายในป่า คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง แรด โคลาน เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร เห็นนกยูงผู้ปกคลุมด้วยแพนทางจับอยู่ที่ยอดเขาเกลื่อน ไปด้วยนางนกยูงทั้งหลายรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่ ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรนกยูงผู้เกลื่อนด้วยฝูงนางนกยูง มีแพนหางอัน

 
  ข้อความที่ 148  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 631

วิจิตรรำแพนอยู่ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ, เมื่อใด พระองค์ได้ทอดพระเนตรนกยูงมีขนคอเขียวมี หงอนเลื่อนไปด้วยฝูงนางนกยูงรำแพนอยู่ เมื่อนั้น ก็จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ทอด พระเนตรเห็นเหล่าพฤกษชาติอันบานแล้ว ส่งกลิ่นหอม ฟุ้งในเหมันตฤดู และพื้นดินเขียวชอุ่มปกคลุมไปด้วย แมลงค่อมทองในเดือนเหมันต์ เมื่อนั้นจักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ, เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น รุกขชาติอันมีดอกบานสะพรั่ง คืออัญชันเขียวที่กำลัง ผลิยอดอ่อน ต้นโลท และบัวบกมีดอกบ้านสะพรั่ง ส่งกลิ่นหอมฟุ้งในเหมันตฤดู เมื่อนั้นก็จักไม่ทรง ระลึกถึงราชสมบัติ. เมื่อใดพระองค์ได้ทอดพระเนตร เห็นหมู่ไม่มีดอกบานสะพรั่ง และปทุมชาติมีดอกร่วง หล่นในเดือนฤดูเหมันต์ เมื่อนั้นก็จักไม่ทรงระลึก ถึงราชสมบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชุเก ได้แก่ มีเสียงไพเราะ มีถ้อย คำไพเราะ. บทว่า กเรณุสํฆสฺส ได้แก่ หมู่ช้างพัง บทว่า ยูถสฺส ได้ แก่ ไปข้างหน้าโขลงช้าง. บทว่า อุภโต ได้แก่ ทั้งสองข้างมรรคา. บทว่า วนวิกาเส ได้แก่ ชัฏไพร. บทว่า กามทํ ได้แก่ ผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทุก อย่างแก่หม่อมฉัน. บทว่า สินฺธุยา ได้แก่ แม่น้ำ. บทว่า วสมานสฺสุลูกสฺส ได้แก่ นกเค้าผู้อยู่. บทว่า พาฬานํ ได้แก่ พาลมฤคทั้งหลาย ด้วยว่าเสียงของกินนรเหล่านั้นเป็นราวกะเสียงดนตรีเครื่อง ๕ จักมีในเวลาเย็น เพราะเหตุนั้นพระนางมัทรีจึงทูลว่า พระองค์ทรงสดับเสียงของกินนรเหล่านั้น แล้วจักทรงลืมราชสมบัติ. บทว่า วรหํ ได้แก่ ปกคลุมด้วยแพนหาง บทว่า

 
  ข้อความที่ 149  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 632

มตฺถกาสินํ ได้แก่ จับอยู่ที่ยอดบรรพตเป็นนิจ. ปาฐะว่า มตฺตกาสินํ ก็ มี ความว่า เป็นผู้เมาด้วยความเมาในกามจับอยู่. บทว่า พิมฺพชาลํ ได้แก่ ใบอ่อนแดง. บทว่า โอปุปฺผานิ ได้แก่ มีดอกห้อยลง คือมีดอกร่วงหล่น.

พระนางมัทรีทรงพรรณนาถึงหิมวันตประเทศ. ด้วยคาถามีประมาณ เท่านี้ ประหนึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับอยู่ ณ หิมวันตประเทศแล้วฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบหิมวันตวรรณนา

ทานกัณฑ์

แม้พระนางผุสดีราชเทวีมีพระดำริว่า ข่าวเดือดร้อนมาถึงลูกของเรา ลูกของเราจะทำอย่างไรหนอ เราจักไปให้รู้ความ จึงเสด็จไปด้วยสิวิกากาญจน์ ม่านปกปิดประทับที่ทวารห้องบรรทมอันมีสิริ ได้ทรงสดับเสียงสนทนาแห่ง กษัตริย์ทั้งสองคือพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ก็พลอยทรงกันแสงคร่ำครวญ อย่างน่าสงสาร

พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระผุสดีราชบุตรีพระเจ้ามัททราช ผู้ทรงยศได้ ทรงสดับพระราชโอรสและพระสุณิสาทั้งสองปริเทวนา การ ก็ทรงพลอยคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษ เสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตาย เสียดีกว่า เหตุไฉนชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ ไม่มีความผิด เหตุไฉนชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้า เวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษไม่ผิด ผู้รู้ไตรเพทเป็นทาน บดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่ เหตุไฉนชาวนครสีพี จึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรักผู้ไม่มีโทษผิด อัน พระราชาต่างด้าวทั้งหลายบูชา มีเกียรติยศ เหตุไฉน

 
  ข้อความที่ 150  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 633

ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด ผู้เลี้ยง ดูบิดามารดา ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล เหตุไฉนชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด ผู้เกื้อกูลแก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูร ญาติ แก่พระสหาย เกื้อกูลทั่วแว่นแคว้น เหตุไฉนจึง ให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิดเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปุตฺตี ได้แก่ พระนางผุสดีราชธิดา ของพระเจ้ามัททราช. บทว่า ปปเตยฺยหํ ความว่า เราพึงโดด. บทว่า รชฺชุยา พชฺฌมิยาหํ ความว่า เราพึงเอาเชือกผูกคอตายเสีย. บทว่า กสฺมา ความว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ เหตุไฉนชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกของเราผู้ไม่ มีความผิดเสีย. บทว่า อชฺฌายิกํ ความว่า ผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท คือถึง ความสำเร็จในศิลปะต่างๆ.

พระนางผุสดีทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสารฉะนั้นแล้ว ทรงปลอบพระโอรสและพระศรีสะใภ้ให้อุ่นพระหฤทัย แล้วเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าสญชัย กราบ ทูลว่า

ชาวสีวีให้ขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด รัฐมณฑลของพระองค์ ก็จักเป็นเหมือนรังผึ้งร้าง เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน ฉะนั้น พระองค์อัน หมู่เสวกามาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้องลำบากอยู่พระองค์ เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว ก็ลำบากอยู่ ในเปียกตมอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขอกราบทูลพระองค์ว่า ประโยชน์อย่าได้ล่วงเลยพระองค์ไปเสียเลย ขอพระ-

 
  ข้อความที่ 151  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 634

องค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีพีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลิตานิ ได้แก่ เหมือนรวงผึ้งที่ตัวผึ้ง หนีไปแล้ว. บทว่า ปติตา ฉมา ได้แก่ ผมมะม่วงสุกที่หล่นลงพื้นดิน. พระนางผุสดีทรงแสดงว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อขับไล่ลูกของเราไปอย่างนี้แล้ว แว่นแคว้นของพระองค์ก็จักสาธารณ์แก่คนทั่วไป. บทว่า นิกฺขีณปตฺโต ได้ แก่ มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว. บทว่า อปวิฏฺโ อมจฺเจหิ ความว่า เหล่า อำมาตย์ประมาณหกหมื่นผู้เป็นสหชาติกับลูกของเราละทิ้งแล้ว. บทว่า วิหญฺสิ แปลว่า จักลำบาก. บทว่า สีวีนํ วจนา ความว่า ขอพระองค์อย่าทรงขับ ไล่ลูกของเราผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีวีเลย.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อเราขับไล่ลูกที่รักผู้เป็นดุจธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ เพราะฉะนั้น ถึงลูกจะเป็นที่รักกว่าชีวิตของเรา เราก็ ต้องขับไล่.

เนื้อความของคาถานั้นว่า แน่ะพระน้องผุสดีผู้เจริญ เมื่อฉันขับไล่ คือ เนรเทศลูกเวสสันดร ซึ่งเป็นธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพยำเกรงต่อ ขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณในสีพีรัฐ เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ลูกเวสสันดร นั้นเป็นที่รักกว่าชีวิตของฉัน ถึงอย่างนั้นฉันก็ต้องขับไล่.

พระนางผุสดีราชเทวีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงครวญคร่ำรำพันว่า

แต่กาลก่อนๆ เหล่าทหารถือธง และเหล่าทหาร ม้าเป็นอาทิ ราวกะดอกกรรณิการ์อันบานแล้ว และ ราวกะราวป่าดอกกรรณิการ์ ไปตามเสด็จพ่อเวสสันดร

 
  ข้อความที่ 152  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 635

ผู้เสด็จไปไหนๆ วันนี้พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว.

เหล่าราชบุรุษผู้ห่มผ้ากัมพลเหลืองมาแต่คันธารรัฐ มีแสงสีดุจแมลงค่อมทองตามเสด็จไปไหนๆ วัน นี้พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว แต่ก่อนพ่อเคยเสด็จด้วย ช้างที่นั่ง พระวอหรือรถที่นั่ง วันนี้พ่อจะต้องเสด็จไป ด้วยพระบาทอย่างไรได้.

พ่อมีพระกายลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อันเจ้าพนักงานปลุกให้ตื่นบรรทมด้วยฟ้อนรำขับร้อง จะต้องทรง หนังเสืออันหยาบขุรขระ และถือเสียมหาบคานอัน คอนเครื่องบริขารแห่งดาบสทุกอย่างไปเองอย่างไรได้ ไม่มีใครนำผ้ากาสาวะและหนังเสือไป เมื่อพ่อเสด็จ เข้าสู่ป่าใหญ่ ใครจะช่วยแต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ ก็ ไม่มี เพราะเหตุไรขัตติยบรรพชิตทั้งหลาย จะทรงผ้า เปลือกไม้ได้อย่างไรหนอ แม่มัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรอง กะไรได้ แม่มัทรีเคยทรงภูษามาแต่แคว้นกาสี และ โขมพัสตร์และโกทุมพรพัสตร์ บัดนี้จะทรงผ้าคากรอง จักทำอย่างไร.

แม้มัทรีเคยเสด็จไปไหนๆ ด้วยสิวิกากาญจน์ คานหามและรถที่นั่ง วันนี้แม่ผู้มีวรกายหาที่มิได้ จะ ต้องดำเนินไปตามวิถีด้วยพระบาท แม่มัทรีผู้มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อน มักมีพระหฤทัยหวั่นขวัญ อ่อนสถิตอยู่ในความสุข เสด็จไปข้างไหนก็ต้องสวม ฉลองพระบาททอง วันนี้แม้ผู้มีอวัยวะงาม จะต้อง

 
  ข้อความที่ 153  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 636

ดำเนินสู่วิถีด้วยพระบาทเปล่า แม่จะเสด็จไปไหนเคย มีสตรีนับด้วยพันนางนำเป็นแถวไปข้างหน้า วันนี้แม่ ผู้โฉมงามจะต้องเสด็จไปสู่ราวไพรแต่องค์เดียว.

แม่มัทรีได้ยินเสียงสุนัขป่า ก็จะสะดุ้งตกพระหฤทัยก่อนทันทีหรือได้ยินเสียงนกเค้าอินทสโคตรผู้ ร้องอยู่ก็จะสะดุ้งกลัวองค์สั่น ดุจแม่มดสั่นอยู่ฉะนั้น วันนี้แม่ผู้มีรูปงามเป็นผู้ขลาดไปสู่แนวป่า ตัวแม่เอง จักหมกไหม้ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้เปล่า จากลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่นั้นๆ เหมือนนางนกมีลูกถูกเบียดเบียน เห็นแต่รังเปล่าฉะนั้น ตัวแม่จักหมกไหม้ด้วยความ ทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้ว่างจากพระลูกรัก ตัวแม่ แลไม่เห็นลูกรัก ก็จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่ นั้นๆ เปรียบดังนางนกเขามีลูกถูกเบียดเบียนแล้ว เห็นแต่รังเปล่า หรือเปรียบเหมือนนางนกจากพราก ตกในเปือกตมไม่มีน้ำฉะนั้น เมื่อหม่อมฉันพิลาปอยู่ อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มี ความผิดนั้นเสียจากแว่นแคว้น หม่อมฉัน เห็นจะต้อง สละชีวิตเสียเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณิการาว ความว่า เป็นราวกะดอก กรรณิการ์ที่บานดีแล้ว เพราะประดับด้วยเครื่องอลังการอันเป็นสุวรรณ วัตถาภรณ์. บทว่า ยายนฺตมนุยายนฺติ ความว่า ตามเสด็จพระเวสสันดร

 
  ข้อความที่ 154  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 637

ผู้เสด็จเพื่อต้องการประพาสสวนอุทยานเป็นต้น. บทว่า สฺวาชฺเชโกว ความ ว่า วันนี้พระเวสสันดรจักเสด็จไปพระองค์เดียวเท่านั้น. บทว่า อนีกานิ ได้ แก่ มีกองช้างเป็นต้น. บทว่า คนฺธารา ปณฺฑุกมฺพลา ความว่า ผ้า กัมพลแดงที่เสนานุ่งห่มมีค่าแสนหนึ่ง เกิดที่คันธารรัฐ. บทว่า หาริติ ความ ว่า แบกไป. บทว่า ปวิสนฺตํ ได้แก่ เมื่อพระเวสสันดรเสด็จเข้าไปอยู่. บทว่า กสฺมา จีรํ น พชฺฌเร ความว่า ใครๆ ที่แต่งตัวได้ จะช่วย แต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ก็ไม่มี เพราะอะไร. บทว่า ราชปพฺพชิตา ได้แก่ พวกกษัตริย์บวช. บทว่า โขมโกทุมฺพรานิ ได้แก่ ผ้าสาฎกที่เกิดในโขมรัฐและในโกทุมพรรัฐ. บทว่า สา กถชฺช ตัดบทเป็น สา กลํ อชฺช. บทว่า อนุจฺจงฺคี ได้แก่ ผู้มีพระวรกายไม่มีที่ตำหนิคือหาที่ติมิได้. บทว่า ปีฬมานาว ความว่า หวั่นไหวเสด็จไปเหมือนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า อสฺสุ ในบทเป็นต้นว่า ยสฺสุ อิตฺถรสหสฺส เป็นนิบาต ความว่า ใด ปาฐะว่า ยาสา ก็มี. บทว่า สิวาย ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. บทว่า ปุเร ความว่า อยู่ใน พระนครในกาลก่อน. บทว่า อินฺทสโคตฺตสฺส ได้แก่ โกสิยโคตร. บทว่า วาริณีว ได้แก่ เหมือนยักษทาสีที่เทวดาสิง. บทว่า ทุกฺเขน ได้แก่ ทุกข์ คือความโศกเพราะความพลัดพรากจากบุตร. บทว่า อาคมฺมิมํ ปุรํ ความ ว่า เมื่อลูกไปแล้ว แม่มาวังนี้ คือวังของลูก. บทว่า ปิเย ปุตฺเต ท่าน กล่าวหมายพระเวสสันดรและพระนางมัทรี. บทว่า หตจฺฉวปา ได้แก่ มีลูก คือลูกน้อยถูกเบียดเบียนแล้ว. บทว่า ปพฺพาเชสิ จ นํ รฏฺา ความว่า ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่ลูกเวสสันดรนั้นจากแว่นแคว้น.

เหล่าสีพีกัญญาของพระเจ้ากรุงสญชัยทั้งปวงได้ยินเสียงคร่ำครวญของ พระนางผุสดีเทวี ก็ประชุมกันร้องไห้ ส่วนราชบริจาริกานารีทั้งหลายในพระราชนิเวศน์ของพระเวสสันดร ได้ยินเสียงเหล่าราชบริจาริกาของพระเจ้ากรุงสญชัย

 
  ข้อความที่ 155  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 638

ร้องไห้ ต่างก็ร้องไห้ไปตามกัน คนหนึ่งในราชสกุลทั้งสองที่สามารถระทรงตน ไว้ได้ไม่มีเลย ต่างทอดกายาพิไรรำพัน ดุจหมู่ไม้รังต้องลมย่ำยีก็ล้มลงตามกัน ฉะนั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เหล่าสีพีกัญญาทั้งปวงในพระราชวัง ได้ฟังสุรเสียงของพระนางผุสดีทรงกันแสง ประชุมกันประคองแขนทั้งสองร้องไห้ เหล่าราชบุตรราชบุตรี ชายา พระสนม พระกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง กอง ม้า กองรถ กองราบ ฝ่ายข้างวังพระเวสสันดร ก็ พากันลงนอนยกแขนทั้งสองร้องไห้ ประหนึ่งหมู่ไม้ รังต้องลมประหารย่ำยีก็ล้มลงตามกันฉะนั้น แต่นั้น เมื่อราตรีสว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเวสสันดรก็ เสด็จมาสู่โรงทาน ทรงบำเพ็ญทาน โดยพระโองการ ว่า เจ้าทั้งหลายจงให้ผ้าห่มแก่เหล่าผู้ต้องการผ้านุ่งห่ม น้ำเมาแก่พวกนักเลงสุรา โภชนาหารแก่เหล่าผู้ต้อง การโภชนาหารโดยชอบทีเดียว อย่าเบียดเบียนเหล่า วนิพก ผู้มาในที่นี้แม้แต่คนหนึ่ง จงให้อิ่มหนำด้วย ข้าวและน้ำ พวกนี้เราบูชาแล้ว จงให้ยินดีกลับไป ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้ เจริญเสด็จออกแล้ว ดุจคนเมาสุราหรือคนเหน็ดเหนื่อย ชาวสีพีเหมือนตัดเสีย ซึ่งต้นไม้ที่ให้ผลต่างๆ ที่ทรง ผลต่างๆ ที่ให้ความใคร่ทั้งปวง ที่นำมาซึ่งรสคือ ความใคร่ทั้งปวง เพราะพวกเขาขับไล่พระเวสสันดร

 
  ข้อความที่ 156  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 639

ผู้หาความผิดมิได้จากรัฐมณฑล ในเมื่อพระเวสสันดร มหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว เหล่าคนแก่ คนหนุ่ม และคนกลางคนทั้งหมด ภูต แม่มด ขันที สตรีของพระราชา สตรีในพระนคร พราหมณ์ สมณะ และเหล่าวนิพกอื่นๆ ประคอง แขนทั้งสองร้องไห้ว่า ดูเถอะ พระราชาเป็นอธรรม.

พระเวสสันดรเป็นผู้อันมหาชนในเมืองของตน บูชาแล้ว ต้องเสด็จออกจากเมืองของพระองค์ โดย ต้องการตามคำของชาวสีวี พระเวสสันดรมหาสัตว์นั้น พระราชทานช้าง ๗๐๐ เชือก ล้วนประดับด้วยคชาลัง- การ มีเครื่องรัดกลางตัวแล้วไปด้วยทอง คลุมด้วย เครื่องประดับทอง มีนายหัตถาจารย์ขี่ประจำ ถือโตมร และขอม้า ๗๐๐ ตัว สรรพไปด้วยอัศวาภรณ์เป็นชาติ ม้าอาชาไนยสินธพ เป็นพาหนะว่องไว มีนายอัศวาจารย์ขี่ประจำ ห่มเกราะถือธนู รถ ๗๐๐ คัน อันมั่น คงมีธงปักแล้ว หุ้มหนังเสือเหลืองเสือโคร่งประดับ สรรพาลังการ มีคนขับประจำถือธนูห่มเกราะ สตรี ๗๐๐ คน คนหนึ่งๆ อยู่ในรถ สวมสร้อยทองคำประดับ กายแล้วไปด้วยทองคำ มีอลังการสีเหลือง นุ่งห่มผ้า สีเหลือง ประดับอาภรณ์สีเหลือง มีดวงตาใหญ่ ยิ้ม แย้มก่อนจึงพูด มีตะโพกงามบั้นเอวบาง โคนม ๗๐๐ ตัว ล้วนแต่งเครื่องเงินทาสี ๗๐๐ คน ทาส ๗๐๐ คน

 
  ข้อความที่ 157  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 640

(พระองค์ทรงบำเพ็ญทานเห็นปานนี้) ต้องเสด็จออก จากแคว้นของพระองค์.

พระราชาเวสสันดรพระราชทานช้างม้ารถ และ สตรีอันตกแต่งแล้ว ต้องนิราศจากแคว้นของพระองค์ ในเมื่อมหาทาน อันพระเวสสันดรพระราชทานแล้ว พสุธาดลก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว และพระราชาเวสสันดรทรงกระทำอัญชลี นิราศจากแคว้นของ พระองค์ นั่นเป็นมหัศจรรย์อันน่าสยดสยอง. ให้ขน พองสยองเกล้า ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิกญฺา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรีทั้งหลายของพระเจ้าสญชัยราชาแห่งชาวสีวีแม้ทั้งปวง ได้ฟังเสียงคร่ำ- ครวญของพระนางผุสดีแล้ว ประชุมกันคร่ำครวญร้องไห้. บทว่า เวสฺสนฺตรนิเวสเน ความว่า เหล่าชนฝ่ายช้างวังแม้ของพระเวสสันดร ได้ฟังเสียงคร่ำ ครวญของสตรีทั้งหลายในวังของพระเจ้าสญชัยนั้น ก็คร่ำครวญไปตามกัน ใน ราชสกุลทั้งสอง ไม่มีใครๆ ที่สามารถจะดำรงอยู่ได้ตามภาวะของตน ต่างล้ม ลงเกลือกกลิ้งไปมาคร่ำครวญดุจหมู่ไม้รังโค่นลงด้วยกำลังลมฉะนั้น. บทว่า ตโต รตฺยา วิวสเน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พวกขวนขวายในทานได้กราบทูลแด่พระเวสสันดรว่า ทาน ได้จัดเสร็จแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรทรงสรงสนานแต่เช้าทีเดียว ประดับด้วยสรรพาลังการ เสวยโภชนาหารรสอร่อย แวดล้อมไปด้วยมหาชน เสด็จเข้าสู่โรงทานเพื่อพระราชทานสัตตสดกมหาทาน. บทว่า เทถ ความว่า พระเวสสันดรเสด็จไปในที่นั้นแล้ว เมื่อตรัสสั่งเหล่าอำมาตย์หกหมื่น ได้ตรัส อย่างนี้. บทว่า วารุณึ ความว่า พระเวสสันดรทรงทราบว่า การให้น้ำเมา

 
  ข้อความที่ 158  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 641

เป็นทานไร้ผล แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงดำริว่า พวกนักเลงสุรามาถึงโรง ทานแล้ว อย่าได้กล่าวว่า ไม่ได้ดื่มสุราในโรงทานของพระเวสสันดร ดังนี้จึง ให้พระราชทาน. บทว่า วนิพฺพเก ความว่า บรรดาเหล่าชนวนิพกผู้ขอ พวกท่านอย่าได้เบียดเบียนใครๆ แม้คนหนึ่ง. บทว่า ปฏิปูชิตา ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่เราบูชาแล้ว จงกระทำอย่างที่เขา ไปสรรเสริญเรา พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตสดกมหาทาน คือ ช้าง ๗๐๐ เชือก มีเครื่องประดับทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ม้า ๗๐๐ ตัว ก็ เหมือนอย่างนั้นแล รถ ๗๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์เป็นต้น วิจิตรด้วยรัตนะ ต่างๆ มีธงทอง สตรีมีขัตติยกัญญาเป็นต้น ๗๐๐ คน ประดับด้วยสรรพาลังการ ทรงรูปอันอุดม แม่โคนม ๗๐๐ ตัว ซึ่งเป็นหัวหน้าโคผู้ประเสริฐ รีดน้ำนม ได้วันละหม้อ ทาสี ๗๐๐ คนผู้ได้รับการฝึกหัดศึกษาดีแล้ว ทาส ๗๐๐ คนก็ เหมือนอย่างนั้น พร้อมเครื่องดื่มและโภชนาหารหาประมาณมิได้ ด้วยประการ ฉะนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบริจาคทานอยู่อย่างนี้ ชาวนครมีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น ต่างร่ำพิไรรำพันว่า ข้าแต่พระเวสสันดรผู้ เป็นเจ้า ชาวสีพีรัฐขับพระองค์ผู้ทรงบริจาคทานเสียจากรรัฐมณฑล พระองค์ก็ ยังทรงบริจาคทานอีก.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ครั้งนั้นเสียงกึกก้องโกลาหลน่าหวาดเสียว เป็น ไปในพระนครนั้นว่า ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระเวสสันดรเพราะทรงบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรงได้ บริจาคทานอีกเถิด.

ฝ่ายเหล่าผู้รับทานได้รับทานแล้วก็พากันรำพึงว่า ได้ยินว่า บัดนี้ พระราชาเวสสันดรจักเสด็จเข้าสู่ป่า ทำพวกเราให้หมดที่พึ่ง จำเดิมแต่นี้พวกเรา

 
  ข้อความที่ 159  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 642

จักไปหาใคร รำพึงฉะนี้ก็นอนกลิ้งเกลือกไปมา ประหนึ่งว่ามีเท้าขาดคร่ำครวญ ด้วยเสียงอันดัง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จ ออก วนิพกเหล่านั้นก็ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจคน เมาหรือคนเหน็ดเหนื่อยฉะนั้น ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สุ อักษรในบทว่า เต สุ มตฺตา นี้เป็นเพียง นิบาต ความว่า วนิพกเหล่านั้น. บทว่า มตฺตา กิลนฺตาว ความว่า เป็น ผู้ราวกะคนเมาและราวกะคนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า สมฺปตนฺติ ความว่า ล้ม ลงบนพื้นดินกลิ้งเกลือกไปมา. บทว่า อจฺเฉจฺฉุํ วต แปลว่า ตัดแล้วหนอ. บทว่า ยถา แปลว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า อติยกฺขา ได้แก่ หมอผีบ้าง แม่มดบ้าง. บทว่า เวสฺสวรา ได้แก่ พวกขันทีผู้ดูแลฝ่ายใน. บทว่า วจนตฺ- เถน ได้แก่ เพราะเหตุแห่งถ้อยคำ. บทว่า สมฺหา รฏฺา นิรชฺชติ ความว่า ออกไปจากแคว้นของพระองค์. บทว่า คามณีเยภิ ได้แก่ อาจารย์ ฝึกช้าง. บทว่า ชาติเย ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า คามณีเยภิ ได้แก่ อาจารย์ฝึกม้า. บทว่า อินฺทิยาจาปธาริภิ ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งเกราะ และธนู. บทว่า ทีเป อโถปิ เวยฺยคฺเฆ ได้แก่ หุ้มด้วยหนังเสือเหลือง และหนังเสือโคร่ง. บทว่า เอกเมกา รเถ ิตา ความว่า ได้ยินว่า พระเวสสันดรได้พระราชทานนางแก้วคนหนึ่งๆ ยืนอยู่บนรถ มีทาสี ๘ คน แวด ล้อม. บทว่า นิกฺขรชฺชูหิ ได้แก่ สร้อยที่สำเร็จด้วยเส้นทองคำ. บทว่า อาฬารปฺปมุขา ได้แก่ มีดวงตาใหญ่ บทว่า หสุลา ได้แก่ ยิ้มแย้ม ก่อนจึงพูด. บทว่า สุสญฺา ได้แก่ มีตะโพกผึ่งผาย. บทว่า ตนุมชฺฌิมา

 
  ข้อความที่ 160  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 643

ได้แก่ มีเอวบาง. บทว่า กํส ในบทว่า กํสุปาธาริโน นี้เป็นชื่อของเงิน ความว่า ได้พระราชทานพร้อมด้วยภาชนะใส่น้ำนมที่สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า ปทินฺนมฺหิ ได้แก่ ให้อยู่. บทว่า สมกมฺปถ ความว่า หวั่นไหวด้วย อานุภาพแห่งทาน. บทว่า ยํ ปญฺชลีกโต ความว่า พระราชาเวสสันดร พระราชทานมหาทานแล้วประคองอัญชลีนมัสการทานของพระองค์ ได้ทรงกระ ทำอัญชลีอธิษฐานว่า ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณของเราที เดียว แม้ข้อนั้นก็ได้เป็นมหัศจรรย์น่าสยดสยองนั่นแล อธิบายว่า แผ่นดินได้ หวั่นไหวในขณะนั้น. บทว่า นิรชฺชติ ความว่า แม้พระเวสสันดรได้พระราชทานถึงอย่างนี้แล้ว ก็ยังต้องเสด็จนิราศไป ไม่มีใครๆ จะห้ามพระองค์ได้.

ก็ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายแจ้งแก่พระราชาในพื้นชมพูทวีปว่า พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน มีพระราชทานนางขัตติยกัญญาเป็นต้น เพราะเหตุนั้นกษัตริย์ทั้งหลายจึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญา เหล่านั้นแล้วหลีกไป.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น รับพระราชทานบริจาค ของพระเวสสันดรแล้วหลีกไป ด้วยประการฉะนี้ พระเวสสันดรทรงบริจาค ทานอยู่จนถึงเวลาเย็น พระองค์จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรง ดำริว่า เราจักถวายบังคมลาพระชนกพระชนนีไปในวันพรุ่งนี้ จึงเสด็จไปสู่ที่ ประทับของพระชนกพระชนนีด้วยรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว ฝ่ายพระนางมัทรีก็ ทรงคิดว่า แม้เราก็จักโดยเสด็จพระสวามี จักยังพระสัสสุและพระสสุระให้ทรง อนุญาตเสียด้วย จึงเสด็จไปพร้อมพระเวสสันดร พระมหาสัตว์ถวายบังคม พระราชบิดาแล้วกราบทูลความที่พระองค์จะเสด็จไป.

 
  ข้อความที่ 161  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 644

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสันดรกราบทูลพระเจ้าสญชัย ผู้วรธรรมิกราชว่า พระองค์โปรดให้หม่อมฉันออกจากเชตุดร ราชธานี หม่อมฉันขอทูลลาไปเขาวงกต ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีแล้วในอดีต หรือจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อม ไปสู่ยมโลก หม่อมฉันได้บริจาคทานในวังของตนยัง ชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น จึงนิราศจากแคว้นของ ตนโดยความประสงค์ตามคำของชาวสีพี หม่อมฉันจัก เสวยความทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรด และเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญ ทั้งหลาย เชิญพระองค์จมอยู่ในเปือกตม คือกามเถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมิกํ วรํ ได้แก่ ผู้สูงสุดในระหว่าง พระราชาผู้ทรงธรรมทั้งหลาย. บทว่า อวรุทฺธสิ ความว่า นำออกจากแว่น แคว้น. บทว่า ภูตา ได้แก่ อดีตกาล. บทว่า ภวิสฺสเร ความว่า ชน เหล่าใดจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน. บทว่า โสหํ สเก อภิสสึ ความว่า หม่อมฉันนั้นชื่อว่าเบียดเบียนชาวเมืองของตน ทำอะไร. บทว่า ยชมาโน ได้แก่ บริจาคทาน. บทว่า สเก ปุเร ได้แก่ ในปราสาทของ ตน แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั้นบริจาคทาน. บทว่า นิรชฺชหํ ได้แก่ เมื่อหม่อมฉันออก. บทว่า อฆนฺตํ ความว่า หม่อมฉันจักเสวยทุกข์ ที่ผู้อยู่ในป่าพึงเสวยนั้น. บทว่า ปงฺกมฺหิ ความว่า พระเวสสันดรทูลว่า แต่พระองค์จะจมอยู่ในเปือกตม คือกาม.

 
  ข้อความที่ 162  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 645

พระมหาสัตว์ทูลกับพระชนกด้วย ๔ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว เสด็จไป เฝ้าพระชนนี ถวายบังคมแล้ว เมื่อจะทรงขออนุญาตบรรพชา จึงตรัสว่า

ข้าแต่เสด็จแม่ ขอพระองค์ทรงอนุญาตแก่หม่อม ฉัน หม่อมฉันขอบวช หม่อนฉันบริจาคทานในวัง ของตนยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น หม่อมฉัน จะออกไปจากแคว้นของตนโดยประสงค์ตามคำของ ชาวสีพี หม่อมฉันจะเสวยทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วย พาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉัน บำเพ็ญบุญทั้งหลาย จะไปเขาวงกต

พระนางผุสดีได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

ลูกรัก แม่อนุญาตลูก บรรพชาจงสำเร็จแก่ลูก ก็แต่แม่มัทรีกัลยาณีผู้มีตะโพกงามเอวบาง จงอยู่กับ บุตรธิดา แม่จะทำอะไรในป่าได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิชฺฌตุ ความว่า จงมีความสำเร็จด้วย ฌาน. บทว่า อจฺฉตํ ความว่า พระนางผุสดีตรัสว่า จงอยู่ คือจงมีในที่นี้ แหละ.

พระเวสสันดรตรัสว่า

หม่อมฉันไม่อาจจะพาแม่ทาสีไปสู่ป่าโดยที่เขา ไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะตามหม่อมฉันไป ก็ จงไป ถ้าไม่ปรารถนาก็จงอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกามา ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เสด็จ แม่ตรัสอะไรอย่างนั้น แม้ทาสีหม่อมฉันก็ไม่อาจจะพาไป โดยที่เขาไม่ปรารถนา.

 
  ข้อความที่ 163  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 646

ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับพระดำรัสแห่งพระราชโอรส ก็ทรงคล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ต่อแต่นั้น พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงคล้อย ตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า แน่ะแม่ผู้มีสรีระอัน ประพรมด้วยแก่นจันทน์ แม่อย่าได้ทรงธุลีละอองและ ของเปรอะเปื้อนเลย แม่เคยทรงภูษาของชาวกาสีแล้ว จะมาทรงผ้าคากรอง การอยู่ในป่าเป็นทุกข์ แน่ะแม่ มีลักษณะงาม แม่อย่าไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปชฺชถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับถ้อยดำรัสของพระราชโอรสแล้ว ได้ทรง คล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา. บทว่า มา จนฺทนสมาจเร ความว่า แน่ะแม่ผู้มีสรีระที่ประพรมด้วยจันทน์แดง. บทว่า มา หิ ตฺวํ ลกฺขเณ คมิ ความว่า แน่ะแม่ผู้ประกอบด้วยลักษณะอันงาม แม่อย่าไปป่าเลย.

พระนางมัทรีราชบุตรผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล พระสุสระว่า หม่อมฉันไม่ปรารถนาความสุข ที่ต้อง พรากจากพระเวสสันดรของหม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ได้กราบทูล คือได้ กราบเรียนพระสสุระนั้น.

พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้ เจริญ ได้ตรัสกะพระมัทรีว่า แน่ะแม่มัทรี แม่จง พิจารณา สัตว์เหล่าใดมีอยู่ในป่าที่บุคคลทนได้ยากคือ

 
  ข้อความที่ 164  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 647

ตั๊กแตน บุ้ง เหลือบ ยุง แมลง ผึ้ง มีมาก สัตว์ แม้เหล่านั้นพึงเบียดเบียนแม่ในป่านั้น ความเบียด เบียนนั้นเป็นความทุกข์ยิ่งจะพึงมีแก่แม่ แม่จงดูสัตว์ เหล่าอื่นอีกที่น่ากลัว อาศัยอยู่ที่แม่น้ำ คืองู ชื่อว่างู เหลือมไม่มีพิษแต่มันมีกำลังมาก มันรัดคนหรือมฤค ที่มาใกล้มันด้วยขนดให้อยู่ในอำนาจของมัน ยังสัตว์ เหล่าอื่น ดำดังผมที่เกล้าชื่อว่าหมี เป็นมฤคนำความ ทุกข์มา คนที่มันเห็นแล้วขึ้นต้นไม่ก็ไม่พ้นมัน ฝูง กระบือมักขวิดชนเอาด้วยเขามีปลายแหลม เที่ยวอยู่ ราวป่าริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุมพระ แม่มัทรีเป็นเหมือนแม่ โคนมอยากได้ลูก เห็นโคไปตามฝูงมฤคในไพรสณฑ์ จักทำอย่างไร เมื่อแม่มัทรีไม่รู้จักเขตไพรสณฑ์ ภัย ให้จักมีแก่แม่ เพราะเห็นฝูงลิง น่ากลัวพิลึก มันลง มาในทางที่เดินยาก แม่มัทรีครั้งยังอยู่ในวัง แม่ไปถึง เขาวงกตจักทำอย่างไร ฝูงสกุณชาติจับอยู่ในเวลากลาง วัน ป่าใหญ่ก็จักเหมือนบันลือขึ้น แม่จะอยากไปใน ราวไพรนั้นทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ได้ตรัสกะพระสุณิสา นั้น. บทว่า อปเร ปสฺส สนฺตาเส ความว่า จงดู คือจงเห็นเหตุที่ให้ เกิดภัยที่น่าหวาดสะดุ้ง. บทว่า นทีนูปนิเสวิตา ความว่า อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ โดยสถานที่ใกล้. บทว่า อวิสา ได้แก่ ปราศจากพิษ. บทว่า อปิจาสนฺนํ ความว่า ใกล้ คือมาสัมผัสสรีระของตน. บทว่า อฆมฺมิคา ได้แก่ มฤคที่

 
  ข้อความที่ 165  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 648

ทำความลำบาก อธิบายว่า มฤคที่นำความทุกข์มาให้. บทว่า นทึ โสตุมฺพรํ ปติ ได้แก่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุมพระ. บทว่า ยูถานํ ได้แก่ ซึ่งฝูงปาฐะ อย่างนี้แหละ. บทว่า เธนุว วจฺฉคิทฺธาว ความว่า เธอเป็นเหมือนแม่ โคนมอยากได้ลูก เมื่อไม่เห็นลูกๆ ของเธอ จักทำอย่างไร ก็ ว อักษรใน บทว่า วจฺฉคิทฺธาว นี้เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า สมฺปติเต ได้แก่ ลงมา บทว่า โฆเร ได้แก่ มีรูปแปลกน่าสะพึงกลัว บทว่า ปลฺวงฺคเม ได้แก่ ฝูงลิง บทว่า อเขตฺตญฺาย ได้แก่ ไม่ฉลาดในภูมิประเทศในป่า. บทว่า ภวิตนฺเต ความว่า จักมีแก่เธอ. บทว่า ยา ตฺวํ สิวาย สุตฺวาน ความว่า ได้ยินเสียงของสุนัขจิ้งจอก. บทว่า มหุํ ความว่า แม้เมื่ออยู่ใน เมืองก็ตกใจบ่อยๆ. บทว่า สุณเตว ได้แก่ เหมือนบันลือ คือส่งเสียง.

พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล พระเจ้ากรุงสญชัยว่า หม่อมฉันทราบภยันตรายเหล่า นั้น ว่าเป็นภัยเฉพาะหม่อมฉันในพรสณฑ์ แต่หม่อม ฉันจะสู้ทนต่อภัยทั้งปวงนั้นไป คือจักบรรเทาแหวกต้น เป้ง หญ้าคา หญ้าคมบาง แฝก หญ้ามุงกระต่าย และ หญ้าปล้องไปด้วยอุระ จักนำเสด็จพระภัสดาไปมิให้ ยาก กุมารีได้สามีด้วยการประพฤติวัตรเป็นอันมาก เช่นด้วยตรากตรำท้อง มิให้ใหญ่ด้วยวิธีกินอาหารแต่ น้อย รู้ว่าสตรีมีบั้นเอวกว้างสีข้างผายได้สามี จึงเอาไม้ สัณฐานเหมือนคางโคค่อยๆ บุบทุบบั้นเอว เอาผ้ารีด สีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก หรือด้วยทนผิงไฟแม้ใน ฤดูร้อน ขัดสีกายด้วยน้ำในฤดูหนาว ความเป็นหม้าย

 
  ข้อความที่ 166  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 649

อาการเตรียมตรมในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่าง แน่นอน.

อนึ่งบุรุษไม่สมควรอยู่ร่วมกับสตรีหม้ายที่เขาทิ้ง แล้ว บุรุษไรเล่าจะจับมือถือแขนสตรีหม้ายที่เขาไม่ ต้องการคร่ามา เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมของสตรีหม้าย มาแล้วเอาเท้าเขี่ยให้ล้มลง ณ พื้น ให้ทุกข์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อยแล้วไม่หลีกไป เหล่าบุรุษต้องการสตรีหม้าย ผู้มีผิวขาว ถือตัวว่ารูปงามเลิศ ให้ทรัพย์เล็กน้อยฉุด คร่าสตรีหม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดุจฝูงกาตอมจิกคร่า นกเค้าไปฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง สตรีหม้ายเมื่ออยู่ในสกุลญาติอัน มั่งคั่ง รุ่งเรืองด้วยภาชนะทองคำ ไม่พึงได้ซึ่งคำกล่าว ล่วงเกิน แต่หมู่พี่น้องและเหล่าสหายว่า หญิงผู้หาผัว มิได้นี้ ต้องตกหนักแก่พวกเราตลอดชีวิต ฉะนี้ไม่มี เลย. i

แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่าดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาปกครองก็สูญเปล่า สตรีแม้มีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ถ้าเป็นหม้ายก็สูญหาย ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งราชรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ พระราชาเป็นเครื่อง ปรากฏแห่งแว่นแคว้น ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่ง สตรี ความเป็นหม้ายเป็นอาการเตรียมตรมในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน.

 
  ข้อความที่ 167  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 650

สตรีใดเข็ญใจก็ร่วมทุกข์กับสามีผู้เข็ญใจในคราว ถึงทุกข์ สตรีใดมั่งมี มีเกียรติ ก็ร่วมสุขด้วยสามีผู้ มั่งมีในคราวถึงสุข เทวดาและมนุษย์ย่อมสรรเสริญ สตรีนั้น เพราะสตรีนั้นทำกรรมที่ทำได้โดยยาก. หม่อมฉันจะนุ่งห่มผ้ากาสายะตามเสด็จพระภัสดาทุกเมื่อ ความเป็นหม้ายแห่งสตรีผู้มีแผ่นดินไม่แยก ไม่เป็นที่ยินดี อีกประการหนึ่งหม่อมฉันไม่ปรารถนา แผ่นดินที่ทรงไว้ซึ่งทรัพย์เป็นอันมาก มีสาครเป็นที่สุด เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ แต่พรากจากพระเวสสันดรผู้ ภัสดา สตรีใดในเมื่อสามีทุกข์ร้อน ย่อมอยากได้ ความสุขเพื่อตน สตรีนั้นเด็ดจริง ใจของเขาจะเป็น อย่างไรหนอ เมื่อพระเวสสันดรมหาราชเจ้าผู้ยังสีพีรัฐ ให้เจริญเสด็จออกพระนคร หม่อมฉันจักโดยเสด็จ พระองค์ เพราะพระองค์เป็นผู้พระราชทานความใคร่ ทั้งปวงของหม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีได้สดับพระดำรัสของพระเจ้ากรุงสญชัยแล้วได้ทูลตอบพระเจ้ากรุง สญชัยนั้น. บทว่า อภิสมฺโภสฺสํ ได้แก่ จักสู้ทน คือจักอดกลั้น. บทว่า โปตกิลํ ได้แก่ หญ้าคมบาง. บทว่า ปนูเหสฺสามิ ความว่า หม่อมฉัน จักแหวกไปทางข้างหน้าพระเวสสันดร. บทว่า อุทรสฺสุปโรเธน ได้แก่ การงด คือกินอาหารแต่น้อย. บทว่า โคหนุเวฏฺเนน ความว่า เหล่า กุมาริการู้ว่าสตรีที่มีบั้นเอวกว้างและสีข้างผายย่อมได้สามี จึงเอาไม้มีสัณฐาน

 
  ข้อความที่ 168  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 651

เหมือนคางโคค่อยๆ ทุบบั้นเอว เอาผ้ารัดสีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก ย่อมได้ สามี. บทว่า กฏุกํ ได้แก่ ไม่น่ายินดี. บทว่า คจฺฉญฺเว ได้แก่ จัก ไปแน่นอน. บทว่า อปฺปตฺโต ความว่า ไม่สมควรจะบริโภคของที่เป็นเดน ของหญิงหม้ายนั้นทีเดียว. บทว่า โย นํ ความว่า บุรุษใดมีชาติต่ำจับมือ ทั้งสองฉุดคร่าหญิงหม้ายนั้นผู้ไม่ปรารถนาเลย. บทว่า เกสคฺคหณมุกฺเขปา ภูมฺยา จ ปริสุมฺภนา ความว่า เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมหญิงไม่มีสามี เขี่ย ให้ล้มลง ณ พื้น ดูหมิ่นล่วงเกินหญิงเหล่านั้น. บทว่า ทตฺวา จ ความว่า บุรุษอื่นยังให้ความทุกข์เป็นอันมาก คือมิใช่น้อยเห็นปานนี้แก่หญิงไม่มีสามี บทว่า โน ปกฺกมติ ความว่า เป็นผู้ปราศจากความรังเกียจยืนแลดูหญิงนั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี ได้แก่ มีผิวพรรณที่ถูด้วยจุรณสำหรับอาบ. บทว่า เวธเวรา แปลว่า ผู้มีความต้องการหญิงหม้าย บทว่า ทตฺวา ได้แก่ ให้ ทรัพย์มีประมาณน้อยอะไรๆ ก็ตาม. บทว่า สุภคฺคมานิโน ได้แก่ เข้าใจ ตัวว่าพวกเรางามเลิศ. บทว่า อกามํ ได้แก่ หญิงหม้าย คือหญิงไม่มีสามี ผู้ไม่ปรารถนานั้น. บทว่า อุลูกญฺเว วายสา ความว่า เหมือนฝูงกาจิก คร่านกเค้า. บทว่า กํสปฺปชฺโชตเน ได้แก่ รุ่งเรืองด้วยภาชนะทอง. บทว่า วสํ ได้แก่ อยู่ในสกุลญาติแม้เห็นปานนั้น. บทว่า เนวาติวากฺยํ น ลเภ ความว่า ไม่พึงได้ คือย่อมไม่ได้เลยทีเดียวซึ่งคำอันเป็นคำล่วงเกิน คือเป็นคำติเตียนนี้จากพี่น้องก็ตาม จากสหายก็ตาม ผู้กล่าวคำเป็นต้นว่า หญิง คนนี้ไม่มีสามี ตกหนักแก่พวกเราไปตลอดชีวิตทีเดียว. บทว่า ปญฺาณํ ได้แก่ กระทำภาวะให้ปรากฏ. บทว่า ยา ทลิทฺที ทลิทฺทสฺส ความว่า ข้าแต่พระองค์ หญิงที่มีเกียรติ คือหญิงที่ในเวลาสามีผู้ยากจนของตนมีความ ทุกข์ แม้ตนเองยากจนก็ร่วมทุกข์ด้วย ในเวลาที่สามีนั้นมั่งคั่งมีความสุข ตน

 
  ข้อความที่ 169  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 652

เองก็มั่งคั่งมีความสุขกับสามีนั้นเหมือนกัน. บทว่า ตํ เว เทวา ปสํสนฺติ ความว่า แม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญหญิงนั้นคือเห็นปานนั้น. บทว่า อภิชฺชนฺตฺยา ได้แก่ ไม่แตก อธิบายว่า ก็แม้ถ้าแผ่นดินทั้งสิ้นของหญิงไม่ แตก หญิงนั้นก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินทั้งสิ้น ความเป็นหญิงหม้ายเป็นอาการ เตรียมตรมแม้ถึงอย่างนั้นทีเดียว. บทว่า สุขรา วต อิตฺถิโย ได้แก่ เป็น หญิงเด็ดแท้หนอ.

พระเจ้าสญชัยมหาราชได้ตรัสกะพระนางมัทรี ผู้งามทั่วองค์นั้นว่า แน่ะแม่มัทรีผู้มีลักษณะงาม บุตร ทั้งสองของแม่เหล่านี้คือพ่อชาลีและแม่กัญหาชินา ยังเด็กอยู่ แม่จงละไว้ไปแต่ตัว เราทั้งหลายจะเลี้ยง ดูหลานทั้งสองนั้นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาลี กณฺหาชินา จุโภ ได้แก่ บุตร ทั้งสองคือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา. บทว่า นิกฺขิป ความว่า แม่จงละ หลานทั้งสองนี้ไว้ไปแต่ตัวเถิด.

พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูล พระเจ้ากรุงสญชัยว่า ข้าแต่พระองค์ พ่อชาลีและแม่ กัณหาชินาทั้งสองเป็นลูกรักของหม่อมฉัน ลูกทั้งสอง นั้นจักยังหฤทัยของหม่อมฉันทั้งสองผู้มีชีวิตเศร้าโศก ให้รื่นรมย์ในป่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺยมฺหํ ความว่า พวกเหล่านั้นจักยัง หฤทัยของเราทั้งหลายให้รื่นรมย์ในป่านั้น. บทว่า ชีวิโสกินํ ความว่า จัก ยังหฤทัยของพวกเราผู้ยังไม่หายเศร้าโศก ให้รื่นรมย์.

 
  ข้อความที่ 170  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 653

พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญได้ตรัส พระนางมัทรีนั้นว่า เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าวสาลีที่ ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จักทำ อย่างไร.

เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อยปละซึ่ง เป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบไม้ จัก ทำอย่างไร.

เด็กทั้งสองเคยทรงภูษากาสีรัฐโขมรัฐและโกทุม พรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้าคากรอง จักทำอย่าไร.

เด็กทั้งสองเคยเสด็จไปด้วยคานหาม วอและรถ เมื่อต้องเสด็จไปด้วยพระบาทจักทำอย่างไร.

เด็กทั้งสองเคยบรรทมในตำหนักยอดไม่มีลม ลง ลิ่มชิดแล้ว เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้ จักทำอย่างไร.

เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรมทำด้วยขนแกะ ที่ ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมบนเครื่อง ลาดหญ้า จักทำอย่างไร.

เด็กทั้งสองเคยไล้ทาด้วยของหอม ทั้งกฤษณา และแก่นจันทน์ เมื่อต้องทรงธุลีละอองและโสโครก จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยมีผู้อยู่งานพัดด้วยจามรี และแพนหางนกยูง ดำรงอยู่ในความสุขต้องสัมผัส เหลือบและยุง จักทำอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 171  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 654

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สตปเล กํเส ได้แก่ ในถาดทองที่ทำ ด้วยทองหนักหนึ่งร้อยปละ. บทว่า โคนเกน จิตฺรสนฺถเต ได้แก่ ที่ปูลาด ด้วยผ้าโกเชาว์ดำและเครื่องลาดอันวิจิตรบนตั่งใหญ่. บทว่า จามรโมรหตฺเถหิ ความว่า มีตนอยู่งานพัดด้วยจามรทั้งหลายและด้วยแพนหางนกยูง.

เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นเจรจากันอยู่อย่างนี้แลราตรีก็สว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้น เจ้าพนักงานทั้งหลายนำรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว เทียมม้าสินธพ ๔ ตัวมาเทียบ ไว้แทบประตูวัง เพื่อพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีถวายบังคมพระสัสสุและ พระสสุระแล้ว อำลาสตรีที่เหลือทั้งหลาย พาพระชาลีพระกัณหาชินาเสด็จไป ก่อนพระเวสสันดรประทับอยู่บนรถที่นั่ง.

พระศาสดาเมื่อจะประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ ได้กราบทูล พระเจ้ากรุงสญชัยว่า ข้าแต่เทพเจ้าขอพระองค์อย่าทรง คร่ำครวญเลย และอย่าเสียพระหฤทัยเลย หม่อมฉัน ทั้งสองยังมีชีวิตเพียงใด ทารกทั้งสองก็จักเป็นสุข เพียงนั้น พระนางมัทรีผู้งามทั่วองค์ ครั้นกราบทูลคำ นี้แล้วเสด็จหลีกไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ ทรงพา พระโอรสพระธิดาเสด็จไปตามบรรดาที่พระเจ้าสีวีราช เสด็จ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิมคฺเคน ได้แก่ ตามมรรคาที่ พระเจ้าสีพีราชเสด็จนั่นแล. บทว่า อเนฺวสิ ได้แก่ เสด็จไปสู่ทางนั้น คือ เสด็จลงจากปราสาทขึ้นประทับรถที่นั่ง.

 
  ข้อความที่ 172  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 655

ลำดับนั้นพระราชาเวสสันดรบรมกษัตริย์ทรง บำเพ็ญทานแล้ว ถวายบังคมพระชนกและพระชนนี และทรงทำประทักษิณเสด็จขึ้นสู่รถที่นั่งเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว วิ่งเร็ว ทรงพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี เสด็จไปสู่เขาวงกต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโต ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน กาลที่พระนางมัทรีนั้นเสด็จขึ้นรถทันทีนั่นประทับอยู่ บทว่า ทตฺวาน ได้แก่ ทรงบำเพ็ญทานวันวาน. บทว่า กตฺวา จ นํ ปทกฺขิณํ ได้แก่ และทรง ทำประทักษิณ. บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต.

แต่นั้นพระราชาเวสสันดรเสด็จไปโดยตรงที่ มหาชนคอยเฝ้า ตรัสว่า เราทั้ง ๔ ขอลาไปละนะ ขอ ท่านทั้งหลายผู้เป็นญาติจงปราศจากโรคเถิด.

เนื้อความของคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นพระราชา เวสสันดรทรงขับรถที่นั่งไปในที่ที่มหาชนยืนอยู่ด้วยหวังว่าจักเห็นพระราชาเวส- สันดร เมื่อทรงลามหาชน ตรัสว่า พวกเราขอลาไปละนะ ขอญาติทั้งหลาย จงไม่มีโรคเถิด. บทว่า ตํ ในคาถานั้นเป็นเพียงนิบาต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาเวสสันดรตรัสกะญาติทั้งหลาย ตรัสเรียกญาติทั้งหลายว่า ท่านทั้ง หลาย คือว่า เราทั้งหลายไปละ ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุขปราศจากความ ทุกข์เถิด.

เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสเรียกมหาชนมาประทานโอวาทแก่เขาเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทจงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ดังนี้อย่างนี้แล้ว เสด็จไป พระนางผุสดีราชมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ลูกของเรามีจิต น้อมไปในทาน จงบำเพ็ญทาน จึงให้ส่งเกวียนทั้งหลายเต็มด้วยรัตนะ ๗

 
  ข้อความที่ 173  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 656

ประการ พร้อมด้วยอาภรณ์ทั้งหลายไปสองข้างทางเสด็จ ฝ่ายพระเวสสันดรก็ ทรงเปลื้องเครื่องประดับที่มีอยู่ในพระวรกาย พระราชทานแก่เหล่ายาจกผู้มาถึง แล้ว ๑๘ ครั้ง ได้พระราชทานสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมด พระองค์เสด็จออกจาก พระนครมีพระประสงค์จะกลับทอดพระเนตรราชธานี ครั้งนั้นอาศัยพระมนัส ของพระองค์ ปฐพีในที่มีประมาณเท่ารถที่นั่งก็แยกออกหมุนเหมือนจักรของ ช่างหม้อ ทำรถที่นั่งให้มีหน้าเฉพาะเชตุดรราชธานี พระองค์ได้ทอดพระเนตร สถานที่ประทับของพระชนกพระชนนี เหตุอัศจรรย์ทั้งหลายมีแผ่นดินไหว เป็นต้นได้มีแล้วด้วยการุญภาพนั้น.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระนคร ทรง กลับเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน อันมีขุนเขาสิเนรุและหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับก็กัมป- นาทหวาดหวั่นไหว.

ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเองแล้ว ตรัสพระคาถาเพื่อให้พระนางมัทรีทอดพระเนตรด้วยว่า

แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตร นั่น พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีพีราชผู้ประเสริฐ นั่นวัง ของฉันซึ่งพระราชธิดาประทาน ย่อมปรากฏเป็นภาพ ที่น่ารื่นรมย์ทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสาเมหิ ได้แก่ จงทอดพระเนตร.

ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ยังอำมาตย์ ๖ หมื่น ผู้สหชาติและ เหล่าชนอื่นๆ ให้กลับแล้ว ขับรถที่นั่งไปตรัสกะพระนางมัทรีว่า แน่ะพระน้อง

 
  ข้อความที่ 174  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 657

ผู้เจริญ ถ้ายาจกมาข้างหลัง แม่พึงคอยดูไว้ พระนางก็นั่งทอดพระเนตรดูอยู่. ครั้งนั้นมีพราหมณ์ ๔ คนมาไม่ทันรับสัตตสดกมหาทานของพระเวสสันดร จึง ไปสู่พระนคร ถามว่า พระเวสสันดรราชเสด็จไปไหน ครั้นได้ทราบว่า ทรง บริจาคทานเสด็จไปแล้ว จึงถามว่า พระองค์เสด็จไปเอาอะไรไปบ้าง ได้ทราบว่า เสด็จทรงรถไป จึงติดตามไปด้วยคิดว่า พวกเราจักทูลขอม้า ๔ ตัวกะพระองค์ ครั้งนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ทั้ง ๔ ตามมา จึงกราบทูล พระภัสดาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ยาจกทั้งหลายกำลังมา พระมหาสัตว์ก็ทรง หยุดรถพระที่นั่ง พราหมณ์ทั้ง ๔ คนเหล่านั้นมาทูลขอม้าทั้งหลายที่เทียนรถ พระมหาสัตว์ได้พระราชทานม้าทั้ง ๔ ตัวแก่พราหมณ์ ๔ คนเหล่านั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดรมา ได้ ทูลขอม้าทั้ง ๔ นั้นต่อพระองค์ พระองค์อันเหล่า พราหมณ์ขอแล้ว ก็พระราชทานม้า ๔ ตัว แก่พราหมณ์ ๔ คน.

ก็เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานม้า ๔ ตัวไปแล้ว งอนรถพระที่นั่งได้ตั้ง อยู่ในอากาศนั่นเอง ครั้งนั้น พอพวกพราหมณ์ไปแล้วเท่านั้น เทวบุตร ๔ องค์ จำแลงกายเป็นละมั่งทองมารองรับงอนรถที่นั่งลากไป พระมหาสัตว์ทรง ทราบว่าละมั่งทั้ง ๔ นั้น เป็นเทพบุตร จึงตรัสคาถานี้ว่า

แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตรมฤค ทั้ง ๔ มีเพศเป็นละมั่ง เป็นเหมือนม้าที่ฝึกมาดีแล้วนำ เราไป ย่อมปรากฏเป็นภาพที่งดงามทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณสฺสา วหนฺติ มํ ความว่า เป็นราวกะม้าที่ศึกษาดีแล้วนำเราไป.

 
  ข้อความที่ 175  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 658

ครั้งนั้น ยังมีพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอรถที่นั่งต่อพระเวสสันดร ผู้กำลังเสด็จไปอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์จึงยังพระโอรสลพระธิดาและพระราชเทวี ให้เสด็จลงแล้ว พระราชทานรถแก่พราหมณ์ ก็ครั้นเมื่อพระมหาสัตว์พระราช ทานรถที่นั่งแล้ว เทวบุตรทั้งหลายได้อันตรธานหายไป.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความที่พระโพธิสัตว์ทรงบริจาครถไป แล้ว จึงตรัสว่า

ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นนับเป็นที่ ๕ ที่มาทูลขอ รถที่นั่งต่อพระโพธิสัตว์ในป่านี้ พระองค์ก็ประทาน มอบรถนั้นแก่พราหมณ์นั้น และพระหฤทัยของพระองค์มิได้ย่อหย่อนเลย ต่อนั้น พระราชาเวสสันดรก็ ยังคนของพระองค์ให้เสด็จลงจากรถ ทรงยินดีมอบรถ ม้าให้แก้พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเถตฺถ ได้แก่ ครั้งนั้น ในป่านี้. บทว่า น จสฺส ปหโค มโน ความว่า และพระหฤทัยของพระเวสสันดร นั้นก็มิได้ย่อหย่อนเลย. บทว่า อสฺสาสยิ ความว่า ทรงยินดีมอบให้.

จำเดิมแต่นั้น กษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาท. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีพระดำรัสแก่พระนางมัทรีว่า

แน่ะแม่มัทรี แม่จงอุ้มกัณหาชินา เพราะเธอเป็น น้อง เบา พี่จักอุ้มพ่อชาลี เพราะเธอเป็นพี่ หนัก.

ก็แลครั้นตรัสฉะนี้แล้ว กษัตริย์ทั้งสองก็อุ้มพระโอรสพระธิดาเสด็จไป

 
  ข้อความที่ 176  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 659

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชาเวสสันดรทรงอุ้มพระกุมารชาลี พระมัทรีราชบุตรีทรงอุ้มพระกุมารกัณหาชินา ต่างทรง บรรเทิงตรัสปิยวาจากะกันและกันเสด็จไป.

จบทานกัณฑ์

วนปเวสนกัณฑ์

กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ มีพระเวสสันดรเป็นต้นทอดพระเนตรเห็นคน ทั้งหลายที่เดินสวนทางมา จึงตรัสถามว่า เขาวงกตอยู่ที่ไหน คนทั้งหลายทูล ตอบว่ายังไกล

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทาง หรือเดินสวน ทางมา เราจะถามมรรคากะพวกนั้นว่า เขาวงกตอยู่ที่ ไหน คนพวกนั้น เห็นเราทั้งหลายในป่านั้น จะพากัน คร่ำครวญน่าสงสาร พวกเขาแจ้งให้ทราบอย่างเป็น ทุกข์ว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล.

พระชาลีและพระกัณหาชินาได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ทรงผลต่างๆ สองข้างทางก็ทรงกันแสง ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ต้นไม้ที่ทรงผลก็ น้อมลงมาสัมผัสพระหัตถ์ แต่นั้นพระเวสสันดรก็ทรงเลือกเก็บผลาผลที่สุกดี ประทานแก่สองกุมารกุมารีนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรง ทราบว่าเป็นเหตุอัศจรรย์.

 
  ข้อความที่ 177  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 660

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระราชกุมารกุมารีทอดพระเนตรเห็นพฤกษชาติ เผล็ดผลในป่าใหญ่ ก็ทรงกันแสงเพราะเหตุอยากเสวย ผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้ทั้งหลายเต็มไปในป่า ประหนึ่ง เห็นพระราชกุมารกุมารีทรงกันแสง ก็ร้อนใจน้อม กิ่งลงมาถึงพระราชกุมารกุมารีเอง พระนางมัทรีราชเทวีผู้งามทั่วองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์นี้อันไม่ เคยมีมา ทำให้ขนพองสยองเกล้า ก็ยังสาธุการให้เป็นไป ความอัศจรรย์ไม่เคยมีทำให้ขนพองสยองเกล้ามี ในโลก พฤกษชาติทั้งหลายน้อมลงมาเอง ด้วยเดชา นุภาพแห่งพระเวสสันดร.

ตั้งแต่เชตุดรราชธานีถึงภูเขาชื่อสุวรรณคิรีตาละ ๕ โยชน์ ตั้งแต่สุวรรณ คิรีตาละถึงแม่น้ำชื่อโกนติมารา ๕ โยชน์ ตั้งแต่แม่น้ำโกนติมาราถึงภูเขาชื่อ อัญชนคิรี ๕ โยชน์ ตั้งแต่ภูเขาอัญชนคิรีถึงบ้านพราหมณ์ชื่อตุณณวิถนาลิทัณฑ์ ๕ โยชน์ ตั้งแต่บ้านพราหมณ์ตุณณวิถนาลิทัณฑ์ถึงมาตุลนคร ๑๐ โยชน์ รวม ตั้งแต่เชตุดรนครถึงแคว้นนั้นเป็น ๓๐ โยชน์ เทวดาย่นมรรคานั้น กษัตริย์ ทั้ง ๔ พระองค์จึงเสด็จถึงมาตุลนครในวันเดียวเท่านั้น.

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เทวดาทั้งหลายย่นมรรคาด้วยอนุเคราะห์แก่พระราชกุมารกุมารี กษัตริย์ทั้ง ๔ ถึงเจตรัฐโดยวันที่เสด็จ ออกนั้นเอง.

ก็แลกษัตริย์ทั้ง ๔ เมื่อเสด็จไป ได้เสด็จดำเนินตั้งแต่เวลาเสวยเช้า แล้ว ลุถึงมาตุลนครในเจตรัฐเวลาเย็น

 
  ข้อความที่ 178  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 661

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

กษัตริย์ ๔ พระองค์เสด็จไปสิ้นทางไกลถึงเจตรัฐ ซึ่งเป็นชนบทมั่งคั่ง มีความสุข มีมังสะ สุรา และ ข้าวมาก.

กาลนั้น มีเจ้าครองอยู่ในมาตุลนคร ๖ หมื่นองค์. พระมหาสัตว์ไม่ เสด็จเข้าภายในนคร ประทับพักอยู่ที่ศาลาใกล้ประตูเมือง ครั้งนั้นพระนางมัทรี ชำระเช็ดธุลีที่พระบาทของพระมหาสัตว์ แล้วถวายอยู่งานนวดพระบาท ทรง คิดว่า เราจักยังประชาชนให้รู้ความที่พระเวสสันดรเสด็จมา จึงเสด็จออกจาก ศาลา ประทับยืนอยู่ที่ประตูศาลาตรงทางประตูเมือง เพราะเหตุนั้น หญิงทั้ง หลายผู้เข้าสู่เมืองและออกจากเมือง ก็ได้เห็นพระนางมัทรี ต่างเข้าห้อมล้อม พระองค์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

สตรีชาวเจตรัฐเห็นพระนางมัทรีผู้มีลักษณะเสด็จ มา ก็ปริวิตกว่า พระแม่เจ้าผู้สุขุมาลชาตินี้เสด็จมาด้วย พระบาท พระนางเคยเสด็จไปไหนๆ ด้วยยานที่หาม หรือพระวอและรถที่นั่ง วันนี้พระนางมัทรีเสด็จดำเนิน ไปในป่าด้วยพระบาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขณมาคตํ ความว่า พระนางมัทรี ผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวงเสด็จมา. บทว่า ปริธาวติ ความว่า พระนาง เป็นเจ้าหญิงสุขุมาลชาติอย่างนี้หนอ ต้องเสด็จด้วยพระบาทเที่ยวไป. บทว่า ปริยายิตฺวา ความว่า เสด็จเที่ยวไปในนครเชตุดรในกาลก่อน. บทว่า สิวิกาย ได้แก่ ด้วยวอทอง.

 
  ข้อความที่ 179  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 662

มหาชนเห็นพระนางมัทรี พระเวสสันดร และพระโอรสทั้งสอง พระองค์ เสด็จมาด้วยความเป็นผู้น่าอนาถ จึงไปแจ้งแก่พระยาเจตราชทั้งหลาย

พระยาเจตราชทั้ง ๖ หมื่นก็กันแสงร่ำพิไรมาเฝ้าพระเวสสันดร พระศาสดาเมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระยาเจตราทั้งหลายเห็นพระเวสสันดร ก็ร้อง ให้เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงพระสำราญ ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ พระราชบิดาของพระองค์หาพระโรคาพาธมิได้แลหรือ ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พลนิกายของพระองค์อยู่ ที่ไหน รถพระที่นั่งของพระองค์อยู่ที่ไหน พระองค์ ไม่มีม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาทางไกลถูก ข้าศึกย่ำยีกระมัง จึงเสด็จมาถึงประเทศนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นแต่ไกลทีเดียว. บทว่า เจตปาโมกฺขา ได้แก่ กษัตริย์เจ ราชทั้งหลาย. บทว่า อุปาคมุํ ได้แก่ เข้าไปเฝ้า. บทว่า กุสลํ ความไม่มีโรค. บทว่า อนามยํ ได้แก่ ความไม่มีทุกข์. บทว่า โก เต พลํ ความว่า กองทหารของพระองค์อยู่ที่ไหน. บทว่า รถมณฺฑลํ ความว่า เหล่ากษัตริย์เจตราชทูลถามว่า รถซึ่งประดับแล้วที่พระองค์เสด็จมานั้น อยู่ที่ไหน. บทว่า อนสฺสโก ได้ แก่ ไม่มีม้าทรงเลย. บทว่า อรถโก ได้แก่ ไม่มีรถทรง. บทว่า ทีฆมทฺ- ธานมาคโต ความว่า พระองค์เสด็จมาทางไกล. บทว่า ปกโต ได้แก่ ถูกข้าศึกครอบงำย่ำยี.

 
  ข้อความที่ 180  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 663

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เมื่อจะตรัสถึงเหตุการณ์ที่พระองค์เสด็จมา แก่ พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้น จึงตรัสว่า

แน่ะสหายทั้งหลาย เราไม่มีโรคาพาธ เรามี ความสำราญ อนึ่ง พระราชบิดาของเราก็ทรงปราศ- จากพระโรคาพาธ และชาวสีพีก็สุขสำราญดี แต่เพราะ เราให้ช่างซึ่งมีงาดุจงอนไถ เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิ แห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่วสรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลือง ซับมัน อาจย่ำยีศัตรูได้ มี งางาม พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี มีกายสีขาวเช่นกับเขา ไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมด ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยานอันประเสริฐ เป็น ช้างพระที่นั่ง ให้เป็นทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ คน เพราะเหตุนั้น ชาวสีพีพากันขัดเคืองเรา และพระราช บิดาก็กริ้วขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต แน่ะสหาย ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเราที่ จะอยู่ในป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมึ เม ความว่า ชาวสีพีทั้งหลาย โกรธเราในเพราะเหตุนั้น. บทว่า อุปหรโตมโน ความว่า พระราชบิดาก็ กริ้ว คือทรงขัดเคืองด้วย จึงทรงขับไล่เราจากแว่นแคว้น. บทว่า ยตฺถ ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า พวกเราควรอยู่ในป่าใด ท่านทั้งหลายรู้โอกาส เป็นที่อยู่ของพวกเราในป่านั้น.

ลำดับนั้น พระยาเจตราชทั้งหลายทูลพระเวสสันดรว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เสด็จ มาแต่ไกลก็เหมือนใกล้พระองค์ผู้เป็นอิสระเสด็จมา

 
  ข้อความที่ 181  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 664

ถึงแล้ว สิ่งใดมีอยู่ในประเทศนี้ โปรดรับสั่งให้ทราบ เถิด ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์เสวยข้าวสุกแห่ง ข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ ทั้งผัก เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อ พระองค์เสด็จมาเป็นแขกของข้าพระบาททั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเวทย ความว่า ข้าพระบาททั้งหลาย ขอมอบถวายทุกสิ่งที่พระองค์ตรัส. บทว่า ภึสํ ได้แก่ เหง้าบัว คือเหง้า อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า

สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้นเป็นอันเรา รับแล้ว บรรณาการเป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้ว ทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต พวกท่านรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเราที่จะอยู่ในป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิคฺคหิตํ ความว่า ทุกสิ่งนั้นทีท่าน ทั้งหลายให้แล้ว ก็เป็นอันเรารับไว้แล้วเทียว. บทว่า สพฺพสฺส อคฺฆิยํ กตํ ความว่า บรรณาการคือของมอบให้เป็นอันท่านทั้งหลายการทำแล้วแก่เรา. บทว่า อวรุทฺธสิ มํ ราชา ความว่า ก็พระราชบิดาทรงลับไล่คือเนรเทศ เราจากแว่นแคว้น เพราะฉะนั้น เราจักไปเขาวงกตเท่านั้น ท่านทั้งหลายจงรู้ สถานที่อยู่ในป่าของเรานั้น.

พระยาเจตราชทั้งหลายเหล่านั้นทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอเชิญเสด็จประทับ อยู่ ณ เจตรัฐนี้ จนกว่าพระยาเจตราชทั้งหลายไปเฝ้า พระราชบิดาทูลขอโทษ. ให้พระราชบิดาทรงเป็นผู้ยัง

 
  ข้อความที่ 182  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 665

แคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ทรงทราบว่า พระองค์หา ความผิดมิได้ เพราะเหตุนั้น พระยาเจตราชทั้งหลาย จะเป็นผู้อิ่มใจได้ที่พึ่งแล้ว รักษาพระองค์แวดล้อมไป ข้าแต่บรมกษัตริย์ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รญฺโ สนฺติก ยาจิตุํ ความว่า จัก ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อทูลขอโทษ. บทว่า นิชฺฌาเปตุํ ได้แก่ เพื่อให้ทรง ทราบว่าพระองค์หาความผิดมิได้. บทว่า ลทฺธปจฺจยา ได้แก่ ได้ที่พึ่งแล้ว. บทว่า คจฺฉนฺติ ได้แก่ จักไป.

พระหาสัตว์ตรัสว่า

ท่านทั้งหลายอย่าชอบใจไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลขอโทษ และเพื่อให้พระองค์ทรงทราบว่าเราไม่มี ความผิดเลย เพราะว่าพระองค์มิได้เป็นอิสระในเรื่อง นั้น แต่จริงชาวสีพี กองพล และชาวนิคมเหล่าใด ขัดเคืองแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็ปรารถนาจะกำจัด พระราชบิดาเพราะเหตุแห่งเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ความว่า แม้พระราชบิดาก็มิได้ เป็นใหญ่ในการที่จะให้ว่าเรามิได้มีความผิด. บทว่า อจฺจุคฺคตา ได้แก่ ขัด เคืองยิ่ง. บทว่า พลคฺคา ได้แก่ พลนิกาย คือแม่ทัพ. บทว่า ปธํเสตุํ ได้แก่ เพื่อนำออกจากราชสมบัติ. บทว่า ราชานํ ได้แก่ แม้พระราชบิดา.

พระยาเจตราชเหล่านั้นทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ยังแคว้นให้เจริญ ถ้าพฤติการณ์ นั้นเป็นไปในรัฐนี้ ชาวเจตรัฐขอถวายตัวเป็นบริวาร

 
  ข้อความที่ 183  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 666

เชิญเสด็จครองราชสมบัติในเจตรัฐนี้ทีเดียว รัฐนี้ก็มั่ง คั่งสมบูรณ์ ชนบทก็เพียบพูนกว้างใหญ่ ขอพระองค์ ทรงปลงพระหฤทัยปกครองราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ เอสา ปวตฺเตตฺถ ความว่า ถ้าในรัฐนี้มีพฤติการณ์อย่างนี้. บทว่า รชฺชสฺสมนุสาสิตุํ ได้แก่ เพื่อครอบ ครองราชสมบัติ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ.

ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า

ดูก่อนพระยาเจตบุตรทั้งหลาย ความพอใจหรือ ความคิดเพื่อครองราชสมบัติ ไม่มีแก่เราผู้อันพระชนกนาถ เนรเทศจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจงฟัง เรา ชาวสีพี กองพล และชาวนิคมทั้งหลายคงจะไม่ ยินดีว่า พระยาเจตราชทั้งหลาย อภิเษกเราผู้ถูก เนรเทศจากแว่นแคว้น.

ความไม่ปรองดอง จะพึงมีแก่พวกท่าน เพราะ เราเป็นตัวการสำคัญ อนึ่งความบาดหมางและการ ทะเลาะกับชาวสีพี เราไม่ชอบใจ ใช่แต่เท่านั้น ความ บาดหมางพึงรุนแรงขึ้น สงครามอันร้ายกาจก็อาจมีได้.

คนเป็นอันมากพึงฆ่าฟันกันเอง เพราะเหตุแห่ง เราผู้เดียว สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้น ทั้งหมดเป็นอันเรารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอันท่าน ทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่ เรา เราจักไปเขาวงกต ท่านทั้งหลายรู้โอกาสแห่งที่อยู่ ของพวกเราที่จะอยู่ในป่า.

 
  ข้อความที่ 184  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 667

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เจตา รชฺเชภิเสจยุํ ความว่า พวก ชาวสีพีเหล่านั้นรู้ว่า ชาวเจตรัฐอภิเษกพระเวสสันดรในราชสมบัติ คงจะไม่ ชอบพวกท่าน. บทว่า อสมฺโมทิยํ ได้แก่ ความไม่ปรองดอง. บทว่า อสฺส ได้แก่ ภเวยฺย ความว่า จักเป็น. บทว่า อถสฺส ความว่า คราว นั้นพวกท่านจักทะเลาะกันเพราะเราคนเดียวเป็นเหตุ.

ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์แม้พวกพระยาเจตราชทูลวิง วอนโดยอเนกปริยาย ก็ไม่ทรงปรารถนาราชสมบัติ ครั้งนั้นพระยาเจตราชทั้ง หลายได้ทำสักการะใหญ่แด่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ไม่ปรารถนาจะเสด็จเข้า ภายในพระนคร ครั้งนั้นพวกพระยาเจตราชจึงตกแต่งศาลานั้น กั้นพระวิสูตร ตั้งพระแท่นบรรทม ทั้งหมดช่วยกันแวดล้อมรักษา พระเวสสันดรพักแรมอยู่ ๑ ราตรี เหล่าพระยาเจตราชเหล่านั้นสงเคราะห์รักษา บรรทมที่ศาลา รุ่งขึ้น สรงน้ำแต่เช้า เสวยโภชนาหารมีรสเลิศต่างๆ พระยาเจตราชเหล่านั้นแวดล้อม เสด็จออกจากศาลา พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้นโดยเสด็จด้วยพระเวสสันดร สิ้นระยะทาง ๑๕ โยชน์ หยุดอยู่ที่ประตูป่า เมื่อจะทูลระยะทางข้างหน้าอีก ๑๕ โยชน์ จึงกล่าวว่า

เชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกราบทูล พระองค์ให้ทรงทราบ อย่างที่คนฉลาดจะกราบทูล เสลบรรพตซึ่งเป็นที่สงบของปวงราชฤาษีผู้มีการบูชา เพลิงเป็นวัตร มีจิตตั้งมั่น โน่น ชื่อว่า คันธมาทน์ พระองค์จะประทับกับพระโอรสทั้งสองและพระมเหสี.

พระยาเจตราชทั้งหลายร้องไห้น้ำตาไหลอาบหน้า พร่ำทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์บ่ายพระพักตร์

 
  ข้อความที่ 185  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 668

ตรงต่อทิศอุดรเสด็จไปจากที่นี้โดยบรรดาใด ถัดนั้น พระองค์จักทอดพระเนตรเห็นวิปุลบรรพตอันเกลื่อน ไปด้วยหมู่ไม้ต่างๆ มีเงาเย็นน่ารื่นรมย์โดยบรรดานั้น. ถัดนั้น พระองค์เสด็จพ้นวิปุลบรรพตนั้นแล้ว จักทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำเกตุมดี ลึกเป็นน้ำไหลมา แต่ซอกเขา ดาดาษไปด้วยมัจฉาชาติ แลมีท่าอันดี น้ำ มากจงสรงเสวยที่แม่น้ำนั้น ให้พระโอรสพระธิดาและ พระมเหสีทรงยินดี.

ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ไทร มีผลพิเศษรสหวาน ซึ่งเกิดอยู่ที่ภูเขาน่ารื่นรมย์ มีเงา เย็นน่ายินดี.

ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพต ชื่อนาลิกะ เกลื่อนไปด้วยหมู่นกต่างๆ แล้วไปด้วยศิลา เกลื่อนไปด้วยหมู่กินนร มีสระชื่อมุจลินท์อยู่ด้านทิศ อีสานแห่งนาลิกบรรพต ปกคลุมด้วยบุณฑริกและ อุบลขาวมีประการต่างๆ และดอกไม่มีกลิ่นหอมหวล.

ถัดนั้น พระองค์จะเสด็จถึงวนประเทศคล้าย หมอ มีหญ้าแพรกเขียวอยู่เป็นนิตย์ แล้วเสด็จหยั่ง ลงสู่ไพรสณฑ์ ซึ่งปกคลุมด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้ง สอง ดังราชสีห์เพ่งเหยื่อหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์ฉะนั้น ฝูง นกในหมู่ไม้ซึ่งมีดอกบานแล้วตามฤดูกาลนั้นมีมากมีสี ต่างๆ ร้องกลมกล่อมอื้ออึง ต่างร้องประสานเสียงกัน.

 
  ข้อความที่ 186  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 669

ถัดนั้น พระองค์จักเสด็จลงซอกเขาอันเป็นทาง กันดารเดินลำบาก เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย จะได้ทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีอันดาดาษด้วย สลอดน้ำและกุ่มบก มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น มีท่าเรียบราบ มีน้ำมากเปี่ยมอยู่เสมอ เป็นสระสี่เหลี่ยม มีน้ำจืดดีไม่มีกลิ่นเหม็น พระองค์จงสร้างบรรณศาลา ด้านทิศอีสานแห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้าง บรรณศาลาสำเร็จแล้ว ประทับสำราญพระอิริยาบถ ประพฤติแสวงหามูลผลาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชิสิ ได้แก่ ผู้ที่เป็นพระราชาแล้ว บวช. บทว่า สมาหิตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พระยาเจตราชทั้งหลาย เมื่อยกหัตถ์ขวาขึ้นทูลบอกว่า เชิญพระองค์เสด็จทางเชิงบรรพตนี้ กราบทูล ด้วยบทว่า เอส นี้. บทว่า อจฺฉสิ ได้แก่ จักประทับอยู่. บทว่า อาปกํ ได้แก่ แม่น้ำเป็นทางน้ำไหล คือนำน้ำมา. บทว่า คิริคพฺภรํ ได้แก่ ไหล มาแต่ช่องเขาทั้งหลาย. บทว่า มธุวิปฺผลํ ได้แก่ มีผลอร่อย. บทว่า รมฺมเก ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปุริสายุตํ ได้แก่ ประกอบ คือ เกลื่อนไปด้วยกินนรทั้งหลาย. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า ประกอบ ด้วยอุบลชาวและดอกไม้มีกลิ่นหอมมีประการต่างๆ. บทว่า สีโหวามิสเปกฺขีว ความว่า ดุจราชสีห์ต้องการเหยื่อ. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงกลม กล่อม. บทว่า วคฺคู ได้แก่ มีเสียงไพเราะ. บทว่า กูชนฺตมุปกูชนฺติ ความว่า เข้าไปร้องภายหลังร่วมกะนกที่ร้องอยู่ก่อน. บทว่า อุตุสมฺปุปฺผิเต ทุเม ความว่า แอบที่ต้นไม้มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งเสียงร้องพร้อมกะนกที

 
  ข้อความที่ 187  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 670

ส่งเสียงร้องอยู่. บทว่า โส อทฺทส ความว่า พระองค์นั้นจักได้ทอดพระเนตร. บทว่า กรญฺชกกุธายุตํ ความว่า เกลื่อนไปด้วยต้นสลอดน้ำและต้นกุ่ม ทั้งหลาย. บทว่า อปฺปฏิคนฺธิยํ ได้แก่ ปราศจากกลิ่นเหม็น เต็มเปี่ยม ด้วยน้ำหวานดาดาษด้วยปทุมและอุบลเป็นต้นมีประการต่างๆ บทว่า ปณฺณ สาลํ อมาปย ความว่า พึงสร้างบรรณศาลา. บทว่า อมาเปตฺวา ได้แก่ ครั้น สร้างแล้ว. บทว่า อุญฺฉาจริยาย อีหถ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลำดับ นั้นพระองค์พึงดำรงพระชนมชีพ ด้วยการเที่ยวแสวงหา เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เถิด คือพึงเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่เถิด.

พระยาเจตราชทั้งหลายกราบทูลบรรดา ๑๕ โยชน์ แด่พระเวสสันดร อย่างนี้แล้วส่งเสด็จ คิดว่าปัจจามิตรคนใดคนหนึ่งอย่าพึงได้โอกาสประทุษร้าย เลย เพื่อจะบรรเทาภยันตรายแห่งพระเวสสันดรเสีย จึงให้เรียกพรานป่าคน หนึ่งชื่อเจตบุตร เป็นคนฉลาดศึกษาดีแล้วมาสั่งว่า เจ้าจงกำหนดตรวจตราคน ทั้งหลายที่ไปๆ มาๆ สั่งฉะนี้แล้วให้อยู่รักษาประตูป่า แล้วกลับไปสู่นคร ของตน.

ฝ่ายพระเวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและพระราช เทวี เสด็จถึงเขาคันธมาทน์ประทับยับยั้งอยู่ ณ ที่นั่นตลอดวัน แต่นั่นบ่ายพระ พักตร์ทิศอุดร เสด็จลุถึงเชิงเขาวิปุลบรรพต ประทับนั่งที่ฝั่งเกตุมดีนที เสวย เนื้อมีรสอร่อยซึ่งนายพรานป่าผู้หนึ่งถวาย พระราชทานเข็มทองคำแก่นาย พรานนั้น ทรงสรงสนานที่แม่น้ำนั้น มีความกระวนกระวายสงบ เสด็จขึ้นจาก แม่น้ำ ประทับนั่งณร่มไม้นิโครธที่ตั้งอยู่ยอดสานุบรรพตหน่อยหนึ่ง เสวยผล นิโครธ ทรงลุกขึ้นเสด็จไปถึงนาลิกบรรพต เมื่อเสด็จต่อไปก็ถึงสระมุจลินท์ เสด็จไปตามฝั่งสระถึงมุมด้านทิศอีสาน เสด็จเข้าสู่ชัฎไพรโดยทางเดินได้คน

 
  ข้อความที่ 188  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 671

เดียว ล่วงที่นั้นก็บรรลุถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ข้างหน้าของภูเขาทางกันดาร เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย.

ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะ ทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงดำริว่า พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่ หิมวันตประเทศ พระองค์ควรได้ที่เป็นที่ประทับ จึงตรัสเรียก พระวิสสุกรรม เทพบุตรมาสั่งว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปสร้างอาศรมบทในสถานที่อันเป็นรมณีย์ ณ เวิ้งเขาวงกตแล้วกลับมา สั่งฉะนี้แล้วทรงส่งพระวิสสุกรรมไป พระวิสสุ- กรรมรับเทวบัญชาว่า สาธุ แล้วลงจากเทวโลกไป ณ ที่นั้น เนรมิตบรรณศาลา ๒ หลัง ที่จงกรม ๒ แห่ง และที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน แล้วให้มีกอไม้อัน วิจิตรด้วยดอกต่างๆ และดงกล้วย ในสถานที่นั้นๆ แล้วตกแต่งบรรพชิต บริขารทั้งปวง จารึกอักษรไว้ว่าท่านผู้หนึ่งผู้ใดใคร่จะบวช ก็จงใช้บริขาร เหล่านั้น. แล้วห้ามกันเสียซึ่งเหล่าอมนุษย์และหมู่เนื้อหมู่นกที่มีเสียงน่ากลัว แล้ว กลับที่อยู่ของตน.

ฝ่ายพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นทางเดินคนเดียว ทรงกำหนดว่า จักมีสถานที่อยู่ของพวกบรรพชิต จึงให้พระนางมัทรีและพระราชโอรสธิดาพัก อยู่ที่ทวารอาศรมบท พระองค์เองเสด็จเข้าสู่อาศรมบททอดพระเนตรเห็นอักษร ทั้งหลาย ก็ทรงทราบความที่ท้าวสักกะประทาน ด้วยเข้าพระทัยว่า ท้าวสักกะ ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว จึงเปิดทวารบรรณศาลาเสด็จเข้าไป ทรงเปลื้อง พระแสงขรรค์และพระแสงศรที่พระภูษา ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาด หนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎาทรงถือเพศฤาษี ทรงจับธารพระกร เสด็จออกจากบรรณศาลา ยังสิริแห่งบรรพชิตให้ตั้งขึ้นพร้อม ทรงเปล่งอุทาน ว่า โอเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เราได้ถึงบรรพชาแล้ว เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม เสด็จจงกรมไปมา แล้วเสด็จไปสำนักพระราชโอรสธิดาและพระราชเทวีด้วย ความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ฝ่ายพระนางมัทรีเทวีเมื่อทอดพระเนตร

 
  ข้อความที่ 189  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 672

เห็นก็ทรงจำได้ ทรงหมอบลงที่พระบาทแห่งพระมหาสัตว์ ทรงกราบแล้วทรง กันแสงเข้าสู่อาศรมบทกับด้วยพระมหาสัตว์ แล้วไปสู่บรรณศาลาของพระนาง ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาดหนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎา ทรงถือ เพศเป็นดาบสินี ภายหลังให้พระโอรสพระธิดาเป็นดาบสกุมารดาบสินีกุมารี กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ที่เวิ้งแห่งคีรีวงกต ครั้งนั้นพระนางมัทรีทูล ขอพรแต่พระเวสสันดรว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่ต้องเสด็จไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาผลไม้ จงเสด็จอยู่ ณ บรรณศาลากับพระราชโอรสและพระราชธิดา หม่อมฉันจะนำผลาผลมาถวาย.

จำเดิมแต่นั้นมา พระนางนำผลาผลมาแต่ป่าบำรุงปฏิบัติพระราชสวามี และพระราชโอรสพระราชธิดา ฝ่ายพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ก็ทรงขอพรกะ พระนางมัทรีว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้เราทั้งสองชื่อว่าเป็น บรรพชิตแล้ว ขึ้นชื่อว่าหญิงเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์ ตั้งแต่นี้ไป เธออย่ามาสู่ สำนักฉันในเวลาไม่สมควร พระนางทรงรับว่าสาธุ แม้เหล่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งปวง ในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ ได้เฉพาะซึ่งเมตตาจิตต่อกันและกัน ด้วยอานุภาพแห่ง เมตตาของพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีเสด็จอุฏฐาการแต่เช้าตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ แล้วนำน้ำบ้วนพระโอฐ น้ำสรงพระพักตร์มา ถวายไม้ชำระพระทนต์ กวาด อาศรมบท ให้พระโอรสพระธิดาทั้งสองอยู่ในสำนักพระชนก แล้วทรงถือ กระเช้า เสียมขอเสด็จเข้าไปสู่ป่า หามูลผลาผลในป่าให้เต็มกระเช้า เสด็จกลับ จากป่าในเวลาเย็น เก็บงำผลาผลไว้ในบรรณศาลาแล้วสรงน้ำ และให้พระโอรสพระธิดาสรง ครั้งนั้นกษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ประทับนั่งเสวยผลาผลแทบ ทวารบรรณศาลา แต่นั้นพระนางมัทรีพระชาลีและพระกัณหาชินาไปสู่ บรรณศาลา กษัตริย์ทั้ง ๔ ประทับอยู่ ณ เวิ้งเขาวงกตสิ้น ๗ เดือน โดย ทำนองนี้แล ด้วยประการฉะนี้.

จบวนปเวสนกัณฑ์

 
  ข้อความที่ 190  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 673

ชูชกบรรพ

กาลนั้นมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ชูชก เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อ ทุนนวิฏฐะ ใน กาลิงครัฐ เที่ยวภิกขาจารได้ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ฝากไว้ ที่สกุลพราหมณ์แห่งหนึ่งแล้วไปเพื่อประโยชน์แสวงหาทรัพย์อีก เมื่อชูชกไป ช้านาน สกุลพราหมณ์นั้นก็ใช้กหาปณะเสียหมด ภายหลังชูชกกลับมาทวง ก็ ไม่สามารถจะให้ทรัพย์นั้นจึงยกธิดาชื่อนางอมิตตตาปนาให้ชูชก ชูชกจึงพานาง อมิตตตาปนาไปอยู่บ้านทุนนวิฏฐพราหมณ์คามในกาลิงครัฐ นางอมิตตตาปนา ได้ปฏิบัติพราหมณ์โดยชอบ.

ครั้งนั้น พวกพราหมณ์หนุ่มๆ เหล่าอื่นเห็นอาจารสมบัติของนาง จึงคุกคามภรรยาของตนๆ ว่า นางอมิตตตาปนานี้ปฏิบัติพราหมณ์ชราโดยชอบ พวกเจ้าทำไมประมาทต่อเราทั้งหลาย ภรรยาพราหมณ์เหล่านั้นจึงคิดว่า พวก เราจักยังนางอมิตตตาปนานี้ให้หนีไปเสียจากบ้านนี้ คิดฉะนี้แล้วจึงไปประชุม กันด่านางอมิตตตาปนาที่ท่าน้ำเป็นต้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชูชกมีปกติอยู่ในกาลิงครัฐ ภรรยาสาวของพราหมณ์นั้นชื่ออมิตตตาปนา.

นางพราหมณีเหล่านั้นในหมู่บ้านนั้น ไปตักน้ำที่ ท่าน้ำ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกันมาประชุมกันกล่าว บริภาษนางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางอมิตตตาปนา บิดามารดาของเจ้า เมื่อเจ้ายังเป็นสาวอยู่อย่างนี้ ยัง มอบตัวเจ้าให้แก่ชูชกพราหมณ์แก่ได้ พวกญาติของ เจ้าผู้มอบตัวเจ้าแก่พราหมณ์แก่ ทั้งที่เจ้ายังเป็นสาวอยู่

 
  ข้อความที่ 191  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 674

อย่างนี้ เขาอยู่ในที่ลับปรึกษากันถึงเรื่องไม่เป็นประโยชน์เรื่องทำชั่ว เรื่องลามก เรื่องไม่ยังใจให้เอิบอาบ เจ้าอยู่กับผัวแก่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ เจ้าอยู่กับผัวแก่ เจ้าตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ บิดามารดาของเจ้าคงหาชาย อื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวอยู่อย่างนี้ ให้พราหมณ์แก่ เจ้าคงจัดบูชายัญไว้ไม่ดี ในดิถีที่ ๙ คง จักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้ เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์ มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ใน โลกเป็นแน่ จึงได้มาอยู่ในเรือนพราหมณ์แก่แต่ยังเป็น สาวอยู่อย่างนี้ ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ ถูกแทงด้วยหอก ไม่เป็นทุกข์ การที่เห็นผัวแก่นั้นแล เป็นความทุกข์ ด้วย เป็นความร้ายกาจด้วย การเล่นหัว การรื่นรมย์ ย่อมไม่มีกับผัวแก่การเจรจาปราศรัยก็ไม่มี แม้การ กระซิกกระซี้ก็ไม่งาม เมื่อใด ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอก กันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้นความเศร้าโศกทุกอย่างที่เสียด แทงหัวใจอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้ายังเป็นสาวรูปสวย พวกชายปรารถนายิ่งนัก เจ้าจงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติ เถิด คนแก่จักให้เจ้ารื่นรมย์ได้อย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า วาสี กลิงฺเคสุ ความว่า เป็นชาวบ้านพราหมณ์ทุนนวิฏฐะแคว้นกาลิงครัฐ. บทว่า ตา นํ ตตฺถ คตาโวจุํ ความว่า หญิงในบ้านนั้นเหล่านั้นไปตักน้ำที่ท่าน้ำ ได้กล่าวกะนางอมิตตตาปนานั้น. บทว่า ถิโย นํ ปริภาสึสุ ความว่า หญิง เหล่านั้นมิได้กล่าวกะใครๆ อื่น ด่านางอมิตตตาปนานั้นโดยแท้แล. บทว่า กุตุหลา ได้แก่ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกัน. บทว่า สมาคนฺตฺวา ได้แก่

 
  ข้อความที่ 192  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 675

ห้อมล้อมโดยรอบ. บทว่า ทหริยํ ได้แก่ ยังเป็นสาวรุ่นมีความงามเลิศ. บทว่า ชิณฺณสฺสุ ได้แก่ ในเรือนของพราหมณ์แก่เพราะชรา. บทว่า ทฺยิฏฺนฺเต นวมิยํ ความว่า เจ้าจักบูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ ๙ คือเครื่อง บูชายัญของเจ้านั้นจักเป็นของที่กาแก่ถือเอาแล้วก่อน. ปาฐะว่า ทุยิฏฺา เต นวมิยา ดังนี้ก็มี ความว่า เจ้าจักบูชายัญในดิถีที่ ๙ ไว้ไม่ดี. บทว่า อกตํ อคฺคิหุตตฺตกํ ความว่า แม้การบูชาไฟท่านก็จักไม่กระทำ. บทว่า อภิสฺสสิ ความว่า ด่าสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว หญิง ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์วา นี้เป็นผลแห่งบาปของเจ้านั้น. บทว่า ชคฺฆิตํปิ น โสภติ ความว่า แม้การหัวเราะของคนแก่ที่หัวเราะ เผยฟันหัก ย่อมไม่งาม. บทว่า สพฺเพ โสกา วินสฺสนฺติ ความว่า ความเศร้าโศกของเขาเหล่านั้นทุกอย่างย่อมพินาศไป. บทว่า กึ ชิณฺโณ ความว่า พราหมณ์แก่คนนี้จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ด้วยกามคุณ ๕ ได้อย่างไร.

นางอมิตตตาปนาได้รับบริภาษแต่สำนักนางพราหมณีเหล่านั้น ก็ถือ หม้อน้ำร้องไห้กลับไปเรือน ครั้นชูชกถามว่า ร้องไห้ทำไม เมื่อจะแจ้งความ แก่ชูชกจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พราหมณ์ ฉันจะไม่ไปสู่แม่น้ำเพื่อน้ำตัก มาให้ท่าน ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษ ฉันเพราะเหตุที่ท่านเป็นคนแก่.

ความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษฉัน เพราะท่านแก่ เพราะฉะนั้นจำเดิมแต่นี้ไป ฉันจักไม่ไปสู่แม่น้ำตักน้ำมาให้ท่าน.

ชูชกกล่าวว่า

แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย อย่าตักน้ำมาเพื่อฉันเลย ฉันจักตักน้ำเอง เจ้าอย่าขัด เคืองเลย.

 
  ข้อความที่ 193  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 676

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกมาหิสฺสํ ความว่า ฉันจักนำน้ำ มาเอง

พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า

แน่ะพราหมณ์ ฉันไม่ได้เกิดในตระกูลที่ใช้ผัวให้ ตักน้ำ ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ในเรือนของท่าน ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ ตมฺหิ ความว่า ฉันไม่ได้เกิด ในตระกูลที่ใช้สามีให้ทำการงาน. บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า ฉันไม่ต้องการน้ำ ที่ท่านจักนำหมา.

ชูชกกล่าวว่า

แน่ะพราหมณี พื้นฐานศิลปะหรือสมบัติคือ ทรัพย์และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจะหาทาสหรือ ทาสีมาเพื่อนางผู้เจริญแต่ไหน ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญ เอง แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าขัดเคืองเลย.

นางอมิตตตาปนาอันเทวดาดลใจ กล่าวกะพราหมณ์ชูชกว่า

มาเถิดท่าน ฉันจักบอกท่านตามที่ฉันได้ยินมา พระราชาเวสสันดรนั้นประทับอยู่ที่เขาวงกต ดูก่อน พราหมณ์ ท่านจงไปทูลขอทาสและทาสีกะพระองค์ เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์ผู้เป็นขัตติยชาติจักพระราชทานทาสและทาสีแก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอหิ เต อหมกฺขิสฺสํ ความว่า ฉัน จักบอกแก่ท่าน. นางอมิตตตาปนานั้นถูกเทวดาดลใจ จึงกล่าวคำนี้.

 
  ข้อความที่ 194  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 677

ชูชกกล่าวว่า

ฉันเป็นคนแก่ ไม่มีกำลัง และหนทางก็ไกล ไป แสนยาก แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าคร่ำครวญไปเลย อย่าน้อยใจเลย ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญของ เจ้าอย่าขัด เคืองฉันเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ความว่า แน่ะ นางผู้ เจริญ ฉันเป็นคนแก่ ก็ไปอย่างไรได้.

พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า

คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทันได้รบก็ยอม แพ้ ฉันได้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ทันได้ไปเลย ยอมแพ้ ฉันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านไม่หาทาส และทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ใน เรือนของท่าน เมื่อใดท่านเห็นฉันแต่งกายในงาน มหรสพประกอบด้วยนักขัตฤกษ์ หรือพิธีตามที่เคยมี เมื่อนั้นความทุกข์ก็จักมีแก่ท่าน เมื่อฉันรื่นรมย์กับด้วย ชายอื่นๆ ความทุกข์ก็จักมีแก่ท่านเมื่อท่านชราแล้ว พิไรคร่ำครวญอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จัก งอยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนาปนฺเต ความว่า เมื่อท่านไม่ยอม ไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอทาสและทาสีมา ฉันจักกระทำกรรมที่ท่านไม่ชอบใจ. บทว่า นกฺขตฺเต อุตุปุพฺเพส ความว่า ในงานมหรสพที่เป็นไปด้วยสามารถ ที่จัดขึ้นในคราวนักฤกษ์ หรือด้วยสามารถที่จัดขึ้นประจำฤดูกาล ในบรรดา ฤดูกาลทั้งหก.

ชูชกพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็ตกใจกลัว.

 
  ข้อความที่ 195  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 678

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น พราหมณ์ชูชกนั้นก็ตกใจกลัว ตกอยู่ใน อำนาจของนางอมิตตตาปนาพราหมณี ถูกถามราคะ บีบคั้น ได้กล่าวกะนางว่า แน่ะนางพราหมณี เจ้าจง จัดเสบียงเดินทางเพื่อฉัน คือจัดขนมที่ทำด้วยงา ขนม ที่ปรุงด้วยน้ำตาล ขนมที่ทำเป็นก้อนด้วยน้ำผึ้ง ทั้ง สัตตุก้อนสัตตุผงและข้าวผอก จัดให้ดี ฉันจักนำ พี่น้องสองกุมารมาให้เป็นทาส กุมารกุมารีทั้งสองนั้น จักไม่เกียจคร้านบำเรอปฏิบัติเจ้าตลอดคืนตลอดวัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทิโต ได้แก่ เบียดเบียน คือบีบคั้น. บทว่า สํกุโล ได้แก่ ขนมที่ทำด้วยงา. บทว่า สงฺคุฬานิ จ ได้แก่ ขนม ที่ปรุงด้วยน้ำตาล. บทว่า สตฺตุภตฺตํ ได้แก่ ข้าวสัตตุอัน ข้าวสัตตุผง และข้าวผอก. บทว่า เมถุนเก ได้แก่ ผู้เช่นเดียวกันด้วยชาติโคตรสกุลและ ประเทศ. บทว่า ทาสกฺมารเก ได้แก่ สองกุมาร เพื่อประโยชน์เป็นทาส ของเจ้า.

นางอมิตตตาปนารีบตระเตรียมเสบียงแล้วบอกแก่พราหมณ์ชูชก. ชูชก ซ่อมประตูเรือน ทำที่ชำรุดให้มั่นคง หาฟืนแต่ป่ามาไว้ เอาหม้อตักน้ำใส่ไว้ใน ภาชนะทั้งปวงในเรือนจนเต็ม แล้วถือเพศเป็นดาบสในเรือนนั้นนั่นเอง สอน นางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้ไป ในเวลาค่ำมืดเจ้าอย่าออก ไปนอกบ้าน จงเป็นผู้ไม่ประมาท จนกว่าฉันจะกลับมา สอนฉะนั้นแล้วสวม รองเท้า ยกถุงย่ามบรรจุเสบียงขึ้นสะพายบ่า ทำประทักษิณนางอมิตตตาปนา มีนัยน์ตาเต็มด้วยน้ำตาร้องไห้หลีกไป.

 
  ข้อความที่ 196  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 679

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พรหมทำกิจนี้เสร็จแล้ว สวม รองเท้า แต่นั้นแกเรียกนางอมิตตตาปนาผู้ภรรยามา พร่ำสั่งเสีย ทำประทักษิณภรรยา สมาทานวัตร มีหน้า นองด้วยน้ำตา หลีกไปสู่นครอันเจริญรุ่งเรืองของชาว สีพี เที่ยวแสวงหาทาสและทาสี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณมุโข ได้แก่ ร้องไห้น้ำตาอาบ หน้า. บทว่า สหิตพฺพโต ได้แก่ มีวัตรอันสมาทานแล้ว อธิบายว่า ถือ เพศเป็นดาบส. บทว่า จรํ ความว่า ชูชกเที่ยวแสวงหาทาสและทาสี มุ่ง พระนครของชาวสีพีหลีกไปแล้ว

ชูชกไปสู่นครนั้น เห็นชนประชุมกันจึงถามว่า พระราชาเวสสันดร เสด็จไปไหน.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พราหมณ์ชูชกไปในนครนั้นแล้ว ได้ถามประชาชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นๆ ว่า พระเวสสันดร ราชาประทับอยู่ที่ไหน เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระบรมกษัตริย์ได้ที่ไหน ชนทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่ นั้น ได้ตอบพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน เพราะทรง ให้ทานมากไป ถึงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของพระองค์ เสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต ดูก่อนพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกท่านเบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จึงทรงพาพระโอรสพระธิดา และพระมเหสีเสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต.

 
  ข้อความที่ 197  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 680

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกโต ความว่า พระเวสสันดรถูก เบียดเบียนบีบคั้น จึงไม่ได้ประทับอยู่ในพระนครของพระองค์ บัดนี้ประทับ อยู่ เขาวงกต.

ชนเหล่านั้นกล่าวกะชูชกว่า พวกแกทำพระราชาของพวกเราให้พินาศ แล้ว ยังมายืนอยู่ในที่นี้อีก กล่าวฉะนี้แล้วก็ถือก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นไล่ ตามชูชกไป. ชูชกถูกเทวดาดลใจ ก็ถือเอาบรรดาที่ไปเขาวงกตทีเดียว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พราหมณ์ชูชกถูกนางอมิตตตาปนาเตือนแล้ว เป็นผู้ติดใจในกาม จึงประสบทุกข์นั้น ในป่าที่ เกลื่อนไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองเสพอาศัย แกถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม อีกทั้งเครื่องบูชาไฟและ เต้าน้ำ เข้าไปสู่ป่าใหญ่ ซึ่งแกได้ฟังว่า พระเวสสันดร ราชฤาษีผู้ประทานผลที่บุคคลปรารถนาประทับอยู่ ฝูง สุนัขป่าก็ล้อมพราหมณ์นั้นผู้เข้าไปสู่ป่าใหญ่ แกหลง ทางร้องไห้ ได้หลีกไปไกลจากทางไปเขาวงกต แต่นั้น แกผู้โลภในโภคะ ไม่มีความสำรวมเดินไปแล้ว หลง ทางที่จะไปสู่เขาวงกต ถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ นั่งบนต้น ไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฆนฺตํ ได้แก่ ทุกข์นั้นคือทุกข์ที่ติดตาม โดยมหาชน และทุกข์ที่จะต้องไปเดินป่า. บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ได้แก่ ทัพพี เครื่องบูชาไฟ. บทว่า โกกา นํ ปริวารยุํ ความว่า ก็ชูชกนั้นเข้าสู่ป่าทั้งที่ไม่ รู้ทางที่จะไปเขาวงกต จึงหลงทางเที่ยวไป. ลำดับนั้น สุนัขทั้งหลายของพราน เจตบุตรผู้นั่งเพื่ออารักขาพระเวสสันดร ได้ล้อมชูชกนั้น. บทว่า วิกนฺทิ โส ความว่า ชูชกนั้นขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่งร้องไห้เสียงดัง. บทว่า วิปฺปนฏฺโ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 198  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 681

ผิดทาง. บทว่า ทูเร ปนฺถา ความว่า หลีกไปไกลจากทางที่ไปเขาวงกต. บทว่า โภคลุทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้โลภในลาภคือโภคสมบัติ. บทว่า อสญฺโต ได้แก่ ผู้ทุศีล. บทว่า วงฺกสฺโสหรเณนตฺโถ ได้แก่ หลงในทางที่จะไป เขาวงกต.

ชูชกนั้นถูกฝูงสุนัขล้อมไว้ ขึ้นนั่งบนต้นไม้ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดร พระราชบุตรผู้ ประเสริฐ ผู้ทรงชำนะมัจฉริยะไม่ปราชัยอีก ผู้ประทาน ความปลอดภัยในเวลามีภัยแก่เรา พระองค์เป็นที่อาศัย ของเหล่ายาจก เช่นธรณีดลเป็นที่อาศัยแห่งเหล่าสัตว์.

ใครจะบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราช ผู้เปรียบ เหมือนแม่ธรณีแก่เราได้ พระองค์เป็นที่ไปเฝ้าของ เหล่ายาจก ดังสาครเป็นที่ไหลไปแห่งแม่น้ำน้อยใหญ่

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเหมือน สาครแก่เราได้ พระองค์เป็นดังสระน้ำมีท่าอันงาม ลง ดื่มได้ง่ายมีน้ำเย็น น่ารื่นรมย์ ดารดาษไปด้วยดอก บุณฑริกบัวขาบ ประกอบด้วยละอองเกสร.

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรผู้เปรียบเสมือน สระน้ำแก่เราได้ พระองค์เปรียบประหนึ่งต้นนิโครธ ใกล้ทาง มีร่มเงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคน เดินทาง ผู้เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไทรที่ใกล้ทาง มีร่มเงา น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

 
  ข้อความที่ 199  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 682

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นมะม่วงที่ใกล้ทาง มีร่ม เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้ เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นรังที่ใกล้ทาง มีร่มเงา น่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของตนเดินทาง ผู้เมื่อยล้า เหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรมหาราชแก่เรา ได้ พระองค์เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ทาง มีร่ม เงาน่ารื่นรมย์ใจ เป็นที่พักอาศัยของคนเดินทาง ผู้ เมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อยมาในเวลาร้อน.

ใครจะแจ้งข่าวของพระองค์ ผู้ทรงคุณเห็นปาน นั้นแก่เรา เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่พร่ำเพ้อออยู่อย่างนี้ บุคคลใดบอกว่า ข้าพเจ้ารู้ข่าว บุคคลนั้นชื่อว่ายัง ความร่าเริงให้เกิดแก่เรา อนึ่ง เมื่อเราเข้าไปในป่าใหญ่ พร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ บุคคลใดบอกข่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จัก ราชนิวาสสถานของพระเวสสันดร บุคคลนั้นพึงประสพบุญมิใช่น้อย ด้วยคำบอกเล่าคำเดียวนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชยนฺตํ ได้แก่ ผู้ชนะความตระหนี่. บทว่า โก เม เวสฺสนฺตรํ วิทู ความว่า ชูชกกล่าวว่า ใครจะพึงบอกข่าวพระเวสสันดรแก่เรา. บทว่า ปติฏฺาสิ ความว่า ได้เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ เป็นไปโดยรอบ. บทว่า กิลนฺตานํ ได้แก่ ผู้ลำบากใน หนทาง. บทว่า ปฏิคฺคหํ ได้แก่ เป็นผู้รับ คือเป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า

 
  ข้อความที่ 200  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 683

อหํ ชานนฺติ โย วชฺชา ความว่า ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้สถาน ที่ประทับของพระเวสสันดร.

พรานเจตบุตรเป็นพรานล่าเนื้อที่เหล่าพระยาเจตราชตั้งไว้เพื่ออารักขา พระเวสสันดร เที่ยวอยู่ในป่าได้ยินเสียงคร่ำครวญของชูชกนั้น จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ย่อมคร่ำครวญอยากจะพบพระเวสสันดร แต่แกคงไม่ได้มาตาม ธรรมดา คงจักขอพระมัทรีหรือพระโอรสพระธิดา เราจักฆ่าแกเสียในที่นี้ แหละ คิดฉะนี้แล้วจึงไปใกล้ชูชก กล่าวว่า ตาพราหมณ์ ข้าจักไม่ให้ชีวิตแก กล่าวฉะนั้นแล้วยกหน้าไม้ขึ้นสายขู่จะยิง.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พรานผู้เที่ยวอยู่ในป่าชื่อเจตบุตรกล่าวแก่ชูชกว่า แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ถูกพวกแก เบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จึงถูกขับไล่ ออกจากแว่นแคว้นของพระองค์ เสด็จไปประทับอยู่ ณ เขาวงกต แน่ะพราหมณ์ พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ ถูกพวกแกเบียดเบียน เพราะทรงให้ทานมากไป จน ต้องพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีเสด็จไปประที่มิใช่อยู่ ณ เขาวงกต แกเป็นคนมีปัญญาทราม ทำสิ่ง ที่มิใช่กิจ มาจากรัฐสูป่าใหญ่ แสวงหาพระราชบุตร ดุจนกยางหาปลา แน่ะพราหมณ์ ข้าจักไม่ไว้ชีวิตแก ในที่นี้ เพราะลูกศรนี้อันข้ายิงไปแล้ว จักดื่มโลหิต แก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักตัดหัวของแก เชือดเอา หัวใจพร้อมทั้งไส้พุง แล้วจักบูชาปันถสกุณยัญพร้อม ด้วยเนื้อของแก แน่ะพราหมณ์ ข้าจักเฉือนหัวใจของ แกพร้อมด้วยเนื้อ มันข้น และเยื่อในสมองของแกบูชา

 
  ข้อความที่ 201  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 684

ยัญ แน่ะพราหมณ์ ข้าจักบูชาบวงสรวงด้วยเนื้อของ แก จักไม่ให้แกนำพระราชเทวีพระโอรสพระธิดาของ พระราชบุตรเวสสันดรไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกิจฺจการี ความว่า แกเป็นผู้กระทำ สิ่งที่มิใช่กิจ. บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา. บทว่า รฏฺา วิวนมาคโต ความว่า จากแว่นแคว้นมาป่าใหญ่. บทว่า สโร ปาสฺสติ ความว่า ลูกศร นี้จักดื่มโลหิตของแก. บทว่า วชฺฌยิตฺวาน ความว่า เราจักฆ่าแกแล้วตัด ศีรษะของแกผู้ตกจากต้นไม้ให้เหมือนผลตาล แล้วเฉือนเนื้อหัวใจพร้อมทั้ง ตับไตไส้พุง บูชายัญชื่อปันถสกุณแก่เทวดาผู้รักษาหนทาง. บทว่า น จ ตฺวํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น แกจักนำพระมเหสีหรือพระโอรสพระธิดาของพระราชบุตรเวสสันดรไปไม่ได้.

ชูชกได้ฟังคำของพรานเจตบุตรแล้ว ก็ตกใจกลัวแต่มรณภัย เมื่อจะ กล่าวมุสาวาท จึงกล่าวว่า

ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นพราหมณทูตไม่ควรฆ่า เจ้าจงฟังข้าก่อน เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงไม่ฆ่า ทูต นี่เป็นธรรมเนียมเก่า ชาวสีพีทั้งปวงหายขัดเคือง พระชนกก็ทรงปรารถนาจะพบพระเวสสันดร ทั้งพระชนนีของท้าวเธอก็ถอยพระกำลัง พระเนตรทั้งสองพึง เสื่อมโทรมโดยกาลไม่นาน ดูก่อนเจตบุตร ข้าเป็นผู้ อันพระราชาพระราชินีทรงส่งมาเป็นทูต เจ้าจงฟังข้า ก่อน ข้าจักเชิญพระเวสสันดรราชโอรสกลับ ถ้าเจ้ารู้ จงบอกหนทางแก่เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺฌตฺตา ได้แก่ เข้าใจกันแล้ว. บทว่า อจิรา จกฺขูนิ ขียเร ความว่า พระเนตรทั้งสองจักเสื่อมโทรมต่อ

 
  ข้อความที่ 202  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 685

กาลไม่นานเลย เพราะทรงกันแสงเป็นนิตย์.

กาลนั้นพรานเจตบุตรก็มีความโสมนัส ด้วยคิดว่า ได้ยินว่า บัดนี้ พราหมณ์นี้จะมาเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับ จึงผูกสุนัขทั้งหลายไว้ให้อยู่ที่ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วให้ชูชกลงจากต้นไม้ ให้นั่งบนที่ลาดกิ่งไม้ ให้โภชนาหาร เมื่อจะทำปฏิสันถาร จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่ตาพราหมณ์ ตาเป็นทูตที่รักของพระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้กระบอกน้ำผึ้งและ ขาเนื้อย่างเป็นบรรณาการแก่ตา และจักบอกประเทศที่ พระเวสสันดรผู้ประทานความประสงค์ประทับอยู่แก่ตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยสฺส เม ความว่า ตาเป็นทูตที่รักของ พระเวสสันดรผู้เป็นที่รักของข้า ข้าจะให้บรรณาการแก่ตา เพื่อความเต็มแห่ง อัธยาศัย

จบชูชกบรรพ

จุลวนวรรณนา

พรานเจตบุตรให้พราหมณ์ชูชกบริโภคแล้ว ให้กระบอกน้ำผึ้งและขา เนื้อย่างแก่ชูชก เพื่อเป็นเสบียงเดินทางอย่างนี้แล้ว ยืนที่หนทางยกมือเบื้อง ขวาขึ้นเมื่อจะแจ้งโอกาสเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรมหาสัตว์ จึงกล่าวว่า

ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชา เวสสันดรพร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและ พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรชิตอันประเสริฐ และ

 
  ข้อความที่ 203  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 686

ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม่เขียว นั้นทรงผลต่างๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆเขียวชะอุ่ม นั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่นเหล่าไม้ ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม่สะคร้อและ เถายางทราย อ่อนไหวไปตามลมดังมาณพดื่มสุราครั้ง แรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก นกดุเหว่า ส่ง เสียงร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีตโผผินบินจาก ต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย อันลมให้ หวั่นไหวแล้วเสียดสีกัน ดังจะชวนบุคคลผู้ผ่านไป ให้มายินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดรพร้อมด้วย พระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและพระกัมหาชินาทรง เพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธมาทโน ความว่า นั่นภูเขาคันธ- มาทน์ ท่านบ่ายหน้าทางทิศอุดรเดินไปตามเชิงภูเขาคันธมาทน์ จักเห็นอาศรม ที่ท้าวสักกะประทาน ซึ่งเป็นที่พระราชาเวสสันดรพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดา และพระมเหสีประทับอยู่. บทว่า พฺราหฺมณวณฺณํ ได้แก่ เพศบรรพชิต ผู้ประเสริฐ. บทว่า อาสทญฺจ มสญฺชฏํ ความว่า ทรงขอสำหรับสอย

 
  ข้อความที่ 204  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 687

เก็บผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง และชฎา. บทว่า จมฺมวาสี ได้แก่ ทรงหนังเสือเหลือง. บทว่า ฉมา เสติ ความว่า บรรทมเหนือ เครื่องปูลาดใบไม้บนแผ่นดิน. บทว่า ธวสฺสกณฺณา ขทิรา ได้แก่ ไม้ ตะแบก ไม้หูกวาง และไม้ตะเคียน. บทว่า สกึ ปีตาว มาณวา ความ ว่า เป็นราวกะนักเลงดื่มน้ำเมา ดื่มครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า อุปริ ทุมปริยาเยสุ ได้แก่ ที่กิ่งแห่งต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า สงฺคีติโยว สุยฺยเร ความว่า จะได้ฟังเสียงของเหล่านกต่างๆ ที่อยู่กัน ดุจทิพยสังคีต. บทว่า นชฺชุหา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า สมฺปตนฺติ ได้แก่ เที่ยวส่งเสียง ร้องเจี๊ยวจ๊าว. บทว่า สาขาปตฺตสมีริตา ความว่า เหล่านกถูกใบแห่งกิ่งไม้ เสียดสีก็พากันส่งเสียงร้องเจี๊ยวจ๊าว หรือกิ่งไม้มีใบอันลมพัดแล้วนั่นแล. บทว่า อาคนฺตุํ ได้แก่ คนที่จะจากไป. บทว่า ยตฺถ ความว่า ท่านไปในอาศรม บทซึ่งเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระเวสสันดรแล้ว จักเห็นสมบัติแห่งอาศรมบทนี้.

พรานเจตบุตร เมื่อจะพรรณนาถึงอาศรมบทให้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวมา แล้วนั้น จึงกล่าวว่า

ที่บริเวณอาศรมนั้น มีหมู่ไม้มะม่วง มะขวิด ขนุน ไม้รัง ไม้หว้า สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม ไม้โพธิ์ พุทรา มะพลับทอง ไม้ไทร ไม่มะสัง ไม่มะซางมีรสหวาน งามรุ่งเรือง และมะเดื่อผลสุก อยู่ในที่ต่ำทั้งกล้วยงาช้าง กล้วยหอม ผลจันทน์มีรส หวานเหมือนน้ำผึ้ง ในป่านั้นมีรวงผึ้งไม่มีตัว คนถือเอา บริโภคได้เอง อนึ่งในบริเวณอาศรมนั้น มีดงมะม่วง ตั้งอยู่ บางต้นกำลังออกช่อ บางต้นมีผลเป็นหัวแมลง-

 
  ข้อความที่ 205  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 688

วัน บางต้นมีผลห่ามเป็นปากตะกร้อ บางต้นมีผลสุก ทั้งสองอย่างนั้นมีพรรณดังสีหลังกบ อนึ่งในบริเวณ อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นก็เก็บมะม่วงสุกกินได้ ผลมะม่วงดิบและสุกทั้งหลาย มีสีสวยกลิ่นหอมรส อร่อยที่สุด เหตุการณ์เหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ ข้าพเจ้าเหลือเกิน ถึงกับออกอุทานว่า อือๆ ที่ประทับ ของพระเวสสันดรนั้น เป็นดังที่อยู่แห่งเทวดาทั้งหลาย งดงามปานนันทนวัน มีหมู่ตาล มะพร้าว และ อินทผลัมในป่าใหญ่ ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย ครองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี พรรณต่างๆ เหมือนดาวเรื่อเรืองอยู่ในนภากาศ แลมี ไม่มูกมัน โกฐ สะค้าน และแคฝอย บุนนาค บุนนาค- เขาและทองหลาง มีดอกบานสะพรั่ง อนึ่งในบริเวณ อาศรมนั้น มีไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะเกลือ กฤษณา รักดำ ก็มีมาก ต้นไทรใหญ่ ไม้รกฟ้า ไม่ประดู่ มี ดอกบานสะพรั่งในบริเวณอาศรมนั้น มีไม้อัญชันเขียว ไม้สน ไม้กะทุ่ม ขนุนสำมะกอ ไม้ตะแบก ไม้รัง ล้วนมีดอกเป็นพุ่มคล้ายลอมฟาง ในที่ไม่ไกลอาศรม นั้น มีสระโบกขรณี ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ดาดาษ ไปด้วยปทุมและอุบล ดุจในนันทนอุทยานของเหล่า ทวยเทพฉะนั้น อนึ่งในที่ใกล้สระโบกขรณีนั้น มีฝูง นกดุเหว่าเมารสบุปผชาติ ส่งเสียงไพเราะจับใจ ทำป่า

 
  ข้อความที่ 206  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 689

นั้นอื้ออึงกึกก้อง ในเมื่อหมู่ไม้ผลิดอกแย้มบานตาม ฤดูกาล รสหวานดังน้ำผึ้งร่วงหล่นจากเกสรดอกไม้ลง มาค้างอยู่บนใบบัว เรียกว่า โบกขรมธุ น้ำผึ้งใบบัว (ขันฑสกร) อนึ่งลมทางทิศทักษิณและทิศประจิมย่อม พัดมาที่อาศรมนั้น อาศรมเป็นสถานที่เกลื่อนกล่นด้วย ละอองเกสรปทุมชาติ ในสระโบกขรณีนั้นมีกระจับ ใหญ่ๆ ทั้งข้าวสาลีร่วงลง ณ ภูมิภาค เหล่าปูในสระ นั้นก็มีมาก ทั้งมัจฉาชาติและเต่าว่ายไปตามกันเห็น ปรากฏ ในเมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานก็ไหลออก ดุจ นมสด เนยใส ไหลออกจากเหง้าบัวฉะนั้น วนประเทศ นั้นฟุ้งไปด้วยกลิ่นต่างๆ หอนตลบไป วนประเทศนั้น เหมือนดังจะชวนเชิญชนผู้มาถึงแล้วให้ยินดีด้วยดอก ไม้และกิ่งไม้ที่มีกลิ่นหอม แมลงผึ้งทั้งหลายก็ร้องตอม อยู่โดยรอบ ด้วยกลิ่นดอกไม้ อนึ่งในที่ใกล้อาศรมนั้น มีฝูงวิหคเป็นอันมากมีสีสันต่างๆ กัน บันเทิงอยู่กับคู่ ของตนๆ ร่ำร้องขานกะกันและกัน มีฝูงนกอีก ๔ หมู่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกรณี คือหมู่ที่ ๑ ชื่อนันทิกา ย่อมร้องทูลเชิญพระเวสสันดรให้ชื่นชมยินดีอยู่ในป่านี้ หมู่ที่ ๒ ชื่อชีวปุตตา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระ- เวสสันดรพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี จงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญ หมู่ที่ ๓ ชื่อ ชีวปุตตาปิยาจโน ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระเวส- สันดรพร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ผู้

 
  ข้อความที่ 207  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 690

เป็นที่รักของพระองค์จงทรงสำราญ มีพระชนมายุยืน นานไม่มีข้าศึกศัตรู หมู่ที่ ๔ ชื่อปิยาปุตตาปิยานันทา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระโอรสพระธิดาและพระ- มเหสี จงเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์จงเป็นที่ รักของพระโอรสพระธิดาและมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัส ต่อกันและกัน ทิวไม้ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย กรองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี พรรณต่างๆ เหมือนคนฉลาดเก็บมาร้อยกรองไว้ ซึ่ง เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วยพระ- มัทรีราชเทวีทัพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรงเพศ บรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิงกับทั้งชฎา ทรงหนัง เสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรง นมัสการเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จารุติมฺพรุกฺขา ได้แก่ ต้นมะพลับ ทอง. บทว่า มธุมธุกา ได้แก่ มะซางมีรสหวาน. บทว่า เถวนฺติ แปลว่า ย่อมรุ่งเรือง. บทว่า มธุตฺถิกา ได้แก่ เหมือนน้ำผึ้ง หรือเช่นกับ รวงผึ้งเพราะแม่น้ำหวานไหลเยิ้ม. บทว่า ปาเรวตา ได้แก่ ต้นกล้วยงาช้าง. บทว่า ภเวยฺย ได้แก่ กล้วยมีผลยาว. สกมาทาย ความว่า ถือเอารวงผึ้ง นั้นบริโภคได้เองทีเดียว. บทว่า โทวิลา ได้แก่ มีดอกและใบร่วงหล่น มี ผลดาษดื่น. บทว่า เภงฺควณฺณา ตทูภยํ ความว่า มะม่วงทั้งสองอย่างนั้น คือ ดิบบ้าง สุกบ้าง มีสีเหมือนสีของหลังกบทีเดียว. บทว่า อเถตฺถ เหฏฺา ปุริโส ความว่า อนึ่ง อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วง

 
  ข้อความที่ 208  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 691

เหล่านั้น ย่อมเก็บผลมะม่วงได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้น. บทว่า วณฺณคนฺธ- รสุตฺตมา ได้แก่ อุดมด้วยสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อเตว เม อจฺฉริยํ ความว่า เป็นที่อัศจรรย์แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน. บทว่า หิงฺกาโร ได้แก่ ทำ เสียงว่า หึๆ. บทว่า วิเภทิกา ได้แก่ ต้นตาล บทว่า มาลาว คนฺถิตา ความว่า ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่บนต้นไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพวงมาลัย ที่นายมาลาการร้อยกรองไว้. บทว่า ธชคฺคาเนว ทิสฺสเร ความว่า ต้นไม้ เหล่านั้น ปรากฏราวกะยอดธงที่ประดับแล้ว. บทว่า กุฏชี กุฏฺตครา ได้แก่ รุกขชาติอย่างหนึ่งชื่อว่าไม้มูกมัน กอโกฐ และกอกฤษณา. บทว่า คิริปุนฺนาคา ได้แก่ บุญนาคใหญ่. บทว่า โกวิฬารา ได้แก่ ต้นทอง หลาง. บทว่า อุทฺธาลกา ได้แก่ ต้นราชพฤกษ์ดอกสีเหลือง. บทว่า ภลฺลิยา ได้แก่ ต้นรักดำ. บทว่า ลพุชา ได้แก่ ต้นขนุนสำมะลอ. บทว่า ปุตฺตชีวา ได้แก่ ต้นไทรใหญ่. บทว่า ปลาลขลสนฺนิภา ความ ว่า พรานเจตบุตรกล่าวว่า ดอกไม้ที่ร่วงหล่นใต้ต้นไม้เหล่านั้นคล้ายลอมฟาง. บทว่า โปกฺขรณี ได้แก่ สระโบกขรณีสี่เหลี่ยม. บทว่า นนฺทเน ได้แก่ เป็นราวกะสระนันทนโบกขรณี ในนันทนวนอุทยาน. บทว่า ปุปฺผรสมตฺตา ได้แก่ เมาด้วยรสของบุปผชาติคือถูกรสของบุปผชาติรบกวน. บทว่า มกรนฺเทหิ ได้แก่ เกสรดอกไม้. บทว่า โปกฺขเร โปกฺขเร ความว่า เรณูร่วงจากเกสรดอกบัวเหล่านั้นลงบนใบบัว ชื่อโปกขรมธุน้ำผึ้งใบบัว (ซึ่ง แพทย์ใช้เข้ายาเรียกว่า ขัณฑสกร). บทว่า ทกฺขิรณา อถ ปจฺฉิมา ความว่า ลมจากทิศน้อยทิศใหญ่ทุกทิศ ท่านแสดงด้วยคำเพียงเท่านี้. บทว่า ถูลา สึฆาฏกา ได้แก่ กระจับขนาดใหญ่. บทว่า สสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลี เล็กๆ ซึ่งเป็นข้าวสาลีที่เกิดเองตั้งอยู่ เรียกว่าข้าวสาลีบริสุทธิ์ ก็มี. บทว่า ปสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลีเหล่านั้น แหละร่วงลงบนพื้นดิน. บทว่า พฺยาวิธา

 
  ข้อความที่ 209  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 692

ความว่า เหล่าสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เที่ยวไปเป็นกลุ่มๆ ในน้ำใส ว่ายไปตาม ลำดับปรากฏอยู่. บทว่า มูปยานกา ได้แก่ ปู. บทว่า มธุํ ภึเสหิ ความว่า เมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานไหลออกเช่นกับน้ำผึ้ง. บทว่า ขีรํ สปฺปิ มูฬาลิภิ ความว่า น้ำหวานที่ไหลออกจากเหง้าบัวเป็นราวกะเนยข้นเนยใส ผสมน้ำนม. บทว่า สมฺโมทิเตว ความว่า เป็นเหมือนจะยังชนที่ถึงแล้วให้ ยินดี. บทว่า สมนฺตามภินาทิตา ความว่า เที่ยวบินร่ำร้องอยู่โดยรอบ. บทว่า นนฺทิกา เป็นต้นเป็นชื่อของนกเหล่านั้น ก็บรรดานกเหล่านั้น นก หมู่ที่ ๑ ร้องถวายพระพรว่า ข้าแต่พระเวสสันดรเจ้า ขอพระองค์จงชื่นชม ยินดีประทับอยู่ในป่านี้เถิด นกหมู่ที่ ๒ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อม ทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีจงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญเถิด นกหมู่ที่ ๓ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและ พระมเหสีผู้เป็นที่รักของพระองค์ จงทรงสำราญมีพระชนม์ยืนนานไม่มีข้าศึก ศัตรูเถิด นกหมู่ที่ ๔ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี จงเป็นที่รักของพระองค์ ขอพระองค์จงเป็นที่รักของพระโอรสพระธิดาและ พระมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัสกันและกันเถิด เพราะเหตุนั้นนกเหล่านั้นจึงได้ มีชื่ออย่างนี้แล. บทว่า โปกฺขรณีฆรา ได้แก่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกขรณี.

พรานเจตบุตรแจ้งสถานที่ประทับของพระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ชูชก ยินดี เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ก็สัตตูผงอันระคนด้วยน้ำผึ้งและสัตตูก้อนมีรส หวานอร่อยของลุงนี้ อมิตตตาปนาจัดแจงให้แล้ว ลุง จะแบ่งให้แก่เจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุภตฺตํ ได้แก่ ภัตตาหารคือสัตตู ที่คล้ายน้ำผึ้งเคี่ยว มีคำอธิบายว่าสัตตูของลุงที่มีอยู่นี้นั้น ลุงจะให้แก่เจ้า เจ้า จงรับเอาเถิด.

 
  ข้อความที่ 210  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 693

พรานเจตบุตรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ์ จงเอาไว้เป็นเสบียงทาง ของลุงเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการเสบียงทาง ขอเชิญลุง รับน้ำผึ้งกับขาเนื้อย่างจากสำนักของข้านี้เอาไปเป็น เสบียงทาง ขอให้ลุงไปตามสบายเถิด ทางนี้เป็นทาง เดินได้คนเดียว มาตามทางนี้ ตรงไปสู่อาศรมอัจจุตฤาษี พระอัจจุตฤาษีอยู่ในอาศรมนั้น มีฟันเขลอะ มี ธุลีบนศีรษะ ทรงเพศเป็นพราหมณ์ มีขอสำหรับสอย ผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ครองหนังเสือเหลือง นอนเหนือแผ่นดิน นมัสการ เพลิง ลุงไปถึงแล้วถามท่านเถิด ท่านจักบอกหนทาง ให้แก่ลุง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพลํ ได้แก่ เสบียงทาง. บทว่า เอติ ความว่า หนทางเดินได้เฉพาะคนเดียวมาตรงหน้าเราทั้งสองนี้ ตรงไป อาศรมบท. บทว่า อจฺจุโต ความว่า ฤาษีองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ อยู่ใน อาศรมนั้น.

ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ได้ฟังคำนี้แล้ว ทำ ประทักษิณเจตบุตร มีจิตยินดีเดินทางไปยังสถานที่ อัจจุตฤาษีอยู่ ดังนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า อัจจุตฤาษีอยู่ในที่ใด ชูชกไปแล้วในที่นั้น.

จบจุลวนวรรณนา

 
  ข้อความที่ 211  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 694

มหาวนวรรณนา

เมื่อชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรไป ก็ได้พบ พระอัจจุตฤาษี ครั้นได้พบท่านแล้วก็สนทนาปราศรัย กับพระอัจจุตฤาษีว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคาพาธกระ- มัง พระผู้เป็นเจ้ามีความผาสุกสำราญกระมัง พระผู้ เป็นเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเสาะแสวงหา ผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานที่จะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไป ด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภารทฺวาโช ได้แก่ ชูชก. บทว่า อปฺปเมว ได้แก่ น้อยทีเดียว. บทว่า หึสา ได้แก่ ความเบียดเบียนให้ ท่านลำบากด้วยสามารถแห่งสัตว์เหล่านั้น.

ดาบสกล่าวว่า

ดูก่อนพราหมณ์ รูปไม่ค่อยมีอาพาธสุขสำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะหาผลไม้สะดวกดี และ มูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย คลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากใน วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายก็ไม่ค่อยมีแก่รูป เมื่อรูปอยู่อาศรมหลายพรรษา รูปนี้ได้รู้จักอาพาธที่ ทำใจไม่ให้ยินดีเกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่าน

 
  ข้อความที่ 212  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 695

มาดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอ ให้ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย.

ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผล มะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มีรสหวาน เล็กๆ น้อยๆ เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดีๆ เถิด ดู ก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.

ชูชกกล่าวว่า

สิ่งที่พระคุณเจ้าให้แล้ว เป็นอันข้าพเจ้ารับไว้ แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้ากระทำแล้วทุกอย่าง ข้าพเจ้ามาเพื่อพบพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยที่ ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ถ้าพระคุณเจ้าทราบก็จงแจ้งแก่ ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมหํ ทสฺสมาคโต ความว่า ข้าพเจ้า มาเพื่อพบพระเวสสันดรนั้น

ดาบสกล่าวว่า

มิใช่แกมาเพื่อพบพระเจ้าสีวีราชผู้มีบุญ ชะรอย แกปรารถนาพระมเหสีของท้าวเธอ ซึ่งเป็นผู้ยำเกรง พระราชสามี หรือชะรอยแกอยากได้พระกัณหาชินาไป เป็นทาสี และพระชาลีไปเป็นทาส แน่ะตาพราหมณ์ อีกอย่างหนึ่ง แกมาเพื่อนำพระราชเทวีพระราชกุมาร กุมารีทั้งสามพระองค์ไปจากป่า โภคสมบัติและพระ- ราชทรัพย์อันประเสริฐของพระเวสสันดร ย่อมไม่มี.

 
  ข้อความที่ 213  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 696

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส โภคา วิชฺชนฺติ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระเวสสันดรนั้นอยู่ในป่า ย่อมไม่มีโภคสมบัติและ พระราชทรัพย์อันประเสริฐ พระองค์ท่านอยู่อย่างเข็ญใจ แกจักไปเฝ้าพระองค์ ทำไม.

ชูชกได้ฟังดังนี้นั้นแล้วจึงกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญยังไม่ควรจะโกรธเคืองข้าพเจ้าเพราะ ข้าพเจ้ามิได้มาขอทาน การเห็นพระผู้ประเสริฐย่อมให้ สำเร็จประโยชน์ การอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเป็น ความสุขทุกเมื่อ.

ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระเจ้าสีวีราชที่ถูกชาวสีพี ขับไล่ ข้าพเจ้ามาเพื่อจะพบพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้า ทราบก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานาสิ สํส เม มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้า เป็นผู้ไม่ควรที่ท่านผู้เจริญจะโกรธเคืองด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยว่าข้าพเจ้ามา เพื่อจะขออะไรๆ กะพระเวสสันดรก็หามิได้ อนึ่งการได้เห็นพระผู้ประเสริฐ ทั้งหลายยังประโยชน์ให้สำเร็จ และการอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเหล่านั้นก็เป็น ความสุข ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของพระเวสสันดรนั้น จำเดิมแต่ พระองค์ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นพระองค์เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงมาเพื่อพบเห็นพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้ารู้สถานที่ประทับของพระเวส- สันดร ก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.

พระอัจจุตฤาษีได้ฟังคำของชูชกก็เธอจึงกล่าวว่า เอาเถอะ พรุ่งนี้เรา จักแสดงประเทศที่ประทับของพระเวสสันดรแก่ท่าน วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้ก่อน กล่าวฉะนี้แล้วให้ชูชกกินผลาผลจนอิ่ม รุ่งขึ้นเมื่อจะชี้หนทางจึงเหยียดมือขวา ออกกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 214  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 697

ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและ พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอันประเสริฐ ทรง ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม้เขียว นั้นทรงผลต่างๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆ เขียว ชะอุ่มนั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่น เหล่าไม้ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้ สะคร้อ และเถายางทราย อ่อนไหวไปตามลม ดัง มาณพดื่มสุราครั้งแรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก นกดุเหว่า ย่อมร่ำร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีต โผผินบินจากต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย อันลมให้หวั่นไหวแล้ว ดังจะชวนบุคคลผู้ไปให้มา ยินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน ซึ่ง เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วย พระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง.

 
  ข้อความที่ 215  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 698

ดอกกุ่มหล่นเกลื่อนในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นเขียวไปด้วยหญ้าแพรก ละอองธุลีไม่มีฟุ้งขึ้น ในสถานที่นั้น ภูมิภาคนั้นเช่นกับสัมผัสนุ่น คล้าย คอนกยูง หญ้าทั้งหลายขึ้นเสมอกันเพียง ๔ องคุลี ไม่มะม่วง ไม้หว้า ไม่มะขวิด และมะเดื่อมีผลสุกอยู่ ในที่ต่ำ ราวไพรยังความยินดีให้เจริญ เพราะมีเหล่า ต้นไม่ที่ใช้บริโภคได้ น้ำใสสะอาดกลิ่นหอมดี สีดัง แก้วไพฑูรย์ เป็นที่อยู่อาศัยของฝูงปลาไหลหลั่งมาใน ป่านั้น.

ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจไม่ไกลอาศรมนั้น มี สระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมและอุบล ดุจใน นันทนอุทยานของเหล่าทวยเทพฉะนั้นดูก่อนพราหมณ์ ในสระนั้นมีอุบลชาติ ๓ ชนิดคือ เขียว ขาว และแดง งามวิจิตรมิใช่น้อย.

เนื้อความของคาถานั้น เหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. บทว่า กเรริมาลา วิคตา ความว่า เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกกุ่มทั้งหลาย. บทว่า สทฺทลา หริตา ความว่า ภูมิภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกประจำ. บทว่า น ตตฺถุทฺธํสเต รโช ความว่า ธุลีแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ฟุ้งขึ้นในที่นั้น บทว่า ตูลผสฺสสมูปมา ได้แก่ เช่นกับสัมผัสแห่งนุ่น เพราะมีสัมผัสอ่อนนุ่ม. บทว่า ติณานิ นาติวตฺตนฺติ ความว่า หญ้ามีสีเหมือนสีคอนกยูงในภูมิภาค นั้นเหล่านั้น ขึ้นสูงแต่ ๔ องคุลีเท่านั้นโดยรอบ ไม่งอกยาวเลยกว่านั้น. บทว่า อมฺพา ชมฺพู กปิฏฺา จ ได้แก่ ไม้มะม่วงด้วย ไม้หว้าด้วย ไม้มะขวิด

 
  ข้อความที่ 216  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 699

ด้วย. บทว่า ปริโภเคหิ ได้แก่ ต้นไม้ทำบริโภคได้ มีดอกมีผล หลาย อย่าง. บทว่า สนฺทติ ความว่า น้ำหลั่งจากภูเขาไหลเป็นไปในไพรสณฑ์ นั้น. บทว่า วิจิตฺรนีลาเนกานิ เสตานิ โลหิตกานิ จ ความว่า อัจจุตฤาษี แสดงว่าสระนั้นงามด้วยอุบลชาติสามอย่างเหล่านี้ คือ อุบลเขียวอย่างหนึ่ง อุบล ขาวอย่างหนึ่ง อุบลแดงอย่างหนึ่ง ซึ่งคล้ายผอบดอกไม้ที่จัดแต่งไว้อย่างวิจิตร งดงาม.

พระอัจจุตฤาษีพรรณนาสระโบกขรณีสี่เหลี่ยมอย่างนี้แล้ว เมื่อจะ พรรณนาสระมุจลินท์อีก จึงกล่าวว่า

ปทุมชาติในสระนั้นสีขาวดังผ้าโขมพัสตร์ สระ นั้นชื่อว่ามุจลินท์ ดารดาษไปด้วยอุบลขาว จงกลนี และผักทอดยอด อนึ่ง ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบาน สะพรั่ง ปรากฏเหมือนไม่มีกำหนดประมาณ บานใน คิมหันตฤดูและเหมันตฤดู แผ่ไปในน้ำแค่เข่า เหล่า ปทุมชาติงามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้ง หมู่ ภมรบินว่อนร่อนร้องอยู่รอบๆ เพราะกลิ่นหอมแห่ง บุปผชาติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โขมาว ได้แก่ สีขาวราวกะว่าสำเร็จ แด่ผ้าใยไหม. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า สระนั้นดารดาษไป ด้วยอุบลขาว จงกลนีและผักทอดยอดทั้งหลาย. บทว่า อปริยนฺตาว ทิสฺสเร ความว่า ปรากฏเหมือนหาประมาณมิได้. บทว่า คิมฺหา เหมนฺติกา ได้แก่ ปทุมชาติที่บานสะพรั่งในคิมหันตฤดูและเหมันตฤดู. บทว่า ชณฺณุตคฺฆา อุปตฺถรา ความว่า แผ่ไป ได้แก่ บาน คือปรากฏราวกะดำรงอยู่ในน้ำ ประมาณแค่เข่า. บทว่า วิจิตฺรา ปุปฺผสณฺิตา ความว่า ปทุมชาติทั้งหลาย งามวิจิตรชูดอกสะพรั่งส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทุกเมื่อ.

 
  ข้อความที่ 217  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 700

ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีรุกขชาติ หลายหลากขึ้นอยู่ คือ ไม้กระทุ่ม ไม่แคฝอย ไม้ ทองหลาง ผลิดอกบานสะพรั่ง ไม่ปรู ไม้สัก ไม่ ราชพฤกษ์ ดอกบานสะพรั่ง ไม้กากะทิง มีอยู่สองฟาก สระมุจลินท์ ไม้ซึก ไม่แคขาว บัวบก ไม้คนทิสอ ไม้ยางทรายขาว ไม้ประดู่ ดอกบานหอมฟุ้งที่ใกล้สระ นั้น ต้นมะคำไก่ ต้นพิกุล ต้นแก้ว ต้นมะรุม ต้นการเกด ต้นกรรณิการ์ ต้นชะบา ต้นรกฟ้าขาว ต้นรกฟ้าดำ ต้นสะท้อน และต้นทองกวาว ดอกบาน ผลิดอกออกยอดพร้อมๆ กัน ตั้งอยู่รุ่งเรืองแท้ ต้น มะรื่น ต้นตีนเป็ด ต้นกล้วย ต้นคำฝอย ต้นนมแมว ต้นคนทา ต้นประดู่ลายกับต้นกากะทิง มีดอกบาน สะพรั่ง ต้นมะไฟ ต้นงิ้ว ต้นช้างน้าว ต้นพุดขาว ต้นพุดซ้อน โกฐเขมา โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง พฤกษชาติทั้งหลายในสถานที่นั้น มีทั้งอ่อนทั้งแก่ ต้น ไม่คด ดอกบาน ตั้งอยู่สองข้างอาศรม รอบเรือนไฟ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติฏฺนฺติ ความว่า ตั้งล้อมรอบสระ. บทว่า กทมฺพา ได้แก่ ต้นกระทุ่ม. บทว่า กจฺจิการา จ ได้แก่ ต้นไม้ที่มี ชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปาริชญฺา ได้แก่ มีดอกแดง. บทว่า วารณา วุยฺหนา ได้แก่ ต้นนาคพฤกษ์. บทว่า มุจลินฺทมุภโต ได้แก่ ณ ข้างทั้งสองของ สระมุจลินท์. บทว่า เสตปาริสา ได้แก่ รุกขชาติที่เป็นพุ่มขาว. ได้ยิน ว่า ต้นแคขาวเหล่านั้นมีลำต้นขาว ใบใหญ่ มีดอกคล้ายดอกกรรณิการ์. บทว่า

 
  ข้อความที่ 218  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 701

นิคฺคณฺฑี สรนิคฺคณฺฑี ได้แก่ ต้นคนทิสอธรรมดา และต้นคนทิสอดำ. บทว่า ปงฺกุรา ได้แก่ ต้นไม้สีขาว. บทว่า กุสุมฺภรา ได้แก่ ไม้กอ ชนิดหนึ่ง. บทว่า ธนุตกฺการีปุปฺเผหิ ความว่า งดงามด้วยดอกนมแมว และดอกคนทาทั้งหลาย. บทว่า สีสปาวารณาหิ จ ได้แก่ งดงามด้วยต้น ประดู่ลายและต้นกากะทิงทั้งหลาย. แม้บทว่า อจฺฉิปา เป็นต้นก็เป็นชื่อ ต้นไม้ทั้งนั้น. บทว่า เสตเครุตคริกา ได้แก่ ต้นพุดขาวและต้นกฤษณา. บทว่า มํสิโกฏฺกุลาวรา ได้แก่ กอต้นชาเกลือ กอต้นโกฐ และต้นเปราะ- หอม. บทว่า อกุฏิลา ได้แก่ ต้นตรง. บทว่า อคฺยาคารํ สมนฺตโต ความว่า ตั้งแวดล้อมเรือนไฟ.

อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีพรรณไม้เกิดเอง เกิดขึ้น เป็นอันมาก คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส ถั่วครั่ง น้ำในสระมุจลินท์นั้นกระเพื่อมเนื่องถึงฝั่ง น้ำ แมลงผึ้งทั้งหลายเรียกว่าหิงคุชาล รุกขชาติทั้ง สองคือไม้สีเสียดและไม้เต่าร้าง ก็มี ณ สระมุจลินท์ นั้น ผักทอดยอดเป็นอันมากก็มี ณ เบื้องต่ำ ดูก่อน พราหมณ์ รุกขชาติทั้งหลายอันเถาสลิดปกคลุมตั้งอยู่ กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้ ๗ วัน ไม่จางหาย ฝั่งสระมุจลินท์ทั้งสองฟากมีต้นไม้ตั้งอยู่ เป็นส่วนๆ ราวกะบุคคลปลูกไว้ ป่านั้นดารดาษไป ด้วยหมู่ต้นราชพฤกษ์งามดี กลิ่นแห่งดอกราชพฤกษ์ เป็นต้นเหล่านั้น ทรงอยู่ได้กึ่งเดือน ไม่จางหาย อัญชัญ เขียวอัญชัญขาวและกรรณิการ์เขาดอกบานสะพรั่ง ป่า นั้นปกคลุมไปด้วยอบเชยและแมงลัก อันบุคคลยินดี

 
  ข้อความที่ 219  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 702

ด้วยกลิ่นจากดอกและกิ่งก้าน หมู่ภมรบินว่อนร่อนร้อง อยู่รอบๆ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ ดูก่อน พราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้นมี ฟักแฟง แตง น้ำเต้า สามชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสองชนิดผล โตเท่าตะโพน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผณิชฺชกา ได้แก่ ติณชาติที่เกิดเอง บทว่า มุคฺคติโย ได้แก่ ถั่วเขียวชนิดหนึ่ง. บทว่า กรติโย ได้แก่ ถั่ว ราชมาส. บทว่า เสวาลํ สีสกํ ได้แก่ แม้ต้นไม้เหล่านั้นก็เป็นไม้กอนั่นแล อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สีสกํ ท่านกล่าวว่า จันทน์แดง. บทว่า อุทฺธาปวตฺตํ อลฺลุลิตํ ความว่า น้ำนั้นถูกลมพัดกระเพื่อมเนื่องถึงริมฝั่งตั้งอยู่. บทว่า มกฺขิกา หิงคุชาลิกา ความว่า แมลงผึ้ง ๕ สีที่กลุ่มดอกไม้แย้มบานที่ เรียกหิงคุชาล ต่างบินวนว่อนร่อนร้องด้วยเสียงอันไพเราะอยู่ในสระนั้น. บทว่า ทาสิมกญฺจโก เจตฺถ ความว่า ในสระนั้นมีรุกขชาติอยู่สองชนิด. บทว่า นีเจ กลมฺพกา ได้แก่ ผักทอดยอดมี ณ เบื้องต่ำ. บทว่า เอลมฺพกรุกฺข- สญฺฉนฺนา ความว่า อันไม้เถาซึ่งมีชื่ออย่างนี้ปกคลุม. บทว่า เตสํ ได้ แก่ ดอกเหล่านั้นของไม้เถานั้น กลิ่นของดอกสลิดเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งหมด หอมอยู่ตลอด ๗ วัน ดอกไม้ทั้งหลายสมบูรณ์ด้วยกลิ่นหอม ภูมิภาคเต็มไป ด้วยทรายคล้ายแผ่นเงิน. บทว่า คนฺโธ เตสํ ความว่า กลิ่นของดอกราช- พฤกษ์เป็นต้นเหล่านั้นหอมอยู่กึ่งเดือน. บทว่า นีลปุปฺผิ เป็นต้น ได้แก่ ไม้เถามีดอก. บทว่า ตุลสีหิ จ ความว่า ผลของไม้เถา ๓ ชนิด คือ ฟักแฟง แตง น้ำเต้า ไม้เถาเหล่านั้น ไม้เถาชนิดหนึ่งมีผลเท่าหม้อใหญ่ อีก ๒ ชนิดผลเท่าตะโพน เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ อีกอย่างหนึ่ง ๒ ชนิด มีผลเท่าตะโพนและกอกระเพรา.

 
  ข้อความที่ 220  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 703

อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีพรรณผักกาดเป็นอันมาก ทั้งกระเทียมประกอบด้วยใบเขียว ต้นเหลาชะโอนตั้ง อยู่ดุจต้นตาล ผักสามหาวมีเป็นอันมาก ควรเด็ดดอก ด้วยกำมือ เถาโคกกระออม นมตำเลีย เถาหญ้านาง เถาชะเอม ไม้อโศก ต้นเทียน บรเพ็ดไฟ ชิงช้าชาลี ว่านหางช้าง อังกาบ ไม้หนาด ไม้กากะทิงและมะลิ- ซ้อนบานแล้ว ต้นทองเครือก็บานขึ้นต้นไม้อื่นตั้งอยู่ ต้นก้างปลา กำยาน คัดเค้า ชะเอม มะลิเลื้อย มะลิ ธรรมดา ชบา บัวบก ย่อมงดงาม แคฝอย ฝ้ายทะเล กรรณิการ์ บานแล้ว ปรากฏดังข่ายทอง งามรุ่งเรือง ดุจเปลวเพลิง ดอกไม้เหล่านั้นเหล่าใดเกิดแต่ที่ดอน และในน้ำ ดอกไม้เหล่านั้นทั้งหมดปรากฏในสระนั้น เพราะขังน้ำอยู่มากน่ารื่นรมย์ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า สาสโป ได้แก่ พรรณผักกาด. บทว่า พหุโก แปลว่า มาก. บทว่า นาทิโย หริตายุโต ความว่า กระเทียม ประกอบด้วยใบเขียว ธรรมชาติกระเทียมเหล่านี้มีสองชนิด กระเทียมแม้นั้นมี มากที่สระนั้น. บทว่า อสีตาลาว ติฏฺนฺติ ความว่า ต้นไม้มีชื่อว่าเหลา ชะโอนอย่างนี้ปรากฏ ณ ภูมิภาคที่เรียบราบ ตั้งอยู่คล้ายต้นตาล. บทว่า เฉชฺชา อินฺทวรา พหู ความว่า ที่ริมน้ำมีผักสามหาวเป็นอันมาก พอ ที่จะเด็ดได้ด้วยกำมือตั้งอยู่. บทว่า อปฺโผฏา ได้แก่ เถาโคกกระออม. บทว่า วลฺลิโภ ขุทฺทปุปฺผิโย ได้แก่ บรเพ็ด และชิงช้าชาลี. บทว่า นาคมลฺลิกา ได้แก่ ไม้กากะทิงและมะลิซ้อน. บทว่า กึสุกวลฺลิโย ได้ แก่ ธรรมชาติไม้เถาที่มีกลิ่นหอมเป็นประมาณ. บทว่า กเตรุหา ปวาเสนฺติ

 
  ข้อความที่ 221  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 704

ได้แก่ ทั้งสองอย่างเหล่านี้เป็นไม้กอมีดอก. บทว่า มธุคนฺธิยา ได้แก่ มี กลิ่นเหมือนน้ำผึ้ง. บทว่า นิลิยา สุมนา ภณฺฑี ได้แก่ มะลิเลื้อย มะลิ ปกติ และชบา. บทว่า ปทุมตฺตโร ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง. บทว่า กณิการา จ ได้แก่ กรรณิการ์เถาบ้าง กรรณิการ์ต้นบ้าง. บทว่า เหมชาลาว ความ ว่า ปรากฏเหมือนข่ายทองที่ขึงไว้. บทว่า มโหทธิ ได้แก่ สระมุจลินท์ขัง น้ำไว้มาก.

อนึ่ง ในสระโบกขรณีนั้น มีเหล่าสัตว์ที่เที่ยวหา กินในน้ำเป็นอันมาก คือปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลา ดุก จระเข้ ปลามังกร ปลาฉลาม ผึ้งที่ไม่มีตัว ชะเอมเครือ กำยาน ประยงค์ กระวาน แห้วหมู สัตตบุษย์ สมุลแว้ง ไม่กฤษณาต้นมีกลิ่นหอม แฝกดำ แฝกขาว บัวบก เทพทาโร โกฐทั้ง ๙ กระทุ่มเลือด และดองดึง ขมิ้น แก้วหอม หรดาลทอง คำคูน สมอพิเภก ไคร้เครือ การบูรและรางแดง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถสฺสา โปกฺขรณิยา ความว่า อัจจุตฤาษีกล่าวเรียกสระนั่นแหละว่าโบกขรณีในที่นี้ เพราะเป็นเช่นกับสระโบกขรณี. บทว่า โรหิตา เป็นต้น เป็นชื่อของสัตว์ที่เที่ยวหากินในน้ำเหล่านั้น. บทว่า มธุ จ ได้แก่ ผึ้งที่ไม่มีตัว. บทว่า มธุลฏฺิ จ ได้แก่ ชะเอม เครือ. บทว่า ตาลิยา เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไม้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ.

อนึ่ง ที่ป่านั้นมีเหล่าราชสีห์ เสือโคร่ง ยักขินี ปากเหมือมลา และเหล่าช้าง เนื้อฟาน ทราย กวางดง ละมั่ง ชะมด สุนัขจิ้งจอก กระต่าย บ่าง สุนัขใน จามรี เนื้อสมัน ชะนี ลิงลม ค่าง ลิง ลิง

 
  ข้อความที่ 222  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 705

โทน กวาง ละมั่ง หมี โคถึก ระมาด สุนัขป่า พังพอน กระแต มีมากที่ใกล้สระนั้น กระบือป่า สุนัขใน สุนัขจิ้งจอก ลิงลมมีโดยรอบ เหี้ย คชสีห์ มีตระพองดังคชสาร เสือดาว เสือเหลือง กระต่าย แร้ง ราชสีห์ เสือแผ้ว ละมั่ง นกยูง หงส์ขาว และ ไก่ฟ้า นกกวัก ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากัน และกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นก ต้อยตีวิด นกกระเรียน นกหัสดิน เหล่าเหยี่ยว นก- โนรี นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน นก กระทา อีรุ้ม อีร้า เหล่านกค้อนหอย นกพระหิต นกคับแล นกกระทา นกกระจอก นกแซงแซว นก กระเต็น และนกกางเขน นกกรวิก นกกระไน นกเค้าโมง นกเค้าแมว สระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยฝูง นกนานาชนิด กึกก้องไปด้วยเสียงต่างๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุริสาลู ได้แก่ ยักขินีมีปากเหมือนลา. บทว่า โรหิตา สรภา มิคา ได้แก่ กวางดง ละมั่ง ชะมด. บทว่า โกฏฺสุณา ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. ปาฐะว่า โกฏฺโสณา ก็มี. บทว่า สุโณปิ จ ได้แก่ มฤคชาติเล็กๆ ที่ว่องไวชนิดหนึ่ง. บทว่า ตุลิยา ได้ แก่ บ่าง. บทว่า นฬสนฺนิภา ได้แก่ สุนัขในมีสีคล้ายดอกอ้อ. บทว่า จามรี จลนี ลงฺฆี ได้แก่ จามรี เนื้อสมันและลิงลม. บทว่า ฌาปิตา มกฺกฏา ได้แก่ ลิงใหญ่สองชนิดนั่นแล. บทว่า ปิจุ ได้แก่ ลิงตัวเมียชนิด

 
  ข้อความที่ 223  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 706

หนึ่งหาอาหารกินที่ริมสระ. บทว่า กกฺกฏา กตมายา จ ได้แก่ มฤคใหญ่ สองชนิด. บทว่า อิกฺกา ได้แก่ หมี. บทว่า โคณสิรา ได้แก่ โคป่า. บทว่า กาฬเกตฺถ พหุตโส ความว่า ชื่อว่าเหล่ากาฬมฤคมีมากใกล้สระนี้. บทว่า โสณา สิงฺคาลา ได้แก่ สุนัขป่า สุนัขใน และสุนัขจิ้งจอก. บทว่า จปฺปกา ความว่า เหล่าลิงลมที่อาศัยบนกอไผ่ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่รอบ อาศรม. บทว่า อากุจฺจา ได้แก่ เหี้ย. บทว่า ปจฺลากา ได้แก่ คชสีห์มี ตะพองดังคชสาร. บทว่า จิตฺรกา จาปิ ทีปิโย ได้แก่ เสือดาว และ เสือเหลือง. บทว่า เปลกา จ ได้แก่ กระต่าย. บทว่า วิฆาสาทา ได้ แก่ นกแร้งเหล่านั้น. บทว่า สีหา ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า โกกนิสาตกา ได้แก่ มฤคร้ายที่มีปกติจับสุนัขป่ากิน. บทว่า อฏฺปาทา ได้ แก่ ละมั่ง. บทว่า ภสฺสรา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า กุกุฏกา ได้แก่ ไก่ฟ้า. บทว่า จงฺโกรา ได้แก่ นกกด. บทว่า กุกฺกุฏา ได้แก่ ไก่ป่า. บทว่า ทินฺทิภา โกญฺจวาทิกา ได้แก่ เหล่านกทั้งสามชนิดนี้นั่น แล. บทว่า พฺยคฺฆินสา ได้แก่ เหยี่ยว. บทว่า โลหปิฏฺา ได้แก่ นก สีแดง. บทว่า จปฺปกา ได้แก่ นกโพระดก. บทว่า กปิญฺชรา ติตฺติราโย ได้แก่ นกกระเรียนและนกกระทา. บทว่า กุลาวา ปฏิกุฏฺกา ได้แก่ นกทั้งหลายสองชนิดแม้เหล่านี้. บทว่า มณฺฑาลกา เจลเกฬุ ได้แก่ นกค้อนหอย และนกพระหิต. บทว่า ภณฺฑุติตฺติรนามกา ได้ แก่ นกคับแค นกกระทา และนกแขวก. บทว่า เจลาวกา ปิงฺคุลาโย ได้แก่ สกุณชาติสองชนิด นกกระเต็น นกกางเขน ก็เหมือนกัน. บทว่า สคฺคา ได้แก่ นกกระไน. บทว่า อุหุงฺการา ได้แก่ นกเค้าแมว.

 
  ข้อความที่ 224  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 707

ยังมีนกทั้งหลายที่ใกล้สระนั้น คือเหล่านกขน เขียว เรียกนกพระยาลอ พูดเพราะ พร้อมกับตัวเมีย ร่ำร้องต่อกันและกันบันเทิงอยู่ และเหล่านกที่มีเสียง ไพเราะ มีนัยน์ตางาม มีหางตาสีขาวทั้งสองข้าง มีขน ปีกวิจิตร มีอยู่ใกล้สระนั้น อนึ่งเหล่าสกุณชาติที่มีอยู่ ใกล้สระนั้น เป็นพวกนกมีเสียงไพเราะ มีหงอนและ ขนคอเขียว ร่ำร้องต่อกันและกัน เหล่านกกระไน นกกด นกเปล้า นกดอกบัว เหยี่ยวแดง เหยี่ยวกัน ไกร นกกระลิง นกแขกเต้า นกสาลิกาสีเหลือง สี- แดง สีขาว นกกระจิบ นกหัสดิน นกเค้าโมง นกเคล้า นกแก้ว นกดุเหว่า นกออกดำ นกออกขาว หงส์ขาว นกค้อนหอย นกระวังไพร หงส์แดง นก กระไน นกโพระดก นกพระหิด นกพิลาป หงส์ทอง นกจากพราก ผู้เที่ยวไปทั้งในน้ำและบนบก และนก หัสดินทรี ร้องน่ายินดี ร้องในกาลเช้ากาลเย็น ยัง เหล่าสกุณชาติมีสีต่างกันเป็นอันมาก มีอยู่ที่ใกล้สระ นั้น ร่ำร้องต่อกันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ ทั้งหมดนั้นเสียงไพเราะ ร้องอยู่สองฟากสระมุจลินท์ อนึ่งยังมีเหล่าสกุณชาติชื่อกรวี (การเวก) ที่ใกล้สระ นั้น ร่ำร้องหากันและกัน ยินดีกับเหล่าตัวเมีย และ ทั้งหมดนั้นร้องเสียงไพเราะ อยู่สองฟากสระมุจลินท์

 
  ข้อความที่ 225  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 708

สองฟากสระมุจลินท์เกลื่อนไปด้วยเนื้อทรายและกวาง มีหมู่ช้างอยู่อาศัย ปกคลุมไปด้วยลดาวัลย์ต่างๆ อัน ชะมดอยู่อาศัยแล้ว และแถบสระมุจลินท์นั้นมีหญ้า กับแก้ ข้าวฟ่าง ลูกเดือยมากมาย และข้าวสาลีที่ เกิดเองตามธรรมชาติ และอ้อยก็มีมิใช่น้อยที่ใกล้ สระมุจลินท์นั้น นี้เป็นหนทางเดินได้คนเดียวจึงไป ได้ตรงไปจะถึงอาศรมสถาน บุคคลถึง ณ อาศรมนั้น แล้วจะไม่ได้ความลำบาก ความระหายและความไม่ยิน ดีแต่อย่างไรเลย เป็นที่พระเวสสันดรราชฤาษีพร้อม ด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีประทับอยู่ ทรง เพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะในการบูชาเพลิง และชฎา ทรงหนังเสือเหลือง เป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน นมัสการเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลกา ได้แก่ มีขนปีกลายวิจิตรสวย งาม. บทว่า มญฺชุสฺสราสิตา ได้แก่ มีเสียงไพเราะเป็นนิตย์. บทว่า เสตกฺขิกูฏา ภทฺรกฺขา ความว่า มีนัยน์ตางาม ประกอบด้วยหางตาขาวทั้ง สองข้าง. บทว่า จิตฺรเปกฺขณา ได้แก่ มีขนปีกอันวิจิตร. บทว่า กุฬีรกา ได้แก่ นกกด. บทว่า โกฏฺา เป็นต้น เป็นเหล่าสกุณชาติ. บทว่า วารณา ได้แก่ นกหัสดีลิงค์. บทว่า กทมฺพา ท่านกำหนดเอานกแก้วใหญ่. บทว่า สุวโกกิลา ได้แก่ นกแก้วที่เที่ยวไปกับนกดุเหว่า และนกดุเหว่าทั้งหลาย. บทว่า กุกฺกุสา ได้แก่ นกออกดำ. บทว่า กุรุรา ได้แก่ นกออกขาว.

 
  ข้อความที่ 226  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 709

บทว่า หํสา ได้แก่ หงส์ขาว. บทว่า อาฏา ได้แก่ นกที่มีปากมีสัณฐาน คล้ายทัพพี. บทว่า ปริวเทนฺติกา ได้แก่ สกุณชาติชนิดหนึ่ง. บทว่า วารณภิรุทา รมฺมา ได้แก่ นกหัสดินทรีร้องน่ายินดี. บทว่า อุโภ กาลุปกูชิโน ความว่า ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกัน ตลอดเชิงบรรพต ทั้งเย็นทั้งเช้า. บทว่า เอเณยฺยา ปสตากิณฺณํ ความว่า เกลื่อนไปด้วย เนื้อทราย กวาง และกวางดาวทั้งหลาย. บทว่า ตตฺถ ปตฺโต น วินฺทติ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนที่ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรแล้ว จะไม่ได้ ความหิวหรือความระหายน้ำดื่มหรือความไม่พอใจ ในอาศรมนั้นเลย.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ชูชกพรหมพันธุ์ได้ฟังคำของพระอัจจุตฤาษีนี้ แล้ว ทำประทักษิณพระฤาษีมีจิตยินดีหลีกไปยังสถาน ที่พระเวสสันดรประทับอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตโร อหุ ความว่า พระเวสสันดรมีอยู่ในที่ใด ชูชกก็ไปสู่ที่นั้น.

จบมหาวนวรรณนา

 
  ข้อความที่ 227  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 710

กุมารบรรพ

ฝ่าย ชูชก ไปจนถึงฝั่งโบกขรณีสี่เหลี่ยมตามทางที่ พระอัจจุตดาบส บอก คิดว่า วันนี้เย็นเกินไปเสียแล้ว บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จกลับจากไป ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงย่อมกระทำอันตรายแก่ทาน พรุ่งนี้เวลาพระนางเสด็จไปป่า เรา จึงไปสู่อาศรมบทเฝ้าพระเวสสันดรราชฤาษี ทูลขอกุมารกุมารีทั้งสอง เมื่อพระ นางยังไม่เสด็จกลับ ก็จักพาสองกุมารกุมารีนั้นหลีกไป จึงขึ้นสู่เนินภูผาแห่ง หนึ่งในที่ไม่ไกลสระนั้นนอน ณ ที่มีความสำราญ.

ก็ราตรีนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระนางมัทรีได้ทรงพระสุบิน ความในพระสุบินนั้นว่า มีชายคนหนึ่งผิวดำนุ่งห่มผ้ากาสายะสองผืน ทัดดอกไม้สีแดงทั้ง สองหู ถืออาวุธตะดอกขู่มาเข้าสู่บรรณศาลาจับพระชฎาของพระนางคร่ามา ให้ พระนางล้มหงาย ณ พื้น ควักดวงพระเนตรทั้งสองและตัดพระพาหาทั้งสองของ พระนางผู้ร้องไห้อยู่ ทำลายพระอุระถือเอาเนื้อพระหทัย ซึ่งมีหยาดพระโลหิต ไหลอยู่แล้วหลีกไป พระนางมัทรีตื่นบรรทมทั้งตกพระหทัยทั้งสะดุ้ง ทรง รำพึงว่า เราฝันร้าย บุคคลผู้จะทำนายฝันเช่นกับพระเวสันดรไม่มี เราจัก ทูลถามพระองค์ ทรงคิดฉะนี้แล้วเสด็จไปเคาะพระทวารบรรณศาลาแห่งพระ มหาสัตว์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงสดับเสียงเคาะพระทวารนั้น จึงตรัสทัก ถามว่า นั่นใคร พระนางทูลสนองว่า หม่อมฉันมัทรี พระเจ้าค่ะ พระเวสสันดรตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ เธอทำลายกติกาวัตรของเราทั้งสองเสียแล้ว เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาอันไม่สมควร พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันมิได้มาเฝ้าด้วยอำนาจกิเลส ก็แต่ว่าหม่อมฉันฝันร้าย พระเวส-

 
  ข้อความที่ 228  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 711

สันดรตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงเล่าไป พระนางมัทรีก็เล่าถวายโดยทำนองที่ ทรงสุบินทีเดียว พระมหาสัตว์ทรงกำหนดพระสุบินนั้นแล้วทรงดำริว่า ทาน บารมีของเราจักเต็มรอบ พรุ่งนี้จักมียาจกมาขอบุตรี เราจักยังนางมัทรีให้อุ่น ใจแล้วจึงกลับไป ทรงดำริฉะนั้นแล้วตรัสว่า แน่ะมัทรี จิตของเธอขุ่นมัว เพราะบรรทมไม่ดี เสวยอาหารไม่ดี เธออย่ากลัวเลย แล้วตรัสโลมเล้าเอา พระทัย ให้อุ่นพระหทัยแล้วตรัสส่งให้เสด็จกลับไป.

ในเมื่อราตรีสว่าง พระนางมัทรีทรงทำกิจที่ควรทำทั้งปวงแล้วสวม กอดพระโอรสพระธิดา จุมพิต ณ พระเศียรแล้วประทานโอวาทว่า แน่. แม่ และพ่อ วันนี้มารดาฝันร้าย แม่และพ่ออย่าประมาทแล้วเสด็จไปเฝ้าพระมหา- สัตว์ ทูลขอให้พระมหาสัตว์ทรงรับพระโอรสและพระธิดาด้วยคำว่า ขอพระองค์ อย่าทรงประมาทในทารกทั้งสอง แล้วทรงถือกระเช้าและเสียมเป็นต้น เช็ดน้ำ พระเนตรเข้าสู่ป่าเพื่อต้องการมูลผลาผล

ฝ่ายชูชกคิดว่า บัดนี้พระนางมัทรีจักเสด็จไปป่าแล้ว จึงลงจากเนิน ผามุ่งหน้ายังอาศรม เดินไปตามทางที่เดินได้เฉพาะคนเดียว ลำดับนั้นพระมหา สัตว์เสด็จออกหน้าพระบรรณศาลาประทับนั่ง ดุจสุวรรณปฏิมาตั้งอยู่ ณ แผ่น ศิลา ทรงคิดว่า บัดนี้ยาจกจักมา ก็ประทับทอดพระเนตรทางมาแห่งยาจกนั้น ดุจนักเลงสุราอยากดื่มฉะนั้น พระราชโอรสและพระราชธิดาทรงเล่นอยู่ใกล้ พระบาทมูลแห่งพระราชบิดา พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรทางมา ก็ทอดพระ- เนตรเห็นชูชกพราหมณ์มาอยู่ ทรงเป็นเหมือนยกทานธุระซึ่งทอดทิ้งมา ๗ เดือน จึงตรัสว่า แน่ะพราหมณ์ผู้เจริญ แกจงมาเถิด ทรงโสมนัสเมื่อตรัส เรียกพระชาลีราชกุมาร จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 229  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 712

แน่ะพ่อชาลี พ่อจงลุกขึ้นยืน การมาของพวก ยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของพวกยาจกครั้ง ก่อนๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความชื่นชมยินดี ทำให้พ่อเกษมศานติ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณํ วิย ทิสฺสติ ความว่า การมา ของยาจกในวันนี้ ปรากฏเหมือนการมาของยาจกทั้งหลายแต่ทิศต่างๆ ในนคร เชตุดรในกาลก่อน. บทว่า นนฺทิโย มาภิกีรเร ความว่า จำเดิมแต่กาลที่ เราเห็นพราหมณ์นั้นความโสมนัสก็แผ่คลุมเรา เป็นเหมือนเวลารดน้ำเย็น ๑,๐๐๐ หม้อ ลงบนศีรษะของผู้ที่ถูกแดดเผาในฤดูร้อน

พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชบิดาตรัสดังนั้น จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่เสด็จพ่อ แม้เกล้ากระหม่อมก็เห็น ผู้นั้น ปรากฏเหมือนพราหมณ์ที่เราจะต้องการอะไรมาอยู่ เขาเป็นแขกของเราทั้งหลาย.

ก็และครั้นกราบทูลฉะนี้แล้ว ได้ทรงทำความเคารพพระมหาสัตว์ เสด็จลุกไปต้อนรับพราหมณ์ชูชก ตรัสถามถึงการจะช่วยรับเครื่องบริขาร พราหมณ์ชูชกเห็นพระชาลีราชกุมาร คิดว่า เด็กคนนี้จักเป็นพระชาลีราชกุมาร พระราชโอรสของพระเวสสันดร เราจักกล่าวผรุสวาจาแก่เธอเสียตั้งแต่ต้นที เดียว คิดฉะนี้แล้วจึงชี้นิ้วมือหมายให้รู้ว่า ถอยไป ถอยไป ดังนี้ พระชาลี กุมารเสด็จหลีกไป ทรงคิดว่า ตาพราหมณ์นี้หยาบเหลือเกิน เป็นอย่างไร หนอ ทอดพระเนตรสรีระของชูชกก็เห็นบุรุษโทษ ๑๘ ประการ ฝ่ายพราหมณ์ ชูชกเข้าไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 230  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 713

พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้ เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน ทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวน- ประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงทำปฏิสันถารกับชูชกนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่ค่อยมีอาพาธ สุขสำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหา ผลไม้สะดวกดี และมูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียด เบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ค่อยมีแก่เรา.

เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตเตรียมตรมตลอด ๗ เดือน เราเพิ่งเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศอันประเสริฐ ถือ ไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ภาชนะสำหรับบูชาเพลิงและ หม้อน้ำ แม่นี้เป็นครั้งแรก ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมา ดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอให้ ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อน พราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหวด ผลมะซาง และ ผลหมากเม่า เป็นผลไม่มีรสหวาน เล็กๆ น้อยๆ เชิญ ท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดีๆ เถิด ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่ม นี้เย็น นำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญดื่มเถิด ถ้าปรารถนา จะดื่ม.

 
  ข้อความที่ 231  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 714

ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า พราหมณ์นี้จัก ไม่มาสู่ป่าใหญ่นี้โดยไม่มีเหตุการณ์ เราจักถามแกถึงเหตุที่มาไม่ให้เนิ่นช้า จึง ตรัสคาถานี้ว่า

ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน ได้แก่ ด้วยเหตุ. บทว่า เหตุนา ได้แก่ ด้วยปัจจัย.

ชูชกทูลตอบว่า

ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลาย่อมไม่เหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระโอรสพระธิดา กะพระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระโอรส พระธิดาแก่ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาริวโห ได้แก่ ห้องน้ำในปัญจมหานที. บทว่า น ขียติ ความว่า คนผู้ระหายมาสู่แม่น้ำ ใช้มือทั้งสองบ้าง ภาชนะ ทั้งหลายบ้างตักขึ้นดื่ม ก็ไม่หมดสิ้นไป. บทว่า เอวนฺตํ ยาจิตาคญฺฉึ ความว่า ข้าพระองค์เข้าใจว่า พระองค์เป็นผู้มีอย่างนี้เป็นรูปทีเดียว เพราะ เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา จึงได้มาทูลขอกะพระองค์. บทว่า ปุตฺเต เม เทหิ ยาจิโต ความว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลขอแล้ว โปรดพระราชทานพระ โอรสพระธิดาทั้งสองของพระองค์ เพื่อประโยชน์เป็นทาสของข้าพระองค์.

พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำของชูชกดังนั้นก็ทรงโสมนัส ทรงยังเชิงบรรพตให้บันลือลั่น ดุจบุคคลวางถุงเต็มด้วยกหาปณะหนึ่งพันในมือ ของบุคคลที่เหยียดออกรับฉะนั้น ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 232  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 715

ดูก่อนพราหมณ์ เรายกให้ ไม่หวั่นไหว ท่านจง เป็นใหญ่นำไปเถิด พระนางมัทรีราชบุตรีเสด็จไปป่า เพื่อแสวงหาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาเวลาเย็น ดูก่อน พราหมณ์ ท่านจงอยู่ค้างเสียคืนหนึ่งก่อน รุ่งขึ้นเช้า จึงไป พากุมารกุมารีซึ่งพระมารดาของเธอให้สรงแล้ว สูดดมที่เศียรแล้ว ประดับระเบียบดอกไม้ ไปใน มรรคาที่ปกคลุมด้วยนานาบุปผชาติประดับด้วยนานา คันธชาติ เกลื่อนไปด้วยมูลผลาหาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสฺสโร ความว่า ท่านจงเป็นใหญ่ คือเป็นเจ้าของพระโอรสพระธิดาทั้งสองของเรา นำเขาไป แต่ยังมีเหตุการณ์ นี้อีกอย่างหนึ่งคือ พระราชบุตรีมัทรีผู้เป็นพระมารดาของกุมารกุมารีเหล่านั้นไป หาผลาผลแต่เช้า จักกลับมาจากป่าเวลาเย็น ท่านบริโภคผลาผลอร่อยๆ ที่ พระนางมัทรีนั้นนำมา วันนี้พักอยู่คืนหนึ่งในป่านี้แหละ แล้วค่อยพาเด็กทั้ง สองไปแต่เช้าทีเดียว. บทว่า ตสฺสา นหาเต ได้แก่ พระนางมัทรีสรงให้ แล้ว. บทว่า อุปสึฆาเต ได้แก่ สูดดมเศียรแล้ว. บทว่า อถ เน มาล- ธาริเน ได้แก่ ตกแต่งด้วยระเบียบดอกไม้อันวิจิตร นำระเบียบดอกไม้นั้น ไปด้วย. ก็บทว่า อถ เน ท่านเขียนไว้ในคัมภีร์บาลี เนื้อความของบทนั้น ท่านมิได้วิจารณ์ไว้. บทว่า มูลผลากิณฺเณ ความว่า เกลื่อนไปด้วยมูล ผลาผลต่างๆ ที่ให้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เสบียงในมรรคา.

ชูชกกล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์ไม่ชอบใจ อยู่แรม ข้าพระองค์ชอบใจกลับไป แม้อันตรายจะพึง

 
  ข้อความที่ 233  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 716

มีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ต้องไปทีเดียว เพราะว่า สตรีทั้งหลายเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ เป็นผู้ ทำอันตราย รู้มนต์ ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย เมื่อ พระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระศรัทธา พระองค์อย่า ได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย พระ มารดาจะทำอันตราย ข้าพระองค์จะต้องไปทีเดียว ขอ พระองค์ตรัสเรียกพระโอรสพระธิดาทั้งสองมา พระ โอรสพระธิดาทั้งสองอย่าต้องพบพระมารดาเลย เมื่อ พระองค์ทรงบริจาคทานด้วยพระศรัทธา บุญก็ย่อม เจริญทั่ว ด้วยประการฉะนี้.

ข้าแต่พระราชฤาษี ขอพระองค์ตรัสเรียกพระ- ราชบุตรพระราชบุตรีมา พระราชบุตรพระราชบุตรีทั้ง สองอย่าต้องพบพระมารดาเลย พระองค์พระราชทาน ทรัพย์แก่ยาจกเช่นข้าพระองค์แล้วจักเสด็จไปสู่สวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํ ในบาทคาถาว่า น เหตา ยาจ- โยคี นํ นี้ เป็นเพียงนิบาต มีคำอธิบายว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดา สตรีเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรจะขอเลย คือย่อมเป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอโดยแท้. บทว่า อนฺตรายสฺส การิยา ความว่า ย่อมกระทำอันตรายแก่บุญของ ทายก กระทำอันตรายแก่ลาภของยาจก. บทว่า มนฺตํ ความว่า สตรีทั้งหลาย ย่อมรู้มายา. บทว่า วามโต ความว่า ถือเอาสิ่งทั้งปวงโดยเบื้องซ้าย ไม่ ถือเอาโดยเบื้องขวา. สทฺธาย ทานํ ททโต ความว่า เมื่อพระองค์ทรง

 
  ข้อความที่ 234  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 717

เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมบริจาคทาน. บทว่า มาสํ ความว่า อย่าต้องพบ พระมารดาของพระกุมารกุมารีเหล่านั้นเลย. บทว่า กยิรา แปลว่า พึงกระทำ. บทว่า อามนฺตยสฺสุ ความว่า ชูชกทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้ทราบว่าจะ ส่งไปกับข้าพระองค์. บทว่า ททโต ได้แก่ เมื่อทรงบริจาค.

พระเวสสันดรตรัสว่า

ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะพบพระมเหสีผู้ผู้มีวัตรอัน งามของข้าไซร้ ท่านจงถวายชาลีกุมารและกัณหาชินา กุมารีทั้งสองนี้ แด่พระเจ้าสญชัยผู้เป็นพระอัยกา พระอัยกาทอดพระเนตรเห็นพระกุมารกุมารีทั้งสองนี้ผู้ มีเสียงไพเราะ เจรจาน่ารัก จักทรงปีติดีพระทัย พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยฺยกสฺส ได้แก่ แด่พระเจ้าสญชัย มหาราชผู้เป็นพระชนกนาถของเรา. บทว่า ทสฺสติ เต ความว่า พระเจ้า สญชัยมหาราชพระองค์นั้นจักพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน.

ชูชกทูลว่า

ข้าแต่พระราชบุตร ข้าพระองค์กลัวต่อข้อหาชิง พระกุมารกุมารีแล้วจับข้าพระองค์ไว้ ขอพระองค์ โปรดฟังข้าพระองค์ พระเจ้าสญชัยมหาราชพึงพระ- ราชทานตัวข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราช- ทัณฑ์ หรือพึงให้ข้าพระองค์ขายพระโอรสพระธิดา หรือพึงประหารชีวิตเสีย ข้าพระองค์ขาดจากทรัพย์ และทาสทาสี นางอมิตตตาปนาพราหมณีจะพึงติเตียน.

 
  ข้อความที่ 235  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 718

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺเฉทนสฺส ได้แก่ ต่อข้อหาชิงกุมาร กุมารีแล้วจับ. บทว่า ราชทณฺฑาย มํ ทชฺชา ความว่า พระเจ้ากรุงสญ- ชัยพึงพระราชทานข้าพระองค์แก่อำมาตย์ทั้งหลายเพื่อลงราชทัณฑ์ ด้วยข้อหา อย่างนี้ว่า พราหมณ์คนนี้เป็นโจรลักเด็ก จงลงราชทัณฑ์แก่มัน. บทว่า คาเรยฺหสฺส พฺรหฺมพนฺธุยา ความว่า และข้าพระองค์จักพึงถูกนางอมิตต- ตาปนาพราหมณีติเตียน

พระเวสสันดรตรัสว่า

พระมหาราชเจ้าผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ สถิตอยู่ใน ธรรม ทอดพระเนตรเห็น พระกุมารกุมารีผู้มีเสียง ไพเราะ เจรจาน่ารักนี้ ทรงได้ปีติโสมนัส จัก พระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.

ชูชกทูลว่า

ข้าพระองค์จักทำตามรับสั่งไม่ได้ ข้าพระองค์จัก นำทารกทั้งสองไปให้บำเรอนางอมิตตตาปนาพราหมณี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารเกว ความว่า ข้าพระองค์ไม่ต้อง การทรัพย์อย่างอื่น ข้าพระองค์จักนำสองทารกเหล่านี้ไปให้บำเรอพราหมณีของ ข้าพระองค์.

พระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีได้สดับผรุสวาจานั้น ของชูชกก็เกรงกลัว พากันเสด็จไปหลังบรรณศาลา แล้วหนีไปจากที่แม้นั้น ซ่อนองค์ที่ชัฏพุ่มไม้ องค์สั่นทอดพระเนตรเห็นพระองค์เหมือนถูกชูชกมาจับ ไปแม้ในที่นั้น เมื่อไม่สามารถจะดำรงอยู่ ณ ที่ไรๆ ก็วิ่งไปแต่ที่นี้บ้างๆ เลย

 
  ข้อความที่ 236  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 719

เสด็จไปถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้มั่น ตกพระทัยกลัว ลงสู่น้ำ เอาใบบัววางไว้บนพระเศียร เอาน้ำบังองค์ประทับยืนอยู่.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้นพระกุมารกุมารีได้ฟังคำที่ชูชกผู้ร้ายกาจ กล่าวก็สะทกสะท้านทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา สององค์พากันวิ่งไปแต่ที่นั้นๆ.

ฝ่ายชูชกไม่เห็นสองกุมาร จึงพูดรุกรานพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่พระเวสสันดรผู้เจริญ พระองค์ประทานกุมารกุมารีแก่ข้าพระองค์บัดนี้ ครั้น ข้าพระองค์ทูลว่า ข้าพระองค์จักไม่ไปเชตุดรราชธานี จักนำกุมารกุมารีไปให้ บำเรออมิตตตาปนาพราหมณีของข้าพระองค์ พระองค์ก็ให้สัญญาโบกไม้โบกมือ ให้พระโอรสพระธิดาหนีไปเสีย แล้วนั่งทำเป็นไม่รู้ คนพูดมุสาเช่นพระองค์ เห็นจะไม่มีในโลก.

ฝ่ายพระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ตกพระทัย ทรงดำริว่า เด็กทั้ง สองจักหนีไป จึงรับสั่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าคิดเลย เราจักนำตัวมา ทั้งสองคน ตรัสฉะนั้นแล้วเสด็จลุกขึ้นไปหลังบรรณศาลา ก็ทรงทราบว่าพระ โอรสพระธิดาเข้าไปสู่ป่าชัฏ จึงเสด็จไปสู่ฝั่งสระโบกขรณี ตามรอยพระบาท ของสองกุมารกุมารีนั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยพระบาทลงสู่น้ำ ก็ทรงทราบ ว่า พระโอรสและพระธิดาจักลงไปยืนอยู่ในน้ำ จึงตรัสเรียกว่า พ่อชาลี แล้ว ตรัสคาถาว่า

ดูก่อนพ่อชาลีพระลูกรัก พ่อจงมา จงเพิ่มพูน บารมีของพ่อให้เต็ม จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้ เย็นฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็น

 
  ข้อความที่ 237  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 720

ดังยานนาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อ จักข้ามฝั่งคือชาติ จักยังมนุษย์ทั้งเทวดาให้ข้ามด้วย

พระชาลีราชกุมารได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา จึงทรงคิดว่า ตาพราหมณ์จงทำเราตามใจชอบเถิด เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา จึงโผล่พระเศียรแหวกใบบัวออกเสด็จขึ้นจากน้ำ หมอบแทบพระบาทเบื้องขวา แห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาทไว้มั่นทรงกันแสง ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง ตรัสถามพระชาลีว่า แน่ะพ่อ น้องหญิงของพ่อไปไหน พระชาลีทูลสนองว่า ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย เมื่อภัยเกิดขึ้น ก็ย่อมรักษาตัว ทีเดียว ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ก็ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองของเราจักนัดหมาย กัน จึงตรัสเรียกว่า แม่กัณหา แม่จงมา แล้วตรัสคาถาว่า

ดูก่อนแม่กัณหาธิดารัก แม่จง มาจงเพิ่มพูนทาน บารมีที่รักของพ่อ จงช่วยโสรจสรงหทัยของพ่อให้เย็น ฉ่ำ จงทำตามคำของพ่อ ขอเจ้าทั้งสองจงเป็นดังยาน นาวาของพ่อ ไม่หวั่นไหวต่อสาครคือภพ พ่อจักข้าม ฝั่งคือชาติ จักยกขึ้นซึ่งมนุษย์ทั้งเทวดาด้วย.

พระนางกัณหาชินาราชกุมารีได้ทรงสดับพระดำรัสของพระราชบิดา จึงทรงคิดว่า เราจักไม่กล่าวคำสองกับพระราชบิดา จึงเสด็จขึ้นจากน้ำ เหมือนกัน หมอบแทบพระบาทเบื้องซ้ายแห่งพระมหาสัตว์ กอดข้อพระบาท ไว้มั่นทรงกันแสง พระอัสสุชลของสองพระกุมารกุมารีตกลงหลังหลังพระบาท แห่งพระมหาสัตว์ ซึ่งมีพรรณดุจดอกปทุมบาน พระอัสสุชลของพระมหาสัตว์ก็ ตกลงบนพระปฤษฏางค์แห่งสองพระกุมารกุมารีซึ่งเช่นกับแผ่นทองคำ.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ถึงความกวัดแกว่ง ราวกะว่ามีพระทัยหดหู่ ทรงลูบพระปฤษฏางค์แห่งราชกุมารกุมารีด้วยฝ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม ยังพระ-

 
  ข้อความที่ 238  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 721

ราชกุมารกุมารีให้ลุกขึ้นปลอบโยนแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี เจ้าไม่รู้ว่าพ่อวิตกถึง ทานบารมีของพ่อดอกหรือ เจ้าจงยังอัธยาศัยของพ่อให้ถึงที่สุด ตรัสฉะนี้แล้ว ประทับยืนกำหนดราคาราชบุตรราชบุตรีในที่นั้นดุจนายโคบาลตีราคาโคฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระมหาสัตว์ตรัสเรียกพระโอรสมาตรัสว่า แน่ะพ่อชาลี ถ้าพ่อใคร่เพื่อจะเป็นไท พ่อควรให้ทองคำพันลิ่มแก่พราหมณ์ชูชก จึงควร เป็นไท ก็กนิษฐภคินีของพ่อเป็นผู้ทรงอุดมรูป ใครๆ ชาติต่ำพึงให้ทรัพย์เล็ก น้อยแก่พราหมณ์ ทำกนิษฐภคินีของพ่อให้เป็นไท ทำให้แตกชาติ ยกเสียแต่ พระราชาใครจะให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น กนิษฐภคินี ของพ่ออยากจะเป็นไท พึงให้สิ่งทั้งปวงอย่างละ ๑๐๐ อย่างนี้ คือ ทาสี ทาส ช้าง ม้า โค อย่างละ ๑๐๐ และทองคำ ๑๐๐ ลิ่ม แก่ชูชก แล้วจงเป็นไทเถิด. พระเวสสันดรโพธิสัตว์ทรงกำหนดราคาพระราชกุมารกุมารีอย่างนี้แล้ว ทรง ปลอบโยนแล้วเสด็จไปสู่อาศรม จับพระเต้าน้ำ เรียกชูชกมาตรัสว่า ดูก่อน พราหมณ์ผู้เจริญ จงมานี่ แล้วทรงหลั่งน้ำลงในมือชูชก ทำให้เนื่องด้วยพระ- สัพพัญญุตญาณ ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อม เป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรและบุตรีผู้เป็นที่รักกว่าร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่าเมื่อจะทรง ยังปฐพีให้บันลือลั่นได้พระราชทานปิยบุตรทานแก่พราหมณ์ชูชก.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นของชาว สีพีให้เจริญ ทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัณหาชินาราชธิดา ทั้งสององค์มาพระราชทานให้เป็น ปุตตกทานแก่พราหมณ์ชูชก แต่นั้น พระเวสสันดร ราชฤาษีทรงพาพระชาลีราชโอรสและพระกัญหาชินา

 
  ข้อความที่ 239  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 722

ราชธิดาทั้งสององค์มา ทรงปลื้มพระมนัสพระราชทาน พระราชโอรสและพระราชธิดาให้เป็นทานอันอุดม แก่พราหมณ์ชูชก อัศจรรย์อันให้สยดสยองและยัง โลมชาติให้ชูชัน ในเมื่อพระกุมารกุมารีทั้งสอง อัน พระเวสสันดรพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชก เมทนีดล ก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น อัศจรรย์อันให้สยดสยอง และยังโลมชาติให้ชูชัน พระเวสสันดรราชฤาษีผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ อันผู้ประชุมชนกระทำอัญชลี ได้พระราชทานพระราช กุมารกุมารีผู้กำลังเจริญในความสุข ให้เป็นทานแก่ พราหมณ์ชูชก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺโต ได้แก่ ทรงเกิดพระปีติโสมนัส. บทว่า ตทาสิ ยํ ภึสนกํ ความว่า ในกาลนั้น แผ่นดินใหญ่หนาแน่น สองแสนสี่หมื่นโยชน์ อึกทึกกึกก้องคำรามลั่นสั่นสะเทือนเสมือนช้างพลายตกมัน ด้วยเดชแห่งทานบารมี ในกาลนั้นสาครก็กระเพื่อม สิเนรุราชบรรพตก็น้อม ยอดลงไปทางเขาวงกตตั้งอยู่ คล้ายหน่อหวายที่ต้มให้สุกดีแล้ว ท้าวสักกเทวราช ทรงปรบพระหัตถ์ มหาพรหมได้ประทานสาธุการ เทวดาทั้งหมดก็ได้ให้ สาธุการ ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก ฟ้าคำรามพร้อมกับ เสียงปฐพีให้ฝนตกลงชั่วขณะ สายฟ้าแลบในสมัยมิใช่กาล สัตว์จตุบาทมีราชสีห์ เป็นต้น ที่อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้บันลือเสียงเป็นอันเดียวกัน ทั่ว หิมวันต์อัศจรรย์อันน่าสยดสยองได้มีเห็นปานฉะนี้ แต่ในบาลีท่านกล่าวเพียงว่า เมทนีสะเทือน เท่านั้นเอง. บทว่า ยํ แปลว่า ในกาลใด. บทว่า กุมาเร สุขวจฺฉิเต ความว่า ได้พระราชทานพระกุมารกุมารีที่เจริญอยู่ในความสุข

 
  ข้อความที่ 240  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 723

คืออยู่ในความสุขบริจาคอย่างเป็นสุข. บทว่า อทา ทานํ ความว่า ดูก่อน พราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณย่อมเป็นที่รักยิ่งกว่าบุตรบุตรีของเรา โดย ร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า ดังนั้นจึงได้พระราชทานเพื่อประโยชน์พระสัพพัญญุต- ญาณนั้น.

พระมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุตรทานแล้ว ยังพระปีติให้เกิดขึ้นว่า โอ ทานของเรา เราได้ให้ดีแล้วหนอ แล้วทอดพระเนตรดูพระกุมารกุมารีประทับ ยืนอยู่.

ฝ่ายชูชกเข้าไปสู่ชัฏป่า เอาฟันกัดเถาวัลย์ถือมา ผูกพระหัตถ์เบื้องขวา แห่งพระชาลีกุมารรวมกันกับพระหัตถ์เบื้องซ้ายแห่งพระกัณหาชินากุมารี ถือ ปลายเถาวัลย์นั้นไว้ โบยตีพาไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น พราหมณ์ผู้ร้ายกาจนั้น ก็เอาฟันกัด เถาวัลย์ ผูกพระกรแห่งพระกุมารกุมารีด้วยเถาวัลย์อีก ข้างหนึ่งไว้ แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ถือไม่เฆี่ยนตี นำพระกุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่ง แห่งพระเวสสันดร สีวีราช.

พระฉวีของพระชาลีพระกัณหาชินาแตกตรงที่ที่ถูกตีแล้วๆ นั้นๆ พระโลหิตไหล พระชาลีและพระกัณหาชินาต่างเอาพระปฤษฎางค์เข้ารับไม้ แทนกันและกันในเมื่อถูกตี. ลำดับนั้น ชูชกพลาดล้มลงในสถานที่ไม่เสมอแห่ง หนึ่ง เถาวัลย์อันแข็งเคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์อันอ่อนแห่งพระกุมารกุมารี พระกุมารกุมารีทรงกันแสงหนีไปหาพระมหาสัตว์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระชาลีและพระหัตตาหลีกไปจากที่นั้น พ้น พราหมณ์ชูชก มีพระเนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัส-

 
  ข้อความที่ 241  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 724

สุชล พระชาลีชะเง้อดูพระบิดา องค์สั่นดุจใบอัสสัตถพฤกษ์ อภิวาทพระบาทพระบิดา ครั้นถวายบังคม พระบาทพระบิดาแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระ บิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว พระบิดา ประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาจงประทาน หม่อมฉันทั้งสอง ต่อเมื่อหม่อมฉันทั้งสองได้พบพระมารดาก่อนเถิด.

ข้าแต่พระบิดา พระมารดาเสด็จออกไปป่าแล้ว พระบิดาประทานหม่อมฉันทั้งสอง ขอพระบิดาอย่า เพิ่งประทานหม่อมฉันทั้งสอง จนกว่าพระมารดาของ หม่อมฉันทั้งสองจะเสด็จ กลับมา พราหมณ์ชูชกนี้จง ขายหรือจงฆ่าในกาลนั้นแน่แท้ ชูชกนี้ประกอบด้วย บุรุษโทษ ๑๘ ประการ คือ ตีนแบ ๑ เล็บเน่า ๑ มีปลีน่องย้อยยาน ๑ มีริมฝีปากบนยาว ๑ น้ำลาย ไหล ๑ มีเขี้ยวยาวออกจากริมฝีปากดังเขี้ยวหมู ๑ จมูก หัก ๑ ท้องโตดังหม้อ ๑ หลังค่อม ๑ ตาเหล่ ๑ หนวดสีเหมือนทองแดง ๑ ผมสีเหลือง ๑ เส้นเอ็น ขึ้นสะพรั่ง เกลื่อนไปด้วยกระดำ ๑ ตาเหลือกเหลือง ๑ เอวคด หลังโกง คอเอียง ๑ ขากาง ๑ เดินตีน ลั่นดังเผาะๆ ๑ ขนตามตัวดกและหยาบ ๑ นุ่งห่ม หนังเสือเหลือง เป็นดังอมนุษย์น่ากลัว แกเป็นอมนุษย์ หรือยักษ์กินเนื้อและเลือด มาแต่บ้านสู่ป่าทูลขอทรัพย์ พระบิดา ข้าแต่พระบิดาพระองค์ทอดพระเนตรเห็น

 
  ข้อความที่ 242  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 725

หม่อมฉันทั้งสองอันผู้แกผู้ดุจปีศาจนำไปหรือหนอพระ หฤทัยของพระองค์ราวกะผู้มั่นด้วยเหล็กแน่ทีเดียว พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจเกินเปรียบ ผูกหม่อมฉันทั้งสอง และตีหม่อมฉันทั้งสองเหมือนตี ฝูงโค พระองค์ไม่ทรงทราบหรือ น้องกัณหาจงอยู่ ณ ที่นี้ เพราะเธอยังไม่รู้จักทุกข์สักนิดเดียว ลูกมฤคีที่ ยังกินนม พรากไปจากฝูงก็ร้องไห้หาแม่เพื่อจะกินนม ฉันใด น้องกัณหาชินาเมื่อไม่เห็นพระมารดาก็จะ กันแสงเหี่ยวแห้งสินชนมชีพ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกฺขสิ ความว่า ไปสำนักพระมหา- สัตว์ หวาดหวั่นไหวแลดูอยู่. บทว่า เวธํ ได้แก่ ตัวสั่น. บทว่า ตฺวญฺจ โน ตาต ทสฺสสิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ได้ประทานหม่อมฉัน ทั้งสองให้แก่พราหมณ์ ในเมื่อเสด็จแม่ยังมิได้กลับมาเลย ขอเสด็จพ่ออย่าได้ ทรงการทำอย่างนี้เลย โปรดยับยั้งไว้ก่อน พระเจ้าค่ะ จนกว่าหม่อมฉันทั้ง สองจะได้เห็นเสด็จแม่ ต่อนั้นพระองค์จึงค่อยประทานในกาลที่หม่อมฉันทั้งสอง ได้เห็นเสด็จแม่แล้ว พระเจ้าค่ะ. บทว่า วิกฺกีณาตุ หนาตุ วา ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ในเวลาที่เสด็จแม่เสด็จมา พราหมณ์ชูชกนี้จงขายหรือจงฆ่า หม่อมฉันทั้งสองก็ตาม หรือจงทำตามที่ปรารถนาเถิด อนึ่งพระชาลีราชกุมาร ได้กราบทูลบุรุษโทษ ๑๘ ประการว่า พราหมณ์กักขละหยาบช้านี้ประกอบด้วย บุรุษโทษ ๑๘ ประการ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลงฺกปาโท ได้แก่ ตีนแป. บทว่า อทฺธนโข ได้แก่ เล็บเน่า. บทว่า โอพทฺธปิณฺฑิโก ได้แก่ มีเนื้อปลีแข้งหย่อนลงข้างล่าง. บทว่า ทีโฆตฺตโรฏฺโ ได้แก่

 
  ข้อความที่ 243  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 726

ประกอบด้วยริมฝีปากบนยาวยื่นปิดปาก. บทว่า จปโล ได้แก่ มีน้ำลายไหล. บทว่า กฬาโร ได้แก่ ประกอบด้วยเขี้ยวยื่นออกเหมือนเขี้ยวหมู. บทว่า ภคฺคนาสโก ได้แก่ ประกอบด้วยจมูกหักคือไม่เสมอกัน. บทว่า โลหมสฺสุ ได้แก่ มีหนวดมีสีเหมือนทองแดง. บทว่า หริตเกโส ได้แก่ มีผมสีเหมือน ทองงอกหยิก บทว่า วลีนํ ได้แก่ หนังย่นเป็นเกลียวทั่วตัว. บทว่า ติลาหโก ได้แก่ เกลื่อนไปด้วยกระดำ. บทว่า ปิงฺคโล ได้แก่ มีตา เหลือกเหลือง คือประกอบด้วยตาทั้งสองคล้ายตาแมว. บทว่า วินโต ได้แก่ มีคดในที่ ๓ แห่ง คือ เอว หลัง คอ. บทว่า วิกโฏ ได้แก่ มีเท้าลั่น ท่านกล่าวว่า มีที่ต่อกระดูกมีเสียง ก็มี คือประกอบด้วยที่ต่อกระดูกมีเสียงดัง เผาะๆ. บทว่า พฺรหา ได้แก่ยาว.

บทว่า อมนุสฺโส ความว่า พราหมณ์นี้มิใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ที่ เที่ยวไปในป่าด้วยเพศของมนุษย์เป็นแน่นะเสด็จพ่อ. บทว่า ภยานโก ได้แก่ น่ากลัวเหลือเกิน. บทว่า มนุสฺโส อุทาหุ ยกฺโข ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ถ้าใครๆ เห็นพราหมณ์นี้แล้วถาม ก็ควรจะตอบว่า กินเนื้อและเลือดเป็นอาหาร. บทว่า ธนํ ตํ ตาต ยาจติ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ประสงค์ จะกินเนื้อของหม่อมฉันทั้งสอง จึงทูลขอทรัพย์คือบุตรต่อพระองค์. บทว่า อุทิกฺขสิ ได้แก่ เพ่งดู. บทว่า อสฺมา นูน เต หทยํ ความว่า ข้าแต่ เสด็จพ่อ ธรรมดาบิดามารดาทั้งหลายย่อมมีหทัยอ่อนในบุตรทั้งหลายไม่ทนดู ความทุกข์ของบุตรทั้งหลายอยู่ได้ แต่พระหฤทัยของพระองค์เห็นจะเหมือน แผ่นหิน อีกอย่างหนึ่ง หฤทัยของพระองค์คงจะใช้เหล็กผูกไว้มั่น ฉะนั้นเมื่อ หม่อมฉันทั้งสองมีความทุกข์เกิดขึ้นเห็นปานฉะนี้ เสด็จพ่อจึงไม่เดือดร้อน. บทว่า น ชานาสิ ความว่า พระองค์ประทับนั่งอยู่เหมือนไม่รู้สึก.

 
  ข้อความที่ 244  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 727

บทว่า อจฺจายิเกน ลุทฺเทน ได้แก่ ร้ายกาจเหลือเกิน คือเกิน ประมาณ. บทว่า โน โย ความว่า พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่าหม่อมฉัน สองพี่น้องถูกพราหมณ์ผูกมัดไว้. บทว่า สุมฺภติ ได้แก่ เฆี่ยนตี. บทว่า อิเธว อจฺฉตํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ น้องกัณหาชินานี้ยังไม่รู้จักความทุกข์ ยากอะไรๆ เลย เมื่อไม่เห็นเสด็จแม่ก็จะกันแสง จักเหี่ยวแห้งสิ้นชนมชีพไป เหมือนลูกมฤคีน้อยที่ยังกินนม พรากจากฝูง เมื่อไม่เห็นแม่ ย่อมร้องคร่ำครวญ อยากกินนมฉะนั้น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงทรงประทานหม่อมฉันเท่านั้น แก่พราหมณ์ หม่อมฉันจักไป ขอให้น้องกัณหาชินานี้อยู่ในที่นี้แหละ.

เมื่อพระชาลีราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส อะไรๆ แต่นั้นพระชาลีราชกุมารเมื่อทรงคร่ำครวญปรารภถึงพระชนกชนนี จึงตรัสว่า

ทุกข์เห็นปานดังนี้ของลูกนี้ ไม่สู้กระไร เพราะ ทุกข์นี้ลูกผู้ชายพึงได้รับ แต่การที่ลูกไม่ได้พบพระมารดา เป็นทุกข์ยิ่งหว่าทุกข์เห็นปานดังนี้, พระมารดา พระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหาชินากุมารี ผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงสิ้นราตรีนาน พระมารดาพระบิดาเมื่อไม่ทอดพระเนตรเห็นกัณหาชินากุมารีผู้งามน่าดู ก็จะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสงอยู่ นานในพระอาศรม.

พระมารดาพระบิดาจะเป็นผู้กำพร้าทรงกันแสง ตลอดราตรีนาน จักเหี่ยวแห้งในกึ่งราตรีหรือตลอด ราตรี ดุจแม่น้ำเหือดแห้งไปฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 245  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 728

วันนี้เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่างๆ เช่นไม้หว้า ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกขชาติที่มีผลต่างๆ เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด วันนี้เราทั้งสอง จะละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็น ที่เราเคยเล่นในกาล ก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละบุปผชาติต่างๆ บนภูผา ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน และผลไม้ต่างๆ บนภูผา ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน วันนี้เราทั้งสองจะละตุ๊กตา ช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ซึ่งพระบิดาทรงปั้นประทาน ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุมุนา ความว่า ทุกข์นี้อันบุรุษผู้ท่อง เที่ยวอยู่ในภพพึงได้. บทว่า ตํ เม ทุกฺขตรํ อิโต ความว่า ทุกข์ของเรา เมื่อไม่ได้เห็นพระมารดานั้น เป็นทุกข์ยิ่งกว่าทุกข์ที่เกิดแต่ถูกเฆี่ยนตีนี้ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. บทว่า รุจฺฉติ ได้แก่ จักทรงกันแสง. บทว่า อฑฺฒรตฺเต ว รตฺเต วา ความว่า ทรงนึกถึงเราทั้งสอง จักทรงกันแสงนาน ตลอดกึ่งราตรี หรือตลอดราตรี. บทว่า อวสุสฺสติ ความว่า จักเหี่ยวแห้ง เหมือนแม่น้ำเล็กๆ ซึ่งมีน้ำน้อย คือ จักเหี่ยวแห้งสิ้นพระชนม์ เหมือนแม่น้ำ นั้นจักเหือดแห้งทันทีในเมื่ออรุณขึ้น ฉะนั้น พระชาลีราชกุมารกล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เวทิสา ได้แก่ มีกิ่งห้อย. บทว่า ตานิ ความว่า รากไม้ดอกไม้ผลของต้นไม้เหล่าใด ที่เราจับเล่นเป็น เวลานาน เราทั้งสองจะต้องละต้นไม้เหล่านั้นไปในวันนี้. บทว่า หตฺถิกา ได้แก่ ตุ๊กตาช้างที่พระบิดาปั้นให้เราทั้งสองเล่น.

 
  ข้อความที่ 246  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 729

เมื่อพระชาลีราชกุมารทรงคร่ำครวญอยู่อย่างนี้กับพระภคินีกัณหาชินา ชูชกก็มาโบยตีกุมารกุมารีพาตัวหลีกไป.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระราชกุมารกุมารี ทั้งสองเมื่อถูกชูชกนำไปได้ กราบทูลคำนี้แด่พระราชบิดาว่า ขอเสด็จพ่อโปรดรับ สั่งแก่เสด็จแม่ว่าหม่อมฉันทั้งสองสบายดี และขอให้ เสด็จพ่อจงทรงมีความสุขสำราญเถิด.

ขอเสด็จพ่อจงทรงประทานตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัวเหล่านี้ของหม่อมฉันทั้งสองแด่เสด็จแม่ เสด็จ แม่จักนำความโศกออกได้ด้วยตุ๊กตาเหล่านี้ เสด็จแม่ ทอดพระเนตรเห็นเครื่องเล่น คือ ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ของหม่อมฉันทั้งสองเหล่านี้นั้น จักทรง บรรเทาความเศร้าโศกเสียได้.

กาลนั้น ความเศร้าโศกมีกำลังเพราะปรารภพระโอรสพระธิดา ได้เกิด ขึ้นแก่พระมหาสัตว์ พระหทัยมังสะของพระมหาสัตว์ได้เป็นของร้อน พระองค์ ทรงหวั่นไหวด้วยความเศร้าโศก ดุจช้างพลายตกมันถูกไกรสรราชสีห์จับและ ดุจดวงจันทร์เข้าไปในปากแห่งราหู ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยภาวะของ พระองค์ มีพระเนตรนองไปด้วยพระอัสสุชล เสด็จเข้าบรรณศาลาทรงปริ- เทวนาการอย่างน่าสงสาร.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้นพระเวสสันดรราชขัตติยดาบสทรงบริจาค ปิยบุตรทานแล้วเสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงคร่ำครวญ อย่างน่าสงสาร.

 
  ข้อความที่ 247  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 730

คาถาแสดงการพร่ำรำพันของพระมหาสัตว์มีดังต่อไปนี้

วันนี้เด็กทั้งสองจะเป็นอย่างไรหนอ หิว กลัว เดินทางร้องไห้ เวลาเย็นบริโภคอาหาร ใครจะให้ โภชนาหารแก่เด็กทั้งสองนั้น เด็กทั้งสองจะร้องขอ อาหารว่า แม่จ๋า หม่อมฉันทั้งสองหิว ขอเสด็จแม่จง ประทานอาหารแก่หม่อมฉันทั้งสอง เด็กทั้งสองดำเนิน ด้วยพระบาทเปล่าไม่มีรองพระบาท จะดำเนินไปตาม หนทางอย่างไรหนอ เมื่อเด็กทั้งสองมีพระบาทพอง บวมทั้งสองข้าง ใครจักจูงหัตถ์เธอทั้งสองไป ชูชกตี ลูกๆ ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อหน้าเรา แกช่างไม่อดสูแก่ ใจบ้างเลยหนอ แกเป็นอลัชชีแท้ ใครที่มีความอดสู แก่ใจ จักกล้าตีทาสีทาสหรือคนใช้อื่นของเราที่สละ ให้แล้วได้ ชูชกแกด่าตีลูกๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อ ตาดุจคนหาปลาตีปลาที่ติดอยู่ในปากแห.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า กนฺวชฺช ตัดบทเป็น กํ นุ อชฺช. บทว่า อุปรุจฺเฉนฺติ ความว่า จักเดินร้องไห้ไปตลอดทาง ๖๐ โยชน์. บทว่า สํเวสนากาเล ได้แก่ เวลามหาชนเข้าเมือง. บทว่า โส เน ทสฺสติ ความว่า ใครจักให้โภชนาหารแก่ลูกๆ เหล่านั้น. บทว่า กถนฺนุ ปถํ คจฺฉนฺติ ความว่า จักเดินทาง ๖๐ โยชน์ได้อย่างไรหนอ. บทว่า ปตฺติกา ได้แก่ เว้นจากยานคือช้างเป็นต้น. บทว่า อุปาหนา ได้แก่ มีเท้าละเอียดอ่อนเว้น แม้เพียงรองเท้าก็ไม่มี. บทว่า คเหสฺสติ ความว่า ใครจักช่วยประคอง เพื่อบรรเทาความลำบาก. บทว่า ทาสีทาสสฺส ความว่า เป็นทาสีเป็นทาส.

 
  ข้อความที่ 248  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 731

บทว่า อญฺโ วา ปน เปสิโย ความว่า ซึ่งเป็นคนใช้ คือผู้ทำการรับ ใช้คนที่ ๔ ของเราโดยสืบต่อๆ กันมาของทาสและนายทาสอย่างนี้ว่า เป็นทาส ของผู้นั้นบ้าง เป็นทาสของผู้นั้นบ้าง รู้ว่า คนนี้เป็นทาสและนายทาสของพระ เวสสันดรพระองค์นั้น ซึ่งทรงสละให้แล้วอย่างนี้. บทว่า โก ลชฺชี ความว่า ใครที่มีความอดสูแก่ใจจะกล้าดีด้วยคิดว่า การตีลูกๆ ของเราผู้ไม่มีความอดสู แก่ใจนั้น ไม่สมควรเลยหนอ. บทว่า วาริชสฺเสว ความว่า ของเรา เหมือน ตีปลาที่คิดอยู่ในปากแห. อักษร ในบทว่า อปสฺสโต เป็นเพียงนิบาต ชูชกทั้งด่าทั้งตีลูกๆ ที่รักของเราทั้งเห็นต่อตาทีเดียว โอ ตานี่ทารุณเหลือเกิน. ครั้งนั้นความปริวิตกได้เกิดขึ้นแก่พระเวสสันดรมหาสัตว์ ด้วยทรง สิเนหาในพระโอรสและพระธิดาอย่างนี้ว่า พราหมณ์นี้เบียดเบียนลูกทั้งสองของ เราเหลือเกิน เมื่อไม่อาจกลั้นความโศกไว้ได้ดังนี้ เราจักติดตามไปฆ่าพราหมณ์ เสียแล้วนำลูกทั้งสองกลับมา แต่นั้นกลับทรงหวนคิดได้ว่า การที่ลูกเราทั้งสอง ถูกเบียดเบียนเป็นความลำบากยิ่ง นั่นไม่ใช่ฐานะ การบริจาคปิยบุตรทานแล้ว จะเดือดร้อนภายหลัง หาใช่ธรรมของสัตบุรุษไม่ คาถาแสดงความปริวิตก ๒ คาถาที่ส่องเนื้อความนั้น มีดังนี้ว่า

เราจะถือคันพระแสงศร เหน็บพระแสงขรรค์ไว้ เบื้องซ้าย นำลูกทั้งสองของเรากลับมา เพราะการที่ ลูกทั้งสองลูกเฆี่ยนตีนำมาซึ่งความทุกข์ แต่ลูกทั้งสอง พึงลำบากยากเข็ญนั้น ไม่ใช่ฐานะ ก็ใครเล่ารู้ธรรม ของสัตบุรุษ บำเพ็ญทานแล้วจะเดือดร้อนภายหลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ ได้แก่ ธรรมคือประเพณีของพระ- โพธิสัตว์ในกาลก่อน. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นทรงอนุสรณ์ถึงประเพณีแห่ง

 
  ข้อความที่ 249  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 732

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในขณะนั้น แต่นั้นพระองค์ทรงดำริว่า พระโพธิ์สัตว์ ทั้งปวงไม่ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคอวัยวะ บริจาคชีวิตบริจาคบุตร บริจาคภรรยา หาเคยเป็นพระพุทธเจ้าได้ไม่ ก็ตัวเราก็ เข้าอยู่ในจำพวกพระโพธิสัตว์เหล่านั้น แม้เราไม่บริจาคบุตรและชายา ก็ไม่ อาจจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ทรงดำริฉะนี้แล้ว ยังสัญญาให้เกิดขึ้นว่า แน่ะ เวสสันดรเป็นอย่างไร ท่านไม่รู้ความที่บุตรและบุตรีที่ให้เพื่อเป็นทาสทาสีแก่ชน เหล่าอื่น จะนำมาซึ่งความทุกข์ดอกหรือ เราจักตามไปฆ่าชูชกด้วยเหตุไรเล่า แล้วทรงดำริต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าบริจาคทานแล้วตามเดือดร้อนภายหลัง หา สมควรแก่เราไม่ ทรงตัดพ้อพระองค์เองอย่างนี้แล้ว ทรงอธิษฐานสมาทาน ศีลมั่นโดยมนสิการว่า ถ้าชูชกฆ่าลูกทั้งสองของเรา จำเดิมแต่เวลาที่เราบริจาค แล้วเราจะไม่กังวลอะไรๆ ทรงอธิษฐานมั่นฉะนี้แล้ว เสด็จออกจากบรรณศาลา ประทับนั่ง ณ แผ่นศิลา แทบทวารบรรณศาลา ดุจปฏิมาทองคำฉะนั้น.

ฝ่ายชูชกตีพระชาลีและพระกัณหาชินาต่อหน้าพระที่นั่งแห่งพระมหา- สัตว์ นำไป.

ลำดับนั้น พระชาลีราชกุมารตรัสรำพันว่า

ได้ยินว่า นรชนบางพวกในโลกนี้ กล่าวความ จริงได้อย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่มีมารดาของตน ผู้นั้นเหมือน ไม่มีทั้งบิดามารดา แน่ะน้องกัณหา มาเถิด เราจัก ตายด้วยกัน อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ พระบิดาผู้จอมชน ได้ประทานเราทั้งสองแก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์แก ร้ายกาจเหลือเกิน แกตีเราทั้งสองเห็นนายโคบาลตี ฝูงใด แน่ะน้องตัณหา เราทั้งสองจะละรุกขชาติต่างๆ

 
  ข้อความที่ 250  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 733

เช่นไม้หว้า ไม้ยางทราย ซึ่งมีกิ่งห้อยย้อย และรุกขชาติที่มีผลต่างๆ เช่นไม้โพบาย ขนุน ไทร มะขวิด ละสวนและแม่น้ำซึ่งมีน้ำเย็นที่เราเคยเล่นในกาลก่อน ละบุปผชาติต่างๆ บนภูผา ซึ่งเคยทัดทรงในกาลก่อน และผลไม้ต่างๆ บนภูผา ซึ่งเคยบริโภคในกาลก่อน และละตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาวัว ที่พระบิดาวัว ที่พระบิดาทรง ปั้นประทาน ที่เราเคยเล่นในกาลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า มารดาของตนไม่มีใน สำนักของผู้ใด.

ชูชกพราหมณ์พลาดล้มในสถานที่ไม่เสมอแห่งหนึ่งอีก เถาวัลย์ที่ผูกก็ เคลื่อนหลุดจากพระหัตถ์พระราชกุมารกุมารี ทั้งสององค์มีพระกายสั่นดุจไก่ถูก ตี หนีมาหาพระราชบิดาโดยเร็วพร้อมกัน.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ชาลีราชกุมารและกัณหาชินาราชกุมาร ทั้งสอง องค์ที่ถูกชูชกพราหมณ์นำไป พอหลุดพ้นจากแกมาได้ ก็วิ่งไปสู่สำนักพระเวสสันดรราชบิดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน เตน ความว่า ได้วิ่งไปหาพระราชบิดาของเธอทั้งสอง ของที่หลุดพ้นจากพราหมณ์ชูชกนั้น อธิบายว่า วิ่ง มาสู่สำนักของพระราชบิดาทีเดียว.

ฝ่ายชูชกลุกขึ้นโดยเร็วถือเถาวัลย์และไม้ ท่วมไปด้วยความโกรธ เหมือนไฟตั้งขึ้นแต่กัลป์ฉะนั้น มาแล้วกล่าวว่า หนูทั้งสองฉลาดหนีเหลือเกิน ผูกพระหัตถ์ทั้งสองแล้วนำพระกุมารกุมารีไปอีก.

 
  ข้อความที่ 251  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 734

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น พราหมณ์ถือเถาวัลย์ ถือไม้เฆี่ยนตีนำ. กุมารกุมารีไปต่อหน้าที่นั่งแห่งพระเวสสันดรสีวีราช.

เมื่อพระชาลีและพระกัณหาชินาอันชูชกนำไปอยู่อย่างนี้ พระกัณหาชินาเหลียวกลับมาทอดพระเนตรทูลพระราชบิดา.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระกัณหาชินาราชกุมารีได้ทูลพระราชบิดาว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้ เหมือน นายตีทาสีที่เกิดในเรือน ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม แต่ตา พราหมณ์นี้หาเป็นดังนั้นไม่ ยักษ์มาด้วยเพศพราหมณ์ เพื่อจะนำหม่อมฉันสองพี่น้องไปเคี้ยวกิน หม่อมฉัน สองพี่น้องอันปีศาจนำไปอยู่ พระองค์ทอดพระเนตร เห็นหรือหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ได้แก่ พระเจ้าสีวีราชผู้พระชนก ซึ่งประทับนั่งทอดพระเนตรดูอยู่นั้น. บทว่า ทาสิยํ ได้แก่ ทาสี. บทว่า ขาทิตุํ ได้แก่ เพื่อต้องการจะเคี้ยวกิน พระกัณหาชินาราชกุมารีทรงคร่ำ ครวญว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็ตาพราหมณ์นี้นำหม่อมฉันสองพี่น้องไปยังไม่ทัน ถึงประตูป่าเลย แกมีตาทั้งคู่แดงเป็นเหมือนมีโลหิตไหล เพื่อจะเคี้ยวกิน คือ นำไปด้วยหวังว่าจักเคี้ยวกินเสียทั้งหมด พระองค์ก็ทรงเห็นหม่อมฉันสองพี่น้อง ถูกนำไปเพื่อเคี้ยวกินหรือเพื่อต้มเสีย ขอพระองค์จงมีความสุขทุกเมื่อเถิด.

เมื่อพระกัณหาชินากุมารีน้อยทรงพิลาปรำพันองค์สั่นเสด็จไปอยู่ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงเศร้าโศกเป็นกำลัง พระหทัยวัตถุร้อน เมื่อพระนาสิก

 
  ข้อความที่ 252  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 735

ไม่พอจะระบายพระอัสสาสะปัสสาสะ ก็ต้องทรงปล่อยให้พระอัสสาสะปัสสาสะ อันร้อนออกทางพระโอษฐ์ พระอัสสุเป็นดังหยาดพระโลหิตไหลออกจากพระ เนตรทั้งสอง พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงดำริว่า ทุกข์เห็นปานนี้เกิดเพราะโทษ แห่งความเสน่หา หาใช่เพราะเหตุการณ์อื่นไม่ เพราะฉะนั้น ควรเราเป็นผู้มี จิตมัธยัสถ์วางอารมณ์เป็นกลาง อย่าทำความเสน่หา ทรงดำริฉะนี้แล้ว ทรง บรรเทาความโศกเห็นปานนั้นเสียด้วยกำลังพระญาณของพระองค์ ประทับนั่ง ด้วยพระอาการเป็นปกติ.

พระกัณหากุมารียังเสด็จไม่ถึงประตูป่า ก็ทรงพิลาปรำพันพลางเสด็จไป ว่า

เท้าน้อยๆ ของเราสองพี่น้องนี้นำมาซึ่งความ ทุกข์ ทั้งหนทางก็ยาวไกลไปได้ยาก เมื่อดวงอาทิตย์ อัสดงลงต่ำ พราหมณ์ก็ให้เราสองพี่น้องเดินไป ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอน้อมนบไหว้ด้วยเศียรเกล้า ต่อ เทพเจ้าเหล่าที่สิงสถิตอยู่ ณ ภูผาพนาลัยและที่สระปทุม ชาติ และแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี ทั้งที่ติณชาติลดาวัลย์ สรรพพฤกษาที่เป็นโอสถ อันเกิด ณ บรรพตและแนว ไพร ขอเทพเจ้าเหล่านั้นจงทูลแด่พระมารดาว่า หม่อม ฉันสองพี่น้องมีความสำราญ พราหมณ์นี้กำลังนำ หม่อมฉันสองพี่น้องไป ข้าแต่เทพเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย ขอเหล่าท่านจงทูลแด่พระมารดาของข้าพเจ้าสองพี่- น้อง ผู้มีพระนามว่า พระแม่มัทรีว่า ถ้าพระมารดา ทรงใคร่จะติดตามลูกทั้งสอง จงเสด็จติดตามมาโดย พลัน ทางนี้เป็นทางเดินได้เฉพาะคนเดียว มาตรงไป

 
  ข้อความที่ 253  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 736

สู่อาศรม พระแม่เจ้าจงเสด็จตามมาทางนั้น จะได้ ทอดพระเนตรเห็นลูกทั้งสองทันท่วงที โอ ข้าแต่ พระแม่ชฏินีผู้ทรงนำมูลผลาผลมาแต่ไพร ความระทม ทุกข์ จักมีแด่พระแม่เจ้า เพราะทอดพระเนตรเห็น อาศรมนั้นว่างเปล่า มูลผลาผลที่พระแม่เจ้าได้มาด้วย ทรงเสาะหาจนล่วงเวลา คงไม่น้อย พระแม่เจ้าคงไม่ ทรงทราบว่า ลูกทั้งสองถูกพราหมณ์ผู้แสวงทรัพย์ ผู้ ร้ายกาจเหลือเกิน ผูกไว้ แกตีลูกทั้งสอง เหมือนเขา ตีฝูงโค เออก็ลูกทั้งสองได้ประสบพระแม่เจ้าผู้เสด็จมา แต่ที่ทรงเสาะหามูลผลาผล ณ เย็นวันนี้ พระแม่เจ้าคง ประทานผลไม้กับทั้งรวงผึ้งแก่พราหมณ์ พราหมณ์นี้ ได้กินอิ่มแล้ว คงไม่ยังลูกทั้งสองให้รีบเดินไป เท้า ของลูกทั้งสองบวมพองแล้ว พราหมณ์ก็ยังรีบเดินไป พระบาลีและพระกัณหาปรารถนาจะพบพระมัทรีผู้พระ มารดา ก็ทรงพิลาปรำพันในสถานที่นั้น ด้วยประการ ฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาทุกา ได้แก่ เท้าน้อยๆ. บทว่า โอกนฺทามฺหเส ได้แก่ คร่ำครวญ. ข้าพเจ้าสองพี่น้องขอแสดงความนับถือ คือความประพฤตินอบน้อมให้ทราบ. บทว่า สรสฺส ความว่า ขอกราบ ไหว้เหล่าเทวดาผู้รักษาสระปทุมนี้ด้วยเศียรเกล้า. บทว่า สุปติตฺเถ จ อาปเก ความว่า ขอกราบไหว้แม้เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำซึ่งมีท่าอันดี. บทว่า ติณา ลตา ได้แก่ ติณชาติและลดาชาติที่ห้อยย้อยลง. บทว่า โอสโธฺย

 
  ข้อความที่ 254  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 737

ได้แก่ พฤกษชาติที่เป็นโอสถ พระกัณหาชินากุมารีตรัสอย่างนี้ทรงหมายถึง เหล่าเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในที่ทั้งปวง. บทว่า อนุปติตุกามา ความว่า แม้ถ้า พระแม่เจ้านั้นมีพระประสงค์จะเสด็จมาตามรอยเท้าของลูกทั้งสอง. บทว่า อปิ ปสฺเสสิ โน ลหุํ ความว่า ถ้าพระแม่เจ้าเสด็จตามมาทางที่เดินได้เฉพาะคน เดียวนั้น ก็จะได้พบลูกน้อยทั้งสองของพระองค์ทันท่วงที ฉะนั้นพระกัณหา- กุมารีจึงตรัสอย่างนี้ พระกัณหากุมารีตรัสเรียกพระแม่เจ้า ด้วยการเรียกลับ หลังว่า ชฏินี. บทว่า อติเวลํ ได้แก่ ทำให้เกินประมาณ. บทว่า อุญฺฉา ได้แก่ มูลผลในป่า ที่ได้มาด้วยการเที่ยวเสาะหา. บทว่า ขุทฺเทน มิสฺสกํ ได้แก่ ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย. บทว่า อาสิโต ได้แก่ ได้กินคือบริโภคผลไม้ แล้ว. บทว่า ฉาโต ได้แก่ มีความพอใจแล้ว. บทว่า น พาฬฺหํ ตรเยยฺย ความว่า ไม่พึงนำไปด้วยความเร็วจัด. บทว่า มาตุคิทฺธิโน ความว่า พระชาลีและพระกัณหาชินาประกอบด้วยความรักในพระมารดา มีความเสน่หา เป็นกำลัง จึงได้พร่ำรำพันอย่างนี้

จบกุมารบรรพ

มัทรีบรรพ

ก็ในเมื่อ พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงบริจาคปิยบุตรมหาทาน เกิด มหัศจรรย์มหาปฐพีบันลือลั่นโกลาหลเป็นอันเดียวกันตลอดถึงพรหมโลก หมู่ เทวดาที่อยู่ ณ หิมวันตประเทศ เป็นประหนึ่งมีหทัยจะภินทนาการด้วยเหตุอัน ได้ยินเสียงพิลาปรำพันนั้นแห่งพระชาลีราชกุมารและพระกัณหาชินาราชกุมารีที่ ชูชกพราหมณ์นำไป ต่างปรึกษากันว่า ถ้าพระนางมัทรีเสด็จมาสู่อาศรมสถาน

 
  ข้อความที่ 255  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 738

แต่วัน พระนางไม่เห็นพระโอรสธิดาในอาศรมนั้น ทูลถามพระเวสสันดร ทรงทราบว่าพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชกไปแล้ว พึงเสด็จแล่นตามไปด้วย ความเสน่หาเป็นกำลัง ก็จะพึงเสวยทุกข์ใหญ่.

ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นจึงบังคับสั่งเทพบุตร ๓ องค์ว่า ท่านทั้ง ๓ จงจำแลงกายเป็นราชสีห์ เป็นเสือโคร่ง เป็นเสือเหลือง กั้นทางเสด็จพระนางมัทรีไว้ แม้พระนางวิงวอนขอทางก็อย่าให้ จนกว่าดวงอาทิตย์อัสดงคต พึงจัดอารักขาให้ดี เพื่อไม่ให้ราชสีห์เป็นต้นเบียดเบียนพระนางได้ จนกว่าได้ เสด็จเข้าอาศรมด้วยแสงจันทร์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เทพเจ้าทั้งหลาย ได้ฟังความคร่ำครวญของราช กุมารกุมารี จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง สามจงจำแลงกายเป็นสัตว์ร้ายในป่า คือ เป็นราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง คอยกันพระนางมัทรีราชบุตรี อย่าพึงเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย เหล่า พาลมฤคในป่าอันเป็นเขตแดนของพวกเรา อย่าได้ เบียดเบียนพระนางเจ้าเลย ถ้าราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ เหลืองพึงเบียดเบียนพระนางเจ้าผู้มีลักษณะพระชาลี ราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาจะพึง มีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้มีลักษณะจะพึง เสื่อมจากพระราชสวามีและพระปิยบุตรทั้งสอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ วจนมพฺรวุํ ความว่า เทวดา เหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะเทพบุตรทั้งสามว่า ท่านทั้งหลาย คือทั้งสามองค์ จง แปลงเป็นพาลมฤคในป่าสามชนิดอย่างนี้คือ ราชสีห์หนึ่ง เสือโคร่งหนึ่ง เสือ

 
  ข้อความที่ 256  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 739

เหลืองหนึ่ง. บทว่า มา เหว โน ความว่า เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า พระนางมัทรีราชบุตรีอย่าเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย จงเสด็จมาจน ค่ำอาศัยแสงเดือน. บทว่า มา เหวมฺทากํ นิพฺโภเค ความว่า พาลมฤค ไรๆ ในป่าอันเป็นเขตแดน คือเป็นแว่นแคว้นของพวกเรา อย่าได้เบียดเบียน พระนางเจ้าในป่าชัฏของพวกเราเลย เทวดาทั้งหลายสั่งเทพบุตรทั้งสามว่า พวก ท่านจงอารักขาพระนางมัทรีโดยประการที่สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนไม่ได้. บทว่า สีโห เจ นํ ความว่า ก็ถ้าสัตว์ร้ายไรๆ ในบรรดาราชสีห์เป็นต้นพึง เบียดเบียนพระนางมัทรีซึ่งไม่มีการระวังรักษา ครั้นเมื่อพระนางมัทรีถึงชีพิ- ตักษัย พระชาลีราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาราชกุมารีจะ พึงมีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะนั้นจะพึงเสื่อมจาก พระปิยบุตรทั้งสองทีเดียว. บทว่า ปติปุตฺเต จ ความว่า พระนางเจ้ามัทรี จะพึงเสื่อมจากส่วนทั้งสอง เพราะฉะนั้นท่านทั้งสามจงจัดอารักขาให้ดี.

ครั้งนั้น เทพบุตรทั้งสามรับคำของเทวดาเหล่านั้นว่า สาธุ ต่างจำแลง กายกลายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มานอนหมอบเรียงกันอยู่ในมรรคา ที่พระนางเจ้ามัทรีเสด็จมา.

ฝ่ายพระนางมัทรีหวั่นพระหฤทัยว่า วันนี้เราฝันร้าย จักหามูลผลาผล ในป่ากลับอาศรมแต่วัน ก็ทรงพิจารณาหามูลผลาผลทั้งหลาย ลำดับนั้น (เกิด ลางร้าย) เสียมหลุดจากพระหัตถ์ของพระนางเจ้า กระเช้าก็หลุดจากพระอังสา พระเนตรเบื้องขวาก็เขม่น พฤกษาชาติที่มีผลก็เป็นเหมือนไม่มีผล พฤกษาชาติทีไม่เคยมีผลก็ปรากฏเป็นราวกะว่ามีผล ทิศทั้งปวงก็ไม่ปรากฏ พระนาง เจ้ามัทรีทรงพิจารณาว่า นี่เป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนก็มามีในวันนี้ เหตุการณ์อะไรจักมีแก่เรา แก่ลูกทั้งสองของเรา หรือแด่พระเวสสันดรราช- สวามี กระมัง ทรงคิดฉะนี้แล้ว ตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 257  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 740

เสียมก็ตกจากมือของเรา และนัยน์ตาขวาของ เราก็เขม่น รุกขชาติที่เคยมีผลก็หาผลมิได้ ทิศทั้งปวง เราก็ฟั่นเฟือนลุ่มหลง พระนางเจ้าเสด็จมาสู่อาศรมใน เวลาเย็น ในเมื่อดวงอาทิตย์อัศดงคต พาลมฤคก็ปรากฏ ในหนทาง ครั้นเมื่อพระอาทิตย์โคจรลงต่ำ อาศรมก็ ยังอยู่ไกล เราจักนำมูลผลาผลใดไปแต่ที่นี้ เพื่อพระ- ราชสวามีและลูกทั้งสอง พระราชสวามีและลูกทั้งสอง พึงเสวยมูลผลาผลอันเป็นของเสวยนั้น พระบรม กษัตริย์ผู้ภัสดาเสด็จอยู่ที่บรรณศาลาแต่พระองค์เดียว แท้ๆ ทรงเห็นว่าเรายังไม่กลับ ก็จะทรงปลอบโยน พระโอรสพระธิดาผู้หิว ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า ด้วยความเข็ญใจ เคยเสวยนมเคยเสวยน้ำในเวลาที่คน สามัญเรียกให้อาหารเวลาเย็น ลูกทั้งสองของเราเป็น กำพร้าด้วยความเข็ญใจ เคยลุกยืนรับเรา เหมือนลูก โคอ่อนยืนคอยแม่โคนม ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า ด้วยความเข็ญใจ หรือประหนึ่งลูกหงส์ยืนอยู่บนเปือก ตมคอยแม่ ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้าด้วยความ เข็ญใจ เคยยืนรับเราแต่ที่ใกล้อาศรม ทางเดินไปมี เฉพาะทางเดียว เป็นทางเดินได้คนเดียว เพราะมีสระ และที่ลุ่มลึกอยู่ข้างๆ เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งจะพึงแยก ไปสู่อาศรม ข้าขอนอบน้อมพระยาพาลมฤคผู้มีกำลัง มากในป่า ท่านทั้งหลายจงเป็นพี่ของข้าโดยธรรม จง

 
  ข้อความที่ 258  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 741

ให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอเถิด ข้าเป็นมเหสีของพระเวส- สันดรราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกเนรเทศจากแคว้น ข้าผู้ อนุวัตรไม่ล่วงเกินพระราชสวามี ดุจนางสิดาผู้อนุวัตร ไม่ล่วงเกินพระรามราชสวามี ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงให้ทางแก่ข้า แล้วไปพบลูกทั้งสอง เพราะถึงเวลา เรียกกินอาหารเย็นแล้ว ส่วนข้าก็จะได้ไปพบชาลีและ กัณหาชินาบุตรบุตรีทั้งสองของข้า รากไม้ผลไม้นี้มี มากและภักษานี้ก็มีไม่น้อย ข้าให้กึ่งหนึ่งแต่มูลผลาผล นั้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่ข้า ผู้ขอเถิด พระมารดาของพวกข้าเป็นพระราชบุตร และ พระบิดาของพวกข้าก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้งหลาย จงเป็นภาดาของข้าโดยธรรม จงให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอ เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา ได้แก่ เรานั้น. บทว่า อสฺสมาคมนํ ปติ ความว่า มาหมายเฉพาะอาศรม. บทว่า อุปฏฺหุํ ได้แก่ ปรากฏขึ้น เล่ากันมาว่า สามสัตว์เหล่านั้นนอนเรียงกันอยู่ก่อน เวลา พระนางมัทรีเสด็จมา จึงลุกขึ้นบิดตัวแล้ว แล้วกั้นบรรดายืนขวางเรียงกันอยู่. บทว่า ยญฺจ เนสํ ความว่า ชนทั้งสามนั้น คือ พระเวสสันดรและลูกน้อย ทั้งสองของพระองค์ พึงบริโภคมูลผลาผลที่ข้านำไปแต่ป่านี้เพื่อเขา โภชนา หารอย่างอื่นไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า อนายตึ ความว่า พระเวสสันดร ทราบว่าข้ายังไม่กลับมา พระองค์เดียวนั่นแหละประทับนั่งปลอบโยนเด็ก ทั้งสองแน่ๆ. บทว่า สํเวสนากาเล ได้แก่ ในเวลาที่ตนให้กินอาหาร

 
  ข้อความที่ 259  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 742

ให้ดื่มน้ำในวันอื่นๆ. บทว่า ขีรํ ปีตาว ความว่า พระนางมัทรีตรัสว่า ลูกน้อยมฤคีที่ยังไม่อดนมร้องหิวนม เมื่อไม่ได้นมก็ร้องไห้จนหลับไป ฉันใด ลูกน้อยทั้งสองของข้า ร้องไห้อยากผลาผล เมื่อไม่ได้ผลาผลก็จักร้องไห้จน หลับไป ฉันนั้น. บทว่า วารึ ปีตาว ความว่า ในอาศรมบท พึงเห็นเนื้อ ความโดยนัยนี้ว่า เหมือนลูกน้อยมฤคมีความระหาย ร้องหิวน้ำ เมื่อไม่ได้น้ำ ก็ร้องคร่ำครวญจนหลับไป. บทว่า อจฺฉเร ได้แก่ อยู่. บทว่า ปจฺจุคฺคตา มํ ติฏฺนฺติ ความว่า ยืนคอยรับเรา. ปาฐะว่า ปจฺจุคิคตุํ ก็มีความว่า ต้อนรับ. บทว่า เอกายโน ได้แก่ เป็นที่ไปแห่งคนผู้เดียวเท่านั้น คือเป็น ทางเดินได้เฉพาะคนเดียว. บทว่า เอกปโถ ความว่า ทางนั้นเฉพาะคนเดียว เท่านั้น ไม่มีคนที่สอง คือไม่อาจแม้จะก้าวลงไปได้ เพราะเหตุไร เพราะมี สระและที่ลุ่มลึกอยู่ข้างทาง. บทว่า นมตฺถุ ความว่า พระนางมัทรีนั้นทอด พระเนตรไม่เห็นทางอื่นคิดว่า เราจักอ้อนวอนสามสัตว์เหล่านี้ให้ช่วยเรากลับ ไปได้ จึงลดกระเช้าผลไม้ลงจากพระอังสา ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวอย่าง นี้. บทว่า ภาตโร ความว่า ก็พวกเราเป็นลูกของเจ้ามนุษย์ แม้พวกท่านก็ เป็นลูกของเจ้ามฤค ดังนั้นขอพวกท่านจงเป็นพี่โดยธรรมของข้าเถิด. บทว่า อวรุทฺธสฺส ได้แก่ ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น. บทว่า รามํ สีตาวนุพฺพตา ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า พระเทวีสีตาผู้พระกนิษฐาของพระราม เป็นพระอัครมเหสีของพระรามนั้นเอง เป็นผู้อนุวัตรตามพระราม คือ เคารพ ยำเกรงพระรามผู้สวามีเหมือนเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุงบำเรอพระราม ราชโอรสของพระเจ้าทศรถมหาราช ฉันใด แม้ข้าก็เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุง บำเรอพระเวสสันดร ฉันนั้น. บทว่า ตุมฺเห จ ความว่า พระนางมัทรี อ้อนวอนว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่เราแล้วไปพบลูกๆ ของท่านใน เวลากินอาหารเย็นส่วนข้าก็จะพบลูกๆ ของข้า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาเถิด

 
  ข้อความที่ 260  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 743

ครั้งนั้น เทพบุตร (ที่จำแลงเป็นสามสัตว์) เหล่านั้น แลดูเวลาก็รู้ว่า บัดนี้เป็นเวลาที่จะให้บรรดาแก่พระนางแล้ว จึงลุกขึ้นหลีกไป

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อพระนางเจ้ามัทรีทรงพิไรรำพันอยู่ เหล่า มฤคจำแลงได้ฟังพระวาจาอันอ่อนหวานกอรปด้วยน่า เอ็นดูมาก ก็หลีกไปจากทางเสด็จ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนลปตึ ความว่า วาจาอ่อนหวาน บริสุทธิ์ ไม่มากไปด้วยน้ำลาย คือปราศจากน้ำลายแตก.

เมื่อพาลมฤคทั้งสามหายไปแล้ว พระนางเจ้ามัทรีก็เสด็จไปถึงอาศรม ก็ในกาลนั้นเป็นวันบูรณมีอุโบสถ พระนางเจ้าเสด็จถึงท้ายที่จงกรม ไม่เห็น พระลูกรักทั้งสองซึ่งเคยเห็นในที่นั้นๆ จึงตรัสว่า

พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย ลุกยืนรับเราในประเทศนี้ ดุจลูกวัวอ่อนยืนคอยแม่ โคนมฉะนั้น.

พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย ยืนต้อนรับแม่อยู่ตรงนี้ดุจหงส์ยืนอยู่บนเปือกตมฉะนั้น

พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย ยืนรับเราอยู่ที่ใกล้อาศรมนี้ ลูกทั้งสองเคยร่าเริงหรรษา วิ่งมาต้อนรับแม่ ดุจมฤคชาติชูหูวิ่งแล่นไปโดยรอบ ฉะนั้น ร่าเริงบันเทิงเป็นไป ประหนึ่งยังหัวใจแม่ให้ ยินดี วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง นั้น วันนี้แม่ละลูกทั้งสองออกไปหาผลไม้ เหมือน แม่แพะแม่เนื้อและแม่นกพ้นไปจากรัง และแม่ราชสีห์

 
  ข้อความที่ 261  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 744

อยากได้เหยื่อ ละลูกไว้ออกไปฉะนั้น แม่กลับมาก็ไม่ เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น วันนี้แม่ไม่ เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ซึ่งมีรอยบาท ก้าวไปมาปรากฏอยู่ดุจรอยเท้าแห่งช้าง ข้างภูเขาและ กองทรายที่ลูกทั้งสองกองไว้ ยังเกลื่อนอยู่ในที่ไม่ไกล อาศรม แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองซึ่งเคยเอาทรายโปรยเล่น จนกายขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นวิ่งไปรอบๆ วันนี้แม่ ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง ซึ่งแต่ก่อน เคยต้อนรับแม่ผู้กลับจากป่ามาแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็น ลูกทั้งสองซึ่งคอยรับแม่ แลดูแม่แต่ไกลดุจลูกแพะลูก เนื้อวิ่งมาหาแม่ของตนแต่ไกล ก็ผลมะตูมเหลืองนี้เป็น ของเล่นของลูกทั้งสองตกอยู่แล้ว วันนี้แม่ไม่เห็นชาลี และกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ถันทั้งสองของแม่นี้ เต็มด้วยน้ำนม แต่อุระราวกะจะแตกทำลาย วันนี้แม่ ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ลูกชาย หรือลูกหญิงเลือกดื่มนมอยู่บนตักของแม่ราวกะถันข้าง หนึ่งของแม่จะยาน วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินา ลูกรักทั้งสองนั้น.

ลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นในสายัณห์ สมัย มาเกลือกกลิ้งไปมาบนตักแม่ แม่ไม่เห็นลูก ทั้งสองนั้น เมื่อก่อนอาศรมนี้นั้นปรากฏแก่เราราวกะ มีมหรสพ วันนี้แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น อาศรม เหมือนจะหมุนไป นี่อย่างไร อาศรมสถานเงียบเสียง

 
  ข้อความที่ 262  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 745

เสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้แต่ฝูงกาก็ไม่มีอยู่ ลูก ทั้งสองของแม่จักสิ้นชนมชีพเสียแน่แล้ว นี่อย่างไร อาศรมสถานเงียบเสียงเสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้ แต่ฝูงสกุณชาติก็ไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของแม่จักสิ้น ชนมชีพเสียแน่แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปํสุกุณฺิตา ได้แก่ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น. บทว่า ปจฺจุคฺคตา มํ ความว่า คอยรับเรา. ปาฐะว่า ปจฺจุคนฺตุํ ดังนี้ก็มี ความว่า ต้อนรับ. บทว่า อุกฺกณฺณา ความว่า เหมือนพวกลูกเนื้อตัวน้อยๆ เห็นแม่ ก็ยกหูชูคอเข้าไปหาแม่ ร่าเริง ยินดี วิ่งเล่นอยู่รอบๆ. บทว่า วตฺตมานาว กมฺปเร ความว่า เป็นไป ราวกะยังหัวใจขอแม่ให้ยินดี เมื่อก่อนลูกทั้งสองของเราเป็นอย่างนี้. บทว่า ตยชฺช ความว่า วันนี้แต่ไม่เห็นลูกรักทั้งสองนั้น. บทว่า ฉคิลีว มิคี ฉาปํ ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า แม่แพะ แม่เนื้อ และแม่นกที่พ้นไปจากรัง คือกรง และแม่ราชสีห์พีอยากได้เหยื่อ ละลูกน้อยของตนหลีกไปหาเหยื่อ ฉันใด แม่ก็ละลูกทั้งสองออกไป ฉันนั้น. บทว่า อิทํ เนสํ ปรกฺกนฺตํ ความว่า รอยเท้าที่วิ่งไปวิ่งมาในสถานที่เล่นของลูกทั้งสองยังปรากฏอยู่ ดุจรอย เท้าช้างที่เนินเขาในฤดูฝน. บทว่า จิตกา ได้แก่ กองทรายที่ลูกทั้งสองกอง เข้าไว้. บทว่า ปริกิณฺณาโย ได้แก่ กระจัดกระจาย. บทว่า สมนฺตาม- ภิธาวนฺติ ความว่า วิ่งแล่นไปรอบๆ ในวันอื่นๆ. บทว่า ปจฺจุเทนฺติ ได้แก่ ต้อนรับ. บทว่า ทูรมายตึ ได้แก่ ผู้มาแต่ไกล. บทว่า ฉคิลึว มิคึ ฉาปา ความว่า เห็นแม่ของตนแล้ววิ่งมาหา เหมือนลูกแพะเห็นแม่แพะ ลูกเนื้อเห็นแม่เนื้อ. บทว่า อิทญฺจ เนสํ กีฬนํ ความว่า ผลมะตูมมีสีดัง ทองนี้ เป็นของเล่นของลูกทั้งสองซึ่งเล่นตุ๊กตาช้างเป็นต้น กลิ้งตกอยู่แล้ว.

 
  ข้อความที่ 263  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 746

บทว่า มยฺหิเม ความว่า ก็ถันทั้งสองของเรานี้เต็มด้วยน้ำนม. บทว่า อุโร จ สมฺปทาลิภิ ความว่า แต่หทัยเหมือนจะแตก. บทว่า อุจฺจงฺเก เม วิวตฺตนฺติ ความว่า กลิ้งเกลือกอยู่บนตักของเรา. บทว่า สมฺมชฺโช ปฏิภาติ มํ ความว่า ปรากฏแก่เราเหมือนโรงมหรสพ. บทว่า ตฺยชฺช ตัดบทเป็น เต อชฺช ความว่า วันนี้เราไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น. น ปสฺสนฺตฺยา ได้แก่ เราไม่เห็นอยู่. บทว่า ภมเต วิย ความว่า ย่อมหมุนเหมือนจักร ของช่างหม้อ. บทว่า กาโกลา ได้แก่ ฝูงกาป่า. บทว่า มตา นูน ความว่า จักตายคือจักถูกใครๆ นำไปแน่. บทว่า สกุณาปิ ได้แก่ ฝูงนก ที่เหลือ. บทว่า มตา นูน ความว่า จักตายเสียเป็นแน่แล้ว

พระนางมัทรีพิลาปรำพันอยู่ด้วยประการฉะนี้ เสด็จไปเฝ้าพระเวส- สันดรมหาสัตว์ ปลงกะเช้าผลไม้ลงเห็นพระมหาสัตว์ประทับนั่งนิ่งอยู่ เมื่อ ไม่เห็นพระโอรสธิดาในสำนักพระภัสดา จึงทูลถามว่า

นี้อย่างไร พระองค์ทรงนิ่งอยู่ เออก็เมื่อหม่อม ฉันฝันในราตรี ใจก็นึกถึงอยู่ แม้ฝูงกาฝูงนกก็ไม่มี อยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันจักสิ้นชีพเสียแน่แล้ว ข้าแต่พระลูกเจ้า พาลมฤคในป่าที่ไร้ผลและเงียบสงัด ได้กัดกินลูกทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วกระมัง หรือ ใครนำลูกทั้งสองของหม่อมฉันไปเสียแล้ว ลูกทั้งสอง ของหม่อมฉันพระองค์ให้เป็นทูตส่งไปเฝ้าพระสีวีราช กรุงเชตุดรหรือเธอผู้ช่างตรัสเป็นที่รักบรรทมหลับใน บรรณศาลา หรือเธอขวนขวายในการเล่นเสด็จออกไป ข้างนอกหนอ เส้นพระเกสาของลูกทั้งสองไม่ปรากฏ

 
  ข้อความที่ 264  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 747

พระหัตและพระบาทซึ่งมีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏเลย เห็นจะถูกนกทั้งหลายโฉบคาบไป ลูกทั้งสองของ หม่อมฉันอันใครนำไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ รตฺเตว เม มโน ความว่า เออ ก็ใจของหม่อมฉันเป็นเหมือนเห็นสุบินในเวลาใกล้รุ่ง. บทว่า มิคา ได้แก่ พาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้น. บทว่า อีริเน ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า วิวเน ได้แก่ เงียบสงัด. บทว่า อาทู เต ความว่า หรือว่าพระองค์ให้เป็นทูตส่ง ไปเฝ้าพระเจ้าสีวีราชกรุงเชตุดร. บทว่า อาทู สุตฺตา ความว่า เสด็จเข้า บรรทมภายในบรรณศาลา. บทว่า อาทู พหิ โน ความว่า พระนางมัทรี ทูลถามว่า หรือว่าลูกทั้งสองของหม่อมฉันเหล่านั้นขวนขวายในการเล่นออกไป ข้างนอก. บทว่า เนวาสํ เกสา ทิสฺสนฺติ ความว่า ข้าแต่พระสวามี เวสสันดร เกสาสีดอกอัญชันดำของลูกทั้งสองนั้นไม่ปรากฏเลย หัตถ์และบาทซึ่ง มีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏ. บทว่า สกุณานญฺจ โอปาโต ความว่า ใน หิมวันตประเทศมีนกหัสดีลิงค์ นกเหล่านั้นบินมาพาไปทางอากาศนั่นแล เหตุ นั้นหม่อมฉันอันนกเหล่านั้นนำไปหรือ แม้นกอะไรๆ อื่นจากนี้ซึ่งเป็นราวกะ ว่านกเหล่านั้นโฉบเอาไป ขอพระองค์โปรดบอก ลูกทั้งสองของหม่อมฉันอัน ใครนำไป.

แม้เมื่อพระนางมัทรีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส อะไร ลำดับนั้น พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เหตุไรพระองค์ จึงไม่ตรัสกะหม่อมฉัน หม่อมฉันมีความผิดอย่างไร ทูลฉะนี้แล้วตรัสว่า

การที่พระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉันนี้เป็นทุกข์ยิ่ง ว่าการที่วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูก

 
  ข้อความที่ 265  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 748

รักทั้งสองนั้น เหมือนแผลที่ถูกแทงด้วยลูกศร การ ไม่เห็นลูกทั้งสองและพระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉัน แม้ นี้เป็นทุกข์ซ้ำสอง เหมือนลูกศรแทงหทัยของหม่อม ฉัน.

ข้าแต่พระราชบุตร วันนี้ถ้าพระองค์ไม่ตรัสกะ หม่อมฉันตลอดราตรีนี้ พรุ่งนี้เช้าชะรอยพระองค์จะ ได้ทอดพระเนตรเห็นหม่อมฉันปราศจากชีวิตตายเสีย แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ตโต ทุกฺขตรํ ความว่า ข้าแต่ พระสวามีเวสสันดร การที่พระองค์ไม่ตรัสกับหม่อมฉัน เป็นทุกข์แก่หม่อมฉัน ยิ่งกว่าทุกข์ที่หม่อมฉันถูกเนรเทศจากแว่นแคว้นมาอยู่ป่า และทุกข์ที่หม่อมฉัน ไม่เห็นลูกทั้งสอง เพราะพระองค์ทำให้หม่อมฉันลำบากด้วยความนิ่ง เหมือน รื้อเรือนไฟไหม้ เหมือนเอาไม่ตีคนตกต้นตาล เหมือนเอาลูกศรแทงที่แผล ด้วยว่าหทัยของหม่อมฉันนี้ย่อมหวั่นไหวและเจ็บปวด เหมือนแผลที่ถูกแทง ด้วยลูกศร. ปาฐะว่า สํวิทฺโธ ดังนี้ก็มี ความว่า แทงทะลุตลอด. บทว่า โอกฺกนฺตสนฺตมํ ได้แก่ ซึ่งหม่อมฉันผู้ปราศจากชีวิต. โน อักษร ในบทว่า ทกฺขสิ โน นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่า พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็น หม่อมฉันตายเสียแล้วตรงเวลาทีเดียว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า เราจักให้พระนางมัทรีละความ โศกเพราะบุตรเสียด้วยถ้อยคำหยาบ จึงตรัสคาถานี้ว่า

แน่ะมัทรี เธอเป็นราชบุตร มีรูปงาม มียศ ไป เสาะหาผลไม้แต่เช้า ไฉนหนอจึงกลับมาจนเย็น.

 
  ข้อความที่ 266  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 749

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมิทํ สายนาคตา ความว่า พระเวส สันดรบรมโพธิสัตว์ตรัสคุกคามและลวงว่า แน่ะมัทรี เธอมีรูปงามน่าเลื่อมใส และในหิมวันตประเทศก็มีพรานป่า ดาบสและวิทยาธรเป็นต้นท่องเที่ยวอยู่เป็น อันมาก ใครจะรู้เรื่องอะไรๆ ทีเธอทำแล้ว เธอไปป่าแต่เช้า กลับมาจนเย็น นี่อย่างไร ธรรมดาหญิงที่ละเด็กเล็กๆ ไปป่า จะเป็นหญิงมีสามีหรือไม่มีก็ ตามย่อมไม่เป็นอย่างนี้ ความคิดแม้เพียงนี้ว่า ลูกน้อยของเราจะเป็นอย่างไร หรือสามีของเราจักคิดอย่างไร ดังนี้มิได้มีแก่เธอ เธอไปแต่เช้า กลับมาด้วย แสงจันทร์นี้เป็นโทษแห่งความยากเข็ญของฉัน.

พระนางมัทรีได้สดับพระราชดำรัสดังนั้นจึงทูลสนองว่า

พระองค์ได้ทรงสดับเสียงกึกก้องของพาลมฤคที่ มาสู่สระเพื่อดื่มน้ำ คือราชสีห์ เสือโคร่งผู้บันลือเสียง แล้วมิใช่หรือ? บุรพนิมิตได้เกิดมีแก่หม่อมฉันผู้เที่ยว อยู่ในป่าใหญ่ เสียมหลุดจากมือของหม่อนฉัน กระ- เช้าที่คล้องอยู่บนบ่าก็พลัดตก กาลนั้นหม่อมฉันตกใจ กลัว ได้กระทำอัญชลีไหว้ทิศต่างๆ ทุกทิศด้วยปรารถนา ว่า ขอความปลอดโปร่งแต่ภัยนี้พึงมีแก่เรา และพระ- ราชบุตรของเราทั้งหลาย อันราชสีห์และเสือเหลือง อย่าได้เบียดเบียนเลย ทั้งกุมารกุมารีทั้งสอง อันหมี หมาป่า และเสือดาว อย่าได้มาจับต้องเลย พาลมฤค ในป่าทั้งสามสัตว์ คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง เหล่านั้น พบหม่อมฉันแล้วขวางทางไว้ ด้วยเหตุนั้น หม่อมฉันจึงได้กลับเย็นไป.

 
  ข้อความที่ 267  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 750

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย สรํ ปาตุํ ความว่า สัตว์เหล่าใด มาสู่สระนี้เพื่อดื่มน้ำ. บทว่า พฺยคฺฆสฺส จ ความว่า พระนางมัทรีทูลถาม ว่า พระองค์ได้ทรงสดับเสียงของเสือโคร่งและสัตว์สี่เท้าอื่นๆ มีช้างเป็นต้น และฝูงนกที่ส่งเสียงร้องกึกก้องเป็นอันเดียวกันแล้วมิใช่หรือ ก็เสียงนั้นได้มีใน เวลาที่พระมหาสัตว์พระราชทานพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อหุ ปุพฺพนิมิตฺตํ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรพนิมิตเพื่อเสวยทุกข์อันนี้ได้มีแก่ หม่อมฉันแล้ว. บทว่า อุคฺคีวํ ได้แก่ กระเช้าที่คล้องอยู่บนบ่าพลัดตก. บทว่า ปุถุํ ความว่า หม่อมฉันนมัสการแต่ละทิศทั่วสิบทิศ. บทว่า มา เหว โน ความว่า หม่อนฉันนมัสการปรารถนาว่า ขอพระราชบุตรเวสสันดร ของพวกเราจงอย่าถูกพาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้นฆ่า ขอลูกทั้งสองจงอย่าถูกหมี เป็นต้นแตะต้อง. บทว่า เต มํ ปริยาวรุํ มคฺคํ ความว่า พระนางมัทรี กราบทูลว่า ข้าแต่พระสวามี หม่อมฉันคิดว่า เราได้เห็นเหตุที่น่ากลัวเหล่านี้ เป็นอันมาก และเห็นสุบินร้ายวันนี้เราจักกลับมาให้ทันเวลาทีเดียว เห็นต้นไม้ ที่ผลิตผลเหมือนไม่มีผล ต้นไม้ที่ไม่มีผล ก็เหมือนผลิตผล เก็บผลาผลได้ โดยยาก ไม่อาจมาถึงประตูป่า ทั้งราชสีห์เป็นต้นเหล่านั้นเห็นหม่อมฉันแล้ว ได้ยืนเรียงกันกั้นทางเสีย เพราะเหตุนั้นหม่อมฉันจึงมาจนเย็น ขอพระองค์ได้ โปรดยกโทษแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าค่ะ.

พระมหาสัตว์ตรัสพระวาจาเท่านี้กับพระนางมัทรีแล้ว มิได้ตรัสอะไรๆ อีกจนอรุณขึ้น จำเดิมแต่นี้ พระนางมัทรีพิลาปรำพันมีประการต่างๆ ตรัสว่า

หม่อมฉันผู้เป็นชฏินีพรหมจารินี บำรุงพระสวามี และลูกทั้งสองตลอดวันคืนดุจมาณพบำรุงอาจารย์ หม่อมฉันนุ่งห่มหนึ่งเสือเหลืองนำมูลผลในป่ามา

 
  ข้อความที่ 268  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 751

ประพฤติอยู่ตลอดวันคืน เพราะใคร่ต่อพระองค์และ บุตรธิดา หม่อมฉันฝนขมิ้นสีเหมือนทองนี้เพื่อทาลูก ทั้งสอง และนำผลมะตูมสุกเหลืองนี้เพื่อถวายให้ทรง เล่น และนำผลไม้ทั้งหลายมาด้วยหวังว่า ผลไม้เหล่า นี้จะเป็นเครื่องเล่นของพระโอรสธิดาแห่งพระองค์ ข้าแต่บรมกษัตริย์ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรสและ พระธิดา จงเสวยสายบัว เหง้าบัว กระจับประกอบ ด้วยรสหวานน้อยๆ นี้ พระองค์จงประทานดอกกุมุท แก่แม่กัณหา พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพระกุมาร ผู้ประดับระเบียบดอกไม้ฟ้อนรำอยู่ โปรดตรัสเรียก สองพระราชบุตรมาเถิด แม่กัณหาชินาจะได้มานี่ ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ขอพระองค์จงพิจารณาดูแม่ กัณหาชินาผู้มีเสียงดังไพเราะขณะเข้าไปสู่อาศรม เรา ทั้งสองถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น เป็นผู้ร่วมสุขร่วม ทุกข์กัน ก็พระองค์ได้ทรงเห็นพระราชบุตรทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินาบ้างหรือไม่ ชรอยว่า หม่อมฉันได้บริภาษสมณพราหมณ์ผู้มีพรหมจรรย์เป็น ที่ไปในเบื้องหน้า ผู้มีศีล ผู้พหูสูต ในโลกไว้กระมัง วันนี้จึงไม่พบลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่กัณหา ชินา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยมิว มาณโว ความว่า เหมือน อันเตวาสิกผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติอาจารย์. บทว่า อนุฏฺิตา ความว่า

 
  ข้อความที่ 269  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 752

หม่อมฉันบำรุง คือเป็นผู้ไม่ประมาทปฏิบัติด้วยการลุกขึ้นบำเรอ. บทว่า ตุมฺหํ กามา ความว่า ปรารถนาพระองค์ด้วยใคร่ต่อพระองค์ พระนางมัทรี คร่ำครวญรำพันถึงสองกุมารด้วยบทว่า ปุตฺตกา. บทว่า สุวณฺณหาลิทฺทํ ความว่า หม่อมฉันฝนคือบดขมิ้นซึ่งมีสีเหมือนทองถือมาเพื่อสรงสนานพระ โอรสธิดาของพระองค์. บทว่า ปณฺฑุเวลุวํ ความว่า แม้ผลมะตูมสุกซึ่งมี สีเหมือนทองนี้ หม่อมฉันก็นำมาเพื่อพระองค์ทรงเล่น. บทว่า รุกฺขปกฺกานิ ความว่า แม้ผลไม้อื่นๆ ซึ่งเป็นที่ชอบใจ หม่อมฉันก็ได้นำมาเพื่อพระองค์ ทรงเล่น. บทว่า อิเมโว ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า ลูกน้อยทั้งสองนี้ เป็นเครื่องเล่นของพระองค์. บทว่า มูฬาลิวตฺตกํ ได้แก่ สายบัว. บทว่า สาลุกํ ความว่า แม้เหง้าบัวมีอุบลเป็นต้นนี้ หม่อมฉันก็นำมาเป็นอันมาก. บทว่า ชิญฺชโรทกํ ได้แก่ กระจับ. บทว่า ภุญฺช ความว่า พระนางมัทรี คร่ำครวญว่า ขอพระองค์โปรดเสวยของนี้ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยน้ำผึ้งเล็กน้อย พร้อมด้วยพระโอรสธิดา. บทว่า สิวิ ปุตฺตานิ อวยฺห ความว่า ข้าแต่ พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี ขอพระองค์โปรดรีบตรัสเรียกพระโอรสธิดาจากที่บรร- ทมในบรรณศาลา. บทว่า อปิ สิวิ ปุตฺเต ปสฺเสสิ ความว่า ข้าแต่ พระเจ้าสีวีราชผู้สวามี พระองค์ทอดพระเนตรดูพระโอรสธิดาทั้งสองเถิด ถ้าทรงเห็นก็โปรดแสดงแก่หม่อมฉัน ขอได้โปรดอย่าให้หม่อมฉันลำบากนัก เลย. บทว่า อภิสสึ ความว่า หม่อมฉันได้ด่าเป็นแน่อย่างนี้ว่า ท่านทั้ง หลายจงอย่าพบบุตรธิดาของพวกท่านเลย.

แม้พระนางมัทรีทรงพิลาปรำพันอยู่อย่างนี้ พระเวสสันดรมหาสัตว์ก็ มิได้ตรัสอะไรๆ ด้วยเลย ครั้นพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางมัทรีก็หวั่น พระหฤทัยเสด็จเที่ยวค้นหาพระโอรสพระธิดาของพระองค์ด้วยอาศัยแสงจันทร์

 
  ข้อความที่ 270  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 753

เสด็จถึงสถานที่ทั้งปวงนั้นๆ มีต้นหว้าเป็นต้น ซึ่งเป็นที่พระโอรสพระธิดาเคย เล่น ทรงคร่ำครวญตรัสว่า

รุกขชาติต่างๆ เช่นไม้หว้า ไม้ยางทรายซึ่งมีกิ่ง ห้อยย้อย อนึ่งรุกขชาติที่มีผลต่างๆ เช่นไม้โพใบ ขนุน ไทร มะขวิด ปรากฏอยู่ทั้งนั้น แต่ลูกทั้งสอง หาปรากฏไม่ ลูกทั้งสองเคยเล่นที่สวนและแม่น้ำซึ่งมี น้ำเย็น เคยทัดทรงบุปผชาติต่างๆ บนภูผา และเคย เสวยผลไม้ต่างๆ บนภูผา แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่ ตุ๊กตาช้าง ตุ๊กตาม้า ตุ๊กตาวัว ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นยัง ปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิเม โน หตฺถิกา อสฺสา ความว่า พระนางมัทรีทรงค้นหาพระโอรสพระธิดาบนภูเขา ไม่เห็นก็ทรงคร่ำครวญ เสด็จลงจากภูเขามาสู่อาศรมบทอีก ทรงคร่ำครวญถึงพระโอรสพระธิดาใน อาศรมบทนั้น ทอดพระเนตรเห็นของเล่นทั้งหลายของพระโอรสพระธิดา จึง ตรัสอย่างนี้ ครั้งนั้น ฝูงมฤคและปักษีต่างออกจากที่อยู่เพราะสำเนียงทรง คร่ำครวญและเสียงฝีพระบาทของพระนางมัทรี.

พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่า

ตุ๊กตาเนื้อทรายทอง ตุ๊กตากระต่าย ตุ๊กตานกเค้า และตุ๊กตาชะมดเหล่านี้เป็นอันมากที่ลูกทั้งสองเคยเล่น ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่ เหล่าตุ๊กตา หงส์ ตุ๊กตานกกระเรียน และตุ๊กตานกยูงขนหางวิจิตร เหล่านี้ที่ลูกทั้งสองเคยเล่นปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหา ปรากฏไม่.

 
  ข้อความที่ 271  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 754

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามา ได้แก่ เนื้อทรายทองตัวเล็กๆ. บทว่า สโสลูกา ได้แก่ กระต่ายและนกเค้าป่า.

พระนางมัทรีไม่เห็นพระปิยบุตรทั้งสอง ณ อาศรมบท จึงเสด็จออก จากอาศรมบทเข้าสู่ชัฏป่าดอกไม้ ทอดพระเนตรดูสถานที่นั้นๆ ตรัสว่า

พุ่มไม้มีดอกตลอดกาล และสระโบกขรณีที่น่า รื่นรมย์ มีนกจากพรากส่งเสียงร้อง ดาดาษไปด้วย มณฑาดอกและปทุมอุบล ซึ่งเป็นที่ลูกทั้งสองเคยเล่น ยังปรากฏอยู่ แต่ลูกทั้งสองหาปรากฏไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนคุมฺพาโย ได้แก่ พุ่มดอกไม้ป่า นั่นเอง.

พระนางมัทรีไม่ประสบพระปิยบุตรทั้งสอง ณ ที่ไรๆ ก็เสด็จมาเฝ้า พระมหาสัตว์อีก เห็นพระองค์ประทับนั่งมีพระพักตร์เศร้าหมอง จึงทูลว่า

พระองค์ไม่หักไม้แห้ง ไม่นำน้ำมา ไม่ติดไฟ เป็นไฉนหนอ พระองค์ดูเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่ พระองค์เป็นที่รักของหม่อมฉัน ความทุกข์หายไป เพราะสมาคมกับพระองค์ ผู้เป็นที่รักของหม่อมฉัน วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสอง คือพ่อชาลีและแม่ กัณหาชินา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หาสิโต ได้แก่ ไม่ให้ลุกโพลง ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่พระสวามี เมื่อก่อนพระองค์หักฟืน นำน้ำมาตั้งไว้ ก่อไฟในกระเบื้องถ่านเพลิง วันนี้พระองค์ไม่ทำแม้อย่างเดียวในเรื่องเหล่านั้น เป็นเหมือนอ่อนแรงซบเซาอยู่เพราะเหตุไรหนอ หม่อมฉันไม่ชอบใจกิริยาของ

 
  ข้อความที่ 272  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 755

พระองค์เลย. บทว่า ปิโย ปิเยน ความว่า พระเวสสันดรเป็นที่รักของ หม่อมฉัน ที่รักของหม่อมฉันยิ่งกว่าพระเวสสันดรนี้ ไม่มี เมื่อก่อนความทุกข์ ย่อมหายไปคือย่อมปราศจากไป เพราะมาสมาคมคือมาประชุมกับพระองค์ผู้เป็น ที่รักของหม่อมฉันนี้ แต่วันนี้ แม้หม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ ความเศร้าโศกก็ ไม่ปราศจากไปเหตุอะไรหนอ. บทว่า ตฺยชฺช ความว่า เหตุการณ์ที่หม่อมฉัน เห็นแล้ว จงยกไว้เถิด วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น เพราะเหตุนั้น แม้ เมื่อหม่อมฉันเห็นพระองค์อยู่ความเศร้าโศกก็ไม่หายไป.

แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็ประทับนั่งนิ่งอยู่ นั่นเอง. เมื่อพระมหาสัตว์ไม่ตรัสด้วย พระนางเจ้าก็เต็มแน่นไปด้วยลูกศรคือ ความโศก พระกายสั่นดุจแม่ไก่ถูกตี เสด็จเที่ยวค้นหาตามที่เคยค้นหาครั้งแรก แล้ว เสด็จกลับมาเฝ้าพระมหาสัตว์ กราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้ง สองไป ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนก ทั้งหลายไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันคงสิ้นชนมชีพเสียแล้วเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โข โน ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสองของเราเลย. บทว่า เยน เต นีหฏา มตา ความว่า พระนางมัทรีทูลด้วยความประสงค์ว่า หม่อมฉันไม่ทราบว่าใครนำ ลูกทั้งสองไป.

แม้พระนางมัทรีกราบทูลถึงอย่างนี้ พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัสอะไรๆ พระนางมัทรีอันความโศกในเพราะพระโอรสถูกต้องแล้ว ทรงพิจารณาพระ โอรสทั้งสอง เสด็จเที่ยวไปยังสถานที่นั้นๆ ด้วยความเร็วดุจลมถึง ๓ วาระ

 
  ข้อความที่ 273  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 756

ได้ยินว่าสถานที่พระนางเจ้าเสด็จเที่ยวไปตลอดราตรีหนึ่ง ประมาณระยะทาง ราว ๑๕ โยชน์ ลำดับนั้น ราตรีสว่าง อรุณขึ้น พระนางเจ้าเสด็จมาประทับ ยืนคร่ำครวญอยู่ ณ ที่ใกล้พระมหาสัตว์อีก.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระนางมัทรีเสด็จเที่ยวร่ำไรรำพันไปตามภูผา และป่าไม้ในเวิ้งเขาวงกตแล้วเสด็จกลับมาสู่อาศรมอีก ทรงกันแสง ณ สำนักพระภัสดาว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันไม่พบคนที่นำลูกทั้งสองไป ลูกทั้งสองคง สิ้นชนมชีพแล้ว ฝูงกาฝูงนกย่อมไม่มีอยู่ ลูกทั้งสอง ของหม่อมฉันคงสิ้นชีพเสียแล้วเป็นแน่.

เมื่อพระนางมัทรีผู้ทรงโฉม ผู้เป็นพระราชบุตร พระเจ้ามัททราชผู้มียศเสด็จเที่ยวไป ณ ภูเขาและถ้ำทั้ง หลายทรงประคองพระพาหากันแสงว่า ข้าแต่สมมติ เทพ หม่อมฉันไม่เห็นคนที่นำลูกทั้งสองของเราไป ลูกทั้งสองคงสิ้นชนมชีพแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล้วก็ ล้มลง ณ ภูมิภาคแทบพระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดร นั้นนั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั่น บทว่า สามิกสฺสนฺติ โรทติ ความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีนั้นเสด็จเที่ยวคร่ำครวญไปตามเนินผาและป่าไม้ใน เวิ้งเขาวงกตนั้น แล้วเสด็จมาอาศัยพระภัสดาอีก ประทับยืน ณ ที่ใกล้พระ- ภัสดา ทรงกันแสง คือทรงครวญคร่ำรำพันว่า น โข โน เป็นต้น เพื่อ ต้องการพระโอรสและพระธิดา. บทว่า อิติ มทฺที วราโรหาร ความว่า

 
  ข้อความที่ 274  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 757

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีผู้ทรงพระรูปอันอุดม ชื่อว่าผู้ทรงโฉมนั้น เสด็จเที่ยวไป ณ โคนไม้เป็นต้น ไม่เห็นพระโอรสพระธิดา ประคองพระพาหา คร่ำครวญว่า ลูกทั้งสองจักตายเสียแน่แล้ว ดังนี้ แล้วล้มลง ณ ภูมิภาคแทบ พระยุคลบาทแห่งพระเวสสันดรนั้นเอง เสมือนต้นกล้วยสีทองถูกตัดฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าพระองค์สั่นด้วยทรงสำคัญว่า พระนาง มัทรีสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ทรงรำพึงว่า มัทรีมาสิ้นพระชนม์ในที่ต่างด้าวอัน ไม่ใช่ฐานะ หากว่าเธอทำกาลกิริยาในเชตุดรราชธานี การบริหารก็จักเป็นการ ใหญ่ รัฐทั้งสองก็สะเทือนถึงกัน ก็ตัวเราอยู่ในอรัญญประเทศแต่ผู้เดียวเท่านั้น จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงคำนึงดังนี้แล้ว แม้เป็นผู้มีความโศกมีกำลัง ก็ทรง ตั้งพระสติให้มั่น เสด็จลุกขึ้นด้วยทรงสำคัญว่า เราจักต้องรู้ให้แน่ก่อน จึงวาง พระหัตถ์เบื้องขวาตรงพระหทัยวัตถุแห่งพระนางเจ้า ก็ทรงทราบว่ายังมีความ อบอุ่นเป็นไปอยู่ จึงทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้า แม้มิได้ทรงถูกต้องพระกาย ตลอด ๗ เดือน แต่ไม่อาพรจะทรงกำหนดความที่พระองค์เป็นบรรพชิต เพราะ ความโศกมีกำลัง มีพระนัยนาเต็มไปด้วยพระอัสสุชล ช้อนพระเศียรของพระ- นางเจ้าขึ้นวางไว้บนพระเพลา พรมด้วยน้ำ ลูบพระพักตร์และที่ตรงพระหทัย ประทับนั่งอยู่ ฝ่ายพระนางมัทรี พอสักครู่หนึ่งก็กลับได้พระสติ เต้าตั้งไว้ เฉพาะซึ่งหิริและโอตตัปปะ ลุกขึ้นกราบพระมหาสัตว์ ทูลถามว่า ข้าแต่พระ สวามีเวสสันดร ลูกทั้งสองของพระองค์ไปไหน พระมหาสัตว์ตรัสตอบว่า แน่ะพระเทวี ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์คนหนึ่งไปแล้ว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

วันนี้พระเวสสันดรทรงประพรมพระนางมัทรี ราชบุตรผู้ล้มลงด้วยน้ำ ทรงทราบว่าพระนางเจ้าค่อย สำราญ ทีนั้นจึงตรัสคำนี้กะพระนาง.

 
  ข้อความที่ 275  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 758

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมชฺช ปตฺตํ ความว่า ผู้ล้มลงใกล้ พระองค์ อธิบายว่า ผู้ล้มลงถึงวิสัญญีภาพแทบพระยุคลบาท. บทว่า เอตม- พฺรวิ ความว่า ได้ตรัสคำนี้ คือคำว่า ฉันให้เพื่อเป็นทาสแห่งพราหมณ์ คนหนึ่งไปแล้ว.

แต่นั้น เมื่อพระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพพระองค์ประทานลูก ทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ไม่รับสั่งให้หม่อมฉันผู้คร่ำครวญเที่ยวอยู่ตลอดราตรี ทราบความ เพราะเหตุไร พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า

แน่ะมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะบอกเธอแต่แรก ให้เป็นทุกข์ว่า พราหมณ์แก่เป็นยาจกเข็ญใจมาสู่ อาศรม บุตรบุตรีฉันให้แก่พราหมณ์นั้นแล้ว แน่ะ มัทรีเธออย่ากลัวเลย จงยินดีเถิด เธอจงเห็นแก่ฉัน อย่าเห็นแก่บุตรบุตรี อย่าคร่ำครวญนักเลย เราทั้งสอง ยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคก็จักได้บุตรบุตรี และสัตว์ของ เลี้ยง ธัญญาหารทั้งทรัพย์อย่างอื่นในเรือน สัตบุรุษ เห็นยาจกมาบริจาคทาน ดูก่อนมัทรี เธอจงอนุโมทนา ปิยบุตรทาน อันเป็นอุดมทานของฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิเยเนว ได้แก่ แต่แรก มีคำอธิบาย ว่า ถ้าฉันบอกความเรื่องนี้แก่เธอแต่แรก เมื่อเธอได้ฟังดังนั้นก็จะไม่อาจกลั้น ความโศกไว้ได้ หทัยพึงแตก เพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่ปรารถนาจะบอกแก่เธอ แต่แรกให้เป็นทุกข์ นะมัทรี. บทว่า ฆรมาคโต ความว่า มายังสถานที่อยู่ ของพวกเรานี้. บทว่า อโรคา จ ภวามฺหเส ความว่า พระเวสสันดร มหาสัตว์ตรัสว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น เราทั้งสองเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิตอยู่ จักพบ

 
  ข้อความที่ 276  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 759

ลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็นแน่. บทว่า ยญฺจ อญฺฆเร ธนํ ได้แก่ สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์อย่างอื่นในเรือน. บทว่า ทชฺชา สปฺปุริโส ทานํ ความว่า สัตบุรุษเมื่อปรารถนาประโยชน์สูงสุด พึงผ่าอุระ ควักเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.

พระนางมัทรีทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันขออนุโมทนาปิย- บุตรทานอันอุดมของพระองค์ พระองค์ทรงบริจาค ทานแล้วจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญ ทานให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด ข้าแต่พระชนาธิปราช ใน เมื่อชนทั้งหลายมีความตระหนี่ พระองค์ผู้ยังแคว้น ของชาวสีพีให้เจริญ ได้ทรงบริจาคบุตรทานแก่ พราหมณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมทามิ เต ความว่า พระนางมัทรี ทรงอุ้มพระครรภ์ ๑๐ เดือน ประสูตรแล้วให้สรงสนาน ให้ทรงดื่ม ให้เสวย วันละสองสามครั้ง ประคับประคองพระลูกน้อยทั้งสองนั้นให้บรรทมบนพระ อุรประเทศ ครั้นพระโพธิสัตว์พระราชทานพระลูกน้อยทั้งสองไป จึงทรง อนุโมทนาส่วนบุญเอง พระนางมัทรีตรัสอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนี้ พึงทราบว่า บิดาเท่านั้นเป็นเจ้าของเด็กๆ ทั้งหลาย. บทว่า ภิยฺโย ทานํ ทโท ภว ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงเป็นผู้บริจาคทาน บ่อยๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด ทานอันพระองค์ทรงบริจาคดีแล้วด้วยประการฉะนี้ ขอพระองค์ผู้ได้พระราชทานพระปิยบุตรทั้งสองในเมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ ตระหนี่นั้นจงยังพระหฤทัยให้เลื่อมใสเถิด

 
  ข้อความที่ 277  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 760

ครั้นพระนางมัทรีทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงตรัสถึงเหตุอัศจรรย์ ทั้งปวงมีแผ่นดินไหวเป็นต้นว่า แน่ะมัทรี นั่นเธอพูดอะไร ถ้าฉันให้ลูกทั้ง สองแล้วไม่ทำจิตให้เลื่อมใส ความอัศจรรย์ทั้งหลายของฉันเหล่านี้ก็ไม่พึงเป็น ไป แต่นั้นพระนางมัทรีได้ประกาศความอัศจรรย์เหล่านั้นนั่นแล เมื่อจะทรง อนุโมทนาปิยบุตรทาน จึงตรัสว่า

ปฐพีบันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์ ชั้นไตรทิพย์ เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญปิยบุตรทาน สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ ดังหนึ่งเสียงภูเขาล่มทลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชุลตา อาคู ความว่า สายฟ้าผิด ฤดูกาลแลบโดยรอบในหิมวันตประเทศ. บทว่า คิรีนํว ปฏิสฺสุตา ความว่า เสียงโกลาหลปรากฏราวกะเสียงภูเขาถล่มทลาย.

เทพนิกายทั้งสองคือนารทะและทะและเหล่านั้น ย่อมอนุโมทนาแก่พระเวสสันดรนั้น พระอินทร์ พระ พรหม พระปชาบดี พระโสม พระยม และพระเวสวัณมหาราช ทั้งเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมดพร้อมด้วย พระอินทร์ต่างอนุโมทนาทานของพระองค์ พระนาง มัทรีราชบุตรีผู้ทรงโฉม ผู้มียศ ทรงอนุโมทนาปิยบุตรทานอันอุดมแห่งพระเวสสันดร ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นารทปพฺพตา ความว่า เทพนิกาย ทั้งสองแม้เหล่านี้ สถิตอยู่ที่ประตูวิมานของตนๆ นั่นเอง อนุโมทนาแด่พระองค์ว่า ทานอันพระองค์ประทานดีแล้วหนอ. บทว่า ตาวตึสา สอินฺทกา

 
  ข้อความที่ 278  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 761

ความว่า แม้เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า ก็พากันอนุ- โมทนาทานของพระองค์.

พระมหาสัตว์ทรงสรรเสริญทานของพระองค์อย่างนี้แล้ว พระนางมัทรี ก็ทรงกลับเอาข้อความนั้นเองมาทรงสรรเสริญว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทาน อันพระองค์ประทานดีแล้ว ดังนี้แล้วทรงอนุโมทนาประทับนั่งอยู่ ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสคาถาว่า อิติ มทฺที วราโรหา ดังนี้เป็นต้น.

จบมัทรีบรรพ

สักกบรรพ

เมื่อกษัตริย์ทั้งสององค์ คือพระเวสสันดรและพระนางมัทรีตรัสสัม- โมทนียกถาต่อกันและกันอยู่อย่างนี้ ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า เมื่อวันวานนี้ พระเวสสันดรมหาราชนี้ได้ประทานปิยบุตรแก่ชูชกพราหมณ์ แผ่นดินไหว บัดนี้ถ้าจะมีคนต่ำช้าผู้หนึ่งไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอพระนางมัทรีผู้สมบูรณ์ ด้วยลักษณะทั้งปวงมีศีลาจารวัตรบริบูรณ์ พาพระนางมัทรีไป ทำให้ท้าวเธอ อยู่คนเดียว แต่นั้นท้าวเธอก็จะเปล่าเปลี่ยวขาดผู้ปฏิบัติ อย่ากระนั้นเลยเราจะ จำแลงเพศเป็นพราหมณ์ไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลขอพระนางมัทรี ให้ถือเอาทานนั้น เป็นยอดแห่งทานบารมี ทำให้ไม่ควรสละแก่ใครๆ แล้วถวายพระนางเจ้านั้น คืนท้าวเธอไว้อีก แล้วกลับเทวสถานของเรา ท้าวสักกเทวราชนั้นได้เสด็จไป สู่สำนักแห่งพระบรมโพธิสัตว์ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น.

 
  ข้อความที่ 279  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 762

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป ดวงอาทิตย์อุทัยขึ้น มา ท้าวสหัสสนัยจำแลงเพศเป็นพราหมณ์ ได้ปรากฏ แก่สองกษัตริย์นั้นแต่เช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาโต เนสํ อทิสฺสถ ความว่า ได้ มีรูปปรากฏยืนอยู่เบื้องหน้าของกษัตริย์ทั้งสองแต่เช้าทีเดียว.

ก็และครั้นประทับยืนอยู่แล้ว เมื่อจะทรงทำปฏิสันถาร จึงตรัสว่า

พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธกระมัง พระองค์มี ความผาสุกสำราญกระมัง พระองค์ทรงยังอัตภาพให้ เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูล- ผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย คลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากใน วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.

เมื่อท้าวสักกเทวราชทูลถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์เมื่อทรงทำ ปฏิสันถารกับท้าวสักกเทวราชนั้น ตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีอาพาธ สุข สำราญดี ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะแสวงหาผลไม้ สะดวกดี และผลาผลก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุงและ สัตว์เลื้อยคลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ ค่อยมีแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ป่ามีชีวิตเตรียมตรม ตลอด ๗ เดือน เราพึงเห็นพราหมณ์ผู้มีเพศดังเพศแห่ง

 
  ข้อความที่ 280  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 763

เทพถือไม้เท้ามีสีดังผลมะตูม ทรงหนังเสือเหลืองเป็น เครื่องปกปิดกาย แม้นี้เป็นคนที่สอง.

ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว และมาไกล ก็เหมือนใกล้เชิญเข้าข้างใน ขอให้ท่านเจริญเถิด ชำระ ล้างเท้าของท่านเสีย ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผล มะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มี รสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดีๆ เถิด ดูก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.

พระมหาสัตว์ทรงทำปฏิสันถารกับพราหมณ์นั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสถามว่า

ก็ท่านมาถึงป่าใหญ่ด้วยเหตุการณ์เป็นไฉน เรา ถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.

พระมหาสัตว์ตรัสถามถึงเหตุที่ท้าวสักกะมาด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทูลสนองว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์เป็นคนแก่มา ในที่นี้ มาเพื่อทูลขอประทานพระนางมัทรีอัครมเหสีของพระองค์ ขอพระองค์ โปรดประทานพระนางเจ้านั้นแก่ข้าพระองค์ ครั้นทูลฉะนี้แล้วกล่าวคาถาว่า

ห้วงน้ำซึ่งเต็มเปี่ยมตลอดเวลา ไม่มีเวลาเหือด แห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วยศรัทธา ฉันนั้น ข้าพระองค์มาเพื่อทูลขอพระนางมัทรีกะ พระองค์ ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระมเหสีแก่ ข้าพระองค์ผู้ทูลขอเถิด.

เมื่อท้าวสักกเทวราชแปลงทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์มิได้ตรัสว่า เมื่อวานนี้อาตมาได้ให้บุตรบุตรีแก่พราหมณ์ไปแล้ว อาตมาจะต้องอยู่ในป่ารูป

 
  ข้อความที่ 281  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 764

เดียวเท่านั้น จักให้มัทรีแก่ท่านได้อย่างไร ดังนี้ เป็นเพียงดังผู้มีกำลังวางถุง กหาปณะพันหนึ่งลงบนหัตถ์ที่เหยียดออกรับ มีพระมนัสไม่ขัดไม่ข้องไม่หดหู่ เป็นราวกะยังภูผาให้บันลือลั่น ตรัสว่า

ก่อนพราหมณ์ อาตมาให้สิ่งที่ท่านขอต่อ อาตมา อาตมาไม่หวั่นหวาด ไม่ซ่อนสิ่งที่มีอยู่ ใจ ของอาตมายินดีในทาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ นปฺปฏิคุยฺหามิ ความว่า ไม่ ซ่อนสิ่งที่มีอยู่.

ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงนำน้ำมาด้วยพระเต้าทันที ทีเดียว หลั่งน้ำลงในมือของพราหมณ์ พระราชทานปิยทารทานแก่พราหมณ์ มหัศจรรย์ทั้งปวงมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง ได้ปรากฏในขณะนั้นนั่น เทียว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ทรงจับ พระกรพระนางมัทรีด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง จับพระเต้า น้ำด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่งหลั่งอุทกลงในมือพราหมณ์ ได้พระราชทานพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ มหัศจรรย์ อันให้สยดสยองและยังโลมชาติให้ชูชัน คือเมื่อพระ- เวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีแก่พราหมณ์ แผ่น ดินได้กัมปนาทหวั่นไหวในกาลนั้น พระนางมัทรี มิได้ทำพระพักตร์สยิ้วกริ้วพระภัสดา ไม่ทรงแสดง พระอาการขวยเขิน ไม่ทรงกันแสง เมื่อพระภัสดา

 
  ข้อความที่ 282  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 765

ทอดพระเนตร พระนางเจ้าก็ทรงดุษณีภาพ พระภัสดา ก็ทรงทราบพระอัธยาศัยอันประเสริฐของพระนางเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทา ทานํ ความว่า พระเวสสันดร มหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้นเป็นที่รัก ของอาตมายิ่งกว่าแม้พระนางมัทรี ร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า ขอทานของ อาตมานี้จงเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้แล้วได้ทรงบริจาค ปิยทารทาน.

สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

เราตถาคตเมื่อสละชาลีโอรส กัณหาชินาธิดา และมัทรีเทวีผู้เคารพต่อภัสดามิได้คิดเสียดายเลยเพราะ เหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น ลูกทั้งสองเป็นที่เกลียด ชังของเราก็หามิได้ มัทรีเทวีไม่เป็นที่รักของเราก็หา มิได้ พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรธิดาและเทวีผู้เป็นที่รัก เสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมกมฺปถ๑ ความว่า แผ่นดินไหวจด ถึงน้ำ. บทว่า เนวสฺส มทฺที ภกุฏี ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะ นั้นพระนางมัทรีมิได้มีพระพักตร์สยิ้ว เพราะกริ้วว่า พระราชาเวสสันดรประ- ทานเราแก่พราหมณ์แก่. บทว่า น สนฺธียติ น โรทติ ความว่า มิได้ ทรงเก้อเขิน มิได้ทรงกันแสงจนน้ำตาเต็มพระเนตรทั้งสอง ด้วยทรงคิดว่า พระสวามีดูเราทำไมทั้งทรงดุษณีภาพเข้าพระทัยว่า เมื่อให้นางแก้วเช่นเรา จัก ไม่ให้เพราะไร้เหตุ อธิบายว่า พระนางมัทรีประทับยืนทอดพระเนตรดูพระ


๑. ม. สมฺปกมฺปถ.

 
  ข้อความที่ 283  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 766

พักตร์ของพระเวสสันดรซึ่งมีวรรณะดังดอกปทุมบาน ด้วยเข้าพระทัยว่า พระ- สวามีของเรานี้แหละทรงทราบสิ่งที่ประเสริฐ.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระพักตร์ของพระนางมัทรี ด้วยทรงคิดว่า มัทรีจะเป็นอย่างไร พระนางเจ้าจึงทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ทอดพระเนตรดูหน้าหม่อมฉันทำไม เมื่อทรงบันลือสีหนาทจึงตรัส คาถานี้ว่า

หม่อมฉันผู้ยังเป็นสาว เป็นเทวีของพระองค์ ท่านใด พระองค์ท่านนั้นเป็นพระภัสดาเป็นใหญ่ของ หม่อมฉัน พระองค์ท่านทรงปรารถนาจะพระราชทาน แก่บุคคลใด ก็จงพระราชทานแก่บุคคลนั้น หรือจะ พึงตายพึงฆ่าเสียย่อมได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า หม่อมฉันเป็นเทวีสาวของ พระองค์ท่านใด พระองค์ท่านนั้นแหละเป็นพระภัสดาด้วย เป็นใหญ่ด้วยของ หม่อมฉัน พระองค์ท่านปรารถนาจะพระราชทานแก่ผู้ใด ก็พึงพระราชทาน แก่ผู้นั้น หรือเมื่อต้องการทรัพย์ ก็พึงขายหม่อมฉัน หรือเมื่อต้องการเนื้อ ก็พึงฆ่าหม่อมฉัน เพราะฉะนั้น พระองค์จงกระทำสิ่งที่ทรงชอบพระทัยเถิด หม่อมฉันไม่โกรธ.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยอันประณีตของกษัตริย์ ทั้งสอง จึงทรงชมเชยสองกษัตริย์นั้น.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบพระดำริของสอง กษัตริย์ จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าศึกทั้งปวงทั้งที่เป็นของ

 
  ข้อความที่ 284  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 767

ทิพย์และของมนุษย์พระองค์ทั้งสองทรงชนะแล้วปฐพี บันลือลั่น เสียงสาธุการก้องไปถึงสวรรค์ชั้นไตรทิพ สายฟ้าก็แวบวาบไปโดยรอบ เสียงโกลาหลนั้นปรากฏ ดังหนึ่งเสียงภูเขาถล่มทลาย เทพนิกายทั้งสองคือ นารทะและปัพพตะเหล่านั้นย่อมอนุโมทนาแก่สอง กษัตริย์นั้น พระอินทร์ พระพรหม พระปชาบดี พระโสม พระยม และพระเวสวัณมหาราช เทพเจ้าทั้ง หมดย่อมอนุโมทนาว่า พระองค์ทรงทำกิจที่ทำได้ยาก แท้ เพราะความที่เหล่าผู้ให้ทานให้ด้วยยาก เพราะ ความที่เหล่าผู้ทำบุญกรรมทำด้วยยาก อสัตบุรุษทั้ง หลาย ทำตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย อัน อสัตบุรุษทั้งหลายนำไปยาก เหตุดังนั้น คติภูมิที่ไป จากโลกนี้ ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษทั้งหลายต่างกัน อสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษทั้งหลายมี สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ข้อที่พระองค์เมื่อเสด็จ ประทับ แรมอยู่ในป่า ได้พระราชทานกุมารกุมารีและ พระมเหสีนี้ นับว่าเป็นพรหมยานอันสัมฤทธิ์แล้วแด่ พระองค์ เพราะจะมิต้องเสด็จไปในอบายภูมิ ขอ พระกุศลทานอันนั้นจงอำนวยวิบากสมบัติแด่พระองค์ ในสวรรค์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา ได้แก่ ข้าศึก. บทว่า ทิพฺพา ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า มานุสา ได้แก่ ห้ามเสียซึ่งมนุษย- สมบัติ. แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า เต ได้แก่ ธรรมคือความ

 
  ข้อความที่ 285  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 768

ตระหนี่, ความตระหนี่ทุกอย่างนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ประทานโอรสธิดาและ มเหสี ทรงชำนะแล้ว เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า สพฺเพ ชิตา เต ปจฺจูหา ดังนี้. บทว่า ทุกฺกรํ หิ กโรติ โส ความว่า ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า เทวดาทั้งปวงเหล่านั้นอนุโมทนาอย่างนี้ว่า พระราชา เวสสันดรนั้นประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อประทานพระมเหสีแก่ พราหมณ์ ย่อมกระทำกรรมที่ทำได้โดยยาก ท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงทำอนุ- โมทนาจึงตรัสคาถาว่า ยเมตํ เป็นต้น. บทว่า วเน วสํ แปลว่า ประทับ อยู่ในป่า. บทว่า พฺรหฺมยานํ ได้แก่ ยานอันประเสริฐก็ธรรมคือความ สุจริตสามอย่างและธรรมคือการบริจาคเห็นปานนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอริยมรรค ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าพรหมยาน เพราะฉะนั้นพรหมยานนี้จึงสำเร็จแก่พระองค์ ผู้ให้ทานในวันนี้เพราะไม่ต้องเสด็จไปสู่อบายภูมิ. บทว่า สคฺเค เต ตํ วิปจฺจตุ ความว่า จงให้พระสัพพัญญุตญาณในที่สุดแห่งวิบากนั่นเทียว

ท้าวสักกเทวราชทรงอนุโมทนาแด่พระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ทรงดำริ ว่า บัดนี้ควรที่เราจะไม่ชักช้าในที่นี้ ควรถวายคืนพระนางมัทรีแด่พระเวสสันดร แล้วกลับไป ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า

ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีพระมเหสีผู้งาม ทั่วสรรพางค์ คืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์ มีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระนางมัทรี และพระนางมัทรีก็ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระองค์ พระสวามี.

น้ำมันและสังข์มีสีเสมอเหมือนกัน ฉันใด พระองค์และพระนางมัทรี ก็มีพระมนัสเจตนาเสมอเหมือน กัน ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 286  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 769

พระองค์ทั้งสองเป็นขัตติยชาติ สมบูรณ์ด้วย พระวงศ์ เกิดดีแล้วแต่พระมารดาพระบิดา ถูกเนรเทศ เสด็จมาแรมอยู่ ณ อาศรมในราวไพรนี้ ขอพระองค์ เมื่อทรงบำเพ็ญทานต่อๆ ไป พึงบำเพ็ญบุญกุศลตาม สมควรเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ สมควร. บทว่า อุโภ สมานวณฺณิโน ความว่า ทั้งสองมีวรรณะเสมอกันบริสุทธิ์แท้. บทว่า สมานมนเจตสา ความว่า ประกอบด้วยใจกล่าวคือมนะที่เสมอกันโดยคุณมีอาจาระ เป็นต้น. บทว่า อวรุทฺเธตฺถ ความว่า ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น ประทับ อยู่ในอรัญประเทศนี้. บทว่า ยถา ปุญฺานิ ความว่า พระองค์อย่าทรง ยินดีด้วยบุญเพียงเท่านี้คือ บุญที่ทรงทำไว้เป็นอันมากในกรุงเชตุดร บุญที่ ทรงทำเช่นเมื่อวันวานพระราชทานพระโอรสธิดา วันนี้พระราชทานพระมเหสี ทรงบริจาคทานต่อๆ ไปแม้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวแล้วนั้นพึงบำเพ็ญบุญทั้งหลายตาม สมควรเถิด.

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงมอบพระนางมัทรีแด่พระมหาสัตว์แล้ว เมื่อจะแจ้งพระองค์ว่าเป็นพระอินทร์ เพื่อถวายพระพร จึงตรัสว่า

หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพ มาสู่สำนักของ พระองค์ ข้าแต่พระราชฤาษีขอพระองค์จงทรงเลือก เอาพระพร หม่อมฉันขอถวายพระพร ๘ ประการแด่ พระองค์ท่าน.

เมื่อท้าวสักกะจอมเทพตรัสอยู่อยู่นั่นเอง ก็รุ่งเรืองเปล่งปลั่งด้วยอัตภาพ ทิพย์ สถิตอยู่ในอากาศปานประหนึ่งภาณุมาศเปล่งรัศมีอ่อนๆ ฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 287  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 770

แต่นั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงรับพระพร จึงตรัสว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของสรรพสัตว์ ถ้า พระองค์จะประทานพระพรแก่หม่อมฉัน ขอพระชนก ของหม่อมฉันพึงทรงยินดีให้หม่อมฉันกลับจากป่านี้สู่ นิเวศน์ของหม่อมฉัน พึงเชื้อเชิญด้วยราชบัลลังก์

หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๑. หม่อมฉันไม่ชอบการฆ่าคน แม้ทำผิดร้ายแรง พึงยังคนมีโทษให้พ้นจากการประหารชีวิต หม่อมฉัน ขอเลือกข้อนี้เป็นพระพนข้อที่ ๒.

ชนเหล่าใดเป็นคนแก่ เป็นคนหนุ่ม และเป็น คนกลางคน ชนเหล่านั้นพึงอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีพ หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๓.

หม่อมฉันไม่พึงถึงภรรยาของคนอื่น พึงขวน ขวายแต่ในภรรยาของตน และไม่พึงตกอยู่ในอำนาจ แห่งสตรีทั้งหลาย หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร ข้อที่ ๔.

ข้าแต่ท้าวสักกะ บุตรของหม่อมฉันที่พลัดพราก ไปนั้น พึงมีอายุยืน พึงครองแผ่นดินโดยธรรม หม่อม ฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๕.

เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา ขอให้ ภิกษาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏมี หม่อมฉันขอเลือก ข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๖.

 
  ข้อความที่ 288  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 771

เมื่อหม่อมฉันบริจาคทาน ทรัพย์สมบัติพึงไม่ หมดสิ้นไป บริจาคแล้วไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง เมื่อ กำลังบริจาคพึงทำจิตให้ผ่องใส หม่อมฉันขอเลือกข้อ นี้เป็นพระพรข้อที่ ๗.

เมื่อหม่อมฉันพ้นจากอัตภาพนี้ พึงไปสู่สวรรค์ ถึงชั้นดุสิตอันวิเศษ จุติจากชั้นดุสิตนั้นมาเป็นมนุษย์ พึงเป็นผู้ไม่เกิดอีก หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร ข้อที่ ๘.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมเทยฺย ได้แก่ พึงทรงรับ คือ ไม่กริ้ว. บทว่า อิโต ปตฺตํ ได้แก่ จากป่านี้ถึงนิเวศน์ของตน. บทว่า อาสเนน ได้แก่ ด้วยราชบัลลังก์ คือพระเวสสันดรตรัสว่า ขอพระชนกจง ประทานราชสมบัติแก่หม่อมฉัน. บทว่า อปิ กิพฺพิสการกํ ความว่า หม่อมฉันเป็นพระราชา พึงปล่อยนักโทษประหารแม้เป็นผู้ทำความผิดต่อ พระราชา ให้พ้นจากถูกประหาร หม่อมฉันแม้เป็นถึงอย่างนี้ก็ไม่ชอบการ ประหาร. บทว่า มเมว อุปชีเวยฺยุํ ความว่า ขอเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึง อาศัยหม่อมฉันนี่แหละเลี้ยงชีพ. บทว่า ธมฺเมน ชิเน ความว่า จงชนะ โดยธรรม คือจงครองราชสมบัติโดยเรียบร้อย. บทว่า วิเสสคู ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า ขอหม่อมฉันจงเป็นผู้ไปสู่สวรรค์ชั้นพิเศษ คือเป็นผู้ บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. บทว่า อนิพฺพตฺตี ตโต อสฺสํ ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า หม่อมฉันจุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ พึง เป็นผู้ไม่บังเกิดในภพใหม่ทีเดียว คือพึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

 
  ข้อความที่ 289  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 772

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงสดับพระดำรัสของ พระมหาสัตว์นั้นแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า พระราชธิดาผู้ บังเกิดเกล้าของพระองค์ จักเสด็จมาพบพระองค์โดย ไม่นานนัก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฏฺฐุเมสฺสติ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระบิดาของพระองค์ประสงค์จะเยี่ยมพระองค์ จักเสด็จมาที่นี้ โดยไม่นานนัก ก็และครั้นเสด็จมาแล้ว จักพระราชทานเศวตฉัตรแด่พระองค์ แล้วเชิญเสด็จไปกรุงเชตุดรทีเดียว ความปรารถนาของพระองค์ทุกอย่างจักถึง ที่สุดอย่าร้อนพระหฤทัยไปเลย จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาราช.

ครั้นประทานโอวาทแด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วท้าวสักกเทวราชก็เสด็จ ไปสู่ทิพยสถานของพระองค์นั่นแล.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราชตรัสดังนี้แล้ว ประทานพระพรแด่พระเวสสันดรแล้วเสด็จไปสู่หมู่เทพใน สรวงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตเร ได้แก่ แด่พระเวสสันดร. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ เสด็จไปแล้ว คือเสด็จถึงแล้วโดยลำดับนั่นแล.

จบสักกบรรพ

 
  ข้อความที่ 290  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 773

มหาราชบรรพ

กาลนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์และพระนางมัทรี ทรงบันเทิงเสด็จ แรมอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทาน ครั้งนั้น พราหมณ์ชูชกพาพระชาลีพระกัณหาทั้งสององค์เดินทาง ๖๐ โยชน์ เหล่าเทพเจ้าได้อารักขาพระกุมารกุมารี ฝ่ายชูชกครั้นดวงอาทิตย์อัสดงคต ก็ผูกพระกุมารกุมารีทั้งสองไว้ที่กอไม้ ให้ บรรทมเหนือพื้นดิน ตนเองขึ้นต้นไม้นอนที่หว่างค่าคบกิ่งไม้ ด้วยเกรงพาลมฤคที่ดุร้าย.

ในขณะนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระเวสสันดรมา ภาย หลังมีเทพธิดาองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระนางมัทรี มาแก้สองกุมาร นวดพระ หัตถ์และพระบาทของสองกุมาร สรงน้ำ ประดับ ให้เสวยทิพยโภชนาหาร ตกแต่งด้วยสรรพาลังการ ให้บรรทมบนพระยี่ภู่ทิพย์ พออรุณขึ้นก็ให้บรรทม ด้วยเครื่องพันธนาการตามเดิมอีก แล้วอันตรธานหายไป ราชกุมารกุมารีทั้ง สองนั้นหาพระโรคมิได้ เสด็จไปด้วยเทวสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อราตรีนั้นสว่าง แล้ว ชูชกลงจากต้นไม้ล้างหน้าบ้วนปากสีฟันแล้ว บริโภคผลาผล กาลนั้น แกพาสองกุมารไปถึงมรรคาหนึ่งคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ แล้วเดินไป เห็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปกาลิงครัฐ ทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร เทวดาดล ใจ แกจึงละทางไปกาลิงครัฐ เห็นทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร จึงนำสองกุมารไป ด้วยสำคัญว่า ทางนี้เป็นทางไปกาลิงครัฐ แกคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ ล่วง เชิงภูผาของภูผาที่ไปยากทั้งหลาย ถึงกรุงเชตุดรโดยกาลนับได้กึ่งเดือน.

วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระ สุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า เมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชประทับนั่งในสถานที่มหา

 
  ข้อความที่ 291  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 774

วินิจฉัยมีชายคนหนึ่งผิวดำ นำดอกปทุมสองดอกมาวางไว้ในพระหัตถ์แห่งพระราชา พระราชาทรงรับดอกปทุมทั้งสองดอกนั้นไว้ ทรงประดับที่พระกรรณ สองข้าง ละอองเกสรแห่งดอกปทุมสองดอกนั้น ล่วงลงบนพระอุระแห่งพระราชา พระเจ้าสญชัยตื่นบรรทม ตรัสเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้ทำนายสุบินมาตรัส ถาม พราหมณ์เหล่านั้นทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระประยูรญาติของ พระองค์ที่จากไปนานจักมา พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับคำพยากรณ์นั้น ทรง ยินดี โปรดให้พราหมณ์เหล่านั้นกลับไป สนานพระเศียรแต่เช้าแล้วเสวย โภชนาหารมีรสเลิศต่างๆ ตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการคืออาภรณ์ทั้งปวง ประทับนั่ง ณ สถานมหาวินิจฉัย เทวดานำพราหมณ์กับกุมารมายืนอยู่ที่พระ ลานหลวง ขณะนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรดูมรรคาทรงเห็นสองกุมาร จึงตรัสว่า

นั้นเป็นดวงหน้าของใครงามนัก ราวกะว่าทอง คำที่หลอมร้อนแล้วด้วยไฟ หรือประหนึ่งว่าลิ่มแห่ง ทองคำที่ละลายกว่างในปากเบ้า ทั้งสองกุมารกุมารีมี อวัยวะคล้ายกัน ทั้งสองกุมารกุมารีมีลักษณะคล้ายกัน คนหนึ่งเหมือนพระชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา ทั้งสองกุมารกุมารีมีรูปสมบัติ ดังราชสีห์ออกจากป่า กุมารกุมารีเหล่านี้ปรากฏประดุจหล่อด้วยทองคำที่ เดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตตฺตมคฺคินา ได้แก่ หลอมร้อน แล้วด้วยไฟ. บทว่า สีหา วิลาว นิกฺขนฺตา ความว่า เป็นราวกะราชสีห์ ออกจากถ้ำทองทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 292  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 775

พระเจ้าสญชัยตรัสสรรเสริญสองกุมารด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว มี พระราชดำรัสสั่งอมาตย์คนหนึ่งผู้ฉลาดศึกษาดีแล้วว่า เจ้าจงไปนำพราหมณ์กับ ทารกทั้งสองมา อมาตย์นั้นได้ฟังดังนั้น ก็ลุกขึ้นไปโดยเร็ว นำพราหมณ์กับ ทารกทั้งสองมาแสดงแด่พระเจ้าสญชัย. ลำดับ นั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อตรัสถาม พราหมณ์ชูชก ตรัสว่า

ดูก่อนตาพราหมณ์ภารทวาชโคตร แกนำทารก ทั้งสองนี้มาแต่ไหน แกมาจากไหนถึงแว่นแคว้นใน วันนี้.

ชูชกกราบทูลสนองว่า

ข้าแต่พระเจ้าสญชัย พระราชกุมารราชกุมารีทั้ง สองนี้ พระเวสสันดรทรงยินดี พระราชทานแก่ ข้าพระบาท ๑ ราตรีทั้งวันนี้ นับแต่ข้าพระบาทได้ พระราชกุมารกุมารีมา.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับคำชูชกกราบทูล จึงตรัสว่า

แกได้มาด้วยวาจาพึงให้รักอย่างไร ต้องให้พวก ข้าเชื่อด้วยเหตุโดยชอบ ใครบ้างจะให้บุตรบุตรีอัน เป็นทานสูงสุดเป็นทานแก่แก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนา จิตฺเตน ได้แก่ ยินดีคือเลื่อมใส. บทว่า อชฺช ปณฺณรสา รตฺตี ความว่า ชูชกกราบทูลว่า จำเดิมแต่วันที่ ข้าพระบาทได้สองกุมารกุมารีนี้มา ๑๕ ราตรีเข้าวันนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน วาจาย เปยฺเยน ความว่า ตาพราหมณ์ แกได้สองกุมารกุมารีเหล่านั้นด้วยคำอันเป็นที่รักอย่างไร. บทว่า

 
  ข้อความที่ 293  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 776

สมฺมา ฌาเยน สทฺทเห ความว่า แกอย่าทำมุสาวาท ต้องให้พวกข้าเชื่อ ด้วยเหตุการณ์โดยชอบทีเดียว. บทว่า ปุตฺตเก ความว่า ใครจะทำลูกน้อยๆ ที่น่ารักของตนให้เป็นทานอันสูงสุดแล้วให้ทานนั้นแก่แก.

ชูชกกราบทูลว่า

พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัย ของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้ง หลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาคร เป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชาเวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราว ไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปติฏฺาสิ ได้แก่ เป็นที่พึ่ง.

อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังชูชกกล่าวดังนั้น เมื่อจะติเตียนพระเวสสันดร จึงกล่าวว่า

เรื่องนี้พระราชาเวสสันดร ถึงมีพระราชศรัทธา แต่ยังครองฆราวาสวิสัย ทำไม่ถูก พระองค์ถูกขับจาก ราชอาณาจักรไปประทับอยู่ในป่า พึงพระราชทาน พระโอรสพระธิดาเสียอย่างไรหนอ.

ท่านผู้เจริญทั้งหลายผู้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ จง พิจารณาเรื่องนี้ดู พระราชาเวสสันดรเมื่อประทับอยู่ ในป่า พระราชทานพระโอรสพระธิดาเสียอย่างไร.

พระราชาเวสสันดรควรพระราชทานทาส ทาสี ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ ช้างตัวประเสริฐพระองค์ต้อง

 
  ข้อความที่ 294  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 777

พระราชทานพระโอรสพระธิดาทำไมหนอ พระองค์ ควรพระราชทานทอง เงิน ศิลา แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ แก้วมณี แก้วประพาฬ พระองค์ต้องพระราชทาน พระโอรสพระธิดาทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า แม้มีศรัทธา. บทว่า ฆรเมสินา ความว่า เรื่องนี้ พระราชาเวสสันดรเมื่อทรงอยู่ครองฆราวาส วิสัย ทรงทำไม่ถูก คือทรงทำไม่ควรหนอ. บทว่า อวรุทฺธโก ความว่า พระเวสสันดรถูกขับไล่จากแว่นแคว้นประทับแรมในป่า. บทว่า อิมํ โภนฺโต ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ด้วยความประสงค์ว่า ขอชาวพระนครผู้ เจริญทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ทั้งหมด จงพิจารณา คือใคร่ ครวญเรื่องนี้ดูเถิด พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระโอรสน้อยๆ ของพระองค์ให้เป็นทาสได้อย่างไร เรื่องอย่างนี้เคยมีใครทำไว้. บทว่า ทชฺชา ความ ว่า จงพระราชทานทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทรัพย์ทั้งหลายมีทาสเป็น ต้น. บทว่า กถํ โส ทชฺชา ทารเก ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระเวสสันดรได้พระราชทานพระโอรสธิดาเหล่านั้นด้วยเหตุไร.

พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังคำอมาตย์เหล่านั้น เมื่อทรงอดทนคำครหา พระชนกไม่ได้ เป็นผู้ราวกะจะค้ำจุนเขาสิเนรุที่ถูกลมประหารด้วยพระพาหา ของพระองค์ จึงตรัสคาถานี้ว่า

ทาส ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ และช่างกุญชร ตัวประเสริฐ ไม่มีในนิเวศน์แห่งพระราชธิดา ข้าแต่ พระอัยกาเจ้า พระราชบิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า ในอาศรมแห่งพระราชบิดาไม่มีศิลา ทอง เงิน แก้ว

 
  ข้อความที่ 295  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 778

มณีและแก้วประพาฬ ข้าแต่พระอัยกาเจ้า พระราชบิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า. พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนพระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทาน ของบิดาเจ้าดอก มิได้ติเตียนเลย บิดาของหลานให้ หลานทั้งสองแก่คนขอทาน หฤทัยของเขาเป็นอย่างไร หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานมสฺส ปสํสาม ความว่า ดูก่อน พระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทานของบิดาเจ้า มิได้ติเตียน.

พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า

ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดาของหม่อม ฉันพระราชทานหม่อมฉันทั้งสองแก่คนขอทานแล้ว ได้ทรงฟังวาจาอันน่าสงสารที่น้องหญิงกัณหากล่าว พระองค์ทรงมีพระทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน มีพระเนตรแดงก่ำดังดาวโรหิณี มีพระอัสสุชลหลั่งไหล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ข้าแต่พระอัยกาเจ้า พระบิดานั้นทรงสดับคำนี้ที่น้องกัณหาชินาของหม่อมฉันกล่าว พระองค์ได้มี พระหฤทัยเป็นทุกข์. บทว่า โรหิณีเหว ตามฺพกฺขี ความว่า พระบิดาของ หม่อมฉันมีพระเนตรแดงก่ำราวกะดาวโรหิณีที่มีสีแดงฉะนั้น ทรงมีพระอัสสุชล หลั่งไหลเป็นดังสายเลือดในขณะนั้น.

 
  ข้อความที่ 296  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 779

บัดนี้ พระชาสีราชกุมารเมื่อจะทรงแสดงพระวาจาของพระกัณหาชินา นั้น จึงตรัสว่า

น้องกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่ พระบิดา พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดุจตีทาสี เกิดในเรือน ข้าแต่พระบิดา พราหมณ์ทั้งหลายเป็น ผู้ประกอบด้วยธรรม แต่พราหมณ์นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แกเป็นยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ มานำหม่อมฉัน ทั้งสองไปเคี้ยวกิน ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันทั้งสอง ถูกปีศาจนำไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นหรือหนอ.

ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นพระราชนัดดาทั้งสอง ยังไม่พ้นจากมือพราหมณ์ชูชก จึงตรัสคาถาว่า

พระมารดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชบุตรี พระ บิดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชโอรส แต่ก่อนหลาน ทั้งสองขึ้นนั่งบนตักปู่ เดี๋ยวนี้มายืนอยู่ไกล เพราะ อะไรหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ความว่า แต่ก่อนนี้ หลาน ทั้งสองเห็นปู่เข้ามาโดยเร็ว ขึ้นตักปู่ บัดนี้เหตุอะไรหนอ หลานทั้งสองจึงยืน อยู่ไกล.

พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า

พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตรี พระชนกของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่ หม่อมฉันทั้งสองเป็นทาสีของพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันทั้งสองจึงต้องยืนอยู่ไกล.

 
  ข้อความที่ 297  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 780

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา มยํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ สมมติเทพ เมื่อก่อนหม่อมฉันทั้งสองรู้ตัวว่าเป็นราชบุตร แต่เดี๋ยวนี้หม่อมฉัน ทั้งสองเป็นทาสของพราหมณ์ ไม่ได้เป็นนัดดาของพระองค์.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

หลานรักทั้งสองอย่าได้พูดอย่างนี้เลย หทัยของปู่ เร่าร้อน กายของปู่เหมือนถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร ปู่ ไม่ได้ความสุขในราชบัลลังก์ หลานรักทั้งสองอย่าได้ พูดอย่างนี้เลย เพราะยิ่งเพิ่มความโศกแก่ปู่ ปู่จักไถ่ หลานทั้งสองด้วยทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็น ทาส แน่ะพ่อชาลี บิดาของหลานให้หลานทั้งสองแก่ พราหมณ์ ตีราคาไว้เท่าไร หลานจงบอกปู่ตามจริง พนักงานจะได้ให้พราหมณ์รับทรัพย์ไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม เป็นคำแสดงความรัก. บทว่า จิตกายํว เม กาโย ความว่า บัดนี้กายของปู่เป็นเหมือนถูกยกขึ้นสู่เชิง ตะกอนถ่านเพลิง. บทว่า ชเนถ มํ ความว่า ให้เกิดแก่ปู่ บาลีก็อย่างนี้ แหละ. บทว่า นิกฺกีณิสฺสามิ ทพฺเพน ความว่า จักให้ทรัพย์แล้วเปลื้อง จากความเป็นทาส. บทว่า กิมฺคฺฆิยํ ความว่า ตีราคาไว้เท่าไร. บทว่า ปฏิปาเทนฺติ ความว่า ให้รับทรัพย์.

พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า

ข้าแต่พระอัยกา พระบิดาพระราชทานหม่อมฉัน แก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันตำลึงทองคำ ทรงตีราคา น้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์ผ่องใส ด้วยทรัพย์มีช้าง เป็นต้นอย่างละร้อย.

 
  ข้อความที่ 298  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 781

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสคฺฆํ หิ มํ ความว่า ข้าแต่ สมมติเทพ พระบิดาพระราชทานหม่อมฉันแก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันลิ่ม ทองคำ. บทว่า อจฺฉํ ความว่า แต่น้องหญิงกัณหาชินาของหม่อมฉัน บทว่า หตฺถิอาทิสเตน ความว่า พระชาลีทูลว่า พระบิดาทรงตีราคาด้วยช้าง ม้า รถ เหล่านั้นทั้งหมดอย่างละร้อยแม้โดยที่สุดจนเตียงและตั่งก็อย่างละร้อยทั้งนั้น.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังพระชาลีกราบทูล เมื่อจะทรงโปรดให้ไถ่พระกุมารกุมารีทั้งสององค์ จึงตรัสว่า

ดูก่อนเสวกามาตย์ เจ้าจงลุกขึ้น รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โคผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์ เป็นค่าไถ่แม่กัณหา และจงให้ทองคำพันตำลึงเป็นด่า ไถ่พ่อชาลี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากรา ได้แก่ จงให้. บทว่า นิกฺกยํ ความว่า จงให้ค่าไถ่.

เสวกามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสสั่งดังนั้นแล้วจึงกระทำตามนั้น ได้จัดค่าไถ่สองกุมารให้แก่พราหมณ์ทันที.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้น เสวกามาตย์รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โค ผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระกัณหา และได้ให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าพระชาลี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากริ ได้แก่ ได้ให้แล้ว บทว่า นิกฺกยํ ความว่า ให้ค่าไถ่.

พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงอย่างละร้อยและทองคำพันตำลึง แก่พราหมณ์ชูชกเป็นค่าไถ่พระราชกุมารกุมารี และพระราชทานปราสาท ๗

 
  ข้อความที่ 299  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 782

ชั้นแก่ชูชกด้วยประการฉะนี้ จำเดิมแต่นั้น ชูชกก็มีบริวารมาก แกรวบรวม ทรัพย์ขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์ใหญ่ บริโภคโภชนะมีรสอันดี แล้วนอน บนที่นอนใหญ่.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเจ้าสญชัยสีวีราชได้พระราชทานทาสี ทาส โคเมีย ช้าง โคผู้ แม่ม้าอัสดรและรถ ทั้งเครื่อง บริโภคอุปโภคทั้งปวงอย่างละร้อยๆ และทองคำพัน ตำลึง แก่พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจ เหลือเกิน เป็นค่าไถ่สองกุมารกุมารี.

ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยมหาราชให้พระชาลีและพระกัณหาสนานพระเศียร แล้วให้เสวยโภชนาหารทรงประดับราชกุมารกุมารีทั้งสอง ทรงจุมพิต พระเศียรพระเจ้าสญชัยให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา พระนางเจ้าผุสดีให้ พระกัณหาชินาประทับนั่งบนพระเพลา.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระอัยกาพระอัยกีทรงไถ่พระชาลีพระกัณหาแล้ว ให้สนานพระกาย ให้เสวยโภชนาหาร แต่งองค์ด้วย ราชาภรณ์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลา.

เมื่อพระราชกุมารกุมารีสนานพระเศียร ทรงภูษา อันหมดจด ประดับด้วยสรรพาภรณ์และสรรพาลังการ คือกุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ ทั้งระเบียบดอกไม้แล้ว พระอัยกาให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา แล้ว ตรัสถามด้วยคำนี้ว่า.

 
  ข้อความที่ 300  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 783

แน่ะพ่อชาลี พระชนกชนนีทั้งสองของพ่อไม่มี พระโรคาพาธกระมัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะ แสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมาก กระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อย กระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่ เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่ค่อยมีกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑเล ได้แก่ ให้ประดับกุณฑลทั้ง หลาย. บทว่า ฆุสิเต ได้แก่ กุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ คือส่งเสียงเป็นที่ ยินดีแห่งใจ. บทว่า มาเล ได้แก่ ให้ประดับดอกไม้นั้นๆ ทั้งสอง. บทว่า องฺเก กริตฺวาน ได้แก่ ให้พระชาลีราชกุมารประทับนั่งบนพระเพลา.

พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชดำรัสถามดังนั้น จึงกราบทูล สนองว่า

ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกชนนีทั้งสองของ หม่อมฉันไม่ค่อยมีพระโรคาพาธ ยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกดี และมูลผลาหารก็ มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน มีบ้าง ก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่ เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ค่อยมีแด่พระชนกพระชนนีทั้งสองนั้น.

พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเสด็จไปขุดมัน กระชากมันอ่อน มันมือเสือ มันนก และนำผลกะเบา ผลจาก มะนาว มาเลี้ยงกัน.

 
  ข้อความที่ 301  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 784

พระชนนีเป็นผู้หามูลผลในป่า ทรงนำมาซึ่งมูล ผลใด หม่อมฉันทั้งหลายประชุมพร้อมกันเสวยมูลผล นั้นในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลางวัน.

พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ ต้องทรงหาผลไม้ในป่ามาเลี้ยงกัน จนทรงซูบมีพระ ฉวีเหลืองเพราะลมและแดด ดุจดอกปทุมอยู่ในกำมือ.

เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเกลื่อน ไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัย พระเกสาก็ยุ่งเหยิง พระองค์เกล้าพระชฎาบนพระเกสา ทรงเปรอะเปื้อนที่พระกัจฉประเทศ.

พระชนกทรงเพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ ทรงถือ ไม้ขอ ภาชนะเครื่องบูชาเพลิงและชฎา ทรงหนังเสือ เหลืองเป็นพระภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดินนมัส- การเพลิง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนนฺตาลุกลมฺพานิ ความว่า พระชาลี ราชกุมารทรงพรรณนาถึงชีวิตลำเค็ญของพระชนกชนนี ด้วยคำว่า ขุดมันมือ เสือ มันนกเป็นต้น. บทว่า โน ในบทว่า ตนฺโน นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปทุมํ หตฺถคตมิว ความว่า เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ. บทว่า ปตนูเกสา ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระชนนีของหม่อมฉัน เสด็จเที่ยวไปหามูลผลาหารในป่าใหญ่ พระเกศาซึ่งดำมีสีเหมือนขนปีกแมลงภู่ ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวเสียยุ่งเหยิง. บทว่า ชลฺลมธารยิ ความว่า มีพระกัจฉ- ประเทศทั้งสองข้างเปรอะเปื้อน เสด็จเที่ยวไปด้วยเครื่องแต่งองค์ปอนๆ.

 
  ข้อความที่ 302  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 785

พระชาลีราชกุมารกราบทูลถึงความที่พระชนนีมีความทุกข์ยากอย่างนี้ แล้ว เมื่อจะทูลท้วงพระอัยกา จึงตรัสว่า

ลูกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นที่รักของ มนุษย์ผู้เป็นพ่อแม่ทั้งหลาย พระอัยกาของหม่อมฉัน ทั้งสอง คงไม่เกิดเสน่หาในพระโอรสเป็นแน่ทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทปชฺชึสุ ความว่า ย่อมเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อชี้โทษของพระองค์ จึงตรัสว่า

ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว การที่ปู่ให้ ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษเพราะถ้อยคำของชาว สีพีนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอัน ทำลายความเจริญแก่พวกเรา สิ่งใดๆ ของปู่ที่อยู่ใน นครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มีอยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่ พระบิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้เวสสันดรจงมาเป็นราชา ปกครองในสีพีรัฐเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปต ความว่า ดูก่อนชาลีกุมารหลาน น้อย นั่นเป็นกรรมที่พวกเราทำไว้ชั่ว. บทว่า ภูนหจฺจํ ได้แก่ เป็นกรรม ที่ทำลายความเจริญ. บทว่า ยํ เน กิญฺจิ ความว่า สิ่งอะไรๆ ของปู่มีอยู่ ในพระนครนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดปู่ยกให้แก่พระบิดาของหลาน. บทว่า สิวิรฏฺเ ปสาสตุ ความว่า ขอพระเวสสันดรนั้นจงเป็นราชาปกครองในพระนครนี้.

พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกของหม่อมฉันคงจัก ไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาวสีพี เพราะถ้อยคำ

 
  ข้อความที่ 303  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 786

ของหม่อมฉัน ขอพระองค์เสด็จไปอภิเษกพระราช โอรสด้วยราชสมบัติ ด้วยพระองค์เองเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิสุตฺตโม ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่ สุดของชาวสีพี. บทว่า สิญฺจ ความว่า อภิเษกด้วยราชสมบัติ เหมือนมหาเมฆ โปรยหยาดน้ำฝนฉะนั้น.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับฟังพระชาลีตรัส จึงมีพระราชดำรัสเรียกหา เสนาคุตอมาตย์มาสั่งให้ตีกลองใหญ่ป่าวประกาศทั่วเมือง

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้นพระเจ้าสญชัยบรมกษัตริย์ตรัสกะเสนาบดี ว่า กองทัพ คือกองช้าง กองม้า กองม้า กองราบ จงผูกสอดศัสตราวุธ ชาวนิคม พราหมณ์ปุโรหิตจง ตามข้าไป แต่นั้นอมาตย์หกหมื่นผู้สหชาตของบุตรเรา งามน่าดู ประดับแล้วด้วยผ้าสีต่างๆ พวกหนึ่งทรงผ้า สีเขียว พวกหนึ่งทรงผ้าสีเหลือง พวกหนึ่งทรงผ้าสี แดงเป็นดุจอุณหิส พวกหนึ่งทรงผ้าสีขาว ผูกสอด ศัสตราวุธจงมาโดยพลัน เขาหิมวันต์ เขาคันธรและ เขาคันธมาทน์ ปกคลุมด้วยนานาพฤกษชาติ เป็นที่อยู่ แห่งหมู่ยักษ์ยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปด้วย ทิพยโอสถ ฉันใด โยธาทั้งหลายผูกศัสตราวุธแล้ว จง มาพลันจงยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปฉันนั้น จงผูกช้างหมื่นสี่พันเชือกให้มีสายรัดแล้วด้วยทองแท่ง เครื่องประดับแล้วด้วยทอง อันเหล่าควาญช้างถือโตมร

 
  ข้อความที่ 304  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 787

และขอขึ้นขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว มีอลังการปรากฏ บนคอช้าง จงรีบมา แต่นั้นจงผูกม้าหมื่นสี่พันตัว ที่เป็นชาติอาชาไนยสินธพมีกำลัง อันควาญม้าถือดาบ และแล่งธนูขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว ประดับกายแล้ว อยู่บนหลังม้า จงรีบมาแต่นั้น จงเทียมรถหมื่นสี่พัน คัน ซึ่งมีกงรถแล้วด้วยเหล็ก มีเรือนรถขจิตด้วยทอง จงยกขึ้นซึ่งธง โล่ เขน แล่งธนู ในรถนั้น เป็นผู้ มีธรรมมั่นคง มุ่งประหารข้าศึก ผูกสอดศัสตราวุธ แล้ว เป็นช่างรถอยู่ในรถ จงรีบมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนาหยนฺตุ ได้แก่ จงผูกสอดอาวุธ ทั้งหลาย. บทว่า สฏีสหสฺสานิ ได้แก่ อมาตย์หกหมื่นผู้เป็น สหชาติกับบุตรของเรา. บทว่า นีลวตฺถาธราเนเก ความว่า พวกหนึ่งทรง ผ้าสีเขียว คือเป็นผู้นุ่งห่มผ้าสีเขียวจงมา. บทว่า มหาภูตคณาลโย ได้แก่ เป็นที่อยู่ของหมู่ยักษ์ทั้งหลาย. บทว่า ทิสา ภนฺตุ ปวนฺตุ จ ความว่า จงให้รุ่งเรืองและฟุ้งตลบไปด้วยอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า หตฺถิกฺขนฺเธหิ ความว่า ควาญช้างเหล่านั้นจงขี่คอช้างรีบมา. บทว่า ทสฺสิตา ได้แก่ มีเครื่องประดับปรากฏ. บทว่า อโยสุกตเนมิโย ได้แก่ มีกงรถที่ ใช้เหล็กหุ้มอย่างดี. บทว่า สุวณฺณจิตฺรโปกฺขเร ความว่า พระเจ้าสญชัย ตรัสว่า จงเทียมรถหมื่นสี่พันคันปานนี้ ซึ่งมีเรือนรถขจิตด้วยทอง. บทว่า วิปฺผาเลนฺตุ ได้แก่ จงยกขึ้น.

พระเจ้าสญชัยจัดกองทัพอย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตกแต่ง มรรคาเป็นที่มา ให้มีพื้นเรียบ กว้างแปดอุสภะ ตั้งแต่เชตุดรราชธานีจนถึงเขา วงกต แล้วทำสิ่งนี้ด้วยๆ เพื่อต้องการตกแต่งบรรดาให้งดงาม แล้วตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 305  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 788

พวกเจ้าจงจัดบุปผชาติทั้งระเบียบดอกไม้ของ หอมเครื่องทา กับทั้งข้าวตอกเรี่ยรายลง ทั้งบุปผชาติ และรัตนะอันมีค่า จัดหม้อสุราเมรัย ๑๐๐ หม้อทุก ประตูบ้าน จัดมังสะ ขนม ขนมทำด้วยงา ขนมกุมมาส ประกอบด้วยปลา และจัดเนยใส น้ำมัน น้ำส้ม นม สด สุราทำด้วยแป้งข้าวฟ่างให้มาก แล้วจงยืนอยู่ ณ ทางที่พ่อเวสสันดรลูกข้าจะมา. ให้มีคนหุงต้ม พ่อครัว คนฟ้อนรำ คนโลดเต้น และคนขับร้องเพลง ปรบ มือ กลองยาว คนขับเสียงแจ่มใส คนเล่นกลสามารถ กำจัดความโศกได้ จงนำพิณทั้งปวง และกลอง ทั้ง มโหระทึกมา จงเป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว จงประโคม ตะโพน บัณเฑาะว์ สังข์ และดุริยางค์ ๔ คือ โคธะ กลองใหญ่ กลองรำมะนา กุฏุมพะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาชา โอโลกิยา ปุปฺผา ความว่า พระเจ้าสญชัยมีรับสั่งว่า จงจัดโปรยดอกไม้ดอกกับข้าวตอกทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า ดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ห้า โปรยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ใน มรรคาห้อยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ที่เพดาน. บทว่า อคฺฆิยานิ จ ความว่า จงตั้งบุปผชาติและรัตนะอันมีค่าในทางที่ลูกของเราจะมา. บทว่า คาเม คาเม ได้แก่ ตั้งไว้ทุกๆ ประตูบ้าน. บทว่า ปติตา นฺตุ ความ ว่า จงจัดแจงตั้งหม้อสุราเมรัยเป็นต้น เพื่อผู้ระหายจะได้ดื่ม. บทว่า มจฺฉ- สํยุตา ได้แก่ ประกอบด้วยปลาทั้งหลาย. บทว่า กงฺคุปิฏฺา ได้แก่ สำเร็จด้วย แป้งข้าวฟ่าง. บทว่า มุทฺทิกา ได้แก่ คนขับร้องเสียงใส. บทว่า โสกชฺฌายิกา ความว่า พวกเล่นกล หรือแม้คนอื่นๆ ใครก็ตามที่สามารถระงับ

 
  ข้อความที่ 306  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 789

ความโศกที่เกิดขึ้นเสียได้ ท่านเรียกว่า โสกชฺฌายิกา. บทว่า ขรมุขานิ ได้แก่ สังข์ใหญ่เกิดแต่สมุทรเป็นทักษิณาวัฏ. บทว่า สํขา ได้แก่ สังข์สอง ชนิดคือ สังข์รูปกำมือ และสังข์รูปขวด ดนตรี ๔ อย่างเหล่านี้คือ โคธะ กลองใหญ่ กลองรำมะนา และกุฏุมพะ.

พระเจ้าสญชัยทรงสั่งจัดการประดับบรรดาด้วยประการฉะนี้ กาลนั้น ฝ่ายชูชกบริโภคอาหารเกินประมาณ ไม่อาจให้อาหารที่บริโภคนั้นย่อยได้ ก็ ทำกาลกิริยาในที่นั้นเอง. ครั้งนั้นพระเจ้าสญชัยให้ทำฌาปนกิจชูชก ให้ตีกลอง ใหญ่ป่าวประกาศในพระนครว่า คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติของชูชก จงเอา สมบัติที่พระราชทานเหล่านั้นไป ครั้นไม่พบคนที่เป็นญาติของชูชก จึงโปรดให้ ขนทรัพย์ทั้งปวงคืนเข้าพระคลังหลวงอีกตามเดิม.

ครั้งนั้น พระเจ้าสญชัยจัดประชุมกองทัพทั้งปวงประมาณ ๑๒ อักโขภิณี สิ้น ๗ วัน พระบรมกษัตริย์พร้อมด้วยราชบริพารใหญ่ ยกกองทัพออกจาก พระนคร ให้พระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางเสด็จ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

กองทัพใหญ่นั้น เป็นพาหนะของชนชาวสีพี ควบคุมกัน มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขา วงกต ช้างพลายกุญชรมีอายุ ๖๐ ปี พอควาญช้างผูก สายรัดก็บันลือโกญจนาท ม้าอาชาไนยทั้งหลายก็ร่าเริง เสียงกงรถก็เกิดดังกึกก้อง ธุลีละอองก็ฟุ้งปิดนภากาศ เมื่อกองทัพพาหนะของชาวสีพีควบคุมกันยกไป กอง ทัพใหญ่นั้นควบคุมกัน นำสิ่งที่ควรนำไป มีพระชาลี ราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขาวงกต โยธาทั้งหลายเข้า

 
  ข้อความที่ 307  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 790

ไปสู่ป่าใหญ่อันมีกิ่งไม้มาก มีน้ำมาก ดาดาษไปด้วย ไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง เสียงหยาดน้ำไหลใน ไพรสณฑ์นั้นดังลั่น นกทั้งหลายเป็นอันมากมีพรรณ ต่างๆ กัน เข้าไปร่ำร้องกะนกที่ร่ำร้องอยู่ที่แถวไม้อัน มีดอกบานตามฤดูกาล กษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ เสด็จทาง ไกลล่วงวันและคืน ก็ลุถึงประเทศที่พระเวสสันดร ประทับอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตี ได้แก่กองทัพนับประมาณ ๑๒ อักโขภิณี. บทว่า อุยฺยุตฺตา ได้แก่ ควบคุมกัน. บทว่า โกญฺจํ นทติ ความว่า ในกาลนั้น พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ เมื่อฝนตกในแคว้นของตนแล้ว ก็นำช้างปัจจัยนาคตัวประเสริฐนั้นมาถวายคืนแด่พระเจ้าสญชัย ช้างนั้นดีใจว่า จักได้พบนายละหนอ จึงได้บันลือโกญจนาท ท่านกล่าวคำนี้หมายเอาช้างนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺฉาย ความว่า พอควาญช้างผูกสายรัดทองคำ ก็ดีใจบันลือโกญจนาท. บทว่า หสิสฺสนฺติ ได้แก่ ได้ส่งเสียงดัง. บทว่า หาริหารินี ได้แก่ สามารถนำสิ่งที่พึงนำไป. บทว่า ปาวึสุ ได้แก่ เข้า ไปแล้ว. บทว่า พหุสาขํ ได้แก่ มีกิ่งไม้มาก. บทว่า ทีฆมทฺธานํ ได้ แก่ ทางประมาณ ๖๐ โยชน์. บทว่า อุปาคญฺฉุํ ความว่า ลุถึงประเทศที่ พระเวสสันดรประดับอยู่.

จบมหาราชบรรพ

 
  ข้อความที่ 308  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 791

ฉขัตติยบรรพ

ฝ่ายพระชาลีราชกุมารให้ตั้งค่ายแทบฝั่งสระมุจลินท์ ให้กลับรถหมื่น สี่พันคัน ตั้งให้มีหน้าเฉพาะทางที่มา แล้วให้จัดการรักษาสัตว์ร้ายมีราชสีห์ เสือโคร่งเสือเหลืองและแรดเป็นต้นในประเทศนั้นๆ เสียงพาหนะทั้งหลาย มีช้างเป็นต้นอื้ออึงสนั่น ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น ก็ทรงกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าพระทัยว่า เหล่าปัจจามิตรของเราปลงพระชนม์ พระชนกของเราแล้วมาเพื่อต้องการตัวเรากระมังหนอ จึงพาพระนางมัทรีเสด็จ ขึ้นภูผาทอดพระเนตรดูกองทัพ.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสันดรราชฤาษีได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง แห่งกองทัพเหล่านั้น ก็ตกพระหฤทัย เสด็จขึ้นสู่ บรรพต ทอดพระเนตร ดูกองทัพด้วยความกลัว ตรัส ว่า แน่ะพระน้องมัทรี เธอจงพิจารณาสำเนียงกึกก้องใน ป่าฝูงม้าอาชาไนยร่าเริง ปลายธงปรากฏไสว พวกที่มา เหล่านี้ ดุจพวกพรานล้อมฝูงมฤคชาติในป่าไว้ด้วยข่าย ต้อนให้ตกในหลุมก่อน แล้วทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ ฆ่ามฤคชาติอันคม เลือกฆ่าเอาแต่ที่มีเนื้อล่ำๆ เราทั้ง หลายผู้หาความผิดมิได้ ต้องเนรเทศมาอยู่ป่า ถึงความ ฉิบหายด้วยมือมิตร เธอจงดูคนฆ่าคนไม่มีกำลัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน. บทว่า นิสาเมหิ ความว่า เธอจงดู คือใคร่ครวญดูว่า กองทัพของเราหรือ

 
  ข้อความที่ 309  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 792

กองทัพปรปักษ์ การเชื่อมความของสองคาถากึ่งว่า อิเม นูน อรญฺมฺหิ เป็นต้น พึงทราบอย่างนี้ แน่ะพระน้องมัทรี พวกพรานล้อมฝูงมฤคในป่าไว้ด้วยข่าย หรือต้อนลงหลุม พูดในขณะนั้นว่า จงฆ่าสัตว์ร้ายเสีย ทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ ฆ่ามฤคอันคม เลือกฆ่ามฤคเหล่านั้นเอาแต่ตัวล่ำๆ ฉันใด สองเรานี้ถูกทิ่มแทง ด้วยวาจาอสัตบุรุษว่า จักฆ่าเสียด้วยหอกอันคม และเราผู้ไม่มีผิด ถูกขับไล่คือ เนรเทศออกจากแว่นแคว้นมาอยู่ในป่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อเป็นเช่น นั้น. บทว่า อมิตฺตหตฺถฏฺคตา ได้แก่ ก็ยังถึงความฉิบหายด้วยมือของ เหล่าอมิตร. บทว่า ปสฺส ทุพฺพลฆาตกํ ความว่า พระเวสสันดรทรง คร่ำครวญเพราะมรณภัย ด้วยประการฉะนี้.

พระนางมัทรีได้ทรงสดับพระราชดำรัส จึงทอดพระเนตรกองทัพ ก็ ทรงทราบว่า เป็นกองทัพของตนเมื่อจะให้พระมหาสัตว์ทรงอุ่นพระหฤทัย จึง ตรัสคาถานี้

เหล่าอมิตรไม่พึงข่มเหงพระองค์ได้ เหมือนเพลิง ไม่พึงข่มเหงทะเลได้ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงพิจารณา ถึงพระพรที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้นนั่นแล ความ สวัสดีจะพึงมีแก่เราทั้งหลายจากพลนิกายนี้เป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิว อุทกณฺณเว ความว่า ไฟที่ ติดด้วยคบหญ้าเป็นต้น ย่อมไม่ข่มเหงน้ำทั้งกว้างทั้งลึกกล่าวคือทะเล คือไม่ อาจทำให้ร้อนได้ ฉันใด ปัจจามิตรทั้งหลายย่อมข่มเหงพระองค์ไม่ได้ คือ ข่มขี่ไม่ได้ ฉันนั้น. บทว่า ตเทว ความว่า พระนางมัทรีให้พระมหาสัตว์ อุ่นพระหฤทัยว่า ก็พรอันใดที่ท้าวสักกเทวราชประทานแด่พระองค์ตรัสว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ไม่นานนักพระชนกของพระองค์จะเสด็จมา ขอพระองค์ จงพิจารณาพร้อมนั้นเถิด ความสวัสดีพึงมีแก่พวกเราจากพลนิกายนี้เป็นแน่แท้.

 
  ข้อความที่ 310  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 793

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงบรรเทาความโศกให้เบาลงแล้ว พร้อม ด้วยพระนางมัทรีเสด็จลงจากภูเขาประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลา ฝ่ายพระนาง มัทรีก็ประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลาของพระองค์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

แต่นั้นพระเวสสันดรราชฤาษีเสด็จลงจากบรรพต ประทับนั่ง ณ บรรณศาลา ทำพระหฤทัยให้มั่นคง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหํ กตฺวาน มานสํ ความว่า ประทับนั่งทำพระหฤทัยให้มั่นคงว่า เราเป็นบรรพชิต ใครจักทำอะไรแก่เรา.

ขณะนั้น พระเจ้าสญชัยตรัสเรียกพระนางผุสดีราชเทวีมารับสั่งว่า แน่ะ ผุสดีผู้เจริญ เมื่อพวกเราทั้งหมดไปพร้อมกัน จักมีความเศร้าโศกใหญ่ ฉันจะ ไปก่อน ต่อนั้น เธอจงกำหนดดูว่า เดี๋ยวนี้พวกเข้าไปก่อนจักบรรเทาความเศร้า โศกนั่งอยู่แล้ว พึงไปด้วยบริวารใหญ่ ลำดับนั้น พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา รออยู่สักครู่หนึ่งแล้วจงไปภายหลัง ตรัสสั่งฉะนี้แล้วให้กลับรถให้มีหน้าเฉพาะ ทางที่มา จัดการรักษาในที่นั้นๆ เสด็จลงจากคอช้างตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว เสด็จไปสู่สำนักของพระราชโอรส.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเจ้าสญชัยผู้ชนกนาถให้กลับรถ ให้กองทัพ ตั้งยับยั้งอยู่แล้ว เสด็จไปยังพระเวสสันดรผู้โอรสซึ่ง เสด็จประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียว เสด็จลงจากคอช้าง พระที่นั่ง ทรงสะพักเฉวียงพระอังสาประนมพระหัตถ์ อันเหล่าอำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จนาเพื่ออภิเษกพระ โอรส พระเจ้าสญชัยได้ทอดพระเนตรเห็นพระเวส-

 
  ข้อความที่ 311  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 794

สันดรราชโอรส มีพระกายมิได้ลูบได้ตกแต่ง มีพระมนัสแน่วแน่ นั่งเข้าฌานอยู่ในบรรณศาลานั้น ไม่มี ภัยแต่ที่ไหนๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺาเปตฺวาน เสนิโย ความว่า ให้พลนิกายตั้งยับยั้งอยู่เพื่อประโยชน์แก่การอารักขา. บทว่า เอกํโส ได้แก่ ทำผ้าห่มเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง. บทว่า สิญฺจิตุมาคมิ ความว่า เสด็จเข้า ไปเพื่ออภิเษกในราชสมบัติ. บทว่า รมฺมรูปํ ได้แก่ มิได้ลูบไล้และตกแต่ง.

พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทอดพระเนตร เห็นพระราชบิดาผู้มีความรักในพระโอรสนั้น เสด็จมา เสด็จลุกต้อนรับถวายบังคม ฝ่ายพระนางมัทรีทรงซบ พระเศียรอภิวาทแทบพระบาทพระสัสสุระ กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันมัทรีผู้สะใภ้ของพระองค์ ขอถวายบังคม พระยุคลบาทของพระองค์ พระเจ้า สญชัยทรงสวมกอดสองกษัตริย์ประทับทรวง ฝ่าพระหัตถ์ลูบพระปฤษฎางค์อยู่ไปมา ณ อาศรมนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเท วนฺทามิ เต ทุสา ความว่า พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันผู้สะใภ้ของพระองค์ ขอ ถวายบังคมแทบพระยุคลบาท กราบทูลฉะนั้นแล้วถวายบังคม. บทว่า เตสุ ตตฺถ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งสองนั้น ณ อาศรมที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้น. บทว่า ปลิสชฺช ความว่า ให้อิงแอบแนบพระทรวง ทรงจุมพิตพระเศียร ทรงลูบพระปฤษฎางค์ของสองกษัตริย์ด้วยพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม.

ต่อนั้น พระเจ้าสญชัยทรงกันแสงคร่ำครวญ ครั้นสร่างโศกแล้ว เมื่อ จะทรงทำปฏิสันถารกับสองกษัตริย์นั้น จึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 312  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 795

ลูกรัก พ่อไม่มีโรคาพาธกระมัง สุขสำราญดี กระมัง ยังอัตภาพให้เป็นรูปด้วยเสาะแสวงหาผลาหาร สะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียน ให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่ ค่อยมีกระมัง.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับพระดำรัสของพระบิดา จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันทั้งสองมี ความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง เที่ยวเสาะแสวงหามูลผลาหารเลี้ยงชีพ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย เป็นผู้เข็ญใจ ฝึกแล้วคือหมดพยศ ความเข็ญใจฝึกหม่อม ฉันทั้งหลาย ดุจนายสารถีฝึกม้าให้หมดพยศฉะนั้น ข้า แต่มหาราช หม่อมฉันทั้งหลายลูกเนรเทศมีร่างกาย เหี่ยวแห้ง ด้วยการหาเลี้ยงชีพในป่า จึงมีเนื้อหนังซูบ ลงเพราะไม่ได้เห็นพระชนกและพระชนนี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสิ กีทิสา ความว่า เป็นความ เป็นอยู่ต่ำอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า กสิรา ชีวิกา โหม ความว่า ข้าแต่ พระบิดา ความเป็นอยู่ของหม่อมฉันทั้งหลายเป็นทุกข์ เพราะหม่อมฉันทั้งหลาย มีชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวเสาะแสวงหามูลผลาหาร. บทว่า อนิทฺธินํ ความ ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความเข็ญใจย่อมฝึกคนจนที่เข็ญใจและความเข็ญใจนั้น ย่อมฝึก คือทำให้หมดพยศ เหมือนนายสารถีผู้ฉลาดฝึกม้าฉะนั้น หม่อมฉัน ทั้งหลายอยู่ในที่นี้เป็นผู้เข็ญใจอันความเข็ญใจฝึกแล้ว คือทำให้หมดพยศแล้ว

 
  ข้อความที่ 313  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 796

ความเข็ญใจนั่นแหละฝึกหม่อมฉันทั้งหลาย. ปาฐะว่า ทเมถ โน ดังนี้ก็มี ความ ว่า ฝึกหม่อมฉันทั้งหลายแล้ว. บทว่า ชีวิโสกินํ ความว่า พระเวสสันดรทูล ว่าหม่อมฉันทั้งหลายมีความเศร้าโศกอยู่ในป่า จะมีความสุขอย่างไรได้.

ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเวสสันดรเมื่อจะทูลถามถึงข่าว คราวของพระโอรสและพระธิดาอีกจึงทูลว่า

ทายาทผู้มีมโนรถยังไม่สำเร็จ ของพระองค์ผู้ ประเสริฐของชาวสีพี คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ทั้งสองตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์ร้ายกาจเหลือเกิน แกตีพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ดุจคนตีฝูงโค ถ้า พระองค์ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของ พระราชบุตรีมัทรีนั้น ขอได้โปรดตรัสบอกแก่หม่อม ฉันทั้งสองทันที ดุจหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทายาทปฺปตฺตมานสา ความว่า พระเวสสันดรกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทายาทของพระองค์ผู้ประเสริฐ ของชาวสีพี มีมนัสยังไม่ถึงแล้ว คือมีมโนรถยังไม่สมบูรณ์ ตกอยู่ในอำนาจ ของพราหมณ์ พราหมณ์นั้นแกตีสองกุมารนั้นราวกะว่าคนตีฝูงโค ถ้าพระองค์ ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของพระราชบุตรีมัทรีนั้น ด้วยได้ทอด พระเนตรเห็นหรือด้วยได้ทรงสดับข่าวก็ตาม. บทว่า สปฺปทฏฺํว มาณวํ ความว่า ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบคือตรัสบอกแก่หม่อมฉันทั้งสองทันที เหมือนหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด เพื่อสำรอกพิษเสียฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 314  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 797

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

หลานทั้งสองคือชาลีและกัณหาชินา พ่อได้ให้ ทรัพย์แก่พราหมณ์ชูชกไถ่ไว้แล้ว เจ้าอย่าวิตกเลย จง โปร่งใจเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกีตา ได้แก่ ให้ทรัพย์ไถ่ไว้แล้ว.

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงได้ความโปร่งพระหฤทัย เมื่อ จะทรงทำปฏิสันถารกับพระบิดาจึงตรัสว่า

ข้าแต่พระบิดา พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธ กระมัง สุขสำราญดีกระมัง พระเนตรแห่งพระมารดา ของหม่อมฉันยังไม่เสื่อมกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ ความว่า พระเวสสันดรทูลถามว่า พระเนตรของพระมารดาผู้ทรงกันแสงเพราะความเศร้าโศกถึงพระโอรส ไม่ เสื่อมเสียหรือ.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

ลูกรัก พ่อไม่ค่อยมีโรค และมีความสุขสำราญ ดี อนึ่ง จักษุของมารดาเจ้าก็ไม่เสื่อม.

พระมหาสัตว์กราบทูลว่า

ยวดยานของพระองค์หาโรคภัยนี้ได้กระมัง พาหนะยังใช้ได้คล่องแคล่วดีกระมัง ชนบทมั่งคั่งกระมัง ฝนตกต้องตามฤดูกาลกระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺิ ได้แก่ ฝน.

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 315  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 798

ยวดยานของพ่อไม่มีโรคภัย พาหนะยังใช้ได้ คล่องแคล่วดี ชนบทก็มั่งคั่ง ฝนก็ตกต้องตามฤดู กาล.

เมื่อสามกษัตริย์ตรัสปราศรัยกันอยู่อย่างนี้ พระนางผุสดีเทวีทรง กำหนดว่า บัดนี้กษัตริย์ทั้งสามจักทำความโศกให้เบาบาง ประทับนั่งอยู่ จึง เสด็จไปสู่สำนักพระโอรสพร้อมด้วยบริวารใหญ่

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อสามกษัตริย์กำลังตรัสกันอยู่อย่างนี้ พระนาง ผุสดีราชมารดา ผู้เป็นพระราชบุตรีพระเจ้ามัททราช เสด็จด้วยพระบาทไม่ได้สวมฉลองพระบาท ได้ปรากฏ และช่องภูผา พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทอด พระเนตรเห็นพระราชชนนีผู้มีความรักในพระโอรส กำลังเสด็จมา ก็เสด็จลุกต้อนรับเสด็จ ถวายบังคม พระนางมัทรีทรงอภิวาทแทบพระบาทแห่งพระสัสสุ ด้วยพระเศียร ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉัน มัทรีผู้สะใภ้ขอถวายบังคมพระยุคคลบาทของพระแม่เจ้า.

ก็ในเวลาที่พระเวสสันดรและพระนางมัทรีถวายบังคมพระนางผุสดีเทวี แล้วประทับยืนอยู่ พระชาลีและพระกัณหาชินาทั้งสอง อันกุมารกุมารีห้อมล้อม เสด็จมาถึง พระนางมัทรีประทับยืนทอดพระเนตรทางมาแห่งพระโอรสพระธิดา อยู่ พระนางเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโอรสพระธิดาเสด็จมาโดยสวัสดี ก็ไม่ สามารถจะทรงพระวรกายอยู่ด้วยภาวะของพระองค์ ทรงคร่ำครวญเสด็จไปแต่ ที่นั้น ดุจแม่โคมีลูกอ่อนฉะนั้น ฝ่ายพระชาลีและพระกัณหาทอดพระเนตรเห็น พระมารดา ก็ทรงคร่ำครวญวิ่งตรงเข้าไปหาพระมารดาทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 316  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 799

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระชาลีและพระกัณหาชินาผู้มาโดยสวัสดีแต่ที่ ไกลทอดพระเนตรเห็นพระนางมัทรี ก็ทรงกันแสงวิ่ง เข้าไปหาดุจลูกโคอ่อนเห็นแม่ ก็ร้องวิ่งเข้าไปหาฉะนั้น พระนางมัทรีเล่า พอทอดพระเนตรเห็นพระโอรสพระ ธิดาผู้มาโดยสวัสดีแต่ที่ไกลก็สั่นระรัวไปทั่วพระวรกาย คล้ายแม่มดที่ผีสิงตัวสั่นฉะนั้น น้ำมันก็ไหลออกจาก พระถันทั้งคู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กนฺทนฺตา อภิธาวึสุ ความว่า ร้องไห้ วิ่งเข้าไปหา. บทว่า วารุณีวุ ปเวเธนฺติ ความว่า ตัวสั่นเหมือนแม่มดที่ถูก ผีสิง. บทว่า ถนธาราภิสิญฺจถ ความว่า สายน้ำนมไหลออกจากพระถัน ทั้งสอง.

ได้ยินว่า พระนางมัทรีทรงคร่ำครวญด้วยพระสุรเสียงอันดัง พระกายสั่นถึงวิสัญญีภาพล้มลงเหยียดยาวเหนือปฐพี ฝ่ายพระชาลีและพระกัณหาก็ เสด็จมาโดยเร็ว ถึงพระชนนีก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลงทับพระมารดา ในขณะนั้น น้ำนมก็ไหลออกจากพระยุคลถันของพระนางมัทรี เข้าพระโอฐแห่งกุมารกุมารี ทั้งสองนั้น ได้ยินว่า ถ้าจักไม่มีลมหายใจประมาณเท่านี้ พระกุมารกุมารีทั้งสอง จักมีหทัยแห้งพินาศไป.

ฝ่ายพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นพระปิยบุตรบุตรีก็ไม่อาจทรงกลั้น โศกาดูรไว้ ถึงวิสัญญีภาพล้มลง ณ ที่นั้นเอง แม้พระชนกและพระชนนีแห่ง พระเวสสันดรก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลงในที่นั้นเหมือนกัน.

เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติของพระมหาสัตว์เห็นกิริยาของ ๖ กษัตริย์ ดังนั้นก็ถึงวิสัญญีภาพล้มลง ณ ที่นั้นเหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 317  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 800

บรรดาราชบริพารทั้งหลายที่เห็นเหตุการณ์อันน่าสงสารนั้น แม้คน หนึ่งก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยภาวะของตน อาศรมบททั้งสิ้นได้เป็นเหมือนป่ารัง อันลมยุคันตวาตย่ำยี่แล้ว ขณะนั้นภูผาทั้งหลายก็บันลือลั่น มหาปฐพีก็หวั่นไหว มหาสมุทรก็กำเริบ เขาสิเนรุราชก็โอนเอนไปมา เทวโลกทั่วกามาวจรก็เกิด โกลาหลเป็นอันเดียวกัน.

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่า กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์ พร้อมด้วย ราชบริษัทถึงวิสัญญีภาพ ไม่มีใครแม้คนหนึ่งที่สามารถจะลุกขึ้นรดน้ำลงบน สรีระของใครได้ เอาเถอะ เราจักยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลงเพื่อชนเหล่านั้น ในบัดนี้ ดำริฉะนี้แล้วจึงยังฝนโบกขรพรรษให้ตกลง ณ สมาคมแห่งกษัตริย์ ทั้ง ๖ พระองค์ ชนเหล่าใดใคร่ให้เปียกชนเหล่านั้นก็เปียก เหล่าชนที่ไม่ต้องการ ให้เปียก แม้สักหยาดเดียวก็ไม่ตั้งอยู่ในเบื้องบนแห่งชนเหล่านั้น เพียงดังน้ำ กลิ้งไปจากใบบัวฉะนั้น ฝนโบกขรพรรษนั้นเป็นเหมือนน้ำฝนที่ตกลงบนใบบัว ด้วยประการฉะนี้ ในกาลนั้นกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ก็กลับฟื้นพระองค์ มหาชนทราบความมหัศจรรย์ว่า ฝนโบกขรพรรษตก ณ สมาคมพระญาติแห่ง พระมหาสัตว์ และแผ่นดินไหว.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ความกึกก้องใหญ่ได้เกิดแก่สมาคมพระญาติ ภูเขา ทั้งหลายก็บันลือลั่น แผ่นดินก็หวั่นไหว ฝนตกลงเป็น ท่อธารในกาลนั้น ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรก็ ประชุมด้วยพระประยูรญาติทั้งหลาย พระชาลีและพระ กัณหาชินาผู้พระราชนัดดา พระนางมัทรีผู้สะใภ้ พระ เวสสันดรผู้พระราชโอรส พระเจ้าสญชัยผู้มหาราช

 
  ข้อความที่ 318  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 801

และพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมเหสี ได้ประชุมโดยความ เป็นอันเดียวกันในกาลใด ความมหัศจรรย์อันให้ขนพอง สยองเกล้าได้มีในกาลนั้น ชาวแคว้นสีพีที่มาประชุม กันทั้งหมด ร้องไห้อยู่ในป่าอันน่ากลัว ประนมมือแด่ พระเวสสันดร ทูลวิงวอนพระเวสสันดรและพระนาง มัทรีว่า ขอพระองค์เป็นอิสรราชแห่งข้าพระองค์ทั้ง หลาย ขอทั้งสองพระองค์จงครองราชสมบัติเป็นพระราชาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ ความกึกก้องอันประกอบ ด้วยความกรุณา. บทว่า ปญฺชลิกา ความว่า ชาวพระนคร ชาวนิคมและ ชาวชนบท ทั้งหมดต่างประคองอัญชลี. บทว่า ตสฺส ยาจนฺติ ความว่า หมอบลงแทบพระบาทแห่งพระเวสสันดร ร้องไห้คร่ำครวญวิงวอนว่า ข้าแต่ สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นนาย เป็นใหญ่ เป็นบิดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย มหาชนประสงค์จะอภิเษกทั้งสองพระองค์ในที่นี้นี่แหละแล้วนำเสด็จสู่พระนคร ขอพระองค์จงรับเศวตฉัตรอันเป็นของมีอยู่แห่งราชสกุล.

จบฉขัตติยบรรพ

 
  ข้อความที่ 319  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 802

นครกัณฑ์

พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสกับพระชนก จึงตรัส คาถานี้ว่า

พระองค์และ ชาวชนบท ชาวนิคมประชุมกันให้ เนรเทศหม่อมฉันผู้ครองราชสมบัติโดยธรรมจากแว่น แคว้น.

ต่อนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อจะยังพระโอรสให้อดโทษแก่พระองค์ จึง ตรัสว่า

ลูกรัก จริงทีเดียว การที่พ่อให้ขับไล่ลูกผู้ไม่มี โทษ เพราะถ้อยคำของชาวสีพีนั้น ชื่อว่าพ่อได้กระทำ กรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอันทำลายความเจริญแก่พวก เรา.

ครั้นตรัสคาถานี้แล้ว เมื่อจะทรงวิงวอนพระโอรสเพื่อนำความทุกข์ ของพระองค์ไปเสีย จึงตรัสคาถานี้ว่า

ธรรมดาบุตรควรนำความทุกข์ของบิดามารดา หรือพี่น้องหญิงออกเสีย ด้วยคุณที่ควรสรรเสริญอันใด อันหนึ่ง แม้ด้วยชีวิตของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทพฺพเห ได้แก่ พึงนำไป. บทว่า อปิ ปาเณหิ อตฺตโน ความว่า ได้ยินว่า พระเจ้าสญชัยตรัสอย่างนี้กะ พระเวสสันดร ด้วยพระประสงค์อันนี้ว่า แน่ะพ่อ ธรรมดาบุตรพึงนำความ

 
  ข้อความที่ 320  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 803

ทุกข์ เพราะความเศร้าโศกของบิดามารดาไปเสีย แม้ต้องสละชีวิต เพราะเหตุ นั้น ลูกอย่าเก็บโทษของพ่อไว้ในใจ จงทำตามคำของพ่อ จงเปลื้องเพศฤาษี ออกแล้วถือเพศกษัตริย์เถิดนะลูก.

พระโพธิสัตว์แม้ทรงใคร่จะครองราชสมบัติ แต่เมื่อไม่ตรัสคำมีประมาณเท่านี้ ก็หาชื่อว่าเป็นผู้หนักไม่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสกับพระราชบิดา. พระเจ้าสญชัยทรงอาราธนาพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ทรงรับว่า สาธุ.

ครั้งนั้น เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติ รู้ว่าพระมหาสัตว์ทรงรับ อาราธนาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เวลานี้เป็นเวลาสนานพระวรกาย จงชำระล้างธุลีและสิ่งเปรอะเปื้อนเถิด.

ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ตรัสว่า ท่านทั้งหลายรอสักครู่หนึ่ง เสด็จเข้า บรรณศาลา ทรงเปลื้องเครื่องฤาษีเก็บไว้ ทรงพระภูษาสีดุจสังข์ เสด็จออก จากบรรณศาลา ทรงรำพึงว่า สถานที่นี้เป็นที่อันเราเจริญสมณธรรมสิ้น ๙ เดือนครึ่ง และสถานที่นี้เป็นที่แผ่นดินไหว เหตุเราผู้ถือเอายอดแห่งพระบารมี บริจาคปิยบุตรทารทาน ทรงรำพึงฉะนี้แล้ว ทำประทักษิณบรรณศาลา ๓ รอบ ทรงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วทรงสถิตอยู่.

ครั้งนั้นเจ้าพนักงานมีภูษามาลาเป็นต้น ก็ทำกิจมีเจริญพระเกสาและ พระมัสสุเป็นต้นแห่งพระมหาสัตว์ ชนทั้งหลายได้อภิเษกพระมหาสัตว์ผู้ ประดับด้วยราชาภรณ์ทั้งปวงผู้รุ่งเรืองดุจเทวราช ในราชสมบัติ.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

แต่นั้น พระเวสสันดรราชทรงชำระล้างธุลีและ ของไม่สะอาดแล้ว สละวัตรปฏิบัติทั้งปวง ทรงเพศ เป็นพระราชา.

 
  ข้อความที่ 321  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 804

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวาหยิ ความว่า ให้นำไป ก็และครั้น ให้นำไปแล้ว ให้ถือเพศเป็นพระราชา.

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์เป็นผู้มีพระยศใหญ่ สถานที่พระองค์ทอด พระเนตรแล้วทอดพระเนตรแล้วก็หวั่นไหว. เหล่าผู้รู้มงคลทรงจำมงคลไว้ด้วย ปาก ก็ยังมงคลทั้งหลายให้กึกก้อง. พวกประโคมก็ประโคมดนตรีทั้งปวงขึ้น พร้อมกัน ความกึกก้องโกลาหลแห่งดนตรีเป็นการครึกครื้นใหญ่ ราวกะ เสียงกึกก้องแห่งเมฆคำรามกระหึ่มในท้องมหาสมุทรฉะนั้น เหล่าอำมาตย์ ประดับหัตถีรัตนะแล้วเตรียมเทียบไว้รับเสด็จ พระเวสสันดรมหาสัตว์ทรงผูก พระแสงขรรค์รัตนะแล้วเสด็จขึ้นหัตถีรัตนะ เหล่าอำมาตย์หกหมื่นผู้สหชาติ ทั้งปวง ประดับเครื่องสรรพาลังการ แวดล้อมพระมหาสัตว์ ฝ่ายนางกัญญา ทั้งปวงให้พระนางมัทรีสนานพระกายแล้วตกแต่งพระองค์ถวายอภิเษก เมื่อถวาย การรดน้ำสำหรับอภิเษก ณ พระเศียรแห่งพระนางมัทรีได้กล่าวมงคลทั้งหลาย เป็นต้นว่า ขอพระเวสสันดรจงทรงอภิบาล.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

พระเวสสันดรมหาสัตว์สนานพระเศียร ทรง พระภูษาอันสะอาด ประดับด้วยราชปิลันธนาภรณ์ทุก อย่าง ทรงผูกสอดพระแสงขรรค์อันทำให้ราชปัจจามิตรเกรงขาม เสด็จขึ้นทรงพระยาปัจจัยนาคเป็นพระคชาธาร ลำดับนั้น เหล่าสหชาติโยธาหาญทั้งหกหมื่น ผู้งามสง่าน่าทัศนา ต่างร่าเริงแวดล้อมพระมหาสัตว์ผู้ จอมทัพ แต่นั้นเหล่าสนมกำนัลของพระเจ้ากรุงสีพี ประชุมกันสรงสนานพระนางมัทรีราชกัญญา ทูลถวาย พระพรว่า

 
  ข้อความที่ 322  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 805

ขอพระเวสสันดรจงอภิบาลพระแม่เจ้า ขอพระ ชาลีและพระกัณหาชินาทั้งสองพระองค์ จงอภิบาล พระแม่เจ้า อนึ่ง ขอพระเจ้าสญชัยมหาราชจงคุ้มครอง รักษาพระแม่เจ้าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจยํ นาคมารุยฺห ได้แก่ ช้างตัว ประเสริฐซึ่งเกิดในวันที่พระเวสสันดรประสูตินั้น. บทว่า ปรนฺตปํ ได้แก่ ยังอมิตรให้เกรงขาม. บทว่า ปริกรึสุ ได้แก่ แวดล้อม. บทว่า นนฺทยนฺตา ได้แก่ ให้ยินดี. บทว่า สิวิกญฺา ความว่า เหล่าปชาบดีของพระเจ้าสีพี ราช ประชุมกันให้พระนางมัทรีสรงสนานด้วยน้ำหอม. บทว่า ชาลี กณฺหาชินา จุโภ ความว่า แม้พระโอรสพระธิดาของพระแม่เจ้าเหล่านี้ ก็จงรักษา พระมารดา.

พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทรงได้ปัจจัยนี้ ทรงอนุสรถึงการประทับแรมในป่าอันเป็นความลำบาก ของพระองค์มาแต่ก่อน จึงให้ตีอานันทเภรีเที่ยวป่าว ร้องตามเวิ้งเขาวงกตอันเป็นที่ควรยินดี พระนางมัทรี ทรงได้ปัจจัยนี้ ทรงอนุสรถึงการประทับแรมในป่าอัน เป็นความลำบากแห่งพระองค์มาแต่ก่อน พระนางถึง พร้อมด้วยพระลักษณะ มีพระหฤทัยร่าเริงยินดี ที่พบ พระโอรสและพระธิดา พระนางมัทรีทรงได้ปัจจัยนี้ ทรงอนุสรถึงหารประทับแรมในป่า อันเป็นความ ลำบากของพระองค์มาแต่ก่อน ทรงมีพระลักษณะ ดี พระหฤทัย อิ่มพระหฤทัยแล้วพร้อมด้วยพระราชโอรส และพระราชธิดา.

 
  ข้อความที่ 323  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 806

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทญฺจ ปจฺจยํ ลทฺธา ความว่า ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเวสสันดรและพระนางมัทรี ทรงได้ปัจจัยนี้ คือที่พึ่ง นี้แล้วดำรงอยู่ในราชสมบัติ. บทว่า ปุพฺเพ ความว่า ทรงอนุสรถึงการ ประทับแรมอยู่ในป่า อันเป็นความลำบากของพระองค์ในกาลก่อนแต่นี้ จึงให้ ตีกลองอานันทเภรีเที่ยวป่าวร้อง. บทว่า รมฺมณีเย คิริพฺพเช ความว่า ให้ตีกลองอานันทเภรีที่ผูกด้วยลดาทองท่องเที่ยวป่าวร้องในเวิ้งเขาวงกตอันเป็นที่ ควรยินดีว่าเป็นอาณาเขตแห่งพระราชาเวสสันดร จัดเล่นมหรสพให้เพลิดเพลิน. บทว่า อานนฺทจิตฺตา สุมนา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยพระลักษณะ ความว่า พระนางมัทรีได้พบพระโอรสพระธิดา ทรงดีพระหฤทัย คือยินดีเหลือเกิน. บทว่า ปีติตา ได้แก่ มีปิติโสมนัสเป็นไปแล้ว. ก็และครั้นทรงอิ่มพระหฤทัย อย่างนี้แล้ว พระนางมัทรีได้ตรัสแก่พระโอรสพระธิดาว่า

แน่ะลูกรักทั้งสอง เมื่อก่อนแม่กินอาหารมื้อ เดียว นอนเหนือแผ่นดินเป็นนิตย์ แม่ได้ประพฤติ อย่างนี้ เพราะใคร่ต่อลูก วัตรนั้นสำเร็จแล้วแก่แม่ใน วันนี้ เพราะอาศัยลูกทั้งสอง วัตรนั้นเกิดแต่แม่ก็ตาม เกิดแต่พ่อก็ตาม จงอภิบาลลูก อนึ่ง ขอพระมหาราช สญชัยจงคุ้มครองลูก บุญอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแม่และ พ่อได้บำเพ็ญไว้ จงสำเร็จแก่ลูก ด้วยอำนาจบุญกุศล นั้นทั้งหมด ขอลูกจงอย่าแก่ (เร็ว) อย่าตาย (เร็ว).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุมฺหํ กามา หิ ปุตฺตกา ความว่า พระนางมัทรีตรัสว่า แน่ะลูกน้อยทั้งสอง แม่ปรารถนาลูกๆ เมื่อลูกๆ ถูก พราหมณ์นำไปในกาลก่อน แม่กินอาหารมื้อเดียว นอนเหนือแผ่นดิน แม่มี ความปรารถนาลุกๆ จึงได้ประพฤติวัตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สมิทฺธชฺช ความว่า วัตรนั่นแลสำเร็จแล้วในวันนี้. บทว่า มตุชํปิ ตํ ปาเลตุ

 
  ข้อความที่ 324  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 807

ปิตุชํปิ จ ปุตฺตกา ความว่า โสมนัสที่เกิดแต่แม่ก็ตาม เกิดแต่พ่อก็ตาม จงคุ้มครองลูกๆ คือบุญที่เป็นของแม่และพ่อ จงคุ้มครองลูก เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยํกิญฺจิตฺถิ กตํ ปญฺํ ดังนี้.

ฝ่ายพระนางผุสดีเทวีมีพระดำริว่า ตั้งแต่นี้ไป สุณิสาของเราจงนุ่งห่ม ภูษาเหล่านี้และทรงอาภรณ์เหล่านั้น ดำริฉะนี้แล้วสั่งให้บรรจุวัตถาภรณ์เต็มใน หีบทองส่งไปประทาน.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้นจึงตรัสว่า

พระผุสดีราชเทวีผู้พระสัสสุได้ประทานกัปปาสิก พัสตร์ โขมพัสตร์ และโกทุมพรพัสตร์ อันเป็น เครื่องงดงามแห่งพระนางมัทรีผู้พระสุณิสา แต่นั้น พระนางเจ้าประทานเครื่องประดับพระศอแล้วไปด้วย ทองคำ เครื่องประดับต้นพระกร เครื่องประดับบั้น พระองค์แล้วไปด้วยแก้วมณี เครื่องประดับพระศออีก ชนิดหนึ่ง สัณฐานดุจผลอินทผลัมแล้วไปด้วยทองคำ เครื่องประดับพระศอแล้วไปด้วยรัตนะ เครื่องประดับ พระนลาตซึ่งขจิตด้วยสุวรรณเป็นต้น เครื่องประดับ วิการด้วยสุวรรณส่วนพระกายมีพระทนต์เป็นอาทิ เครื่องประดับมีพรรณต่างๆ แล้วไปด้วยแก้วมณี เครื่อง ประดับทรวง เครื่องประดับบนพระอังสา เครื่องประดับ บั้นพระองค์ชนิดแล้วไปด้วยสุวรรณและหิรัญ เครื่อง ประดับที่พระบาทและเครื่องประดับที่ปักด้วยด้ายและมิ ได้ปักด้วยด้ายอันเป็นเครื่องงดงามแห่งพระนางมัทรีผู้

 
  ข้อความที่ 325  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 808

พระสุณิสาพระนางมัทรีผู้ราชบุตรีทรงเพ่งพินิจพระวรกายอันยังบกพร้องด้วยเครื่องประดับนั้นๆ ก็ทรง ประดับให้บริบูรณ์ งดงามดุจเทพกัญญาในนันทนวัน.

พระนางมัทรีสนานพระเศียร ทรงพระภูษาอัน สะอาด ประดับด้วยราชปิลันธนาภรณ์ทุกอย่าง งาม ดุจเทพอัปสรในดาวดึงส์พิภพ วันนั้นเสด็จลีลาศงาม ดังกัทลีชาติต้องลมที่เกิดอยู่ ณ จิตรลดาวัน สมบูรณ์ ด้วยริมพระโอฐมีสีแดงดังผลตำลึงและพระนางมีพระ โอฐแดงดังผลนิโครธสุกงาม ประหนึ่งกินรีอันเรียกว่า มานุสินี เพราะเกิดมามีสรีระดุจมนุษย์ มีปีกอันวิจิตร กางปีกร่อนไปในอัมพรวิถีฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โขมญฺจ กายูรํ ได้แก่ เครื่องประดับ พระศอมีสัณฐานดังผลอินทผลัมแล้วไปด้วยทองคำ. บทว่า รตนามยํ ได้แก่ เครื่องประดับพระศออีกชนิดหนึ่งแล้วไปด้วยรัตนะ. บทว่า องฺคทํ มณิเมขลํ ได้แก่ เครื่องประดับต้นพระกร และเครื่องประดับบั้นพระองค์แล้วไป ด้วยแก้วมณี. บทว่า อณฺณตํ ได้แก่ เครื่องประดับชนิดหนึ่ง. บทว่า มุขผุลฺลํ ได้แก่ เครื่องประดับดิลกบนพระนลาต. บทว่า นานารตฺเต ได้แก่ มีสีต่างๆ. บทว่า นาณิเย ได้แก่ แล้วไปด้วยแก้วมณี. เครื่องประดับสองชนิดแม้เหล่านั้นคือเครื่องประดับทรวงและพระอังสา. บทว่า เมขลํ ได้แก่ เครื่องประดับบั่นพระองค์แล้วไปด้วยสุวรรณและหิรัญ. บทว่า ปฏิปาทุกํ ได้แก่ เครื่องประดับพระบาท. บทว่า สุตฺตญฺจ สุตฺตวชฺชญฺจ ได้แก่ เครื่องประดับที่มีสายร้อย และมิได้มีสายร้อย. แต่ในบาลี

 
  ข้อความที่ 326  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 809

เขียนไว้ว่า สุปฺปญฺจ สุปฺปวชฺชญฺจ ดังนี้ก็มี. บทว่า อุปนิชฺฌาย เสยฺยสิ ความว่า พระนางมัทรีราชเทวีทรงตรวจดูพระวรกายที่ยังบกพร่อง ด้วยเครื่องประดับที่มีสายร้อยและมิได้มีสายร้อย ก็ทรงประดับให้บริบูรณ์ ทำให้ทรงพระโฉมประเสริฐขึ้นอีก งดงามเพียงเทพกัญญาในนันทนวัน. บทว่า วาตจฺฉุปิตา ความว่า วันนั้นพระนางเจ้าเสด็จลีลาศงามดุจกัทลีทอง ต้องลมซึ่งเกิดที่จิตรลดาวันฉะนั้น. บทว่า ทนฺตาวรณสนฺปนฺนา ได้แก่ ประกอบด้วยริมพระโอฐสีแดงเช่นผลตำลึงสุก. บทว่า สกุณี มานุสินีว ชาตา จิตฺตปฺปตฺตา ปติ ความว่า แม้สกุณีมีนามว่ามานุสินี ซึ่งเกิดมาโดยสรีระ ดุจมนุษย์ มีขนปีกอันวิจิตร กางปีกบินร่อนไปในอากาศ ย่อมงดงาม ฉันใด พระนางมัทรีมีพระโอฐดังผลนิโครธสุก เพราะมีพระโอฐแดงก็งดงาม ฉันนั้น.

อมาตย์ทั้งหลายนำช่างตัวประเสริฐไม่แก่นักเป็น ช้างทนต่อหอกและศรมีงาดุจงอนรถ สามารถนำ มาเพื่อพระนางมัทรีทรง พระนางมัทรีนั้นเสด็จขึ้นสู่ ช้างตัวประเสริฐไม่แก่นัก เป็นช้างทนต่อหอกและศร มีงาดุจงอนรถมีกำลังกล้าหาญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา จ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อมาตย์ทั้งหลายได้นำช้างหนุ่มเชือกหนึ่งซึ่งไม่แก่นัก ยังหนุ่มมัชฌิมวัย เป็นช้างทนต่อการประหารด้วยหอกและศร ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เพื่อพระนางมัทรี. บทว่า นาคมารุหิ ความว่า เสด็จขึ้นทรงหลังช้าง.

พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทั้งสองพระองค์ได้เสด็จไปสู่กองทัพ ด้วยพระอิสริยยศใหญ่ ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายพระเจ้าสญชัยมหาราชประพาส เล่นตามภูผาและป่าประมาณหนึ่งเดือนกับด้วยทวยหาญ ๑๒ อักโขภิณี พาล-

 
  ข้อความที่ 327  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 810

มฤคและนกในป่าใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้เบียดเบียนสัตว์ไรๆ ด้วยเดชา นุภาพแห่งพระมหาสัตว์.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติมีอยู่ในป่านั้นทั้งหมด เพียงไร ย่อมไม่เบียดเบียนกันและกัน ด้วยเดชานุภาพ แห่งพระเวสสันดร เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้ เจริญเสด็จไปแล้ว เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติมีอยู่ใน ป่านั้นทั้งหมดเพียงไร ต่างมาชุมนุมกันอยู่ทีเดียวกัน เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ เสด็จไปแล้ว เหล่ามฤคชาติและปักษีชาติ ในป่านั้นทั้งหมดเพียงไร ต่างไม่ร้องเสียงหวาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวนฺเตตฺถ ตัดบทเป็น ยาวนฺโต เอตฺถ ความว่า ตลอดทั้งในป่านั้น. บทว่า เอกชฺฌํ สนฺนิปตึสุ ความว่า ประชุมในที่เดียวกัน ก็และครั้นประชุมกันแล้ว ได้มีความโทมนัสว่าตั้ง แต่นี้ไป เราทั้งหลายจักไม่มีความละอายหรือความสังวรต่อกันและกันในบัดนี้. บทว่า นาสฺส มญฺชูนิ กูชึสุ ความว่า มีความทุกข์เพราะพลัดพรากจาก พระมหาสัตว์จึงไม่ส่งเสียงร้องไพเราะอ่อนหวาน.

พระเจ้าสญชัยนรินทรราช ครั้นเสด็จประพาสเล่นตามภูผาและราวไพร ประมาณหนึ่งเดือนกับทวยหาญ ๑๒ อักโขภิณีแล้ว ตรัสเรียกเสนาคุตอมาตย์ มา ตรัสถามว่า เราทั้งหลายอยู่ในป่ากันนานแล้ว บรรดาเสด็จของบุตรเรา พวกเจ้าตกแต่งแล้วหรือ ครั้นเหล่าอมาตย์กราบทูลว่า ตกแต่งแล้ว และทูล เชิญเสด็จว่า ถึงเวลาเสด็จแล้วพระเจ้าค่ะ จึงโปรดให้ทุลพระเวสสันดร ให้ตี

 
  ข้อความที่ 328  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 811

กลองป่าวร้องให้ทราบกาลเสด็จกลับพระนคร แล้วทรงพากองทัพเสด็จกลับ พระเวสสันดรมหาสัตว์เสด็จยาตราด้วยราชบริพารใหญ่ สู่มรรคาที่ตกแต่งแล้ว กำหนดได้ ๖๐ โยชน์ตั้งแต่เวิ้งเขาวงกต จนถึงกรุงเชตุดร.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

ทางหลวงตกแต่งแล้ว วิจิตรงดงามโปรยปราย ด้วยดอกไม้ ตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรประทับจน ถึงกรุงเชตุดร แต่นั้นโยธาหกหมื่นงดงามน่าทัศนา นางข้างใน ราชกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง กองน้ำ กองรถ กองราบ ห้อมล้อมพระเวสสันดรผู้ ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ผู้เสด็จไปอยู่โดยรอบ ทหารสวม หมวก ทรงหนังเครื่องบังที่คอ ถือธนู สวมเกราะ ไปข้างหน้าพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญผู้เสด็จ ไปอยู่ และชาวชนบท ชาวนิคม พร้อมกันห้อมล้อม พระเวสสันดรผู้ยังแคว้นสีพีให้เจริญ ผู้เสด็จไปอยู่ โดยรอบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปยตฺโต ได้แก่ ตกแต่งเหมือนในกาล จัดบูชาพิเศษในวันวิสาขบูรณมี. บทว่า วิจิตฺโต ได้แก่ วิจิตรไปด้วยต้น กล้วย หม้อน้ำเต็ม ธงและแผ่นผ้าเป็นต้น. บทว่า ปุปฺผสณฺโต ได้แก่ โปรยปรายด้วยดอกไม้ทั้งหลายมีข้าวตอกเป็นที่ห้า. บทว่า ยตฺถ ความว่า ประดับตกแต่งมรรคาตั้งแต่เขาวงกตที่พระเวสสันดรประทับอยู่ ติดต่อกันจนถึง กรุงเชตุดร. บทว่า กโรฏิยา ได้แก่ หมู่ทหารสวมหมวกบนศีรษะที่ได้นาม ว่า สีสกโรฏิกะ ทหารสวมหมวกเกราะ. บทว่า จมฺมธรา ได้แก่ ทรงหนัง

 
  ข้อความที่ 329  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 812

เครื่องบังที่คอ. บทว่า สุวมฺมิกา ได้แก่ สวมเกราะด้วยดีด้วยข่ายอันวิจิตร. บทว่า ปุรโต ปฏิปชฺชึสุ ความว่า โยธาผู้กล้าหาญเห็นปานนี้ แม้มีโขลงช้าง ซับมันพากันมาก็ไม่ถอยกลับ คงดำเนินไปข้างหน้าพระราชาเวสสันดร.

พระราชาเวสสันดรล่วงบรรดา ๖๐ โยชน์มาสิ้น ๒ เดือนถึงกรุงเชตุดร เสด็จเข้าสู่พระนครอันประดับตกแต่งแล้ว เสด็จขึ้นปราสาท.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

กษัตริย์ทั้งหกพระองค์นั้นเข้าบุรีที่น่ารื่นรมย์ มี ปราการสูงและหอรบ ประกอบด้วยข้าวน้ำ และการ ฟ้อนรำและขับร้องทั้งสองในเมื่อพระเวสสันดรมหาสัตว์ ผู้ยังชาวสีพีรัฐให้เจริญเสด็จถึงแล้ว ชาวชนบทและ ชาวนิคมพร้อมกันมีจิตยินดี.

เมื่อพระเวสสันดรมหาสัตว์ผู้พระราชทานทรัพย์ เสด็จมาถึง การยกแผ่นผ้าก็เป็นรูปรับสั่งให้ตีนันทเภรี ป่าวร้องในพระนคร โฆษณาให้ปล่อยสรรพสัตว์ที่ผูก ขังไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุปาการโตรณํ ความว่า ประกอบ ด้วยปราการสูงใหญ่ และเสาค่ายที่มีหอรบเป็นอันมาก. บทว่า นจฺจคี- เตหิ จูภยํ ความว่า ประกอบด้วยการฟ้อนรำ และด้วยการขับร้อง ทั้งสอง. บทว่า จิตฺตา ได้แก่ ยินดีคือถึงความโสมนัส. บทว่า อาคเต ธนทายเก ความว่า เมื่อพระมหาสัตว์ผู้พระราชทานทรัพย์แก่มหาชนเสด็จมา ถึง. บทว่า นนฺทิปฺปเวสิ ความว่า ให้ตีกลองอานันทเภรีป่าวร้องในพระนคร

 
  ข้อความที่ 330  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 813

ว่า เป็นราชอาณาจักรของพระเวสสันดรมหาราช. บทว่า พนฺธโมกฺโข อโฆสถ ความว่า ได้ป่าวร้องให้ปล่อยสรรพสัตว์จากที่ผูกขังไว้ คือพระเวสสันดรมหาราชโปรดให้ปล่อยสรรพสัตว์จากที่ผูกขังไว้ โดยที่สุดแมวก็ให้ ปล่อย.

ในวันเสด็จเข้าพระนครนั่นเอง พระเวสสันดรทรงพระดำริในเวลาใกล้ รุ่งว่า พรุ่งนี้ ครั้นราตรีสว่างแล้ว พวกยาจกรู้ว่าเรากลับมาแล้ว ก็จักพากันมา เราจักให้อะไรแก่ยาจกเหล่านั้น ในขณะนั้นพิภพแห่งท้าวสักกเทวราชได้สำแดง อาการเร่าร้อน พระองค์ทรงอาวัชนาการก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงยังพื้นที่ ข้างหน้าและข้างหลังแห่งพระราชนิเวศน์ ให้เต็มด้วยรัตนะสูงประมาณเอวบันดาลให้ฝนรัตนะเจ็ดตกเป็นราวกะฝนลูกเห็บ ให้ตกในพระนครทั้งสิ้นสูงประมาณเข่า วันรุ่งขึ้นพระมหาสัตว์โปรดให้พระราชทานทรัพย์ที่ตกอยู่ในพื้นที่ข้าง หน้าและข้างหลังแห่งตระกูลนั้นๆ ว่า จงเป็นของตระกูลเหล่านั้นแหละแล้วให้ นำทรัพย์ที่เหลือขนเข้าท้องพระคลัง กับด้วยทรัพย์ในพื้นที่แห่งพระราชนิเวศน์ ของพระองค์ แล้วให้เริ่มตั้งทานมุข.

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า

เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์ผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญ เข้าพระนครแล้ว วัสสวลาหกเทพบุตรได้ยังฝนอันล้วน แล้วไปด้วยทองคำให้ตกลงมาในกาลนั้น แต่นั้นพระเวสสันดรขัตติยราช ทรงบำเพ็ญทานบารมี เบื้องหน้า แต่สิ้นพระชนมชีพ พระองค์ผู้มีพระปรีชาก็เสด็จเข้า ถึงสวรรค์

 
  ข้อความที่ 331  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้า 814

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคํ โส อุปฺปชฺชถ ความว่า จุติจาก อัตภาพนั้นแล้ว เสด็จเข้าถึงดุสิตบุรีด้วยอัตภาพที่สอง.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ คาถานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ ในกาลก่อน มหาเมฆก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกในที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติของเราอย่างนี้เหมือนกัน ตรัสดังนี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า

พราหมณ์ชูชกในกาลนั้น คือภิกษุเทวทัต นาง อมิตตตาปนาคือนางจิญจมาณวิกา พรานเจตบุตรคือ ภิกษุฉันนะ อัจจุตดาบสคือภิกษุสารีบุตร ท้าวสักกเทวราชคือภิกษุอนุรุทธะ พระเจ้าสญชัยนรินทรราช คือพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระนางผุสดีเทวีคือ พระนางสิริมหามายา พระนางมัทรีเทวีคือ ยโสธราพิมพามารดาราหุล ชาลีกุมารคือราหุล กัณหาชินาคือ ภิกษุณีอุบลวรรณา ราชบริษัทนอกนี้คือพุทธบริษัท ก็ พระเวสสันดรราช คือเราเองผู้สัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบ นครกัณฑ์

จบ อรรถกถาเวสสันดรชาดก๑


จบอรรถกถาชาดก ภาคที่ ๑๐