พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. เตวิชชสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  14 ก.ค. 2564
หมายเลข  34628
อ่าน  699
  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 14 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 259

๑๓. เตวิชชสูตร

[๓๖๕] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงพราหมณคาม ของชาวโกศลชื่อมนสากตะ. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ อัมพวัน ใกล้ฝังแม่น้ำอจิรวดี ทางทิศเหนือมนสากตคาม เขตบ้านมนสากตะนั้น.

[๓๖๖] สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลเป็นอันมาก ผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลาย อาศัยอยู่ในมนสากตคาม เช่น วังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสนิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลายอื่นๆ อีก. ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพ และภารัทวาชมาณพ เดินเที่ยวเล่นตามกันไป ได้พูดกันถึงเรื่องทางและมิใช่ทาง วาเสฏฐมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นเส้นทางเดิน เป็นทางนําออก ย่อมนําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม. ฝ่ายภารัทวาชมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์ บอกไว้นี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นเส้นทางเดิน เป็นทางนําออก ย่อมนําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้. วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ ภารัทวาชมาณพยินยอมได้ ฝ่ายภารัทวาชมาณพ ก็ไม่อาจให้ วาเสฏฐมาณพยินยอมได้

[๓๖๗] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพจึงปรึกษากับภารัทวาชมาณพว่า ภารัทวาชะ ก็พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยะตระกูล ประทับอยู่ ณ อัมพวัน ใกล้ฝังแม่น้ำอจิรวดี ทางทิศเหนือ มนสากตคาม กิตติศัพท์อัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 260

ดีงามของพระสมณโคดมนั้น ได้แพร่ไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จําแนกพระธรรม ภารัทวาชะมาเกิด เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ครั้นไปเฝ้าแล้วจักกราบทูลถาม ความข้อนี้กะพระสมณะโคดม พระสมณโคดมจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด เราจักทรงจําข้อความนี้ไว้อย่างนั้น ภารัทวาชมาณพรับคําวาเสฏฐมาณพแล้ว พากันไป.

    [๓๖๘] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้บันเทิงกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านสัมโมทนียกถาพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งสองเดินเล่นตามกันไป ได้พูดกันถึงเรื่องทาง และมิใช่ทาง ข้าพระองค์พูดอย่างนี้ ทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นสายทางเดินเป็นทางนําออก นําผู้เดินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้. ฝ่ายภารัชวาชมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้เดินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ยังมีการทะเลาะขัดแย้ง และมีวาทะต่างกันอยู่.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วาเสฏฐะ ได้ยินว่า ที่ท่านพูดว่าทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 261

ภารัทวาชมาณพพูดว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปเพื่อความอยู่รวมกับพรหมได้.

วาเสฏฐะ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอจะมีการทะเลาะ ขัดแย้งและมีวาทะต่างกันในข้อไหน.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องทางและมิใช่ทาง พราหมณ์คือพราหมณ์พวกอัทธริยะ พราหมณ์พวกติตติริยะ พราหมณ์พวกฉันโทกะ พราหมณ์พวกพัวหริธะ ย่อมบัญญัติหนทางต่างๆ กันก็จริง ถึงอย่างนั้น ทางเหล่านั้นทั้งหมด เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้ เปรียบเหมือนในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม แม้หากจะมีทางต่างๆ กันมากสาย ที่แท้ทางเหล่านั้นทั้งหมดล้วนมารวมลงในบ้านเหมือนกับฉันใด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ. . . เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้ฉันนั้น.

วาเสฏฐะ เธอพูดว่า ทางเหล่านั้นนําออกหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์พูดอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

[๓๖๙] วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพท พราหมณ์แม้คนหนึ่ง ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ อาจารย์แม้คนหนึ่ง ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ปาจารย์ แม้คนหนึ่งของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 262

    วาเสฏฐะ อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ พวกฤาษีเป็นบุรพาจารย์ ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท คือ ฤาษีอัฏฐกะ วามกะ วามเทวะ เวสามิตตะ ยมตัคคี อังคีรส ภารัทวาชะวาเสฏฐะ กัสสปะ ภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ ร่ายมนต์ที่ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับกล่าวบอกสอนตาม ซึ่งมนต์บทเก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง แม้ท่านเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรารู้พวกเราเห็น พรหมนั้นว่าอยู่ ณ ที่ใด อยู่โดยอาการใด หรืออยู่ในเวลาใด ดังนี้ ยังมีอยู่หรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    [๓๗๐] วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพท แม้พราหมณ์สักคนหนึ่ง ที่เห็นพรหมมีเป็นพยาน ไม่มีเลยหรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ แม้อาจารย์สักคนหนึ่งของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ แม้ปาจารย์ของอาจารย์ แห่งพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ อาจารย์ที่สืบเนื่องมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็นพรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 263

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ได้ยินว่า พวกฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท คือ ฤาษีอัฏฐกะ............ภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ ร่ายมนต์ ที่ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับ กล่าว บอก สอน ตามซึ่งมนต์บทเก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง แม้ท่านเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรารู้เห็นพรหมนั้นอยู่ ณ ที่ใด โดยอาการใด หรืออยู่ในเวลาใด พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่รู้ ไม่เห็น แต่พวกเรา แสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมเหล่านั้น ว่าหนทางนี้แหละ เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไป ตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

    [๓๗๑] เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็นพรหม แต่แสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ว่าหนทางนี้แหละเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้นเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ วาเสฏฐะ เหมือนแถวคนตาบอดเกาะหลังกันและกัน คนต้นก็ไม่เห็น คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็ไม่เห็น ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น จึงเป็นคําน่าหัวเราะทีเดียว เป็นคําต่ําช้า เป็นคําว่าง เป็นคําเปล่า. วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์จบไตรเพท ย่อมเห็นพระจันทร์ พระอาทิตย์ แม้ชน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 264

อื่นเป็นอันมาก ก็เห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอน ชื่นชมประนมมือ นอบน้อม เดินเวียนรอบ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมเห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็เห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอน ชื่นชม ประนมมือนอบน้อม เดินเวียนรอบอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

    [๓๗๒] วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ แม้ชนอื่นเป็นอันมาก ก็เห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอนชื่นชม ประนมมือ นอบน้อม เดินเวียนรอบ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท สามารถแสดงหนทาง เพื่อความอยู่กับพระจันทร์ และพระอาทิตย์แม้เหล่านั้น ว่าทางนี้แหละ เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ดังนี้ได้หรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้พระเจ้าข้า

    วาเสฏฐะ ได้ยินว่าพราหมณ์ผู้จบไตรเพท....นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ก็จะกล่าวกันทําไม พราหมณ์ผู้จบไตรเพทมิได้เห็นพรหมเป็นพยาน แม้พวกอาจารย์ของพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทก็มิได้เห็น แม้พวกปาจารย์ของอาจารย์แห่งพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทก็มิได้เห็น แม้พวกอาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ก็มิได้เห็น แม้พวกฤาษี ผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ ผู้จบไตรเพท คือ ฤาษี อัฏฐกะ..........ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ ร่ายมนต์ ที่ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับ กล่าว บอก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 265

สอนตาม ซึ่งมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง แม้ท่านเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่รู้ไม่เห็นว่า พรหมอยู่ ณ ที่ใด หรืออยู่โดยอาการใด หรืออยู่ในเวลาใด พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้นแหละ พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราแสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ที่เราไม่รู้ ไม่เห็นนั้นว่า ทางนี้แหละเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

    [๓๗๓] วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ดีละ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็นพรหม แต่แสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมนั้นว่า เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    [๓๗๔] วาเสฏฐะ เหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารักใคร่นางชนบทกัลยาณี ในชนบทนี้ ชนทั้งหลายพึงถามเขาว่า นางชนบทกัลยาณี ที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ เป็นพราหมณี เป็นนางแพศยา หรือนางศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ไม่รู้จัก ชนทั้งหลายพึงถามเขาว่า นางชนบทกัลยาณี ที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้จักหรือว่า นางมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สูง ต่ํา หรือ สันทัด ดําคล้ำ ผิวสีทอง อยู่ในบ้าน นิคม หรือเมืองโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ไม่รู้จักเลย ชนทั้งหลายพึงถามเขาว่า ท่านปรารถนารักใคร่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 266

หญิงที่ท่านไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นเลยดังนั้นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้ เขาพึงตอบว่าถูกแล้ว วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คํากล่าวของบุรุษนั้น ไม่มีปาฏิหาริย์มิใช่หรือ. แน่นอนพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้จักไตรเพทก็ดี อาจารย์ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี อาจารย์ของอาจารย์ แห่งพราหมณ์พวกนั้นก็ดี อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์นั้นก็ดี เหล่าฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี ต่างก็มิได้เห็นพรหมเป็นพยาน.

    [๓๗๕] วาเสฏฐะ เหมือนบุรุษทําพะองขึ้นปราสาทในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า ผู้เจริญ ท่านทําพะองขึ้นปราสาทใด ท่านรู้จักปราสาทนั้น หรือว่าอยู่ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ สูง ต่ํา หรือปานกลาง. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ไม่รู้จักดอก. ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า ท่านจะทําพะองขึ้นปราสาทที่ท่านไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นหรือ. เมื่อเขาถูกถามดังนั้นแล้ว เขาถึงตอบว่า ถูกแล้ว.วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คํากล่าวของบุรุษนั้น ย่อมไม่มีปาฏิหาริย์มิใช่หรือ.

    แน่นอน พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทก็ดี อาจารย์ของพวกพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทก็ดี อาจารย์ของอาจารย์แห่งพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทก็ดี อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพวกพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทนั้นก็ดี เหล่าฤาษี ผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทก็ดี ต่างก็มีได้เห็นพรหมเป็นพยาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพวกพราหมณ์ ผู้ได้จบไตรเพท ไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 267

    ถูกแล้ว พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ดีละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ไม่รู้จักพรหม ไม่เคยเห็นพรหม แต่แสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมนี้ว่า ทางนี้แหละเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนําออก นําผู้ดําเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    [๓๗๖] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี นี้ น้ำเต็มเปียมเสมอฝัง กาดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการจะข้ามฝังแสดงหาฝัง ไปยังฝังประสงค์จะข้ามฝัง ไปฝังโน้น เขายืนที่ฝังข้างนี้ร้องเรียก ฝังโน้นว่า ฝังโน้นจงมาฝังนี้ วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝังโน้นของแม่น้ำอจิรวดี จะพึงมาฝังนี้ เพราะเหตุร้องเรียก เพราะเหตุอ้อนวอน เพราะเหตุปรารถนา หรือเพราะเหตุยินดี ของบุรุษนั้นหรือ.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ละธรรมที่ทําให้เป็นพราหมณ์เสีย ยึดถือธรรมที่ไม่ทําให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราร้องเรียกหาพระอินทร์ ร้องเรียกหาพระจันทร์ ร้องเรียกหาพระวรุณ พระอีสาน พระประชาบดี พระพรหม พระมหินท์. วาเสฏฐะ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ละธรรมที่ทําให้เป็นพราหมณ์ ยึดถือธรรมที่ไม่ทําให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม เพราะเหตุร้องเรียก เพราะเหตุอ้อนวอน เพราะเหตุปรารถนา หรือเพราะเหตุยินดี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    [๓๗๗] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือน แม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปียมเสมอฝัง กาดื่มกินได้ ครั้งนั้นบุรุษผู้ต้องการจะข้ามฝัง ไปยังฝัง ประสงค์จะข้ามไป

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 268

ฝังโน้น เขามัดแขนไพล่หลังอย่างแน่น ด้วยเชือกเหนียวอยู่ที่ริมฝังนี้ วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงข้ามไปฝังโน้น จากฝังนี้ แห่งแม่น้ำอจิรวดี ได้หรือ.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ได้พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่า เครื่องจองจําบ้าง กามคุณ ๕ เป็นไฉน รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยหู กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารักเกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจําบ้าง พราหมณ์ผู้จบไตรเพท กําหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ เหล่านั้นอยู่. วาเสฏฐะ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทําให้เป็นพราหมณ์เสีย ยืดถือธรรมที่ไม่ให้เป็นพราหมณ์ประพฤติอยู่ กําหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ พัวพันอยู่ในกามฉันทะ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    [๓๗๘] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปียมเสมอฝัง กาดื่มกินได้ ครั้งนั้นบุรุษต้องการจะข้าม ประสงค์จะข้ามไปฝังโน้น เขากลับนอนคลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝังนี้ วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงข้ามจากฝังนี้ ไปฝังโน้นได้หรือ.

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ในวินัยของ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 269

พระอริยเจ้า เรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ในวินัยของพระอริยเจ้าเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง.

    [๓๗๙] วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตราแล้ว ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทําบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย ยึดถือธรรมที่ไม่ทําให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ ถูกนิวรณ์ ๕ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

    [๓๘๐] วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเคยได้ยินพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นอาจารย์ และเป็นอาจารย์ของอาจารย์กล่าวว่ากระไรบ้าง พรหมมีเครื่องเกาะคือสตรี หรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. มีจิตจองเวรหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตเบียดเบียนหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. ทําจิตให้อยู่ในอํานาจได้หรือไม่. ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ผู้จบไตรเพทมีเครื่องเกาะคือสตรี หรือไม่. มี พระเจ้าข้า มีจิตจองเวรหรือไม่. มีพระเจ้าข้า. มีจิตเบียดเบียนหรือไม่. มี พระเจ้าข้า. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่. มี พระเจ้าข้า. ทําจิตให้อยู่ในอํานาจได้หรือไม่. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    [๓๘๑] วาเสฏฐะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันว่าพราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ยังมีเครื่องเกาะคือสตรี แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 270

พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ซึ่งมีเครื่องเกาะคือสตรี กับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ดีละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังมีเครื่องเกาะคือสตรี เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังมีจิตจองเวร แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ซึ่งยังมีจิตจองเวรกับพรหมผู้ไม่มีจิตจองเวร ได้หรือไม่. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังมีจิตเบียดเบียน แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทซึ่งยังมีจิตเบียดเบียน กับพรหมผู้ไม่มีจิตเบียดเบียนได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังมีจิตเศร้าหมอง แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทซึ่งยังมีจิตเศร้าหมอง กับพรหมผู้ไม่มีจิตเศร้าหมอง ได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ทําให้จิตอยู่ในอํานาจไม่ได้ แต่พรหมยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้ จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ ผู้จบไตรเพทซึ่งทําจิตให้อยู่ในอํานาจไม่ได้ ได้หรือ. ไม่ได้พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ถูกละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจไม่ได้ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ผู้ทําจิตให้อยู่ในอํานาจได้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ในโลกนี้จมลงแล้ว กําลังจมอยู่ ครั้นจมลงแล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ สําคัญว่า ข้ามได้ง่าย เพราะฉะนั้น ไตรเพทนี้ เรียกว่า ไตรเพท

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 271

ทุ่งใหญ่ [ที่ไม่มีหมู่บ้าน] บ้าง ว่าไตรเพทป่าใหญ่ [ที่ไม่มีน้ำ] บ้าง ว่าไตรเพท คือ ความย่อยยับบ้าง ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท.

    [๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระสมณะโคดมทรงทราบหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม.

    วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มนสากตคามอยู่ในที่ใกล้แต่นี้ ไม่ไกลจากนี้มิใช่หรือ. ใช่ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้เกิดมาแล้วเติบโตแล้ว ในมนสากตคามนี้ ออกไปจากมนสากตคามในทันใด พึงถูกถามหนทางแห่งมนสากตคาม วาเสฏฐะ จะพึงมีหรือ บุรุษผู้นั้นเกิดแล้วเติบโตแล้ว ในมนสากตคาม ถูกถามถึงหนทางแห่งมนสากตคามแล้วจะชักช้า หรืออ้ำอึ้ง.

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะบุรุษนั้นเกิดแล้ว เติบโตแล้วในมนสากตคาม เขาต้องทราบหนทาง แห่งมนสากตคามทั้งหมดได้ เป็นอย่างดี.

    วาเสฏฐะ เมื่อบุรุษนั้นเกิดแล้ว เติบโตแล้ว ในมนสากตคาม ถูกถามถึงหนทางแห่งมนสากตคาม จะพึงมีความชักช้าหรืออ้ำอึ้งหรือ. เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่มีความล่าช้า หรืออ้ำอึ้งเลย เรารู้ถึงพรหมและพรหมโลก ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพรหมโลก และว่าพรหมปฏิบัติอย่างไร จึงเข้าถึงพรหมโลกด้วย.

    [๓๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า พระสมณโคดมย่อมแสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 272

องค์ทรงแสดงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ขอพระองค์โปรดช่วยประชาชน ผู้เป็นพราหมณ์ด้วยเถิด.

    วาเสฏฐะ ถ้ากระนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจด้วยดี เราจักกล่าว.

    วาเสฏฐมาณพทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า วาเสฏฐะ พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฯลฯ (พึงขยายความเหมือนในสามัญญผลสูตร) ฯลฯ วาเสฏฐะ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ เมื่อภิกษุตามเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น เมื่อมีปราโมทย์ก็เกิดปีติ เมื่อใจประกอบด้วยปีติกายก็สงบ เมื่อกายสงบก็เสวยสุข เมื่อเสวยสุขจิตก็ตั้งมั่น. เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ก็แผ่ไปในที่ทั้งปวงตลอดโลกทั้งสิ้น เพราะแผ่ทั่วไป ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ มีอารมณ์มาก หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ คนเป่าสังข์ผู้มีกําลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลยฉันใด กรรมที่ทําพอประมาณอันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาวจร และอรูปาวจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ แม้นี้ก็เป็นทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม.

    [๓๘๔] วาเสฏฐะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ฯลฯ นี้แลเป็นทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม. วาเสฏฐะท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีเครื่องเกาะคือสตรีหรือไม่ ไม่มี พระเจ้าข้า. มีจิตจองเวรหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตเบียด-

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 273

เบียนหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้หรือไม่. ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ได้ยินว่า ภิกษุไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี พรหมก็ไม่มี จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี กับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ได้หรือไม่. ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ดีละ ภิกษุนั้นไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี เมื่อมรณะแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

    วาเสฏฐะ ภิกษุมีจิตไม่จองเวร พรหมก็มีจิตไม่จองเวร ฯลฯ ภิกษุมีจิตไม่เบียดเบียน พรหมก็มีจิตไม่เบียดเบียน ฯลฯ ภิกษุมีจิตไม่เศร้าหมอง พรหมก็มีจิตไม่เศร้าหมอง ฯลฯ ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้ พรหมก็ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้ จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจ กับพรหมผู้ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้หรือไม่. ได้ พระเจ้าข้า.

    วาเสฏฐะ ดีละ ภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้นั้น. เมื่อมรณะแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ผู้ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจได้ ข้อนั้นเป็นฐานะที่มีได้.

    [๓๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ และภารัทวาชมาณพ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนักเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มี

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 274

พระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจําข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ อย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป.

    จบ เตวิชชสูตรที่ ๑๓

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 275

อรรถกถาเตวิชชสูตร

เตวิชชสูตร มีความเริ่มต้นว่า

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ฯลฯ ใน แคว้นโกศล

ต่อไปนี้จะพรรณนาบทที่ยากในพระสูตรนั้น. บทว่า มนสากตะ เป็นชื่อ ของบ้านนั้น. บทว่า โดยทางทิศเหนือ ของบ้านมนสากตะ คือ ข้างทิศเหนือ ไม่ไกลจากบ้านมนสากตะ. บทว่า ในป่ามะม่วง คือ ในหมู่ต้นมะม่วงหนุ่ม ได้ยินว่า ภูมิภาคนั้นน่ารื่นรมย์ ข้างล่างลาดทราย เช่นเดียวกับแผ่นดิน ข้างบนเป็นป่ามะม่วงมีกิ่ง และใบหนา เหมือนเพดานดาดด้วยแก้วมณี พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน อันเป็นความสุขเกิดจากวิเวก สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า พราหมณ์มหาศาล ผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลาย คือ เป็นผู้ที่เขารู้กันทั่วไป ในตําบลนั้นๆ โดยถึงพร้อมด้วย คุณสมบัติมีกุลจารีต เป็นต้น. บทว่า วังกี เป็นอาทิ เป็นชื่อของพราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น. บรรดาพราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น วังกีอยู่บ้านโอปสาทะ ตารุกขะอยู่บ้านอิจฉานังคละ. โปกขรสาติอยู่อุกกัฏฐนคร ชาณุโสนิอยู่สาวัตถี โตเทยยะอยู่ตุทิคาม. บทว่า พราหมณ์มหาศาล เหล่าอื่นอีก ความว่า ก็บรรดาชนเป็นอันมากเหล่าอื่น มาจากที่อยู่ของตนๆ แล้วอาศัยอยู่ ณ มนสากตคามนั้น. ได้ยินว่า เพราะมนสากตคามเป็นที่น่ารื่นรมย์ พราหมณ์เหล่านั้นจึงพากันสร้างเรือนใกล้ฝัง แม่น้ำในมนสากตคามนั้น ล้อมไว้โดยรอบ ห้ามคนพวกอื่นเข้าไป พากันไปอยู่ ณ ที่นั้น ตามลําดับ.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 276

    บทว่า วาเสฏฐมาณพ และภารัทวาชมาณพ ความว่า วาเสฏฐมาณพ เป็นศิษย์ของโปกขรสาติพราหมณ์ ภารัทวาชมาณพเป็นศิษย์ของตารุกขพราหมณ์. ได้ยินว่า มาณพทั้งสองนั้นสมบูรณ์ด้วยชาติ ได้จบไตรเพทแล้ว. บทว่า ชังฆวิหาร คือ เดินเที่ยวพักผ่อน เพื่อต้องการบรรเทาความเมื่อยขบ เพราะนั่งนานเกินไปเป็นเหตุ. ได้ยินว่ามาณพทั้งสองนั้นนั่งท่องมนต์ตลอดกลางวัน ตอนเย็นจึงลุก ให้คนถือของหอมดอกไม้ น้ำมัน และผ้าสะอาด อันเป็นเครื่องใช้สําหรับอาบน้ำ แวดล้อมด้วยบริวารชนของตนๆ ประสงค์จะอาบน้ำ ไปฝังแม่น้ำเดินไปๆ มาๆ ที่เนินทราย สีแผ่นเงิน. คนหนึ่งเดินอีกคนหนึ่งเดินตาม อีกคนหนึ่งก็เดินตามอีกคนหนึ่ง ต่อกันไป ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เดินเที่ยวเล่นตามกันไป.

    บทว่า ในทาง และมิใช่ทาง คือ ในเรื่องทางและมิใช่ทาง. อธิบายว่ามาณพทั้งสองสนทนากัน ปรารภถึงเรื่องทางและมิใช่ทางอย่างนี้ว่า เราจะบําเพ็ญปฏิปทาอย่างไรหนอ แล้วจึงจะสามารถไปสู่พรหมโลกอันเป็นสุขได้ โดยทางไหน. บทว่า เส้นทางเดิน เป็นไวพจน์ของทางตรง หรือทางตรงนั่นแหละ. คนย่อมเดิน คือ ย่อมมาโดยทางนั้น เพราะฉะนั้น ทางนั้นจึงชื่อว่า เส้นทางเดิน. บทว่า เป็นทางนําออก ย่อมนําออก คือ เมื่อนําออกย่อมนําออกไปได้. อธิบายว่า เมื่อจะไปก็ไปได้ ถามว่าไปไหน. ตอบว่าเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามนั้นอยู่ร่วมกับพรหม อธิบายว่า ผู้ที่ไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม เพื่อความปรากฏ ในที่เดียวกัน ย่อมดําเนินตามทางนั้น. บทว่า ยฺวายํ ตัดบทเป็น โย อยํ. บทว่า ตารุกขพราหมณ์ บอกไว้ คือ กล่าวไว้ ได้แก่ แสดงไว้. บทว่า โปกขรสาติพราหมณ์ คือ วาเสฏฐมาณพอ้างถึงอาจารย์ของตน. วาเสฏฐมาณพเที่ยวชมเชยยกย่อง วาทะของอาจารย์ของตนฝ่ายเดียว แม้ภารัทวาชะก็เที่ยวชมเชย

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 277

....ฝ่ายเดียวเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ภารัทวาชมาณพยินยอมได้ เป็นต้น.

    ลําดับนั้น วาเสฏฐมาณพ คิดว่า ถ้อยคําของเราแม้ทั้งสอง ไม่เป็นทางนําออกได้แน่นอน ขึ้นชื่อว่า ผู้ฉลาดในทางในโลกนี้ เช่นกับพระโคดมผู้เจริญไม่มี พระโคดมผู้เจริญประทับอยู่ไม่ไกล พระองค์จักขจัดความสงสัยของเราได้ เหมือนพ่อค้านั่งถือตราชั่ง ฉะนั้น แล้วจึงบอกความนั้นแก่ภารัทวาชมาณพ ทั้งสองก็พากันไปกราบทูลถ้อยคําแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพ ฯลฯ ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้นี้ เป็นทางตรง ดังนี้.

    บทว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมในข้อนี้ คือ ในเรื่องทาง และมิใช่ทางนี้. ในบทว่า การถือผิด การกล่าวผิด เป็นต้น ความว่า ถือผิด เกิดขึ้นก่อน กล่าวผิดเกิดขึ้นภายหลัง. แม้ทั้งสองก็เป็นวาทะต่างจากวาทะ ของบรรดาอาจารย์ต่างๆ . ในบทว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอจะถือผิด กล่าวผิดกันในข้อไหน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แม้เธอก็ยกย่องวาทะอาจารย์ของตนเท่านั้น ยืนยันอยู่ว่า นี้เท่านั้นเป็นทาง แม้ภารัทวาชมาณพก็ยกย่องวาทะอาจารย์ของตนเหมือนกัน ความสงสัยของคนหนึ่งย่อมไม่มีในคนหนึ่งเมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเธอถือต่างกันในเรื่องอะไร. บทว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในทางและมิใช่ทาง ความว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในทางและมิใช่ทาง อธิบายว่าในทางตรง และมิใช่ทางตรง.

    ได้ยินว่า มาณพนั้น ไม่กล่าวถึงทาง แม้ของพราหมณ์คนหนึ่งว่า ไม่ใช่ทาง ก็ทางอาจารย์ของตนเป็นทางตรงฉันใด เขาไม่รับรู้ของผู้อื่นฉันนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนั้น เขาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 278

พระโคดมผู้เจริญ ....แม้โดยแท้ เป็นอาทิ. บทว่า สพฺพานิ ตานิ ท่านกล่าวไว้ด้วย ลิงควิปัลลาส (ผิดลิงค์) . อธิบายว่า สพฺเพ เต ดังนี้. บทว่า ทางต่างๆ มาก คือ ๘ สาย หรือ ๑๐ สาย. บทว่า ทางต่างๆ คือ ทางที่มาจากบ้านแม่น้ำ สระ และนา เป็นต้น ใกล้เคียงกันหลายสาย ทั้งใหญ่ และไม่ใหญ่ โดยเป็นทางเท้า และทางเกวียน เป็นต้น แล้วเข้าบ้าน. บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะเธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นย่อมนําออกหรือ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าให้วาเสฏฐมาณพ เปล่งวาจา ๓ ครั้ง แล้วให้ทําปฏิญญาณ. เพราะเหตุไร. เพราะพวกเดียรถีย์ปฏิญญาณแล้ว ภายหลังเมื่อถูกข่มขี่จะดูหมิ่น วาเสฏฐมาณพจักไม่อาจทําอย่างนั้นได้.

    บทว่า เตว เตวิชฺชา ได้แก่ พวกพราหมณ์จบไตรเพท. ว อักษรเป็นเพียงอาคมสนธิ.

    บทว่า อนฺธเวณี แปลว่า แถวคนตาบอด. อธิบายว่า คนตาบอดหนึ่งจับปลายไม้เท้าที่คนตาดีถือ คนอื่นๆ ก็จับคนตาบอดกันต่อๆ ไป ด้วยประการฉะนี้ คนตาบอด ๕๐ - ๖๐ คน จักต่อกันไปโดยลําดับ เรียกว่า แถวคนตาบอด. บทว่า เกาะกันและกัน คือ เกาะหลังกันและกัน. อธิบายว่า ถูกคนตาดีถือไม้เท้าหนีไป. มีเรื่องว่า นักเลงคนหนึ่ง เห็นหมู่คนตาบอด จึงให้พวกคนตาบอดเกิดความอุตสาหะ โดยพูดว่า ที่บ้านโน้น ของเคี้ยวของกินหาได้ง่าย เมื่อหมู่คนตาบอดพูดว่า นายจา ถ้ากระนั้น ขอท่านจงนําพวกเราไปที่บ้านนั้น พวกเราจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน นักเลงรับสินจ้างแล้ว จึงเลี่ยงลงจากทางในระหว่างทาง เดินวนรอบกอไม้ใหญ่ จึงให้พวกคนตาบอด จับผ้าเคียนพุงกันไว้ ตามลําดับก่อนหลัง แล้วบอกว่า มีธุระ พวกท่านจงไปก่อน แล้วหนีไป. พวกคนตาบอดแม้ไปตลอดวัน ก็ไม่พบทาง ต่างคร่ําครวญว่า คนตาดีไปไหน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 279

หนทางอยู่ทางไหน เมื่อไม่พบหนทางต่างก็ตายกันในที่นั้นเอง. ท่านกล่าวว่าเกาะหลังกันและกัน หมายถึงพวกขอทานเหล่านั้น.

    บทว่า แม้คนต้น ก็ไม่เห็น คือ บรรดาพราหมณ์ ๑๐ คน แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนกลาง ก็ไม่เห็น หมายความว่า บรรดาอาจารย์และปาจารย์ในท่ามกลาง แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนหลัง ก็ไม่เห็น หมายความว่า บรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพทในบัดนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า หสฺสกํเยว แปลว่า น่าหัวเราะเยาะโดยแท้. บทว่า ลามกํเยว แปลว่า ต่ําทรามโดยแท้. ภาษิตนี้นั้น เป็นคําว่าง เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นคําเปล่า ก็เพราะเป็นคําเหลวไหล.

    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงว่า พรหมผู้ที่พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ไม่เคยเห็น ยกไว้ก่อน พราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมมองเห็นพระจันทร์ และพระอาทิตย์ใดได้ แต่ไม่สามารถจะแสดงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพระจันทร์ พระอาทิตย์ แม้นั้นได้ จึงตรัสคําเป็นอาทิว่า วาเสฏฐะ เธอจะสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเมื่อใด คือ ขึ้นในกาลใด. บทว่า และตกเมื่อใด คือ ถึงความดับไปในกาลใด. อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมเห็นในเวลาขึ้น และในเวลาตก. บทว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมอ้อนวอน คือ อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอพระจันทร์ผู้เจริญจงขึ้น ขอพระอาทิตย์ผู้เจริญจงขึ้น. บทว่า ย่อมชื่นชม อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญว่าพระจันทร์สุภาพ พระจันทร์เรียบร้อย พระจันทร์มีรัศมีเป็นอาทิ. บทว่า ประนมมือ คือ ประคองมือ.

    บทว่า นอบน้อม คือ กล่าวว่า นโม นโม ดังนี้. คําว่า ยํ ในบทว่า ยํ ปสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต. ในบทว่า ก็จะกล่าวกันทําไม พึงเห็น

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 280

ความอย่างนี้ว่า ในที่นี้ควรพูดเรื่องอะไรกัน ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท มิได้เห็นพรหมเป็นพยาน.

    บทว่า เสมอฝัง ได้แก่ เต็มฝัง

    บทว่า กาดื่มได้ อธิบายว่า กายืนอยู่บนฝังข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถดื่มกินได้. บทว่า ประสงค์จะข้ามฝัง คือ ประสงค์จะข้ามแม่น้ำไปถึงฝังโน้น บทว่า อเวฺหยฺย แปลว่า เรียก. แน่ะฝังโน้นท่านจงมาฝังนี้ อธิบายว่า เขาร้องเรียกว่า ดูก่อนฝังโน้น ท่านจงมาฝังนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจักพาเราข้ามไปได้โดยไว เรามีกิจที่จะต้องทําด่วน. ในบทว่า ธรรมเหล่าใดที่ทําให้เป็นพราหมณ์นี้ พึงทราบว่า ธรรมที่ทําให้เป็นพราหมณ์ ได้แก่ ศีล ๕ ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐. ธรรมที่ผิดไปจากนั้น ไม่ใช่ธรรมที่ทําให้เป็นพราหมณ์.

    บทว่า อินฺทมวฺหยาม ตัดบทเป็น อินฺทํ อวฺหยาม แปลว่า เราเรียกหาพระอินทร์.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึง ความที่คําร้องเรียกของพราหมณ์ ไม่มีประโยชน์ ผู้ทรงรุ่งเรืองอยู่ ดุจพระอาทิตย์ในท้องมหาสมุทร ทรงแวดล้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ประทับนั่งเหนือฝังแม่น้ำอจิรวดี เมื่อจะทรงนําแม่น้ำอื่นๆ มาเปรียบเทียบอีก จึงตรัสว่า เปรียบเหมือนว่า เป็นอาทิ. บทว่า กามคุณทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า พึงใคร่. ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า ผูกมัด. คุณศัพท์มีความว่า ชั้น ในพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิสองชั้นแห่งผ้าใหม่.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 281

    คุณศัพท์ มีความว่า ลําดับ ในบทคาถานี้ว่า

    กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป ลําดับแห่งวัย ย่อมละลําดับไป

    คุณศัพท์ มีความว่า อานิสงส์ ในบทว่า ทักษิณาพึงหวังได้อานิสงส์ตั้งร้อย. คุณศัพท์ มีความว่า ผูกร้อย ในบทนี้ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ควรทําการร้อยพวงมาลัยให้มาก. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศัพท์นี้ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า คุณศัพท์ ด้วยอรรถว่า ร้อยรัด. บทว่า พึงรู้ด้วยจักษุ คือพึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ. พึงทราบความแม้ในบทว่า เสียงที่พึงรู้ด้วยหู เป็นต้น โดยอุบายนั้น.

    บทว่า น่าปรารถนา ความว่า กามคุณ ๕ จะเป็นสิ่งที่น่าแสวงหาหรือไม่ก็ตาม. อธิบายว่าย่อมเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา บทว่า กนฺตา ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่. บทว่า มนาปา ได้แก่ เป็นที่เจริญใจ. บทว่า ปิยรูปา ได้แก่ มีความรักเป็นปกติ. บทว่า เกี่ยวด้วยกาม ได้แก่ เข้าไปเกี่ยวด้วยกาม ทําให้เป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น. บทว่า น่ากําหนัด คือ ย้อมใจ อธิบายว่า เป็นเหตุเกิดแห่งราคะ. บทว่า กําหนัด คือ ถูกความกําหนัดครอบงํา. บทว่า สยบ คือ ถูกตัณหามีประมาณยิ่ง ที่ถึงอาการสยบครอบงํา บทว่า หมกมุ่น คือ จมลง หยั่งลง คือ เป็นผู้มีความตกลงใจว่า นี้เป็นสาระ ดังนี้. บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่แลเห็นโทษ. บทว่า นิสฺสรณํ ในคําว่า อนิสฺสรณปฺา นี้ได้แก่ ปัญญาที่เว้นจากปัญญาเครื่องกําหนดรู้ อธิบายว่า ปัญญาเว้นจากการบริโภคด้วยการพิจารณา. ในคําว่า อาวรณา เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บทว่า กามคุณ ชื่อว่า อาวรณา เพราะเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว. ชื่อ นีวารณา เพราะเป็นเครื่องกางกั้น. ชื่อ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 282

โอนาหนา เพราะเป็นเครื่องรัดรึง. ชื่อ ปริโยหนา เพราะเป็นเครื่องตรึงตรา. ความพิสดาร ของนิวรณ์ มีกามฉันทะ เป็นต้น พึงค้นหาจากวิสุทธิมรรค. บทว่า ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา ท่านกล่าวไว้ด้วยอํานาจแห่งกามคุณมีเครื่องหน่วงเหนี่ยว เป็นต้น. บทว่า สปริคคหะ ท่านกล่าวถึง ความเกาะเกี่ยวกับสตรี. แม้ในบทเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญพราหมณ์ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวกับสตรี ดังนี้ท่านกล่าวความไม่เกาะเกี่ยวกับสตรีเพราะไม่มีกามฉันทะ ชื่อว่า ไม่มีเวรด้วยจิตคิดจองเวรกับใครๆ เพราะไม่มีพยาบาท. ชื่อว่าไม่มีพยาบาท ด้วยการพยาบาท กล่าวคือ ความเป็นไข้ทางใจ เพราะไม่มีถีนมิทธะ ชื่อว่ามีจิตไม่เศร้าหมอง ด้วยเครื่องเศร้าหมอง มีอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นต้น เพราะไม่มีอุทธัจจกุกกุจจะ ชื่อว่าผู้มีจิตบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อ วสวัตตี เพราะทําจิตให้อยู่ในอํานาจ เหตุไม่มีวิจิกิจฉา และไม่เป็นเช่นพราหมณ์ ผู้ตกอยู่ในอํานาจแห่งจิต คือเป็นไปในอํานาจแห่งจิต.

    บทว่า ก็ในโลกนี้แล คือ ในทางแห่งพรหมโลกนี้. บทว่า จมลงแล้ว คือ เข้าไปหาสิ่งไม่ใช่ทางเลยว่าเป็นทาง. บทว่า กําลังจมอยู่ คือจมเข้าไป เหมือนคนเหยียบเปือกตม ด้วยสําคัญว่า เป็นพื้นราบ. บทว่า ครั้นจมแล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ อธิบายว่า ครั้นจมเหมือนจมในเปือกตมอย่างนี้แล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ คือ ความแตกหักแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ บทว่า สําคัญว่า ข้ามได้ง่าย อธิบายว่า ชนทั้งหลายคิดว่า เราจักข้ามโดยสําคัญว่า แม่น้ำมีน้ำเต็มเสมอฝัง กาดื่มได้ จึงพยายามทั้งมือ ทั้งเท้า สําคัญว่าข้ามได้ง่าย เพราะลวงตาด้วยพยับแดด. เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลายย่อมถึงความย่อยยับ ความแตกหักในอบาย เหมือนอย่างมือและเท้า เป็นต้นถึง

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 283

ความย่อยยับแตกหักฉะนั้น คือไม่ได้ความสุข หรือความสําราญในโลกนี้เลย. บทว่า ตสฺมา อิทนฺเตวิชฺชานํ พฺราหฺมณานํ ความว่า เพราะฉะนั้น นี้เป็นปาพจน์ คือ ไตรเพทที่แสดงถึงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมของพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้จบไตรเพท บทว่า เตวิชฺชาอีริณํ ได้แก่ ป่าคือไตรเพท ก็ป่าใหญ่ที่ไม่มีบ้าน ท่านกล่าวว่าทุ่ง. บทว่า เตวิชฺชาวิวนํ ได้แก่ ป่าที่ไม่มีน้ำปกคลุมด้วยต้นไม้ที่มีดอกผล ใช้บริโภคไม่ได้. ท่านกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เขาเรียกกันว่า ป่าใหญ่คือไตรเพท ดังนี้ ก็มี ทรงหมายถึงป่าที่ใครๆ ไม่สามารถที่จะแวะลงแล้วเปลี่ยนทางได้. บทว่า ความพินาศแห่งไตรเพท คํานี้ เช่นเดียวกับความพินาศ ๕ อย่างของไตรเพท. ท่านแสดงว่า ผู้จบไตรเพท ย่อมไม่มีความสุข เพราะอาศัย คําสอนหลักอันได้แก่ ไตรเพทเหมือนอย่างผู้ที่ถึงความพินาศ แห่งญาติ โรค โภคะ ทิฏฐิ และศีล ย่อมหาความสุขมิได้ ฉะนั้น.

    บทว่า เกิดแล้ว เติบโตแล้ว ได้แก่ เกิดและเติบโต. อธิบายว่าเพราะหนทางไปบ้านใกล้เคียงของผู้ที่เกิดในที่หนึ่ง แล้วไปเติบโตในที่อื่น ไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เกิดแล้วเติบโตแล้ว ดังนี้. ผู้ที่แม้เกิด เติบโตแล้ว แต่จากไปเสียนาน ย่อมไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ออกไปแล้ว ในทันทีทันใดแน่นอน. อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นเทียว. บทว่า ความเป็นผู้ชักช้า คือ ชักช้าโดยสงสัยว่า ทางนี้ หรือไม่ใช่หนอ. บทว่า ความเป็นผู้อ้ำอึ้ง ได้แก่ การถึงความเป็นกระด้างเหมือนอย่างเมื่อใครๆ ถูกถามฉับพลันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เขาถึงความเป็นผู้มีสรีระกระด้าง ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง ความที่พระสัพพัญุตญาณ ไม่

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 284

ถูกขัดขวาง ด้วยบทว่า ไม่ชักช้า ไม่อ้ำอึ้ง ดังนี้. ท่านอธิบายว่า การขัดขวางญาณของบุรุษนั้น พึงมีได้ ด้วยอํานาจถูกมารดลใจ เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น บุรุษนั้นพึงชักช้าหรืออ้ำอึ้ง แต่พระสัพพัญุตญาณไม่ถูกขัดขวาง ใครๆ ไม่สามารถทําอันตรายแด่ พระสัพพัญุตญาณนั้นได้.

    บทว่า อุลฺลุมฺปตุ ภวํ โคตโม ได้แก่ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดยกขึ้น.

    บทว่า พฺราหฺมณึ ปชํ หมายถึง เด็กของพราหมณ์. อธิบายว่า ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดยกพราหมณ์ และบุตรของพราหมณ์ ขึ้นจากทางอบาย แล้วให้ดํารงอยู่ในทางพรหมโลกเถิด. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะแสดง ถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสดงทางไปพรหมโลกมีเมตตาวิหารธรรม เป็นต้น พร้อมด้วยข้อปฏิบัติเบื้องต้นแก่เขา จึงตรัสคําเป็นอาทิว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พระตถาคต ทรงอุบัติในโลกนี้ เป็นอาทิ ในสูตรนั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสามัญญผลสูตร. ข้อที่ควรกล่าวทั้งหมด ในบทว่า มีใจประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว ในพรหมวิหารกัมมัฏฐานกถา ในวิสุทธิมรรค.

    คําว่า เสยฺยถาปิ พลวา สงฺขธโม เป็นอาทิ ไม่เคยมีในที่นี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวา แปลว่า สมบูรณ์ด้วยกําลัง. บทว่า สงฺขธโม แปลว่า คนเป่าสังข์.

    บทว่า กสิเรน ได้แก่ ไม่ยาก คือ ไม่ลําบาก. อธิบายว่า จริงอยู่คนเป่าสังข์ทุพลภาพ แม้เป่าสังข์ ก็ไม่อาจให้ได้ยินเสียงตลอด ๔ ทิศ เสียงสังข์ของเขา ไม่แพร่ไปทั่วถึง แต่สําหรับผู้มีกําลัง จะแพร่ไป. เพราะฉะนั้น

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 285

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุรุษผู้มีกําลัง เป็นอาทิ. เมื่อตรัสว่า เมตฺตา ในบทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ ควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อตรัสว่า เจโตวิมุตฺติ ควรแก่อัปปนาอย่างเดียว. บทว่า กรรมที่ทําพอประมาณอันใด หมายความว่า ขึ้นชื่อว่า กรรมที่พอประมาณ ท่านกล่าวว่า เป็นกามาวจรกรรม. กรรมที่ทําไว้หาประมาณมิได้ ท่านกล่าวว่า เป็นรูปาวจรกรรม และอรูปาวจรกรรม ท่านกล่าวว่า กรรมที่ทําหาประมาณมิได้ เพราะล่วงประมาณแล้ว ทําให้เจริญด้วยอํานาจการแพร่ไปในทิศที่เจาะจง และไม่เจาะจง. บทว่า กรรมนั้น ไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ ในรูปาวจรกรรม และอรูปาวจรกรรมนั้น อธิบายว่า กรรมที่เป็นกามาวจรนั้น ไม่หยุด ไม่ตั้งอยู่ ในกรรมอันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจรนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายว่า กรรมเป็นกามาวจรนั้น ไม่สามารถเพื่อจะข้อง หรือเพื่อตั้งอยู่ในระหว่าง กรรมอันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจรนั้นได้ หรือเพื่อจะแพร่กรรมอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรแล้วควบคุม ถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้โดยที่แท้ กรรมอันเป็นรูปาวจร และอรูปาวจรนั้นแหละ จะแพร่ไป แล้วควบคุมไว้ ซึ่งกามาวจรกรรมถือโอกาสของตนตั้งอยู่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ ท่วมท้นน้ำนิดหน่อยออกไปตั้งอยู่ ฉะนั้น ย่อมห้ามวิบากของกรรมอันเป็นกามาวจรนั้น นําเข้าสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมด้วยตนเอง ดังนี้. บทว่า ภิกษุมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ คือ มีธรรมเครื่องอยู่ มีเมตตาเป็นต้น อย่างนี้.

    บทว่า ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถึงพระโคดมผู้เจริญเป็นสรณะ นี้เป็นการถึงสรณะครั้งที่สอง ของมาณพทั้งสองนั้น. ก็มาณพทั้งสองนั้น ฟัง วาเสฏฐสูตร ในมัชณิมปัณณาสก์แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งแรก ฟัง เตวิชชสูตร นี้แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งที่สอง ล่วงไป ๒ - ๓ วัน ได้บรรพชาแล้วได้

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 ก.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 286

อุปสมบท และบรรลุพระอรหัต ใน อัคคัญญสูตร คําที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล

    อรรถกถาเตวิชชสูตร แห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินีจบลง ด้วยประการฉะนี้

    จบอรรถกถาเตวิชชสูตรที่ ๑๓

    การพรรณนาเนื้อความแห่งสีลขันธวรรค ที่ประดับประดาด้วยพระสูตร ๑๓ พระสูตรก็จบลงแล้วด้วย

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

    พรหมชาลสูตร ๑

    สามัญญผลสูตร ๑

    อัมพัฏฐสูตร ๑

    โสนทัณฑสูตร ๑

    กูฏทันตสูตร ๑

    มหาลิสูตร ๑

    ชาลินีสูตร ๑

    มหาสีหนาทสูตร ๑

    โปฏฐปาทสูตร ๑

    สุภสูตร ๑

    เกวัฏฏสูตร ๑

    โลหิจจสูตร ๑

    เตวิชชสูตร ๑

    รวมเป็น ๑๓ พระสูตร

    สีลขันธวรรค จบ