พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  16 มิ.ย. 2564
หมายเลข  34431
อ่าน  1,889

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 258 - 367

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร หน้า 258

มูลกําเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร หน้า 258

เรื่องลูกนกแขกเต้า หน้า 259

อธิบายความตามลําดับบท หน้า 260

ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ หน้า 263

เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ หน้า 267

เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป หน้า 268

เรื่องทุกข์ของพระปิติมัลลเถระ หน้า 269

เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ หน้า 271

เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร หน้า 271

บาลีวิภังค์ หน้า 286

อุทเทสวารแห่งเวทนาจิตตธัมมานุปัสสนา หน้า 288

นิทเทสวารกถากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หน้า 291

สัมมาสติมีอารมณ์ ๔ หน้า 291

อธิบายศัพท์ในปุจฉาวาร หน้า 291

อานาปานบรรพ หน้า 292

เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ หน้า 293

กําหนดลมอัสสาสปัสสาสะ หน้า 295

อิริยาบถบรรพ หน้า 298

อิริยาบถภายในภายนอก หน้า 301

สติกําหนดอิริยาบถเป็นอริยสัจ ๔ หน้า 301

สัมปชัญญบรรพ หน้า 302

สติกําหนดสัมปชัญญะเป็นอริยสัจ ๔ หน้า 302

ปฏิกูลมนสิการบรรพ หน้า 303

กายสักว่าธาตุ ๔ หน้า 304

นวสีวถิกาบรรพ หน้า 305

เทียบกายด้วยซากศพ หน้า 307

จัดเป็นบรรพ หน้า 308

สติกําหนดซากศพเป็นอริยสัจ ๔ หน้า 309

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หน้า 310

สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา หน้า 310

พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา หน้า 311

เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน หน้า 311

เวทนาในเวทนานอก หน้า 313

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หน้า 314

จําแนกอารมณ์ของจิต หน้า 314

จิตในจิตนอก หน้า 314

สติกําหนดจิตเป็นอริยสัจ ๔ หน้า 316

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หน้า 316

นีวรณบรรพ หน้า 317

เหตุเกิดกามฉันท์ หน้า 317

ธรรมสําหรับละกามฉันท์ หน้า 318

เหตุเกิดพยาบาท หน้า 319

เหตุละพยาบาท หน้า 319

ธรรมสําหรับละพยาบาท หน้า 320

เหตุเกิดถีนมิทธะ หน้า 321

เหตุละถีนมิทธะ หน้า 321

ธรรมสําหรับละถีนมิทธะ หน้า 322

เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ หน้า 323

เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ หน้า 323

ธรรมสําหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ หน้า 324

เหตุเกิดวิจิกิจฉา หน้า 324

เหตุละวิจิกิจฉา หน้า 325

ธรรมสําหรับละวิจิกิจฉา หน้า 325

สติกําหนดนีวรณ์เป็นอริยสัจ ๔ หน้า 326

ขันธบรรพ หน้า 326

สติกําหนดขันธ์๕ เป็นอริยสัจ ๔ หน้า 327

อายตนบรรพ หน้า 328

เหตุเกิดสังโยชน์ หน้า 328

ความรู้เหตุละสังโยชน์ หน้า 329

สติกําหนดอายตนะเป็นอริยสัจ ๔ หน้า 330

โพชฌงคบรรพ หน้า 331

ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์ หน้า 332

เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หน้า 332

ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หน้า 332

วิริยสัมโพชฌงค์ หน้า 336

ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์ หน้า 336

๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย หน้า 337

๒. การเห็นอานิสงส์ หน้า 337

๓. การพิจารณาวิถีทางดําเนิน หน้า 337

๔. การเคารพยําเกรงต่อบิณฑบาต หน้า 338

เรื่องพระมหามิตตเถระ หน้า 338

๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่ หน้า 340

๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่ หน้า 341

๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่ หน้า 341

๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่ หน้า 341

ปีติสัมโพชฌงค์ หน้า 342

ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์ หน้า 342

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หน้า 343

ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ หน้า 344

สมาธิสัมโพชฌงค์ หน้า 345

ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ หน้า 345

อธิบายธรรม ๑๑ ประการ หน้า 345

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หน้า 347

ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์ หน้า 347

อธิบายธรรม ๕ ประการ หน้า 348

สติกําหนดโพชฌงค์เป็นอริยสัจ ๔ หน้า 349

สัจจบรรพ หน้า 350

อริยสัจ ๔ หน้า 350

อธิบายบทภาชนะ ชาติ หน้า 350

ชรา หน้า 351

มรณะ หน้า 353

โสกะ หน้า 354

ปริเทวะ หน้า 354

ทุกขโทมนัส หน้า 354

อุปายาส หน้า 355

การไม่สมความปรารถนาเป็นทุกข์ หน้า 355

สมุทัยอริยสัจ หน้า 356

ทุกขนิโรธอริยสัจ หน้า 357

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หน้า 359

สัมมาสังกัปปะ หน้า 361

สัมมาวาจา หน้า 361

สัมมากัมมันตะ หน้า 362

สัมมาอาชีวะ หน้า 362

สัมมาวายามะ หน้า 362

สัมมาสติ หน้า 363

สัมมาสมาธิ หน้า 364

สติกําหนดสัจจะ ๔ เป็นอริยสัจ หน้า 365

สรุปความ หน้า 366

อานิสงส์ หน้า 366


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 14]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 258

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

มหาสติปัฏฐานสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น มีพรรณนาตามลําดับบท ดังต่อไปนี้

มูลกําเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้

เล่ากันว่าชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี และอุบาสกอุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือฤดูเป็นที่สบาย เพราะแคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น ชาวกุรุนั้น มีกําลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจ ที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฏฐาน ๒๑ ฐานะ ใส่ลงในพระอรหัตตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น. เปรียบเสมือน บุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิด ลงในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รัตนะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง ด้วยเหตุนั้นแล ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้ง ในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ก็คือ มหานิทานสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกายก็คือ สติปัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 259

อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างประกอบเนืองๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่ โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย. ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า คุณแม่จะ คุณแม่ใสใจสติปัฎฐานข้อไหน นางจะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่า น่าตําหนิชีวิตของเจ้าจริงๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว ต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า อย่าทําอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง. แต่สตรีผู้ใดพูดว่า ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่า สาธุ สาธุ แก่นาง สรรเสริญด้วยถ้อยคําต่างๆ เป็นต้นว่า ชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสมกับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมา เพื่อประโยชน์แก่เจ้าแท้ๆ. ในข้อนี้ มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐาน แต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตว์ดิรัจฉาน ที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจ เจริญสติปัฏฐานด้วยเหมือนกัน. ในข้อนั้นมีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.

เรื่องลูกนกแขกเต้า

เขาเล่าว่า นักฟ้อนรําผู้หนึ่ง จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง ฝึกสอนมันพูดภาษาคน (ตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรําในที่อื่นๆ ). นักฟ้อนรําผู้นั้น อาศัยสํานักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่นๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิทแล้วไป. เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหาเถรี. เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า จึงเรียกมันว่า พุทธรักขิต. ลูกนกแขกเต้าจึงขาน ถามว่าอะไรจะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า การใส่ใจภาวนาอะไรๆ ของเจ้า มีบ้างไหม. มันตอบว่า ไม่มีจะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงสอนว่า ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ใน สํานักของพวกนักบวช จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร ควรปรารถนาการใส่ใจบาง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 260

อย่าง แต่เจ้าไม่ต้องสําเหนียกอย่างอื่นดอก จงท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิก็พอ. ลูกนกแขกเต้านั้น ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรีท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิ อย่างเดียวแล้วเที่ยวไป. วันหนึ่ง ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู ผึ่งแดดอ่อนอยู่ แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ. มันส่งเสียงร้อง กิริๆ. เหล่าสามเณรี ก็ร้องว่าแม่เจ้า พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป เราจะช่วยมัน ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น ไล่ตาม จนเหยี่ยวปล่อย. เหล่าสามเณรีนํามันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรีๆ ถามว่า พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร. ลูกนกแขกเต้าตอบว่า แม่เจ้าไม่คิดอะไรๆ ดอก คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจ๊ะ แม่เจ้า ว่ากองกระดูกพากอง กระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ. พระมหาเถรี จึงให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ พุทธรักขิตนั้นจักเป็นปัจจัย แห่งความสิ้นภพของเจ้า ในกาลภายภาคหน้าแล. แม้สัตว์ดิรัจฉานในแคว้นกุรุนั้น ก็ประกอบเนืองๆ ซึ่งสติปัฏฐาน ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความเจริญแพร่หลาย แห่งสติปัฏฐานของชาวกุรุเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

อธิบายความตามลําดับบท

ในพระสูตรนั้น ข้อว่า เป็นทางเดียว คือเป็นทางเอก. แท้จริง ทางมีมากชื่อ คือ

มัคคะ ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏมะ อยนะ

นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ

ทางนี้นั้น ในที่นี้ ท่านกล่าวโดยชื่อว่า อยนะ เพราะฉะนั้น ในข้อที่ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวนี้ จึงควรเห็นความอย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเอกมิใช่ทางสองแพร่ง

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 261

    อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นทางที่บุคคล พึงไปผู้เดียว. คําว่า ผู้เดียว คือคนที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวไปสงบสงัด. ข้อว่า พึงไป คือ พึงดําเนินไป. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าเป็นเครื่องไป อธิบายว่า ไปจากสังสารวัฏสู่พระนิพพาน. หนทางไปของบุคคลผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอกสฺส คือของบุคคล ผู้ประเสริฐสุดแห่งสรรพสัตว์. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงประเสริฐกว่าสรรพสัตว์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หนทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้สัตว์เหล่าอื่น ถึงจะเดินไปด้วยหนทางนั้นก็จริง แม้เช่นนั้น หนทางนั้นก็เป็นทางเดินของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะเป็นทางที่พระองค์ทรงทําให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในโคปกโมคคัลลานสูตร) ว่า ดูก่อน พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ทํามรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง ทางย่อมไป เหตุนั้น จึงชื่อว่า อยนะ อธิบายว่า ไป คือเป็นไป. หนทางไป ในธรรมวินัยอันเดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายว่า หนทางเป็นไปในธรรม วินัยนี้เท่านั้น ไม่เป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา) อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในมหาปรินิพพานสูตร) ว่าดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ บุคคลจะได้ก็แต่ในธรรมวินัยนี้แล ดังนี้. ก็มรรคนั้นต่างกันโดยเทศนา แต่โดยอรรถก็อันเดียวกันนั้นเอง.

    อีกนัยหนึ่ง หนทางย่อมไปครั้งเดียว เหตุนั้นหนทางนั้นจึงชื่อ เอกายนะ (ทางไปครั้งเดียว) ท่านอธิบายว่า หนทางแม้เป็นไปโดย มุข คือ ภาวนามีนัยต่างๆ กัน ณ เบื้องต้น ในเบื้องปลาย ก็ไปสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 262

เอกายนํ ชาติขยนฺตทสฺสี มคฺคํ ปชานาติ หิตานุกมฺปี เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ ตริสฺสเร เจว ตรนฺติ ใจฆํ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรม เป็นที่สิ้นชาติ ทรงพระกรุณาอนุเคราะห์ ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบชัด เอกายนมรรค พระพุทธะทั้งหลายในอดีต พากันข้าม โอฆะ (โอฆะ ๔) ด้วยมรรคนั้นมาแล้ว พระพุทธะทั้งหลาย ในอนาคตก็จัก ข้ามโอฆะด้วยมรรคนั้น และพระพุทธะ ทั้งในปัจจุบัน ก็ข้ามโอฆะด้วยมรรคอย่างเดียวกันนั้นแล.

แต่เกจิอาจารย์กล่าว ตามนัยแห่งคาถาที่ว่า ชนทั้งหลายไม่ไปสู่ฝัง (พระนิพพาน) สองครั้งดังนี้ว่า เพราะเหตุบุคคลไปพระนิพพานได้คราวเดียว ฉะนั้น หนทางนั้น จึงชื่อว่า เอกายนะ ไปคราวเดียว. คํานั้นไม่ถูก. เพราะอรรถนี้ จะพึงมีพยัญชนะอย่างนี้ว่า สกึ อยโน ไปคราวเดียว. ก็ถ้าหากว่า จะพึงประกอบอรรถ กล่าวอย่างนี้ว่า การไปครั้งเดียว คือการดําเนินครั้งเดียวของมรรคนั้น เป็นไปอยู่ดังนี้ พยัญชนะก็น่าจะถูก. แต่อรรถไม่ถูกทั้งสองประการ. เพราะเหตุไร. ก็เพราะในที่นี้ ท่านประสงค์แต่มรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้น. เป็นความจริง ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาแต่มรรค ที่มีสติปัฏฐานเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งเป็นไปโดยอารมณ์ ๔ มีกาย เป็นต้น. มิได้ประสงค์เอามรรค ที่เป็นโลกุตตระ. ด้วยว่ามรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้น ย่อมดําเนินไปแม้มากครั้ง ทั้งการดําเนินไปของมรรคนั้น ก็มิใช่มีครั้งเดียว.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 263

ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ

ในข้อนี้ แต่ก่อนพระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้เคยสนทนากันมาแล้ว. ท่านพระจุลลนาคเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า สติปัฏฐาน เป็นมรรค เบื้องต้น (บุพพภาค). ส่วนท่านจุลลสุมนเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎก อาจารย์ของท่านพระจุลลนาคเถระ กล่าวว่า เป็นมรรคผสม (มิสสกะ). ศิษย์ว่าเป็นส่วนเบื้องต้นขอรับ. อาจารย์ว่าเป็นมรรคผสม นะเธอ. แต่เมื่ออาจารย์พูดบ่อยๆ เข้า ศิษย์ก็ไม่ค้าน กลับนิ่งเสีย. ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ตกลงปัญหากันไม่ได้ ต่างก็ลุกไป. ภายหลังพระเถระผู้เป็นอาจารย์ เดินไปโรงสรงน้ำ คิดใคร่ครวญว่า เรากล่าวว่า เป็นมรรคผสม ส่วนท่านจุลลนาคยึดหลักกล่าวว่า เป็นส่วนเบื้องต้น ข้อวินิจฉัยในข้อนี้เป็นอย่างไรกันหนอ เมื่อทบทวนสวดพระสูตร (มหาสติปัฏฐานสูตร) ตั้งแต่ต้น ก็กําหนดได้ตรงนี้ที่ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ถึง ๗ ปี ก็รู้ว่าโลกุตตรมรรคเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ตั้งอยู่ถึง ๗ ปี ไม่มี ที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสม ย่อมไม่ได้ (ไม่ถูก) ส่วนที่ท่านจุลลนาคเห็นว่า เป็นมรรคส่วนเบื้องต้น ย่อมได้ (ถูก) เมื่อเขาประกาศ การฟังธรรมวัน ๘ ค่ํา ท่านก็ไป.

เล่ากันว่า พระเถระเก่าๆ เป็นผู้รักการฟังธรรม ครั้นได้ยินเสียงประกาศ ก็เปล่งเสียงเป็นอันเดียวกันว่า ผมก่อน ผมก่อน. วันนั้น เป็นวาระของท่านพระจุลลนาคเถระ. ท่านนั่งบนธรรมาสน์ จับพัด กล่าวคาถาเบื้องต้น พระเถระผู้อาจารย์อยู่หลังอาสนะก็คิดว่า จะนั่งลับๆ ไม่พูดจาละ. แท้จริง พระเถระเก่าๆ ไม่ริษยากัน ไม่หยิบยกเอาความชอบใจของตนขึ้นเป็นภาระ อย่างแบกท่อนอ้อย ถือเอาแต่เหตุ (ที่ควร) เท่านั้น ที่มิใช่ก็สละไป เพราะฉะนั้น ท่านพระจุลลสุมนเถระจึงเรียกท่านจุลลนาคเบาๆ ท่านจุลลนาคเถระ ได้ยินเหมือนเสียงอาจารย์เรียก จึงหยุดธรรมกถาถามว่า อะไรขอรับ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 264

อาจารย์กล่าวว่าท่านจุลลนาค ที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสมนั้น ไม่ถูกดอก ส่วนที่เธอกล่าวว่า สติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้นถูกแล้ว. ท่านพระจุลลนาคเถระ คิดว่าอาจารย์ของเราทรงปริยัติธรรมไว้ทั้งหมด เป็นสุตพุทธะทางพระไตรปิฎก ภิกษุเห็นปานนี้ยังวุ่นวายกับปัญหามาก ต่อไปภายภาคหน้า พระธรรมกถึก ทั้งหลายจักวุ่นวายกับปัญหาชนิดนี้ เพราะฉะนั้น เราจักยึดพระสูตรเป็นหลัก ทําปัญหาชนิดนี้ ไม่ให้วุ่นวายต่อไปละ. สติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้น แต่ปฏิสัมภิทามรรค เรียกว่า เอกายนมรรค. ท่านจึงนําพระสูตร (ในธรรมบท ขุททกนิกาย) ตั้งเป็นบทอุเทศว่า

    มคฺคานฏฺงฺคิโก เสฏโ สจฺจานํ จตุโร ปทา

    วิราโค เสฏโฐ ธมฺมานํ ทิปทานฺจ จกฺขุมา

    เอเสว มคฺโค นตฺถฺโ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา

    เอตฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารเสนปฺปมทฺทนํ

    เอตฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกขสฺสสนฺตํ กริสฺสถ

    บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด ทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมด จดแห่งทรรศนะ ทางอื่นไม่มี ท่านทั้งหลาย จงเดินทางนี้ ที่เป็นเครื่องกําจัดกองทัพมาร ท่านทั้งหลายเดินทางนี้แล้ว จักกระทํา ที่สุดแห่งทุกข์ได้ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 265

ในข้อว่า มรรค ที่ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าอะไร. เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเดินไปสู่พระนิพพานอย่างหนึ่ง เพราะอรรถว่า อันผู้ต้องการ พระนิพพานพึงค้นหาอย่างหนึ่ง.

ข้อว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย หมายความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเศร้าหมอง เพราะมลทินทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น และเพราะอุปกิเลสทั้งหลาย มีอภิชฌาวิสมโลภะเป็นต้น เป็นความจริง สัตว์เหล่านี้คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอเนก ตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ตัณหังกร เมธังกร สรณังกร ทีปังกร ซึ่งปรินิพพานในกัปเดียวเท่านั้น เบื้องต้นแต่ ๔ อสงไขยแสนกัป แต่กัปนี้ ลงมาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศากยมุนี เป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อย แลพระอริยสาวกทั้งหลาย อีกนับไม่ถ้วน ต่างลอยมลทินทางจิตทั้งหมด ถึงความหมดจดอย่างยิ่ง ด้วยทางนี้เท่านั้น. การบัญญัติความเศร้าหมอง และผ่องแผ้ว โดยมลทินทางรูปอย่างเดียว ไม่มี. สมจริง ดังคําที่กล่าวไว้ว่า

รูเปน สงฺกิลิฏฺเน สํกิลิสฺสนฺติ มาณวา

รูเป สุทฺเธ วิสุชฺฌนฺติ อนกฺขาตํ มเหสินา

จิตฺเตน สงฺกิลิฏฺเน สํกิลิสฺสนฺติ มาณวา

จิตฺเต สุทฺเธ วิสุชฺฌนฺติ อิติ วุตฺตํ มเหสินา.

พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มิได้ตรัสสอนว่า คนทั้งหลาย มีรูปเศร้าหมองแล้วจึงเศร้าหมอง มีรูปหมดจด แล้วจึงหมดจด แต่พระผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงสอนว่า คนทั้งหลาย มีจิตเศร้าหมองแล้วจึงเศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วจึงหมดจด ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 266

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์เพราะจิตผ่องแผ้ว ดังนี้. ก็ความผ่องแผ้วแห่งจิตนั้น ย่อมมีได้ด้วยมรรค คือ สติปัฏฐานนี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย.

    ข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ หมายความว่า เพื่อก้าวล่วง คือ ละโสกะ และปริเทวะ. จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อก้าวล่วงโสกะ เหมือนอย่างโสกะของสันตติมหาอํามาตย์เป็นต้น เพื่อก้าวล่วงปริเทวะ เหมือนอย่างปริเทวะของนางปฏาจาราเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ. แท้จริง สันตติมหาอํามาตย์ฟังคาถาที่ว่า

    ยํ ปุพฺเพ ตํ วิโสเธหิ ปจฺฉา เต มาหุ กิฺจนํ

    มชฺเฌ เจโน คเหสฺสสิ อุปสนฺโต จริสฺสสิ

    ท่านจงทําความโศกในกาลก่อนให้เหือดแห้ง ท่านอย่ามีความกังวลใจ ในกาลภายหลัง ถ้าท่านจักไม่ยึดถือในท่ามกลาง ก็จักเป็นผู้สงบเที่ยวไป ดังนี้

    แล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา นางปฏาจารา ฟังพระคาถานี้ว่า

    น สนฺติปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา

    อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ าตีสุ ตาณตา

    มีบุตรไว้เพื่อช่วยก็ไม่ได้ บิดาก็ไม่ได้ พวกพ้องก็ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัวแล้ว ญาติทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ดังนี้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 267

แล้วก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ก็เพราะเหตุว่า ชื่อว่าการไม่ถูกต้องธรรมบางอย่าง ในกาย เวทนา จิต ธรรมทั้งหลายแล้ว ภาวนาไม่มีเลย ฉะนั้น สันตติมหาอํามาตย์กับนางปฏาจาราแม้นั้นจึงควรทราบว่า เป็นผู้ก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ ด้วยมรรคนี้เอง.

ข้อว่า เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส ความหมายว่า เพื่อตั้งอยู่ไม่ได้ คือ ดับทั้งสองนี้ คือ ทุกข์ทางกาย และโทมนัสทางใจ. ด้วยว่ามรรคนี้ บุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์เหมือนทุกข์ของพระติสสเถระเป็นต้น ดับโทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะเป็นต้น. ในเรื่องทั้งสองนั้น แสดงความดังต่อไปนี้.

เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ

เล่ากันว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฎมพีชื่อติสสะ ละทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้ไปฆ่าท่านเสีย. พวกโจรไปล้อมท่านไว้. ท่านจึงถามว่า ท่านอุบาสกมาทําไมกัน. พวกโจรตอบว่า มาฆ่าท่านนะซิ. ท่านจึงพูดขอร้องว่า ท่านอุบาสกทั้งหลาย โปรดรับประกันอาตมา ให้ชีวิตอาตมาสักคืนหนึ่งเถิด. พวกโจรกล่าวว่าสมณะ ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้. พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขาทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่าประกันพอไหม. เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาศีล อาศัยศีล ที่บริสุทธิ์ก็เกิดปีติและปราโมทย์. ลําดับต่อจากนั้น ก็เจริญวิปัสสนา ทําสมณธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสาม พออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัตจึงเปล่งอุทานว่า

อุโภ ปาทานิ ภินฺทิตฺวา สฺมิสฺสามิ โว อหํ

อฏฺฏิยามิ หรายามิ สราคมรเณ อหํ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 268

เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน ยถาภูตํ วิปสฺสิสํ

สมฺปตฺเต อรุณุคฺคมฺหิ อรหตฺตํ อปาปุณึ

เราทุบเท้าสองข้าง ป้องกันท่านทั้งหลาย เราเอือมระอาในความตายทั้งที่ยังมีราคะ เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็เห็นแจ้ง ตามเป็นจริง พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุ พระอรหัต ดังนี้.

เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป

ภิกษุ ๓๐ รูป อีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจําพรรษาในวัดป่า ทํากติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทําสมณธรรม ตลอดคืนในยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสํานักของกันและกัน แล้วต่างคนต่างอยู่. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทําสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับ เสือตัวหนึ่ง ก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูปๆ. ภิกษุไรๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่า เสือคาบผมแล้ว. ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือ ก็ถามว่าท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วก็กล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้ เราถูกเสือคาบไปๆ แล้วก็อยู่กันต่อไป. ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง โดยนัยก่อน. ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ. ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบเพลิงติดตามหมายว่าจะให้มันปล่อย เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลายไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า. ภิกษุทั้งหลายนอกนั้น ก็ได้แต่กล่าวว่า สัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทําไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้. ภิกษุหนุ่มนั้น นอนอยู่ในปากเสือ ข่มเวทนา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 269

เจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนา ตอนเสือกินถึงข้อเท้า เป็นพระโสดาบัน ตอนกินไปถึงหัวเข่าเป็นพระสกทาคามี ตอนเสือกินไปถึงท้อง เป็นพระอนาคามี ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่ง อุทาน ดังนี้ว่า

สีลวา วตฺตสมฺปนฺโน ปฺวา สุสมาหิโต

มุหุตฺตํ ปมาทมนฺวาย พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส

ปฺชรสฺมึ โส คเหตฺวา สิลาย อุปรี กโต

กามํ ขาทตุ มํ พฺยคฺโฆ อฏฺิยา จ นฺหารุสฺส จ

กิเลเส เขปยิสฺสามิ ผุสิสฺสามิ วิมุตฺติยํ

เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาทครู่หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน เสือจงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจัก ทํากิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้.

เรื่องทุกข์ ของพระปีติมัลลเถระ

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมาเกาะลังกา ถึง ๓ รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ได้รับพระราชานุเคราะห์ วันหนึ่ง เดินทางไปประตูศาลา ที่มีที่นั่งปูด้วยเสื่อลําแพน ได้ฟังนตุมหากวรรค (ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายรูปไม่ใช่ของท่าน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 270

ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็คิดว่า มิใช่รูปเท่านั้น เวทนาก็ไม่ใช่ของตน. เขาทําพระบาลีนั้นให้เป็นหัวข้อ แล้วออกไปยังมหาวิหารขอบวช บรรพชาอุปสมบท แล้วกระทํามาติกา ให้ทั้งสองคล่องแคล่ว พาภิกษุ ๓๐ รูป ไปยังลาน ณ ตําบลควปรปาลี กระทําสมณธรรม. เมื่อเท้าเดินไม่ไหว ก็คุกเข่าเดินจงกรม. ในคืนนั้น พรานเนื้อผู้หนึ่งสําคัญว่าเนื้อ ก็พุ่งหอกออกไป หอกก็แล่นถูกท่านถึงทะลุ ท่านก็ให้เขาชักหอกออก เอาเกลียวหญ้าอุดปากแผล ให้เขาจับตัวนั่งบนหลังแผ่นหิน ให้เขาเปิดโอกาสเจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พยากรณ์ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พากันมาโดยให้ เสียงไอ จาม เปล่งอุทานดังนี้ว่า

    ภาสิตํ พุทฺธเสฏสฺส สพฺพโลกคฺควาทิโน

    น ตุมฺหากมิทํ รูปํ ตํ ชเหยฺยาถ ภิกฺขโว

    อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน

    อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข

    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ที่สรรเสริญกันว่า เลิศทุกแหล่งหล้า ทรงภาษิตไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้มิใช่ของท่าน ท่านทั้งหลายพึงละรูปนั้นเสีย

    สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีเกิด และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดแล้วก็ดับ ความสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 271

มรรคนี้ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์ เหมือนอย่างทุกข์ของพระติสสเถระ เป็นต้นเพียงเท่านี้ก่อน.

เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ

ก็ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงเห็นบุพพนิมิต ๕ ประการ ของพระองค์ ถูกมรณภัยคุกคาม เกิดโทมนัส เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา. ท้าวเธอก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ ด้วยอํานาจการวิสัชนาอุเบกขาปัญหา. เรื่องการอุบัติของท้าวเธอจึงกลับเป็นปกติอีก.

เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร

แม้สุพรหมเทพบุตร อันนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ห้อมล้อม ก็เสวยสวรรคสมบัติ. ในจําพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้น นางเทพอัปสรห้าร้อย มัวเก็บดอกไม้จากต้น ก็จุติไปเกิดในนรก สุพรหมเทพบุตรรําพึงว่า ทําไมเทพอัปสรเหล่านี้จึงชักช้าอยู่ ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรก จึงหันมาพิจารณาดูตัวเองว่า อายุเท่าไรแล้วหนอ ก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ จะไปเกิดในนรกนั้นด้วย ก็หวาดกลัว เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง เห็นว่า พระบรมศาสดาเท่านั้น จะยังความโทมนัสของเรานี้ให้พินาศไป ไม่มีผู้อื่น แล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า

นิจฺจุตฺรสฺตมิทํ จิตฺตํ นิจฺจุพฺพิคฺคมิทํ มโน

อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ อโถ อุปฺปตฺติเตสุ จ

สเจ อตฺถิ อนุตฺรสฺตํ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 272

    จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ จิตใจนี้หวาดอยู่เป็นนิตย์ ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด ทั้งในกิจที่เกิดแล้ว ถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้งมีอยู่ ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้ว โปรดบอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสบอก สุพรหมเทพบุตร (ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค) ว่า

    นาฺตฺร โพชฺฌา ตปสา นาฺตฺร อินฺทฺริยสํวรา

    นาฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ

    นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตบะเครื่องเผาความชั่ว นอกจากความสํารวมอินทรีย์ นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็มองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้.

    ในที่สุดเทศนา สุพรหมเทพบุตรก็ดํารงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนางเทพอัปสรห้าร้อย ทําสมบัตินั้นให้ถาวรแล้ว กลับไปยังเทวโลก.

    มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปเพื่อดับโทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังกล่าวมานี้.

    มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ เรียกว่า ญายธรรม ในข้อที่ว่า ายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายธรรม ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อถึง ญายธรรมนั้น. จริงอยู่ มรรคคือสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยะเบื้องต้นนี้ อัน

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 273

บุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคที่เป็นโลกุตตระ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อบรรลุญายธรรม.

    ข้อว่า เพื่อให้แจ้งพระนิพพาน ท่านอธิบายว่า เพื่อทําให้แจ้ง คือเพื่อประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้ชื่อว่านิพพาน เพราะเว้นจาก ตัณหาเครื่องร้อยรัด. จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังการทํา ให้แจ้งพระนิพพานให้สําเร็จไปตามลําดับ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อทําให้แจ้งพระนิพพาน ดังนี้.

    ในพระสูตรนั้น ถึงเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายแล้ว ข้อที่ว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เป็นต้น ก็เป็นอันสําเร็จใจความได้ก็จริง แต่ยกเว้นผู้ฉลาดรู้ข้อยุติของคําสั่งสอนเสียแล้ว ก็ไม่ปรากฏแก่คนอื่นๆ ได้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้ทรงทําให้ชนผู้ฉลาด รู้ข้อยุติของคําสั่งสอนเสียก่อนแล้ว ทรงแสดงธรรมในภายหลังไม่ หากแต่ทรงยังชนทั้งหลายให้รู้อรรถนั้นๆ ด้วยสูตรนั้นๆ เลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ในที่นี้ เอกายนมรรคจะยังอรรถใดๆ ให้สําเร็จได้ ก็ทรงแสดงอรรถนั้นๆ ให้ปรากฏ จึงตรัสข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เป็นต้น. หรืออีกนัยหนึ่ง ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปได้ด้วยเอกายนมรรค ความหมดจดนั้น. ย่อมมีได้ด้วยความก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ ความก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ ย่อมมีได้ด้วยความดับทุกข์และโทมนัส ความดับทุกข์และโทมนัส ย่อมมีได้ด้วยการบรรลุญายธรรม การบรรลุญายธรรม ย่อมมีได้ด้วยการทํา ให้แจ้งพระนิพพาน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงลําดับการอันนี้ จึงตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย แล้วตรัส ข้อว่า เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะเป็นต้นไป.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 274

    อีกนัยหนึ่ง คําที่กล่าวมานี้เป็นการพรรณนาคุณของเอกายนมรรค. เปรียบเหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคุณด้วยบททั้ง ๘ ด้วย ฉฉักกเทศนา (ฉฉักกสูตร มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่ท่านทั้งหลาย ถึงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในเบื้องปลาย จักประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ คือ ฉฉักกธรรม ๖ ดังนี้ฉันใด และตรัสคุณด้วยบททั้ง ๙ ด้วย อริยวังสเทศนา (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้รู้กันว่า เลิศมีมานานเป็นวงศ์พระอริยะ เป็นของเก่า ในอดีตก็ไม่มีใครรังเกียจไม่เคยรังเกียจ ในปัจจุบันก็ไม่รังเกียจกัน ในอนาคตก็จักไม่รังเกียจกัน สมณพราหมณ์ผู้รู้ก็ไม่เกลียดแล้วดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคุณของ เอกายนมรรค แม้อันนี้ด้วยบททั้ง ๗ มีว่า เพื่อหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้นก็ฉันนั้น. ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุใด ก็ตอบได้ว่า เพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นฟังการตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) รู้ว่า มรรคนี้นําไปเสียซึ่งอุปัททวะ ๔ คือ โสกะ อันเป็นเครื่องเผาใจ ปริเทวะ อันเป็นการพิไรรําพัน ทุกขะ อันเป็นความไม่สําราญทางกาย โทมนัส อันเป็นความไม่สําราญทางใจ นํามาซึ่งคุณวิเศษ ๓ คือ วิสุทธิ ญายธรรม พระนิพพาน ดังนี้แล้วก็เกิดอุตสาหะ สําคัญเทศนานี้ว่า ควรเล่า ควรเรียน ควรทรงจํา ควรบอกกล่าว และจักสําคัญมรรคอันนี้ว่า ควรเจริญ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) เพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้น เหมือนพ่อค้าผ้ากัมพล เป็นต้น โฆษณาคุณภาพของผ้ากัมพล เป็นต้นฉะนั้น.

    เหมือนอย่างว่า แม้ว่าพ่อค้าผ้ากัมพลอันมีค่านับแสน โฆษณาว่าโปรดซื้อผ้ากัมพล มนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่ทราบก่อนดอกว่า ผมคนก็มี ผ้ากัมพล

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 275

ทําด้วยขนสัตว์ก็มีเป็นต้น มันมีกลิ่นสาบสัมผัสหยาบ แต่ก็เรียกว่า ผ้ากัมพลเหมือนกัน ต่อเมื่อใดพ่อค้านั้นโฆษณาว่าผ้ากัมพลสีแดงทําในแคว้นคันธาระ ละเอียดสดใส สัมผัสละมุน เมื่อนั้นถ้ามีเงินพอก็จะซื้อเอา มีไม่พอ ก็อยากจะชม ฉันใด แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ดังนี้ ก็ยังไม่ปรากฏก่อนดอกว่า หนทางไหน ด้วยว่าแม้หนทาง ที่ไม่นําสัตว์ออกจากทุกข์มีประการต่างๆ ก็เรียกกันว่า หนทางเหมือนกัน แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายดังนี้ เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายก็ทราบว่าหนทางนี้นํามาเสียซึ่ง อุปัทวะ ๔ นํามาซึ่งคุณวิเศษ ๓ แล้วก็เกิดอุตสาหะ สําคัญเทศนานี้ว่า ควรเล่า ควรเรียน ควรทรงจํา ควรบอกกล่าว และจักสําคัญมรรคอันนี้ว่า ควรเจริญ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) จึงตรัสว่าเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น.

    อนึ่ง ข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้าผ้ากัมพลสีเหลือง อันมีค่าแสน นํามาเปรียบฉันใด ในข้อนี้ก็ควรนําข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้า ทองชมพูนุทสีสุก แก้วมณี กรองน้ำให้ใส แก้วมุกดาที่บริสุทธิ์ ผ้าขนสัตว์ และแก้วประพาฬ เป็นต้น เอามาเปรียบฉันนั้น.

    คําว่า ยทิทํ เป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์นิบาตนั้น มีความดังนี้ว่า เหล่านี้ใด (เย อิเม) คําว่า จตฺตาโร (๔) เป็นศัพท์กําหนดจํานวน. ด้วยจํานวนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกําหนดจํานวนสติปัฏฐานว่า ไม่ต่ํากว่านั้น ไม่สูงกว่านั้น. คําว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ คือ อารมณ์แห่งสติก็มี ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้าย และยินดีในพระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่างก็มี ตัวสติก็มี. อารมณ์แห่งสติ เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลีเป็นต้น (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับไปแห่ง สติปัฏฐาน ๔ ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 276

จงฟัง ฯลฯ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร ความเกิดแห่งกาย ก็เพราะอาหารก่อให้เกิดดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี (ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) เป็นต้นว่า กายเป็นที่ปรากฏมิใช่สติ สติเป็นที่ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย. คํานั้นมีความดังนี้. ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งในที่นี้. ถามว่า อะไรตั้ง. ตอบว่า สติ. ที่ตั้งอยู่แห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่ง ความตั้งเป็นประธาน เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน. ความตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐานเหมือนอย่าง การยืนของช้าง การยืนของม้าเป็นต้น. ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้าย และความยินดีในพระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี (สฬายตน วิภังสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) นี้ว่า สติปัฏฐาน ๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระอริยะ ทรงเสพสติปัฏฐานไรเล่า เมื่อทรงเสพสติปัฏฐานไรเล่า จึงเป็นพระศาสดา สมควรสอนพระสาวก ดังนี้. คํานั้นมีความดังนี้ ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ อธิบายว่า ควรให้เป็นไป. ถามว่า เพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ด้วยอะไร. ตอบว่า ด้วยสติ. การตั้งไว้ด้วยสติชื่อว่า สติปัฏฐาน ก็สติเท่านั้น เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) เป็นต้นว่า สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมยังสัมโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ดังนี้. คํานั้นมีความดังนี้ ธรรมชาติใดตั้งอยู่ทั่ว อธิบายว่า เข้าไปตั้งมั่น คือแล่นเป็นไป เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าปัฏฐาน. สตินั้นเอง ชื่อว่าสติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าระลึกได้ ที่ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้. เพราะฉะนั้น สตินั้นด้วย ปัฏฐานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสติปัฏฐาน. ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาสติปัฏฐานอันนี้. ถามว่า หากเป็นเช่นนั้น เหตุไร คําว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย จึงเป็นคําพหูพจน์. ตอบว่า เพราะต้องมีสติมาก

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 277

เป็นความจริง สติเหล่านั้นมีมาก เพราะต่างแห่งอารมณ์. ถามว่า แต่เหตุไรคําว่ามรรคจึงเป็นเอกวจนะ. ตอบว่า เพราะมีทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค. เป็นความจริง สติเหล่านั้นแม้มี ๔ ก็นับว่าทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ถามว่า ในคําว่ามรรค ที่ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่าอะไร ตอบว่า เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพานด้วย เพราะอรรถว่า ผู้ต้องการพระนิพพานจะพึงค้นหาด้วย. สติทั้ง ๔ นั้น ทํากิจให้สําเร็จ ในอารมณ์ทั้งหลาย มีกายเป็นต้น จึงถึงพระนิพพานในภายหลัง แต่ผู้ต้องการพระนิพพานทั้งหลาย จําต้องดําเนินไปตั้งแต่ต้นมา เพราะฉะนั้น สติทั้ง ๔ จึงเรียกว่า หนทางเดียว. เทศนาพร้อมด้วยอนุสนธิ ย่อมมีด้วย การอนุสนธิ คําว่า สติ เหมือนดังในบาลีทั้งหลาย (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) เป็นต้นว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคเป็นเครื่องกําจัดกองทัพมาร เธอจงฟัง มรรคนั้นเป็นเครื่องกําจัดกองทัพมารเป็นอย่างไร. คือสัมโพชฌงค์ ๗ ดังนี้. คําว่า มรรค เป็นเครื่องกําจัดกองทัพมาร และคําว่า สัมโพชฌงค์ ๗ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฉันใด คําว่า เอกายนมรรค กับคําว่า สติปัฏฐาน ๔ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเอกวจนะ ก็เพราะเป็นทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค เป็นพหุวจนะ ก็เพราะมีสติมาก โดยความต่างแห่งอารมณ์.

    ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์. แท้จริง ในจําพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 278

หยาบเป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน สติปัฏฐาน ข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า สติปัฏฐาน ข้อที่ ๓ มีอารมณ์ ที่แยกออก ไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน สติปัฏฐาน ข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สําหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ที่ตรัสว่า สติปัฏฐานมี ๔ ก็เพื่อละเสียซึ่งวิปลาสความสําคัญผิดว่างาม สุข เที่ยง และเป็นตัวตน. แท้จริง กายเป็นอสุภะ ไม่งาม แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสําคัญว่างาม ในกายนั้น. ด้วยทรงแสดงความไม่งามในกายนั้นแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่ ๑ เพื่อละ วิปลาสนั้นเสีย. และในเวทนา เป็นต้น ที่สัตว์ยึดถือว่าสุข เที่ยง เป็นตัวตน เวทนาก็เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสําคัญว่า สุข เที่ยง เป็นตัวตน ในเวทนา จิต ธรรมนั้น ด้วยทรงแสดงความเป็นทุกข์ เป็นต้น ในเวทนา จิต ธรรมนั้น แก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสสติปัฏฐาน ๓ ที่เหลือ เพื่อละวิปลาสเหล่านั้นเสีย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ที่ตรัสว่า สติปัฏฐาน ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ก็เพื่อละความสําคัญผิดว่า งาม สุข เที่ยง และตัวตนเสีย ดังที่กล่าวมานี้. มิใช่เพื่อละวิปลาสอย่างเดียวเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 279

ที่ตรัสสติปัฏฐาน ๔ ก็เพื่อละโอฆะ โยคะ อาสวะ คันถะ อุปาทาน และอคติ อย่างละ ๔ ด้วย เพื่อกําหนดรู้อาหาร ๔ อย่างด้วย พึงทราบในที่มาในปกรณ์ (บาลี) เท่านี้ก่อน.

    ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน มีอันเดียวเท่านั้น โดยเป็นความระลึกและโดยเป็นที่ประชุมลงเป็นอันเดียวกัน มี ๔ ด้วยอํานาจอารมณ์. เปรียบเหมือนพระนครมี ๔ ประตูคนที่มาแต่ทิศตะวันออก นําสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันออก มาเข้าพระนครทางประตูทิศตะวันออก คนที่มาแต่ทิศใต้ ทิศตะวันตกก็เหมือนกัน คนที่มาแต่ทิศเหนือก็นําสิ่งของที่อยู่ทางทิศเหนือ มาเข้าพระนครทางประตูทิศเหนือ ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. จริงอยู่นิพพาน เปรียบเหมือนนครโลกุตตรมรรคมีองค์แปด เปรียบเหมือนประตูพระนคร สติปัฏฐานมีกาย เป็นต้น เปรียบเหมือนทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออก เป็นต้น. ก็คนที่มาแต่ทิศตะวันออก นําสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันออก มาเข้าพระนครทางประตูทิศตะวันออก ฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งกายานุปัสสนา เจริญกายานุปัสสนา ๑๔ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพ แห่งการเจริญกายานุปัสสนา ก็ฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศใต้ นําสิ่งของที่อยู่ ทางทิศใต้ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศใต้ ฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งเวทนานุปัสสนา เจริญเวทนานุปัสสนา ๙ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพ แห่งการเจริญเวทนานุปัสสนาก็ฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศตะวันตก นําสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันตก ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศตะวันตก ฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งจิตตานุปัสสนา เจริญจิตตานุปัสสนา ๑๖ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั้นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพ แห่งการเจริญจิตตานุปัสสนา ฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศเหนือ นําสิ่งของที่อยู่ทางทิศเหนือ ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศเหนือฉันใด ผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งธัมมานุปัสสนา เจริญธัมมานุปัสสนา ๕ วิธี ย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพาน

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 280

อันเดียวกันนั้นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพ แห่งการเจริญธัมมานุปัสสนาก็ฉันนั้น. บัณฑิตพึงทราบว่าที่ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานมีอันเดียวเท่านั้น ก็ด้วยอํานาจความระลึกได้อย่างหนึ่ง ด้วยอานุภาพประชุมลงสู่ความเป็นอันเดียวกันหนึ่ง ที่กล่าวว่ามี ๔ ก็โดยจัดตามอารมณ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.

คําว่า มี ๔ เป็นอย่างไร เป็นคําถามด้วยหมายจะตอบ (ถามเอง ตอบเอง). คําว่า ในธรรมวินัยนี้ คือ ในพระศาสนานี้. คําว่า ภิกฺขเว นั้น เป็นคําเรียกบุคคลผู้รับธรรม. คําว่า ภิกษุนั้น เป็นคําแสดงถึงบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ. เทวดา และมนุษย์ แม้เหล่าอื่น ก็ดําเนินการปฏิบัติให้พร้อมเหมือนกัน. แต่ที่ตรัสว่า ภิกษุ ก็เพราะเป็นผู้ประเสริฐอย่างหนึ่ง เพราะทรงแสดงภาวะของภิกษุ ด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง. เป็นความจริง ในบุคคลทั้งหลาย ผู้รับคําสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ เพราะเป็นประหนึ่ง ภาชนะรองรับคําสั่งสอน มีประการต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ. แต่เมื่อทรงถือเอาภิกษุแล้ว คนทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย เหมือนอย่างในการเสด็จพระราชดําเนิน เป็นต้น เหล่าราชบริพารนอกนั้น ก็เป็นอันท่านรวมไว้ด้วยศัพท์ว่า ราช. ผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่า ภิกษุ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ ก็เพราะจะทรงแสดงภาวะของภิกษุด้วยการปฏิบัติ. เป็นความจริง ผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม ย่อมนับได้ว่า เป็นภิกษุทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในธรรมบท ขุททกนิกาย) ว่า

อลงฺกโตฺ เจปิ สมํ จเรยฺย

สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี

สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ

โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 281

    หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้วเป็น ผู้สงบแล้ว ฝึกแล้ว เป็นคนแน่ เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติสม่ําเสมออยู่ไซร้ ผู้นั้นก็ชื่อว่า พราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า สมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า ภิกษุ ดังนี้.

    คําว่า ในกาย คือ ในรูปกาย. จริงแล้ว รูปกายในที่นั้นท่านประสงค์ เอาว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ และธรรมทั้งหลายมี ผม เป็นต้น เหมือนตัวของช้าง ตัวของรถ เป็นต้น. ที่ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมฉันใด ที่ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่า เป็นแหล่งที่มาของสิ่งที่น่ารังเกียจ ฉันนั้น. จริงแล้ว กายนั้น เป็นแหล่งที่มาของสิ่งน่ารังเกียจ คือน่าเกลียดอย่างยิ่ง แม้เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า กาย. คําว่า เป็นแหล่งที่มา คือเป็นถิ่นเกิด ใจความของคํา ในคําว่า เป็นแหล่งที่มานั้น มีดังนี้ ธรรมชาติทั้งหลายมาแต่กายนั้น เหตุนั้น กายนั้นจึงชื่อว่า เป็นแหล่งที่มา. อะไรมา. สิ่งอันน่าเกลียดทั้งหลายมี ผมเป็นต้น ย่อมมา. ชื่อว่า อายะ เพราะเป็นแหล่งมาแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้. คําว่า พิจารณาเห็นกาย หมายความว่า มีปกติพิจารณา เห็นในกาย หรือพิจารณาเห็นกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสว่า ในกาย แล้ว บัณฑิตพึงทราบว่าทรงกระทําศัพท์ว่า กาย ครั้งที่สองว่า พิจารณาเห็นกายอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงแสดงการกําหนด และการแยกออกจากก้อน เป็นต้น โดยไม่ปนกัน. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในกาย หรือพิจารณาเห็นจิตในกาย หรือพิจารณาเห็นธรรมในกายหามิได้ ที่แท้พิจารณาเห็นกายในกายต่างหาก เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการกําหนดไม่ปนกัน ด้วยทรงแสดงอาการ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 282

คือพิจารณาเห็นกายในวัตถุที่นับว่ากาย. มิใช่ พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่พ้นจากอวัยวะน้อยใหญ่ในกาย ทั้งมิใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย ที่พ้นจากผม ขน เป็นต้น. จริงอยู่ในข้อนั้น กายแม้อันใด ที่นับว่าเป็นที่รวมของภูตรูป และอุปาทายรูป มีผมขน เป็นต้น มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่พ้นจากภูตรูป และอุปาทายรูป ที่แท้พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมอวัยวะน้อยใหญ่ ในกายแม้อันนั้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนประกอบของรถ ฉะนั้น พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของผม ขน เป็นต้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อยใหญ่ของพระนคร พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของภูตรูป และอุปาทายรูป เหมือนแยกใบ และก้านของต้นกล้วย และเหมือนแบกํามือที่ว่างเปล่าฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันทรงแสดงการแยกออกจากก้อน ด้วยทรงแสดงวัตถุที่นับได้ว่ากาย โดยเป็นที่รวมโดยประการต่างๆ นั่นแล้ว. ความจริงกายหรือชายหญิง หรือธรรมไรๆ อื่นที่พ้นจากกาย อันเป็นที่รวมดังกล่าวแล้ว หาปรากฏในกายนั้นไม่ แต่สัตว์ทั้งหลาย ก็ยึดมันผิดๆ โดยประการนั้นๆ ในกายที่สักว่า เป็นที่รวมแห่งธรรมดังกล่าวแล้ว อยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ยํ ปสฺสติ น ตํ ทิฏฺํ ยํ ทิฏฺํ ตํ น ปสฺสติ

อปสฺสํ พชฺฌเต มูฬฺโห พชฺฌมาโน น มุจฺจติ

บุคคลเห็นสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่ได้เห็น สิ่งใดเห็นแล้ว ก็ไม่เห็นสิ่งนั้น เมื่อไม่เห็น ก็หลงติด เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ดังนี้.

ท่านกล่าวคํานี้ ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น. ด้วยศัพท์ว่า อาทิเป็นต้น ในคํานี้ บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้ พิจารณาเห็นกาย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 283

ในกายนี้เท่านั้น ท่านอธิบายว่า มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลายแลเห็นน้ำในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงาม ว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน และสวยงาม ฉันนั้น หามิได้ ที่แท้ พิจารณาเห็นกาย ท่านอธิบายว่า พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน และไม่สวยงามต่างหาก.

    อีกอย่างหนึ่ง ก็กายอันนี้ใด ที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่า มีลมอัสสาสะ ปัสสาสะ เป็นต้น มีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุด ตามนัย พระบาลีเป็นต้นว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดี ฯลฯ เธอมีสติหายใจเข้าดังนี้ และกายอันใด ที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค (ขุททกนิกาย) ว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิวหนัง กายคือหนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมด แม้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย โดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย ที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งธรรม มีผมเป็นต้นในกาย โดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่พึงถือว่าเป็นเรา เป็นของเราในกาย แต่พิจารณาเห็นกายนั้นๆ เท่านั้น เป็นที่รวมแห่งธรรมต่างๆ มีผม ขน เป็นต้น.

    อนึ่ง พึงทราบความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย แม้โดยพิจารณาเห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นต้น ทั้งหมดทีเดียว ซึ่งมีนัยที่มา ในปฏิสัมภิทามรรคตามลําดับบาลี เป็นต้นว่า พิจารณาเห็นใน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 284

กายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่โดยเป็นของเที่ยง ดังนี้. จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา คือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายอันนี้ โดยเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เห็นโดยเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยเป็นทุกข์ ไม่ใช่เห็นโดยเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยมิใช่ตัวตน ไม่ใช่เห็นเป็นตัวตน ด้วยอํานาจอนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ ประการ มีพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นต้น ย่อมเบื่อหน่ายมิใช่ยินดี ย่อมคลายกําหนัดมิใช่กําหนัด ย่อมดับทุกข์มิใช่ก่อทุกข์ ย่อมสละมิใช่ยึดถือ. ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาความสําคัญว่าเที่ยงเสียได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละทุกขสัญญาความสําคัญว่าเป็นสุขเสียได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ย่อมละอัตตสัญญาความสําคัญว่าเป็นตัวตนเสียได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีเสียได้ เมื่อคลายกําหนัด ย่อมละความกําหนัดเสียได้ เมื่อดับทุกข์ ย่อมละเหตุเกิดทุกข์เสียได้ เมื่อสละ ย่อมละความยึดถือเสียได้ ดังนี้ พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้.

    คําว่า อยู่ คือ เป็นไปอยู่. คําว่า มีเพียร มีอรรถว่า สภาพใดย่อมแผดเผากิเลสทั้งหลาย ในภพทั้ง ๓ เหตุนั้น สภาพนั้นชื่อว่า อาตาปะ แผดเผากิเลส คํานี้เป็นชื่อของความเพียร. ความเพียรของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า อาตาปี มีความเพียร. คําว่า มีสัมปชัญญะ คือ ผู้ประกอบด้วยความรู้ ที่นับว่าสัมปชัญญะ. คําว่า มีสติ คือประกอบด้วยสติกํากับกาย. ก็ภิกษุรูปนี้ กําหนดอารมณ์ ด้วยสติพิจารณาเห็นด้วยปัญญา ธรรมดาว่าปัญญาพิจารณา เห็นของผู้เว้นจากสติ ย่อมมีไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า สติแลจําปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงตรัสว่า ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ดังนี้. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอันทรงอธิบายด้วย

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 285

ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความท้อแท้ภายใน ย่อมทําอันตรายแก่ผู้ไม่มีความเพียร ผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมหลงลืมในการกําหนดอุบาย ในการงดเว้นสิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้มีสติหลงลืมแล้ว ย่อมไม่สามารถในการกําหนดอุบาย และในการสละสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย ด้วยเหตุนั้น กัมมัฏฐานนั้น ของภิกษุนั้น ย่อมไม่สําเร็จ เพราะฉะนั้น กัมมัฏฐานนั้น ย่อมสําเร็จด้วย อานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด เพื่อทรงแสดงธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ. ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์แห่งสัมปโยคะ บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละ จึงตรัสว่า นําออกเสีย ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก.

    บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า นําออกเสีย หมายความว่า นําออกเสีย ด้วยการนําออกชั่วขณะ หรือด้วยการนําออกด้วยการข่มไว้. คําว่า ในโลก ก็คือในกายอันนั้นแหละ. จริงอยู่ กายในที่นี้ ทรงหมายถึงโลก เพราะอรรถว่าชํารุดทรุดโทรม. อภิชฌา และโทมนัส มิใช่พระโยคาวจรนั้นละได้ในอารมณ์ เพียงกายเท่านั้น แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ (สติปัฏฐานวิภังค์) ว่าอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าโลก. คํานั้นท่านกล่าวตามนัยแห่งการขยายความ เพราะธรรมเหล่านั้น นับได้ว่าเป็นโลก. แต่ท่านกล่าวคําอันใดไว้ว่า โลกเป็นอย่างไร โลกก็คือกายอันนั้นแหละ ความในคํานั้นมีดังนี้แล. พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่า นําออกเสียซึ่งอภิชฌา และโทมนัสในโลกนั้น. ก็เพราะในที่นี้ กามฉันทะรวมเข้ากับศัพท์ว่าอภิชฌา พยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น จึงควรทราบว่า ทรงอธิบายการละนิวรณ์ ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ ที่มีกําลังนับเนื่องใน นิวรณ์. แต่โดยพิเศษในที่นี้ ตรัสการละความยินดีที่มีกายสมบัติเป็นมูล ด้วยการกําจัดอภิชฌา ตรัสการละความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูล ด้วยการ

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 286

กําจัดโทมนัส ตรัสการละความยินดียิ่งในกายด้วยการกําจัดอภิชฌา ตรัสการละความไม่ยินดียิ่งในการเจริญกายานุปัสสนา ด้วยการกําจัดโทมนัส ตรัสการละกายของผู้ใส่ซึ่งภาวะว่างาม เป็นสุข เป็นต้น ที่ไม่มีจริงในกายด้วยการกําจัดอภิชฌา และตรัสการละการเอาออกไปซึ่งภาวะที่ไม่งาม เป็นทุกข์ เป็นต้น ที่มีอยู่จริงในกายด้วยการกําจัดโทมนัส. ด้วยพระดํารัสนั้น เป็นอันทรงแสดงอานุภาพของความเพียร และความเป็นผู้สามารถ ในการประกอบความเพียรของพระโยคาวจร. แท้จริงอานุภาพของความเพียรนั้นก็คือ เป็นผู้หลุดพ้นจากความยินดี ยินร้าย ครอบงําความไม่ยินดี และความยินดี และเว้นจากใส่สิ่งที่ไม่มีจริง และนําออกซึ่งสิ่งที่มีจริง. ก็พระโยคาวจรนั้น เป็นผู้หลุดพ้นจากความยินดี ยินร้าย เป็นผู้ครอบงําความไม่ยินดี และความยินดี ไม่ใส่สิ่งที่ไม่มีจริง ไม่นําออกซึ่งสิ่งที่มีจริง จึงชื่อว่า เป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรด้วย ประการฉะนั้น.

อีกนัยหนึ่ง. ตรัสกัมมัฏฐานด้วยอนุปัสสนา ในคําที่ว่า กาเย กายา นุปสฺสี พิจารณาเห็นกายในกาย. ตรัสการบริหารกายของพระโยคาวจร บําเพ็ญกัมมัฏฐาน ด้วยวิหารธรรมที่กล่าวไว้แล้ว ในคํานี้ว่า วิหรติ อยู่. ก็ในคําเป็นต้นว่า อาตาปี มีความเพียร พึงทราบว่า ตรัสความเพียรชอบด้วยอาตาปะ ความเพียรเครี่องเผากิเลส ตรัสกัมมัฏฐานที่ให้สําเร็จประโยชน์ทั่วๆ ไป หรืออุบาย เครื่องบริหารกัมมัฏฐาน ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือตรัสสมถะที่ได้มา ด้วยอํานาจกายานุปัสสนา ตรัสวิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ ตรัสผลแห่งภาวนาด้วยการกําจัดซึ่งอภิชฌา และโทมนัส ฉะนี้.

บาลีวิภังค์

ส่วนในบาลีวิภังค์ กล่าวความของบทเหล่านั้น ไว้อย่างนี้ว่า บทว่า อนุปสฺสี ความว่า อนุปัสสนาในคํานั้น เป็นอย่างไร ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 287

ฯลฯ ความเห็นชอบนี้เรียก อนุปัสสนา บุคคลได้ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว มาตามพร้อมแล้ว ด้วยอนุปัสสนานี้ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงเรียกว่า อนุปสฺสี. บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ รักษาอยู่ ดําเนินไปอยู่ ให้อัตตภาพดําเนินไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิหรติ. บทว่า อาตาปี ผู้มีเพียรความว่า อาตาปะ ความเพียรในคํานั้นเป็นอย่างไร การปรารภความเพียรเป็นไปทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะใด นี้เรียกว่า อาตปะ บุคคลผู้ประกอบด้วยอาตาปะนี้ เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงเรียกว่า อาตาปี. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า สัมปชัญญะ ในคํานั้นเป็นอย่างไรความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงเรียกว่า สมฺปชาโน. บทว่า สติมา ความว่า สติในคํานั้นเป็นอย่างไร ความระลึกได้ ความระลึกถึง ฯลฯ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า สติ บุคคลใดประกอบแล้ว ฯลฯ มาตามพร้อมแล้วด้วยสตินี้ เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงเรียกว่า สติมา. ข้อว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ความว่า โลกในคํานั้นเป็นอย่างไร กายนั้นแล ชื่อว่าโลก อุปาทานขันธ์แม้ทั้ง ๕ ก็ชื่อว่าโลก นี้เรียกว่าโลก. อภิชฌาในคํานั้นเป็นอย่างไร ความกําหนัด ความกําหนัดนัก ความดีใจ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกําหนัดด้วยอํานาจความเพลิดเพลิน ความกําหนัดนักแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา. โทมนัส ในคํานั้นเป็นอย่างไร ความไม่สําราญทางใจ ทุกข์ทางใจ ฯลฯ เวทนาที่ไม่สําราญเป็นทุกข์ อันเกิดแก่สัมผัสทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌา และโทมนัสนี้ เป็นอันพระโยคาวจรกําจัดเสียแล้ว นําออกไปแล้ว สงบแล้ว ให้สงบแล้ว ให้ระงับแล้ว ให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ให้ถึงความสาปสูญแล้ว ให้ถึงความไม่มีแล้ว ให้ถึงความย่อยยับแล้ว ให้เหือดแห้งแล้ว ให้แห้งผากแล้ว

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 288

ทําให้ถึงที่สุดแล้ว เหตุนั้น จึงตรัสว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ ดังนี้. นัยที่มาในอรรถกถานี้ กับบาลีวิภังค์นั้น บัณฑิตพึงทราบได้โดยการเทียบกัน.

พรรณนาความแห่งอุทเทส ที่ว่าด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีเพียงเท่านี้ก่อน.

อุทเทสวารแห่งเวทนา จิตต ธัมมานุปัสสนา

บัดนี้จะวินิจฉัย ในคําว่า ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย จิตในจิต ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก ดังนี้ ประโยชน์ในอันจะกล่าวซ้ำเวทนา เป็นต้น ในคําซึ่งมีอาทิอย่างนี้ว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ในกายานุปัสสนานั่นแล. อนึ่ง ในข้อที่ว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายนี้ มีวินิจฉัย ดังนี้ เวทนา ได้แก่ เวทนา ๓ ก็เวทนา ๓ นั้นเป็นโลกิยะอย่างเดียวแม้จิตก็เป็นโลกิยะ ธรรมทั้งหลายก็เป็นโลกิยะเหมือนกัน. การจําแนก เวทนา จิต ธรรม นั้น จักปรากฏในนิทเทสวาร. ส่วนในอุทเทสวารนี้ ภิกษุผู้พิจารณาเวทนา ๓ นั้น โดยประการที่คนพึงพิจารณาเห็นก็พึงทราบว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย. แม้ในจิต และธรรมก็นัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า จะพึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร. ตอบว่า พึงพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เวทนาโดยเป็นดุจลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ดังที่ตรัสไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 289

    โย สุขํ ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทฺทกฺขิ สลฺลโต อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ อทฺทกฺขิ นํ อนิจฺจโต ส เว สมฺมทฺทโส ภิกฺขุ อุปสนฺโต จริสฺสติ

    ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดังลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแล เป็นผู้เห็นชอบจักเป็นผู้สงบเที่ยวไป ดังนี้.

    อนึ่ง พระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมด นั่นแหละ โดยความเป็นทุกข์ด้วย. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า เรากล่าวเวทนาทุกอย่างบรรดามีอยู่ในทุกข์ทั้งนั้น. พึงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นสุข เป็นทุกข์ (เปลี่ยนเวียนกันไป). ดังที่ตรัสไว้ว่า สุขเวทนาเป็นสุข เมื่อเกิดขึ้น เมื่อตั้งอยู่ เป็นทุกข์เมื่อแปรไป ดังนี้ คําทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงเข้าใจให้กว้างขวาง.

    อนึ่ง พระโยคาวจร พึงพิจารณาเห็น แม้ด้วยอํานาจอนุปัสสนา ๗ มี อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น. ข้อควรกล่าวนี้ยังเหลือ จักปรากฏในนิทเทสวารแล.

    ก่อนอื่น บรรดาจิตและธรรม จิตอันพระโยคาวจรพึงพิจารณา เห็นด้วยอํานาจประเภทแห่งจิตอันต่างๆ กัน มีอารัมมณจิต อธิปติจิต สหชาตจิต ภูมิจิต กัมมจิต วิปากจิตและกิริยาจิต เป็นต้น และด้วยอํานาจประเภทแห่งจิต มีจิตมีราคะ เป็นต้น ซึ่งมาในนิทเทสวารแห่งอนุปัสสนา มีอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น. ธรรมอันพระโยคาวจร พึงพิจารณาเห็นด้วยอํานาจแห่งลักษณะเฉพาะตน และลักษณะทั่วไป และแห่งธรรมที่เป็นสภาพว่างเปล่า และด้วยอํานาจประเภทแห่งธรรม มีธรรมอันมีสงบ เป็นต้น ซึ่งมาในนิทเทสสวารแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนา เป็นต้น. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 290

อภิชฌา และโทมนัสในโลก คือกายอันพระโยคาวจรใดละได้แล้ว ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้แม้อภิชฌา และโทมนัสในโลก คือเวทนา เป็นต้น ก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้นละได้แล้วเหมือนกัน ก็จริงอยู่ ถึงดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัส การละอภิชฌาและโทมนัสไว้ในสติปัฏฐานทุกข้อ ด้วยอํานาจแห่งบุคคลต่างๆ กัน และด้วยอํานาจแห่งสติปัฏฐานภาวนา อันเป็นไป ในขณะจิตต่างกัน. อีกนัยหนึ่ง เพราะอภิชฌาและโทมนัสที่ละได้ในสติปัฏฐาน ข้อหนึ่งถึงในสติปัฏฐานที่เหลือทั้ง ๓ ข้อ ก็เป็นอันละได้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้นแล จึงควรทราบว่า การละอภิชฌาและโทมนัสนี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดง การละในสติปัฏฐานเหล่านั้น ของภิกษุนั้น ฉะนั้นแล.

    จบอุทเทสวารกถา

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 291

นิทเทสวารกถา

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สัมมาสติมีอารมณ์ ๔

นายช่างจักสานผู้ฉลาด ประสงค์จะทําเครื่องใช้ เช่น เสื่อหยาบ เสื่ออ่อน เตียบ ลุ้ง และฝาชี เป็นต้น ได้ไม้ไผ่ลําใหญ่มาลําหนึ่ง ตัดเป็น ๔ ท่อนแล้ว พึงเอาท่อนๆ หนึ่งแต่๔ ท่อนนั้นมาผ่าออก ทําเป็นเครื่องใช้นั้นๆ แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัดนี้ ทรงประสงค์จะทําสัตว์ทั้งหลาย ให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ ด้วยการทรงแสดงสติปัฏฐานจําแนกสัมมาสติอย่างเดียวเท่านั้น ออกเป็น ๔ ส่วน ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ โดยนัย เป็นต้นว่า สติปัฏฐาน ๔ เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ดังนี้ ทรงถือเอาสติปัฏฐานแต่ละอย่าง จาก ๔ อย่างนั้น เมื่อจะทรงจําแนกกาย จึงทรงเริ่มตรัส นิทเทสวาร โดยนัยเป็นต้นว่า กถฺจ ภิกฺขเว.

อธิบายศัพท์ในปุจฉวา

ในนิทเทสวารนั้น คําว่า กถฺจ อย่างไรเล่า เป็นต้น เป็นคําถาม ด้วยหมายจะขยายให้กว้างขวาง. ก็แลความย่อในปุจฉวารนี้มีดังนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายโดยประการไรเล่า. ในปุจฉวารทุกข้อก็นัยนี้. ข้อว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ คือ ภิกษุในพระศาสนานี้ ก็อิธศัพท์ในคํานี้ เป็นเครื่องแสดงศาสนา อันเป็นที่อาศัยอย่างดี

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 292

ของบุคคลผู้บําเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานทุกประการ ให้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเครื่องปฏิเสธความไม่เป็นจริงของศาสนาอื่น. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ (ในจูฬสีหนาทสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น ศาสนาอื่นว่างเปล่าจากสมณะ ผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าภิกษุในศาสนานี้.

อานาปานบรรพ

คําว่า ภิกษุไปป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปยังเรือนว่างก็ดี นี้เป็นเครื่องแสดง การกําหนดเอาเสนาสนะ อันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐาน ของภิกษุนั้น. เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น มานาน ย่อมไม่ประสงค์จะลงสู่วิถีแห่งกัมมัฏฐาน คอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยโคโกง ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จะเจริญสติปัฏฐานนี้ ประสงค์จะทรมานจิตที่ร้าย ที่เจริญมาด้วยการดื่มรส มีรูปารมณ์เป็นต้น มานาน พึงพรากออกจากอารมณ์ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น แล้วเข้าไปป่าก็ได้ โคนไม้ก็ได้ เรือนว่างก็ได้ แล้วเอาเชือก คือสติผูกเข้าไว้ที่หลัก คืออารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น จิตของเธอนั้น แม้จะดิ้นรนไปทางนั้น ทางนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่คุ้นเคยมาก่อน ไม่อาจตัดเชือก คือสติให้ขาดแล้วหนีไปได้ ก็จะแอบแนบสนิท เฉพาะอารมณ์นั้นอย่างเดียว ด้วยอํานาจเป็นอุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา เหมือนอย่างคนเลี้ยงโค ต้องการจะทรมานลูกโคโกง ที่ดื่มนมแม่โคตัวโกงจนเติบโต พึงพรากมันไปเสียจากแม่โค แล้วปักหลักใหญ่ไว้หลักหนึ่ง เอาเชือกผูกไว้ที่หลักนั้น ครั้งนั้นลูกโคของเขานั้น ก็จะดิ้นไปทางโน้นทางนี้ เมื่อไม่อาจหนีไปได้ก็หมอบ หรือนอนแนบหลักนั้นนั่นแล ฉะนั้น. เหตุนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 293

ยถาถมฺเภ นิพนฺเธยฺย วจฺฉํ ทมํ นโร อิธ

พนฺเธยฺเยวํ สกํ จิตฺตํ สติยารมฺมเณ ทฬฺหํ

นรชนในพระศาสนานี้ พึงผูกจิตของตนไว้ ในอารมณ์ให้มั่นด้วยสติ เหมือนคนเลี้ยงโค เมื่อจะฝึกกลูกโค พึงผูกมันไว้ที่หลัก ฉะนั้น.

เสนาสนะนี้ ย่อมเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐาน ของภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานนั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คํานี้ เป็นเครื่องแสดงการกําหนดเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐาน ของภิกษุนั้น ดังนี้.

เสนาสนะ ที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึง ด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้า เป็นต้น จะบําเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สําเร็จ ไม่ใช่ทําได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก แต่พระโยคาวจรกําหนดกัมมัฏฐานนี้แล้ว ให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ เกิดขึ้น ทําฌานนั้นนั่นแล ให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว บรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทําได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะ อันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรฺ คโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ เห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้ว ใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้ว ก็ชี้ว่า ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 294

จงสร้างนครตรงนี้ เมื่อเขาสร้างนครเสร็จ โดยสวัสดีแล้ว ย่อมได้รับลาภสักการะอย่างใหญ่ จากราชสกุล ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็ฉันนั้น ทรงใคร่ครวญถึงเสนาสนะ อันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้ว ทรงชี้ว่าเสนาสนะตรงนี้ พระโยคาวจรควรประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆ ต่อแต่นั้น พระโยคีเจริญกัมมัฏฐานเนืองๆ ในเสนาสนะนั้น ได้บรรลุพระอรหัตตามลําดับ ย่อมทรงได้รับสักการะอย่างใหญ่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จริงหนอ.

    ก็ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นเดียวกับเสือเหลือง. เหมือนอย่างพระยาเสือเหลืองขนาดใหญ่อาศัยพงหญ้าป่าชัฏ หรือเทือกเขาในป่า ซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤค มีกระบือป่า ละมั่ง หมูป่า เป็นต้น ฉันใด ภิกษุนี้ผู้มีเพียรประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐานในป่า เป็นต้น ย่อมถือเอาซึ่งมรรค ๔ และอริยผล ๔ ได้ตามลําดับ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า.

    ยถาปิ ทีปิโก นาม นิลียิตฺวา คณฺหตี มิเค

    ตเถวายํ พุทฺธปุตฺโต ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก

    อรฺํ ปวิสิตฺวาน คณฺหติ ผลมุตฺตมํ

    อันเสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่มฤค ฉันใด ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ประกอบความเพียร เป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง (เจริญวิปัสสนา) ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอันสูงสุดได้.

    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่า อันเป็นภูมิที่เหมาะแก่ชวนะปัญญา อันเป็นเครื่องบากบั่นของพระโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรฺคโตวา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 295

ต่อแต่นี้ไป ก่อนอื่น คําที่ควรจะกล่าวในอานาปานบรรพนี้ ท่านกล่าวไว้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทั้งนั้น.

กําหนดลมอัสสาสะ ปัสสาสะ

ก็คําว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน นี้เป็นเพียงคําอุปมาเท่านั้น. คําว่า ในกายภายใน ก็ดีนี้ เป็นเพียงอัปปนาเท่านั้น. แต่อัปปนานั้นก็ย่อมไม่มาในคํานั้น. มาแต่อุปจารกัมมัฏฐานที่เหลือ. แต่ก็ยังมาไม่ถึง คําว่า ผู้ขยัน หมายถึงผู้ฉลาด (ผู้ชํานาญ). คําว่า ชักเชือกกลึงยาวก็ดี ความว่า เหยียดมือ เหยียดเท้า ชักเชือกยาวในเวลากลึงกลองช่องพิณ เป็นต้น ซึ่งเป็นของใหญ่. คําว่า ชักเชือกสั้นก็ดี ความว่า ชักเชือกสั้นๆ ในเวลากลึงของเล็กๆ น้อยๆ เช่น งา และลิ่มสลัก เป็นต้น. คําว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า แม้ภิกษุนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อหายใจเข้ายาวโดยลมอัสสาสะ และปัสสาสะ ที่เป็นไปโดยระยะยาว และระยะสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว ฯลฯ คอยสําเหนียกอยู่ว่า เราหายใจออกยาว ดังนี้. เมื่อเธอสําเหนียกอยู่อย่างนี้ ฌาน ๔ ย่อมเกิดในนิมิตแห่งลมอัสสาสะ ปัสสาสะ. เธอออกจากฌานแล้ว จะกําหนดลมอัสสาสะ ปัสสาสะ หรือองค์ฌานได้.

ในการกําหนดลมอัสสาสะ ปัสสาสะนั้น ภิกษุประกอบกัมมัฏฐาน ในลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมกําหนดรูปอย่างนี้ว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะเหล่านี้ อาศัยอะไร อาศัยวัตถุ กรัชกาย ชื่อว่า วัตถุ มหาภูตรูป ๔ กับอุปาทายรูป ชื่อว่า กรัชกาย ต่อแต่นั้น จึงกําหนดในนามธรรม ซึ่งมีผัสสะเป็นที่ ๕ (๑. เวทนา ๒. สัญญา ๓. เจตนา ๔. วิญญาณ ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์. ครั้นกําหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 296

อยู่ เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้น ไม่ใช้สัตว์ หรือบุคคล จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัย ขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาอยู่ย่อมบรรลุพระอรหัต โดยลําดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.

    ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐาน กําหนดนามรูปว่า องค์ฌานเหล่านี้อาศัยอะไร อาศัยวัตถุรูป กรัชกาย ชื่อว่า วัตถุรูป องค์ฌานจัดเป็นนาม กรัชกายจัดเป็นรูป เมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น จึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชา เป็นต้น จึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัย และธรรม อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่สัตว์ หรือบุคคล จึงยกนามรูป พร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต โดยลําดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.

    คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา ในกายภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ของตนอยู่อย่างนี้. คําว่า หรือ ภายนอก ความว่า หรือพิจารณาเห็นกายในกาย คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ของคนอื่นอยู่. คําว่า ทั้งภายในทั้งภายนอก ความว่า หรือในกายคือลมอัสสาสะ ปัสสาสะของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยคํานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส กาลที่ภิกษุนั้นไม่หยุด กัมมัฏฐานที่คล่องแคล่วให้กาย คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ สัญจรไปมาอยู่ ก็กิจทั้งสองนี้ ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน.

    คําว่า พิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิด ความว่า ลมอาศัยสูบของช่างทอง ๑ ลูกสูบ ๑ ความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ๑ จึงจะสัญจรไปมาได้ ฉันใด กาย คือลมอัสสาสะปัสสาสะ ก็อาศัยกรัชกาย ๑ ช่องจมูก ๑ จิต ๑

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 297

ของภิกษุ จึงสัญจรไปมาได้ฉันนั้น. ภิกษุเห็นธรรมมีกาย เป็นต้น ซึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา ท่านเรียกว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในกาย. คําว่า พิจารณาธรรม คือความเสื่อมก็ดี ความว่า เมื่อสูบถูกนําออกไปแล้ว เมื่อลูกสูบแตกแล้ว เมื่อความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น ไม่มีลมนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อกายแตกแล้ว เมื่อช่องจมูกถูกกําจัดเสียแล้ว และเมื่อจิตดับแล้ว ชื่อว่า กาย คือ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น เหมือนกัน. ภิกษุผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ลมอัสสาสะ ปัสสาสะดับเพราะกาย เป็นต้น ดับดังนี้ ท่านเรียกว่าพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในกาย. คําว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด และความเสื่อม หมายความว่า พิจารณาเห็นความเกิดตามกาล ความเสื่อมตามกาล.

    คําว่า สติของเธอปรากฏชัดว่ากายมีอยู่ ความว่า สติของภิกษุนั้น เข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า กายแลมีอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร. คําว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกําหนดเขตแห่งประโยชน์. ท่านอธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียง เพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้ คือ ประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป และประมาณแห่งสติเท่านั้น อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ. คําว่า ไม่ถูกกิเลส อาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัย ด้วยอํานาจแห่งกิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่. คําว่า ไม่ยึดถือสิ่งไรๆ ในโลกด้วย ความว่า ไม่ถือสิ่งไรๆ ในโลก คือรูป ฯลฯ หรือวิญญาณว่า นี้เป็นตัวของ เรา นี้มีในตัวของเรา. ปิ อักษรใน คําว่า เอวํ ปิ ลงในอรรถ คือ อาศัยความ ข้างหน้าประมวลมา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมอบเทศนา คือ อานาปาน บรรพแสดงแล้วด้วยบทนี้.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 298

อานาปานสติเป็นอริยสัจ ๔

ในอานาปานบรรพนั้น สติที่กําหนดลมอัสสาสะ ปัสสาสะเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ตัณหามีในก่อนอันยังทุกขสัจนั้น ให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งสัจจะทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กําหนดรู้ทุกขสัจ ละสมุทยสัจ มีนิโรธสัจเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ. ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายด้วยอํานาจสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุความดับทุกข์ได้ ฉะนี้. นี้เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ จนบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ตั้งมั่นแล้ว ด้วยอํานาจแห่งลมอัสสาสะ ปัสสาสะรูปหนึ่ง ฉะนั้นแล.

จบอานาปานบรรพ

อิริยาบถบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกกายานุปัสสนา โดยทางแห่งลมอัสสาสะ ปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ อีกอย่างหนึ่งดังนี้ เป็นต้น. ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดินก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้. ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญกายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้. เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา. และคําที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัดอย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร แม้ในอิริยาบถอื่น มีการยืน เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 299

    จะวินิจฉัย ในปัญหาเหล่านั้น คําว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน. คําว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน. คําว่า เดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะการแผ่ไปของวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่าเราจะเดิน จิตนั้นก็ทําให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทําให้เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนําสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความ ไหวตัวแห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต เรียกว่า เดิน. แม้ในอิริยาบถอื่น มียืน เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอิริยาบถยืน เป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นทําให้เกิดวาโยธาตุๆ ทําให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรงสกลกายตั้งขึ้น แต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต เรียกว่า ยืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทําให้เกิดวาโยธาตุๆ ก็ทําให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบนตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต เรียกว่า นั่ง จิตเกิดขึ้นว่าเราจะนอน จิตนั้นก็ทําให้เกิดวาโยธาตุๆ ทําให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต เรียกว่า นอน. เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถแล้ว สัตว์ไรๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคําที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไรๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อ นายสารถีผู้ฉลาดเทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะฉะนั้น คํานั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมติเรียกกัน ฉันใด กายเปรียบเหมือนเกวียน เพราะอรรถว่า ไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบเหมือนสารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทําให้เกิดความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดิน เป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัว

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 300

แห่งวาโยธาตุ อันเกิดแต่การทําของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน เรายืน เพราะเหตุนั้น คํานั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมติเรียกกัน ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

    นาวา มาลุตเวเคน ชิยาเวเคน เตชนํ

    ยถา ยาติ ตถา กาโย ยาติ วาตาหโต อยํ

    ยนฺตํ สุตฺตวเสเนว จิตฺตสุตฺตวเสนิทํ

    ปยุตฺตํ กายยนฺตมฺปิ ยาติ าต นิสีทติ

    โก นาม เอตฺถ โส สตฺโต โย วินา เหตุปจฺจเย

    อตฺตโน อานุภาเวน ติฏฺเ วา ยทิ วา วเช

    เรือแล่นไปได้ด้วยกําลังลม ลูกธนู แล่นไปด้วยกําลังสายธนูฉันใด กายนี้อันลมนําไป จึงเดินไปได้ ฉันนั้น แม้ยนต์ คือ กายนี้ อันปัจจัยประกอบแล้ว เดิน ยืน และนั่ง ได้ด้วยอํานาจสายชัก คือจิต เหมือนเครื่องยนต์ หมุนไปได้ด้วยอํานาจสายชัก ฉะนั้นนั่นแหละ ในโลกนี้สัตว์ใด เว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว ยังยืนได้ เดินได้ ด้วยอานุภาพของตนเอง สัตว์นั้นชื่อไรเล่า จะมีดังนี้.

    เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุนี้กําหนดอิริยาบถมีเดิน เป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้ ด้วยอํานาจเหตุปัจจัยเท่านั้น อย่างนี้ เมื่อเดินก็รู้ว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ว่าเรายืน เมื่อนั่งก็รู้ว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ว่าเรานอน ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 301

คําว่า ก็หรือ กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใดๆ ก็รู้กายนั้น โดยอาการนั้นๆ นี้เป็นคํากล่าวรวมอิริยาบถทั้งปวง. มีคําอธิบายว่า หรือกาย ของเธอดํารงอยู่โดยอาการใดๆ ก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้นๆ คือกายนั้นดํารงอยู่ โดยอาการเดินก็รู้ชัดว่าเราเดิน กายดํารงอยู่โดยอาการยืน นั่ง นอน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เรานั่ง เรานอน.

อิริยาบถภายในภายนอก

คําว่า ภายใน หรือดังนี้ ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายด้วยการกําหนดอิริยาบถ ๔ ของตนเองอย่างนี้อยู่. คําว่า หรือภายนอก ความว่า ด้วยการกําหนดอิริยาบถ ๔ ของคนอื่นอยู่. คําว่า หรือทั้งภายใน ทั้งภายนอก ความว่าพิจารณาเห็นกายในกาย ด้วยการกําหนดอิริยาบถ ๔ ของตนเองตามกาล ของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคําบาลีเป็นต้นว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิด คือพึงนําความเกิด และความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ออกแสดง โดยอาการทั้ง ๕ ตามนัยบาลี เป็นต้นว่า รูปเกิด เพราะอวิชชาเกิด ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความเกิด และความเสื่อมนั้นแล ตรัสว่า พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดดังนี้ เป็นต้น ในที่นี้.

คําบาลีเป็นต้นว่า สติของเธอก็ปรากฏชัดว่า กายมีอยู่ ดังนี้ ก็มีข้อความเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

สติกําหนดอิริยาบถเป็นอริยสัจ ๔

แม้ในอิริยาบถบรรพนี้ สติที่กําหนดอิริยาบถ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติที่กําหนดอิริยาบถ ๔ นั้น ให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทยสัจ การหยุดทุกขสัจ และสมุทยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กําหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ ภิกษุผู้โยคาวจร

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 302

ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์. นี้เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กําหนดอิริยาบถ ๔ รูปหนึ่ง ฉะนี้แล.

จบอิริยาบถบรรพ

สัมปชัญญบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกกายานุปัสสนา โดยทางอิริยาบถ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยทางสัมปชัญญะ ๔ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น. ในสัมปชัญญบรรพนั้น คําว่า ก้าวไป ข้างหน้า เป็นต้น ทรงพรรณนาไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตร. คําว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล โดยกําหนดสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้อยู่. ความเกิด และความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแล พึงนําออกแสดงในคําว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด เป็นต้น แม้ในสัมปชัญญบรรพนี้. คํานอกจากนี้ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

สติกําหนดสัมปชัญญะ เป็นอริยสัจ ๔

ในสัมปชัญญบรรพนี้ สติกําหนดสัมปชัญญะ ๔ เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติกําหนดสัมปชัญญะ ๔ นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสุมทัยสัจ การไม่เกิดทุกขสัจ และสมุทยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมีประการดังกล่าวมาแล้ว เป็นมรรคสัจ ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล. นี้เป็นทางปฏิบัตินําทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กําหนดสัมปชัญญะ ๔ รูปหนึ่ง ฉะนี้แล.

จบสัมปชัญญบรรพ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 303

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกกายานุปัสสนาโดยทางสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกการใส่ใจถึงกายโดยความเป็นของปฏิกูล จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนั้น คําใดที่ควรกล่าวในบาลีเป็นต้นว่า กายนี้นี่แล คํานั้นทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกัมมัฏฐาน คัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยพิสดารด้วยอาการทั้งปวง. คําว่า มีปาก สองข้าง ความว่า ประกอบด้วยปากทั้งสอง ทั้งข้างล่าง ข้างบน. คําว่า มีอย่างต่างๆ คือมีชนิดต่างๆ. ในข้อนั้นมีคําเทียบเคียงอุปมาดังต่อไปนี้. ก็กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบ เปรียบเหมือนไถ้ มีปากสองข้าง อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น เปรียบเหมือนธัญญชาติต่างชนิด ที่เขาใส่ปนกันลงไปในไถ้นั้น พระโยคาวจรเปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุ อาการปรากฏชัดแห่งอาการ ๓๒ ของพระโยคาวจร พึงทราบเหมือนอาการที่ธัญญชาติต่างชนิด ปรากฏแก่บุรุษผู้แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจารณาดูอยู่.

คําว่า ภายในก็ดี ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ ต่างกันอย่างเดียว ก็คือควรประกอบ ความอย่างนี้ว่า สติกําหนดอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจแล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กําหนดอาการ ๓๒ รูปหนึ่ง. คํานอกจากนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว นั้นแล.

จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 304

ธาตุมนสิการบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกกายานุปัสสนาโดยทางการใส่ใจ ถึงกายโดยเป็นของปฏิกูล อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยทางการใส่ใจ ถึงกายโดยความเป็นธาตุ จึงตรัสธาตุมนสิการบรรพว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น. ในธาตุมนสิการบรรพนั้น มีการพรรณนาอรรถ พร้อมด้วยข้อเทียบเคียงอุปมา ดังต่อไปนี้. คนฆ่าโคบางคน หรือลูกมือของเขา ที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหารและค่าจ้าง ฆ่าโคแล้วชําแหละ แบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้ว นั่ง ณ ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง คือที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ ซึ่งไปได้ทั้ง ๔ ทิศ ฉันใด ภิกษุ (ผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน) ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมพิจารณากาย ซึ่งชื่อว่าตั้งอยู่ตามที่ เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งอิริยาบถทั้ง ๔ และซึ่งชื่อว่าดํารงอยู่ตามที่ เพราะตั้งอยู่ตามที่ อย่างนี้ว่า ในกายนี้มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.

กายสักว่าธาตุ ๔

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า เมื่อคนฆ่าโคเลี้ยงโคอยู่ก็ดี นําโคไปยังที่ฆ่าก็ดี นํามาผูกไว้ที่ฆ่าก็ดี กําลังฆ่าก็ดี มองดูโคที่ฆ่าตายแล้วก็ดี ความสําคัญว่าโค ยังไม่หายไปตราบเท่านี้ เขายังไม่ได้ชําแหละโคนั้น ออกเป็นส่วนๆ ต่อเมื่อเขาชําแหละแบ่งออกแล้ว ความสําคัญว่าโคก็หายไป กลับสําคัญเนื้อโคไป เขามิได้คิดว่า เราขายโค คนเหล่านี้ซื้อไป ที่แท้ เขาคิดว่า เราขายเนื้อโค คนเหล่านี้ซื้อเนื้อโคเปรียบฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลา เป็นคฤหัสก็ดี บรรพชิตก็ดี ความสําคัญว่า สัตว์ หรือบุคคล ยังไม่หายไปก่อน ตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้นี่แล ตามที่

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 305

ตั้งอยู่ ตามที่ดํารงอยู่ แยกออกจากก้อน โดยความเป็นธาตุ ต่อเมื่อเธอพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ ความสําคัญว่าสัตว์จึงหายไป จิตก็ตั้งอยู่ด้วยดี โดยความเป็นธาตุอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้นี่แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดํารงอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฯลฯ วาโยธาตุ ดังนี้ฉันนั้น. ก็พระโยคาวจร เปรียบเหมือนคนฆ่าโค ความสําคัญว่า สัตว์เปรียบเหมือนความสําคัญว่าโค อิริยาบถทั้ง ๔ เปรียบเหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ความพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ เปรียบเหมือนการที่คนฆ่าโค นั่งแบ่งออกเป็นส่วนๆ นี้เป็นการพรรณนาบาลี ในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วนกถาว่าด้วยกัมมัฏฐาน ท่านพรรณนาไว้พิสดาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว.

คําว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดธาตุ ๔ ด้วยอาการอย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น. แต่ในที่นี้มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติ กําหนดธาตุ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า นี้เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กําหนดธาตุ ๔ ดังนี้. ส่วนคําที่เหลือก็เช่นกับ ที่กล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั่นแล.

จบธาตุมนสิการบรรพ

นวสีวถิกาบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกกายานุปัสสนาโดยทางธาตุมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกด้วยนวสีวถิกาบรรพ ข้อกําหนดว่า

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 306

ด้วยป่าช้า ๙ ข้อ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น. บรรดาเหล่านั้น บทว่า เหมือนอย่างว่าเห็น คือ เหมือนอย่างว่าพบ. บทว่า สรีระ คือสรีระของ คนตาย. บทว่า ที่เขาทิ้งไว้ที่ป่าช้า คือที่เขาปล่อยทิ้งไว้ที่สุสาน. ซากศพที่ชื่อว่า ตายแล้ววันเดียว เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๑ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๒ วัน เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๒ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๓ วัน เพราะซากศพที่ตายแล้วได้ ๓ วัน. ที่ชื่อว่าศพที่พองขึ้น เพราะเป็นศพที่พองขึ้นโดย เป็นศพที่ขึ้นอืดตามลําดับ ตั้งแต่สิ้นชีพไป เหมือนลูกสูบช่างทองอันพองขึ้นด้วยลม. ศพที่พองขึ้นนั่นแล ชื่อว่า อุทธุมาตกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพที่พองขึ้นน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ. ศพที่มีสีต่างๆ เจือเขียว เรียกว่า ศพที่มีสีเขียวเจือ. ศพที่มีสีเขียวเจือนั่นแล ชื่อว่า วินีลกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพที่มีสีเขียวน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้นจึง ชื่อว่า วินีลกะ. คําว่า วินีลกะ นี้เป็นชื่อของซากศพ มีสีแดง ในที่เนื้อนูนหนา มีสีขาวในที่อันบ่มหนอง โดยมากมีสีเขียว ในที่ควรเขียว คล้ายผ้าห่มสีเขียว. ศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกจากที่ปริแตกทางปากแผลทั้ง ๙ บ้าง ชื่อว่า ศพมีน้ำเหลืองไหล. ศพมีน้ำเหลืองไหลนั่นแล ชื่อว่า วิบุพพกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิบุพพกะ. ศพที่เป็นวิบุพพกะเกิดแล้ว คือถึงความเป็นซากศพมีน้ำเหลือง ไหลอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า วิบุพพกชาตะ. ข้อว่า โส อิมเมว กายํ ความว่า ภิกษุนั้น ใช้ญาณนั้นแหละ น้อมนํากายของตนนี้ไปเปรียบกับกายอันนั้น (ซากศพ). เปรียบอย่างไร. เปรียบว่า กายนี้แล มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 307

กายที่ปราศจากอายุไออุ่นวิญญาณเป็นซากศพ

ท่านอธิบายไว้ว่า กายนี้ยังทนยืน เดิน เป็นต้น อยู่ได้ก็เพราะมี ธรรม ๓ อย่างนี้คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ แต่เพราะธรรม ๓ อย่างนี้พรากจากกัน แม้กายนี้จึงต้องมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา คือมีสภาพเปือยเน่าอย่างนั้นเหมือนกัน ต้องเป็นอย่างนั้น คือจักเป็นประเภทศพขึ้นพองเป็นต้น อย่างนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ คือไม่ล่วงพ้นความเป็นศพพองขึ้นเป็นต้น อย่างนั้นไปได้.

ข้อว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น อย่างนี้อยู่.

เทียบกายด้วยซากศพ

บทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกินอยู่ ได้แก่ศพอันสัตว์มีแร้ง กา เป็นต้น จับที่อวัยวะ เช่นท้อง เป็นต้น แล้วดึงเนื้อท้อง เนื้อปาก เบ้าตา เป็นต้น จิกกินอยู่. บทว่า สมํสโลหิตํ ยังมีเนื้อและเลือด คือศพที่มีเนื้อ และเลือดยังเหลืออยู่. บทว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ ที่ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด คือเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว แต่เลือดยังไม่แห้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาศพประเภทนั้น จึงตรัสว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ. บทว่า อฺเน คือศพไปทางทิศอื่น. บทว่า หตฺถฏฺิกํ กระดูกมือความว่ากระดูก มือมีประเภทถึง ๖๔ ชิ้น กระจัดกระจายแยกกันไป. แม้กระดูกเท้า เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เตโรวสฺสิกานิ เกินปีหนึ่งขึ้นไป คือล่วงปีไปแล้ว. บทว่า ปูตีนิ เป็นของผุ ความว่า กระดูกอันตั้งอยู่กลางแจ้ง ย่อมผุเปือย

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 308

เพราะกระทบ ลม แดด และฝน ส่วนกระดูกที่อยู่ใต้พื้นดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นานกว่า. บทว่า จุณฺณกชาตานิ เป็นผง คือแหลกเป็นผง กระจัดกระจายไป. พึงประกอบความเข้าในข้อทั้งปวงโดยบทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกิน เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ว่าเธอก็น้อมกายอันนี้นี่แล เข้าไปเทียบกับศพ เป็นต้น.

ข้อว่า หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดซากศพอันสัตว์กัดกินเป็นต้น จนถึงเป็นกระดูกอันแหลกเป็นผงอย่างนี้อยู่.

จัดเป็นบรรพ

ป่าช้า ๙ ข้อที่อยู่ในนวสีวถิกาบรรพนี้ บัณฑิตพึงจัดประมวลมาดังนี้คือ

๑. ข้อที่ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ศพที่ตายแล้วได้วันหนึ่งบ้าง แม้ทั้งหมดเป็นบรรพอันหนึ่ง.

๒. ข้อที่ว่า ศพที่ฝูงกาจิกกินบ้าง เป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๓. ข้อที่ว่า ร่างกระดูก ที่ยังมีเนื้อ และเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๔. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อ แต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๕. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๖. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ที่ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึงแล้วเป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 309

๗. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ขาว คล้ายสีสังข์ เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๘. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่กองเรี่ยราย เกินหนึ่งปีขึ้นไป เป็นบรรพอันหนึ่ง.

๙. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่ผุ แหลกเป็นผง เป็นบรรพอันหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงป่าช้าทั้ง ๙ แล้ว จะทรงจบกายานุปัสสนา จึงตรัสคํานี้ว่า เอวํ โข ภิกฺขเว อย่างนี้แลภิกษุทั้งหลาย เป็นต้น.

สติกําหนดซากศพเป็นอริยสัจ ๔

ในนวสีวถิกาบรรพนั้น สติอันกําหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อน ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น เป็นสมุทยสัจ การหยุดทุกขสัจ และสมุทยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคอันกําหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ ภิกษุผู้โยคาวจร ขวนขวายด้วยอํานาจสัจจะอย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์ได้ ดังนี้. อันนี้เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ จนถึงพระอรหัต ของเหล่าภิกษุผู้กําหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ อย่างนี้แล.

จบนวสีวถิกาบรรพ.

ก็กายานุปัสสนา ๑๔ บรรพ คือ อานาปานบรรพ ๑ อิริยาบถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ ธาตุมนสิการบรรพ ๑ นวสีวถิกา ๙ บรรพ เป็นอันจบลงด้วยคําพรรณนา มีประมาณเพียงเท่านี้.

ใน ๑๔ บรรพนั้น อานาปานบรรพกับปฏิกูลมนสิการบรรพ ๒ บรรพนี้ เท่านั้น เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน ส่วน ๑๒ บรรพที่เหลือ เป็นอุปจารกัมมัฏฐานอย่างเดียว เพราะตรัสไว้โดยการพิจารณาเห็นโทษแห่งกายอันเกี่ยวด้วยป่าช้า ดังนี้แล.

จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 310

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ วิธีอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา ๙ วิธี จึงตรัสว่า กถฺจ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นอย่างไรเล่า เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขเวทนา ความว่า ภิกษุกําลังเสวยเวทนาที่เป็นสุข ทางกายก็ดี ทางใจก็ดี ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา. จะวินิจฉัยในคํานั้น แม้เด็กทารกที่ยังนอนหงาย เมื่อเสวยสุขในคราวดื่มน้ำนม เป็นต้น ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาก็จริงอยู่. แต่คําว่า สุขเวทนา เป็นต้นนี้ มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น. เพราะความรู้ชัดเช่นนั้น ไม่ละความเห็นว่าสัตว์ ไม่ถอนความสําคัญว่าเป็นสัตว์ ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือสติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ ละความเห็นว่าสัตว์ ถอนความสําคัญว่าเป็นสัตว์ได้ ทั้งเป็นกัมมัฏฐาน เป็นสติปัฏฐานภาวนา. ก็คํานี้ตรัสหมายถึง ความเสวยสุขเวทนาพร้อมทั้งที่รู้ตัวอยู่ อย่างนี้ว่า ใครเสวย ความเสวยของใคร เสวยเพราะเหตุไร.

สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้น ถามว่า ใครเสวย ตอบว่า มิใช่สัตว์ หรือบุคคลไรๆ เสวย. ถามว่า ความเสวยของใคร ตอบว่ามิใช่ความเสวยของสัตว์ หรือบุคคลไรๆ. ถามว่า เสวยเพราะเหตุไร ตอบว่าก็เวทนาของภิกษุนั้น มีวัตถุเป็นอารมณ์อย่างเดียว เหตุนั้น เธอจึงรู้อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เสวยเวทนา เพราะทําวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา มีสุขเวทนา เป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์ ก็คําว่า เราเสวยเวทนา เป็นเพียงสมมติเรียกกัน เพราะยึดถือความเป็นไปแห่งเวทนานั้น. เธอกําหนดว่า สัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนา เพราะ

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 311

ทําวัตถุให้เป็นอารมณ์ อย่างนี้ พึงทราบว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เหมือนพระเถระรูปหนึ่ง ซึ่งสํานักอยู่ที่จิตตลบรรพต.

พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา

ได้ยินว่า พระเถระทุรนทุราย กลิ้งเกลือกอยู่ด้วยเวทนากล้าแข็ง คราวอาพาธไม่ผาสุก. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเรียนถามว่า ท่านเจ็บตรงไหนขอรับ. ท่านตอบว่า บอกที่เจ็บไม่ได้ดอกเธอ ฉันทําวัตถุเป็นอารมณ์ เสวยเวทนา. ถามว่า ตั้งแต่เวลารู้ชัดอย่างนั้น ท่านอดกลั้นไว้ ไม่ควรหรือขอรับ. ตอบว่า ฉันจะอดกลั้นนะเธอ. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า อดกลั้นได้ก็ดีนะสิ ขอรับ. พระเถระก็อดกลั้น (ทุกขเวทนา). โรคลมก็ผ่าแล่งจนถึงหัวใจ ไส้ของพระเถระก็ออกมากองบนเตียง. พระเถระชี้ให้ภิกษุหนุ่มดู ถามว่า อดกลั้นขนาดนี้ควรไหม. ภิกษุหนุ่มก็นิ่ง. พระเถระก็ประกอบความเพียรสม่ําเสมอ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นพระอรหัตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว.

อนึ่ง ภิกษุผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เสวยทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิสอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขสุขเวทนาปราศจากอามิสเหมือนเมื่อเธอเสวยสุขเวทนาแล.

เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานด้วยประการฉะนี้แล้ว เมื่อจะตรัสอรูปกัมมัฏฐาน แต่เพราะที่ตรัสด้วยอํานาจผัสสะ หรือด้วยอํานาจจิต กัมมัฏฐานไม่ปรากฏชัด ปรากฏเหมือนมืดมัว ส่วนความเกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลายปรากฏชัด กัมมัฏฐานปรากฏชัดด้วยอํานาจเวทนา ฉะนั้น จึงตรัสอรูปกัมมัฏฐาน ด้วยอํานาจเวทนา แม้ในพระสูตรนี้ เหมือนอย่างในสักกปัญห-

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 312

สูตร. กถามรรค ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในสกกปัญหสูตร แล้วนั่นแลว่าก็กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือ รูปกัมมัฏฐาน และอรูปกัมมัฏฐาน ดังนี้ เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ในคําว่า สุขเวทนา ดังนี้ เป็นต้น มีปริยาย (ทาง) แห่งความรู้ชัดอีกอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้. ข้อว่า สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา เพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยสุขเวทนา ดังนี้. เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่า เวทนาไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะในขณะที่ไม่มีทุกขเวทนาที่เคยมีมาก่อน และ เพราะก่อนแต่นี้ ก็ไม่มีสุขเวทนานี้. เธอรู้ตัวในสุขเวทนานั้นอย่างนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในทีฆนขสูตร มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย) ดังนี้ว่า ดูก่อน อัคคิเวสสนะ สมัยใดเสวยสุขเวทนา สมัยนั้นหาเสวยทุกขเวทนาไม่ หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ ย่อมเสวยสุขเวทนาเท่านั้น สมัยใดเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้นหาเสวยสุขเวทนาไม่ หาเสวยทุกขเวทนาไม่ เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น ดูก่อน อัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาแล ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้น ไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาเล่า ฯลฯ แม้อทุกขมสุขเวทนาเล่า ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อน อัคคิเวสสนะ อริยสาวกสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสุขเวทนา แม้ในทุกขเวทนา แม้ในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกําหนัด เพราะคลายกําหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น ย่อมหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําก็ทําเสร็จแล้ว กิจอย่างอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีอีกดังนี้.

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 313

เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส

จะวินิจฉัยในข้อว่า สามิสํ วา สุขํ หรือสุขเวทนาที่มีอามิส เป็นต้น โสมนัสสเวทนาอาศัยอามิส คือ กามคุณ ๕ อาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสสุขเวทนา โสมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่า นิรามิสสุขเวทนา โทมนัสสเวทนา อาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสทุกขเวทนา โทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่า นิรามิสทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน ๖ ชื่อว่า สามิสอทุกขมสุขเวทนา อุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ ๖ ชื่อว่า นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา. อนึ่ง การจําแนกเวทนาแม้เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ ในสักกปัญหสูตรแล้วแล.

เวทนาในเวทนานอก

ข้อว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของตน ในเวทนาทั้งหลายของคนอื่น หรือในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดสุขเวทนา เป็นต้นอย่างนี้อยู่. ส่วนในข้อว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย) นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุเมื่อเห็นความ เกิด และความเสื่อม แห่งเวทนาทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะอวิชชาเกิด จึงเกิดเวทนา ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า เธอพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่. ข้อต่อจากนี้ไป ก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ในกายานุปัสสนานั่นแล.

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 314

สติกําหนดเวทนาเป็นอริยสัจ ๔

แต่ในเวทนานุปัสสนานี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความ อย่างนี้ว่า สติที่กําหนดเวทนาเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กําหนดเวทนาเป็นอารมณ์. คําที่เหลือ ก็มีความเช่นนั้นเหมือนกัน.

จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๙. วิธี อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนา ๑๖ วิธีจึงตรัสว่า กถฺจ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จิตตานุปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.

จําแนกอารมณ์ของจิต

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จิตมีราคะ คือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘ อย่าง. บทว่า จิตปราศจากราคะ คือ จิตที่เป็นกุศล แล อพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. แต่ข้อนี้ เป็นการพิจารณา มิใช่เป็นการชุมนุมธรรม เพราะฉะนั้น ในคําว่า จิตมีราคะ นี้ จึงไม่ได้โลกุตตรจิต แม้แต่บทเดียว. อกุศลจิต ๔ ดวง ที่เหลือ จึงไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโทสะ ได้แก่จิต ๒ ดวง ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส. บทว่า จิตปราศจากโทสะ ได้แก่ จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือ ไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโมหะ ได้แก่จิต ๒ ดวง คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วย

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 315

วิจิกิจฉาดวง ๑ ที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะดวง ๑. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดได้ใน อกุศลจิตทั้งหมด ฉะนั้น แม้อกุศลจิตที่เหลือ ก็ควรได้ในบทว่าจิตมีโมหะนี้ โดยแท้. จริงอยู่ อกุศลจิต ๑๒ (โลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒) ท่านประมวลไว้ใน ทุกกะ (หมวด ๒) นี้เท่านั้น. บทว่าจิตปราศจากโมหะ ได้แก่ จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. บทว่า จิตหดหู่ ได้แก่จิตที่ตกไปในถีนมิทธะ. ก็จิตที่ตกไปในถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่ บทว่า ฟุ้งซ่าน ได้แก่จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะ จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะนั้น ชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน. บทว่า จิตเป็นมหัคคตะ ได้แก่ จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. บทว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ ได้แก่ จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า สอุตฺตรํ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า อนุตฺตรํ จิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้น จิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจรจิต ชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่จิตที่เป็น อรูปาวจร. บทว่า สมาหิตํ จิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่อัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิ. บทว่า อสมาหิตํ จิตไม่ตั้งมั่น ได้แก่จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง บทว่า วิมุตฺตํ จิตหลุดพ้น ได้แก่จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ. บทว่า อวิมุตฺตํ จิตไม่หลุดพ้น ได้แก่จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง. ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในบทนี้เลย.

จิตในจิตนอก

คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า ภิกษุโยคาวจร กําหนดจิตที่เป็นไปในสมัยใดๆ ด้วยการกําหนดจิตมีราคะเป็นต้น อย่างนี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตของตน หรือในจิตของคนอื่น ในจิตของตนตามกาล หรือในจิตของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคําว่า พิจารณาเห็นธรรม

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 316

คือความเกิดนี้ พึงนําความเกิดและความเสื่อมแห่งวิญญาณออกเทียบเคียงด้วย อาการอย่างละ ๕ ว่า เพราะเกิดอวิชชา วิญญาณ จึงเกิดดังนี้เป็นต้น. ข้อต่อไปจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วแล.

สติกําหนดจิตเป็นอริยสัจ ๔

แต่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความว่า สติที่กําหนดจิตเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้เป็นต้น แล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กําหนดจิตเป็นอารมณ์. คําที่เหลือ ก็เช่นเดียวกันนั่นแล.

จบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ วิธี อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสธัมมานุปัสสนา ๕ วิธี จึงตรัสว่า กถฺจ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธัมมานปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกําหนดรูปกัมมัฏฐานล้วน ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกําหนดอรูปกัมมัฏฐานล้วนๆ ด้วยเวทนานุปัสสนา และจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสการกําหนดรูปกัมมัฏฐาน กับอรูปกัมมัฏฐานผสมกัน จึงตรัสว่า กถฺจ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการกําหนดรูปขันธ์ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกําหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา ตรัสการกําหนดวิญญาณขันธ์

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 317

ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัสแม้การกําหนดสัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ จึงตรัสว่า กถฺจ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธัมมานุปัสสนา เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.

นีวรณบรรพ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ มีอยู่ คืออยู่พร้อมด้วยอํานาจฟุ้งขึ้นเนืองๆ. บทว่า อสนฺตํ ไม่มีอยู่คือไม่มีอยู่พร้อม เพราะไม่ฟุ้งขึ้น หรือ เพราะละได้แล้ว. บทว่า ก็โดยประการใด ความว่า กามฉันท์เกิดขึ้น เพราะเหตุใด. บทว่า ตฺจ ปชานาติ ก็รู้ชัดประการนั้น คือรู้ชัดเหตุนั้น. ทุกๆ บท พึงทราบความโดยนัยนี้นี่แล.

เหตุเกิดกามฉันท์

ในนิมิตทั้งสองนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้นเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย ในสุภนิมิต. สิ่งที่งามก็ดี อารมณ์ที่งามก็ดี ชื่อว่า สุภนิมิต. การใส่ใจโดยไม่มีอุบาย การใส่ใจนอกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดยไม่แยบคาย). เมื่อภิกษุทําอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในสุภนิมิตนั้น กามฉันท์ย่อมเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิต มีอยู่ การทําให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทําให้กามฉันท์ที่เกิดแล้วให้กําเริบ ยิ่งขึ้นดังนี้.

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 318

เหตุละกามฉันท์

ส่วนกามฉันท์นั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดยแยบคาย) ในอสุภนิมิต. สิ่งที่ไม่งามก็ดี อารมณ์ที่ไม่งามก็ดี. ชื่อว่า อสุภนิมิต. การใส่ใจโดยอุบาย การใส่ใจถูกทาง การใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าทุกข์ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าไม่ใช่ตัวตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ. เมื่อภิกษุทําโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในอสุภนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์เสียได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การทําให้มากๆ ซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความไม่เกิดแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันท์ที่เกิดแล้ว.

ธรรมสําหรับละกามฉันท์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ คือ ๑. การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์ ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภภาวนา ๓. การรักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๔. ความรู้จักประมาณในโภชนะ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ (เป็นที่สบาย). จริงอยู่ เมื่อภิกษุกําหนดอสุภนิมิต ๑๐ อย่างอยู่ ก็ละกามฉันท์ได้. เมื่อเจริญอสุภ ๑๐ ก็ดี เมื่อปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาสจะ บริโภค ๔ - ๕ คํามีอยู่ ก็ดื่มน้ำ ยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ ก็ย่อมละกามฉันท์ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ (ในขุททกนิกาย เถรคาถา) ว่า

จตฺตาโร ปฺจ อาโลเป อภุตฺวา ปิเว

อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 319

ภิกษุพึงเว้นคําข้าวเสีย ๔ - ๕ คํา เลิกฉัน แล้วดื่มน้ำเสีย นี้เป็นข้อปฏิบัติอัน สมควรสําหรับภิกษุผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.

แม้ภิกษุผู้เสพกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นผู้ยินดี ในการเจริญอสุภ เช่น พระติสสเถระ ผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน ก็ย่อมละกามฉันท์ได้. แม้ด้วยการเจรจา ปรารภเรื่องเป็นที่สบาย อันอาศัยอสุภ ๑๐ ในอิริยาบถยืนและนั่ง เป็นต้น ก็ย่อมละกามฉันท์ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็กามฉันท์ที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอรหัตมรรค.

เหตุเกิดพยาบาท

ส่วนพยาบาท ย่อมเกิด เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ปฏิฆะ (ความขุ่นใจ) ก็ดี อารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดี ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต ในคําว่า ปฏิฆนิมิต เป็นต้นนั้น. อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ในธรรมทั้งปวง. เมื่อภิกษุทําอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้น พยาบาทย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การไม่ทําให้มากซึ่ง โยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทําให้พยาบาทที่เกิดแล้ว กําเริบเสิบสานขึ้นดังนี้.

เหตุละพยาบาท

แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโตวิมุตติ. ในคําว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนา

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 320

ทั้งอุปจาระ. บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ ดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทําโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิด แห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.

ธรรมสําหรับละพยาบาท

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไป เพื่อละพยาบาท คือ ๑. การกําหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์ ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งเมตตาภาวนา ๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ๔. การทําให้มากซึ่งการพิจารณา ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.

จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุกําหนดเมตตากัมมัฏฐาน ด้วยการแผ่เมตตาไปทั่ว ทิศโดยเจาะจงหรือไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. เมื่อภิกษุเจริญเมตตา โดยแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจง ไม่เจาะจงก็ดี เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและคนอื่น มีกรรมเป็นของๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านโกรธคนนั้น จะทําอะไรเขาได้ ท่านอาจจักทําศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาแล้วด้วยกรรมของตน จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแล ขึ้นชื่อว่า การโกรธผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกับ ผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน ซี่เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระเป็นต้น ประหารผู้อื่นฉะนั้น หรือถึงคนนั้นโกรธท่าน จักทําอะไรได้ เขาจักอาจทําศีล เป็นต้นของท่านให้พินาศได้หรือ เขามาด้วยกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของเขานั่นแหละ ความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเอง เหมือนประหาร

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 321

ผู้ไม่ประหารตอบ และเหมือนนําธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี เมื่อพิจารณากัมมัสสกตาทั้งสองหยุดอยู่ในการพิจารณาก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ยินดีในการเจริญเมตตา เช่น ท่านพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้. แม้ด้วยการเจรจาเรื่องที่เป็นที่สบาย ซึ่งอาศัยเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ก็ละพยาบาทได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท ดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็พยาบาทที่ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

เหตุเกิดถีนมิทธะ

ถีนมิทธะ ย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย มี อรติ เป็นต้น ความไม่ยินดีด้วยกับเขา (ริษยา) ชื่อว่า อรติ. ความคร้านกายชื่อว่า ตันที. ความบิดกาย (บิดขี้เกียจ) ชื่อว่า วิชัมภิตา. ความมึนเพราะอาหาร ความกระวนกระวายเพราะอาหารชื่อว่า ภัตตสัมมทะ. อาการ คือ ความย่อหย่อนแห่งจิต ชื่อว่าความย่อหย่อนแห่งจิต. เมื่อภิกษุทําอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในอรติ เป็นต้นนี้ ถีนมิทธะย่อมเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความคร้านกาย ความบิดกาย ความเมาอาหาร ความหดหู่แห่งจิตมีอยู่ การทําให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้ นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิด แห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทําถีนมิทธะที่เกิดแล้ว ให้กําเริบเสิบสาน ยิ่งขึ้นดังนี้.

เหตุละถีนมิทธะ

แต่ถีนมิทธะนั้น จะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายมี อารภธาตุเป็นต้น. ความเพียรเริ่มแรก ชื่อว่า อารภธาตุ. ความเพียรที่มีกําลังกว่า

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 322

อารภธาตุนั้น เพราะออกไปพ้นจากความเกียจคร้านแล้ว ชื่อว่านิกกมธาตุ. ความเพียรที่มีกําลังยิ่งกว่านิกกมธาตุแม้นั้น เพราะล่วงฐานอื่นๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ (ก้าวไปข้างหน้า. บากบั่น). เมื่อภิกษุทําโยนิโสมนสิการให้เป็นไป มากๆ ในความเพียร ๓ ประเภทนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธาตุคือความเริ่มความเพียร ธาตุคือความออกพ้นไปจากความเกียจคร้าน ธาตุคือความก้าวไปข้างหน้ามีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความไม่เกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละถีนมิทธะที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมสําหรับละถีนมิทธะ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ ๑. การกําหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน ๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๓. การใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสําคัญว่าสว่างๆ ) ๔. การอยู่กลางแจ้ง ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย

เพราะว่า เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะเหมือนพราหมณ์ที่ชื่อ อาหารหัตถกะ ที่ชื่อตัตรวัฏฏกะ ที่ชื่ออลังสาฏกะ ที่ชื่อกากมาสกะ และที่ชื่อภุตตวมิตกะ นั่งในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน กระทําสมณธรรมอยู่ ถีนมิทธะย่อมมา ท่วมทับได้เหมือนช้างใหญ่ แต่ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุที่เว้นโอกาสบริโภค ๔- ๕ คําแล้ว ดื่มน้ำดื่มยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุกําหนดนิมิต ในโภชนะส่วนเกินอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ เมื่อภิกษุเข้าสู่ ถีนมิทธะในอิริยาบถใด เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสีย ก็ละถีนมิทธะได้. เมื่อภิกษุใส่ใจแสงจันทร์ แสงประทีป แสงคบเพลิง ในเวลา

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 323

กลางคืน แสงอาทิตย์เวลากลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี เสพกัลยาณมิตร ผู้ละถีนมิทธะได้ เช่น ท่านพระมหากัสสปเถระก็ดี ก็ละถีนมิทธะได้. แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย ที่อาศัยธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ก็ละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละได้ด้วยธรรม ๖ ประการ จะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรค ดังนี้.

เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ

อุทธัจจกุกกุจจะ ย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบแห่งใจ. อาการที่ไม่สงบ ชื่อว่าความไม่สงบ. คํานี้โดยอรรถก็คืออุทธัจจกุกกุจจะ นั่นเอง. เมื่อภิกษุทําอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในความไม่สงบแห่งใจนั้น อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบแห่งใจมีอยู่ การทําให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบแห่งใจนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทําอุทธัจจกุกกุจจะ ที่เกิดแล้ว ให้กําเริบเสิบสานยิ่งขึ้น ดังนี้.

เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ

แต่อุทธัจจกุกกุจจะนั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในความสงบแห่งใจ กล่าวคือ สมาธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งใจมีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความสงบแห่งใจนั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความไม่เกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด แล้วดังนี้.

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 324

ธรรมสำหรับละอุทธัจจะกุกกุจจะ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ คือ ๑. ความสดับมาก ๒. ความสอบถาม ๓. ความชํานาญในวินัย ๔. ความคบผู้เจริญ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.

จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้ร่ําเรียน ทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง สาม สี่ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยความเป็นพหูสูต (พาหุสัจจะ ความเป็นผู้สดับมาก). ภิกษุผู้มากด้วยการสอบถามสิ่งที่ควร และไม่ควรก็ดี ผู้ชํานาญ เพราะมีความชํานาญอันสั่งสมไว้ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้แก่ ผู้เฒ่าก็ดี คบกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่น ท่านพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยการเจรจา แต่เรื่องที่ เป็นที่สบาย อันอาศัยสิ่งที่ควร และไม่ควร ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ก็ละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า เมี่ออุทธัจจกุกกุจจะ ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ อุทธัจจะ จะไม่เกิดต่อไปด้วย อรหัตมรรค กุกกุจจะ ไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

เหตุเกิดวิจิกิจฉา

วิจิกิจฉา ย่อมเกิดได้ด้วยอโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ความเคลือบแคลง เพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อยๆ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. เมื่อภิกษุทําอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น วิจิกิจฉาย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การทําให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรม

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 325

เป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อทําวิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว ให้กําเริบเสิบสานยิ่งขึ้นดังนี้.

เหตุละวิจิกิจฉา

แต่วิจิกิจฉานั้น จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ ในธรรมมีกุศล เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมที่มีโทษ ไม่มีโทษ ธรรมที่ควรเสพ ไม่ควรเสพ ธรรมที่ทรามประณีต ธรรมที่เทียบด้วยของดํา ของขาว มีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละวิจิกิจฉา ที่เกิดแล้วดังนี้.

ธรรมสําหรับละวิจิกิจฉา

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ ๑. ความสดับมาก ๒. ความสอบถาม ๓. ความชํานาญในวินัย ๔. ความมากด้วยความน้อมใจเชื่อ ๕. ความมีกัลยาณมิตร ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.

จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุร่ําเรียนทั้งบาลี ทั้งอรรถกถานิกายหนึ่ง สอง สาม สี่ หรือห้า นิกาย ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ด้วยความเป็นพหูสูต. เมื่อภิกษุมากด้วยการปรารภพระรัตนตรัย สอบถามก็ดี มีความชํานาญอันสั่งสมไว้ในวินัยก็ดี มากไปด้วยความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือศรัทธาที่ยังกําเริบได้ในพระรัตนตรัยก็ดี คบกัลยาณมิตร เช่น ท่านพระวักกลี ผู้น้อมใจไปในศรัทธาก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้. แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย อันอาศัยคุณของ พระรัตนตรัย ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ก็ละวิจิกิจฉาได้. เพราะ

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 326

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค ดังนี้.

คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายของตน ในธรรมทั้งหลายของคนอื่น หรือในธรรมทั้งหลาย ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาลด้วยการกําหนดนิวรณ์ ๕ อย่างนี้อยู่. ก็ความเกิดและความเสื่อม ในคําว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดและความเสื่อมนี้ ที่กล่าวแล้วในนิวรณ์ ๕ ด้วยอํานาจ อโยนิโสมนสิการและโยนิโสมนสิการ ในสุภนิมิต และอสุภนิมิต เป็นต้น บัณฑิตพึงนํามาเทียบเคียง. ข้อต่อไปนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว นั้นแล.

สติกําหนดนิวรณ์เป็นอริยสัจ ๔

แต่ในนิวรณบรรพนี้ มีต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความว่า สติอันกําหนดนิวรณ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ พึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัติ นําออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กําหนดนิวรณ์เป็นอารมณ์. คําที่เหลือก็เช่นนั้น นั่นแล.

จบนิวรณบรรพ

ขันธบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกธัมมานุปัสสนา โดยนิวรณ์ ๕ อย่างนี้ บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยขันธ์ ๕ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 327

บรรดาบทเหล่านั้น คําว่า ในอุปาทานขันธ์ ๕ คือกองอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์อธิบายว่า กลุ่มธรรม คือกองธรรม อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน. ความสังเขปในที่นี้มีเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในขันธกถา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อิติรูปํ ดังนี้ รูป ความว่า นี้รูป รูปมีเท่านี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดรูปโดยสภาพว่า รูปอื่นนอกจากนี้ไม่มี ดังนี้. แม้ในเวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้ เหมือนกัน. ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนรูปเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ แล้วในขันธกถา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยพิสดาร. บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย นี้ความเกิดแห่งรูป ความว่า ความเกิดแห่งรูปด้วยอาการ ๕ โดยความเกิดแห่งอวิชชา เป็นต้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. คําว่า อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม ความดับแห่งรูป ความว่า ความดับแห่งรูปด้วยอาการ ๕ โดยดับอวิชชา เป็นต้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในอุทยัพพยญาณกถา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายของตน ในธรรมทั้งหลายของคนอื่น หรือในธรรมทั้งหลายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกําหนดขันธ์ ๕ อย่างนี้อยู่. ก็ความเกิดและความเสื่อมในคําว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด และความเสื่อม บัณฑิตพึงนํามาเทียบเคียงโดยลักษณะ ๕๐ ที่กล่าวไว้ในขันธ์ ๕ ว่า เพราะ อวิชชาเกิด รูปจึงเกิดดังนี้ เป็นต้น. คําอื่นนอกจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.

สติกําหนดขันธ์ ๕ เป็นอริยสัจ ๔

แต่ในที่นี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติ กําหนดขันธ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้ แล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัติ

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 328

นําออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กําหนดขันธ์เป็นอารมณ์. คําที่เหลือก็เช่นนั้น เหมือนกัน

จบขันธบรรพ

อายตนบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกธัมมานุปัสสนา ด้วยอํานาจขันธ์ ๕ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยอายตนะ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่งดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ ในอายตนะภายใน และภายนอก ๖ ความว่า ในอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. ในอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. บทว่า จกฺขุฺจ ปชานาติ รู้ชัดจักษุ ความว่าย่อมรู้ ชัดจักษุประสาท โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. บทว่า รูเป จ ปชานาติ รู้ชัดรูป ความว่า ย่อมรู้ชัดรูปอันเกิดแต่ ๔ สมุฏฐาน (กรรม อุตุ จิต อาหาร) ในภายนอกโดยลักษณะ พร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. คําว่า ยฺจ ตทุภยํ ปฏิจฺจอุปฺปชฺชติ สํโยชนํ สังโยชน์ย่อมอาศัย อายตนะทั้งสองเกิดขึ้น ความว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง คือ กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรมาส ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะและอวิชชา สังโยชน์ เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะทั้งสอง คือจักษุ กับรูป. และย่อมรู้ชัดสังโยชน์ ๑๐ นั้น โดย ลักษณะพร้อมด้วยกิจตามเป็นจริง.

เหตุเกิดสังโยชน์

ถามว่า ก็สังโยชน์นั้นเกิดได้อย่างไร. ตอบว่า เกิดได้อย่างนี้ จะกล่าว ในจักษุทวารก่อน เมื่อบุคคลยินดี. เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ อันมาปรากฏทางจักษุ

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 329

ทวารโดยความยินดีในกามสังโยชน์คือ กามราคะก็เกิด. เมื่อบุคคลขัดเคืองในอนิฏฐารมณ์ สังโยชน์คือ ปฏิฆะก็เกิด. เมื่อสําคัญว่า ยกเว้นเราเสีย ใครอื่น ที่สามารถเสวยอารมณ์นั้นไม่มี ดังนี้ สังโยชน์คือ มานะก็เกิด. เมื่อยึดถือ รูปารมณ์นั้นว่า เที่ยง ยั่งยืน สังโยชน์ คือทิฏฐิ ก็เกิด. เมื่อสงสัยรูปารมณ์นั้นว่า สัตว์หรือหนอ ของสัตว์หรือหนอ สังโยชน์คือ วิจิกิจฉาก็เกิด เมื่อปรารถนาภพว่า อารมณ์นี้เราได้โดยง่าย ในสมบัติภพแน่ สังโยชน์คือ ภวราคะก็เกิด. เมื่อถือมั่นศีลและพรตว่า เราถือมั่นศีลและพรต อาจได้อารมณ์เห็นปานนี้ต่อไปอีก สังโยชน์คือ สีลัพพตปรามาสก็เกิด. เมื่อเกลียดกันอยู่ว่า คนเหล่าอื่น ไม่พึงได้รูปารมณ์เห็นปานนี้กันเลย สังโยชน์คือ อิสสาก็เกิด. เมื่อหวงแหน รูปารมณ์ที่ตนได้แล้ว ต่อผู้อื่น สังโยชน์คือ มัจฉริยะก็เกิด เมื่อไม่รู้แจ้ง ด้วยอํานาจความไม่รู้ สิ่งซึ่งเกิดพร้อมกับจักษุและรูปทั้งมวล สังโยชน์คือ อวิชชาก็เกิด.

ความรู้เหตุละสังโยชน์

คําว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสส ที่ยังไม่เกิดด้วยเหตุใดความว่า สังโยชน์ แม้ ๑๐ อย่างนั้น ที่ยังไม่เกิด โดยความไม่ฟุ้งขึ้น ย่อมเกิดเพราะเหตุใด ย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย. คําว่า ยถา จ อุปฺปนฺนสฺส ที่เกิดแล้วเพราะเหตุใด ความว่า สังโยชน์แม้ ๑๐ อย่างนั้น ที่เกิดแล้ว เพราะอรรถว่า ยังละไม่ได้ หรือเพราะฟุ้งขึ้น ย่อมละได้ เพราะเหตุใด ย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย. คําว่า ยถา จ ปหีนสฺส ที่ละได้แล้ว เพราะเหตุใด ความว่าสังโยชน์ ๑๐ อย่างนั้น แม้ละได้แล้ว โดยตทังคปหาน และวิกขัมภนปหาน ย่อมไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด ย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย. ถามว่า สังโยชน์ ๑๐ นั้น

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 330

ไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด. ตอบว่าก่อนอื่น สังโยชน์ ๕ คือ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา และมัจฉริยะ ไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค. สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะอย่างหยาบ ไม่เกิดต่อไปด้วย สกทาคามิมรรค. อย่างละเอียด ไม่เกิดต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค. สังโยชน์ ๓ คือ มานะ ภวราคะ และอวิชชา ไม่เกิดต่อไปด้วย อรหัตตมรรค. แม้ในคําว่า โสตฺ จ ปชานาติ สทฺเท จ ย่อมรู้ชัดโสตะนั้นด้วย เสียงด้วย เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง อายตนกถา ในที่นี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่ท่าน กล่าวไว้แล้ว ในอายตนนิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค.

คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํ วา หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ของตนด้วยการกําหนดอายตนะภายใน ในธรรมทั้งหลาย ของคนอื่น ด้วยการกําหนดอายตนะภายนอก หรือในธรรมทั้งหลาย ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล อย่างนี้อยู่. ก็ความเกิดและความเสื่อมในอายตนบรรพนี้ พึงนํามาเทียบรูปายตนะลงในรูปขันธ์ มนายตนะในอรูปายตนะทั้งหลายลงในวิญญาณขันธ์ ธัมมายตนะลงในขันธ์ที่เหลือ ไม่พึงถือว่าโลกุตตรธรรม. ข้อความต่อจากนี้ มีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล.

สติกําหนดอายตนะเป็นอริยสัจ ๔

ในบรรพนี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติกําหนดอายตนะเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้ เป็นต้นแล้ว พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําทุกข์ออกไป ของภิกษุผู้กําหนด อายตนะเป็นอารมณ์. คําที่เหลือก็เช่นกันแล.

จบอายตนบรรพ

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 331

โพชฌงคบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกธัมมานุปัสสนา โดยอายตนะภายใน ภายนอก อย่างละ ๖ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดย โพชฌงค์ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่งดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในโพชฌงค์ทั้งหลาย คือในองค์ของ สัตว์ผู้ตรัสรู้. บทว่า มีอยู่ คือมีพร้อมอยู่ โดยการได้มา. บทว่า สติสัมโพชฌงค์ ได้แก่ สัมโพชฌงค์ กล่าวคือ สติ. พึงทราบวินิจฉัย ในคําว่า สัมโพชฌงค์นี้ ดังนี้ พระโยคาวจรตรัสรู้จําเดิมแต่เริ่มวิปัสสนา หรือพระโยคาวจรนั้น ตื่นลุกขึ้นจากกิเลสนิทรา หรือแทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยธรรม สามัคคี ๗ มีสติ เป็นต้นอันใด ธรรมสามัคคีอันนั้น ชื่อว่า สัมโพธิ องค์ของผู้ตื่นนั้น หรือธรรมสามัคคีเครื่องปลุกให้ตื่นนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า สัมโพชฌงค์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สัมโพชฌงค์ กล่าวคือ สติ. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือ ก็พึงทราบความแห่งคําตามนัยนี้แล. บทว่า ไม่มีอยู่ คือ ไม่มี เพราะไม่ได้มา.

วินิจฉัย ในคําว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ที่ยังไม่เกิด เพราะเหตุใด เป็นต้น ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่น สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในสติสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือ เป็นทางไพบูลย์จําเริญบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ในธรรมเหล่านั้น สตินั้นแหละ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล. เมื่อภิกษุทําโยนิโสมนสิการนั้น ให้เป็นไปมากๆ ในอารมณ์นี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ก็เกิด.

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 332

ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ ๑. สติสัมปชัญญะ ๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๓. การคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง ๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.

ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ด้วยสติสัมปชัญญะในฐานทั้ง ๗ มีก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เช่นเดียวกับกาตัวเก็บอาหาร ด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง เช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระ และพระอภัยเถระ เป็นต้น และด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไป เพื่อตั้งสติในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็สติสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยเหตุ ๔ ประการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ฯลฯ ธรรมที่เปรียบด้วยธรรมฝ่ายดํา และฝ่ายขาวมีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์คือ ๑. การสอบถาม ๒. การทําวัตถุให้สละสลวย ๓. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ําเสมอกัน ๔. เว้นบุคคลมีปัญญาทราม ๕. คบหาบุคคล

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 333

ผู้มีปัญญา ๖. พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ๗. ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น.

บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากไปด้วยการสอบถาม อันอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์มรรค องค์ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า การสอบถาม.

การทําวัตถุภายใน และภายนอกให้สละสลวย ชื่อว่าการทําวัตถุให้สละสลวย. ก็เวลาใด ภิกษุมีผม เล็บ และขนยาวเกินไป หรือร่างกายสกปรก เปรอะเปื้อนด้วยเหงื่อและไคล เวลานั้น วัตถุภายใน (คือร่างกาย) ไม่สละสลวย ไม่สะอาด. แต่ในเวลาใดจีวรเก่าคร่ําคร่า สกปรก เหม็นสาบ หรือเสนาสนะรกรุงรัง ในเวลานั้น วัตถุภายนอกไม่สละสลวย ไม่สะอาด. เพราะฉะนั้น จึงควรทําวัตถุภายในให้สละสลวย ด้วยกิจมีการปลงผม เป็นต้น ด้วยการทําร่างกาย ให้เบาสบาย ด้วยกิจมีการถ่ายชําระมลทิน ให้ทั่วทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเป็นต้น และด้วยการขัดสี อาบน้ำบรรเทากลิ่นเหม็น. พึงทําวัตถุภายนอกให้สละสลวย ด้วยกิจมีการเย็บ ย้อม ซักจีวร และทําการรมบาตร เป็นต้น. เพราะเมื่อวัตถุภายใน และภายนอกนั้นไม่สละสลวย เมื่อจิตและเจตสิกเกิดขึ้น แม้ปัญญาก็ไม่ผ่องแผ้ว เหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยตัวตะเกียงไส้ และน้ำมันที่ไม่สะอาดหมดจดฉะนั้น แต่เมื่อวัตถุภายใน และภายนอกสละสลวย เมื่อจิตและเจตสิกเกิดขึ้น แม้ปัญญาก็ผ่องแผ้ว เหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยตัวตะเกียง ไส้ และน้ำมัน ที่สะอาดหมดจด ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทําวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็นไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 77  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 334

การทําปรับปรุงอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น ให้สม่ําเสมอกัน ชื่อว่า การทําปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ําเสมอ. ด้วยว่า ถ้าอินทรีย์คือศรัทธาของเธอมีกําลังกล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน แต่นั้นอินทรีย์คือวิริยะ ก็ไม่อาจทํากิจ คือการประคองจิตได้ อินทรีย์คือสติก็ไม่อาจทํากิจ คือการปรากฏ อินทรีย์คือสมาธิก็ไม่อาจทํากิจ คือความไม่ฟุ้งซ่าน อินทรีย์คือปัญญาก็ไม่อาจทํากิจ คือการเห็นได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมนสิการถึงอินทรีย์คือศรัทธานั้น ด้วยการพิจารณา สภาวธรรม หรือโดยประการใด อินทรีย์คือศรัทธามีกําลังกล้า พึงลดลงด้วย การไม่มนสิการโดยประการนั้น. ในข้อนี้ มีเรื่องท่านพระวักกลิเถระ เป็นอุทาหรณ์. ถ้าอินทรีย์คือวิริยะมีกําลังกล้า เมื่อเป็นเช่นนั้น อินทรีย์คือศรัทธาก็ไม่อาจทํากิจ คือการน้อมใจเชื่อได้ อินทรีย์นอกนี้ ก็ไม่อาจทํากิจคือหน้าที่ต่างๆ ของตนได้ เพราะฉะนั้น จึงควรลดอินทรีย์คือวิริยะนั้นลง ด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น. แม้ในข้อนั้น พึงแสดงเรื่องท่านพระโสณเถระเป็นอุทาหรณ์. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็เหมือนกัน เมื่ออินทรีย์อย่างหนึ่ง มีกําลังกล้า ก็พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่สามารถในกิจ คือหน้าที่ของตนได้. แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องอินทรีย์นี้ ท่านสรรเสริญศรัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ ต้องเสมอกัน. เพราะผู้มีศรัทธากล้า แต่มีปัญญาอ่อน มีความเลื่อมใสแรง ย่อมเลื่อมใสไปนอกเรื่อง. มีปัญญากล้า แต่มีศรัทธาอ่อน ย่อมฝักใฝ่ไปข้างเกเร เหมือนโรคเกิดเพราะผิดยา แก้ไขไม่ได้ฉะนั้น. ผู้มีปัญญากล้า ก็โลดแล่นเขวไปว่า กุศลมิได้ด้วยเพียงจิตตุปบาท ใจคิดขณะหนึ่งเท่านั้น ดังนี้แล้ว ก็ไม่ทําบุญ มีทาน เป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. เพราะอินทรีย์คือศรัทธากับปัญญาทั้งสองเสมอกัน จึงเลื่อมใสในวัตถุ คือพระรัตนตรัยอย่างเดียว. แต่สมาธิกล้าวิริยะอ่อน โกสัชชะความเกียจคร้าน ย่อมครอบงําได้ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. วิริยะกล้าสมาธิอ่อน อุทธัจจะ

 
  ข้อความที่ 78  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 335

ย่อมครอบงําได้ เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ แต่สมาธิอันวิริยะเข้าประกบไว้ ย่อมไม่ตกไปในโกสัชชะ วิริยะอันสมาธิเข้าประกบไว้ ก็ไม่ตกไปในอุทธัจจะ. เพราะฉะนั้น จึงควรทําอินทรีย์สองคู่นั้นให้เสมอเท่าๆ กัน. ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะอินทรีย์สองคู่เสมอกัน. อีกอย่างหนึ่ง ศรัทธาแม้มีกําลังกล้า ก็ควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. เพราะผู้เจริญสมาธิ เชื่อมมั่นหยั่งลงมั่นอย่างนี้ จักบรรลุอัปปนาได้ ส่วนในสมาธิกับปัญญา เอกัคคตา ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีกําลังกล้า ย่อมควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. ด้วยว่าผู้เจริญสมาธินั้น ย่อมบรรลุอัปปนาได้ ด้วยเอกัคคตาอย่างนี้. ปัญญามีกําลังกล้า ย่อมควรแก่ผู้เจริญวิปัสสนา. ด้วยว่าผู้เจริญวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความแทงตลอดไตรลักษณ์ ด้วยปัญญาอย่างนี้. แต่อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะศรัทธากับปัญญา ทั้งสองเสมอกันโดยแท้. ส่วนสติมีกําลังแล้ว ย่อมควรในที่ทั้งปวง. เพราะว่า สติย่อมรักษาจิตมิให้ตกไปในอุทธัจจะ ด้วยอํานาจศรัทธา วิริยะ ปัญญา ซึ่งเป็นฝ่ายอุทธัจจะ มิให้ตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. เพราะฉะนั้น สตินั้น จึงจําต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนการปรุงรสด้วยเกลือ จําปรารถนาในการปรุงอาหารทุกอย่าง และเหมือนอํามาตย์ผู้ชํานาญในราชกิจทุกอย่าง จําปรารถนาในราชกิจ ทุกอย่างฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สติจําปรารถนาในที่ทั้งปวง เพราะเหตุไร เพราะจิตมีสติเป็นที่อาศัย และสติมีการอารักขาเป็นที่ปรากฏ เว้นสติเสียแล้วจะประคอง และข่มจิตไม่ได้เลย.

การเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม ไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภทแห่งธรรม มีขันธ์ เป็นต้น ให้ห่างไกล ชื่อว่า การงดเว้นบุคคลทรามปัญญา. การคบหาบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญารอบรู้ ความเกิดและความเสื่อมแห่งสภาวธรรม อันกําหนดด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วน ชื่อว่า คบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้ง ที่เป็นไปในสภาวธรรมทั้งหลายมีขันธ์ เป็นต้น อัน

 
  ข้อความที่ 79  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 336

ลุ่มลึก ชื่อว่า การพิจารณาสอดส่องด้วยปัญญอันลึกซึ้ง. ความเป็นผู้มีจิตอันโน้มน้อมไปเพื่อตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ชื่อว่าความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ที่เกิดด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

วิริยสัมโพชฌงค์

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารภธาตุ (ธาตุ คือ ความเริ่ม ความเพียร) นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ (ธาตุ คือ ความเพียรก้าวไปข้างหน้า) มีอยู่ การทําให้มาก ซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุทั้ง ๓ นั้น นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นไปเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่ง วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย ๒. การเห็นอานิสงส์ ๓. การพิจารณาวิถีทางดําเนิน ๔. ความเคารพยําเกรงในบิณฑบาต ๕. การพิจารณาความเป็นใหญ่แห่งการรับทรัพย์มรดก ๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่ ๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่ ๘. การพิจารณาความมีสพหมจารีเป็นใหญ่ ๙. การงดเว้นบุคคลเกียจคร้าน ๑๐. การคบหาบุคคล ผู้ปรารภความเพียร ๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 80  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 337

๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย

บรรดาธรรม ๑๑ ประการนั้น เมื่อภิกษุผู้เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ แม้พิจารณาเห็นภัยในอบายอย่างนี้ว่า ใครๆ ไม่อาจยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้เกิดได้ ในเวลาที่เสวยทุกข์ใหญ่จําเดิมแต่ถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจํา ๕ ประการในนรกก็ดี ในเวลาที่ถูกเขาจับด้วยเครื่องจับมีข่ายแห และอวนเป็นต้นบ้าง ในเวลาขับต้อนทิ่มแทงด้วยเครื่องประหาร มีปะฏัก เป็นต้น ให้ลากเกวียนบ้าง ในกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ในเวลาที่ทุรนทุราย ด้วยความหิวกระหายตั้งหลายพันปีบ้าง พุทธันดรหนึ่งบ้าง ในเปรตวิสัยก็ดี ในเวลาที่ต้องเสวยทุกข์อันเกิดแต่ลมและแดด เป็นต้น ด้วยเรือนร่างที่สูงประมาณ ๖๐ ศอก ๘๐ ศอก เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ในจําพวกกาลกัญชิกอสูรก็ดี ดูก่อนภิกษุ เวลานี้เท่านั้น เป็นเวลาทําความเพียรของเธอ ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นได้.

๒. การเห็นอานิสงส์

เมื่อเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านไม่อาจได้โลกุตตรธรรม ๙ คนที่ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงสามารถ นี้เป็นอานิสงส์ของความเพียร ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดได้.

๓. การพิจารณาวิถีทางดําเนิน

เมื่อพิจารณาวิถีทางดําเนินอย่างนี้ว่า ควรดําเนินทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวกทุกพระองค์ดําเนินไปแล้ว ทางนั้น คนเกียจคร้านไม่อาจเดินไปได้ ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมเกิดได้.

 
  ข้อความที่ 81  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 338

๔. การเคารพยําเกรงต่อบิณฑบาต

เมื่อพิจารณาความเคารพยําเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า มนุษย์เหล่าใด บํารุงเธอด้วยปัจจัยมีบิณฑบาต เป็นต้น มนุษย์เหล่านั้นนี้ ก็ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ทาส และคนงานของเธอเลย ทั้งมนุษย์เหล่านั้น ก็มิใช่ถวายปัจจัย มีจีวร เป็นต้น อันประณีตแก่เธอด้วยคิดว่า จักอาศัยเธอเลี้ยงชีวิตโดยที่แท้ เขาหวังให้อุปการะ ที่ตนทําแล้วมีผลมาก จึงถวาย แม้พระศาสดาก็มิได้ทรงพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้ว จักมีร่างกายแข็งแรงมากอยู่เป็นสุข ดังนี้ แล้วทรงอนุญาตปัจจัยแก่เธอโดยที่แท้ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ภิกษุ บริโภคปัจจัยเหล่านี้ บําเพ็ญสมณธรรม จักพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ ดังนี้ จึงทรงอนุญาตปัจจัยไว้ เดี๋ยวนี้เธอเกียจคร้านอยู่ ไม่เคารพยําเกรงบิณฑบาตนั้น ขึ้นชื่อว่า การเคารพยําเกรงต่อบิณฑบาต ย่อมมีแก่ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เกิดได้ เหมือนวิริยสัมโพชฌงค์ เกิดแก่ท่านพระมหามิตตเถระ ฉะนั้น.

เรื่องพระมหามิตตเถระ

เล่ากันว่า พระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อ กสกะ. และมหาอุบาสิกาผู้หนึ่ง ในบ้านเป็นที่โคจรของท่าน บํารุงพระเถระเหมือนบุตร. วันหนึ่ง นางจะไปป่า จึงสั่งลูกสาวว่า ลูก ข้าวสารเก่าอยู่โน้น น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย อยู่โน้น เวลาที่พระเป็นเจ้ามิตตะ พี่ชายของเจ้ามาแล้ว จงปรุงอาหารถวายพร้อมด้วยน้ำนม เนยใส และน้ำอ้อย ด้วยนะลูก. ลูกสาวถามว่า ก็แม่จะรับประทานไหมจะ. มหาอุบาสิกาตอบว่า ก็เมื่อวานนี้ แม่รับประทานอาหารสําหรับค้างคืน (ปาริวาสกภัต) ที่ปรุงกับน้ำส้มแล้วนี้จะ. ลูกสาวถามว่า แม่จักรับประทาน กลางวันไหมจะ. มหาอุบาสิกาสั่งว่า เจ้าจงใส่ผักดองแล้ว เอาปลายข้าวสาร

 
  ข้อความที่ 82  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 339

ต้มข้าวต้มมีรสเปรี้ยวเก็บไว้ให้เถอะลูก. พระเถระครองจีวรแล้ว กําลังนําบาตรออก (จากถลก) ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ก็สอนตนเองว่าได้ยินว่า มหาอุบาสิกา รับประทานแต่อาหาร สําหรับค้างคืนกับน้ำส้ม แม้กลางวันก็จักรับประทาน ข้าวต้มเปรี้ยวใส่ผักดอง นางบอกอาหารมีข้าวสารเก่า เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่เธอ ก็มหาอุบาสิกานั้น มิได้หวังที่นา ที่สวน อาหาร และผ้า เพราะอาศัยเธอเลย แต่ปรารถนาสมบัติ ๓ ประการ (มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงถวาย เธอจักสามารถให้สมบัติเหล่านั้น แก่มหาอุบาสิกานั้น ได้หรือไม่เล่า ดังนี้ ท่านคิดว่า บิณฑบาตนี้แล เธอยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่ ไม่อาจรับได้ ดังนี้แล้ว ก็เก็บบาตรเข้าถลก ปลดดุมจีวร กลับไปถ้ำกสกะเลย เก็บบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวร นั่งลงอธิษฐานความเพียรว่า เราไม่ บรรลุพระอรหัต จักไม่ออกไปจากถ้ำดังนี้. ภิกษุผู้ไม่ประมาทอยู่มาช้านาน เจริญวิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัต ก่อนเวลาอาหารเช้า เป็นพระมหาขีณาสพ (สิ้นอาสวะแล้ว) นั่งยิ้มอยู่ เหมือนดอกปทุมที่กําลังแย้ม ฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า

นโม เต ปุริสาชฺ นโม เต ปุริสุตฺตม

ยสฺส เต อาสวา ขีณา ทกฺขิเณยฺโยสิ มาริส

ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ท่านยอดบุรุษ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ดังนี้

แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พวกหญิงแก่ ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย เช่น ท่านผู้เข้าไปบิณฑบาต จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 83  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 340

พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตร และจีวรเข้าสู่หมู่บ้าน ฝ่ายเด็กหญิง. จัดเตรียมอาหารเสร็จแล้ว นั่งคอยดูอยู่ตรงประตู ด้วยนึกว่า ประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมา ประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมา. เมื่อพระเถระมาถึงประตูเรือนแล้ว เด็กหญิงนั้นก็รับบาตร บรรจุเต็มด้วยอาหาร เจือน้ำนมที่ปรุงด้วยเนยใส และน้ำอ้อยแล้ว วางไว้บนมือ (ของพระเถระ). พระเถระทําอนุโมทนาว่า จงมีสุขเถิดแล้วก็หลีกไป. เด็กหญิงนั้นยืนจ้องดูท่านอยู่แล้ว. ความจริง ในคราวนั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์ยิ่งนัก อินทรีย์ ผ่องใส หน้าของท่านเปล่งปลั่งยิ่งนัก ประดุจผลตาลสุกหลุดออกจากขั้ว ฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่าถามว่า พี่ชายของเจ้ามาแล้วหรือลูก เด็กหญิงนั้นก็ เล่าเรื่องทั้งหมดให้มารดาฟัง. มหาอุบาสิกาก็รู้ได้ว่า วันนี้ บรรพชิตกิจแห่งบุตรของเรา ถึงที่สุดแล้ว จึงกล่าวว่า ลูก พี่ชายของเจ้ายินดียิ่งนักในพระพุทธศาสนา ไม่กระสัน (อยากสึก) แล้วละดังนี้.

๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่

เมื่อพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็ทรัพย์มรดกของ พระศาสดามีมากแล คือ อริยทรัพย์ ๗ ประการ ทรัพย์มรดกนั้นผู้เกียจคร้าน ไม่อาจรับได้ เหมือนอย่างว่ามารดาบิดา ย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิด ทําให้เป็นคนภายนอกว่า คนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไป เขาก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดก ฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดก คือ อริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น ย่อมได้รับดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้.

 
  ข้อความที่ 84  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 341

๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่

เมื่อพิจารณาความมีพระศาสดา เป็นใหญ่อย่างนี้ว่า พระศาสดาของเธอเป็นใหญ่ เพราะในเวลา ที่พระศาสดาของเธอ ทรงถือปฏิสนธิ ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี เวลาเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี เวลาตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณก็ดี เวลาประกาศพระธรรมจักร แสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากเทวโลก และทรงปลงอายุสังขารก็ดี เวลาเสด็จดับขันธปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหวแล้ว เธอบวชในพระศาสนาของศาสดาเห็นปานฉะนั้นแล้ว เป็นคนเกียจคร้าน ควรแล้วหรือดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่

เมื่อพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า แม้โดยชาติ บัดนี้ เธอไม่ใช่คนมีชาติต่ําแล้วล่ะ เธอชื่อว่าเกิดแล้วในวงศ์ของพระเจ้าอุกกากราช ที่สืบทอดกันมาโดยมหาสมมตประเพณี ไม่เจือปนกับชนชาติอื่น เป็นพระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช และพระนางเจ้ามหามายาเทวี เป็นพระอนุชาของท่านพระราหุลพุทธชิโนรส ขึ้นชื่อว่าเธอ เป็นพุทธชินบุตรเห็นปานฉะนี้แล้ว อยู่อย่างคนเกียจคร้านไม่สมควร ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้.

๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่

เมื่อพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ท่านพระโมคคัลลานะ และพระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป แทงตลอด (ตรัสรู้) โลกุตตรธรรม ด้วยความเพียรกันทั้งนั้น เธอจะดําเนินตามทางของสพรหมจารีเหล่านั้น หรือไม่ดําเนินตามเล่าดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.

 
  ข้อความที่ 85  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 342

๙. การงดเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน

๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร

๑๑. ความน้อมจิตไป ในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น

เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้สละความเพียรทางกาย และทางใจ ซึ่งเป็นเหมือนงูเหลือมกินเต็มท้อง แล้วก็หยุดอยู่กับที่ก็ดี คบหาบุคคล ผู้ปรารภความเพียร ผู้อุทิศตนมุ่งปฏิบัติธรรมก็ดี มีจิตโน้มน้อมโอนไป เพื่อให้ความเพียรเกิดขึ้น ในอิริยาบถทั้งหลายมี ยืน นั่ง เป็นต้น ก็ดี วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า วิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

ปีติสัมโพชฌงค์

ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดโดยนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นอาหาร เพื่อความเกิดแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด แล้วดังนี้. ปีตินั้นเองชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ ในบาลีนั้น. มนสิการอันยังปีตินั้นให้เกิด ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.

ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นทางเกิด ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ๑. พุทธานุสสติ ๒. ธัมมานุสสติ ๓. สังฆานุสสติ ๔. สีลานุสสติ ๕. จาคานุสสติ ๖. เทวานุสสติ ๗. อุปสมานุสสติ ๘. เว้นบุคคลผู้เศร้าหมอง ๙. คบหาบุคคลผู้หมดจด ๑๐. การพิจารณาความในพระสูตร เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส ๑๑. ความน้อมจิตไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 86  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 343

จริงอยู่ ผู้เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ปีติสัมโพชฌงค์แผ่ซ่านทั่วสรีระจนกระทั่งอุปจารสมาธิ ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อระลึกถึงคุณพระธรรม และพระสงฆ์ก็ดี พิจารณาปาริสุทธิศีล ๔ ที่ตนรักษาไม่ขาดวิ่น เป็นเวลานานก็ดี แม้คฤหัสถ์พิจารณาศีล ๑๐ ศีล ๕ ก็ดี พิจารณาจาคะ การบริจาคว่า ในเวลาประสบทุพภิกขภัย เป็นต้น เราถวายโภชนะอันประณีตแก่สพรหมจารีทั้งหลาย แล้วถวายโภชนะชื่ออย่างนี้ ดังนี้ก็ดี แม้คฤหัสถ์พิจารณาถึงทาน ที่ถวายแก่ท่านผู้มีศีล ในเวลาเห็นปานนั้นก็ดี พิจารณาถึงคุณ เช่นกับที่ เทวดาประกอบแล้ว ถึงความเป็นเทวดาว่า มีอยู่ในตนก็ดี พิจารณาเห็นว่า กิเลสที่ข่มได้แล้ว แม้ด้วยสมาบัติตลอด ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง ไม่ฟุ้งกําเริบ ดังนี้ก็ดี เว้นบุคคลเศร้าหมองผู้มีความหม่นหมองอันสร้างสมไว้ เพราะไม่ทําโดยเคารพ ในเวลาเห็นพระเจดีย์ เห็นโพธิพฤกษ์และเห็นพระเถระ ผู้เป็นเช่นกับละอองธุลีบนหลังลา เพราะไม่มีความเลื่อมใสรักใคร่ในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี ส้องเสพบุคคลผู้หมดจด ผู้มากด้วยความเลื่อมใสมี จิตอ่อนโยนในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี พิจารณาความในพระสูตร อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ซึ่งแสดงคุณของพระรัตนตรัยก็ดี มีจิตโน้มน้อมโอนไป เพื่อให้เกิดปีติ ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ปีติสัมโพชฌงค์นั้น ซึ่งเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ ด้วยอรหัตตมรรค.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดโดยนัยที่มาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กายปัสสัทธิ ความสงบกาย

 
  ข้อความที่ 87  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 344

จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิตมีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความสงบกาย และความสงบจิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ที่เกิดแล้วดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่งธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นทางเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ๑. เสพโภชนะอันประณีต ๒. เสพฤดูเป็นที่สบาย ๓. เสพอิริยาบถเป็นที่สบาย ๔. ประกอบความเป็นกลาง ๕. เว้นบุคคลผู้ไม่สงบกาย ๖. เสพบุคคลผู้สงบกาย ๗. น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น.

จริงอยู่ ผู้เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อบริโภคโภชนะเป็นที่สบาย อันประณีตหมดจดก็ดี. เสพฤดูเป็นที่สบาย ไม่ว่าจะเป็นฤดูหนาว ฤดูร้อน เสพอิริยาบถ เป็นที่สบายไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถ ยืน เป็นต้น ก็ดีย่อมเกิดความสงบได้. แต่คํานั้น ท่านมิได้กล่าวหมายถึงบุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ ซึ่งทนฤดู และอิริยาบถเป็นที่สบาย. เมื่อผู้ที่มีฤดู และอิริยาบถที่ถูกกัน และไม่ถูกกัน เว้นฤดูและอิริยาบถที่ไม่ถูกกันเสียแล้ว เสพฤดูและอิริยาบถที่ถูกกัน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้. การพิจารณาถึงความที่ตน และคนอื่นมีกรรมเป็นของๆ ตน เรียกว่า ประกอบความเป็นกลาง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ด้วย ประกอบความเป็นกลางอันนี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้มีกายไม่สงบ เช่น เที่ยวเบียดเบียนสัตว์อื่น ด้วยเครื่องประหาร มีก้อนดิน และท่อนไม้ เป็นต้นก็ดี เสพบุคคลผู้มีกายสงบ สํารวมมือเท้าก็ดี มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ในอิริยาบถ มียืน นั่ง เป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค

 
  ข้อความที่ 88  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 345

สมาธิสัมโพชฌงค์

สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต) อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่า สมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.

ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ๑. ทําวัตถุให้สละสลวย ๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ําเสมอ ๓. ฉลาดในนิมิต ๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๖. ทําจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย ๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑๐. พิจารณาและวิโมกข์ ๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.

อธิบายธรรม ๑๑ ประการ

ในธรรม ๑๑ ประการนั้น เฉพาะการทําวัตถุให้สละสลวย และการปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ําเสมอ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล.

 
  ข้อความที่ 89  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 346

ความฉลาดในการกําหนดกสิณนิมิต เป็นอารมณ์ ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. การประคองจิตไว้ ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตหดหู่ เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็นต้น ชื่อว่า ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.

การข่มจิตไว้ ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไป เป็นต้น ชื่อว่าข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.

คําว่า ทําจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่มชื่น เพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมัยนั้น ก็จิตให้สลด ด้วยพิจารณาสังเวควัตถุ เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ. เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ ๑. ชาติ ๒. ชรา ๓. พยาธิ ๔. มรณะ ๕. ทุกข์ในอบาย ๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล ๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล ๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล. อนึ่งการทําความเลื่อมใสให้เกิด ด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันนี้ก็เรียกว่า การทําจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.

ชื่อว่า เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย อธิบายว่า สมัยใดจิตอาศัยการปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มชื่น เป็นไปสม่ําเสมอในอารมณ์ ดําเนินในสมถวิถี สมัยนั้นไม่ต้องขวนขวายในการประคอง ข่มและทําจิตให้ร่าเริง เหมือนสารถี ไม่ต้องขวนขวาย ในเมื่อม้าวิ่งเรียบ ฉะนั้น อันนี้เรียกว่า เพ่งเฉย ในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.

การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระ หรืออัปปนา ให้ห่างไกล ชื่อว่า เว้นบุคคลผู้มีจิต ไม่เป็นสมาธิ.

 
  ข้อความที่ 90  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 347

การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา ชื่อว่า คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.

ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไป เพื่อให้เกิดสมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้น ชื่อว่า น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.

ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดได้. เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

อุเบกขาสัมโพชฌงค์

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดได้ตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทําให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความเจริญไพบูลย์บริบูรณ์เต็มที่ แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้. ก็ในธรรมเหล่านั้น อุเบกขา นั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ๑. วางตนเป็นกลางในสัตว์ ๒. วางตนเป็นกลางในสังขาร ๓. เว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์ และสังขาร ๔. คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์ และสังขาร ๕. น้อมจิตไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น.

 
  ข้อความที่ 91  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 348

อธิบายธรรม ๕ ประการ

ในธรรม ๕ ประการนั้น ผู้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมตั้งการวางตนเป็นกลางในสัตว์ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยการพิจารณาถึงความที่ตน และผู้อื่นมีกรรมเป็นของๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมาด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตน แม้เขาก็มาด้วยกรรมของตน (เขา) จักไปด้วยกรรมของตน (เขา) เหมือนกัน ท่านจะยึดถืออะไรกัน ดังนี้ และด้วยการพิจารณาถึงความไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่า เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ที่ว่าสัตว์ๆ มันไม่มี ท่านจะยึดอะไร กันเล่าดังนี้.

ตั้งการวางตนเป็นกลางในสังขาร ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยการพิจารณาโดยความเป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้ว่า จีวรนี้จักเข้าถึงความเปลี่ยนสี และความเก่าคร่ําคร่า เป็นผ้าเช็ดเท้า ต้องเขี่ยทิ้งด้วยปลายไม้เท้า ก็ถ้าว่าจีวรนั้น พึงมีเจ้าของไซร้ เขาก็ไม่พึงให้มันเสียหายอย่างนี้ ดังนี้ และด้วยการพิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราว อย่างนี้ว่า จีวรนี้อยู่ไม่ได้นาน เป็นของชั่วคราว ดังนี้. แม้ในบริขารมีบาตร เป็นต้น ก็พึงประกอบความเหมือนอย่างในจีวร.

ในข้อว่า เว้นบุคคลผู้ยึดถือในสัตว์ และสังขาร มีวินิจฉัยดังนี้

บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ก็ยึดถือปิยชน มีบุตร ธิดา เป็นต้น ของตน หรือเป็นบรรพชิตก็ยึดถือบรรพชิตมีอันเตวาสิก และผู้ร่วมอุปัชฌาย์กัน เป็นต้น ของตน มัวทํากิจกรรมมีปลงผม เย็บจีวร ซักย้อมจีวร ระบมบาตร เป็นต้น ของชนเหล่านั้นด้วยมือของตนทีเดียว เมื่อไม่เห็นเพียงครู่เดียว ก็บ่นถึงว่า สามเณรรูปโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน เหลียวซ้ายแลขวา เหมือนมฤคตื่นตกใจ ฉะนั้น แม้ผู้อื่นอ้อนวอนขอว่า โปรดส่งสามเณรชื่อโน้นไปช่วย

 
  ข้อความที่ 92  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 349

ปลงผม เป็นต้น สักครู่เถิด ดังนี้ ก็ไม่ยอมให้ ด้วยพูดว่า พวกเราจะไม่ให้ทํา กิจกรรมของตนบ้างหรือ พวกท่านพาเธอไปจะลําบาก ดังนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า ยึดถือสัตว์.

ฝ่ายบุคคลใด ยึดถือบริขารมีจีวร บาตร ถลกบาตร ไม้เท้า เป็นต้น แม้ผู้อื่นจะเอามือจับก็ไม่ให้จับ ถึงขอยืมก็ตอบขัดข้องว่า เราต้องการใช้ทรัพย์ก็ยังไม่ใช้ จักให้พวกท่านได้อย่างไร ดังนี้ บุคคลนี้ชื่อว่า ยึดถือสังขาร.

ฝ่ายบุคคลใด วางตนเป็นกลาง เที่ยงตรงในวัตถุทั้งสองนั้น บุคคล นี้ชื่อว่าวางตนเป็นกลาง ในสัตว์และสังขาร.

เมื่อเว้นไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์ และสังขารเห็นปานฉะนี้ก็ดี คบหาบุคคลผู้วางตนเป็น กลางในสัตว์และสังขารก็ดี มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดอุเบกขา สัมโพชฌงค์ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน นั่ง เป็นต้นก็ดี อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดได้ด้วยประการ ฉะนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.

คําว่า อิติ อชฺฌตฺตํวา หรือภายใน เป็นต้น ความว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย เพราะกําหนดสัมโพชฌงค์ ๗ ของตน หรือของคนอื่น หรือกําหนดสัมโพชฌงค์ ๗ ของตนตามกาล หรือของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็ความเกิด และความเสื่อม (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) พึงทราบด้วยอํานาจความเกิด และความดับ แห่งสัมโพชฌงค์ทั้งหลาย ในโพชฌงคบรรพนี้. ข้อความต่อจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.

สติกําหนดโพชฌงค์เป็นอริยสัจ ๔

แต่ในโพชฌงค์บรรพนี้ มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติกําหนดโพชฌงค์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ เป็นต้น แล้ว

 
  ข้อความที่ 93  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 350

พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กําหนดโพชฌงค์เป็นอารมณ์. คําที่เหลือก็เช่นนั้นเหมือนกัน.

จบโพชฌงคบรรพ

สัจจบรรพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกธัมมานุปัสสนา โดยโพชฌงค์ ๗ ประการ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกสัจจะ ๔ ประการ จึงตรัสว่า ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

อริยสัจ ๔

ในคําเหล่านั้น คําว่า รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น ความว่า รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้น ตัณหาว่า นี้ทุกข์ รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งตัณหาที่มีอยู่ก่อน. อันทําทุกข์นั้นนั่นแล ให้เกิด ให้ปรากฏขึ้น นี้ทุกขสมุทัย รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งความดับคือ หยุดทุกข์ และทุกขสมุทัยทั้งสองว่า นี้ทุกขนิโรธ รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งอริยมรรค อันเป็นเหตุกําหนดรู้ทุกข์ เป็นเหตุละสมุทัย เป็นเหตุทําให้แจ้งนิโรธว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยสัจจะที่เหลือ เว้นกถาว่าด้วย บทภาชนะ แจกบทแห่งทุกข์มีชาติ เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดาร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วเทียว.

อธิบายบทภาชนะ

ชาติ

ส่วนในบทภาชนะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คําว่า กตมา จ ภิกฺขเว ชาติ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ชาติเป็นอย่างไร ความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้ง-

 
  ข้อความที่ 94  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 351

หลาย ก็ชาติอันใด ที่เรากล่าวอย่างนี้ว่า แม้ชาติก็เป็นทุกข์ ชาติอันนั้นเป็นอย่างไร. พึงทราบอรรถในปุจฉาทั้งปวง อย่างนี้. คําว่า ของสัตว์เหล่านั้นๆ อันใดนี้ เป็นคํากําหนดรวมสัตว์ไว้ทั้งหมด โดยไม่มีกําหนดว่า ของเหล่าสัตว์ชื่อนี้. แม้คําว่า ในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้เป็นคํากําหนดรวมหมู่สัตว์ไว้ทั้งหมด. ความเกิดชื่อว่า ชาติ. คําว่า ชาตินี้ เป็นชื่อของขันธ์ที่เกิดจําเพาะทีแรก พร้อมด้วยความเปลี่ยนแปลง. คําว่า สัญชาตินี้ เป็นไวพจน์ (แทน) ของชาตินั่นเอง แต่ประกอบด้วยอุปสรรค. ความเกิดนั่นแล ชื่อว่า โอกฺกนฺติ ก้าวลง ด้วยอรรถว่า ก้าวลง โดยอาการที่เข้าไปโดยลําดับ ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เกิดจําเพาะ ด้วยอรรถว่า เกิดเฉพาะ กล่าวคือ เกิดทั้ง ๔ อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวโดยสมมติ. ส่วนบาลี ขนฺธานํ ปาตุภาโว ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนี้ กล่าวโดยปรมัตถ์. ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นแล ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีขันธ์หนึ่ง เป็นต้นนั่นเอง ไม่ใช่ความปรากฏแห่งบุคคล. แต่เมื่อความปรากฏแห่งขันธ์นั้นมีอยู่. ก็สมมติเรียกกันว่า บุคคลปรากฏดังนี้. คําว่า อายตนานํ ปฏิลาโภ ความได้อายตนะทั้งหลาย ความว่า อายตนะทั้งหลายปรากฏอยู่นั่นแล เป็นอันชื่อว่า ได้มา นั้นชื่อว่า ความได้มาที่กล่าวได้ว่า ความปรากฏแห่งอายตนะเหล่านั้น.

ชรา

ศัพท์ว่า ชรา เป็นศัพท์แสดงถึงสภาพความเป็นเอง. ศัพท์ว่า ชีรณตา แสดงถึงภาวะ คืออาการ. ศัพท์ว่า ขณฺฑิจฺจํ เป็นต้น คือแสดงถึงภาวะเปลี่ยนแปลง จริงอยู่ เวลาเป็นหนุ่มสาว ฟันก็เรียบขาว. ครั้นหง่อมเข้า ฟันเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 95  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 352

ก็เปลี่ยนสีไปโดยลําดับ หลุดตกไปในที่นั้นๆ. อนึ่ง ฟันหัก หมายถึงฟันที่ หลุดร่วง และที่ยังอยู่ ชื่อว่า ขณฺฑิตา. ภาวะแห่งฟันที่หักเรียกว่า ขณฺฑิจฺจํ ความที่ฟันหัก. ผมและขน คร่ําคร่าไปโดยลําดับ ชื่อว่า ผมหงอก. ผมหงอกเกิดพร้อมแล้วแก่บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า มีผมหงอก. ภาวะแห่ง บุคคลผู้มีผมหงอก ชื่อว่า ปาลิจฺจํ ความที่ผมหงอก. เกลียวที่หนังของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะมีเนื้อและเลือดแห้งไปด้วยถูกลม คือ ชราประหาร เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า มีหนังเป็นเกลียว (เหี่ยว). ภาวะแห่งบุคคลผู้มีหนังเป็นเกลียวนั้น ชื่อว่า วลิตฺตจตา ความที่หนังเหี่ยว. ด้วยถ้อยคํามีประมาณเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา ที่เปิดเผย อันปรากฏชัด โดยแสดงความเปลี่ยนแปลง ในฟัน ผม ขน หนัง. ทางไปของลม หรือไฟ จะปรากฏได้ ก็เพราะลมพัดถูกหญ้า หรือต้นไม้ เป็นต้น หักระเนระนาด หรือไฟไหม้ แต่ทางไปของลม และไฟนั้น ก็หาปรากฏไม่ฉันใด ทางไปแห่งชราก็ฉันนั้นเหมือนกันจะปรากฏได้ก็โดยภาวะมีฟันหัก เป็นต้น แห่งอาการ ๓๒ มีฟัน เป็นต้น แม้บุคคลลืมตาดูก็จับไม่ได้ ความคร่ําคร่าแห่งอาการมีฟันหัก เป็นต้น หาใช่ตัวชราไม่ เพราะชราจะพึงรู้ทางจักษุมิได้. แต่เพราะเมื่อถึงชรา อายุเสื่อมไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความเสื่อมไปแห่งอายุ เรียกว่า ชรา. อนึ่ง เพราะเวลาเป็นหนุ่มสาว อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุ เป็นต้น แจ่มใสดี สามารถรับอารมณ์ของคน แม้ที่ละเอียดได้ให้สะดวกทีเดียว เมื่อถึงชรา ก็แก่งอม ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ไม่สามารถรับอารมณ์ของตน แม้ที่หยาบได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส โดยผลใกล้เคียงว่า ความแก่งอมแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เรียกว่า ชรา ดังนี้บ้าง.

 
  ข้อความที่ 96  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 353

มรณะ

ในมรณนิทเทส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ศัพท์ว่า ํ หมายถึง มรณะ เป็นศัพท์แสดง นปุํสกลิงค์ (ไม่ใช่เพศชาย เพศหญิง ทางไวยากรณ์). ในคําว่า ยํ นั้น พึงประกอบความดังนี้ว่า มรณะ ท่านเรียกว่า จุติ เรียกว่า จวนตา. ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า จุติ แสดงถึงสภาพที่เป็นเอง. ศัพท์ว่า จวนตา แสดงถึงภาวะ คือ อาการ. เมื่อบุคคลถึงมรณะแล้ว ขันธ์ทั้งหลายย่อมแตก และหายไป แลไม่เห็น เพราะ ฉะนั้น มรณะนั้น จึงเรียกว่า ความแตก ความหายไป ความมอดม้วย. บทว่า มัจจุมรณะ คือ มัจจุมรณะ มิใช่ขณิกมรณะ (ตายชั่วขณะ). การทํากาละ คือ ตาย ชื่อว่า กาลกิริยา. แม้ทั้งหมดนี้ กล่าวโดยสมมติทั้งนั้น. ส่วนบาลีว่า ขนฺธานํ เภโท นี้ เป็นการกล่าวโดยปรมัตถ์. ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มี ขันธ์หนึ่ง เป็นต้นนั่นเอง มิใช่ความแตกแห่งบุคคล. แต่เมื่อความประชุมพร้อมแห่งขันธ์มีอยู่ ก็สมมติเรียกว่า บุคคลตาย. การทอดทิ้งอัตตภาพ ชื่อว่า การทอดทิ้งซากศพ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลถึงความตาย อัตตภาพก็ตกเป็นเหมือนท่อนไม้ ไร้ประโยชน์ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณะนั้นท่านจึงเรียกว่า การทอดทิ้งซากศพ. ส่วนความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ โดยอาการทั้งปวงก็คือมรณะ. มรณะนั้นนั่นแหละ เรียกว่า สมมติมรณะ. ชาวโลกถือเอาความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เท่านั้น จึงพูดว่า ติสสะ ตาย ผุสสะ ตาย ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 97  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 354

โสกะ

บทว่า พฺยสเนน ด้วยความวิบัติ ความว่า ด้วยความวิบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดาความวิบัติทั้งหลาย มีความวิบัติจากญาติ เป็นต้น. บทว่า ทุกฺขธมฺเมน อันทุกขธรรม ความว่า อันเหตุแห่งทุกข์ มีการฆ่า และจองจํา เป็นต้น. บทว่า ผุฏฺสฺส ถูกต้องแล้ว ได้แก่ ท่วมทับ ครอบงําแล้ว. คําว่า โสกะ ได้แก่ความโศก อันมีความแห้งใจเป็นลักษณะ ย่อมเกิดแก่ บุคคล ในเมื่อถูกความวิบัติ มีความวิบัติจากญาติ เป็นต้น หรือเหตุแห่งทุกข์ มีการฆ่า การจองจํา เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ครอบงําแล้ว. ความเป็นผู้เศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก. ก็ความเศร้าโศกนั้น เกิดขึ้นทําภายในให้แห้ง ให้แห้งผาก เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าความเศร้าใจ ความแห้งใจภายใน ดังนี้.

ปริเทวะ

คนทั้งหลาย ยึดถืออย่างนี้ว่า ลูกหญิงของเรา ลูกชายของเรา ดังนี้ ย่อมคร่ําครวญรําพัน ด้วยความยึดถือนั้น เหตุนั้น ความยึดถือนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุคร่ําครวญ. คนทั้งหลายรําพันยกยอคุณนั้นๆ ด้วยเหตุนั้น เพราะฉะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุรําพัน. ศัพท์ทั้งสอง (อาเทวนา ปริเทวนา) นอกจากอาเทวะ ปริเทวะนั้น เป็นศัพท์แสดงภาวะแห่งความคร่ําครวญ รําพันนั้นนั่นแหละ.

ทุกขโทมนัส

ความทุกข์ อันมีกายประสาท เป็นที่ตั้ง (ที่เกิด) เพราะอรรถว่า ทนได้ยาก ชื่อว่าทุกข์ทางกาย. คําว่า ไม่ชื่นใจ คือ ไม่หวานใจ. คําว่า

 
  ข้อความที่ 98  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 355

ทุกข์ที่เกิดแต่กายสัมผัส คือทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสทางกาย คําว่า เวทนา ที่ไม่น่าชื่นใจ คือ เวทนา ที่ไม่น่าชอบใจ. โทมนัสสัมปยุตกับจิต ชื่อว่า เจตสิก ได้แก่ โทมนัสทางใจ. คําที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้ว ในทุกข์นั่นแล.

อุปายาส

บทว่า อายาโส ได้แก่ ความลําบากทางใจ อันถึงอาการ คือความ ท้อแท้ห่อเหี่ยว. ความคับใจโดยภาวะมีกําลังแรง ชื่อว่า ความคับแค้นใจ. ศัพท์ทั้งสอง (อายาสิตฺตกํ อุปายาสิตฺตํ) นอกจาก อายาสะ และอุปายาสะนั้น เป็นธรรมเนื่องอยู่ในตน ส่องภาวะ ชี้ภาวะ.

การไม่สมควรปรารถนาเป็นทุกข์

บทว่า ชาติธมฺมานํ มีความเกิดเป็นธรรมดา คือมีความเกิดเป็นสภาวะ. สองบทว่า อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ ความปรารถนาย่อมเกิด คือตัณหาย่อมเกิด. คําว่า อโห วต ได้แก่ความปรารถนา. บทว่า น โข ปเนตํ อิจฺฉาย ข้อนั้น ไม่พึงได้ด้วยความปรารถนาแล ความว่าข้อนั้น คือความไม่ต้องมาเกิด เว้นมรรคภาวนาเสีย บุคคลไม่พึงบรรลุได้ด้วยปรารถนา. คําว่า อิทํ ปิ แม้นี้ คือแม้อันนี้. ปิอักษร ในคําว่า อิทมฺปิ หมายถึง บทที่เหลือข้างหน้า. บทว่า ยมฺปิจฺฉํ ปรารถนาสิ่งใด ความว่า บุคคลปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงได้ ย่อมไม่ได้. เพราะธรรมใดความปรารถนาในสิ่งที่ไม่พึงได้นั้น ก็เป็นทุกข์. ทุกๆ บทก็นัยนี้เหมือนกัน. ในขันธนิทเทสมีวินิจฉัย ดังนี้. รูปนั้นด้วยอุปาทานขันธ์ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า รูปูปาทานขันธ์. ทุกๆ ขันธ์ก็พึงทราบอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 99  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 356

สมุทัยอริยสัจ

คําว่า ยายํ ตณฺหา ตัดเป็น ยา อยํ ตณฺหา แปลว่า ตัณหานี้ใด. คําว่า โปโนพฺภวิกา มีวิเคราะห์ว่า การทําภพใหม่ ชื่อว่า ภพใหม่ ภพใหม่นั้น เป็นปกติแห่งตัณหานั้น เหตุนั้น ตัณหานั้น จึงชื่อว่า โปโนพฺภวิกา มีความเกิดอีกเป็นปกติ. คําว่า นนฺทิราคสหคตา ได้แก่ตัณหาที่เกิดร่วมด้วยความกําหนัด ด้วยอํานาจความเพลิดเพลิน. ท่านอธิบายว่า โดยอรรถ ตัณหานั้น ก็เป็นอันเดียวกันกับนันทิราคะนั่นเอง. ในคําเหล่านั้น คําว่า ตตฺรตตฺราภินนฺทินี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ความว่า อัตตภาพ เกิดจําเพาะในที่ใดๆ ตัณหาก็เพลิดเพลินในที่นั้นๆ. อีกนัยหนึ่ง ตัณหามักเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูป เป็นต้น ชื่อว่าในที่นั้นๆ. อธิบายว่า เพลิดเพลินในรูป เพลิดเพลินในเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ นั้นมีความว่า ถ้ามีคําถามว่า ตัณหานั้นเป็นไฉน. ความอยากในกาม ชื่อว่า กามตัณหา. คําว่า กามตัณหานั้น เป็นชื่อของความกําหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ ๕. ความอยากในภพ ชื่อว่า ภวตัณหา. คําว่า ภวตัณหานี้ เป็นชื่อของความกําหนัดในรูปภพ และอรูปภพ อันเกิดพร้อมด้วยสัสสตทิฏฐิ ที่เกิดโดยความปรารถนาภพ และความยินดีในฌาน. ความอยากในวิภพ ชื่อว่า วิภวตัณหา. คําว่า วิภวตัณหานี้ เป็นชื่อของความกําหนัด ที่เกิดพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงวัตถุ ที่ตั้ง ที่เกิดแห่งตัณหานั้น โดยพิสดาร จึงตรัสว่า สา โข ปเนสา ก็ตัณหานี้นั้นแล ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า เกิด. คําว่า นิวีสติ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อยๆ. คําว่า ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ ความว่า

 
  ข้อความที่ 100  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 357

เป็นสภาวะที่รัก และสภาวะที่ชอบใจในโลก. ในคําว่า จกฺขุํ โลเก เป็นต้น มีอธิบายดังนี้ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ถือมั่นในจักษุ เป็นต้น ในโลกโดยความเป็นของๆ เรา ตั้งมั่นอยู่ในสมบัติ ย่อมสําคัญจักษุ (ตา) ของตน อันมีประสาททั้ง ๕ แจ่มใส เหมือนหน้าต่างแก้วมณี อันเผยขึ้นแล้วในวิมานทอง ด้วยทํานองถือเอานิมิตในกระจก เป็นต้น ย่อมสําคัญโสต (หู) เหมือนหลอดเงิน และเหมือนด้ายร้อยสังวาลย์ ย่อมสําคัญฆานะ (จมูก) ที่ได้โวหารเรียกว่า ตุงฺคนาสา (จมูกโด่ง) เหมือนขั้วหรดาลที่เขาปั้นตั้งไว้ ย่อมสําคัญชิวหา (ลิ้น) อันอ่อนสะอาดคอยรับรสอร่อย เหมือนพื้นผ้ากัมพลแดง ย่อมสําคัญกายเสมือนต้นสาละหนุ่ม และเสมือนเสาระเนียดทอง ย่อมสําคัญมนะ (ใจ) อันโอฬาร (ของตน) ไม่เหมือนกับใจของคนอื่นๆ ย่อมสําคัญรูปประหนึ่งว่า มีผิวพรรณดังดอกกรรณิการ์ทอง เป็นต้น ย่อมสําคัญเสียง ประหนึ่ง เสียงนกการะเวก และดุเหว่า ที่น่าคลั่งไคล้ และเสียงกังวานของปีแก้วที่เป่าแผ่วๆ ย่อมสําคัญอารมณ์มีคันธารมณ์ (หอม) เป็นต้น อันมีสมุฏฐาน ๔ ที่ตนได้แล้ว ว่าอารมณ์เห็นปานนี้ ของคนอื่นใครเล่า จะมี. เมื่อสัตว์เหล่านั้นสําคัญอยู่อย่างนี้ จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ก็ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาของสัตว์เหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดก็ย่อมเกิดในจักษุเป็นต้นนั้น และตัณหาที่เกิดแล้ว ก็ย่อมตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อยๆ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า จักษุเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิด ก็เกิด ที่จักษุนั้น ดังนี้เป็นต้น. คําว่า ตตฺถ อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ ความว่า ตัณหานั้น เมื่อเกิดในกาลใด ก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้ในกาลนั้น. ทุกๆ บทก็นัยนี้.

ทุกขนิโรธอริยสัจ

บททั้งปวงมีบทว่า อเสสวิราคนิโรโธ ความดับด้วยสํารอกโดย ไม่เหลือเป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหา

 
  ข้อความที่ 101  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 358

มาถึงพระนิพพานย่อมคลาย ดับไม่เหลือ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น จึงตรัส เรียกว่า ความดับ ด้วยคลายไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นแล. อนึ่ง ตัณหา มาถึงพระนิพพาน ย่อมละ สละคืน ปล่อย ไม่ติด เพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงตรัสเรียกว่า เป็นที่ละ สละ ปล่อย ไม่ติด. แท้จริง พระนิพพานก็มีอย่างเดียวเท่านั้น. แต่ชื่อของพระนิพพานนั้นมีมาก โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของ สังขตธรรมทั้งหมด. คืออย่างไร คือธรรมเป็นที่คายไม่เหลือ เป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่ละ เป็นที่สละ เป็นที่พ้น เป็นที่ไม่ติด เป็นที่สิ้นราคะ เป็นที่สิ้นโทสะ เป็นที่สิ้นโมหะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่ไม่เกิด เป็นที่หยุด ไม่มีนิมิต ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่อาศัย ไม่มีปฏิสนธิ ไม่เป็นไป ไม่ไป ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่โศก ไม่คร่ําครวญ ไม่คับแค้น ไม่เศร้าหมอง ดังนี้เป็นต้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาทั้งปวง ที่มรรคตัดได้แล้ว ถึงความหยุด (ไม่เป็นไป) เพราะมาถึงพระนิพพาน ในวัตถุที่ พระองค์ทรงแสดงว่า ตัณหาเกิดนั่นแหละ จึงตรัสว่า สา โข ปเนสา ก็ตัณหานี้นั้น ดังนี้ เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคํานั้น ดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า บุรุษพบเถาน้ำเต้าขม ที่เกิดในนาแล้ว จับตั้งแต่ยอด ค้นหาโคนพบแล้ว ตัดออกเสียเถานั้น ก็เหี่ยวแห้งโดยลําดับ ถึงความไม่ปรากฏที่นั้น เขาก็เรียกกันว่า เถาน้ำเต้าขมในนานั้น ดับแล้ว ละแล้ว ตัณหาในจักษุ เป็นต้น เปรียบเหมือนเถาน้ำเต้าขมในนา ตัณหานั้น ตัดรากได้ด้วยอรหัตตมรรค ถึงความหยุด (งอก) เพราะมาถึงพระนิพพาน อนึ่ง ตัณหาอันถึงความหยุดอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น เหมือนเถาน้ำเต้าขมไม่ปรากฏในนา ฉะนั้น. อนึ่ง เปรียบเหมือนพวก มนุษย์นําโจรมาจากดง พึงฆ่าเสียที่ประตูด้านทิศใต้แห่งพระนคร แต่นั้นคนทั้งหลายจะพึงพูดกันว่า พวกโจรในดงตายแล้ว หรือถูกฆ่าตายแล้ว ดังนี้ ฉันใด

 
  ข้อความที่ 102  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 359

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตัณหาในจักษุ เป็นต้น เปรียบเหมือนโจรในดง ตัณหานั้น ชื่อว่า ดับไปในพระนิพพานนั่นเอง เพราะมาถึงพระนิพพานแล้ว จึงดับไป เหมือนโจรถูกฆ่าที่ประตูทิศใต้ ฉะนั้น อนึ่ง ตัณหาอันดับแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ปรากฏในวัตถุเหล่านั้น เหมือนโจรไม่ปรากฏในดง ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง ความดับแห่งตัณหานั้นในจักษุ เป็นต้นนั้น จึงตรัสว่า จักษุเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละก็ละได้ ที่จักษุนั้น เมื่อจะดับก็ดับที่จักษุนั้น ดังนี้ เป็นต้น

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

คําว่า อยเมว เป็นคํากําหนดแน่ชัดเพื่อปฏิเสธมรรคอื่น. คําว่า อริโย ความว่า มรรคชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย อันมรรคนั้นๆ พึงฆ่า และเพราะทําความเป็นพระอริยะ. ทรงแสดงกัมมัฏฐานว่าด้วยสัจจะ ๔ ด้วยคําว่า รู้ในทุกข์ เป็นต้น. ในสัจจะ ๔ นั้น ๒ สัจจะต้น (ทุกข สมุทัย) เป็นวัฏฏสัจจะ ๒ สัจจะหลัง (นิโรธ มรรค) เป็นวิวัฏฏสัจจะ. ในวัฏฏสัจจะ และวิวัฏฏสัจจะเหล่านั้น ความตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐานของภิกษุ ย่อมมีในวัฏฏสัจจะ ไม่มีในวิวัฏฏสัจจะ ก็พระโยคาวจรกําหนดสัจจะ ๒ เบื้องต้น ในสํานักอาจารย์โดยย่อ อย่างนี้ว่า ปัญจขันธ์เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย และพิสดารโดยนัย เป็นต้นว่า ปัญจขันธ์เป็นไฉน คือรูปขันธ์ดังนี้แล้ว ทบทวน (ท่องบ่น) ชื่อว่า ทํากรรมในสัจจะ ๒ เหล่านั้น. ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจรย่อมทํากรรม ด้วยการฟังอย่างเดียว อย่างนี้ว่า นิโรธสัจ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. พระโยคาวจรนั้น เมื่อทําอยู่อย่างนี้ ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ด้วยปฏิเวธญาณอันเดียว ย่อมตรัสรู้ด้วย

 
  ข้อความที่ 103  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 360

อภิสมยญาณอันเดียว คือ แทงตลอดทุกขสัจจะด้วยปฏิเวธ คือ ปริญญากิจ แทงตลอดสมุทัยด้วยปหานกิจ แทงตลอดนิโรธสัจจะด้วยสัจฉิกิริยากิจ แทงตลอดมรรคสัจจะด้วยภาวนากิจ. ย่อมตรัสรู้ทุกขสัจจะด้วยอภิสมยญาณ คือปริญญากิจ ตรัสรู้สมุทยสัจจะด้วยปหานกิจ ตรัสรู้นิโรธสัจจะด้วยสัจฉิกิริยากิจ ตรัสรู้มรรคสัจจะด้วยภาวนากิจ. ในเบื้องต้น พระโยคาวจรนั้น มีปฏิเวธญาณใน สัจจะ ๒ เบื้องต้น ด้วยการกําหนด การสอบถาม การฟัง การทรงจํา และการพิจารณา ส่วนในสัจจะ ๒ เบื้องปลาย พระโยคาวจรมีปฎิเวธญาณ ด้วยอํานาจการฟังอย่างเดียว ในภายหลัง จึงมีปฏิเวธญาณในสัจจะ ๓ โดยกิจ มีปฏิเวธญาณในนิโรธสัจโดยอารมณ์. ส่วนปัจจเวกขณญาณมีแก่พระโยคาวจร ผู้บรรลุสัจจะแล้ว. และพระโยคาวจรนี้ เป็นผู้เริ่มบําเพ็ญเพียร เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้. อนึ่ง เมื่อภิกษุนี้กําหนดรู้ในเบื้องต้น ความคํานึง รวบรวมใจ ใส่ใจ และพิจารณาว่า เรากําหนดรู้ทุกข์ เราละสมุทัย เราทําให้แจ้งนิโรธ เราเจริญมรรค ดังนี้ ยังไม่มี จะมีได้ตั้งแต่การกําหนดไป. ส่วนในเวลาภายหลัง ทุกข์ก็เป็นอันชื่อว่า กําหนดรู้แล้ว สมุทัยก็เป็นอัน ละเสียแล้ว นิโรธก็เป็นอันทําให้แจ้งแล้ว มรรคก็เป็นอันทําให้เกิดแล้ว.

ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ เบื้องต้น ชื่อว่า ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก สัจจะ ๒ เบื้องหลัง ชื่อว่า เห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง. ความจริง ทุกขสัจปรากฏตั้งแต่เกิดมา ถึงกับกล่าวกันว่า ทุกข์หนอ ในเวลาที่ถูกตอ และหนามตํา เป็นต้น. แม้สมุทยสัจก็ปรากฏตั้งแต่เกิดมา ด้วยอํานาจอยากเคี้ยวอยากกิน เป็นต้น. แต่แม้ทั้งสองสัจจะนั้นก็ชื่อว่า ลึกซึ้งโดยลักษณะ และการแทงตลอด. สัจจะ ๒ นั้น ชื่อว่า ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก ด้วยประการฉะนี้. ส่วนความพยายามเพื่อเห็นสัจจะ ๒ นอกนี้ ก็เป็นเหมือนเหยียดมือจับภวัคคพรหม เหยียดเท้าไปต้องอเวจี-

 
  ข้อความที่ 104  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 361

นรก และเป็นเหมือนเอาปลายขนทราย กับปลายขนทรายที่แยกออก ๗ ส่วน ให้จดติดกัน. สัจจะ ๒ เบื้องปลายเหล่านั้น ชื่อว่า เห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้ความรู้ในทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น ทรงหมายถึง ความเกิดญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นในสัจจะ ๔ ที่ชื่อว่า ลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก และที่ชื่อว่า เห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง ด้วยอํานาจการกําหนด เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในขณะแทงตลอดญาณ (ปฏิเวธญาณ) นั้น ก็มีหนึ่งเท่านั้น.

สัมมาสังกัปปะ

ความดําริมีความดําริออกจากกาม เป็นต้น ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในอันงดเว้นจากกามพยาบาท และวิหิงสาต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค ความดําริฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์ โดยให้สําเร็จความไม่เกิดแห่งความดําริฝ่ายอกุศล ที่เกิดแล้วในฐาน ๓ เหล่านี้ เพราะตัดทางแห่งความดําริฝ่ายอกุศลนั้น ได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

สัมมาวาจา

แม้กุศลธรรมมีเจตนางดเว้นจากมุสาวาท เป็นต้น ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้นจากมุสาวาท เป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค เจตนางดเว้นฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์ โดยให้สําเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้ว ในฐานะ ๔ เหล่านี้ เพราะตัดทางแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลนั้นได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.

 
  ข้อความที่ 105  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 362

สัมมากัมมันตะ

แม้กุศลธรรม มีเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค เจตนางดเว้นฝ่ายกุศล อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรค บริบูรณ์ โดยให้สําเร็จความไม่เกิด แห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้ว ในฐานะ ๓ เหล่านี้ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

สัมมาอาชีวะ

คําว่า มิจฉาอาชีวะ ได้แก่ กายทุจริต และวจีทุจริต ที่เป็นไปเพื่อต้องการของเคี้ยวของกินเป็นต้น. คําว่า ละ คือเว้น. คําว่า ด้วยสัมมาอาชีวะ คือด้วยอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ. คําว่า สําเร็จชีวิต คือดําเนินการเลี้ยงชีพ. ที่ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ ต่างกันในเบื้องต้น เพราะสัญญาในการงดเว้น จากทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรคเจตนางดเว้นฝ่ายกุศล อันเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์ โดยให้สําเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีล อันเป็นมิจฉาอาชีวะ ที่เกิดแล้วในฐานะเจ็ด (กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔) เหล่านี้แหละ เพราะตัดทางได้ขาด นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

สัมมาวายามะ

คําว่า ที่ยังไม่เกิด คือที่ยังไม่เกิดแก่ตนในภพหนึ่ง หรือในอารมณ์เห็นปานนั้น. แต่พระโยคาวจรเห็นบาปอกุศลธรรม ที่กําลังเกิดแก่คนอื่น ย่อมยังฉันทะให้เกิดปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้เกิดบาปอกุศล

 
  ข้อความที่ 106  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 363

ที่ยังไม่เกิด ด้วยคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ บาปอกุศลธรรม เห็นปานนั้น ไม่พึงเกิดแก่เรา ดังนี้. คําว่า ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะให้เกิด คือให้เกิดความพอใจในความเพียร ที่ให้สําเร็จข้อปฏิบัติ อันไม่ให้เกิดบาปอกุศลเหล่านั้น. คําว่า วายมติ พยายาม คือ ทําความพยายาม. คําว่า วิริยํ อารภติ ปรารภ ความเพียร คือดําเนินความเพียร. คําว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ประคองจิต คือ ทําการประคองจิตด้วยความเพียร. คําว่า ปทหติ ตั้งไว้ คือดําเนินการ ตั้งความเพียรว่า จะเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามทีเถิด ดังนี้. คําว่า อุปฺปนฺนานํ ที่เกิดแล้ว คือที่เคยเกิดแล้วแก่ตน โดยการกําเริบขึ้น ย่อมให้เกิดฉันทะ เพื่อละบาปอกุศลเหล่านั้นว่า บัดนี้เราจักไม่ให้บาปอกุศลเช่นนั้น เกิดขึ้นละ. คําว่า อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ กุศลที่ยังไม่เกิด คือ กุศลธรรมมีปฐมฌาน เป็นต้น ที่ตนยังไม่ได้. คําว่า อุปฺปนฺนานํ ที่เกิดแล้ว คือกุศลธรรม เหล่านั้นนั่นแหละ ที่ตนได้แล้ว. คําว่า ิติยา เพื่อตั้งมั่น คือ เพื่อตั้งอยู่ โดยการเกิดต่อเนื่องกันบ่อยๆ. คําว่า อสมฺโมสาย เพื่อไม่ขาดสาย คือเพื่อไม่ให้สูญเสีย. คําว่า ภิยฺโยภาวาย เพื่อมียิ่งๆ คือ เพื่อเจริญยิ่งขึ้นไป. คําว่า เวปุลฺลาย คือเพื่อความไพบูลย์. คําว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือเพื่อความมีบริบูรณ์. แม้สัมมาวายามนี้ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่คิดไม่ให้เกิดอกุศล ที่ยังไม่เกิด เป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค วิริยะฝ่ายกุศลอันเดียว เท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สําเร็จกิจ ในฐานะ ๔ เหล่านี้ เหมือนกัน นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ

แม้สัมมาสติ ก็ต่างกันในเบื้องต้น เพราะจิตที่กําหนดอารมณ์มีกาย เป็นต้นต่างกัน แต่ในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียวเท่านั้น เกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์ โดยให้สําเร็จกิจในฐานะ ๔ นี้ชื่อว่า สัมมาสติ.

 
  ข้อความที่ 107  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 364

สัมมาสมาธิ

ฌานทั้งหลายต่างกัน ทั้งในเบื้องต้น ทั้งในขณะแห่งมรรค. ในเบื้องต้นต่างกันโดยสมาบัติ. ในขณะแห่งมรรค ต่างกันโดยมรรค. จริงอยู่ มรรคที่๑ แห่งมรรคขณะหนึ่ง มีปฐมฌานเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น เป็นบาทบ้าง. มรรคที่ ๑ แห่งมรรคขณะแม้อันหนึ่ง มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่ง ทุติยฌานเป็นต้นเป็นบาท แม้มรรคที่ ๒ เป็นต้น ก็มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง แห่งทุติยฌานเป็นต้น เป็นบาทบ้าง มีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง. มรรคทั้ง ๔ ว่าโดยฌานเหมือนกันก็มี ต่างกันก็มี เหมือนกันบางแห่งก็มี ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นความแผกกันแห่งมรรคนั้น โดยกําหนด โดยฌานที่เป็นบาท. พึงทราบอธิบายโดยกําหนด ด้วยฌานเป็นบาทก่อน มรรคที่เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน เจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่ามีปฐมฌานเป็นบาท. ก็องค์แห่งมรรค และโพชฌงค์ย่อมบริบูรณ์ ในปฐมฌานนี้โดยแท้. มรรคที่เกิด แก่พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่า มีทุติยฌานเป็นบาท. ส่วนองค์มรรคในทุติยฌานนี้มี ๗ ประการ. มรรคที่เกิดแก่พระโยคาวจร ผู้ออกจากตติยฌานแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ชื่อว่า มีตติยฌานเป็นบาท. ส่วนองค์มรรคในตติยฌานนี้มี ๗ แต่โพชฌงค์มี ๖ ประการ. สําหรับพระโยคาวจร ผู้ออกจากจตุตถฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็นัยนี้เหมือนกัน. ฌานหมวด ๔ และหมวด ๕ ย่อมเกิดในอรูป และฌานนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตตระไม่ใช่โลกิยะ. ถามว่าในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นนี้ เป็นอย่างไร. ตอบว่า ในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นแม้นี้ พระโยคาวจรนั้น ออกจากฌานใดแล้ว ได้โสดาปัตติมรรคเจริญอรูปสมาบัติแล้ว เกิดในอรูปภพ มรรคทั้ง ๓ มีฌานนั้นเป็นบาท

 
  ข้อความที่ 108  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 365

เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้น ในอรูปภพนั้น. ท่านกําหนดมรรคที่มีฌานเป็นบาทอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. แต่พระเถระบางเหล่ากล่าวว่า กําหนดขันธ์เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา. บางเหล่าก็ว่า กําหนดอัธยาศัยบุคคล. บางเหล่าก็ว่า กําหนดวิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินี. วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ ในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คัมภีร์วิสุทธิมรรค. คําว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ความว่าธรรมนี้ เบื้องต้นเป็นโลกิยะ เบื้องหลัง เรียกว่า โลกุตตระ สัมมาสมาธิ.

คําว่า อิติ อชฺตฺตํ วา หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเพราะกําหนดสัจจะ ๔ ของตน ของคนอื่น หรือเพราะกําหนดสัจจะ ๔ ของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาลอย่างนี้อยู่. ส่วนความเกิด และความเสื่อมในสัจจบรรพนี้ พึงทราบโดยความเกิด และความหมดไปแห่งสัจจะ ๔ ตามเป็นจริง. คําอื่นนอกจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.

สติกําหนดสัจจะ ๔ เป็นอริยสัจ

แต่ในสัจจบรรพนี้ ต่างกันอย่างเดียว คือ พึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติกําหนดสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจเป็นต้น แล้วพึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินําออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กําหนดสัจจะเป็นอารมณ์. คําที่เหลือก็ เหมือนกันแล.

จบสัจจบรรพ

 
  ข้อความที่ 109  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 366

สรุปความ

ด้วยลําดับคํามีประมาณเพียงเท่านี้ กัมมัฏฐาน ๒๑ คือ อานาปานบรรพ ๑ จตุอิริยาบถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ จตุธาตุววัฏฐานะ ๑ นวสีวถิกา ๙ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑ นีวรณปริคคหะ ๑ ขันธปริคคหะ ๑ อายตนปริคคหะ ๑ โพชฌงคปริคคหะ ๑ สัจจปริคคหะ ๑.

บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ นั้น กัมมัฏฐาน ๑๑ คือ อานาปาน ๑ ทวัตดึงสาการ ๑ นวสีวถิกา ๙ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. แต่พระมหาสิวเถระ ผู้รจนาคัมภีร์ ทีฆนิกาย กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส นวสีวถิกา ๙ โดยอาทีนวานุปัสสนา. เพราะฉะนั้น ตามมติของท่าน อานาปานะ และทวัตดึงสาการ ๒ เท่านั้น เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. ที่เหลือเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน ถามว่า ความตั้งมั่น เกิดในกัมมัฏฐานนั้นทั้งหมด หรือไม่เกิด ตอบว่าไม่ใช่ไม่เกิดความตั้งมั่นไม่เกิด ในอิริยาบถสัมปชัญญะ นีวรณ์ และโพชฌงค์ เกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ. ส่วน พระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ความตั้งมั่นย่อมเกิดในกัมมัฏฐานแม้เหล่านั้น (ทั้งหมด) เพราะพระโยคาวจรนี้ ย่อมกําหนดอย่างนี้ว่า อิริยาบถ ๔ มีแก่เรา หรือไม่หนอ สัมปชัญญะ ๔ มีแก่เราหรือไม่หนอ นีวรณ์ ๕ มีแก่เราหรือไม่หนอ โพชฌงค์ ๗ มีแก่เราหรือไม่หนอ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ความตั้งมั่นย่อม เกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด.

อานิสงส์

คําว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด ผู้หนึ่ง ไม่ว่า ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา. คําว่า เอวํ ภาเวยฺย ความว่า พึงเจริญตามลําดับภาวนาที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น. คําว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวังได้ พึงปรารถนาได้ เป็นแน่แท้. คําว่า อฺา หมายถึง

 
  ข้อความที่ 110  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มิ.ย. 2564

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 367

พระอรหัต. คําว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า เมื่ออุปาทิเสสวิบากขันธ์ ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ ยังไม่สิ้นไป. คําว่า อนาคามิตา แปลว่า ความเป็นพระอนาคามี. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่คําสั่งสอนเป็นธรรม นําผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย ๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงเวลา (ปฏิบัติ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีก จึงตรัสว่า ติฏฺนฺตุ ภิกฺขเว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ๗ ปี จงยกไว้ดังนี้ เป็นต้น. ก็คํานั้นแม้ทั้งหมดตรัสโดยเวไนยบุคคลปานกลาง. แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคําสั่งสอนเวลาเช้า บรรลุคุณวิเศษ เวลาเย็น รับคําสั่งสอนเวลาเย็น บรรลุคุณวิเศษเวลาเช้า ดังนี้ ทรงหมายถึง บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า คําสั่งสอนของเรา นําผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงยังเทศนาที่ทรงแสดง ด้วยธรรมอันเป็นยอด คือพระอรหัตให้จบลงในฐานะ ๒๑ ประการ จึงตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางดําเนินอันเอก เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทําให้แจ้งพระนิพพาน นี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ด้วยประการฉะนี้ คําอันใด อันเรากล่าวแล้วอย่างนี้ คํานั้นเราอาศัยทางอันเอกนี้กล่าวแล้ว. คําที่เหลืออรรถ ตื้นทั้งนั้นแล.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูป ดํารงอยู่ในพระอรหัตแล.

จบ อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรที่ ๙