คำกล่าวอุทิศส่วนกุศล โดยเอ่ยนามผู้เสียชีวิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 มี.ค. 2564
หมายเลข  33945
อ่าน  3,228

ฉัตรชัย : จากคำกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ก็มักจะเอ่ยนามผู้เสียชีวิต

จึงมีคำถามว่า

1. เมื่อแม้มีชีวิตก็ไม่มีเรา เมื่อละจากบุคคลไปแล้วจะเป็นบุคคลนั้นอีกอยู่หรือครับ

2. บุญกุศลที่อุทิศไปนั้นจะเกิดแก่สิ่งใดครับ

3. ในสภาพสมมติถ้าเราต้องการอุทิศบุญกุศลให้แก่มารดาผู้ล่วงลับควรทำอย่างไรครับ


อ.อรรณพ :

1. ตามความเป็นจริง มีแต่ธรรมแต่ละอย่างที่ไม่ใข่เรา แต่เพราะมีความแตกต่างของธรรมที่เกิดจากปัจจัยที่ต่างกันคือกรรม จึงทำให้สมมติว่าเป็นบุคคลใหม่ในชาติต่อไป เช่น เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เพราะผลของอกุศลกรรม เป็นมนุษย์ ก็เพราะผลของกุศลกรรม เป็นเทพ ก็เพราะผลของกุศลกรรมที่ประณีตกว่ามนุษย์

ดังนั้นเมื่อละจากบุคคลนี้ไปแล้ว ไปเป็นบุคคลใหม่ในชาติต่อไป ก็คือเป็นธัมมะที่เกิดจากเหตุปัจจัยที่ต่างกันไปครับ

2. บุญกุศลที่ผู้ใดกระทำ ก็สะสมสืบต่อในจิตผู้นั้น และถ้าผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่เราอุทิศให้ เกิดในภพภูมิที่รู้และอนุโมทนาได้ (เปรต อสุรกาย และเทพ) ก็เป็นกุศลจิตของผู้อนุโมทนานั้นเอง

3. กุศลกรรมที่เป็นคุณความดีต่างๆ ทั้งทาน ศีล ภาวนา เช่นการฟังพระธรรม สนทนาธรรม ก็สามารถอุทิศให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ครับ

คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ต่อไปนี้

แผ่ส่วนกุศลผลบุญ...

การอุทิศส่วนบุญ

อุทิศบุญให้ผู้ที่ล่วงลับ

ขอตัวอย่างคำพูดการอุทิศบุญกุศล

วิธีอุทิศส่วนกุศลผลบุญที่ถูกต้อง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2564

อ.คำปั่น :

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า ๔๒๙

เมื่อบุคคลให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมเป็นต้น แล้วให้ส่วนบุญว่า ขอส่วนบุญ จงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ.

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เกื้อกูลอุปการะเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่อกุศลธรรม, กุศล ซึ่งเป็นความดีในชีวิตประจำวันสามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งในเรื่องของทาน ศีล และการอบรมเจริญปัญญา ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะเห็นประโยชน์ของกุศลมากน้อยแค่ไหน การอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย

จุดประสงค์ของการอุทิศส่วนกุศลก็เพื่อให้บุคคลอื่นได้ร่วมอนุโมทนาซึ่งจะเป็นเหตุให้กุศลจิตของบุคคลอื่นเกิดได้ กุศลจิตที่อนุโมทนาย่อมเป็นกุศลของผู้อนุโมทนาเอง ซึ่งกุศลที่เกิดขึ้นด้วยการอนุโมทนานี้จะเป็นเหตุให้ได้รับผลที่ดี คือ กุศลวิบากจิตเกิดขึ้น ไม่ใช่เราหยิบยื่นกุศลของเราให้คนอื่น แต่การที่เราทำกุศล แล้วเป็นเหตุให้คนอื่นที่รู้อนุโมทนายินดีด้วย ขณะใดที่เขาอนุโมทนายินดีด้วย ขณะนั้นก็เป็นกุศลของเขา ซึ่งจะต้องเป็นกุศลจิตของผู้ที่อนุโมทนา จะระบุชื่อหรือกล่าวรวมๆ ก็ได้ ทั้งหมดทั้งปวงนั้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่รับรู้และมีจิตเป็นกุศล อนุโมทนาเท่านั้นจริงๆ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 27 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ