ใครทำร้ายเรา

 
khampan.a
วันที่  6 มี.ค. 2564
หมายเลข  33828
อ่าน  542

หทเย นิเธตพฺพยุตฺตกํ
(ข้อความที่ควรเก็บไว้ในหทัย)
[๓๘๓]

ใครทำร้ายเรา


กิเลสเกิดเมื่อไหร่ทำร้ายตนเมื่อนั้น แล้วจะไม่ทำร้ายตนได้อย่างไร ทำร้ายตนทุกวันเพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็คิดว่าคนอื่นทำร้ายเรา แต่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่มีใครสามารถที่จะทำร้ายใครได้เลย

ทำร้ายใจของคนอื่นได้อย่างไร ให้เขาเจ็บใจ ถ้าเขาไม่มีกิเลสไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้นความจริงเวลาที่ไม่รู้ก็เข้าใจผิด คิดว่าคนอื่นต่างหากที่ทำร้ายเรา ทำให้เราเสียใจ ทำให้เราผิดหวัง ทำให้เราโกรธที่ไม่เป็นไปอย่างใจ แต่จริงๆ แล้วไม่มีใครสามารถจะทำร้ายใจใครได้เลย นอกจากกิเลสที่มีอยู่ในใจของคนนั้นเท่านั้นที่ทำร้ายคนนั้น เวลาที่กิเลสเกิดทำร้ายทันทีทุกขณะไม่รอช้า ไม่ต้องไปรอให้คนโน้นคนนี้มาทำอะไรเลย


กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

อ่านหัวข้ออื่นๆ คลิกที่นี่ ... เก็บไว้ในหทัย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ศุภลักษณ์
วันที่ 7 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนา สาธุ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เข้าใจ
วันที่ 7 มี.ค. 2564

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สิริพรรณ
วันที่ 11 มี.ค. 2564

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

การศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความละเอียดของสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สภาพธรรมแต่ละหนึ่ง เกิดขึ้น จึงเข้าใจได้ว่า สิ่งที่ทำร้ายตนเอง ไม่ใช่ใครที่ไหน แท้จริงคือกิเลสที่เกิดภายในตนนั่้นเอง เมื่อกิเลสเกิดก็มีแต่ความมืดบอด ไม่รู้คุณ ไม่รู้โทษ ไม่รู้ผิด ไม่รู้ถูก สะสมในจิตให้สกปรก รุ่มร้อน ทุกขณะที่กิเลสเกิด เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำๆ เป็นประจำ ก็มีกำลังมากขึ้นๆ ๆ ๆ เดือดพล่าน จนถึงกับทำร้าย เบียดเบียน ผู้อื่น ทำสิ่งใดก็ไม่คำนึงถึงใจผู้อื่น เพราะความรักตัว เห็นแก่ตัว จึงเป็นอกุศลกรรม ก็จะต้องเกิดผลคือ อกุศลวิบาก ทำร้ายตนเองในวันหนึ่งอย่างแน่นอน
กิเลสที่น่ากลัวที่สุดคือความไม่รู้ความจริง และความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์บุคคล นำมาซึ่งโทษทุกข์มากมาย ที่สุด คืออบายภูมิ

กราบเท้าบูชาคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง

กราบขอบพระคุณ ยินดีในกุศล อ.คำปั่น อักษรวิลัย และอาจารย์วิทยากรทุกท่านด้วยความเคารพค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 11 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ