พึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ

 
ckitipor
วันที่  8 เม.ย. 2550
หมายเลข  3366
อ่าน  880

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 444

พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์

" บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์ นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา เพลิงอยู่ฉะนั้น."


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 8 เม.ย. 2550

ความกตัญญกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
shumporn.t
วันที่ 8 เม.ย. 2550

ความนอบน้อม เป็นเครื่องหมายของผู้มีปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 8 เม.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 78 ๔. พหุการสูตร

ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก ๓ จำพวก

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้คือใคร คือ บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ...พระสงฆ์เป็นสรณะ บุคคล (อาจารย์) นี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้ อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใดจึงรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ บุคคล (อาจารย์) นี่ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้ อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใดจึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล (อาจารย์) นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้ ยิ่งกว่าบุคคล ๓ นี่ไม่มี อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้ จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วยการกราบ ลุกรับ ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและยาแก้ไข้. จบพหุการสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 เม.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 12 เม.ย. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ