พระพุทธองค์สามารถรู้อนาคตแบบไม่มีที่สุด

 
kornzaq
วันที่  31 พ.ค. 2563
หมายเลข  31909
อ่าน  896

มีข้อความในพระสูตรไหนที่บ่งบอกถึงการที่ พระพุทธองค์ใช้ญาณดูอนาคตแบบไม่มีที่สุด ไหมครับ

ผมเห็นแต่ใน โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

มีข้อความที่บอกว่า

จุนทะ ตถาคตมีญาณอันตามระลึก
ปรารภอดีตกาลยาวนาน
ตถาคตมุ่งอดีตกาลยาวนานเท่าใด
ก็ระลึกได้เท่านั้น ตถาคตมีญาณอันตามระลึก
ปรารภอนาคตกาลยาวนาน ฯลฯ

ตรง ฯลฯ ผมเข้าใจว่าเขาย่อให้สั้นลง
ข้อความที่ย่อก็คือ ตถาคตมีญาณอัน
ตามระลึกอนาคตกาลยาวนาน
ตถาคตมุ่งอนาคตกาลยาวนานเท่าใด
ก็ระลึกได้เท่านั้น

ตรงข้อความนี้จะบอกได้ไหมครับว่าพระ
พุทธองค์ท่าน ใช้ญาณดูอนาคตแบบไม่
มีที่สุดมาแล้ว? จึงมาบอกกับเหล่าสาวก
เพราะใช้มากับตัวเองแล้ว

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้ามีพระปัญญาหาที่สุดไม่ได้ ทรงมีพระปัญญาตามระลึกถึงชาติในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ เท่าที่ต้องการ ก็ทรงระลึกได้ และทรงรู้สิ่งเหล่านั้นอย่างแจ่มแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 332

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะญาณอันตามระลึกถึงชาติก่อนของตถาคต ปรารภถึงอดีตกาลมีอยู่ ตถาคตหวังจะรู้ชาติก่อนเท่าใด ก็ระลึกถึงชาติก่อนได้เท่านั้น ดูก่อนจุนทะญาณอันตามระลึกถึงชาติข้างหน้าของตถาคต ปรารภถึงอนาคตกาล มีอยู่

---------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

พระสาวกระลึกได้แสนกัป

พระอัครสาวกทั้งสองระลึกได้อสงไขย และแสนกัป

พระปัจเจกพุทธะระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป

แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกำหนดเท่านั้นเท่านี้

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงระลึกเท่าที่ทรงหวัง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kornzaq
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

สามารถบอกได้ไหมครับว่า

ท่านใช้ญาณดูแบบไม่มีที่สิ้นสุดมาแล้ว หรือ การที่ท่านบอกว่า ท่านรู้ได้เท่าที่ทรงหวัง ท่านรู้เฉยๆ แต่ไม่ลองใช้

ท่านใช้ญาณดูหรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

อจินไตย ๔ คืออะไรบ้าง คือ

พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑

ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑

วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑

โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด

พุทธวิสัย เป็นการคิดหาโดยไม่ทราบเหตุที่มา แท้จริงของการเป็นพระพุทธเจ้า หรืออานุภาพ พุทธคุณ มี สัพพัญญุตญาณ เป็นต้น

ฌานวิสัย เป็นการคิดหาโดยไม่ทราบเหตุที่มาแท้จริงของฌาน ในวิสัยของผู้อบรม ความสงบจิต จนถึง รูปฌาน อรูปฌาน อภิญญาจิต แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ หรือมีจิตระดับสูงกว่าขั้นกาม ที่ไม่รู้กามารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ เป็นต้น

กรรมวิบาก คือ ความคิดเรื่องของวิบากของกรรม มีกรรมที่จะให้ผลในปัจจุบัน เป็นต้นเช่น การคิด เรื่องคนนั้นที่ได้รับผลกรรมนั้นเพราะทำอย่างนั้นด้วยวิสัยตน

โลกจินตา คือ ความคิดเรื่องโลก ได้แก่ ใครเป็นคนสร้างดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ แผ่นดินเป็นต้น เพราะ แม้คิดด้วยวิสัยตนก็ไม่ได้คำตอบ

-----------------

ดังนั้น เรื่อง การระลึกชาติของพระพุทธเจ้า เป็นอจินไตย ไม่มีใครสามรถจะรู้ได้ ว่าพระองค์จะรลึกอย่างไร หาที่สุดไม่ได้หรือไม่ ครับ ซึ่งได้กล่าวไว้ตามพระไตรปิฎกที่แสดงมา สมควรที่ควรรู้เท่านั้น กราบอนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kornzaq
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

มีพระสูตรที่แสดงถึงการที่ท่านใช้ญาณดูแบบไม่มีที่สุดไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับกิเลสทั้งหลายได้ปวงได้หมดสิ้น ก็ยังต้องมีการเกิดอยู่ร่ำไป แต่เมื่อใดที่สามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้หมดสิ้น ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย ดับเหตุที่ทำให้มีการเกิด จึงไม่มีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ครับ

สิ่งที่ควรคิดอยู่เสมอ คือ ขณะนี้ ยังมากไปด้วยความไม่รู้ ก็ควรจะได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๓๘

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอทั้งหลาย ได้ท่องเที่ยวไปในชาติ นั้นๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ หล่านี้ เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะ นำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์ ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 1 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 2 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ