สัญญา กับ สติ แตกต่างกันอย่างไร?

 
izhlaya
วันที่  18 ต.ค. 2562
หมายเลข  31239
อ่าน  891

ดังหัวข้อที่ได้กล่าวในเบื้องต้นครับ ในเมื่อ สัญญา คือสภาพจำ และ สติคือความระลึกรู้ ว่าโดยศัพท์ หากคนไทยเรา ใช้สื่อสาร จะมองว่า ทั้ง "สัญญา" และ "สติ" มีความหมายใกล้เคียง หรือแทบจะใช้แทนกันได้

จึงใคร่ขอความรู้จากท่านทั้งหลายว่า "สัญญา" และ "สติ" โดยสภาพธรรมแล้ว มีความแตกต่างชัดเจน ทั้งอรรถ และพยัญชนะ อย่างไรบ้างครับ เพราะบางท่าน ก็กล่าวว่า สติ เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำงานร่วมกับสัญญา จึงระลึกรู้ได้ว่า กระทำอะไรๆ และสติเกิดร่วมกับกุศลเท่านั้นอีกด้วยครับ

ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญของทุกท่านครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ต.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องในสิ่งที่มีจริงตรงตามความเป็นจริง ไม่ผิด ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

สัญญา เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ เป็นสภาพธรรมที่จำหมายในอารมรณ์ จิตรู้สิ่งใด สัญญาก็จำในสิ่งนั้น จำทุกขณะ โดยมีสัญญาเจตสิก เท่านั้นที่ทำกิจหน้าที่นี้

ส่วนสติ เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นโสภณสาธารณเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตที่ดีงามทุกประเภท สติเกิดกับจิตประเภทใด จิตประเภทนั้น ต้องเป็นโสภณจิต ซึ่งโสภณจิต ก็มีทั้ง กุศลจิต วิบากจิต และ กิริยาจิต สติ ซึ่งป็นสภาพธรรมฝ่ายดี จะไม่เกิดร่วมกับ อกุศลจิต อย่างเด็ดขาด จะไม่เกิดร่วมกับ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงนั้น เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ให้เป็นอย่างอื่นไปได้ สติ ก็เช่นเดียวกัน เป็นธรรมที่มีจริง เป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศลในทานบ้าง ศีลบ้าง ภาวนาบ้าง ถ้าไม่มีสติ กุศลจิตรวมถึงเจตสิกฝ่ายดีอื่นๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ขณะที่เป็นอกุศล ไม่มีสติ เพราะหลงลืมที่จะเป็นกุศล หลงลืมที่จะทำสิ่งที่ดี หลงลืมที่จะเข้าใจถูกเห็นถูก เพราะขณะนั้น เป็นอกุศล ไม่มีสติ นั่นเอง ครับ

ขอเชิญศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อด้านล่างนี้ครับ

สติเจตสิก

สัญญา​เจตสิกกับสติเจตสิก ​[ธรรมสังคณี]​

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
izhlaya
วันที่ 19 ต.ค. 2562

ถ้าจะกล่าวไปแล้ว สัญญาเจตสิก คือครอบคลุมหมด ทุกอย่างที่จดจำ ตามที่จิตรู้สิ่งใด ก็มีสภาพจำสิ่งนั้นไว้

ส่วนสติเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับ "กุศล" เป็นส่วนเฉพาะ มีความระลึกในสิ่งที่ดีงาม จะเกิดร่วมกับ "อกุศล" ไม่ได้เลย

อนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ