ไม่ง่ายอย่างที่คิด

 
kchat
วันที่  4 มี.ค. 2550
หมายเลข  2966
อ่าน  1,058

ได้อ่านความคิดเห็นที่มีผู้เขียนเข้ามาในกระทู้หนึ่งดังนี้ "เจริญสติ พิจารณาเห็นกายใน กาย หมวดธาตุบรรพหรือ เจริญธาตุววัตถานกรรมฐาน หมวดนี้จะเจริญได้ง่าย เพราะพิจารณาให้เห็นกายว่าเป็นเพียงที่ประชุมของธาตุ แต่ท่านต้องอาศัยความ เพียรมากๆ ด้วย ต้องมีโยนิโสมนสิการ เมื่อใดที่เหตุปัจจัยพร้อม สติก็จะระลึกได้เอง ว่า นั่นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น" อ่านแล้ว คิดพิจารณาตาม ก็พอจะ เข้าใจได้แต่การที่จะประจักษ์แจ้งตามที่ทรงแสดงไม่ใช่เรื่องง่าย อยากเรียนถามว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เห็นกายในกาย จะเพียรอย่างไร และต้องมีโยนิโสมนสิการ อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 มี.ค. 2550

ต้องอาศัยการศึกษาให้เข้าใจอย่างถูกต้อง จึงมีความเพียรศึกษาอย่างถูกต้อง และ มีการพิจารณาอย่างแยบคายด้วยกุศล แต่ไม่ใช่พยายามด้วยความเป็นเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 4 มี.ค. 2550

ต้องอาศัยการอบรมสติปัฎฐานเป็นหลัก สติเกิดมีปัญญาเกิดร่วมด้วยถึงจะรู้ว่ากายไม่ ใช่เรา กายในที่นี้ หมายถึง รูป ให้รู้ว่า กายเป็นกาย ไม่ใช่เราค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
อิคิว
วันที่ 4 มี.ค. 2550

ขออนุโมทนา เป็นความคิดเห็นกระผมเองครับ และต้องขออภัย ที่อาจจะใช้คำที่ทำให้สื่อ ความหมายผิดได้ครับ อีกประการ เนื่องจากถ้าจะอธิบายเรื่องบางอย่างก็ต้องใช้เวลา และเนื้อที่มากจึงกล่าวรวบรัดเกิดไป ที่ยกข้อความว่าหมวดนี้จะเจริญได้ง่าย ไม่ได้หมายความว่า ง่ายๆ เหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ดังโวหารที่ผู้คนโดยทั่วไปกล่าวกัน

แต่กระผม หมายถึง การเปรียบเทียบกันระหว่างบรรพะทุกๆ บรรพะ ที่มีในข้อกายานุปัสสนา คือ ง่ายกว่าอานาปานสติ อิริยาบถ สัมปชัญญะ ปฏิกูล และ นวสีถิกา เพราะเป็นการพิจารณาเพียงธาตุทั้งสี่ ที่เป็นมหาภูตรูปสี่ เกิดทางกาย คน ทั่วไปจะรู้สภาพธรรมที่เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ทำให้สามารถพิจารณา สภาพธรรมนี้ได้ถูกต้องไม่เข้าใจผิดและสับสนกับสภาพธรรมอื่น ถ้าเทียบกับ อิริยาบถและสัมปชัญญะ ที่ผู้เริ่มต้นใหม่ๆ จะสับสนได้ว่า เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสภาพธรรมอะไร จะเจริญสติอย่างไร คำว่ารู้ชัดว่าเราเดินเป็นอย่างไร ปฏิกูลบรรพะ ก็ต้องไล่อาการ 32ซึ่งมีหัวข้อมากกว่ามหาภูตรูปสี่ ส่วนนวสีถิกาบรรพะไม่ต้องพูดถึงเลยแค่จะ หาซากศพที่ใหนมาเจริญสติก็คิดไม่ออกแล้ว นั่นคือที่มาของคำว่าหมวดนี้จะเจริญได้ง่าย พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ง่ายๆ ครับ ถ้าง่ายๆ ก็ไม่ใช่พระปัญญาของพระองค์

ธรรมะนั้นเข้าใจยากและลึกซึ้ง ต้องเจริญสติมากๆ บ่อยๆ เนืองๆ กระผมต้องกราบขออภัยทุกท่าน ถ้าความคิดเห็นของกระผมทำให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจผิดว่าการเจริญสติเป็นเรื่องง่าย แต่แท้จริงแล้วความเห็นส่วนตัวของผมเห็นว่า ถ้า จะเริ่มเจริญสติกายยานุปัสสนา ก็ควรเริ่มที่ธาตุบรรพะก่อนและก็เป็นเพียงคำแนะนำที่ ประกอบด้วยเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว และอาจจะไม่ตรงกับจริตของบางคนก็ ได้ ผู้อื่นอาจจะเห็นว่าบรรพะอื่นเริ่มต้นได้ง่ายกว่าก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ควร เจริญสติไปตามที่ตนเห็นสมควร ขอเจริญในธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Guest
วันที่ 5 มี.ค. 2550

การอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่กำลังปรากฏ อยู่ที่ไหนอารมณ์ใดก็ระลึกรู้ได้ ถ้าเข้าใจธรรมะ เพราะธรรมะมีอยู่ทุกขณะ ทุกอย่างเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น นี่เป็นหนทางเพื่อการตรัสรู้อริยสัจจ์ธรรมเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ ฉะนั้น ควรเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะชีวิตเป็นของน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Guest
วันที่ 5 มี.ค. 2550

สติปัฏฐาน เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ สติปัฏฐาน เป็นอนัตตา จะบังคับให้เกิดขึ้นตามความต้องการไม่ได้ แต่จะเกิด ขึ้นเมื่อมีปัจจัยที่เหมาะสม คือ การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง และมีความเข้าใจใน ปรมัตถธรรมพอสมควร เป็นผู้มั่นคงในเหตุผลตามความเป็นจริง มีสัญญาอัน มั่นคงในปรมัตถธรรมว่า ทั้งหมดที่กำลังปรากฏเป็นเพียงนามธรรมและรูปธรรม ฯ เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะคะ แต่ขอให้มีความเข้าใจจนเป็นสัจจญาณก่อน แล้วกิจญาณ (เมื่อสติปัฏฐานเกิด) จะมีได้เมื่อเหตุนั้นสมควรแก่ผล ควรศึกษาธรรมเพื่อความเข้าใจอย่างเดียว ความเข้าใจนี่แหละค่ะ คือ ปัญญา ที่จะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับการจับด้ามมีด ที่ค่อยๆ สึกไป ที่ละน้อยทีละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Guest
วันที่ 5 มี.ค. 2550

สติปัฎฐานจะไม่มีทางเกิดได้ ถ้าหากเราอยากให้สติปัฎฐานเกิด เพราะความอยากนั้น เป็นอกุศลเป็นเครื่องกั้น สติซึ่งเป็นกุศล สติจะเกิดขึ้นเองจากการเข้าใจในการฟัง เรื่องราวของอภิธรรมก่อน เมื่อความเข้าใจเจริญถึงพร้อม จะเริ่มสังเกตความแตกต่าง ระหว่างการหลงลืมสติกับการมีสติ ความเข้าใจเมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น สังขารขันธ์จะปรุง แต่งให้สติเกิดขึ้น ทีละน้อยทีละน้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Guest
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ปัญญาที่รู้ยิ่งก็ต้องรู้สภาพธรรมไม่เจาะจง ไม่เลือก ไม่บังคับ

จากการบรรยาย ชุด เทปวิทยุ ครั้งที่ 501

พระนิพพาน เปรียบเหมือนนคร ซึ่งมีทางเข้า ๔ ทาง มี ๔ ประตู เวลาจะเข้าเข้าไปพร้อมกันทั้ง ๔ ประตูได้ไหม เข้าได้ทีละประตูเท่านั้น จะเข้าทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก หรือ ทิศเหนือ ทิศใต้ เวลาจะเข้าก็เข้าประตูเดียวฉันใด เพราะฉะนั้น ไม่ว่าในขณะนั้นจะเจริญกายานุปัสสนาในขณะก่อนที่จะถึงนิพพาน ก่อนที่จะเข้าเมือง ขณะนั้นมีกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ก็ได้ ก่อนที่โลกุตตรจิตเกิดขึ้น มรรคจิต ผลจิตจะเกิด ก่อนนั้นจะมีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ก็ได้หรือจะมีจิตเป็นอารมณ์เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ได้ หรือจะมีธรรมเป็นธัมมานุ-ปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ก็ได้ แสดงแล้วว่าไม่เจาะจง ไม่เลือก ไม่บังคับ แล้วแต่ว่าขณะนั้นอินทรีย์แก่กล้าที่มรรคจิตจะเกิด ขณะนั้นกำลังมีอะไรเป็นอารมณ์กำลังมีกายเป็นอารมณ์ หรือว่าเวทนาเป็นอารมณ์ หรือว่ากำลังมีธรรมเป็นอารมณ์แต่ถ้าท่านจะถือตามพยัญชนะที่จะทำให้ฟังดูแล้วคล้ายๆ กับว่า เจริญกายานุปัสสนาอย่างเดียวก็ได้ นี่เข้าใจเอง เพราะว่าอะไร กายานุปัสสนา เป็นเรื่องระลึกรู้รูปธรรม ญาณขั้นที่ ๑ นามรูปปริจเฉทญาณ การรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม จะเจริญกายานุ-ปัสสนา รู้รูปอย่างเดียวได้ไหม ที่จะให้ญาณแม้แต่วิปัสสนาญาณขั้นแรกขั้นต้น คือนามรูปปริจเฉทญาณเกิดได้ไหม โดยการระลึกรู้แต่เฉพาะกาย ก็ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าจะเจริญแต่เฉพาะเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้แต่เฉพาะนามธรรม ไม่รู้รูปธรรม จะถึงความสมบูรณ์ของวิปัสสนาญาณ ขั้นต้นเท่านั้น ยังไม่ถึงรู้แจ้งอริยสัจธรรม คือขั้นนามรูปปริจเฉทญาณได้ไหม ตามความเป็นจริงไม่ได้เลย เมื่อไม่ได้แล้ว ทำไมจะมีการไปเจาะจงว่า จะเจริญเฉพาะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่านั้น จะเจริญเฉพาะเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่านั้น หรือว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่านั้นเลือกไม่ได้เลย

แล้วอีกประการหนึ่ง ทุกท่านทราบว่า เรื่องของการเจริญปัญญานี่ ปัญญาต้องรู้ยิ่ง ในพระไตรปิฎก ไม่ว่าท่านจะผ่านพยัญชนะใด สูตรใด จะพบว่าเรื่องของการรู้แจ้งอริยสัจธรรม เรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน เรื่องของการละคลายการยึดถือความเห็นผิดต่างๆ เป็นเรื่องของปัญญาที่รู้ยิ่ง เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ยิ่ง ก็ต้องรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง มากหรือน้อยจึงจะชื่อว่า รู้ยิ่ง? ถ้ารู้อย่างเดียว ชื่อว่ารู้ยิ่งไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
yupa
วันที่ 5 มี.ค. 2550

การศึกษาพระธรรม ต้องเริ่มจากฟัง และค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง ไม่สามารถข้าม ขั้นตอนใดๆ ได้เลย ดิฉันฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายธรรม ท่านไม่เคยบอกเลยว่า ท่านปฎิบัติธรรม ถึงขั้นไหนแล้ว ท่านไม่เคยพูดถึงตัวตนของท่านเลย เพียงแค่ทวาร ทั้ง ๖ ก็ยากต่อการเข้าใจ เพราะสติปัญญาของเรายังถูกอวิชชาครอบงำอยู่ เราต่าง คิดไปเอง เข้าใจไปเอง โดยไม่ได้เข้าใจกับสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ นับว่าเป็น โอกาสที่ดีและดีมากเลย ที่เราได้พบท่านอจ.สุจินต์ บรรยามธรรมตามแนวทางเจริญ วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อิคิว
วันที่ 5 มี.ค. 2550

เชิญคลิกอ่าน...

กรรมฐานมีธาตุเป็นอารมณ์.. จตุธาตววัฏฐาน [วิสุทธิมรรคแปล]

การเจริญธาตุกรรมฐานนั้นมีความพิสดารและลึกซึ้งยิ่งนัก นอกจากจะหาอ่าน จากคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว ยังสามารถรับฟังจากการบรรยายธรรมะ ของท่าน อ.สุจินต์ ได้เช่นกันแต่กระผมจำไม่ได้ว่าเป็นการบรรยายชุดไหนตอนไหนขอเจริญในธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
kchat
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ขออนุโมทนาท่านเจ้าของความคิดเห็นที่ 8

ความเห็นที่ท่านแสดงเป็นประโยชน์มาก ครับ ดังนี้ การศึกษาพระธรรม ต้องเริ่มจากฟัง และค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง ไม่สามารถข้ามขั้น ตอนใดๆ ได้เลย ดิฉันฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายธรรม ท่านไม่เคยบอกเลยว่า ท่านปฎิบัติธรรม ถึงขั้นไหนแล้ว ท่านไม่เคยพูดถึงตัวตนของท่านเลย เพียงแค่ทวาร ทั้ง ๖ ก็ยากต่อการเข้าใจ เพราะสติปัญญาของเรายังถูกอวิชชาครอบงำอยู่ เราต่าง คิดไปเอง เข้าใจไปเอง โดยไม่ได้เข้าใจกับสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ นับว่าเป็น โอกาสที่ดีและดีมากเลย ที่เราได้พบท่านอจ.สุจินต์ บรรยามธรรมตามแนวทางเจริญ วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 6 มี.ค. 2550

รู้และเข้าใจในธรรมะที่ทรงแสดงไว้ เป็นขั้นแรกที่เราต้องใส่ใจให้มาก ไม่ใช่รู้แบบ เดิมๆ ที่คิดว่ารู้ แต่เป็นเพียงการท่องจำ แต่ต้องรู้และเข้าใจในความหมายที่ทรงแสดง ไว้จริงๆ ไม่ใช่เผินๆ พยัญชนะทั้งหลายที่เรากล่าวอ้าง ข้อความทั้งหลายในพระ ไตรปิฎกที่เรานำมาแสดงต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบสุจริต และด้วยความเคารพใน พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ไม่นำมาเพียงเพื่อสนับสนุนความเห็นของเราเอง แต่ต้องเป็น ความตรงจริงๆ ในความหมายที่ทรงแสดงไว้ หาไม่แล้วการที่ผู้ใดจะประจักษ์แจ้งใน ธรรมะก็จะมีไม่ได้เลย ขออนุโมทนาที่ท่านสนใจในธรรม ขอให้กำลังใจในการฟัง ธรรมจนเป็นความเข้าใจจริงๆ ต่อไปนะครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ