ใครรู้อย่างนี้บ้างครับ

 
kchat
วันที่  4 มี.ค. 2550
หมายเลข  2965
อ่าน  876

ได้อ่านความคิดเห็นที่มีผู้เขียนเข้ามาในกระทู้หนึ่งดังนี้ "แต่จากประสพการณ์จริงทำ ให้เห็นว่า ทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป " ผู้ที่จะเห็นจริงตามนี้ ต้องมี ปัญญาระดับใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 4 มี.ค. 2550

นามธรรมและรูปธรรม มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ที่จะประจักษ์แจ้ง ความไม่เที่ยง เป็นต้น ของนามและรูป ย่อมรู้ได้ด้วยปัญญาระดับวิปัสสนาญาณ ขั้นสัมมสนญาณอุทยัพพยญาณ ขึ้นไป ปัญญาขั้นต่ำกว่านี้ ย่อมรู้ลักษณะไตรลักษณ์ ของนามและรูปไม่ได้แต่การที่เราเห็นวัตถุสิ่งของที่เปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปตาม กาล ไม่ชื่อว่ารู้ความไม่เที่ยงของนามรูป เป็นการคิดนึกเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 4 มี.ค. 2550

การที่จะรู้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต้องเป็นวิปัสสนาญาณที่ 4 คือ อุทยพย ญาณปัญญาที่รู้จักความเกิดดับของสังขารทั้งหลาย การที่เราจะถึงปัญญาระดับนี้ได้ ก็ต้องอาศัยการฟัง การอ่าน การพิจารณา โดยเฉพาะอบรมสติปัฎฐานเป็นเบื้อง ต้นไปก่อนที่จะถึงวิัปัสสนาขั้นต่างๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chackapong
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านนะครับถ้าหากผมได้ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดบางประการ ผมไม่แน่ใจว่าท่านผู้ถามปัญหาได้หยิบยก ประโยคที่ผมกล่าว มาอ้างอิงหรือไม่ ที่ว่า จากประสพการณ์จริงทำให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป สิ่งนี้เป็นธรรมะ หรือสัจธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนในเบื้องต้นเลยใช่ไหมครับ ผมไม่สามารถอธิบาย เป็นภาษาธรรมได้ แต่จากประสบการณ์ตรงทำให้สรุปได้เช่นนี้ ขอท่านผู้รู้ช่วยเสริม ส่วนที่ขาดตกบกพร่องด้วยครับ (จากหัวข้อ รอเพื่อนช่วยตอบที chackapong) อัน เนื่องมาจากการใข้ภาษาของผมเอง ที่ถูกแล้วผมไม่ควรใช้ประโยคที่กล่าวมาข้างต้น ชึ่งทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าผมรู้ได้ด้วยปัญญาระดับวิปัสสนาญาณ ขั้นสัมมสนญาณอุท ยัพพยญาณ ชี่งในความเป็นจริงผมเป็นเพียงแค่ปุถุชนธรรมดาเท่านั้น ขออภัยมา ณ ที่ นี้ด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kchat
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ได้อ่านความคิดเห็นของผู้ชมท่านหนึ่ง คิดว่าเป็นประโยชน์มาก จึงขอนำมาให้อ่านกัน ที่นี่ ดังนี้ การศึกษาพระธรรม ต้องเริ่มจากฟัง และค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง ไม่สามารถข้ามขั้น ตอนใดๆ ได้เลย ดิฉันฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายธรรม ท่านไม่เคยบอกเลยว่า ท่านปฎิบัติธรรม ถึงขั้นไหนแล้ว ท่านไม่เคยพูดถึงตัวตนของท่านเลย เพียงแค่ทวาร ทั้ง ๖ ก็ยากต่อการเข้าใจ เพราะสติปัญญาของเรายังถูกอวิชชาครอบงำอยู่ เราต่าง คิดไปเอง เข้าใจไปเอง โดยไม่ได้เข้าใจกับสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ นับว่าเป็น โอกาสที่ดีและดีมากเลย ที่เราได้พบท่านอจ.สุจินต์ บรรยามธรรมตามแนวทางเจริญ วิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chackapong
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ตามความจริงแล้ว ผมได้พยายามปลอบใจคุณติ๊กว่าปัญหาที่ผมประสบหนักหนาสาหัส มาก ถ้าใครได้ประสบเหมือนผมแล้วคงจะทุกข์ใจมากทีเดียว แต่ผมก็ทำใจได้ในระดับ หนึ่ง ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่เราคงหลีกเลี่ยงไม่พ้น เหมือนคำว่าปวดฟัน ผู้ที่ไม่ได้ ปวดฟันจริงก็อาจเข้าใจได้ แต่ผู้ที่กำลังปวดฟันอยู่กำลังได้รับความทุกข์เป็นประสบการณ์ตรง ส่วนการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องและอาจก็ให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งผมเข้าใจได้ไม่ถึงแก่นธรรม ผมขอยอมรับตามที่ตอบท่านไปแล้ว ผมต้องขออภัยทุกท่านจริงๆ และขอบพระคุณท่านผู้รู้ที่กรุณาต่อผม ที่เข้ามาอธิบายช้ำอีกครั้งหนึ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chackapong
วันที่ 5 มี.ค. 2550

ขอเรียนถามเรื่องการเข้าใจธรรมะ อยากทราบว่า เราสามารถที่จะทราบได้หรือไม่ครับว่า ผู้ใด เข้าใจธรรมะได้ตรง และถูกต้องแล้วหรือไม่ ถ้าทราบได้ จะทราบได้อย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
devout
วันที่ 6 มี.ค. 2550

ต้องศึกษาธรรมจนกว่าจะเข้าใจ เพราะปัญญาเท่านั้นที่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Guest
วันที่ 6 มี.ค. 2550

การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรศึกษาเป็นไปตามลำดับ คือ ขั้นต้นควรศึกษาให้เข้าใจก่อนว่าคืออะไร เช่น ธรรมะ การปฏิบัติ ธรรม ปัญญา สมาถะ สมาธิ เป็นต้น แต่ละอย่างคืออะไร โดยเฉพาะคำว่า"ปฏิบัติธรรม" ส่วนใหญ่เข้าใจว่าคือการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น นั่งสมาธิ เดินจง กรม เป็นต้น แต่เมื่อศึกษาโดยละเอียดจะทราบว่า ปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระ- พุทธองค์ คือ การถึงเฉพาะลักษณะสภาพของธรรม ได้แก่ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริงตามลำดับก็คือ ผู้ศึกษาพระธรรมจนเข้าใจ ย่อมเป็นผู้มีปกติเจริญกุศลทุกประการ ทั้งขั้นทาน ศีล ภาวนา โดยเป็นผู้ที่มี ความเห็นถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ เสียสละวัตถุสิ่งของ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นการประพฤติตามจารีตประเพณีที่ดีงาม การวิรัติงดเว้นจากทุจริต การอบรมความสงบ ของจิตในชีวิตประจำวัน การศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อแทงตลอด ไตรลักษณะตามความเป็นจริง ตามลำดับขั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Guest
วันที่ 6 มี.ค. 2550

ผู้ใดเข้าใจธรรมะได้ตรง และถูกต้อง จะไม่ข้ามขั้นตอน การศึกษาพระธรรมคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ควรศึกษาเป็นไปตามลำดับ และเป็นการศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Guest
วันที่ 6 มี.ค. 2550

ลองเปิดฟังดูนะครับ

บ้านธัมมะ มค ๒๕๕๐_๐๘

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chackapong
วันที่ 6 มี.ค. 2550

ขอขอบพระคุณท่านผู้รู้ทีกรุณาตอบข้อสงสัย ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับว่า การศึกษา สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง นั้นเป็นอย่างไร กรุณาอธิบายให้เห็นได้ในชีวิต ประจำวันง่ายๆ ได้ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Guest
วันที่ 6 มี.ค. 2550

สภาพธรรมที่มีจริง ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ก็ไม่พ้น นามธรรม และ รูปธรรม คือ จิตเจตสิก และ รูป นั่นเอง ทุกๆ วันก็มี เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิด นึก การศึกษาสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง ก็คือการศึกษาสิ่งเหล่านี้ซึ่งเกิด ขึ้นในชีวิตประจำวัน และผ่านไปวันหนึ่งๆ ด้วยความไม่รู้ ศึกษาเพื่อค่อยๆ รู้ขึ้น สำหรับ “นามธรรม” ก็เป็นธรรมะที่มีจริง ไม่มีรูปร่างลักษณะเลย ไม่มี สีสันวรรณะใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อเกิดต้องเป็นธาตุที่รู้ เกิดขึ้นเพื่อรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็ดับไปเช่น ในขณะนี้นามธรรมเกิดขึ้นได้ยินเสียง รู้ลักษณะของเสียงที่ ปรากฏว่า เสียงที่ปรากฏมีลักษณะอย่างนี้ ขณะนั้นก็เป็นนามธรรม เป็นธาตุ ธรรมกับธาตุ ใช้แทนกันได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจ ตัวจริงของธรรม คนนั้นก็จะทราบได้ว่า ไม่ใช่เป็นการจำชื่อ ที่ใครถามก็ตอบได้ แต่เป็นการรู้ จริงๆ ว่าธรรมะอยู่ที่ไหน ลักษณะนั้นมีจริงตามที่ทรงแสดงทุกอย่าง เช่น ขณะนี้ เสียงมีจริงไม่ใช่นามธรรม เพราะว่ามีลักษณะที่ปรากฏเมื่อกระทบกับหู แต่ส่วนสภาพที่ได้ยินเสียงต้องมี ถ้าไม่มี เสียงก็ปรากฏไม่ได้ เพราะ ฉะนั้น ผู้นั้นก็สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนามธรรม เพราะว่าขณะนี้มี นามธรรมที่กำลังเห็น มีนามธรรมที่กำลังได้ยิน ถ้ามีคนตายที่นี่ คนนั้นจะไม่ เห็น ไม่ได้ยิน เพราะว่าไม่มีนามธรรม ไม่มีจิตเจตสิก เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น นามธรรมก็ได้แก่ สภาพที่เราเคยใช้คำว่า จิตใจ เป็น สภาพที่รู้เป็นสภาพที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเวลาที่รูปเกิด กับสัตว์บุคคลเกิดต่างกัน เพราะว่าเป็นแต่ เพียงรูปธรรมล้วนๆ เช่นต้นไม้ ใบหญ้า ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินอะไรเลย แต่ ขณะใดที่มีการเห็น มีการได้ยินไม่ต้องคำนึงถึงรูปร่างเลย เพราะว่าอาจจะเป็น รูปร่างของนก อาจจะเป็นรูปร่างของช้าง อาจจะเป็นรูปร่างของมด แต่เห็นเป็น ธาตุรู้ ซึ่งสามารถที่จะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่าเป็นสีสันวรรณะอย่าง ไร หรือเสียง เวลาที่มีธาตุรู้เกิดขึ้นได้ยินเสียง ก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของ เสียงซึ่งแม้แต่เสียงก็ต่างกัน เสียงกลอง เสียงปี่ เสียงคนเสียงนก เสียงต่างๆ ก็มีลักษณะต่างๆ แต่สภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งเป็นนามธรรมก็ยังสามารถที่จะได้ ยินเสียงนั้นชัดเจน แจ่มแจ้ง ในเสียงที่ปรากฏ

นี่คือลักษณะของนามธาตุ ซึ่งถ้าแบ่งออกไป ก็ได้แก่ จิตและเจตสิก เพราะว่าจิตนั้นเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของ อารมณ์ แต่ไม่ได้จำ ไม่ได้รู้สึก ไม่ได้รัก และไม่ได้ชังในอารมณ์นั้น ส่วนเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ก็ทำหน้าที่ของเจตสิกแต่ละประเภท เช่น โลภ มูลจิตเป็นสภาพที่ติดข้องในสิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chackapong
วันที่ 7 มี.ค. 2550

ขอขอบพระคุณ คุณ sutta มากนะครับ เนื่องจากที่ผ่านมา ผมได้รับความทุกข์ในชีวิต มากมาก แล้วบางเรื่องก็เริ่มคลี่คลายไปตามกาลเวลา ทำให้ผมเห็นว่า เป็นเรื่อง ธรรมดาในชีวิต และไปตรงกับคำสอนของพระองค์ท่าน ผมก็พูดไปตามสิ่งที่ผม ได้ ประสพมา ไม่ได้มีเจตนาอื่นใด ผมยังเป็นปุถุชนคนเดินดิน เพราะผมไม่ทราบว่าจะ สื่อสารให้ถูกต้องได้ อย่างไร ขอความกรุณาท่านอีกสักครั้งเถอะว่า ผมควรจะพูดอย่าง ไร เพื่อต่อไปจะไม่เกิดความเข้าใจไม่ถูกต้อง จนเป็นที่มาของกระทู้นี้อีก

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Guest
วันที่ 7 มี.ค. 2550
ปัญญาย่อมเกิดและเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ก้าวกระโดดเหมือนกบกระโดด เบื้องต้นปัญญาเกิด เพราะการฟังการศึกษา บางอย่างที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ เมื่อคิดพิจารณาภายหลังย่อมแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อเข้าใจมากยิ่งขึ้น ย่อมศึกษาตัวลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้น
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
fueng
วันที่ 7 มี.ค. 2550

ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วไม่ทุกข์ ไม่มีใครที่ไม่รู้จักความทุกข์ เด็กที่ไม่รู้ประสาก็รู้จักความ ทุกข์ คนที่ไม่เคยฟังธรรมะก็รู้จักความทุกข์ ความทุกข์ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงลึกซึ้งกว่าความทุกข์กายทุกข์ใจที่เราทุกคนประสพอยู่ เป็นเรื่องที่ต้อง ศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ

ธรรมทัศนะ ..ผู้ที่ศึกษาธรรมะต้องมีความอดทน

ไม่มีบุคคลผู้ใดที่จะสามารถรู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีการฟังพระธรรม การศึกษาพระธรรม การฟังพระธรรม จะทำให้เรามีความเข้าใจในสภาพธรรมตามความเป็นจริงมากขึ้น จากการเป็นผู้ที่ไม่เคยรู้ ก็จะค่อยๆ รู้ขึ้น ฉะนั้น ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องมีความอดทน ในการที่จะศึกษา ในการที่จะฟัง พิจารณาไตร่ตรองความลึกซึ้งของพระธรรม

ธรรมทัศนะ ..จากท่านผู้ชม

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
yupa
วันที่ 7 มี.ค. 2550

ขออนุโมทนา กับ ทุกๆ ความคิดเห็น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระธรรม เจริญกุศลทุกครั้งที่มีโอกาส นี่คือประโยค ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวเสมอ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ