ชีวิต, ขันธ์ ๕ , รูป-นาม

 
ธีรวังโส
วันที่  26 ก.พ. 2550
หมายเลข  2915
อ่าน  5,413

ผมเองกำลังศึกษาธรรมะ อยู่ในระดับอนุบาล ผมตอบข้อสอบมาดังนี้ครับ ไม่ทราบว่าพอจะถูกผิด ประการใดบ้าง

ปล. หากกระผมตั้งหัวข้อที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของเวปต์ไซต์ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ

1) องค์ประกอบของชีวิต สามารถจำแนกโดยละเอียดได้เป็น ๕ ส่วน เรียกว่า ขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ หรือ จิต หรือจำแนกโดยย่อเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ รูป จิต เจตสิก หรือจำแนกโดยย่อเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ รูป และ นาม

2) ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้น ย่อมจะต้องมีธรรมชาติอีก ๒ ประการ เกิดร่วมด้วยเสมอ ธรรมชาติ ๒ ประการนั้น ได้แก่ ๑. เจตสิก ๒. อารมณ์

3) ทวาร หรือ ประตู ที่จิตจะออกมารับอารมณ์ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

4) สิ่งที่ปรากฎให้เห็นทางตา มีชื่อเฉพาะว่า รูปารมณ์ และจิตที่ทำหน้าที่เห็น มีชื่อเฉพาะว่า จักขุวิญญาณ

5) จิต หรือ วิญญาณ มีความสัมพันธ์กับอารมณ์อย่างไร จงอธิบาย เป็นธรรมชาติชนิด หนึ่งที่รู้อารมณ์ (เครื่องหน่วงจิต)

6) นอกจากจิตจะมีลักษณะสามัญ (สามัญลักษณะ) ทั่วไปแล้ว จิตยังมีลักษณะพิเศษ เฉพาะตัวอีก เรียกว่า วิเสสลักษณะ

7) ภวังจิต คือ ขณะที่กระแสจิตไม่ออกมารับรู้เรื่องราว (อารมณ์) ทางทวารทั้งหก

8) ชีวิตของมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย ต้องเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับภพ นับชาติไม่ ถ้วน ด้วยอำนาจของ ๑. กุศลกรรม ๒. อกุศลกรรม

9) ในขณะที่เรานั่งคิด เรื่องโน้น เรื่องนี้อยู่นั้น จิตหรือวิญญาณกำลังอยู่ที่ ใจ

10) เหตุที่กล่าวว่า จิตเป็นประธานในธรรมทั้งปวง เพราะ คือเป็นการเน้นให้ทราบว่าจิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง และเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้า เพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลส ตัณหาชัดไปด้วย เนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง ในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือ ไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ แม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ก.พ. 2550

ความเห็นของท่านบางข้อยังไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน เช่น ข้อที่ ๒. ควรกล่าวว่า ทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้น ย่อมมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ข้อที่ ๓. ทวารทั้ง ๖ เป็นทางรู้อารมณ์ของจิต แต่จิตไม่ได้ออกมาข้อที่ ๖. สถาพธรรมทั้งหมดมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว เรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือ วิเสสลักษณะข้อที่ ๗. ภวังคจิตเป็นจิตประเภททวารวิมุติ เป็นวิถีวิมุติ ข้อที่ ๙. ในขณะที่เรานั่งคิด เรื่องโน้น เรื่องนี้อยู่นั้น เป็นจิตทางมโนทวาร ข้อที่ ๑๐. พระพุทธองค์ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมะ จิตเป็นใหญ่เป็น ประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และอกุศลจิตวิบากจิตรู้ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ได้ แม้ว่าไม่มีสติและปัญญาเกิดร่วมด้วย

ขอแนะนำว่าควรศึกษาพระธรรมให้เข้าใจมากขึ้นต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 27 ก.พ. 2550

ข้อ 2. อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้ จิตและเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์ เดียวกัน จิตเกิดที่ไหนเจตสิกก็เกิดที่นั้น

ข้อ 3. ภวังคจิต หมายถึง จิตที่ดำรงภพชาติ เช่น เป็นมนุษย์ ก็เป็นไปจนตายแล้วก็ ไปตามกรรม (แล้วแต่ว่าจะเกิดเป็นอะไรอีก)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ธีรวังโส
วันที่ 28 ก.พ. 2550
สาธุ กราบอนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ