ความเพียร

 
Guest
วันที่  24 ก.พ. 2550
หมายเลข  2902
อ่าน  986

มีความเพียรอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 ก.พ. 2550

พระพุทธองค์ทรงแนะนำสาวกให้เพียรในการเจริญกุศล เพื่อละอกุศลคือ มีความเพียรในสัมมัปปธาน ๔

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

การปรารถความเพียร [สัมมัปปธาน ๔]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 27 ก.พ. 2550

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

สัมมัปปธาน ๔ [ปธานสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 พ.ค. 2550

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ข้อความบางตอนจาก

สุสิมสูตร

บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร มีความเพียรบริบูรณ์ในข้อนั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะเดินติดมาถึงขณะยืน ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะยืน ติดมาถึงขณะนั่ง ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะนั่ง ติดมาถึงขณะนอน. กิเลสเกิดในที่นั้นๆ ก็ข่มไว้ได้ในที่นั้นๆ นั่นแหละ.

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาอัจฉรา

อนึ่ง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตาม ยืนอยู่เพราะอาศัยส่วนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ก็ตาม วางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือศรีษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตาม กำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์ อันเขาตกแต่งในท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตาม ย่อมกระทำกาละ ภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละในเพราะธุระ คือความเพียร.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 13 พ.ค. 2550

เพียรที่จะทำความดีทุกอย่าง เพียรที่จะมีเมตตากับทุกคน เพียรที่จะขัดเกลากิเลส เพียรที่จะละอกุศลคือความไม่ดีทุกอย่าง เพียรที่จะละความเห็นผิด ด้วยการฟังธรรมะ ด้วยการอ่าน ด้วยการอบรมสติปัฏฐานค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 พ.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 13 ต.ค. 2550

ขณะที่ฟังเข้าใจ ขณะนั้นก็มีความเพียรแล้วนะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ