เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

 
webdh
วันที่  22 ก.พ. 2550
หมายเลข  2885
อ่าน  9,439

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ หน้าที่ 140

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจาก

ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกายวาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษคฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตนเป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
TSP
วันที่ 22 ก.พ. 2550

อันที่จริงเราพลัดพราก จากสิ่งที่รัก หรือไม่รักก็ตาม ทุกขณะจิตอยู่แล้ว แต่เป็นเพียงเราไม่รู้เท่านั้นเอง ยกเว้นขณะที่เป็นภวังคจิต โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดเป็นที่รัก หรือไม่รัก เป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป การที่เราจะรู้ว่าสภาพธรรมเป็นแต่เพียงนามธรรม รูปธรรม ซึ่งจะทำให้เราละคลายความเป็นตัวตนนั้น สำคัญมาก นามธรรมก็เป็นแต่เพียง ธาตุรู้ สภาพรู้ อาการรู้ น้อมไปที่จะรู้ใในลักษณะเหล่านี้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพื่อที่จะเข้าใจในลักษณะที่ปรากฏตามความเป็นจริง สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นแต่เพียง ธาตุรู้ สภาพรู้อาการรู้ ลักษณะรู้ เห็นก็ดับ สี หรือ วัณโณไม่ปรากฏทางอื่นเลย นอกจากปรากฏทางตาได้เท่านั้น สีไม่ใช่สภาพรู้ ขณะที่รู้สี เป็นนามธรรม รูปธรรมไม่สามารถรู้อะไรได้เลย แต่ปรากฏให้จิตรู้ จิตสามารถรู้อารมณ์

ต่างๆ ได้ ส่วนมากนั้นเราจะคิดนึกมาก (ทางใจ) วันๆ หนึ่งนั้น คิดไม่หยุดเลย ก็เป็นแต่เพียงลักษณะธรรมชนิดหนึ่งที่รู้ได้ ทางใจ คิดก็ดับ ทุกคน ที่ศึกษาธรรมนั้นก็คงจะรู้ว่า ไม่ได้คิดตลอดวันแน่ เห็นก็มี ได้ยินก็มี แข็งก็มี ขณะที่เห็นก็ไม่ได้คิด ขณะที่ได้ยินก็ไม่ได้คิด แต่เนื่องจากสภาพธรรมเกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เสมือนกับว่า เห็น ได้ยินเกิดขึ้นพร้อมกัน ที่จริงแล้ว เห็นก็ขณะหนึ่ง ได้ยินก็ขณะหนึ่ง แต่เวลาปรากฏทางมโนทวารซึ่งรวดเร็วจนแยกไม่ออก ควรที่จะพิจารณาขณะที่สภาพธรรมที่ปรากฏ ตรงกับลักษณะสภาพธรรมนั้นซึ่งจะทำให้เราละคลายความเป็นตัวตนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการนำมาพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 22 ก.พ. 2550
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 22 ก.พ. 2550

เมื่อรู้ว่าเราจะต้องพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของทุกข์ทั้งหลาย สิ่งสำคัญ คือการอบรมปัญญาเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงข้างหน้า ถึงแม้ว่าเรายังไม่สามารถจะดับทุกข์ได้ แต่ความยึดมั่นถือมั่นลดลงความทุกข์ก็ลดลงด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 12 พ.ค. 2550

เรื่อง ต้องพลัดพรากจากกันควรเพียรเพื่อบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 312
ข้อความบางตอนจาก มหาปรินิพพานสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะท่านพระอานนท์ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่าอย่าเลย อานนท์ เธออย่าเศร้าโศกร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นต้องมี ข้อนั้นจะหาได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลยดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ อานนท์ เธอได้เป็นอุปัฏฐากตถาคต ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุขไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านานเธอได้กระทำบุญไว้แล้ว อานนท์ จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ