ลักษณะอาการของการติดในชื่อ

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  1 ก.ค. 2559
หมายเลข  27937
อ่าน  898

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ลักษณะอาการของการ ติดในชื่อ เป็นอย่างไร

๒. ลักษณะอาการของการ ไม่ติดในชื่อ เป็นอย่างไร ต้องเป็นคุณสมบัติของผู้มีสติปัญญาระดับไหน เช่น สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ หรือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ หรือ สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ก.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศึกษาชื่อ เพื่อเข้าใจลักษณะสภาพธรรม แต่ไม่ใช่ศึกษาชื่อ เพราะ เข้าใจผิดว่า การตรึกใน ชื่อ เป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ที่ถูกต้องในการศึกษาพระธรรม คือ เข้าใจถูกว่า ชื่อ คือ การแสดงความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ ก็จะไม่เป็นผู้ที่ติดในชื่อ ครับ

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ดีใจ เสียใจ ติดข้องยินดีพอใจ หงุดหงิด โกรธ ขุ่นเคือง ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด เป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น จึงควรที่จะศึกษาเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ ละความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ในที่สุด ครับ

ขอเชิญคลิกฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

ศึกษาให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมะ มากกว่าที่จะติดในชื่อ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 1 ก.ค. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม แน่นอนจะต้องจะได้ยินคำ แต่ละคำ แต่คำที่ได้ยินได้ฟังนั้น เพื่อส่องให้เข้าใจในความเป็นจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่ไปติดที่คำ หรือติดที่ชื่อ มุ่งไปที่ความเข้าใจถูกจากคำที่ได้ยินได้ฟัง แต่ถ้าเรียนคำเรียนชื่อด้วยความอยากรู้ชื่อซึ่งเป็นคำภาษาบาลีต่างๆ โดยที่ไม่ได้มุ่งไปที่ความเข้าใจตัวจริงของธรรม ก็เป็นการติดในชื่อในเรื่องราว

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีมาก แต่ละคำที่พระองค์ตรัส ก็เพื่อความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่มีจริงตามความเป็นจริง ที่จะต้องฟังต้องศึกษา ไม่ขาดการฟังพระธรรม ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย อดทน จริงใจ โดยมีจุดประสงค์ที่ถูกต้องว่า เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ถ้ามีจุดประสงค์ที่จะศึกษาในแต่ละคำให้เข้าใจ อย่างนี้ไม่ใช่ติดในคำ แต่อาศัยคำแต่ละคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส เพื่อความเข้าใจ ตรงตั้งแต่ต้นจริงๆ และ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม มีการระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรม ขณะนั้นไม่มีชื่อ มีแต่ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏกับสติปัญญา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 1 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 1 ก.ค. 2559

แม้แต่คำว่า จิต เจตสิก ยังติด บางครั้งถึงจะระลึกรู้ว่าเป็นเพียงคำที่ส่องให้เข้าใจ สภาพรู้ เท่านั้นเองค่ะ ถ้าเผลอ (เผลอเป็นปกติ) ก็ติดในชื่อเสมอ ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม ก็ไม่มีอะไรเลย ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 2 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 3 ก.ค. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
anuraks168
วันที่ 14 พ.ย. 2561

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ