ไม่เข้าใจน้ำปานะ

 
เจริญในธรรม
วันที่  4 เม.ย. 2559
หมายเลข  27633
อ่าน  732

บทหนึ่งกล่าวว่าต้องสุกด้วยพระอาทิตย์ ควร แล้ว สุกด้วยพระอาทิตย์ ในหลักความเป็นจริงในการทำน้ำปานะ มีด้วยเหรอครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้าม ในเรื่องของการฉันน้ำปานะ ว่า

ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่าง อัมพปานะ. อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร. สุกด้วยไฟไม่ควร.

เป็นการแสดงถึงว่า การทำสุกด้วยไฟ ไม่สมควรกับพระภิกษุ และผิดพระวินัยเพราะเอื้อต่อการที่จะต้องประกอบอาหาร และ มีอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น ทำให้เป็นผู้มักมาก ทรงห้ามการทำสุกด้วยไฟ แต่ทำน้ำปานะ สุกด้วยแสงอาทิตย์ควร หมายถึงเอาน้ำปานะ ไปตากแดด แดดที่แรง มีความร้อน ย่อมทำให้สุกได้ครับ การทำให้ร้อนเช่นนี้ ด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ ย่อมควร ไม่ต้องอาบัติ และ เป็นการไม่ต้องมีอุปกรณ์ ประกอบกิจการงานมาก ดังเช่นคฤหัสถ์ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 เม.ย. 2559

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุมีเพศที่แตกต่างไปจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง จะบริโภคอาหารในเวลาวิกาลไม่ได้ จะประกอบอาหาร ก่อไฟ หุงต้ม อย่างคฤหัสถ์ ไม่ได้ จึงเป็นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่ง แต่ก็ได้ทรงอนุญาตน้ำปานะ ตามพระวินัยไว้ คือ น้ำผลไม้ ๘ ชนิด (ตามข้อความในพระวินัย) เมื่อคั้นแล้วกรองเอาเฉพาะน้ำไม่มีกาก พระภิกษุสามารถรับประเคนและฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง ครับ

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
น้ำอัฎฐบาน

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 6 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 7 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 7 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kukeart
วันที่ 10 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาสาธุ มีความเข้าใจเรื่องน้ำปานะ ขึ้นมาอีกนิดหนึ่งครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ