การทำความเคารพพระภิกษุสงฆ์

 
amornrat44
วันที่  16 ก.ค. 2558
หมายเลข  26790
อ่าน  26,776

เรียนถามเรื่องการทำความเคารพพระภิกษุ การกราบที่ถูกต้องควรกราบกี่ครั้งและต้องแบมือในขณะที่กราบหรือไม่ เพราะได้ยินมาว่าเวลากราบพระพุทธรูปกราบสามครั้งแต่พระภิกษุควรกราบครั้งเดียวไม่ต้องแบมือถูกต้องหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การไหว้ ในพระไตรปิฎกมี 2 อย่าง คือ ไหว้ด้วยกาย และไหว้ด้วยใจ การไหว้ หรือ การกราบ มีได้เพราะอาศัย จิต เจตสิกและรูปที่เกิดขึ้น การไหว้ มีได้ทั้งที่เป็นกุศลจิตและอกุศลจิตครับ ที่เป็นกุศลจิตก็ด้วยการเคารพในพระคุณของผู้นั้น หรือ ด้วยอกุศลก็เพราะความกลัวบุคคลนั้นจึงไหว้ หรือ เพราะต้องการประจบ เป็นต้น การไหว้จึงมี 4 อย่าง ดังนี้ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติเพราะความกลัวเพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.


การกราบไหว้ด้วย กุศลจิต ก็ด้วยจิตที่นอบน้อมระลึกถึงพระคุณ เป็นต้น แม้ไม่ได้แสดงออกมาก็เป็นการไหว้แล้วในขณะนั้นที่มีจิตเคารพ แต่เมื่อมีการแสดงออกมาทางกาย ก็มีลักษณะการไหว้ แตกต่างกันไปตามประเพณีของสังคมและตามสมัยนิยมในยุคนั้นที่กระทำกันครับ แม้ในสมัยเดียวกัน ยุคเดียวกัน การไหว้ก็มีลักษณะแตกต่างกันไปครับ เช่น ในสมัยพุทธกาล ก็มีการกราบไหว้ หลากหลาย แต่ก็ด้วยจิตที่เป็นกุศลในการไหว้นั้นครับ เช่น การทำอัญชลีกรรม อันนี้คงเคยได้ยิน คือ การไหว้โดย ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ 10 นิ้ว แบบดอกบัว ซึ่งในสมัยนั้นการไหว้พระทั้งหลาย ก็ไหว้ด้วยอัญชลีกรรมมากมายครับ การไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า คือการกราบโดยให้อวัยวะ 5 ส่วนจดลงให้ติดกับพื้น คือเข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และหน้าผาก และการไหว้ด้วยการกราบเท้า เช่น ไว้พระพุทธเจ้าก็กราบที่พระบาท บางท่านก็จูบพระบาทและนวดพระบาท ก็มีครับ เช่น พรหมมายุพราหมณ์ไหว้พระพุทธเจ้าครับ

การไหว้พระ เช่น เบญจางคประดิษฐ์ แผ่นดิน ชื่อว่าเป็นส่วนที่ต่ำที่สุด การแสดงความเคารพ ก็แสดงกับผู้ที่พระคุณสูง จึงนำศีรษะส่วนที่สูงที่สุดของเรา หมอบลงจรด พื้นดิน อันแสดงถึงความเคารพ ด้วยอวัยะที่สูงที่สุดของเรา จรด พื้นบริเวณที่ต่ำสุดครับ ซึ่ง การแบมือลงไป ก็เพื่อให้ศีรษะได้จรด กระทบพื้นแผ่นดิน หรือบริเวณที่ต่ำสุดนั่นเองครับ ไหว้กราบผู้มีพระคุณอันสูง อันเป็นการไหว้แบบเบญจางคประดิษฐ์นั่นเอง เพราะถ้าไม่แบมือ ศีรษะก็จรดพื้นดินไม่ได้ครับ

เพราะฉะนั้น การไหว้ ด้วยกุศลจิต ก็ไหว้ด้วยความนอบน้อม ไม่ได้หมายถึง จะต้องแบมือ หรือ ไม่แบมือ ก็สามารถไหว้ สามครั้ง กับพระพุทธรูป อันระลึกถึงพระรัตนตรัย และ ไหว้หนึ่งครั้ง กับ ภิกษุบุคคล ที่เป็นสงฆ์ได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kullawat
วันที่ 16 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก ว่า ความเคารพเป็นเรื่องของกุศลจิต ที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่ใช่อาการภายนอก แม้ไม่ได้ประคองอัญชลีหรือกราบไหว้ เพียงจิตที่เลื่อมใสเคารพบูชา ก็สำเร็จเป็นบุญแล้วในขณะนั้น เพราะกุศลธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ไม่ใช่เรา อย่างเช่น มัฏฐกุณฑลีมาณพ ที่ป่วยหนักมือยกไม่ไหว ก็สามารถเคารพบูชาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ด้วยกุศลจิต นั่นเอง ที่เป็นเครื่องเคารพบูชา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 17 ก.ค. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 18 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jirat wen
วันที่ 18 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 23 ต.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 11 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ