ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น

 
pdharma
วันที่  4 ก.พ. 2558
หมายเลข  26137
อ่าน  807

ใน พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1-21

๗. สติปัฏฐานวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

ในส่วน กายานุปัสสนานิทเทส เวทนานุปัสสนานิทเทส จิตตานุปัสสนานิทเทส และธัมมานุปัสสนานิทเทส จะมีข้อความว่า "ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น" ในทุกนิทเทส

๑. ใคร่ขอช่วยอธิบายคำว่า "ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก"

๒. "กำหนดด้วยดี" กำหนดด้วยดี คือกำหนดอย่างไร

๓. "ซึ่งนิมิตนั้น" นิมิตในที่นี้ หมายความถึงอะไร

ขอบพระคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. ใคร่ขอช่วยอธิบายคำว่า "ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก"

-ขณะที่ปัญญาเกิดรู้ความจริง ที่เป็นวิปัสสนา อันมีวิริยะความเพียรที่รู้สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้น ชื่อว่า ย่อมเสพ คือ ปัญญารู้ความจริง ที่เสพคุ้นด้วยวิริยะ ที่เพียรรู้ความจริงในขณะนั้น

ย่อมเจริญ หมายถึง ขณะที่รู้ความจริง ขณะนั้น ปัญญาก็กำลังเจริญรู้ความจริง ขื่อว่า ย่อมเจริญ

ทำให้มาก ก็คือ ในขณะที่รู้ความจริงในสภาพธรรมบ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ชื่อว่า ย่อมทำให้มาก

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

เมื่อทำความเพียรอยู่นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมเสพ ย่อมเจริญ.เมื่อทำความเพียรบ่อยๆ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำตั้งแต่ต้นเทียว ชื่อว่า ย่อมปรารภ เมื่อทำบ่อยๆ ชื่อว่า ปรารภด้วยดี เมื่อซ่องเสพด้วยสามารถแห่งภาวนา ชื่อว่า ย่อมเสพ เมื่อให้เจริญอยู่ ชื่อว่า ย่อมเจริญ เมื่อทำสิ่งนั้นนั่นแหละในกิจทั้งปวงให้มาก พึงทราบว่า ย่อมกระทำให้มาก ดังนี้


๒. "กำหนดด้วยดี" กำหนดด้วยดี คือกำหนดอย่างไร

-ไม่ใช่เราที่กำหนด แต่เป็น สติและปัญญาที่กำหนดด้วยดี คือ ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นและรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เป็นต้น ซึ่งก็คือ ขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั่นเอง ไม่มีเราที่จะไปทำ ไปกำหนด ครับ

๓. "ซึ่งนิมิตนั้น" นิมิตในที่นี้ หมายความถึงอะไร

-นิมิต ก็คือ ตัวสภาพธรรมที่เป็นกรรมฐานนั้น เช่น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นิมิต คือ ตัวอารมณ์ที่สติรู้ นั่นคือ รูปธรรมที่ปรากฏทางกาย เป็นต้น เป็นนิมิตที่กำลังปรากฏ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็น นิมิต ที่ปรากฏให้รู้ความจริงได้ ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา ครับ

[เล่มที่ 78] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ 108

คำว่า โส ต นิมิตฺต ได้แก่ ภิกษุนั้น . . . ซึ่งนิมิตแห่งกรรมฐานนั้น

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งสำคัญ คือความเข้าใจถูกเห็นถูก ด้วยการอาศัยพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า สติปัฏฐานเป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งต้องมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เป็นปรมัตถธรรมเป็นที่ตั้งของสติและปัญญาที่ระลึกและรู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง โดยที่ไม่มีตัวตนที่เสพ ที่เจริญ ที่กระทำให้มาก ไม่มีตัวตนที่ไปกำหนด แต่เป็นกิจหน้าที่ของสภาพธรรมฝ่ายดี คือ สติ ปัญญาและโสภณธรรมอื่นๆ เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อม คือ มีความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ ถ้ามีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 5 ก.พ. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่าน ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pdharma
วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 5 ก.พ. 2558

ส่วนมากอ่านข้อความแล้วจะไปเจริญไปทำ ถ้าไม่มีความเข้าใจไปทำก็ผิด เริ่มต้นเพียงรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เช่น เห็นเป็นธรรมะที่ไม่ใช่สัตว์บุคคลยังเข้าใจยากเลย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 8 ก.พ. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 31 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ