วิเสสลักษณะ

 
papon
วันที่  1 ม.ค. 2558
หมายเลข  25992
อ่าน  4,551

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

"วิเสสลักษณะ" การศึกษาวิเสสลักษณะของสภาพธรรมบอกให้ทราบถึงอะไรบ้างครับ ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ลักษณะสภาพธรรม คือ ลักษณะของสิ่งที่มีจริง ที่สามารถให้รู้ได้ ปรากฏได้ สิ่งที่สามารถให้รู้ได้ สิ่งนั้นเรียกว่า ธรรม ที่มีลักษณะ หรือ ลักษณะสภาพธรรมนั่นเอง เช่น เห็น ได้ยิน สี เสียง เหล่านี้เป็นธรรม และก็มีสิ่งที่ให้รู้ได้ นั่นคือ ตัวลักษณะ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหลายต้องมีลักษณะ คือ สิ่งที่ให้รู้ได้ ครับ

ควรเข้าใจครับว่า สภาพธรรม มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ สามัญญลักษณะ และ วิเสสลักษณะ

สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปปกติของสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นจิต เจตสิก รูป คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา อันมีลักษณะเหมือนกันของสภาพธรรมทั้งหลาย

วิเสสลักษณะ คือ ลักษณะเฉพาะตัวของสภาพธรรมที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของสภาพธรรมที่แตกต่างกัน อย่างเช่น จิตเห็น ก็มีลักษณะเฉพาะตัว คือ รู้สีเท่านั้น จะไปรู้เสียงก็ไม่ได้ หรือจะมีลักษณะร้อนก็ไม่ได้ ธาตุดินก็มีลักษณะเฉพาะตัวคือ แข็ง จะร้อนก็ไม่ได้ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของธาตุไฟเท่านั้น ครับ

วิเสสลักษณะทำให้เข้าใจว่เป็นแต่เพียงธรรมจริงๆ เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่ปนกัน และเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 1 ม.ค. 2558

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

แล้ว รส ปทัฏฐาน เหล่านี้บอกให้ทราบถึงอย่างไรครับ และมีความสัมพันธ์กับลักษณะสภาพธรรมอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 ม.ค. 2558

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ทั้ง รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน ก็แสดงถึงสภาพธรรมในลักษณะต่างๆ ที่เน้นย้ำว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 1 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม และมีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ห่างไกลจากชีวตประจำวันเลย อยู่กับธรรมตลอด มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตลอด แต่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจจนกว่าจะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ทรงแสดงโดยละเอียดโดยประการทั้งปวง เพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูกสำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาอย่างแท้จริงว่า เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ โดยไม่ปะปนกัน

สภาพธรรมแต่ละอย่างย่อมมีลักษณะที่เป็นไปเฉพาะของแต่ละสภาพธรรม ไม่เป็นสาธารณะทั่วไป เพราะสภาพธรรมเป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น จิตมีความเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ มีการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์เป็นลักษณะ ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ เวทนามีความรู้สึกเป็นลักษณะ สัญญามีความจำได้หมายรู้เป็นลักษณะ เจตนามีความตั้งใจจงใจเป็นลักษณะ จักขุปสาทะมีการรับกระทบรูปสีเป็นลักษณะ เป็นต้น ความเป็นจริงของสภาพธรรมเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 2 ม.ค. 2558

จิตเห็นกับจิตได้ยินไม่ใช่อย่างเดียวกัน จิตได้ยินก็ไม่ใช่จิตรู้กลิ่น จิตรู้กลิ่นก็ไม่ใช่จิตรู้รส แต่ละอย่างเป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ปนกันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 2 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanrat
วันที่ 3 ม.ค. 2558

ธรรมะทุกคำจะฟังแบบเผินไม่ได้เลยค่ะ ต้องพิจารณา ยากมาก กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 5 ม.ค. 2558

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nong
วันที่ 8 ม.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Thanapolb
วันที่ 9 ม.ค. 2558

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 19 พ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ