สัมมาสมาธิ ต้องประกอบด้วย ปัญญา

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  17 ก.ย. 2557
หมายเลข  25545
อ่าน  1,003

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอเชิญรับฟัง....

สัมมามาธิต้องประกอบด้วยปัญญา

กราบเท้า บูชา พระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับกุศลทุกประการของทุกๆ ท่านค่ะ

ด้วยความเคารพยิ่ง จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)

“ปัญญา” นั้น ไม่ใช่”สมาธิ” เพราะเหตุว่า ถ้าเป็น”สมาธิ” แล้ว จิต-จดจ้อง-อยู่ที่-อารมณ์เดียว” แต่ ถ้าเป็น ”สติปัฏฐาน” ... “มี การระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมะ ที่กำลังปรากฏ ตามปกติ” แล้ว ”ปัญญา” เจริญขึ้น ที่จริงแล้ว น่าจะพูด เรื่องของ มิจฉาสมาธิ หรือว่า มิจฉามรรค มิจฉาปฏิปทา เพราะว่า คนส่วนใหญ่ มักจะนิยม การประพฤติปฏิบัติ แต่ว่า ถ้าไม่ทราบว่า การปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ “สัมมามรรค” และ “มิจฉามรรค”

ถ้า ไม่รู้ ความต่างกัน ก็จะปฏิบัติ “มิจฉามรรค” .... ไม่ใช่ “สัมมามรรค” หรือ “สมาธิ” ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่มีแต่”สัมมาสมาธิ”เท่านั้น “มิจฉาสมาธิ” ก็มี เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ว่า “สัมมาสมาธิ” คือ “ขณะที่ประกอบด้วยปัญญาอย่างไร” ขณะนั้น ก็เป็น “มิจฉาสมาธิ” .... ไม่ใช่”สัมมาสมาธิ”

สำหรับในพระพุทธศาสนาแล้ว “ปัญญา" เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเหตุว่า “ด้วยปัญญา” พระผู้มีพระภาคจึงตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทรงแสดงพระธรรมทั้งหมด เพื่อเกื้อกูลให้ พุทธบริษัท เกิด ปัญญาของตนเองด้วย ต้องทราบว่า “ปัญญา” รู้ ลักษณะของสภาพธรรมะ ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ จึงจะเป็น “ปัญญา” ที่สามารถ ที่จะ ดับ กิเลส ได้ เพราะเหตุว่า ขณะนี้ ที่กำลัง “เห็น” ก็ยึดถือว่า “เป็นเรา” เห็น แต่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง ว่า “ธรรมะทั้งหลาย เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล”

เพราะฉะนั้น กำลัง ”เห็น” เดี๋ยวนี้ ต้อง”ไม่ใช่เรา” แล้วก็ “ไม่ใช่ตัวตน” ด้วย เป็น เพียง “จิตประเภทหนึ่ง” ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ เมื่อ ”มีจักขุปสาทะ” แล้วก็ ”มีสิ่งที่ปรากฏกระทบตา” ... “มีการเห็น”เกิดขึ้น แล้วก็ ดับไป เพราะเหตุว่า “จิตที่เห็น” ไม่ใช่ “จิตที่ได้ยิน” นี่แสดงให้เห็น ความต่างกันว่า “คนหนึ่งๆ จะมี จิตซ้อนกัน สองสามขณะ ไม่ได้”

“ชีวิต ดำรงอยู่ แต่ละคน ก็เพียง ชั่วขณะจิต เดียว” เพราะฉะนั้น ในขณะที่”เห็น” ไม่ใช่ ในขณะที่ ”ได้ยิน” ด้วยเหตุนี้ จึงจะต้อง รู้ ความต่างกัน ก่อนว่า ขณะที่ ”เห็น” นี้ เป็นอนัตตา เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ ขณะที่ ”ได้ยิน” ก็ เป็นอนัตตา เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ ต้อง มี ความรู้ ซึ่งเกิดจาก “การฟัง” จนกระทั่ง สามารถ ที่จะ เป็นปัจจัยให้ มีสติ มีการระลึกได้ ในขณะที่ กำลังเห็น ในขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริง มิฉะนั้นแล้ว ก็ จะมีแต่”สมาธิ” แล้วก็ ไม่รู้ว่า ”ปัญญา”นั้น รู้ อะไร

แต่ว่า “ก่อนอื่น” เมื่อ ปัญญา เป็น สภาพที่ รู้ ถูกต้อง คือ “เริ่มจาก” ความเข้าใจถูก ใน ลักษณะของสภาพธรรมะ ที่กำลังปรากฏ “ก็จะต้อง รู้ ว่า” .....”ปัญญา ไม่ใช่ รู้ อื่นแต่เป็น ”ปัญญา” ที่สามารถที่จะ รู้ ชีวิตประจำวัน ทุกขณะ” ตั้งแต่ ตื่น จน หลับ ไม่ว่าจะเป็น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก

ถอดคำบรรยายธรรม โดย ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 16 มี.ค. 2558

สาธุ ขออนุโมทนา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kullawat
วันที่ 13 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เฉลิมพร
วันที่ 18 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 21 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lokiya
วันที่ 13 มี.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ