ความเข้าใจผิดเป็นเหตุให้เกิดกุศลได้หรือไม่

 
tee
วันที่  19 ส.ค. 2557
หมายเลข  25339
อ่าน  816

ผมมีญาติท่านหนึ่งชอบใหว้บูชาพระ วันหนึ่งเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ท่านได้พระพุทธรูปมาองค์หนึ่ง โดยเข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณอายุเป็นพันปี ท่านดีใจและนับถือว่าเก่า ยิ่งทำให้ท่านกราบใหว้บูชาอย่างเคารพและบ่อยๆ จนเป็นกิจวัตรประจำวัน ต่อมาไม่นานท่านได้เสียชีวิตลง ผมได้ไปทำความสะอาดหิ้งพระและพบว่าเป็นพระที่ไม่เก่าเพียงแต่ทำขึ้นให้ดูเก่า

เหตุนี้ทำให้ผมสงสัยว่าการที่ท่านขยันกราบใหว้พระด้วยความเคารพโดยเข้าใจผิดว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณ แล้วมีความแช่มชื่น แบบนี้เป็นกุศลหรืออกุศล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องมีความเข้าใจในคำที่กล่าวถึงอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นการศึกษาธรรมทีละคำ คือ คำว่า อกุศล และ กุศล คำว่า อกุศล หมายถึงสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นความชั่ว เป็นธรรมที่ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่กุศล เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เมื่อกล่าวโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ อกุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ตัวอย่างขณะที่เป็นอกุศล เช่น ติดข้อง ไม่พอใจ ตระหนี่ ริษยา ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง เป็นต้น ส่วนกุศล ก็เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกับอกุศลคือ เป็นธรรมที่ดีงาม เป็นความดี ไม่มีโทษภัยใดๆ เป็นธรรมที่ให้ผลเป็นสุข ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็ได้แก่กุศลจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย ตัวอย่างขณะที่เป็นกุศล เช่นมีเมตตา ฟังพระธรรมเข้าใจ ช่วยเหลือผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น

ซึ่งจากคำถามที่ว่า อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลอย่างไรนั้น ก็มาจาก ปัจจัยที่เรียกว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย ก็ต้องเข้าใจคำ ปัจจัยนี้ก่อน ครับ

ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นสภาพธรรม ที่มีกำลังจนสามารถ เป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรมอื่นที่เป็นจิต เจตสิกครับ ซึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวางมากครับ ซึ่งสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมอื่นๆ เกิดนั้น ปัจจัยที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย คือ จิต 89 เจตสิก 52 รูป 28 เป็นต้น ซึ่งปกตูปนิสสยปัจจัย มีหลายอย่างดังนี้ครับ

1. กุศลเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด กุศลที่เป็นจิต เจตสิก เช่น สะสมการฟังธรรม ความเห็นถูกมา ก็เป็นปัจจัยให้เกดิกุศลจิตคือปัญญาเกิดได้อีกครับ หรือ อกุศลขั้น การฟังเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลขั้นสูงครับ

2. กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศล เช่น เพราะมีความเห็นถูก (ปัญญา) ทำให้เกิดมานะ ดูหมิ่นผู้อื่น เป็นต้น

3. กุศลเป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ เกิดวิบาก

4. อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศล

5. อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล

6. อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ ที่เป็นวิบากจิต

7. อัพยากตะ เป็นปัจจัยให้เกิด อัพยากตะ

จะเห็นนะครับว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยที่กว้างขวางครับ สภาพธรรมทั้งที่เป็นจิต เจตสิก รูปและบัญญัติด้วย

จากคำถามที่ถามถึงว่า อกุศลเป็นปัจจัยให้เกิด กุศล

จากประเด็นคำถาม ก็ต้องเข้าใจว่าอกุศล เป็นอกุศล กุศล เป็นกุศล จะไม่ปะปนกันเลย ธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น อกุศล เกิดแล้วดับไปแล้วก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลได้ ยกตัวอย่างเช่น อยากทำบุญ อยากฟังธรรม อยาก เป็นอกุศล เป็นความต้องการแล้วเป็นเหตุให้มีการเจริญกุศล คือ ทำบุญ และ ฟังธรรม นี้คือ ตัวอย่าง อกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดกุศล ซึ่งธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ และไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวด้วย มีหลายปัจจัย ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เป็นอนัตตา

เพราะฉะนั้น อาศัย ความชอบพระที่เป็นพระโบราณ ที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดศรัทธา เกิดกุศลในการไหว้พระพุทธเจ้าได้ ครับ เป็นธรรมดา ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย มากมาย ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียวด้วย นั่นก็ย่อมหมายถึงแสดงให้เข้าใจถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ แม้แต่ กุศล ที่เกิดขึ้น โดยมีอกุศลจิตเป็นปัจจัย นั้น ก็เป็นเช่นเดียวกันคือ แสดงถึงความเป็นเหตุ เป็นปัจจัยของสภาพธรรม โดยที่อกุศลที่เกิดแล้วดับไปแล้ว เป็นปัจจัย โดยเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้ อย่างเช่นอยากได้ผลของกุศล อยากได้สิ่งที่ดีที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ จึงเจริญกุศลด้วยการให้ทาน เพราะเห็นว่าผลของทานทำให้มีโภคทรัพย์ ทำให้ไม่ยากจนขัดสน หรือ เป็นผู้มีความสำคัญตน อยากให้คนอื่นเห็นว่าตนเองสำคัญ จึงมีการเจริญกุศลประการต่างๆ เช่น ให้ทาน เป็นต้น หรือ ความเห็นผิด ความไม่รู้ ก็ทำให้มีการเจริญกุศลได้ หรือ บางท่านได้กระทำบาปกรรม กระทำในสิ่งที่ไม่ดีลงไป ภายหลังเกิดสติ รู้ว่าได้กระทำในสิ่งที่ผิดไปแล้ว ก็ได้มีการเจริญกุศล ต่อไปแทนที่จะไปกระทำอกุศลกรรมอย่างเดิม

การกราบไหว้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นกุศลเสมอไป จะเป็นอกุศลก็ได้ ด้วยความหวัง ด้วยความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือ ขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยที่ไม่ได้เป็นไปกับความระลึกถึงพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจะแตกต่างไปจากขณะที่กราบไหว้ด้วยความเคารพนอบน้อมในพระคุณของพระองค์

สำคัญที่สุด คือ การมีโอกาสได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 19 ส.ค. 2557

พระพุทธรูป เป็นเครื่องหมายเตือนให้เราทำความดี เตือนให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ขณะที่เราไหว้ด้วยความนอบน้อม ขณะนั้นเป็นกุศลจิตเกิดแล้วดับไป อกุศลจิตก็เกิดสลับกับกุศลได้เป็นธรรมดา ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ